เอเอฟพี - อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1993 ข้อมูลของทางการเผยในวันนี้ (26) เป็นอีกสัญญาณบ่งชี้ว่าประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของโลกแห่งนี้กำลังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวถึงแม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ ก็ตาม
ข้อมูลที่เผยแพร่โดยรัฐบาลแสดงให้เห็น อัตราการว่างงานเดือนที่แล้วอยู่ที่ 2.7 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อัตราการสมัครงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพิ่มขึ้น 0.1 จากเดือนก่อนหน้านั้นเป็น 1.56 ในเดือนพฤศจิกายน ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 44 ปี
ข้อมูลล่าสุดนี้ออกมาในขณะที่ญี่ปุ่นมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ 7 ไตรมาสติดต่อกัน แนวโน้มเชิงบวกยาวนานในสุดในรอบ 16 ปี โดยมีโอลิมปิกเกมส์ปี 2020 เป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นก็อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 11 ปีเช่นกัน ผลสำรวจของธนาคารกลางเผยให้เห็นเมื่อต้นเดือนนี้ ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของโลกกำลังเพิ่มอัตราการการเติบโต
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอและภาวะเงินฝืดยังคงทำให้ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นต่อสู้กับภาวะเงินฝืดมานานหลายปีและนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษของธนาคารกลางดูเหมือนว่าจะสร้างผลกระทบอย่างจำกัด
ข้อมูลอื่นๆ เผยให้เห็นว่า ราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันในเดือนพฤศจิกายน แต่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ห่างจากเป้าหมายเงินเฟ้อ 2 เปอร์เซ็นต์ของธนาคารกลางที่ถูกมองว่าจำเป็นต่อการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของโลก
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.9 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่แล้วในเดือนพฤศจิกายน อ้างจากข้อมูลที่เผยแพร่โดยกระทรวงมหาดไทย ต่ำกว่าเป้าหมาย 2 เปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยธนาคารกลางอย่างมาก
การประมาณการของตลาดโดยรวมอยู่ที่ 0.8 เปอร์เซ็นต์ อ้างจากข้อมูลที่รวบรวมโดบบลูมเบิร์กนิวส์
เมื่อความผันผวนของราคาอาหารสดและพลังงานยุติลง ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาไม่ถึง 0.3 เปอร์เซ็นต์ กระทรวงระบุ
การใช้จ่ายในครัวเรือนเดือนพฤศจิกายนที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจหลักสำหรับการแก้ไขภาวะเงินฝืด เพิ่มขึ้น 1.7 เปอร์เซ็นต์จากเดือนเดียวกับในปีที่แล้ว เกินการประมาณการของตลาดที่อยู่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ไปมาก
การใช้จ่ายในครัวเรือนยังคงอยู่ในแนวราบในเดือนตุลาคมหลังจากตกลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกันยายนและเพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์ในเดือนสิงหาคม
ภาพรวมของการใช้จ่ายอย่างกระท่อนกระแท่นสอดคล้องอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ด้วยค่าแรงและสาเหตุตามฤดูกาลต่างๆ นักวิเคราะห์ระบุ
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กดดันให้บริษัทใหญ่ๆ ในประเทศเพิ่มเงินเดือนของลูกจ้างในการเจรจาค่าแรงประจำปีที่มักเรียกกันว่า “การรุกขอชนชั้นแรงงานโดยรัฐบาล”