xs
xsm
sm
md
lg

In Pics: “กู้ภัยพม่า” วันนี้ทำงานสุดลำบาก!!พยายามใช้ “เรือพายไฟเบอร์” ฝ่ากระแสน้ำโคลน เข้าให้ถึงปชช.เขตพะโคที่ติดอยู่ หลัง 85 หมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เอเอฟพี/รอยเตอร์/MGRออนไลน์ – ปฎิบัติการกู้ภัยวันนี้(30 ส.ค) เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก พบเจ้าหน้าที่ต้องใช้เรือพายฝ่าน้ำท่วมสูงเพื่อเข้าถึงประชาชนจำนวนมากในเขตภาคกลางของพม่าที่ติดอยู่ หลังจากเขื่อนชลประทานสวาเกิดแตก และทำให้น้ำทีมีมากกว่า 20,000 ลูกบาศก์เมตรปล่อยออกมาท่วมเมืองสั่ว และหมู่บ้าน 85 แห่ง พบเขตพะโคมีประชาชนร่วม 63,000 คนได้รับผลกระทบ

เอเอฟพีรายงานวันนี้(30 ส.ค)ถึงสถานการณ์ล่าสุดในพม่าหลังจากเขื่อนโครงสร้างของทางน้ำล้นของเขื่อนสวาชอง (Swar Chaung) ที่ควบคุมการปล่อยน้ำจากเขื่อนเกิดพังเสียหายเนื่องจากฝนตกหนักในเขตพะโค ซึ่งอ้างอิงจากรอยเตอร์ เหตุเกิดขึ้นในช่วงเช้าวันพุธ(29) เวลาราว 05.30 น.

พบว่าทางน้ำล้น (spillway) ของเขื่อนซึ่งเป็นโครงสร้างที่ควบคุมการปล่อยมวลน้ำมากกว่า 20,000 ลูกบาศก์เมตรเกิดพังและเข้าท่วมเมืองสั่วและหมู่บ้าน 85 แห่ง รวมไปถึงถนนไฮเวย์เส้นสำคัญ

ความแรงของน้ำยังทำให้บางส่วนของสะพานของทางหลวงสายย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ ได้รับความเสียหาย ซึ่งทางหลวงสายนี้เป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ในการคมนาคมระหว่างสองเมืองใหญ่ของพม่า

เอเอฟพีชี้ว่า ในเวลานี้ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต แต่สื่อรัฐบาลพม่ารายงานว่า มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 63,000 คนในเขตพะโคได้รับผลกระทบ

รอยเตอร์รายงานว่า เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ทหาร และเจ้าหน้าที่เริ่มทำการกู้ภัยมาตั้งแต่วันพุธ(29)

ในขณะที่นักข่าวเอเอฟพีในพื้นที่รายงานว่า กองกำลังทหารพม่าซึ่งสวมเสื้อชูชีพสีส้มถูกส่งออกไปช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ในที่ห่างไกล พบทหารพม่าจำเป็นต้องใช้เรือเพื่อฝ่ากระแสน้ำโคลนท่วมสูงเพื่อไปให้ถึงหมู่บ้านที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก เอเอฟพีรายงานภาพการทำงานของทหารพม่า พบเเรือที่ทางทหารพม่าใช้นั้นเป็น "เรือไฟเบอร์แบบไม่ติดเครื่องยนต์" ในขณะที่รถบรรทุกไม่สามารถใช้การได้ และถูกทิ้งให้จมน้ำ

ด้านรัฐมนตรีกระทรวงการก่อสร้างพม่า ฮัน ซอว์ (Han Zaw) แถลงในวันนี้(30) มีคนจำนวนราว 500 คนกำลังทำงานซ่อมถนน ซึ่งต้องใช้เวลาราว 2 วันคาดว่าจะสามารถเสร็จสิ้น

“ทางเราพยายามที่จะให้สถานการณ์ทางการคมนาคมกลับกลับเข้าสู่ความปกติได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” รัฐมนตรีซอว์กล่าว

ในขณะที่ ซอว์ ลวิน ตุน(Zaw Lwin Tun )ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกการจัดการน้ำและชลประทาน(Irrigation and Water Utilization Management Department) ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ว่า ในเวลานี้ระดับน้ำที่เขื่อนลดแล้ว

เอเอฟพีชี้ว่า ล่าสุดมีประชาชนพม่าจำนวน 12,600 คนต้องอาศัยอยู่ในเตนต์ผู้ประสบภัยที่มีจำนวนราว 30 หลัง

มีผู้ประสบภัยบางส่วนออกมาชี้ว่า ไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้าจากรัฐบาลพมาในการให้คำแนะนำหากเขื่อนเกิดแตก โดยผู้ประสบภัยชี้ว่า สิ่งเดียวที่พวกเขาทำได้คือการจับตาระดับน้ำ และเมื่อถึงขั้นวิกฤตผู้ประสบภัยเหล่านั้นต้องหนีออกมา














กำลังโหลดความคิดเห็น