xs
xsm
sm
md
lg

อิเหนาตั้งหน่วยงานไซเบอร์จัดการ “พวกหัวรุนแรง-ข่าวปลอม” ในอินเทอร์เน็ต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - อินโดนีเซียก่อตั้งหน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งใหม่ในวันนี้ (3) ในขณะที่ประเทศที่มีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุดในโลกแห่งนี้กำลังพยายามจัดการกับกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาในอินเทอร์เน็ตและข่าวปลอมมากมายในสื่อสังคมออนไลน์

ชาวอินโดนีเซียหลายล้านคนกำลังเข้าสู่โลกออนไลน์เป็นครั้งแรกในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตทะยานสุ่จุดที่น่าเป็นห่วง

หนึ่งในคดีโด่งดังที่สุดเมื่อไม่นานมานี้ คือ ข่าวปลอมที่แพร่สะพัดในสื่อสังคมออนไลน์เมื่อเดือนธันวาคมว่า ปักกิ่งกำลังก่อสงครามชีวภาพกับอินโดนีเซีย

ข่าวลวงดังกล่าวกระตุ้นให้สถานทูตจีนออกถ้อยแถลงระบุว่า รายงานดังกล่าวเป็นเรื่องเท็จ

ในวันนี้ (3) ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด ของอินโดนีเซีย แต่งตั้ง พล.ท.ดโจโก เซเทียดี อดีตประธานหน่วยงานการเข้ารหัสลับของประเทศนี้ให้เป็นหัวหน้าหน่วยงานใหม่นี้

หน้าที่ของหน่วยงานเฮอร์คูลีน (Herculean) ของเซเทียดี จะประกอบด้วยการกวาดล้างเครือข่ายผู้ก่อการร้ายที่ติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ตและต่อต้านการใช้คำพูดแสดงความเกลียดชังในอินเทอร์เน็ตที่ถูกโทษว่ามีส่วนขับเคลื่อนแนวคิดรากฐานนิยมในประเทศนี้ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับคำชื่นชมเรื่องความเป็นพหุนิยมทางศาสนา

“เราจะควบคุมโลกไซเบอร์ เทคโนโลยีของเราจะไม่เพียงสามารถตรวจพบได้เท่านั้นแต่ยังเจาะเครือข่ายของ (ของผู้ก่อการร้าย) ได้ด้วย”

รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคง วิรันโต ซึ่งมีชื่อเดียวเหมือนกับชาวอินโดนีเซียอีกหลายๆ คน กล่าวเสริมว่า “เขาต้องการให้หน่วยงานนี้ช่วยรักษาความมั่นคงในประเทศ ในภูมิภาค และในโลก”

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อินโดนีเซียระบุว่า พวกเขากำลังเพิ่มเจ้าหน้าที่อีกราว 600 คน ในหน่วยงานตำรวจต่อต้านการก่อการร้าย ในความพยายามปราบปรามกลุ่มที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกลุ่มอิสลามิสต์และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ

ประเทศหมู่เกาะแห่งนี้เผชิญกับการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์มานาน รวมถึงเหตุระเบิดในบาหลีเมื่อปี 2002 ที่คร่าชีวิตคน 202 คน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในการโจมตีก่อการร้ายครั้งเลวร้ายที่สุดในประเทศนี้

การปราบปรามอย่างต่อเนื่องทำให้เครือข่ายที่อันตรายที่สุดหลายกลุ่มอ่อนแอลงแต่การปรากฏตัวของไอเอสกลายเป็นแสงความหวังใหม่สำหรับพวกหัวรุนแรง

พวกหัวรุนแรงในแดนอิเหนาหลายร้อยคนแห่กันไปสู้รบร่วมกับไอเอส ก่อให้เกิดความกังวลว่าพวกกลุ่มหัวรุนแรงที่อ่อนแอลงไปอาจฟื้นกลับขึ้นมาอีก

ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอินโดนีเซียตอนนี้ถูกประเมินว่าอยู่ที่ประมาณ 155 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 255 ล้านคน

การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากมาพร้อมกับความกังวลทั่วโลกเกี่ยวกับการแพร่กระจายข่าวปลอม นักวิจารณืบางคนอ้างว่า ข่าวปลอมมากมายในอินเทอร์เน็ตอาจช่วยให้ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ


กำลังโหลดความคิดเห็น