xs
xsm
sm
md
lg

In Clip: ตุรกีไล่ออกล็อตใหญ่ 18,632 คนทั้งตำรวจ ทหาร นักวิชาการ รับแอร์โดเริ่มต้นศักราชใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์/เอพี - คำสั่งสาธารณะฉุกเฉินของตุรกีที่ออกมาวันอาทิตย์(8 ก.ค)ประกาศปลดเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 18,632 คนรวมไปถึง ตำรวจ ทหาร และกลุ่มนักวิชาการในข้อหาต้องสงสัยเป็นภัยความมั่นคงก่อนวันที่ประธานาธิบดีแอร์โดอันจะเริ่มต้นการทำงานในสมัยการดำรงตำแหน่งใหม่

DW สื่อเยอรมันรายงานวันนี้(8 ก.ค)ว่า จากจำนวนของทั้งหมที่ถูกสั่งให้ออกจากงานวันอาทิตย์(8)รวมไปถึงตำรวจตุรกี 9,000 นาย และทหารตุรกีอีก 6,000 นาย นอกจากนี้คนเหล่านี้จะถูกยกเลิกหนังสือเดินทางอีกด้วย

โดยเอพีกล่าวว่า จำนวนผู้ถูกให้ออกจากงานภาครัฐทั้งหมดมีราว 18,632 คน ซึ่งนอกเหนือจากตำรวจและทหารแล้ว ยังรวมไปถึงครูและนักวิชาการ

และพบว่าอีก 12 องค์กรเอกชนที่มีทั้งหนังสิอพิมพ์ 3 ฉบับและสถานีโทรทัศน์ 1 แห่งได้ถูกสั่งปิดภายใต้คำสั่งเดียวกันนี้

เอพีชี้ว่า ในวันอาทิตย์(8) ยังมีการออกคำสั่งให้ 148 คนที่ถูกปลดไปก่อนหน้าให้กลับเข้าทำงานใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้พบว่าคำสั่งฉุกเฉินสาธารณะของตุรกีที่ออกมาวันอาทิตย์(8) เกิดขึ้นล่วงหน้า 1 วันก่อนที่ประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน จะเริ่มต้นสมัยการดำรงตำแหน่งใหม่ในฐานะผู้นำที่มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไข

โดยในวันเสาร์(7)ที่กรุงอังการา ประธานาธิบดีแอร์โดอันเข้าร่วมการเปิดสมัยการประชุมแรกของรัฐสภาตุรกี ซึ่งสมาชิกรัฐสภาต้องเข้าสาบานตนภายใต้ระบบใหม่ เอพีรายงาน

สื่อเยอรมันชี้ว่า สำหรับกฎหมายภาวะฉุกเฉินตุรกีถูกพบว่าได้รับการต่ออายุออกไปถึง 7 ครั้งนับตั้งแต่ประกาศใช้ 5 วันหลังจากเกิดการรัฐประหาร และคำสั่งภาวะฉุกเฉินในปัจจุบันจะหมดอายุลงในวันที่ 19 ก.ค ที่จะถึง DW ชี้

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตุรกีคาดว่า การยกเลิกใช้กฎหมายประกาศภาวะฉุกเฉินที่จำกัดเสรีภาพบางประการ และเปิดโอกาสให้อังการาสามารถออกคำสั่งเป็นกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านความเห็นรัฐสภาสามารถสิ้นสุดได้อย่างเร็วที่สุดในวันพรุ่งนี้( 9) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แอร์โดอันเริ่มปฎิบัติหน้าที่

ก่อนที่จะมีคำสั่งไล่ออกเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 18,000 คนนั้น พบว่าในการล้างบาง อังการาได้มีการไล่ออกเจ้าหน้าที่รัฐตุรกีไม่ต่ำกว่า 110,000 คน และสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ชั่วคราวอีกหลายหมื่นคนภายใต้คำสั่งที่คล้ายกันนี้ภายใต้กฎหมายภาวะฉุกเฉินที่ออกมาใช้ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2016

ในขณะเดียวกันบรรดากลุ่มองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการกวาดล้างของอังการา โดยชี้ว่าส่งผลกระทบอย่างถึงรากต่อสังคมตุรกี ซึ่งผู้อำนวยการแอมเนสตีสากลประจำยุโรปในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ออกมาเรียกร้องให้ประชาคมโลกกดดันตุรกีในเรื่องนี้







กำลังโหลดความคิดเห็น