(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Freedom of navigation assertion a political delusion: former US diplomat
By Asia Times staff
14/02/2018
ในความเห็นของนักการทูตซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามแปลให้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปเยือนจีนครั้งประวัติศาสตร์ การที่สหรัฐฯอ้างเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลจีนใต้อยู่ในเวลานี้ คือความปรารถนาอันเปล่าผลไร้ประโยชน์ของอเมริกาที่จะยืนกรานรักษาอำนาจอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้เอาไว้ต่อไป
เมื่อตอนที่สหรัฐฯกับจีนเริ่มแรกวางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันของประเทศทั้งสองนั้น ได้มีการออกเอกสารฉบับหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อว่า “แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้” (Shanghai Communique) แถลงการณ์ร่วมระหว่างจีน-สหรัฐฯฉบับนี้มีเนื้อหาที่บ่งบอกให้วางความแตกต่างทางการเมืองระหว่างสองประเทศซึ่งมีอยู่อย่างมากมายกว้างขวางเอาไว้ก่อน
เชส ฟรีแมน (Chas Freemen) นักการทูตอาชีพซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามแปลหลัก ให้แก่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐฯ ในการเดินทางไปเยือนจีนครั้งประวัติศาสตร์ของเขาเมื่อปี 1972 เล่าย้อนทบทวนความหลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ประธานาธิบดีอเมริกันผู้นั้นได้กล่าวย้ำยืนยันในตอนนั้นว่า สหรัฐฯจำเป็นที่จะต้อง “เข้าใจถึงความเป็นจริงของจีนให้ได้อย่างหนักแน่นมั่นคงโดยเร่งด่วน”
ในการแสดงปาฐกถาต่อวิทยาลัยสงครามทางนาวีของสหรัฐฯ (US Naval War College) (ดูรายละเอียดของปาฐกถานี้ได้ที่ http://chasfreeman.net/the-united-states-and-china-game-of-superpowers/) ฟรีแมนได้ย้ำยืนยันว่า ถึงแม้สภาวการณ์ขณะนี้มีความแตกต่างออกไปหลายๆ ประการจากเมื่อตอนที่นิกสันพูดเอาไว้ในเวลานั้น แต่คำพูดของเขาก็ยังคงสอดคล้องกับความเป็นจริงของทุกวันนี้ ฟรีแมนเสนอแนะว่า หลักการว่าด้วยการให้ความเคารพกันและกันซึ่งระบุเอาไว้ในแถลงการณ์เซี่ยงไฮ้นั้นยังคงใช้การได้ดี และเป็นความฉลาดหลักแหลมที่จะย้ำเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง
พวกผู้วางนโยบายในวอชิงตันยังคงไม่ได้เข้าใจอย่างหนักแน่นมั่นคงเกี่ยวกับความเป็นจริงแห่งการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ฟรีแมนบอกและแจกแจงว่า เรื่องที่น่าห่วงเป็นพิเศษได้แก่ข้อเท็จจริงที่ว่า จีนเป็นมหาอำนาจยิ่งใหญ่เพียงรายเดียวเท่านั้นซึ่งขนาดขอบเขตของดินแดนและแนวพรมแดนของพวกเขากำลังถูกสหรัฐฯโต้แย้งทัดทาน และการอ้างสิทธิของจีนเหนือทะเลจีนใต้กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อความปรารถนาอันเปล่าผลไร้ประโยชน์ของอเมริกาที่จะยืนกรานรักษาอำนาจอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้เอาไว้ต่อไป:
[ทะเลจีนใต้] คือสถานที่ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯกำลังเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่ว่า มันไม่ได้มีทะเลน่านน้ำนอกประเทศจีนซึ่งเป็นของพวกเขาเองอีกแล้ว แต่พวกเขาต้องแบ่งปันใช้สอยทะเลน่านน้ำเหล่านี้กับกองทัพเรือจีนและหน่วยยามฝั่งจีน […] แต่สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีการอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ ของเราเองเลย และประเด็นปัญหาที่ยังคงมีเดิมพันอยู่ ก็เพียงเป็นเชิงสัญลักษณ์ อีกทั้งมีต้นตอจากความปรารถนาของเราที่จะยังคงอยู่ในจุดสูงสุดแห่งการจัดอันดับว่าใครใหญ่ในภูมิภาคแถบนี้
การกล่าวย้ำยืนที่ว่า การเผชิญหน้ากันในทะเลจีนใต้คือเรื่องของ “เสรีภาพในการเดินเรือ” (freedom of navigation) คือการให้เหตุผลเพื่อหลอกลวงตัวเองในทางการเมือง --เรียกได้ว่าเป็น “ข่าวปลอม” ซึ่งแฝงฝังอยู่ในถ้อยคำโวหารอันชวนให้เข้าใจผิด ทว่าได้ถูกกล่าวย้ำซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยครั้งจนกระทั่งเวลานี้มันกลายเป็นคำมั่นสัญญาที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกไปแล้ว หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) นั้นได้ถูกขีดเครื่องหมายเอาไว้บนตารางบนแผนที่ต่างๆ มานานแล้วว่าเป็น “พื้นที่อันตราย” ซึ่งเรือทั้งหลายควรที่จะหลีกเลี่ยง พวกมันอยู่นอกเส้นทางเดินเรือทะเลออกไปมาก การค้าที่ผ่านทะเลจีนใต้ประมาณสองในสามทีเดียวคือการค้าที่มีเส้นทางเข้าสู่หรืออกจากประเทศจีน ทำให้จีนกลายเป็นผู้มีผลประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลยิ่งกว่าใครๆ ที่จะต้องทำการพิทักษ์ปกป้องเสรีภาพในการเดินเรือที่บริเวณนั้น แทนที่จะเป็นผู้รบกวนเสรีภาพดังกล่าว
ฟรีแมนอธิบายต่อไปด้วยว่า ไม่ใช่เพียงแค่การก้าวผงาดขึ้นมาของจีนเท่านั้นที่กำลังลดทอนเหตุผลของสหรัฐฯในการดำรงคงฐานะครอบงำในเอเชีย-แปซิฟิก หากแต่การเติบโตก้าวขึ้นมามีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศอื่นๆ จำนวนมากก็กำลังก่อให้เกิดผลลัพธ์ทำนองเดียวกัน:
การครองฐานะครอบงำสูงสุดของสหรัฐฯ ไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นจริงอีกต่อไปแล้ว ภายในภูมิภาคซึ่งญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูตัวเองขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง แล้วยังมีชาติอื่นๆ อีกด้วย อย่างเช่น เกาหลีทั้งสอง, เวียดนาม, อินโดนีเซีย,และอินเดีย ต่างก็ได้เติบใหญ่ขึ้นสู่การเป็นตัวแสดงในทางเศรษฐกิจ, การทหาร, วัฒนธรรม, และการเมือง ซึ่งเป็นอิสระและทรงอำนาจ ไม่ว่าชาติเหล่านี้หรือประเทศจีนที่มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ล้วนแต่ไม่สามารถปฏิเสธไม่ให้พวกเขามีบทบาทในการจัดระเบียบเรื่องต่างๆ ของภูมิภาค ซึ่งพวกเขามองเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากการป้องกันประเทศชาติของพวกเขาและจากความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของพวกเขา แต่ทั้งๆ ที่อยู่ในบริบทใหม่แล้ว การที่อเมริกันยังคงประพฤติตัวราวกับว่าสามารถที่จะบังคับบัญชาภูมิภาคนี้ได้ตามอำเภอใจฝ่ายเดียวต่อไปนั้นย่อมจะไม่ได้ผลอะไร การแสดงจุดยืนท่าทีเช่นนั้นน่าที่จะทำให้ภูมิภาคนี้เกิดความไม่พอใจกับสถานะเดิมเพิ่มมากขึ้นทุกที มากกว่าจะเป็นกันชนคอยปกป้องสถานะเดิมเอาไว้
ฟรีแมนหยิบยกเหตุผลขึ้นมาแจกแจงว่า การตอบโต้ของสหรัฐฯต่อการที่อิทธิพลของตนกำลังเสื่อมทรุดลงไปทั่วโลกในเวลานี้ อยู่ในลักษณะของการถูกนำทางอย่างผิดพลาดร้ายแรงน่าเศร้าใจ และจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องทำการตรวจสอบกันใหม่อย่างขนานใหญ่:
ปฏิกิริยาของอเมริกันต่อการที่เรากำลังถูกจีนเข้าแทนที่ในฐานะเป็นหมายเลขหนึ่งมากขึ้นทุกทีนั้น อยู่ในลักษณะเดินตามบทสคริปต์ซึ่งเขียนโดยพวกเรียลลิสต์ที่มุ่งเป็นฝ่ายรุก (offensive realist) อย่างใกล้ชิด ในฐานะที่เป็นชาติๆ หนึ่ง เรานั้นมีกรอบความคิดจิตใจแบบก้าวร้าวชอบวิวาทและขี้หงุดหงิด เราประณามกล่าวโทษรัสเซียสำหรับสิ่งที่ออกมาจากการลงคะแนนโหวตของเรา เราประณามทุกๆ คนนอกจากตัวเราเองสำหรับความยุ่งเหยิงปั่นป่วนในตะวันออกกลาง และสำหรับการขาดดุลการค้าและการขาดดุลชำระเงินของเรา ตลอดจนกระบวนการเลิกราอุตสาหกรรม (deindustrialization) ของตลาดการจ้างงานของเรา
เรากำลังไม่แยแสไม่ให้ความเคารพความเชี่ยวชาญชำนาญการ โดยเฉพาะของพวกนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งส่วนข้างมากของพวกเขาบอกแก่เราว่า ปัญหาต่างๆ ของเรานั้นมีต้นตอมาจากอัตราการออมแห่งชาติของเราที่ขาดเขินไม่เพียงพออย่างน่าสมเพท, การไม่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางมนุษย์และทางกายภาพของเรา, ความผิดพลาดบกพร่องต่างๆ ในวิธีการที่เราจัดการฝึกอบรมใหม่และหาตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้แก่บรรดาคนงานซึ่งถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ, ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับฝ่ายบริหารจัดการที่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้การแข่งขันด้วยการเอาต์ซอร์ซิ่ง (outsourcing), ความไม่เสมอภาคทางรายได้ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ, นโยบายด้านผู้อพยพที่ไร้เหตุผล, การลงทุนในทิศทางที่ผิดพลาดเนื่องจากกฎกติกาทางภาษีซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อคุ้มครองพวกที่มีผลประโยชน์ผูกติดแน่นเหนียวอยู่กับระบบเดิมๆ, และรัฐบาลที่สะดุดติดขัดก้าวขาไม่ออก การที่เราจะประณามพวกชาวต่างชาติในจีน, เม็กซิโก, แคนาดา, เยอรมนี, เกาหลี, หรือญี่ปุ่น สำหรับการที่เราประสบความสำเร็จต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนั้น ย่อมเป็นเรื่องง่ายดายกว่านักหนา เมื่อเปรียบเทียบกับการเข้าตรวจสอบทบทวนกันใหม่และดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ และการปฏิบัติต่างๆ ของเราเอง
Freedom of navigation assertion a political delusion: former US diplomat
By Asia Times staff
14/02/2018
ในความเห็นของนักการทูตซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามแปลให้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปเยือนจีนครั้งประวัติศาสตร์ การที่สหรัฐฯอ้างเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลจีนใต้อยู่ในเวลานี้ คือความปรารถนาอันเปล่าผลไร้ประโยชน์ของอเมริกาที่จะยืนกรานรักษาอำนาจอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้เอาไว้ต่อไป
เมื่อตอนที่สหรัฐฯกับจีนเริ่มแรกวางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันของประเทศทั้งสองนั้น ได้มีการออกเอกสารฉบับหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อว่า “แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้” (Shanghai Communique) แถลงการณ์ร่วมระหว่างจีน-สหรัฐฯฉบับนี้มีเนื้อหาที่บ่งบอกให้วางความแตกต่างทางการเมืองระหว่างสองประเทศซึ่งมีอยู่อย่างมากมายกว้างขวางเอาไว้ก่อน
เชส ฟรีแมน (Chas Freemen) นักการทูตอาชีพซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามแปลหลัก ให้แก่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐฯ ในการเดินทางไปเยือนจีนครั้งประวัติศาสตร์ของเขาเมื่อปี 1972 เล่าย้อนทบทวนความหลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ประธานาธิบดีอเมริกันผู้นั้นได้กล่าวย้ำยืนยันในตอนนั้นว่า สหรัฐฯจำเป็นที่จะต้อง “เข้าใจถึงความเป็นจริงของจีนให้ได้อย่างหนักแน่นมั่นคงโดยเร่งด่วน”
ในการแสดงปาฐกถาต่อวิทยาลัยสงครามทางนาวีของสหรัฐฯ (US Naval War College) (ดูรายละเอียดของปาฐกถานี้ได้ที่ http://chasfreeman.net/the-united-states-and-china-game-of-superpowers/) ฟรีแมนได้ย้ำยืนยันว่า ถึงแม้สภาวการณ์ขณะนี้มีความแตกต่างออกไปหลายๆ ประการจากเมื่อตอนที่นิกสันพูดเอาไว้ในเวลานั้น แต่คำพูดของเขาก็ยังคงสอดคล้องกับความเป็นจริงของทุกวันนี้ ฟรีแมนเสนอแนะว่า หลักการว่าด้วยการให้ความเคารพกันและกันซึ่งระบุเอาไว้ในแถลงการณ์เซี่ยงไฮ้นั้นยังคงใช้การได้ดี และเป็นความฉลาดหลักแหลมที่จะย้ำเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง
พวกผู้วางนโยบายในวอชิงตันยังคงไม่ได้เข้าใจอย่างหนักแน่นมั่นคงเกี่ยวกับความเป็นจริงแห่งการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ฟรีแมนบอกและแจกแจงว่า เรื่องที่น่าห่วงเป็นพิเศษได้แก่ข้อเท็จจริงที่ว่า จีนเป็นมหาอำนาจยิ่งใหญ่เพียงรายเดียวเท่านั้นซึ่งขนาดขอบเขตของดินแดนและแนวพรมแดนของพวกเขากำลังถูกสหรัฐฯโต้แย้งทัดทาน และการอ้างสิทธิของจีนเหนือทะเลจีนใต้กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อความปรารถนาอันเปล่าผลไร้ประโยชน์ของอเมริกาที่จะยืนกรานรักษาอำนาจอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้เอาไว้ต่อไป:
[ทะเลจีนใต้] คือสถานที่ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯกำลังเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่ว่า มันไม่ได้มีทะเลน่านน้ำนอกประเทศจีนซึ่งเป็นของพวกเขาเองอีกแล้ว แต่พวกเขาต้องแบ่งปันใช้สอยทะเลน่านน้ำเหล่านี้กับกองทัพเรือจีนและหน่วยยามฝั่งจีน […] แต่สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีการอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ ของเราเองเลย และประเด็นปัญหาที่ยังคงมีเดิมพันอยู่ ก็เพียงเป็นเชิงสัญลักษณ์ อีกทั้งมีต้นตอจากความปรารถนาของเราที่จะยังคงอยู่ในจุดสูงสุดแห่งการจัดอันดับว่าใครใหญ่ในภูมิภาคแถบนี้
การกล่าวย้ำยืนที่ว่า การเผชิญหน้ากันในทะเลจีนใต้คือเรื่องของ “เสรีภาพในการเดินเรือ” (freedom of navigation) คือการให้เหตุผลเพื่อหลอกลวงตัวเองในทางการเมือง --เรียกได้ว่าเป็น “ข่าวปลอม” ซึ่งแฝงฝังอยู่ในถ้อยคำโวหารอันชวนให้เข้าใจผิด ทว่าได้ถูกกล่าวย้ำซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยครั้งจนกระทั่งเวลานี้มันกลายเป็นคำมั่นสัญญาที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกไปแล้ว หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) นั้นได้ถูกขีดเครื่องหมายเอาไว้บนตารางบนแผนที่ต่างๆ มานานแล้วว่าเป็น “พื้นที่อันตราย” ซึ่งเรือทั้งหลายควรที่จะหลีกเลี่ยง พวกมันอยู่นอกเส้นทางเดินเรือทะเลออกไปมาก การค้าที่ผ่านทะเลจีนใต้ประมาณสองในสามทีเดียวคือการค้าที่มีเส้นทางเข้าสู่หรืออกจากประเทศจีน ทำให้จีนกลายเป็นผู้มีผลประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลยิ่งกว่าใครๆ ที่จะต้องทำการพิทักษ์ปกป้องเสรีภาพในการเดินเรือที่บริเวณนั้น แทนที่จะเป็นผู้รบกวนเสรีภาพดังกล่าว
ฟรีแมนอธิบายต่อไปด้วยว่า ไม่ใช่เพียงแค่การก้าวผงาดขึ้นมาของจีนเท่านั้นที่กำลังลดทอนเหตุผลของสหรัฐฯในการดำรงคงฐานะครอบงำในเอเชีย-แปซิฟิก หากแต่การเติบโตก้าวขึ้นมามีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศอื่นๆ จำนวนมากก็กำลังก่อให้เกิดผลลัพธ์ทำนองเดียวกัน:
การครองฐานะครอบงำสูงสุดของสหรัฐฯ ไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นจริงอีกต่อไปแล้ว ภายในภูมิภาคซึ่งญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูตัวเองขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง แล้วยังมีชาติอื่นๆ อีกด้วย อย่างเช่น เกาหลีทั้งสอง, เวียดนาม, อินโดนีเซีย,และอินเดีย ต่างก็ได้เติบใหญ่ขึ้นสู่การเป็นตัวแสดงในทางเศรษฐกิจ, การทหาร, วัฒนธรรม, และการเมือง ซึ่งเป็นอิสระและทรงอำนาจ ไม่ว่าชาติเหล่านี้หรือประเทศจีนที่มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ล้วนแต่ไม่สามารถปฏิเสธไม่ให้พวกเขามีบทบาทในการจัดระเบียบเรื่องต่างๆ ของภูมิภาค ซึ่งพวกเขามองเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากการป้องกันประเทศชาติของพวกเขาและจากความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของพวกเขา แต่ทั้งๆ ที่อยู่ในบริบทใหม่แล้ว การที่อเมริกันยังคงประพฤติตัวราวกับว่าสามารถที่จะบังคับบัญชาภูมิภาคนี้ได้ตามอำเภอใจฝ่ายเดียวต่อไปนั้นย่อมจะไม่ได้ผลอะไร การแสดงจุดยืนท่าทีเช่นนั้นน่าที่จะทำให้ภูมิภาคนี้เกิดความไม่พอใจกับสถานะเดิมเพิ่มมากขึ้นทุกที มากกว่าจะเป็นกันชนคอยปกป้องสถานะเดิมเอาไว้
ฟรีแมนหยิบยกเหตุผลขึ้นมาแจกแจงว่า การตอบโต้ของสหรัฐฯต่อการที่อิทธิพลของตนกำลังเสื่อมทรุดลงไปทั่วโลกในเวลานี้ อยู่ในลักษณะของการถูกนำทางอย่างผิดพลาดร้ายแรงน่าเศร้าใจ และจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องทำการตรวจสอบกันใหม่อย่างขนานใหญ่:
ปฏิกิริยาของอเมริกันต่อการที่เรากำลังถูกจีนเข้าแทนที่ในฐานะเป็นหมายเลขหนึ่งมากขึ้นทุกทีนั้น อยู่ในลักษณะเดินตามบทสคริปต์ซึ่งเขียนโดยพวกเรียลลิสต์ที่มุ่งเป็นฝ่ายรุก (offensive realist) อย่างใกล้ชิด ในฐานะที่เป็นชาติๆ หนึ่ง เรานั้นมีกรอบความคิดจิตใจแบบก้าวร้าวชอบวิวาทและขี้หงุดหงิด เราประณามกล่าวโทษรัสเซียสำหรับสิ่งที่ออกมาจากการลงคะแนนโหวตของเรา เราประณามทุกๆ คนนอกจากตัวเราเองสำหรับความยุ่งเหยิงปั่นป่วนในตะวันออกกลาง และสำหรับการขาดดุลการค้าและการขาดดุลชำระเงินของเรา ตลอดจนกระบวนการเลิกราอุตสาหกรรม (deindustrialization) ของตลาดการจ้างงานของเรา
เรากำลังไม่แยแสไม่ให้ความเคารพความเชี่ยวชาญชำนาญการ โดยเฉพาะของพวกนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งส่วนข้างมากของพวกเขาบอกแก่เราว่า ปัญหาต่างๆ ของเรานั้นมีต้นตอมาจากอัตราการออมแห่งชาติของเราที่ขาดเขินไม่เพียงพออย่างน่าสมเพท, การไม่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางมนุษย์และทางกายภาพของเรา, ความผิดพลาดบกพร่องต่างๆ ในวิธีการที่เราจัดการฝึกอบรมใหม่และหาตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้แก่บรรดาคนงานซึ่งถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ, ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับฝ่ายบริหารจัดการที่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้การแข่งขันด้วยการเอาต์ซอร์ซิ่ง (outsourcing), ความไม่เสมอภาคทางรายได้ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ, นโยบายด้านผู้อพยพที่ไร้เหตุผล, การลงทุนในทิศทางที่ผิดพลาดเนื่องจากกฎกติกาทางภาษีซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อคุ้มครองพวกที่มีผลประโยชน์ผูกติดแน่นเหนียวอยู่กับระบบเดิมๆ, และรัฐบาลที่สะดุดติดขัดก้าวขาไม่ออก การที่เราจะประณามพวกชาวต่างชาติในจีน, เม็กซิโก, แคนาดา, เยอรมนี, เกาหลี, หรือญี่ปุ่น สำหรับการที่เราประสบความสำเร็จต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนั้น ย่อมเป็นเรื่องง่ายดายกว่านักหนา เมื่อเปรียบเทียบกับการเข้าตรวจสอบทบทวนกันใหม่และดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ และการปฏิบัติต่างๆ ของเราเอง