xs
xsm
sm
md
lg

In Clips : ครั้งแรกรอบ 40 ปี!! ศาลสหรัฐฯห้ามล่า “หมีกริซลี” ในเขตอุทยานเยลโลว์สโตน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เอพี– ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯออกคำสั่งล่าสุดเมื่อวาน(30 ส.ค) ห้ามชั่วคราวล่าหมีกริซลีในเขตอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในรอบ 40 ปี ในขณะที่ฤดูกาลล่าสัตว์ใกล้เริ่มเปิดในรัฐไอดาโฮและรัฐไวโอมิง

เอพีรายงานเมื่อวานนี้(30 ส.ค)ว่า ผู้พิพากษาศาลแขวงรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ดานา คริสเตนเซน(Dana Christensen) ออกคำสั่งห้ามชั่วคราวในวันพฤหัสบดี(30) ห้ามการล่าหมีกริซลีในเขตเทือกเขาร็อกกี้ซึ่งถือเป็นการห้ามครั้งแรกในรอบ 40 กว่าปี หลังจากที่คริสเตนเซนกำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่า เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลกลางสหรัฐฯหรือไม่ที่ได้ยกเลิกคุ้มครองหมีกริซลี

ซึ่งคำสั่งที่ออกมานั้นเกิดขึ้น 2 วันก่อนฤดูกาลล่าหมีกริซลีของรัฐไอดาโฮและรัฐไวโอมิงใกล้เปิดฉาก

คำสั่งห้ามของคริสเตนเซนนั้นมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 14 วัน

โดยผู้พิพากษาคริสเตนเซนได้กล่าวแสดงความเห็นในคำสั่งว่า “ภัยคุกคามต่อความตายของหมีกริซลีเกิดขึ้นจากกำหนดการล่าสัตว์ตามตารางนั้นมีเพียงพอที่จะสามารถตัดสินกำหนดให้เลื่อนฤดูกาลล่าสัตว์ประจำรัฐออกไป”

การออกมาห้ามการล่าหมีกริซลีครั้งแรกนี้ถือเป็นชัยชนะของกลุ่มอนุนักษ์สัตว์ป่าและชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียแดงที่ได้ทำการยื่นฟ้องต่อการตัดสินใจของสำนักงานบริการสัตว์น้ำและสัตว์ป่าสหรัฐฯ( U.S. Fish and Wildlife Service)ในปี 2017 ที่ยอมยกเลิกการคุ้มครองหมีกริซลีมากกว่า 700 ตัวที่อาศัยอยูในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนและบริเวณรอบๆ

อย่างไรก็ตาม บรรดานักล่าสัตว์ต่างออกมาชี้ว่า พวกเขาสมควรได้รับอนุญาตสังหารหมีกริซลีจำนวนหยิบมือเนื่องมาจากจำนวนประชากรของหมีกริซลีมีมากจนทำให้รัฐบาลประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจถอดออกจากสัตว์คุ้มครองในปี 2017

แต่ทว่าทางกลุ่มนักอนุรักษ์กลับชี้ว่า การล่าหมีกริซลีนั้นไม่มีความจำเป็น และเป็นความโหดร้าย และพวกเขาต้องการให้หมีกริซลีได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้พิพากษาตัดสินในปี 2007 เอพีชี้

จากทั้งหมดผู้ขอใบอนุณาติจำนวนหลายพันคน มีนักล่าในรัฐไวโอมิงจำนวน 12 คน และ 1 คนในรัฐไวโอมิงได้รับใบอนุญาตการล่าหมีกริซลีสำหรับวันเปิดฤดูกาลในวันเสาร์(1 ก.ย) ซึ่งถือเป็นการล่าครั้งแรกในรัฐไวโอมิงนับตั้งแต่ปี 1974 และในรัฐไอดาโฮครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1946

แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามีข้อห้ามที่เกิดขึ้นในปี 1975 ของรัฐต่ำทั่วทั้ง 48 รัฐของสหรัฐฯในการปกป้องชีวิตหมีกริซลีจำนวนหลายหมื่นตัวสุดท้ายที่มักย้ายถิ่นระหว่างเขตมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงที่ราบเกรทเพลน(Great Plains) พบว่าหมีกริซลีถูกฆ่าเป็นจำนวนมากในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้มีหมีกริซลีเหลืออยู่แค่ 1,700 ตัวในทั้งหมด 48 รัฐต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐไวโอมิง รัฐมอนแทนา และรัฐไอดาโฮ

ในขณะที่ในรัฐอะแลสกามีประชากรหมีกริซลีอาศัยอยู่จำนวนราว 30,000

และที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน พบว่าประชากรหมีกริซลีลดลงเหลือแค่ 136 ตัวก่อนการประกาศห้ามปี 1975 เพื่อคุ้มครองหมีกริซลีและที่อยู่อาศัยของพวกมัน

ทั้งนี้พบว่า นักล่าถูกห้ามจากการเฝ้าติดตามหมีกริซลีทั้งในเทตัน(Teton)หรือเขตติดต่ออุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐไวโอมิงในปี 2017 ได้สังหารหมีกริซลีไปไม่ต่ำกว่า 14 ตัวหลังจากได้เข้าทำร้ายฝูงปศุสัตว์ หรือคุกคามต่อชีวิตมนุษย์ และนักล่าได้สังหารหมีกริซลีไปอีก 9 ตัวที่พยายามจพคุกคามเอาชีวิตคนเหล่านั้น นอกจากนี้พบว่ามีหมีกริซลีอย่างน้อย 1 ตัวถูกรถชนเสียชีวิต





กำลังโหลดความคิดเห็น