xs
xsm
sm
md
lg

อดใจรอ! จีนเริ่มแล้วสร้าง “เรือดำน้ำ 1.35 หมื่นล้าน” กองทัพไทย ติดตั้งได้ทั้งขีปนาวุธและตอร์ปิโด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

(ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ-222887361082619/) พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธีตัดแผ่นเหล็กเริ่มการสร้างเรือดำน้ำ S26T ที่อู่ต่อเรือ ในอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย
เซาต์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ - บริษัทต่อเรือชั้นนำของจีนเริ่มต้นงานสร้างเรือดำน้ำลำหนึ่งสำหรับกองทัพเรือไทยแล้วในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายใต้สัญญามูลค่า 13,500 ล้านบาทที่ตกลงกันเมื่อปีที่แล้ว ข้อตกลงที่พวกนักสังเกตการณ์ระบุมันคือหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทที่เติบโตขึ้นของปักกิ่งในฐานะผู้จัดหาอาวุธระหว่างประเทศ

เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกองทัพไทยและจีนเข้าร่วมพิธีตัดเหล็กที่อู่ต่อเรือในอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย ในวาระเริ่มโครงการ ตามการเปิดเผยของไชน่า ชิปบิลดิ้ง อินดัสตรี คอร์ปอเรชัน (CSIC) ในช่วงค่ำวันอังคาร (4 ก.ย.)

กองทัพเรือของไทยลงนามในสัญญากับ CSIC สำหรับจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ S26T จำนวน 1 ลำ ในเดือนพฤษภาคม 2017 และคาดหมายว่าจะมีการส่งมอบกันภายในปี 2023

เมื่อครั้งสร้างเสร็จสมบูรณ์ เรือดำน้ำลำนี้จะมีระวางขับน้ำ 2,600 ตัน ความเร็วสูงสุด 18 นอต และสามารถอยู่ใต้น้ำต่อเนื่องได้นานสูงสุด 20 วัน โดยมันจะติดตั้งเทคโนโลยีเสียงและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ล่าสุด และสามารถบรรทุกตอร์ปิโดและขีปนาวุธสูงสุด 16 ลูก และทุ่นระเบิดสูงสุด 30 ลูก
(ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ-222887361082619/) พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธีตัดแผ่นเหล็กเริ่มการสร้างเรือดำน้ำ S26T ที่อู่ต่อเรือ ในอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย
รัฐบาลทหารของไทยมีแผนซื้อเรือดำน้ำจากจีน 3 ลำ แต่หลังเผชิญเสียงต่อต้านอย่างหนักหน่วงภายในประเทศ ทำให้ต้องลดจำนวนสั่งซื้อเหลือเพียง 1 ลำ แต่กระนั้นข้อตกลงนี้ก็ยังเป็นการสั่งซื้อทางกลาโหมครั้งมหาศาลที่สุดเท่าที่เคยมีมาของไทย

ซู่ เฉิงหมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารในปักกิ่ง ให้ทัศนะว่านอกเหนือจากการสร้างเรือดำน้ำแล้ว ดูเหมือนว่าจีนจะมอบความรู้ทางเทคนิคแก่ไทยด้วย “กองทัพเรือไทยไม่มีประสบการณ์ปฏิบัติการเรือดำน้ำ ดังนั้นแน่นอนว่าจีนจะต้องมอบการฝึกฝนด้วย” เขากล่าว “กองทัพไทยคือผู้ซื้ออาวุธจีนรายสำคัญมานานหลายทศวรรษ”

เรือดำน้ำ S26T จะเป็นตัวเสริมสำคัญแก่แสนยานุภาพด้านป้องกันตนเองของกองทัพเรือไทย และข้อตกลงนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามสิ้นสุดกระบวนการซื้อเรือดำน้ำชั้นกิโล (Kilo-class) 6 ลำจากรัสเซีย และพม่ายกระดับความร่วมมือทางนาวีกับอินเดีย ตามความเห็นของซู่ เฉิงหมิง

แม้ว่าไทย คือพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ ในภูมิภาค แต่นับตั้งแต่ก้าวสู่อำนาจโดยปราศจากการนองเลือดในรัฐประหารปี 2014 รัฐบาลทหารของไทยได้ยกระดับความร่วมมือทางการทหารกับจีน
(ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ-222887361082619/) พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธีตัดแผ่นเหล็กเริ่มการสร้างเรือดำน้ำ S26T ที่อู่ต่อเรือ ในอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารบก สั่งซื้อรถถัง VT-4 จำนวน 49 คัน แทนรถถัง M41s ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในประจำการมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งนี้ได้มีการส่งมอบรถถัง VT-4 ชุดแรก จำนวน 28 คันแก่ไทยแล้วในปี 2017 ส่วนที่เหลือคาดหมายว่าจะมีการส่งมอบกันในช่วงปลายปีนี้

สวี่ ลิ่ปิง ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันสังคมศาสตร์ของจีน ระบุว่า “ไทยจะยังคงความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันก็ซื้ออาวุธจากจีน”

ในขณะที่จีนไม่สามารถแข่งขันกับสหรัฐฯ ในด้านการขายอาวุธในตลาดโลก แต่ฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีต่างๆ ของพวกเขาสามารถดึงดูดใจประเทศกำลังพัฒนาหลายชาติในแง่ของราคา, ความเหมาะสมและการบริการ

ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม พบว่าจีนมีสัดส่วนการส่งออกอาวุธในตลาดโลกระหว่างปี 2013 ถึง 2017 คิดเป็น 5.7 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจาก 4.6 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2008 ถึง 2012


กำลังโหลดความคิดเห็น