เอเจนซีส์/เอเอฟพี – ร่างกฎหมายอนุญาตให้การะบวนการขับผู้อพยพออกนอกปประเทศมีความรวดเร็วมากขึ้น รวมไปถึงการถอดถอนสัญชาติอิตาลี ที่ถูกรู้จักในชื่อ “คำสั่งซาลวินี” (Salvini decree)ล่าสุดถูกคณะรัฐมนตรีอิตาลีได้ลงมติรับแล้วหลังจากรัฐมนตรีมหาดไทย มัตเตโอ ซาลวินี เป็นผู้เสนอ สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว แม้แต่บิชอปกรุงโรมยังชี้ เป็นการเปิดช่องให้เอาผิดทางอาญากับกลุ่มผู้ยื่นขอลี้ภัยอย่างถูกต้อง
DW สื่อเยอรมันรายงานเมื่อวานนี้(24 ก.ย)ว่า หลังจากนี้รัฐสภาอิตาลีมีระยะเวลา 60 วันในการอภิปรายรับรองหลังจากที่คณะรัฐมนตรีอิตาลีได้มีมติอนุมัติเห็นชอบร่างกฎหมายเร่งเนรเทศผู้อพยพในวันจันทร์(24)
ซึ่งเมื่อวาน(24) มัตเตโอ ซาลวินี รัฐมนตรีมหาดไทยอิตาลีเจ้าของร่างกฎหมายต่อต้านผู้อพยพที่ว่าได้ให้สัมภาษณ์สถานี La7 ยืนยันว่า ร่างกฎหมายต่อต้านผู้อพยพถือเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญต่อการขัดขวางการไหลเข้ามาของกลุ่มผู้ลี้ภัยผิดกฎหมาย รวมไปถึงการให้อำนาจตำรวจอิตาลีมากขึ้นในการเนรเทศผู้ซึ่งกระทำผิดและผู้อพยพแอบแฝง
โดยซาลวินีอ้างว่า เป็นการทำให้อิตาลีมีความปลอดภัยมากขึ้น
ทั้งนี้รัฐมนตรีมหาดไทยอิตาลียืนยันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อขัดขวางผู้อพยพที่มีมากจนเกินไป ซึ่งจะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณได้นับหลายพันล้านยูโรหลังจากที่รัฐสภาอิตาลีผ่านการรับรอง และประธานาธิบดีอิตาลี เซอร์จิโอ มัตตาเรลลาลงนามประกาศบังคับใช้
ในการแถลงข่าวที่กรุงโรม ซาลวินีกล่าวว่ากระบวนการขอเข้ามาลี้ภัยในอนาคตสามารถถูกทำให้หยุดลงได้หากว่าผู้ร้องขอถูกระบุว่าเป็น “ภัยทางสังคม”
โดยในกลุ่มคนที่โดนจับกุมในข้อหาอาชญากรรม เช่น การลอบค้ายาเสพติด หรือการลักขโมยจากห้างร้าน ในระหว่างที่รออยู่ในกระบวนการพิจารณา จะได้รับการถูกปฎิเสธ ส่วนพวกกลุ่มก่อการร้ายที่ถือสัญชาติจะถูกถอดสัญชาติอิตาลี
สื่อกาตาร์ชี้ว่า ร่างกฎหมายที่ว่ารู้จักในนามทั่วไปว่าเป็น “คำสั่งซาลวินี” (Salvini decree) ยังถูกมองว่าเป็นการกีดกัน เนื่องจากจะทำให้การยื่นขอสัญชาติอิตาลีมีความยากมากขึ้น
รัฐมนตรีมหาดไทยอิตาลีกล่าวอ้างถึงความสำคัญต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า เป็นการจัดการปัญหาผู้อพยพและในกลุ่มมาเฟียและผู้ลักลอบค้ามนุษย์ในเวลาเดียวกัน
เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมว่า การให้สถานภาพผู้ลี้ภัยด้านการปกป้องทางมนุษยธรรมนั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายอิตาลีมากกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ที่เห็นได้ว่ามีแค่ 25% ของจำนวนผู้ยื่นขอสถานภาพลี้ภัยในปีที่ผ่านมาได้รับการอนุมัติ ส่วนอีก 81,500 คนถูกปฎิเสธ
8% ได้รับสถานภาพลี้ภัย และ 8% ได้รับกำหนดให้ต้องให้ความคุ้มครองลำดับรอง (subsidiary protection) ส่วน 1 ใน 4 ได้นรับการคุ้มครองทางด้านมนุษยธรรม
สำหรับในส่วนของผู้ยื่นขอที่ถูกปฎิเสธ จะได้รับโอกาสให้ยื่นอุทธรณ์ และหากว่าการขอถูกทำให้ตกไป ผู้ยื่นขอรายนั้นจะถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะผู้ขอลี้ภัยทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในข่ายที่จะถูกเนรเทศต่อไป เอเอฟพีชี้
สื่อเยอรมันรายงานเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ นันซิโอ กาลานติโน(Nunzio Galantino) เลขาธิการใหญ่การประชุมคณะบิชอปของอิตาลีได้วิจารณ์ร่างกฎหมายต่อต้านผู้อพยพของซาลวินีว่า เป็นลางร้าย เหตุเพราะในอนาคตกลุ่มผู้ลี้ภัยอาจถูกมองด้วยความอคติ
ซึ่งภายใต้ร่างกฎหมายเร่งเนรเทศผู้อพยพ ผู้ยื่นขอลี้ภัยส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้าศูนย์รวมขึ้นทะเบียนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า SRAR ทั้งนี้สำนักงานกระทรวงมหาดไทยอิตาลีแถลงว่า และในส่วนผู้อพยพที่รอการถูกขับนั้นทางรัฐบาลอิตาลีมีสิทธิ์กักตัวคนเหล่านี้เป็นเวลา 180 วันภายในศูนย์กักกันของรัฐ
และมีเพียงผู้อพยพเด็กและอายุน้อยที่เดินทางมาลำพัง รวมไปถึงผู้ลี้ภัยที่ถูกการยอมรับจะถูกส่งตัวไปยังศูนย์ต่างๆทั่วประเทศเพื่อช่วยในการปรับตัว ซาลวินีแถลง
เอเอฟพีกล่าวว่า ปัจจุบีนนี้มีผู้อพยพจำนวน 155,000 คนอาศัยอยู่ตามศูนย์ทั่วอิตาลี ลดลงมาจาก 183,000 คนเมื่อปลายปี 2017
ด้านนายกรัฐมนตรีอิตาลี จูเซปเป กอนเต อ้างอิงจากสื่อกาตาร์ กลาวยืนยันว่า ร่างกฎหมายต่อต้านผู้อพยพของซาลวินีไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างไร