xs
xsm
sm
md
lg

บริษัทน้ำอัดลม “โคคาโคล่า” ร่วมกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ใช้ “เทคโนโลยีบล็อกเชน” แก้ปัญหาแรงงานทาสในซัพพลายเออร์ทั่วโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - บริษัทน้ำอัดลมโคคาโคล่า หรือ โค๊ก ของสหรัฐฯประกาศร่วมมือกระทรวงต่างประเทศวันศุกร์(16 มี.ค) ใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน (Block Chain Technolofy) กับซัพพลายเออร์ทั่วโลก เพื่อสะกัดแรงงานทาสในสายผลิต พบต้องมีการลงทะเบียนแรงงานผ่านเทคโนโลยีนี้

อัลญะซีเราะฮ์ สื่อกาตาร์ รายงานวันเสาร์(17 มี.ค)ว่า บริษัทเครื่องดื่มน้ำอัดลมโคโคาโคล่า หรือ “โค๊ก” ของสหรัฐฯ และบริษัทอื่นๆอีก 2 บริษัทร่วมมือกับกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯในโปรเจกต์บล็อกเชนเทคโนโลยีจัดทำการลงทะเบียนแรงงานที่เคร่งครัด เพื่อเป้าหมายที่จะให้มีการใช้แรงงานบังคับทั่วโลกต้องหมดไป

ซึ่งกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯชี้ว่า โปรเจกต์นี้ถือเป็นโครงการนำร่องครั้งแรกในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการจัดการปัญหาแรงงานทาส

อ้างอิงจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ ILO พบว่า มีแรงงานทั่วโลกเกือบ 25 ล้านคนต้องทำงานในสภาพการใช้แรงงานแบบบังคับ และจากทั้งหมด มีจำนวนมากถึง 47% อยู่ในแถบเอเชียแปซิฟิก

ทั้งนี้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มต่างอยู่ภายใต้ความกดดันในการที่ต้องแก้ปัญหาแรงงานทาสเหล่านี้ในประเทศที่ได้มาซึ่งอ้อยที่เป็นแหล่งวัตถุดิบน้ำตาล และการวิจัยที่ถูกเผยแพร่ในปีที่ผ่านมาจากการจัดทำโดยองค์กร “รู้จักเครือข่ายของคุณ” หรือ KnowTheChain(KTC) พันธมิตรที่ถูกก่อตั้งโดยองค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีฐานในสหรัฐฯ ฮิวแมนนิตี ยูไนเต็ด( Humanity United) ได้ระบุว่า บริษัทเครื่องดื่มและอาหารส่วนใหญ่นั้นล้มเหลวในการแก้ปัญหานี้

ซึ่งในการศึกษาพบว่า บริษัทโคโคาโคล่าเป็น 1 ใน 10 ยักษ์ใหญ่ทั่วโลกที่ถูกทาง KTC เฝ้าจับตา ได้ประกาศที่จะทำการศึกษาระดับชั้นใน 28 ประเทศตอบสนองด้านแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และสิทธิในที่ดินในซัพพลายเชนของน้ำตาลที่ถูกนำมาป้อนให้กับทางบริษัทให้เสร็จสิ้นภายในปี 2020

ซึ่งทางบริษัทน้ำดำสหรัฐฯชี้ว่า ได้ใช้เวลากว่าปีในการสำรวจโปรเจกต์บล็ฮกเชนจำนวนมาก โดยเบรนต์ วิลตัน(Brent Wilton ) หัวหน้าแผนกสิทธิในที่ทำงานระดับทั่วโลกของโคคาโคล่าออกแถลงการณ์ส่งไปยังรอยเตอร์ชี้แจงว่า “เราเป็นพันธมิตรร่วมในโครงการนำร่องเพื่อต้องการให้มีความโปร่งใสมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในกระบวนการยืนยันที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแรงงานภายในซัพพลายเชนของโคโคาโคล่า”

อัลญะซีเราะฮ์ชี้ว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนถูกนำมาใช้ในโปรเจกต์นี้เพื่อต้องการสร้างฐานข้อมูลลงทะเบียนแรงงานและผู้ที่ติดต่อของคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯกล่าวว่า ทางกระทรวงจะจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องแรงงานให้

“กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯมีความรู้สึกตื่นเต้นที่จะทำงานในโปรเจกต์นำร่องเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้” รองผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ สก็อตต์ บัสบี(Scott Busby)กล่าว

ซึ่งถึงแม้ว่าเทคโนโลยีที่ว่านี้จะไม่สามารถบังคับให้บริษัทซัพพลายเชนทั้งหลายทำตามข้อตกลงด้านแรงงาน แต่ทว่าเทคโนโลยีจะสามารถสร้างเครือข่ายที่ยืนยันได้เพื่อเป็นหลักฐานในการสนับสนุนนการทำตามข้อตกลงเหล่านี้ สื่อกาตาร์รายงาน

สำหรับแพลตฟอร์มบล็อกเชนนี้จะมีบริษัทไฮเทคของสหรัฐฯ เดอะ บิตฟิวรี กรุ๊ป(The Bitfury Group) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนอีเมอร์คอยน์(Emercoin) จะเป็นผู้ให้บริการบล็อกเชน


กำลังโหลดความคิดเห็น