รอยเตอร์ – กระทรวงรวมชาติเกาหลีของโซลแถลงวันเสาร์(13 ม.ค)ว่า ทางเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือได้ตกลงร่วมกันในการจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการในวันจันทร์(15 ม.ค)ที่ศูนย์การประชุมตงจิล พาวิเลียน (Tongil Pavilion)ฝั่งเกาหลีเหนือ ตรงกันข้ามกับหมู่บ้านสัญญาสงบศึกปันมุนจอม(Panmunjom)ทางฝั่งเกาหลีใต้วันจันทร์(15 ม.ค)ที่จะถึง
รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้(13 ม.ค)ว่า ตัวแทนนั้นจะถูกนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงรวมชาติเกาหลีของโซลคือ โช เมียง-กย็อน(Cho Myung-kyun) จะถูกส่งไปร่วมการประชุมในการหารือที่ทางเกาหลีเหนือจะทำการส่งกลุ่มตัวแทนการแสดงศิลปะไปร่วมกับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เกาหลีใต้ รายงานจากแถลงการณ์ของกระทรวงรวมชาติเกาหลี
ทั้งนี้การประชุมระหว่าง 2 ชาติเกาหลีนั้นมักถูกจัดขึ้นภายในหมู่บ้านสันติภาพ ที่ตั้งอยู่ในฝั่งเกาหลีใต้หมู่บ้านปันมุนจอม (Panmunjom)ทางฝั่งเกาหลีใต้ และศูนย์การประชุมต'จิล พาวิเลียน (Tongil Pavilion)ฝั่งเกาหลีเหนือ
ซึ่งทางการะทรวงได้แถลงในช่วงเช้าวันเสาร์(13)ว่า ทางฝ่ายเกาหลีเหนือได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นในวันที่ 15 ม.ค หรือวันจันทร์ที่จะถึงนี้
“นอกเหนือไปจากนี้ ทางกระทรวงร้องขอต่อการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อขอเสนอของทางเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 12 ม.คในการหารือในระดับการปฎิบัติงานเกี่ยวการที่เกาหลีเหนือจะเข้าร่วมงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเปียงชาง” รายงานจากแถลงการณ์ของกระทรวงรวมชาติเกาหลี
ซึ่งในสัปดาห์นี้ทางเจ้าหน้าที่จากฝั่งเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือต่างออกมาชี้ว่า พวกเขาสามารถตกลงในปัญหา และการเลี่ยงต่อการเกิดจากอุบัติเหตุจากความขัดแย้งหลังจากที่มีการเจรจาหารืออย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกสำเร็จ และนอกเหนือจากนี้ทางโซลเสนอให้มีการส่งตัวแทนทีมไอซ์ฮอกกี้หญิงในนามทีมรวม 2 ชาติเกาหลีขึ้น ในขณะที่ทางคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิกนานาชาติของเกาหลีเหนือ IOC ชี้ว่าทางคณะกรรมการจะพิจารณาข้อเสนอนี้
โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการหารือที่จะมี IOC เป็นเจ้าภาพเกิดขึ้นในวันที่ 20 ม.ค
และในการแถลงข่าวร่วมเกิดขึ้นในวันอังคาร(9 ม.ค)ก่อนหน้าหลังจากมีการหารืออย่างมาราทอนนานร่วม 11 ช.ม ทั้งฝ่ายเกาหลีใต้และเกาหลีเหนืออกมาประกาศความร่วมมือทางกองทัพเกิดขึ้น โดยจะมีการจัดการเจรจาระดับกองทัพของทั้ง 2 ชาติ และทางเกาหลีเหนือจะส่งกองทัพนักกีฬาขนาดใหญ่เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในเดือนหน้า
ด้านวอชิงตันออกมาแสดงความยินดีถึงความคืบหน้าในการเจรจาของ 2 ฝ่ายโดยชี้ว่า เป็นก้าวแรกของการแก้วิกฤตนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ ถึงแม้ว่าทางเกาหลีเหนือจะออกมายืนยันว่า เปียงยางมีเป้าหมายที่สหรัฐฯเท่านั้น และไม่ต้องการเปิดการเจรจาใดๆทั้งสิ้นก็ตาม