xs
xsm
sm
md
lg

In Clip :“แอมเบอร์ รัดด์” มหาดไทยอังกฤษคู่หูเมย์ลาออก! เซ่นปัญหา "อพยพแคริบเบียนยุคหลังWWII" ถูกปฎิเสธรักษาพยาบาล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอพี/เอเจนซีส์- แอมเบอร์ รัดด์(Amber Rudd) รัฐมนตรีมหาดไทยอังกฤษยื่นจดหมายลาออกให้กับนายกรัฐมนตรีอังกฤษเมื่อวานนี้(29 เม.ย) หลังเกิดข่าวฉาวผู้อพยพจากแถบทะเลแคริบเบียนอาศัยในอังกฤษเมื่อครั้งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกเจ้าหน้าที่อังกฤษปฎิบัติอย่างเลวร้าย ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับการรักษาพยายาล แถมถูกข่มขู่อาจถูกเนรเทศออกนอกอังกฤษ ด้าน ซาจิด จาวิด(Sajid Javid)" ได้รับการแต่งตั้งมาทำหน้าที่แทน

เอพีรายงานวันนี้(30 เม.ย)ว่า ท่ามกลางความกดดันจากนโยบายรัฐบาลอังกฤษในความพยายามที่จะลดจำนวนผู้อพยพเข้าประเทศ :ซึ่งในช่วงบ่ายวันอาทิตย์(29) สำนักงานนายกรัฐมนตรีอังกฤษออกแถลงการณ์ว่า นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ยอมรับจดหมายการลาออกจากตำแหน่งของรัฐมนตรีมหาดไทยอังกฤษ แอมเบอร์ รัดด์(Amber Rudd)แล้ว

ซึ่งล่าสุด DW สื่อเยอรมันรายงานว่า นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ออกคำสั่งแต่วตั้ง ซาจิด จาวิด (Sajid Javid) อายุ 48 ปี ขึ้นทำหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีมหาดไทยอังกฤษคนใหม่แทน ทั้งนี้พบว่า จาวิดเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการบริหารธนาคารดอยช์แบงก์มาก่อน และยังเคยทำงานในภาครัฐระดับท้องถิ่น

สื่อเยอรมันชี้ว่า จาวิดเป็นลูกของผู้อพยพชาวปากีสถานเข้าอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้าวันอาทิตย์(29) เขาเคยให้ความเห็นกับหนังสือพิมพ์อังกฤษ เดลี เทเลกราฟ เกี่ยวกับคดีวินด์รัชฉาวว่า "บางทีอาจเป็นผมก็ได้" และจาวิดกลาบเป็นนักการเมืองชนกลุ่มน้อยอังกฤษรายแรกที่ได้รับตำแหน่งระดับรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล

ทั้งนี้ข่าวฉาวการปฎิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในอังกฤษเป็นเวลานานหลายสิบปีกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์อังกฤษมานานหลายวัน เอพีชี้ และได้สร้างเสียงตำหนิไปถึงรัฐบาลอังกฤษพรรคคอนเซอร์เวตีฟต่อการปฎิบัติที่เข้มงวดในนโยบายการเข้าเมืองของอังกฤษ

พบว่าในวันนี้(30) รัดด์ต้องขึ้นแจ้งต่อปัญหาที่อื้อฉาวที่รู้จักในนาม “คดีวินด์รัช” (Windrush Scandal) ต่อรัฐสภาอังกฤษ

ต้นตอปัญหาเกิดขึ้นเมื่อหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษ ได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่า มีบางส่วนของกลุ่มผู้อพยพที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศทะเลแคริบเบียนในช่วงหลายสิบปีหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ และอาศัยอยู่ในอังกฤษเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แต่กลับเป็นว่า เมื่อไม่นานมานี้คนเหล่านี้ถูกปฎิเสธเข้ารับการรักษาในอังกฤษ หรือถูกเจ้าหน้าที่อังกฤษข่มขู่ที่จะเนรเทศออกนอกประเทศ เป็นเพราะคนเหล่านี้ไม่สามารถแสดงหลักฐานที่แสดงถึงสิทธิในการอาศัยภายในอังกฤษอย่างถูกกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ได้

กลุ่มผู้อพยพได้รับผลกระทบเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในพวกยุคเจนเนอเรชันวินด์รัช(Windrush generation ) ซึ่งชื่อถูกตั้งตามเรือเดินสมุทร เดอะ เอ็มไพร์ วินด์รัช (Empire Windrush )เมื่อปี 1948 ที่นำผู้อพยพชาวแคริบเบียนจำนวนหลายร้อยคนเข้ามายังอังกฤษ ที่ในเวลานั้นอังกฤษต้องการแรงงานที่จะทำหน้าที่นางพยาบาล พนักกงานรถไฟ เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังผ่านพ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2

ผู้อพยพเหล่านี้มาจากดินแดนอาณานิคมอังกฤษในแถบทะเลแคริบเบียน หรืออดีตดินแดนอาณานิคม และดังนั้นจึงได้รับสิทธิทางกฎหมายในทันทีในการได้รับอนุญาตให้อาศัยในอังกฤษได้ เอพีกล่าว

แต่พบว่ามีบางส่วนกลับถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากกฎหมายใหม่ของรัฐบาลอังกฤษที่ออกมาในปี 2012 ซึ่งต้องการสร้างให้อังกฤษมีสภาวะแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรกับบรรดาผู้อพยพผิดกฎหมาย

แต่ทว่า กลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองถูกกฎหมายเหล่านี้กลับถูกปฎิเสธการได้รับความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย การว่าจ้างงาน หรือการรักษาพยาบาลเนื่องมาจากข้อกำหนดที่บังคับให้ผู้ให้เช่า นายจ้าง และแพทย์ต้องตรวจสอบสถานภาพการอาศัยอยู่ในอังกฤษของคนเหล่านั้นก่อนให้การบริการ

และมีอีกบางส่วนถูกทางเจ้าหน้าที่อังกฤษบอกว่า พวกเขาอาศัยอยู่ในอังกฤษอย่างผิดกฎหมาย และข่มขู่ให้เดินทางออกนอกประเทศ

เอพีรายงานว่า ในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ และรัฐมนตรมหาดไทยอังกฤษรัดด์ ต้องออกมาขอโทษต่อคนที่อยู่ในยุคเจนเนอเรชัน วินด์รัช โดยกล่าวว่า

ใครก็ตามที่เป็นผู้อพยพจากเครือจักรภพก่อนปี 1973 ที่ยังไม่ได้รับสถานภาพพลเมืองอังกฤษ จะได้รับ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการเยียวยา

สื่อเดอะการ์เดียนได้เผยแพร่หนังสือราชการของรัดด์ที่ได้ทำขึ้นเพื่อแจ้งไปยังเมย์ ในเป้าหมายของการเพิ่มตำเลขผู้อพยพที่ถูกขับออกนอกอังกฤษอีก 10% แต่ทว่าในสัปดาห์ก่อนหน้า รัดด์ได้แจ้งต่อสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ โดยอ้างว่า ***รัฐบาลอังกฤษของเมย์ไม่มีเป้าหมายต่อผู้อพยพ เพื่อเนรเทศคนเหล่านี้ออกนอกประเทศแต่อย่างใด*** ยกเว้นแต่บันทึกภายในปี 2017 ที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะแสดงเป้าหมายถึง “การบังคับการเนรเทศ” ซึ่งในขณะนั้นรัดด์อ้างว่า "เธอไม่เคยเห็นบันทึกภายในฉบับนี้มาก่อน"

เอพีรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษของพรรคคอนเซอร์เวตีฟตั้งเป้าหมายต้องการให้ผู้อพยพเข้าอังกฤษลดต่ำกว่า 10,000 คนต่อปี ลดมากกว่าจำนวนครึ่งหนึ่งของตัวเลขในปัจจุบัน

และคดีอื้อฉาวผู้อพยพแคริบเบียนสร้างความไม่สบายใจแก่บรรดาพลเมืองยุโรปที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ ที่ต่างวิตกถึงสถานภาพการอาศัยอย่างเป็นทางการของตัวเองหลังจากที่อังกฤษแยกตัวออกมาจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการแล้ว ถึงแม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะเคยให้คำมั่นว่า พวกเขายังสามารถอยู่ในอังกฤษได้ต่อไป และให้สัญญาจะสร้างระบบกระบวนการลงทะเบียนที่ไม่ยุ่งยากสำหรับคนเหล่านี้






กำลังโหลดความคิดเห็น