เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ทีมนักวิจัยจากสหรัฐฯที่มีนายแพทย์ พาโบล รอส จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส และดร. ฮิโระ นาคอชิจากมาหวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศความสำเร็จทางเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะ สร้างตัวอ่อนไคมีรา(Human Chimera Embryos) ที่มีสเต็มเซลล์ของคนผสม เล็งใช้สัตว์เป็นแหล่งปลูกถ่ายอวัยวะให้กับมนุษย์ในอนาคต ชี้ต่างจากวิธีนำเอาอวัยวะสัตว์มาใส่ให้คน แต่สุดอึ้งทีมวิจัยชี้ใน 1 เซลล์ของทุก 100,000 เซลล์ของตัวอ่อนไคมีราถือเป็น “คน” อนาคตมีฮือฮา เตรียมเพิ่มสัดส่วนเซลล์มนุษย์เข้าไปในการทดลอง
หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้(17 ก.พ)ว่า นักวิจัยกล่าวว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษนี้ได้เปิดประตูให้เราสามารถปลูกอวัยวะเพื่อการเปลี่ยนถ่ายสำหรับคนในตัวของสัตว์ได้แล้ว หรือมีความสามารถในการใช้วิทยาการทางพันธุกรรมในการสร้างอวัยวะใหม่ที่เทียบเท่าของเดิมจากมนุษย์สำเร็จ
ซึ่งทางนักวิจัยอ้างว่า การใช้สัตว์เป็นแหล่งสร้างอวัยวะปลูกถ่ายให้กับคนไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มอวัยวะสำหรับการเปลี่ยนถ่ายให้กับตลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างอวัยวะเท่าเทียบที่สามารถใช้เหมือนกับอวัยเดิมของมนุษย์ที่ระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์จะไม่ต่อต้านด้วยการนำเซลล์ของผู้ป่วยใช้ในกระบวนการ และนำสิ่งที่อาจจะเป็นการต่อต้านออกไป
ทั้งนี้อ้างอิงจากศูนย์เปลี่ยนถ่ายอวัยวะและเลือดของอังกฤษ NHS พบว่าเกือบทุก 460 คนเสียชีวิตในปี 2016 ในระหว่างการรอการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ และในกลุ่มผู้ที่ได้รับอวัยวะสำหรับการปลูกถ่าย บางครั้งอาจพบปัญหาร่างกายไม่รับอวัยวะใหม่
ด้านดร. พาโบล รอส(Dr Pablo Ross) หนึ่งในทีมการวิจัยสร้างแกะสายพันธุ์ผสมมนุษย์เพื่ออวัยวะเปลี่ยนถ่าย จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส กล่าวว่า “ทีแม้แต่ในปัจจุบันอวัยวะที่เข้ากับผู้ได้รับบริจาคดีที่สุด ยกเว้นในกรณีที่ได้รับมาจากฝาแฝดเหมือน จะไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลานาน เพราะในระยะยาวภูมิคุ้มกันร่างกายจะโจมตีอวัยวะปลูกถ่ายอย่างต่อเนื่อง”
บรูซ ไวท์ลอว์ (Bruce Whitelaw) ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีชีววิทยาสัตว์ประจำสถาบันรอสลิน(the Roslin Institute) ซึ่งเป็นที่แกะดอลลลีได้ถูกสร้างขึ้น กล่าวว่าในขณะที่ยังอีกนานกว่าที่มนุษย์จะสามารถปลูกถ่ายอวัยวะของตัวเองในตัวสัตว์ได้ การวิจัยล่าสุดนั้นถือเป็นก้าวที่สำคัญในการวิจัยว่า “แกะ” จะสามารถกลายเป็นทางเลือกในโปรเจกต์ไครมีรา (chimeric’ project)
ซึ่งในทางพันธุกรรม “Chimera” หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นจากกลุ่มประชากรเซลล์ที่มีต้นกำเนิดทางพันธุกรรมแตกต่างกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป (จากคนละ zygote กัน) มาเจริญอยู่ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม สื่ออังกฤษชี้ว่า วิธีการนี้ต่างจากวิธีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์ ( Xenotransplantation) ที่หมายความว่าการนำอวัยวะของต่างสายพันธุ์เป็นต้นว่ามาจากของหมูใส่ให้กับคน และอีกวิธีคือการได้จากอวัยวะของผู้เสียชีวิต ซึ่งนั่นอาจจะยังคงมีปัญหาในการที่ถูกปฎิเสธจากระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้ที่รับการปลูกถ่าย
ดร.รอสได้รายงานความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในโปรเจกต์การปลูกถ่ายอวัยวะของทีมเขาว่า ทีมนักวิจัยของเขาประสบความสำเร็จในการสามารถ นำสเต็มเซลล์ของมนุษย์เข้าไปฝังตัวในตัวอ่อนของหมูในระยะเริ่มต้นได้สำเร็จแล้ว และจะสามารถผลิตตัวอ่อนได้ ซึ่งทีมวิจัยระบุว่า 1 ในทุก 100,000 เซลล์นั้นเป็นมนุษย์
ซึ่งวิธีการปลูกถ่ายแบบไคมีรา ซึ่งมีรากศัพท์มาจากเทพนิยายกรีกนั้น ในเบื้องต้นทางทีมวิจัยกำหนดให้ตัวอ่อนมีการเติบโตได้แค่ 28 วัน
และในสัปดาห์นี้ที่จะมีการประชุมว่าด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science)ในเมืองออสติน รัฐเทกซัส ทางทีมวิจัยของดร.รอสได้ประกาศว่า ทางพวกเขาได้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งได้เกิดขึ้นกับตัวอ่อนของแกะ แต่ประสบความสำเร็จในอัตราที่สูงกว่าของมนุษย์ต่อเซลล์ของสัตว์ ซึ่งทางดร.รอสยืนยันอย่างภาคภูมิใจว่า “ในทุก 1 ใน 100,000 เซลของพวกมันเป็นมนุษย์”
นอกจากนี้ เรื่องที่น่าพิศวงไปกว่าเมื่อพบว่า ทางทีมวิจัยประกาศว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิกการควบคุมจีโนม(genome)ในการสร้างตัวอ่อนแกะและหมูขึ้นมาใหม่โดยที่จะไม่มีการสร้างตับอ่อนขึ้นมา ซึ่งสุดประสงค์การบังคับไม่ให้ตัวอ่อนสัตว์เหล่านี้สร้างอวัยวะตับอ่อนของตัวเอง ด้วยเหตุที่ทางทีมนักวิจัยจะนำเซลล์มนุษย์เข้าไปฝังเพื่อทำให้ตัวอ่อนของสัตว์สามารถสร้างตับอ่อนสายพันธุ์คนขึ้นภายในตัวของสัตว์เหล่านั้นเพื่อให้พวกมันใช้
ในปัจจุบันนี้ทางทีมวิจัยได้ปล่อยให้ตัวอ่อนที่ใช้วิธีปลูกถ่ายไคมีราสามารถพัฒนาเป็นเวลา 28 วัน และพบว่า 21 วันของทั้งหมด 28 วันจะเกิดขึ้นอยู่ภายในตัวแกะ
และช่วงเวลาดังกล่าวนั้นพอเพียงที่จะทำให้ทางทีมวิจัยได้เห็นการพัฒนาของการที่ตัวอ่อนจะไม่สร้างอวัยวะเป้าหมายเมื่อเซลล์มนุษย์ถูกนำเข้าไปผสมกับตัวอ่อนเป้าหมาย ซึ่งดร. ฮิโระ นาคอชิ(Dr Hiro Nakauchi) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนึ่งในทีมวิจัยร่วมกับนายแพทย์รอสจากเดวิส กล่าวว่า ในการวิจัยที่ใช้เวลานานขึ้นในอนาคต ที่อาจนานถึง 70 วัน จะมีความน่าสนใจมากขึ้น ถึงแม้ว่าทางทีมวิจัยต้องขออนุญาตเพิ่มเติมจากบอร์ดผู้ควบคุมของทางสถาบันก่อนก็ตาม
ดร.รอสกล่าวต่อว่า ทางทีมวิจัยเชื่อว่า 1% ของเซลล์ตัวอ่อนที่จะต้องเป็นมนุษย์ ซึ่งจากสิ่งนี้ทำให้ทีมวิจัยอ้างว่า ในอนาคตการทดสอบอาจมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มสัดส่วนของเซลล์มนุษย์เข้าไปในตัวอ่อนไคมีรา
การที่แกะกลายเป็นทางเลือกสำหรับฟาร์มปลูกถ่ายอวัยวะของดร.รอส ด้วยเหตุที่ว่าเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น แกะมีอวัยวะภายในเช่น หัวใจ และปอด เหมือนมนุษย์ และอีกทั้งในวิธีการปลูกถ่ายไคมีรา พบว่าตัวอ่อนของแกะที่ใช้วิธีไคมีราสามารถสร้างตัวอ่อนไคมีรากับตัวอ่อนของแพะเพื่อสร้าง “geeps” ซึ่งเป็นการผสมทางพันธุวิศวกรรมทางห้องแล็บของสัตว์ทั้งสอง ซึ่งต่างจากลูกที่ออกมาจากการผสมพันธุ์ทางธรรมชาติของแกะและแพะ
นอกจากนี้ ที่เหมือนกับหมู แกะสามารถสร้างอวัยะภายในที่มีขนาดเท่าของคน
คำถามทางจริยธรรม
ดร.รอสแสดงความเห็นต่อ โดยออกตัวว่า อย่างไรก็ตาม ทางเขามีความกังวลเช่นกันว่า บางทีงานวิจัยอาจแปรสภาพให้สัตว์มีจิตใจคล้ายคน “ผมมีความกังวลถึงปัญหานี้เช่นกัน” ดร.รอสยอมรับ แต่อ้างว่า “หากว่าทีมวิจัยของผมได้ประเมินว่า เซลล์มนุษย์ที่นำไปผสมอาจจะทำให้สัตว์มีจิตใจคล้ายกับมนุษย์ ทีมของเขาคงจะไม่ทำต่อ”
ซึ่งทางนาคอชิอ้างเสริมในเรื่องนี้ว่า เซลล์มนุษย์ที่นำมาผสมนั้นถูกจัดว่าน้อยมาก “และมันจะไม่ทำให้เกิดสัตว์ประหลาดหมูที่มีใบหน้าเป็นมนุษย์ หรือมีสมองเป็นมนุษย์เช่นนั้น”
เดอะการ์เดียนรายงานว่า และยังรวมไปถึงปัญหาไวรัสที่อยู่ภายใน DNA ของสัตว์อาจ ทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อ ที่อาจเป็นว่า อวัยวะมนุษย์ที่ถูกสร้างภายในตัวสัตว์อาจปนเปื้อนกับเลือดที่มาจากสัตว์เจ้าของอวัยวะ แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า หากเกิดขึ้นในกรณีนั้น ภูมิคุ้มกันภายในของผู้รับอวัยวะจะปฎิเสธทันที และอวัยวะนั้นจะไม่สามารถใช้ได้