(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.aties.com)
‘Tell me how this ends?’ Petraeus finally answers his own question
By Tom Engelhardt
19/10/2017
เล่าขานกันว่า เดวิด เพเทรอัส เมื่อครั้งนำกองพลของเขาเข้ารุกรานอิรักในปี 2003 ได้อ้างอิงคำพูดของนักยุทธศาสตร์การทหารอาวุโสของสหรัฐฯยุคเก่าที่ถามว่า จะต้องใช้ทหารเพิ่มอีกเท่าใดและระยะเวลาอีกนานแค่ไหน โดยมีนัยพาดพิงถึงสงครามของอเมริกาในอิรัก หลังจากเวลาผ่านพ้นไป 14 ปีแล้ว เพเทรอัสก็กลับมาตอบคำถามนี้ว่า สงครามที่สหรัฐฯทำอยู่ในมหาภูมิภาคตะวันออกกลางเวลานี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะชนะได้ในเร็ววัน หากแต่เป็นการต่อสู้อันยาวนานชั่วอายุคนทีเดียว
ต้องใช้เวลายาวนานถึง 14 ปีทีเดียว แต่ถึงตอนนี้เราก็ได้รับคำตอบแล้ว มันเป็นช่วงเดือนมีนาคม 2003 การรุกรานอิรักกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น และ พล.ต.เดวิด เพเทรอัส (David Petraeus) ในตอนนั้นเป็นผู้บัญชาการของกองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 (101st Airborne Division) แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งกำลังเคลื่อนทัพมุ่งหน้าไปยังกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก ริค แอตคินสัน (Rick Atkinson) นักหนังสือพิมพ์ของวอชิงตันโพสต์ (Washington Post ) และนักประวัติศาสตร์การทหาร กำลังติดตามร่วมทางไปกับเขาด้วย
หกวันแห่งการเข้าสู่การรณรงค์โจมตีรุกไล่แบบสายฟ้าแลบ แต่ในฉับพลันนั้นเองกองพลของเพเทรอัสก็พบว่าตัวเองต้องหยุดเคลื่อนที่ในบริเวณห่างราวๆ 50 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองนาจัฟ (Najaf) เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย รวมทั้งพายุฝุ่นซึ่งพัดแรงขนาดลืมหูลืมตาไม่ขึ้น และการโจมตี “อย่างบ้าคลั่ง” ซึ่งไม่เป็นที่คาดหมายกันมาก่อนของกองกำลังอาวุธชาวอิรักที่มิใช่กองทหารประจำการ ในขณะนั้นเอง แอตคินสัน รายงานเอาไว้ว่า:
[เพเทรอัส] เกี่ยวนิ้วหัวแม่มือของเขาเข้าไปในเสื้อเกราะกันกระสุนที่เขาสวมอยู่ และปรับน้ำหนักที่บ่าของเขาต้องแบกรับ “บอกผมหน่อยว่าเรื่องนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่” เขากล่าว “8 ปีกับ 8 กองพลใช่ไหม?” นี่เป็นการพูดพาดพิงอ้างอิงถึงคำแนะนำซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นของนักยุทธศาสตร์อาวุโสของกองทัพสหรัฐฯคนหนึ่ง ที่บอกกับทำเนียบขาวในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เมื่อถูกสอบถามว่าจะต้องใช้อะไรบ้างจึงจะสามารถทำให้กองทหารของฝรั่งเศสในเวียดนามใต้กระเด้งตัวพุ่งพรวดขึ้นมาใหม่ สีหน้ายิ้มกว้างของเพเทรอัสบ่งบอกให้ทราบว่าการที่เขาพูดเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นการมุ่งปล่อยมุกขำๆ มากกว่าเป็นการย้ำยืนยันประวัติศาสตร์ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2004/03/07/AR2005040206041_2.html)
แน่นอนทีเดียว เพเทรอัสมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเขาเป็นอย่างดีเมื่อเป็นเรื่องการที่อเมริกันเข้าไปแทรกแซงในดินแดนอันไกลโพ้นต่างๆ เขาเข้าเรียนที่สถาบันทหารสหรัฐฯ (United States Military Academy)ในเวสต์พอยต์ รัฐนิวยอร์ก (ชื่อที่เรียกขานกันอย่างคุ้นเคยในเมืองไทยคือ โรงเรียนนายร้อยทหารบกเวต์พอยต์ –ผู้แปล) ในขณะที่สงครามอเมริกันในเวียดนามกำลังเริ่มลดระดับลงมาพอดี นอกจากนั้นเขายังทำวิทยานิพนธ์เพื่อรับปริญญาเอกของเขาที่มหาวิทยาลัยพรินซตัน (Princeton University) ในปี 1987 เกี่ยวกับสงครามคราวนั้น (หัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขาคือ “The American Military and the Lessons of Vietnam: A Study of Military Influence and the Use of Force in the Post-Vietnam Era” (ฝ่ายทหารอเมริกันและบทเรียนเรื่องเวียดนาม: การศึกษาอิทธิพลทางทหารและการใช้กองกำลังในยุคหลังสงครามเวียดนาม) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2007/01/12/AR2007011201955.html) ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีอยู่ตอนหนึ่งเขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
เวียดนามทำให้ฝ่ายทหารต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาแพงลิ่ว มันทำให้พวกผู้นำทางทหารของอเมริกาบังเกิดความสับสน, หดหู่ทดท้อ, และเสียกำลังใจ กระทั่งที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นอีก คือ มันทำให้กองทัพได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง, กำลังปล้นชิงเอาเกียรติศักดิ์ศรี, เงินทอง, และผู้คนที่มีคุณภาพไปจากกองทัพอยู่เป็นระยะเวลา 1 ทศวรรษ ... เวียดนามเป็นเครื่องเตือนใจอันสร้างความเจ็บปวดอย่างที่สุดซึ่งทำให้ระลึกเอาไว้ว่า เมื่อมาถึงเรื่องการแทรกแซงแล้ว เวลาและความอดทนไม่ใช่คุณสมบัติซึ่งอเมริกันมีอยู่ในซัปพลายอย่างล้นเหลือเลย”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร ในการที่เขามีความคุ้นเคยทราบเรื่องการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเมื่อปี 1954 ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D Eisenhower) กับ อดีตผู้บัญชาการทหารในสงครามเวียดนาม พล.อ.แมตธิว ริดจ์เวย์ (General Matthew Ridgeway) เกี่ยวกับสงครามที่ฝรั่งเศสทำในเวียดนาม (ดูเพิ่มเติมได้จากหนังสือเล่มต่างๆ ที่พูดถึงชีวประวัติของเพเทรอัส http://www.nybooks.com/articles/2013/03/07/warrior-petraeus/) บางทีการที่เขาแสดงความคิดเห็นด้วยท่าที “ปล่อยมุกขำๆ” อาจจะมาจากความรอบรู้ของเขาในเรื่องที่ว่าริดจ์เวย์ประมาณการได้ย่ำแย่ขนาดไหนทั้งในเรื่องจำนวนปีและจำนวนกองทหารที่ต้องใช้ โดยที่สงครามที่นั่นในเวอร์ชั่นอเมริกันซึ่งจะกินเกลี้ยงฟาดเรียบเกินกว่านี้นักหนา ก็จะเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือ ยุติลงในสภาพวิบัติหายนะ และในอาการที่ฝ่ายทหารเต็มไปด้วยรูพรุนจากการประท้วง กระทั่งใกล้เคียงการพังครืนลงมากอย่างที่สุดเท่าที่จะสามารถจินตนาการกันได้สำหรับกองทหารอเมริกันในยุคสมัยของเราทีเดียว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://msuweb.montclair.edu/~furrg/Vietnam/heinl.html)
ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกปี 1987 ของเขา เพเทรอัสเรียกร้องว่าควรต้องอนุญาตให้กองบัญชาการระดับสูงของฝ่ายทหารมีอิสรเสรียิ่งขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ถ้าหากจะมีการแทรกแซงใดๆ ขึ้นมาอีกในอนาคตข้างหน้า มองจากแง่มุมนี้แล้วย่อมกล่าวได้ว่า ตั้งแต่ปี 1987 เขาก็กำลังพรักพร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่ฐานะอันสำคัญในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งฝ่ายทหารสหรัฐฯยังคงได้รับทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองต้องการต่อไป (และกระทั่งได้มากกว่าที่ต้องการด้วยซ้ำ ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2017/09/18/us/politics/senate-pentagon-spending-bill.html) ในขณะเดียวกับที่ทำการสู้รบในสงครามของตนไปโดยที่ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวปวดเศียรเวียนเกล้า ไม่ว่ากับสภาพของกองทัพซึ่งเป็นกองทหารที่เกณฑ์มาจากพลเรือนอันแสนจะอึกทึกวุ่นวาย หรือกับพวกนักการเมืองมากมายเกินไปซึ่งกำลังพยายามนำเอาเจตนารมณ์ของพวกเขาเข้ามาทำให้กลายเป็นการปฏิบัติการของกองทัพ
และถึงแม้การแสดงความเห็นของเขาที่นาจัฟ มักถูกหยิบยกนำมาอ้างอิงกันในลักษณะราวกับว่ามันเป็นความคิดเฉพาะตัวของเขา ทว่าก็อย่างที่บ่งบอกเอาไว้จากข้อเท็จจริงที่ว่า คำกล่าวนี้ความจริงแล้วเป็นคำกล่าวของริดจ์เวย์นั่นแหละ เพเทรอัสไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาทหารอเมริกันคนแรก หรือบุคคลทางการเมืองชาวอเมริกันคนแรกหรอก ซึ่งตั้งคำถามในทำนองเดียวกับ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ในบทละครเรื่อง เซนต์ โจน (Saint Joan) ของ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) ตอนที่เธอคร่ำครวญว่า “How long, oh Lord, how long?”
ตัวอย่างเช่น เดวิด ฮัลเบอร์สแตม (David Halberstam) นักหนังสือพิมพ์ผู้ชนะได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prize) ได้เล่าเอาไว้ในหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงปีที่เกิดสงครามเวียดนามของเขา เรื่อง The Best and the Brightest ว่า ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) ได้หันไปทาง พล.อ.เอิร์ล วีเลอร์ (Earle Wheeler) ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมในเวลานั้น ระหว่างการประชุมครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน 1965 และสอบถามถึงสงครามในเวียดนามว่า “คุณคิดว่ามันจะต้องใช้อะไรสักขนาดไหนในการทำงานนี้?”
คำตอบของวีลเลอร์ เป็นเหมือนเสียงสะท้อนคำตอบของริดจ์เวย์เมื่อ 11 ปีก่อนหน้านั้น ถึงแม้อยู่ในลักษณะเพิ่มขยายยกระดับมากขึ้นซึ่งดูจะเป็นแบบฉบับของสงครามเวียดนามไปแล้ว “ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับว่าท่านให้คำจำกัดความงานนี้ว่ายังไงครับ ท่านประธานาธิบดี ถ้าท่านมีเจตนาตั้งใจที่จะขับไล่พวกเวียดกงคนสุดท้ายให้อออกจากเวียดนาม มันก็จะต้องใช้คนสัก 7 แสน, 8 แสน, ล้านนึง และเวลาสักราว 7 ปี แต่ถ้าท่านให้คำจำกัดความงานนี้ว่าเพื่อป้องกันไม่ให้พวกคอมมิวนิสต์เข้ายึดประเทศนั้นไปได้ นั่นคือ หยุดยั้งพวกเขาจากการกระทำเรื่องนี้แล้ว ท่านก็กำลังพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนที่แตกต่างออกไปและระดับที่แตกต่างออกไป ดังนั้นท่านต้องบอกเราก่อนว่างานนี้คืออะไร แล้วเราจึงจะตอบได้”
สงครามของอเมริกากลายเป็นเรื่องที่ต้องทำกันยืดเยื้อเป็นชั่วอายุคนไปแล้ว
ไม่นานนักหลังจากชั่วขณะแห่งการตรึกตรอง ณ ชานเมืองนาจัฟดังกล่าว กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 ก็สามารถบุกไปจนถึงกรุงแบกแดด ในตอนที่กำลังเกิดการเผาเมืองและการปล้นชิงเริ่มต้นขึ้นพอดี (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://archive.commondreams.org/views03/0415-07.htm) และมั่นก็จะเป็นเพียงบทเกริ่นนำให้แก่สงครามของเดวิด เพเทรอัส ให้แก่ “8 ปีและ 8 กองพล” ในเวอร์ชั่นของเขา
ครั้นเมื่อเกิดการก่อกบฏก่อความไม่สงบปะทุขึ้นมาในอิรัก เขาจะถูกส่งตัวไปยังเมืองโมซุล (Mosul) เมืองใหญ่ทางภาคเหนือของอิรัก (ซึ่งเวลานี้กลายเป็นกองซากปรักหักพัง ภายหลัง “การปลดแอก” เมืองนี้เมื่อปี 2017 จากเงื้อมมือของพวกรัฐอิสลาม ในสงครามอิรักครั้งที่ 3 ของวอชิงตัน ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/interactive/2017/10/09/world/middleeast/mosul-iraq-rubble-dead.html) ที่นั่นเอง เขาจะทำการทดลองหนแรกในการนำเอาประสบการณ์จากสงครามเวียดนามกลับมาใช้ใหม่ ประสบการณ์ของการใช้ยุทธศาสตร์อย่างเดียวกันกับที่ฝ่ายทหารสหรัฐฯได้เคยวาดหวังเอาไว้ว่าจะสามารถกำจัดมันทิ้งไปตลอดกาล ไม่มีการนำกลับมาใช้อีก นั่นคือ “การต่อต้านการก่อความไม่สงบ” (counterinsurgency) หรือการเอาชนะสิ่งซึ่งในสงครามคราวนั้นนิยมเรียกขานกันเป็นปกติว่า การเอาชนะ “ทั้งความคิดและจิตใจ” (hearts and minds)
ในปี 2004 นิตยสารนิวสวีก (Newsweek) กล่าวยกย่องชมเชยเพเทรอัสเอาไว้ในเรื่องจากปกของตน ด้วยการตั้งคำถามอันน่าตื่นเต้นว่า “ชายผู้นี้สามารถรักษาอิรักให้อยู่รอดได้หรือไม่?” (อันที่จริงแล้ว 4 เดือนหลังจากที่เพเทรอัสเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่ในโมซุล หัวหน้าตำรวจที่เขาฝึกอบรมเอาไว้ที่นั่นได้หันไปอยู่ข้างพวกผู้ก่อความไม่สงบ และเมืองนั้นก็ได้กลายเป็นที่มั่นอันแข็งแรงสำหรับพวกกบฏ)
ในเวลาเดียวกับที่การยึดครองอิรักได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นความวิบัติหายนะอย่างเต็มพิกัดนั้นเอง เพเทรอัสถูกย้ายกลับไปยังค่ายฟอร์ตลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth) รัฐแคนซัส ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์กำลังอาวุธผสม (Combined Arms Center) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ช่วงระยะนั้นเอง เพเทรอัสพร้อมกับนายทหารอีกผู้หนึ่ง คือ พล.ท. เจมส์ แมตทิส (นย.) –ชื่อนี้ดูคุ้นๆ ไหมครับ?— ได้รวมกำลังกันในการทำหน้าที่กำกับตรวจสอบ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://abcnews.go.com/Politics/gen-james-mattis/story?id=43694921) การจัดทำและการตีพิมพ์เอกสารที่มีชื่อว่า “Field Service Manual 3-24, Counterinsurgency Operations.” (คู่มือการทำงานภาคสนาม 3-24 “การปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ”) หนังสือเล่มนี้จะกลายเป็นเอกสารว่าด้วยวิธีการต่อสู้การก่อความไม่สงบอย่างเป็นทางการเล่มแรกซึ่งฝ่ายทหารสหรัฐฯผลิตขึ้นมาภายหลังจากช่วงปีแห่งสงครามเวียดนาม (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.amazon.com/3-24-Counterinsurgency-Operations-Field-Manual-ebook/dp/B00A6A24JE/ref=sr_1_2?s=books&ie=UTF8&qid=1487271439&sr=1-2&keywords=FM+3-24)
ภายใต้กระบวนการเช่นนี้ เพเทรอัสก็ได้กลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในเรื่องสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบ” (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.scotsman.com/news/michael-gove-triumph-of-freedom-over-evil-1-1302486) ครั้นแล้วในปี 2007 เขาก็ได้เดินทางกลับไปยังอิรักอีกครั้งหนึ่งด้วยความกระเดื่องโด่งดังมาก โดยที่ถือคู่มือเล่มนั้นอยู่ในมือพร้อมกับกำลังทหารอเมริกันเพิ่มเติมอีก 5 กองพลน้อย หรือราว 20,000 คน ซึ่งจะเป็นที่รู้จักเรียกขานกันในเวลาต่อมาว่า “the surge” (การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลัน) หรือ “the new way forward” (วิธีการใหม่ในการเดินไปข้างหน้า) โดยแท้ที่จริงแล้ว มันก็คือความพยายามที่จะกอบกู้ช่วยเหลือคณะบริหารประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ให้อยู่รอดออกมาจากการยึดครองประเทศนั้น ขณะที่การยึดครองดังกล่าวกำลังสร้างความวิบัติย่อยยับนั่นเอง การปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบของเขา ก็เฉกเช่นเดียวกับการเข้ารุกรานอิรักในช่วงแรกๆ ที่ได้รับการยกย่องชมเชยจากพวกผู้เชี่ยวชาญและพวกบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายในวอชิงตัน (รวมทั้งตัวเพเทรอัสเองด้วย ดูเพิ่มเติมที่ http://www.businessinsider.com/petraeus-how-we-won-in-iraq-2013-10) ในฐานะที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์และเป็นความสำเร็จระดับเอกอุ เป็นจุดพลิกเปลี่ยนที่แท้จริงในอิรักและในสงครามต่อสู้การก่อการร้าย
กระทั่งหลังจากเวลาผ่านพ้นไป 1 ทศวรรษ โดยที่อเมริกายังคงต้องทำสงครามอิรักครั้งที่ 3 อยู่อย่างต่อเนื่องไม่อาจยุติลงได้ แต่คุณก็อาจจะถูกกล่าวหาได้ทีเดียวเชียว ถ้าหากแสดงทัศนะเกี่ยวกับ “ความสำเร็จ” ของการเซิร์จ หรือการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลันคราวนั้น ในลักษณะที่แตกต่างออกไปสักหน่อย (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tomdispatch.com/blog/176252/)
ภายใต้กระบวนการเช่นนี้ เพเทรอัส หรือ “คิง เดวิด” (King David) ตามที่มีการอ้างอิงทึกทักกันว่าชาวอิรักเรียกขานเขาด้วยฉายาเช่นนี้ระหว่างที่เขาปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเมืองโมซุล (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.vanityfair.com/news/2010/05/petraeus-201005) ก็จะกลายเป็นนายพลผู้มีจุดเด่นน่าสนใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของอเมริกา และเดินหน้าเข้ารับตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารด้านกลางของสหรัฐฯ (US Central Command ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลการทำสงครามของอเมริกาทั้งในอิรักและในอัฟกานิสถาน) ในปี 2008 ต่อมาเมื่อถึงปี 2010 เขาจะกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน โดยเหตุผลใจความสำคัญก็คือเพื่อให้เขาสามารถสร้างความมหัศจรรย์แห่งการต่อต้านการก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศนั้นบ้าง อย่างที่เขาได้รับการสันนิษฐานทึกทักว่าได้กระทำสำเร็จมาแล้วในอิรัก
ในปี 2011 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (Central Intelligence Agency หรือ CIA) ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพียงที่จะตกกระแทกพื้นและถูกเผาป่นปี้ยับเยินในอีก 1 ปีให้หลัง ในกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับนักเขียนชีวประวัติสาวที่กลายเป็นชู้รักของเขาไปด้วย ตลอดจนการที่เขาใช้เอกสารปิดลับอย่างมิชอบ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2016/05/29/fashion/david-petraeus-paula-broadwell-scandal-affair.html) แล้วต่อจากนั้น เขาก็ปรับโฉมแปลงร่างกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สื่อทั้งหลายจะต้องไปปรึกษาหารือขอความเห็นเกี่ยวกับการทำสงครามของอเมริกา ตลอดจนยังปฏิบัติงานในฐานะเป็นหุ้นส่วน (partner) ผู้หนึ่งอยู่ที่ เคเคอาร์ (KKR) กิจการเพื่อการลงทุนรายใหญ่ระดับโลก
ถ้าจะพูดกันอีกอย่างหนึ่ง เพเทรอัสมีบทบาทเป็นผู้นำสูงสุดในทางการปฏิบัติการ ในสงครามครั้งต่างๆ ที่กำลังประสบความล้มเหลวของอเมริกาในมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) เฉกเช่นเดียวกับนายพล 3 คนในรุ่นเซิร์จเจเนอเรชั่นด้วยกันซึ่งเวลานี้ก้าวผงาดขึ้นครองตำแหน่งสูงในวอชิงตัน โดยที่ 1 ในนั้นได้แก่ เจมส์ แมตทิส อดีตเพื่อนร่วมงานของเพเทรอัสในการทำงานด้านการปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ (แมตทิส ก็เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารด้านกลางของสหรัฐฯมาเช่นกัน) (หมายเหตุผู้แปล – นายพลทั้ง 3 คนนี้ นอกจาก แมตทิส ที่ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯแล้ว อีก 2 คนคือ จอห์น เคลลี John Kelly ประธานคณะเจ้าหน้าที่ของทำเนียบขาว และ เอช อาร์ แมคมาสเตอร์ H R McMaster ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว)
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง หรือ 14 ปีหลังจากตอนที่เขากับแอตคินสันถูกตรึงเอาไว้ช่วงเวลาสั้นๆ ที่บริเวณนอกเมืองนาจัฟ ท้ายที่สุดแล้วเพเทรอัสซึ่งกำลังแสดงบทบาทเป็นบัณฑิตผู้รู้และผู้ทำนายทายทักเกี่ยวกับความเป็นไปของสงครามต่างๆ ที่เขาเคยเข้าร่วมมาในอดีตและยังไม่ได้ปิดฉากจบสิ้นลงเสียที ก็ได้ให้คำตอบ (โดยที่ไม่ใช่คำตอบแบบปล่อยมุกแสดงอาการเหน็บแนมเย้ยเยาะด้วย) ต่อคำถามซึ่งคอยรังควานเขาอยู่ในตอนนั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pbs.org/newshour/rundown/petraeus-afghan-war-generational-struggle-will-not-end-soon/)
ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของเขาได้รับการนำเสนอออกมาเป็นข่าวอย่างแน่นอนอยู่แล้ว (ทำนองเดียวกับอะไรก็ตามทีที่เขาพูดออกมา) แต่ในแง่หนึ่งก็กล่าวได้ว่าไม่ค่อยได้มีใครสังเกตสนใจสักเท่าใดนัก ทั้งนี้ เมื่อ จูดี วูดรัฟฟ์ (Judy Woodruff) ของรายการ “นิวส์ อาวร์” (News Hour) ของทีวีสาธารณะพีบีเอส (PBS) ตั้งคำถามว่า มันเป็นการ “ฉลาด” หรือไม่ ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ของอเมริกา กำลังจัดส่งทหารสหรัฐฯเพิ่มเข้าไปในอัฟกานิสถาน ในลักษณะ “เซิร์จ” นั่นคือเพิ่มเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลันอีกครั้งหนึ่ง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pbs.org/newshour/bb/petraeus-went-afghanistan-reason-need-stay/) เขาให้คำตอบโดยเรียกการตัดสินใจของเพนตากอนคราวนี้ว่า “ทำให้เกิดกำลังใจ” ถึงแม้เขาเตือนด้วยว่า มันไม่ใช่สงครามที่จะยุติจบสิ้นลงได้ในเร็วๆ นี้เลย
ตรงกันข้าม หลังจากใช้เวลาหลายปีเหลือเกินในการเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน, ผ่านประสบการณ์, ได้ขบคิดพิจารณาและเฝ้าสังเกตการณ์ เมื่อกลับมานั่งอยู่ในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์โดยที่ไม่ได้มีทรายแม้แต่เม็ดเดียวเข้ามาบดบังสายตา และก็ไม่ได้มีพายุฝุ่นปรากฏให้เห็นเลย เขาได้เสนอข้อสังเกตดังต่อไปนี้:
แต่นี่คือการต่อสู้ที่ยาวนานเป็นชั่วอายุคนนะครับ นี่ไม่ใช่อะไรที่กำลังจะได้ชัยชนะมาในเวลาสองสามปี เราไม่ได้กำลังจะเข้ายึดภูเขาลูกหนึ่ง, ปักธงผืนหนึ่งเอาไว้, แล้วก็กลับบ้านพร้อมกับขบวนพาเหรดแห่งชัยชนะ เราจำเป็นที่จะต้องอยู่ที่นั่นกันเป็นระยะยาวนาน แต่ก็อีกนั่นแหละครับ ต้องอยู่กันในวิถีทางซึ่งสามารถอยู่อย่างยั่งยืนได้ เราได้อยู่ในเกาหลีมาเป็นเวลามากกว่า 65 ปีแล้วเพราะมีผลประโยชน์แห่งชาติอันสำคัญที่ทำให้ต้องทำเช่นนั้น เราก็อยู่ในยุโรปมาเป็นระยะเวลายาวนานมากแล้วเช่นกัน และแน่นอนทีเดียว เรายังคงอยู่กันที่นั่น อันที่จริงแล้วเวลานี้มีการเน้นย้ำให้น้ำหนักแก่ยุโรปกันใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วย เมื่อพิจารณาจากการกระทำอย่างก้าวร้าวต่างๆ ของรัสเซีย ผมคิดว่านี่แหละคือวิถีทางที่เราจำเป็นต้องใช้ในการเข้าถึงเรื่องนี้
การที่เขาเสนอว่านี่เป็น “การต่อสู้ที่ยาวนานเป็นชั่วอายุคน” ซึ่งจะต้องส่งมอบต่อไปให้แก่ลูกๆ ของชาวอเมริกัน ถ้าหากไม่ต้องไปถึงรุ่นหลานๆ ด้วยเช่นนี้ เพเทรอัสไม่ได้โดดเดี่ยวเลย แต่มีเพื่อนร่วมความคิดเห็นเป็นจำนวนมากทีเดียว ในระยะหลังๆ มานี้ พวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของเพนตากอนก็เช่นกัน กำลังประยุกต์นำเอา “วิธีการเข้าถึงปัญหาในลักษณะยาวนานเป็นชั่วอายุคน” (generational approach) มาใช้ในอัฟกานิสถาน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.washingtonpost.com/news/checkpoint/wp/2016/01/26/the-u-s-was-supposed-to-leave-afghanistan-by-2017-now-it-might-take-decades/?utm_term=.e942c4f9e80a) และสมควรสันนิษฐานได้ด้วยว่าจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสงครามอื่นๆ ของอเมริกาตลอดทั่วทั้งมหาภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาอีกด้วย
ในทำนองเดียวกัน กลุ่มนักวิจัยของสถาบันบรูกกิ้งส์ (Brookings Institution) ได้ออกมาเรียกร้องพวกผู้วางนโยบายของวอชิงตันกระทำในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “การเป็นหุ้นส่วนอย่างยาวนานถาวร” (an enduring partnership) ในอัฟกานิสถาน โดยพวกเขาบอกว่า: “ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯ-อัฟกัน ควรต้องยอมรับกันว่าจะมีอายุยืนยาวกันเป็นชั่วอายุคน เมื่อพิจารณาจากธรรมชาติของภัยคุกคามนี้ และการที่มันยังน่าจะปรากฏตัวให้เห็นอีกอย่างยาวนานต่อไปในอนาคต” (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.brookings.edu/research/forging-an-enduring-partnership-with-afghanistan/)
เมื่อวูดรัฟฟ์ตั้งคำถามอย่างเจาะจงต่อไปอีก เพเทรอัสก็ไม่ค่อยอยากจะตอบว่าสงครามอัฟกานิสถานจะสามารถสิ้นสุดลงในระยะเวลาสัก 60 ปีหรือไม่ (นั่นคือสงครามนี้จะยืดเยื้อไปอย่างน้อยจนกระทั่งถึงปี 2061) คำตอบที่เนิ่นช้ามานานต่อคำถามของเขาเองในชั่วขณะแห่งการรุกรานอิรักในปี 2003 เวลานี้เป็นอันว่าปรากฏออกมาอย่างกระจ่างแจ้งแล้ว นั่นก็คือ สงครามทำนองนี้ของอเมริกันจะไม่มีวันสิ้นสุดปิดฉากหรอก ไม่ใช่เวลานี้ และก็อาจจะไม่ใช่ไปตลอดกาล จากการยอมรับเช่นนี้ ในแง่มุมหนึ่งมันก็คือการประเมินผล “ความสำเร็จต่างๆ” ของสงครามต่อสู้กับการก่อการร้ายนี้ อย่างชนิดที่ตรงแน่วแบบขวานผ่าซากที่สุด แล้วก็เป็นการประเมินผลอย่างมืดมนอนธกาลที่สุดนั่นเอง
เรื่องราวความสำเร็จทางการทหารที่แปลกประหลาดสุดๆ
ก่อนหน้าที่ เจมส์ “แมดด็อก” แมตทิส จะกลายเป็นข่าวเกรียวกราวแทบทุกวันนับแต่ที่เขารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในกรุงวอชิงตัน กล่าวได้ว่าไม่มีนายพลอเมริกันในยุคปัจจุบันคนไหนอีกแล้วที่ได้รับการเขียนถีงการพูดถึงอย่างมากมายเท่ากับ เดวิด เพเทรอัส หรือได้รับการเขียนการพูดถึงในเชิงกล่าวขวัญถึงคนดังอย่างมากมายเท่ากับเขาอีกแล้ว ประวัติโปรไฟล์ของเขาในลักษณะยกย่องเชิดชูจนเกินเลย (หากไม่ถึงขั้นแสดงการประจบประแจง) ถูกผลิตออกมาเกลื่อนกลาดไปหมด
แม้กระทั่งในทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่เกิดกรณีฉาวโฉ่ซึ่งเขาเฉียดใกล้การถูกกล่าวหากระทำความผิดอาญาอุกฉกรรจ์และข้อหาอื่นๆ โดยที่หนึ่งในจำนวนนี้ได้แก่ การกล่าวเท็จระหว่างการสอบสวนของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.washingtonpost.com/world/national-security/how-david-petraeus-avoided-felony-charges-and-possible-prison-time/2016/01/25/d77628dc-bfab-11e5-83d4-42e3bceea902_story.html?utm_term=.ec70b899bf6a) --โดยในที่สุดแล้ว เขายอมรับสารภาพว่ากระทำความผิดอาญาที่ไม่ร้ายแรง (misdemeanor) ในเรื่องการจัดการกับพวกเอกสารที่ถูกจัดชั้นความลับ และได้ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปีแต่ให้รอลงอาญาตลอดจนถูกสั่งปรับ – แต่กระนั้นเพเทรอัสก็ดูยังคงเป็นนายพลที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของสหรัฐฯอยู่นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ขอให้ลองพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่ไนเจอร์ ประเทศซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกากลาง ที่นั่นมีฐานอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) ของสหรัฐฯซึ่งกำลังออกปฏิบัติการอยู่เรียบร้อยแล้ว 1 แห่ง แล้วยังมีอีกแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://theintercept.com/2016/09/29/u-s-military-is-building-a-100-million-drone-base-in-africa/) และมีทหารอเมริกันประมาณ 800 คนไปตั้งประจำอยู่ที่นั่นอย่างเงียบๆ ทว่าอยู่กันอย่างถาวรทีเดียว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cnn.com/2017/10/04/politics/us-forces-hostile-fire-niger/index.html) มันยังคงเป็นประเทศซึ่งจนกระทั่งเพียงเมื่อไม่นานมานี้ คงมีชาวอเมริกันไม่ถึง 1 ล้านคนหรอกซึ่งสามารถที่จะสามารถระบุได้ว่าประเทศนี้ตั้งอยู่ตรงไหนบนแผนที่
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ทหารรบพิเศษหน่วยกรีนแบเรต์ 4 คนได้ถูกสังหารและอีก 2 คนได้รับบาดเจ็บ ระหว่าง “การปฏิบัติภารกิจฝึกอบรมตามปกติ” ที่ประเทศนั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2017/10/06/world/africa/green-berets-niger-soldiers-killed.html) ทั้งนี้ขณะกำลังออกลาดตระเวนพร้อมกับกองทหารชาวไนเจอร์ พวกเขาถูกซุ่มตีโดยกองกำลังนักรบอิสลาม –ซึ่งอาจจะเป็นพวกอัลกออิดะห์ในดินแดนอิสลามแห่งมาเกร็บ (al-Qaeda in the Islamic Maghreb) หรือเป็นสาขาใหม่ของพวกไอซิส (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2017/oct/15/sahel-niger-us-special-forces-islamists) ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจน
เหตุการณ์นี้ทำให้ไนเจอร์ได้ฐานะอย่างเป็นทางการว่า เป็นประเทศอย่างน้อยที่สุดก็รายที่ 8 แล้ว (โดยที่ชาติอื่นๆ ประกอบด้วย ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อิรัก, เยเมน, ซีเรีย, โซมาเลีย, และลิเบีย) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://thehill.com/opinion/national-security/354281-niger-americas-forgotten-soldiers-and-another-nameless-war) ซึ่งได้ถูกดูดกลืนเข้าสู่สงครามต่อสู้การก่อการร้ายของวอชิงตัน และในกรณีที่คุณอาจจะไม่ทันได้สังเกต ก็ขอชี้เอาไว้ด้วยว่า ประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้มีรายไหนเลยที่สงครามนี้ได้ยุติปิดฉากลงแล้ว รวมทั้งยังไม่มีรายใดเลยซึ่งกองทหารสหรัฐฯประสบชัยชนะอย่างเด็ดขาดชัดเจน
กระนั้นถ้าหากคุณสามารถที่จะตามกวาดตามสางพาดหัวข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในไนเจอร์บนสื่อมวลชนกระแสหลักในช่วงหลังๆ มานี้ คุณก็จะไม่พบเครื่องบ่งชี้ใดๆ เลยว่าการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นตัวแทนแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มระดับครั้งใหม่อย่างน้อยก็พอประมาณ ในสงครามปราบปรามการก่อการร้ายซึ่งไม่เคยยุติจบสิ้นลงและกลับแผ่กระจายออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ
ประดุจดังว่ามันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นอยู่แล้ว ในอิรักและซีเรียนั้น “รัฐกาหลิบ” (caliphate) แบบอิสลามของ อาบู บาคร์ อัล-แบกดาดี (Abu Bakr al-Baghdadi) กำลังพังทลายลงมาในที่สุด นครโมซุลกลับคืนมาอยู่ในกำมือของชาวอิรัก เฉกเช่นเดียวกับเมือง ตอล อะฟาร์ (Tal Afar) และในช่วงหลังๆ เข้ามาอีกคือเมืองฮาวิจา (Hawija) ซึ่งมีการออกมายอมแพ้กันเป็นจำนวนมากอย่างที่หาได้ยากของพวกนักรบไอซิสอีกด้วย (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2017/10/08/world/middleeast/isis-iraq-surrender.html) เหล่านี้คือพื้นที่ตัวเมืองอันสำคัญแห่งท้ายๆ ซึ่งควบคุมโดยพวกไอซิสในอิรัก ขณะเดียวกันในซีเรีย “การพังพินาศแบบโลกาวินาศ” ของเมืองร็อกเกาะฮ์ (Raqqa) ที่เป็น “เมืองหลวง” ของกลุ่มรัฐอิสลามนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วก็กำลังตกอยู่ในมือของกองกำลังที่เป็นพันธมิตร อีกทั้งได้รับการสนับสนุนด้วยแสนยานุภาพทางอากาศของกองทัพสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี ในซีเรียและอิรักเวลานี้ซึ่งแปรสภาพกลายเป็นซากปรักหักพังวินาศสันตะโร “ชัยชนะ” ดังกล่าวย่อมถูกพิสูจน์แบหราออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเป็นเพียงความกลวงโบ๋ว่างเปล่า เฉกเช่นเดียวกับการเข้ารุกรานอัฟกานิสถานและอิรัก “อย่างประสบชัยชนะ” หรือการโค่นล้มระบอบปกครองเผด็จการมูอัมมาร์ กัดดาฟี แห่งลิเบีย “อย่างประสบชัยชนะ” นั่นแหละ ในเวลาเดียวกันรัฐอิสลามก็อาจจะแพร่กระจายแบรนด์ของพวกเขาลุกลามไปยังอีกประเทศหนึ่งด้วยกำลังทหารสหรัฐฯซึ่งมีอยู่ในประเทศดังกล่าว
กระนั้น ตลอดทั่วดินแดนผืนกว้างใหญ่ผืนหนึ่งของพื้นพิภพนี้ สงครามของเดวิด เพเทรอัส, เจมส์ แมตทิส, และเหล่านายพลคนอื่นๆ ของยุคสมัยนี้ ก็ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ ในภูมิภาคหนึ่งซึ่งได้แตกหักออกเป็นเสี่ยงๆ และถูกทำลายราบกลายเป็นเศษซากปรักหักพัง (ขณะเดียวกัน ผู้ลี้ภัยซึ่งต้องพลัดถิ่นที่อยู่เป็นจำนวนมหาศาลของภูมิภาคนี้เอง ก็กำลังช่วยทำให้ยุโรปเกิดการแตกหักออกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยเช่นกัน ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://fpif.org/europe-and-the-middle-east-are-both-on-the-verge-of-unraveling/)
สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านี้เสียอีกก็คือ มันกำลังกลายเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถอภิปรายกันหรือถกเถียงกันอย่างจริงจังในสหรัฐฯได้เสียแล้ว เพราะถ้าเกิดมีการกระทำเช่นนั้นขึ้นมา แรงต่อต้านสงครามเหล่านี้ก็อาจเพิ่มสูงขึ้น และทางเลือกอื่นๆ รวมทั้งการตัดสินใจของพวกนายพลเหล่านี้ (ซึ่งเมื่อถึงเวลานี้อยู่ในอาการสมองไม่ทำงานไปเสียแล้ว) อาทิเช่น การเพิ่มความเข้มข้นดุเดือดของสงครามทางอากาศขึ้นมาใหม่ และ “มินิ-เซิร์จ” (mini-surge) ล่าสุดในอัฟกานิสถาน ก็อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของการถกเถียงอภิปรายระดับชาติอย่างแท้จริงไป
ดังนั้น ขอให้เราหันมาคิดถึงเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นเรื่องราวความสำเร็จทางการทหารแบบที่แปลกประหลาดที่สุดก็แล้วกัน –เป็นความสำเร็จที่สามารถติดตามสาวร่องรอยได้อย่างตรงๆ จนกระทั่งกลับไปถึงการตัดสินใจครั้งหนึ่งซึ่งกระทำไว้เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว โดยประธานาธิบดีอเมริกันผู้หนึ่งซึ่งชื่อเสียงของเขาได้เสื่อมเสียหมดเครดิตไปนานแล้ว นามของประธานาธิบดีผู้นี้คือ ริชาร์ด นิกสัน หากเราไม่หวนกลับไปพิจารณาการตัดสินใจคราวนั้นแล้ว ก็เรียกได้ว่าไม่มีทางที่เราจะสามารถเข้าใจสงครามต่างๆ ในยุคศตวรรษที่ 21 ของอเมริกาได้เลย พิจารณาจากความแยบยลของตัวมันเองแล้ว การตัดสินใจในเรื่องนี้ควรต้องถือเป็นการกระทำของอัจฉริยะทีเดียว (ทั้งนี้อย่างน้อยที่สุด ถ้าหากคุณต้องการที่จะสู้รบในสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้นไปเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งไปถึงจุดสุดท้ายของกาลเวลา)
แต่จะเป็นยังไงก็แล้วแต่ เมื่อติดหนี้เครดิตใครแล้ว ก็ควรจะต้องชดใช้ต้องคืนเครดิตแก่พวกเขา ตอนที่กำลังเผชิญขบวนการต่อต้านสงครามซึ่งไม่มีท่าทีว่าจะซบเซาจางหาย แถมเมื่อถึงประมาณต้นทศวรรษ 1970 ยังมีทั้งทหารที่กำลังประจำการทำหน้าที่อยู่และทหารผ่านศึกเวียดนามจำนวนหนึ่งเข้าร่วมขบวนการนี้ด้วย ประธานาธิบดีนิกสัน และรัฐมนตรีกลาโหมของเขา ซึ่งคือ เมลวิน แลร์ด (Melvin Laird) ตัดสินใจที่จะพยายามลดทอนความเข้มแข็งของพลังต่อต้านสงครามด้วยการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร นิกสันนั้นคิดว่าพวกคนหนุ่มๆ เมื่อไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายของความเป็นไปได้ที่จะถูกส่งตัวเข้าสู่สงครามเวียดนามแล้ว ก็น่าจะมีความกระตือรือร้นลดน้อยลงอย่างฮวบฮาบทีเดียวที่จะออกมาเดินขบวนต่อต้านสงครามนี้
พวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของฝ่ายทหารไม่มีความแน่ใจต่อความเคลื่อนไหวเช่นนี้เลย พวกเขารู้สึกวิตกกังวลซึ่งก็มีเหตุมีผลอยู่ ว่าเนื่องจากสงครามเวียดนามนี่แหละ จะทำให้เป็นเรื่องยากลำบากที่จะระดมหาผู้สมัครใจเป็นทหารเพื่อให้ได้กองทัพที่ประกอบด้วยอาสาสมัครล้วนๆ ไม่มีใครถูกบังคับกะเกณฑ์เลย พวกเขาสงสัยว่าจะมีใครในโลกที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังอาวุธที่สูญเสียเกียรติยศไปเยอะแยะมากมายเช่นนั้น
แน่นอน นี่คือเวอร์ชั่นหนึ่งของการมองสวนทางกับความคิดของนิกสัน กระนั้นประธานาธิบดีผู้นี้ยังคงเดินหน้าต่อไปอยู่ดี และในวันที่ 27 มกราคม 1973 (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.politico.com/story/2012/01/us-military-draft-ends-jan-27-1973-072085) การเกณฑ์ทหารก็เป็นอันยุติลง ต่อจากนี้ไปสหรัฐฯจะไม่มีการเรียกเกณฑ์ทหารกันอีกแล้ว และกองทัพของพลเมืองแห่งสหรัฐฯ อันเป็นกองทัพซึ่งได้เคยสู้รบอยู่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งได้รับชัยชนะ และได้ก่อให้เกิดการเอะอะโวยวายเกี่ยวกับความโหดเหี้ยมและความน่ารังเกียจของสงครามในเวียดนาม ก็จะไม่มีอีกต่อไปแล้ว
ด้วยการตวัดปากกาเพียงครั้งเดียวคราวนั้น ก่อนที่ตัวเขาเองจะตกเป็นเหยื่อของกรณีอื้อฉาววอเตอร์เกตและต้องลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี นิกสันก็ได้กระทำหน้าที่สร้างมรดกสำหรับยุคสมัยต่อๆ มาอีกยาวนาน เป็นการแผ้วถางทางให้ฝ่ายทหารสหรัฐฯสามารถสู้รบทำสงครามของตน “เป็นชั่วอายุคน” ได้ และสามารถพ่ายแพ้ปราชัยในสงครามเหล่านั้นได้อย่างยาวนานเรื่อยไป โดยที่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่มีใครในประเทศนี้ทำท่าจะสนอกสนใจอะไรแม้แต่น้อยนิด
หรืออาจพิจารณาเรื่องนี้ในอีกแง่มุมหนึ่งก็ได้ คุณสามารถจินตนาการได้จริงๆ หรือว่า จะยังคงมีความเงียบกริบขนาดนี้ภายใน “มาตุภูมิ” ถ้าหากทหารเกณฑ์ชาวอเมริกันกำลังถูกระดมหลั่งไหลอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน เพื่อเข้าไปเติมเต็มตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในกองทัพของพลเมืองซึ่งทำการสู้รบในสงครามต่อสู้การก่อการร้ายมาเป็นเวลา 16 ปีแล้ว แต่ยังคงเป็นสงครามที่มีแต่ขยายตัวออกไปอยู่เรื่อยๆ และกระทั่งเวลานี้มีการมองกันว่า มันเป็นสงครามอันยาวนาน “เป็นชั่วอายุคน” ตัวผมเองน่ะเชื่อว่ามันไม่มีทางที่จะเงียบเชียบเช่นนี้ได้แน่ๆ
ดังนั้น ขณะที่การสำแดงแสนยานุภาพทางอากาศของสหรัฐฯในสถานที่ต่างๆ อย่าง เยเมน, โซมาเลีย, และอัฟกานิสถาน กำลังเพิ่มทวีความดุเดือดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่กองทหารที่เข้าร่วมใน “มินิ-เซิร์จ” รอบล่าสุดเดินทางไปถึงอัฟกานิสถาน ขณะที่ไนเจอร์เป็นประเทศรายล่าสุดที่กลายเป็นสมรภูมิของสงครามคราวนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำเอาเหล่านายพลอย่าง เดวิด เพเทรอัส, เจมส์ แมตทิส, เอช อาร์ แมคมาสเตอร์, และ จอห์น เคลลี เข้ามาอยู่ในบริบทอย่างที่ควรจะเป็น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเรียกขานพวกเขาอย่างที่พวกเขาเป็นอยู่จริงๆ นั่นคือ พวกเขาคือลูกหลานของริชาร์ด นิกสัน
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์ไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
ทอม เองเกลฮาร์ดต์ เป็นผู้สร้างและดำเนินงานเว็บไซต์ Tomdispatch.com ที่เป็นโครงการหนึ่งของ The Nation Institute โดยที่เขาเองก็เป็นสมาชิกผู้หนึ่งของสถาบันแห่งนี้ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่ได้รับการยกย่องชมเชยอย่างสูง เรื่อง The End of Victory Culture ว่าด้วยประวัติศาสตร์ลัทธิเชิดชูชัยชนะอย่างเลยเถิดของชาวอเมริกัน (American triumphalism) ในช่วงสงครามเย็น สำหรับผลงานหนังสือเล่มล่าสุดของเขาได้แก่เรื่อง Shadow Government: Surveillance, Secret Wars, and a Global Security State in a Single-Superpower World นอกจากนั้นทุกๆ ฤดูใบไม้ผลิเขาจะเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่บัณฑิตวิทยาลัยวารสารศาสตร์ (Graduate School of Journalism) มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley)
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในเว็บไซต์ TomDispatch.com)
‘Tell me how this ends?’ Petraeus finally answers his own question
By Tom Engelhardt
19/10/2017
เล่าขานกันว่า เดวิด เพเทรอัส เมื่อครั้งนำกองพลของเขาเข้ารุกรานอิรักในปี 2003 ได้อ้างอิงคำพูดของนักยุทธศาสตร์การทหารอาวุโสของสหรัฐฯยุคเก่าที่ถามว่า จะต้องใช้ทหารเพิ่มอีกเท่าใดและระยะเวลาอีกนานแค่ไหน โดยมีนัยพาดพิงถึงสงครามของอเมริกาในอิรัก หลังจากเวลาผ่านพ้นไป 14 ปีแล้ว เพเทรอัสก็กลับมาตอบคำถามนี้ว่า สงครามที่สหรัฐฯทำอยู่ในมหาภูมิภาคตะวันออกกลางเวลานี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะชนะได้ในเร็ววัน หากแต่เป็นการต่อสู้อันยาวนานชั่วอายุคนทีเดียว
ต้องใช้เวลายาวนานถึง 14 ปีทีเดียว แต่ถึงตอนนี้เราก็ได้รับคำตอบแล้ว มันเป็นช่วงเดือนมีนาคม 2003 การรุกรานอิรักกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น และ พล.ต.เดวิด เพเทรอัส (David Petraeus) ในตอนนั้นเป็นผู้บัญชาการของกองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 (101st Airborne Division) แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งกำลังเคลื่อนทัพมุ่งหน้าไปยังกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก ริค แอตคินสัน (Rick Atkinson) นักหนังสือพิมพ์ของวอชิงตันโพสต์ (Washington Post ) และนักประวัติศาสตร์การทหาร กำลังติดตามร่วมทางไปกับเขาด้วย
หกวันแห่งการเข้าสู่การรณรงค์โจมตีรุกไล่แบบสายฟ้าแลบ แต่ในฉับพลันนั้นเองกองพลของเพเทรอัสก็พบว่าตัวเองต้องหยุดเคลื่อนที่ในบริเวณห่างราวๆ 50 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองนาจัฟ (Najaf) เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย รวมทั้งพายุฝุ่นซึ่งพัดแรงขนาดลืมหูลืมตาไม่ขึ้น และการโจมตี “อย่างบ้าคลั่ง” ซึ่งไม่เป็นที่คาดหมายกันมาก่อนของกองกำลังอาวุธชาวอิรักที่มิใช่กองทหารประจำการ ในขณะนั้นเอง แอตคินสัน รายงานเอาไว้ว่า:
[เพเทรอัส] เกี่ยวนิ้วหัวแม่มือของเขาเข้าไปในเสื้อเกราะกันกระสุนที่เขาสวมอยู่ และปรับน้ำหนักที่บ่าของเขาต้องแบกรับ “บอกผมหน่อยว่าเรื่องนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่” เขากล่าว “8 ปีกับ 8 กองพลใช่ไหม?” นี่เป็นการพูดพาดพิงอ้างอิงถึงคำแนะนำซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นของนักยุทธศาสตร์อาวุโสของกองทัพสหรัฐฯคนหนึ่ง ที่บอกกับทำเนียบขาวในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เมื่อถูกสอบถามว่าจะต้องใช้อะไรบ้างจึงจะสามารถทำให้กองทหารของฝรั่งเศสในเวียดนามใต้กระเด้งตัวพุ่งพรวดขึ้นมาใหม่ สีหน้ายิ้มกว้างของเพเทรอัสบ่งบอกให้ทราบว่าการที่เขาพูดเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นการมุ่งปล่อยมุกขำๆ มากกว่าเป็นการย้ำยืนยันประวัติศาสตร์ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2004/03/07/AR2005040206041_2.html)
แน่นอนทีเดียว เพเทรอัสมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเขาเป็นอย่างดีเมื่อเป็นเรื่องการที่อเมริกันเข้าไปแทรกแซงในดินแดนอันไกลโพ้นต่างๆ เขาเข้าเรียนที่สถาบันทหารสหรัฐฯ (United States Military Academy)ในเวสต์พอยต์ รัฐนิวยอร์ก (ชื่อที่เรียกขานกันอย่างคุ้นเคยในเมืองไทยคือ โรงเรียนนายร้อยทหารบกเวต์พอยต์ –ผู้แปล) ในขณะที่สงครามอเมริกันในเวียดนามกำลังเริ่มลดระดับลงมาพอดี นอกจากนั้นเขายังทำวิทยานิพนธ์เพื่อรับปริญญาเอกของเขาที่มหาวิทยาลัยพรินซตัน (Princeton University) ในปี 1987 เกี่ยวกับสงครามคราวนั้น (หัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขาคือ “The American Military and the Lessons of Vietnam: A Study of Military Influence and the Use of Force in the Post-Vietnam Era” (ฝ่ายทหารอเมริกันและบทเรียนเรื่องเวียดนาม: การศึกษาอิทธิพลทางทหารและการใช้กองกำลังในยุคหลังสงครามเวียดนาม) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2007/01/12/AR2007011201955.html) ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีอยู่ตอนหนึ่งเขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
เวียดนามทำให้ฝ่ายทหารต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาแพงลิ่ว มันทำให้พวกผู้นำทางทหารของอเมริกาบังเกิดความสับสน, หดหู่ทดท้อ, และเสียกำลังใจ กระทั่งที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นอีก คือ มันทำให้กองทัพได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง, กำลังปล้นชิงเอาเกียรติศักดิ์ศรี, เงินทอง, และผู้คนที่มีคุณภาพไปจากกองทัพอยู่เป็นระยะเวลา 1 ทศวรรษ ... เวียดนามเป็นเครื่องเตือนใจอันสร้างความเจ็บปวดอย่างที่สุดซึ่งทำให้ระลึกเอาไว้ว่า เมื่อมาถึงเรื่องการแทรกแซงแล้ว เวลาและความอดทนไม่ใช่คุณสมบัติซึ่งอเมริกันมีอยู่ในซัปพลายอย่างล้นเหลือเลย”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร ในการที่เขามีความคุ้นเคยทราบเรื่องการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเมื่อปี 1954 ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D Eisenhower) กับ อดีตผู้บัญชาการทหารในสงครามเวียดนาม พล.อ.แมตธิว ริดจ์เวย์ (General Matthew Ridgeway) เกี่ยวกับสงครามที่ฝรั่งเศสทำในเวียดนาม (ดูเพิ่มเติมได้จากหนังสือเล่มต่างๆ ที่พูดถึงชีวประวัติของเพเทรอัส http://www.nybooks.com/articles/2013/03/07/warrior-petraeus/) บางทีการที่เขาแสดงความคิดเห็นด้วยท่าที “ปล่อยมุกขำๆ” อาจจะมาจากความรอบรู้ของเขาในเรื่องที่ว่าริดจ์เวย์ประมาณการได้ย่ำแย่ขนาดไหนทั้งในเรื่องจำนวนปีและจำนวนกองทหารที่ต้องใช้ โดยที่สงครามที่นั่นในเวอร์ชั่นอเมริกันซึ่งจะกินเกลี้ยงฟาดเรียบเกินกว่านี้นักหนา ก็จะเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือ ยุติลงในสภาพวิบัติหายนะ และในอาการที่ฝ่ายทหารเต็มไปด้วยรูพรุนจากการประท้วง กระทั่งใกล้เคียงการพังครืนลงมากอย่างที่สุดเท่าที่จะสามารถจินตนาการกันได้สำหรับกองทหารอเมริกันในยุคสมัยของเราทีเดียว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://msuweb.montclair.edu/~furrg/Vietnam/heinl.html)
ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกปี 1987 ของเขา เพเทรอัสเรียกร้องว่าควรต้องอนุญาตให้กองบัญชาการระดับสูงของฝ่ายทหารมีอิสรเสรียิ่งขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ถ้าหากจะมีการแทรกแซงใดๆ ขึ้นมาอีกในอนาคตข้างหน้า มองจากแง่มุมนี้แล้วย่อมกล่าวได้ว่า ตั้งแต่ปี 1987 เขาก็กำลังพรักพร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่ฐานะอันสำคัญในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งฝ่ายทหารสหรัฐฯยังคงได้รับทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองต้องการต่อไป (และกระทั่งได้มากกว่าที่ต้องการด้วยซ้ำ ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2017/09/18/us/politics/senate-pentagon-spending-bill.html) ในขณะเดียวกับที่ทำการสู้รบในสงครามของตนไปโดยที่ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวปวดเศียรเวียนเกล้า ไม่ว่ากับสภาพของกองทัพซึ่งเป็นกองทหารที่เกณฑ์มาจากพลเรือนอันแสนจะอึกทึกวุ่นวาย หรือกับพวกนักการเมืองมากมายเกินไปซึ่งกำลังพยายามนำเอาเจตนารมณ์ของพวกเขาเข้ามาทำให้กลายเป็นการปฏิบัติการของกองทัพ
และถึงแม้การแสดงความเห็นของเขาที่นาจัฟ มักถูกหยิบยกนำมาอ้างอิงกันในลักษณะราวกับว่ามันเป็นความคิดเฉพาะตัวของเขา ทว่าก็อย่างที่บ่งบอกเอาไว้จากข้อเท็จจริงที่ว่า คำกล่าวนี้ความจริงแล้วเป็นคำกล่าวของริดจ์เวย์นั่นแหละ เพเทรอัสไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาทหารอเมริกันคนแรก หรือบุคคลทางการเมืองชาวอเมริกันคนแรกหรอก ซึ่งตั้งคำถามในทำนองเดียวกับ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ในบทละครเรื่อง เซนต์ โจน (Saint Joan) ของ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) ตอนที่เธอคร่ำครวญว่า “How long, oh Lord, how long?”
ตัวอย่างเช่น เดวิด ฮัลเบอร์สแตม (David Halberstam) นักหนังสือพิมพ์ผู้ชนะได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prize) ได้เล่าเอาไว้ในหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงปีที่เกิดสงครามเวียดนามของเขา เรื่อง The Best and the Brightest ว่า ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) ได้หันไปทาง พล.อ.เอิร์ล วีเลอร์ (Earle Wheeler) ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมในเวลานั้น ระหว่างการประชุมครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน 1965 และสอบถามถึงสงครามในเวียดนามว่า “คุณคิดว่ามันจะต้องใช้อะไรสักขนาดไหนในการทำงานนี้?”
คำตอบของวีลเลอร์ เป็นเหมือนเสียงสะท้อนคำตอบของริดจ์เวย์เมื่อ 11 ปีก่อนหน้านั้น ถึงแม้อยู่ในลักษณะเพิ่มขยายยกระดับมากขึ้นซึ่งดูจะเป็นแบบฉบับของสงครามเวียดนามไปแล้ว “ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับว่าท่านให้คำจำกัดความงานนี้ว่ายังไงครับ ท่านประธานาธิบดี ถ้าท่านมีเจตนาตั้งใจที่จะขับไล่พวกเวียดกงคนสุดท้ายให้อออกจากเวียดนาม มันก็จะต้องใช้คนสัก 7 แสน, 8 แสน, ล้านนึง และเวลาสักราว 7 ปี แต่ถ้าท่านให้คำจำกัดความงานนี้ว่าเพื่อป้องกันไม่ให้พวกคอมมิวนิสต์เข้ายึดประเทศนั้นไปได้ นั่นคือ หยุดยั้งพวกเขาจากการกระทำเรื่องนี้แล้ว ท่านก็กำลังพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนที่แตกต่างออกไปและระดับที่แตกต่างออกไป ดังนั้นท่านต้องบอกเราก่อนว่างานนี้คืออะไร แล้วเราจึงจะตอบได้”
สงครามของอเมริกากลายเป็นเรื่องที่ต้องทำกันยืดเยื้อเป็นชั่วอายุคนไปแล้ว
ไม่นานนักหลังจากชั่วขณะแห่งการตรึกตรอง ณ ชานเมืองนาจัฟดังกล่าว กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 ก็สามารถบุกไปจนถึงกรุงแบกแดด ในตอนที่กำลังเกิดการเผาเมืองและการปล้นชิงเริ่มต้นขึ้นพอดี (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://archive.commondreams.org/views03/0415-07.htm) และมั่นก็จะเป็นเพียงบทเกริ่นนำให้แก่สงครามของเดวิด เพเทรอัส ให้แก่ “8 ปีและ 8 กองพล” ในเวอร์ชั่นของเขา
ครั้นเมื่อเกิดการก่อกบฏก่อความไม่สงบปะทุขึ้นมาในอิรัก เขาจะถูกส่งตัวไปยังเมืองโมซุล (Mosul) เมืองใหญ่ทางภาคเหนือของอิรัก (ซึ่งเวลานี้กลายเป็นกองซากปรักหักพัง ภายหลัง “การปลดแอก” เมืองนี้เมื่อปี 2017 จากเงื้อมมือของพวกรัฐอิสลาม ในสงครามอิรักครั้งที่ 3 ของวอชิงตัน ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/interactive/2017/10/09/world/middleeast/mosul-iraq-rubble-dead.html) ที่นั่นเอง เขาจะทำการทดลองหนแรกในการนำเอาประสบการณ์จากสงครามเวียดนามกลับมาใช้ใหม่ ประสบการณ์ของการใช้ยุทธศาสตร์อย่างเดียวกันกับที่ฝ่ายทหารสหรัฐฯได้เคยวาดหวังเอาไว้ว่าจะสามารถกำจัดมันทิ้งไปตลอดกาล ไม่มีการนำกลับมาใช้อีก นั่นคือ “การต่อต้านการก่อความไม่สงบ” (counterinsurgency) หรือการเอาชนะสิ่งซึ่งในสงครามคราวนั้นนิยมเรียกขานกันเป็นปกติว่า การเอาชนะ “ทั้งความคิดและจิตใจ” (hearts and minds)
ในปี 2004 นิตยสารนิวสวีก (Newsweek) กล่าวยกย่องชมเชยเพเทรอัสเอาไว้ในเรื่องจากปกของตน ด้วยการตั้งคำถามอันน่าตื่นเต้นว่า “ชายผู้นี้สามารถรักษาอิรักให้อยู่รอดได้หรือไม่?” (อันที่จริงแล้ว 4 เดือนหลังจากที่เพเทรอัสเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่ในโมซุล หัวหน้าตำรวจที่เขาฝึกอบรมเอาไว้ที่นั่นได้หันไปอยู่ข้างพวกผู้ก่อความไม่สงบ และเมืองนั้นก็ได้กลายเป็นที่มั่นอันแข็งแรงสำหรับพวกกบฏ)
ในเวลาเดียวกับที่การยึดครองอิรักได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นความวิบัติหายนะอย่างเต็มพิกัดนั้นเอง เพเทรอัสถูกย้ายกลับไปยังค่ายฟอร์ตลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth) รัฐแคนซัส ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์กำลังอาวุธผสม (Combined Arms Center) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ช่วงระยะนั้นเอง เพเทรอัสพร้อมกับนายทหารอีกผู้หนึ่ง คือ พล.ท. เจมส์ แมตทิส (นย.) –ชื่อนี้ดูคุ้นๆ ไหมครับ?— ได้รวมกำลังกันในการทำหน้าที่กำกับตรวจสอบ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://abcnews.go.com/Politics/gen-james-mattis/story?id=43694921) การจัดทำและการตีพิมพ์เอกสารที่มีชื่อว่า “Field Service Manual 3-24, Counterinsurgency Operations.” (คู่มือการทำงานภาคสนาม 3-24 “การปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ”) หนังสือเล่มนี้จะกลายเป็นเอกสารว่าด้วยวิธีการต่อสู้การก่อความไม่สงบอย่างเป็นทางการเล่มแรกซึ่งฝ่ายทหารสหรัฐฯผลิตขึ้นมาภายหลังจากช่วงปีแห่งสงครามเวียดนาม (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.amazon.com/3-24-Counterinsurgency-Operations-Field-Manual-ebook/dp/B00A6A24JE/ref=sr_1_2?s=books&ie=UTF8&qid=1487271439&sr=1-2&keywords=FM+3-24)
ภายใต้กระบวนการเช่นนี้ เพเทรอัสก็ได้กลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในเรื่องสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบ” (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.scotsman.com/news/michael-gove-triumph-of-freedom-over-evil-1-1302486) ครั้นแล้วในปี 2007 เขาก็ได้เดินทางกลับไปยังอิรักอีกครั้งหนึ่งด้วยความกระเดื่องโด่งดังมาก โดยที่ถือคู่มือเล่มนั้นอยู่ในมือพร้อมกับกำลังทหารอเมริกันเพิ่มเติมอีก 5 กองพลน้อย หรือราว 20,000 คน ซึ่งจะเป็นที่รู้จักเรียกขานกันในเวลาต่อมาว่า “the surge” (การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลัน) หรือ “the new way forward” (วิธีการใหม่ในการเดินไปข้างหน้า) โดยแท้ที่จริงแล้ว มันก็คือความพยายามที่จะกอบกู้ช่วยเหลือคณะบริหารประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ให้อยู่รอดออกมาจากการยึดครองประเทศนั้น ขณะที่การยึดครองดังกล่าวกำลังสร้างความวิบัติย่อยยับนั่นเอง การปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบของเขา ก็เฉกเช่นเดียวกับการเข้ารุกรานอิรักในช่วงแรกๆ ที่ได้รับการยกย่องชมเชยจากพวกผู้เชี่ยวชาญและพวกบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายในวอชิงตัน (รวมทั้งตัวเพเทรอัสเองด้วย ดูเพิ่มเติมที่ http://www.businessinsider.com/petraeus-how-we-won-in-iraq-2013-10) ในฐานะที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์และเป็นความสำเร็จระดับเอกอุ เป็นจุดพลิกเปลี่ยนที่แท้จริงในอิรักและในสงครามต่อสู้การก่อการร้าย
กระทั่งหลังจากเวลาผ่านพ้นไป 1 ทศวรรษ โดยที่อเมริกายังคงต้องทำสงครามอิรักครั้งที่ 3 อยู่อย่างต่อเนื่องไม่อาจยุติลงได้ แต่คุณก็อาจจะถูกกล่าวหาได้ทีเดียวเชียว ถ้าหากแสดงทัศนะเกี่ยวกับ “ความสำเร็จ” ของการเซิร์จ หรือการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลันคราวนั้น ในลักษณะที่แตกต่างออกไปสักหน่อย (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tomdispatch.com/blog/176252/)
ภายใต้กระบวนการเช่นนี้ เพเทรอัส หรือ “คิง เดวิด” (King David) ตามที่มีการอ้างอิงทึกทักกันว่าชาวอิรักเรียกขานเขาด้วยฉายาเช่นนี้ระหว่างที่เขาปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเมืองโมซุล (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.vanityfair.com/news/2010/05/petraeus-201005) ก็จะกลายเป็นนายพลผู้มีจุดเด่นน่าสนใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของอเมริกา และเดินหน้าเข้ารับตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารด้านกลางของสหรัฐฯ (US Central Command ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลการทำสงครามของอเมริกาทั้งในอิรักและในอัฟกานิสถาน) ในปี 2008 ต่อมาเมื่อถึงปี 2010 เขาจะกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน โดยเหตุผลใจความสำคัญก็คือเพื่อให้เขาสามารถสร้างความมหัศจรรย์แห่งการต่อต้านการก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศนั้นบ้าง อย่างที่เขาได้รับการสันนิษฐานทึกทักว่าได้กระทำสำเร็จมาแล้วในอิรัก
ในปี 2011 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (Central Intelligence Agency หรือ CIA) ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพียงที่จะตกกระแทกพื้นและถูกเผาป่นปี้ยับเยินในอีก 1 ปีให้หลัง ในกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับนักเขียนชีวประวัติสาวที่กลายเป็นชู้รักของเขาไปด้วย ตลอดจนการที่เขาใช้เอกสารปิดลับอย่างมิชอบ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2016/05/29/fashion/david-petraeus-paula-broadwell-scandal-affair.html) แล้วต่อจากนั้น เขาก็ปรับโฉมแปลงร่างกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สื่อทั้งหลายจะต้องไปปรึกษาหารือขอความเห็นเกี่ยวกับการทำสงครามของอเมริกา ตลอดจนยังปฏิบัติงานในฐานะเป็นหุ้นส่วน (partner) ผู้หนึ่งอยู่ที่ เคเคอาร์ (KKR) กิจการเพื่อการลงทุนรายใหญ่ระดับโลก
ถ้าจะพูดกันอีกอย่างหนึ่ง เพเทรอัสมีบทบาทเป็นผู้นำสูงสุดในทางการปฏิบัติการ ในสงครามครั้งต่างๆ ที่กำลังประสบความล้มเหลวของอเมริกาในมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) เฉกเช่นเดียวกับนายพล 3 คนในรุ่นเซิร์จเจเนอเรชั่นด้วยกันซึ่งเวลานี้ก้าวผงาดขึ้นครองตำแหน่งสูงในวอชิงตัน โดยที่ 1 ในนั้นได้แก่ เจมส์ แมตทิส อดีตเพื่อนร่วมงานของเพเทรอัสในการทำงานด้านการปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ (แมตทิส ก็เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารด้านกลางของสหรัฐฯมาเช่นกัน) (หมายเหตุผู้แปล – นายพลทั้ง 3 คนนี้ นอกจาก แมตทิส ที่ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯแล้ว อีก 2 คนคือ จอห์น เคลลี John Kelly ประธานคณะเจ้าหน้าที่ของทำเนียบขาว และ เอช อาร์ แมคมาสเตอร์ H R McMaster ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว)
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง หรือ 14 ปีหลังจากตอนที่เขากับแอตคินสันถูกตรึงเอาไว้ช่วงเวลาสั้นๆ ที่บริเวณนอกเมืองนาจัฟ ท้ายที่สุดแล้วเพเทรอัสซึ่งกำลังแสดงบทบาทเป็นบัณฑิตผู้รู้และผู้ทำนายทายทักเกี่ยวกับความเป็นไปของสงครามต่างๆ ที่เขาเคยเข้าร่วมมาในอดีตและยังไม่ได้ปิดฉากจบสิ้นลงเสียที ก็ได้ให้คำตอบ (โดยที่ไม่ใช่คำตอบแบบปล่อยมุกแสดงอาการเหน็บแนมเย้ยเยาะด้วย) ต่อคำถามซึ่งคอยรังควานเขาอยู่ในตอนนั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pbs.org/newshour/rundown/petraeus-afghan-war-generational-struggle-will-not-end-soon/)
ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของเขาได้รับการนำเสนอออกมาเป็นข่าวอย่างแน่นอนอยู่แล้ว (ทำนองเดียวกับอะไรก็ตามทีที่เขาพูดออกมา) แต่ในแง่หนึ่งก็กล่าวได้ว่าไม่ค่อยได้มีใครสังเกตสนใจสักเท่าใดนัก ทั้งนี้ เมื่อ จูดี วูดรัฟฟ์ (Judy Woodruff) ของรายการ “นิวส์ อาวร์” (News Hour) ของทีวีสาธารณะพีบีเอส (PBS) ตั้งคำถามว่า มันเป็นการ “ฉลาด” หรือไม่ ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ของอเมริกา กำลังจัดส่งทหารสหรัฐฯเพิ่มเข้าไปในอัฟกานิสถาน ในลักษณะ “เซิร์จ” นั่นคือเพิ่มเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลันอีกครั้งหนึ่ง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pbs.org/newshour/bb/petraeus-went-afghanistan-reason-need-stay/) เขาให้คำตอบโดยเรียกการตัดสินใจของเพนตากอนคราวนี้ว่า “ทำให้เกิดกำลังใจ” ถึงแม้เขาเตือนด้วยว่า มันไม่ใช่สงครามที่จะยุติจบสิ้นลงได้ในเร็วๆ นี้เลย
ตรงกันข้าม หลังจากใช้เวลาหลายปีเหลือเกินในการเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน, ผ่านประสบการณ์, ได้ขบคิดพิจารณาและเฝ้าสังเกตการณ์ เมื่อกลับมานั่งอยู่ในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์โดยที่ไม่ได้มีทรายแม้แต่เม็ดเดียวเข้ามาบดบังสายตา และก็ไม่ได้มีพายุฝุ่นปรากฏให้เห็นเลย เขาได้เสนอข้อสังเกตดังต่อไปนี้:
แต่นี่คือการต่อสู้ที่ยาวนานเป็นชั่วอายุคนนะครับ นี่ไม่ใช่อะไรที่กำลังจะได้ชัยชนะมาในเวลาสองสามปี เราไม่ได้กำลังจะเข้ายึดภูเขาลูกหนึ่ง, ปักธงผืนหนึ่งเอาไว้, แล้วก็กลับบ้านพร้อมกับขบวนพาเหรดแห่งชัยชนะ เราจำเป็นที่จะต้องอยู่ที่นั่นกันเป็นระยะยาวนาน แต่ก็อีกนั่นแหละครับ ต้องอยู่กันในวิถีทางซึ่งสามารถอยู่อย่างยั่งยืนได้ เราได้อยู่ในเกาหลีมาเป็นเวลามากกว่า 65 ปีแล้วเพราะมีผลประโยชน์แห่งชาติอันสำคัญที่ทำให้ต้องทำเช่นนั้น เราก็อยู่ในยุโรปมาเป็นระยะเวลายาวนานมากแล้วเช่นกัน และแน่นอนทีเดียว เรายังคงอยู่กันที่นั่น อันที่จริงแล้วเวลานี้มีการเน้นย้ำให้น้ำหนักแก่ยุโรปกันใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วย เมื่อพิจารณาจากการกระทำอย่างก้าวร้าวต่างๆ ของรัสเซีย ผมคิดว่านี่แหละคือวิถีทางที่เราจำเป็นต้องใช้ในการเข้าถึงเรื่องนี้
การที่เขาเสนอว่านี่เป็น “การต่อสู้ที่ยาวนานเป็นชั่วอายุคน” ซึ่งจะต้องส่งมอบต่อไปให้แก่ลูกๆ ของชาวอเมริกัน ถ้าหากไม่ต้องไปถึงรุ่นหลานๆ ด้วยเช่นนี้ เพเทรอัสไม่ได้โดดเดี่ยวเลย แต่มีเพื่อนร่วมความคิดเห็นเป็นจำนวนมากทีเดียว ในระยะหลังๆ มานี้ พวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของเพนตากอนก็เช่นกัน กำลังประยุกต์นำเอา “วิธีการเข้าถึงปัญหาในลักษณะยาวนานเป็นชั่วอายุคน” (generational approach) มาใช้ในอัฟกานิสถาน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.washingtonpost.com/news/checkpoint/wp/2016/01/26/the-u-s-was-supposed-to-leave-afghanistan-by-2017-now-it-might-take-decades/?utm_term=.e942c4f9e80a) และสมควรสันนิษฐานได้ด้วยว่าจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสงครามอื่นๆ ของอเมริกาตลอดทั่วทั้งมหาภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาอีกด้วย
ในทำนองเดียวกัน กลุ่มนักวิจัยของสถาบันบรูกกิ้งส์ (Brookings Institution) ได้ออกมาเรียกร้องพวกผู้วางนโยบายของวอชิงตันกระทำในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “การเป็นหุ้นส่วนอย่างยาวนานถาวร” (an enduring partnership) ในอัฟกานิสถาน โดยพวกเขาบอกว่า: “ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯ-อัฟกัน ควรต้องยอมรับกันว่าจะมีอายุยืนยาวกันเป็นชั่วอายุคน เมื่อพิจารณาจากธรรมชาติของภัยคุกคามนี้ และการที่มันยังน่าจะปรากฏตัวให้เห็นอีกอย่างยาวนานต่อไปในอนาคต” (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.brookings.edu/research/forging-an-enduring-partnership-with-afghanistan/)
เมื่อวูดรัฟฟ์ตั้งคำถามอย่างเจาะจงต่อไปอีก เพเทรอัสก็ไม่ค่อยอยากจะตอบว่าสงครามอัฟกานิสถานจะสามารถสิ้นสุดลงในระยะเวลาสัก 60 ปีหรือไม่ (นั่นคือสงครามนี้จะยืดเยื้อไปอย่างน้อยจนกระทั่งถึงปี 2061) คำตอบที่เนิ่นช้ามานานต่อคำถามของเขาเองในชั่วขณะแห่งการรุกรานอิรักในปี 2003 เวลานี้เป็นอันว่าปรากฏออกมาอย่างกระจ่างแจ้งแล้ว นั่นก็คือ สงครามทำนองนี้ของอเมริกันจะไม่มีวันสิ้นสุดปิดฉากหรอก ไม่ใช่เวลานี้ และก็อาจจะไม่ใช่ไปตลอดกาล จากการยอมรับเช่นนี้ ในแง่มุมหนึ่งมันก็คือการประเมินผล “ความสำเร็จต่างๆ” ของสงครามต่อสู้กับการก่อการร้ายนี้ อย่างชนิดที่ตรงแน่วแบบขวานผ่าซากที่สุด แล้วก็เป็นการประเมินผลอย่างมืดมนอนธกาลที่สุดนั่นเอง
เรื่องราวความสำเร็จทางการทหารที่แปลกประหลาดสุดๆ
ก่อนหน้าที่ เจมส์ “แมดด็อก” แมตทิส จะกลายเป็นข่าวเกรียวกราวแทบทุกวันนับแต่ที่เขารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในกรุงวอชิงตัน กล่าวได้ว่าไม่มีนายพลอเมริกันในยุคปัจจุบันคนไหนอีกแล้วที่ได้รับการเขียนถีงการพูดถึงอย่างมากมายเท่ากับ เดวิด เพเทรอัส หรือได้รับการเขียนการพูดถึงในเชิงกล่าวขวัญถึงคนดังอย่างมากมายเท่ากับเขาอีกแล้ว ประวัติโปรไฟล์ของเขาในลักษณะยกย่องเชิดชูจนเกินเลย (หากไม่ถึงขั้นแสดงการประจบประแจง) ถูกผลิตออกมาเกลื่อนกลาดไปหมด
แม้กระทั่งในทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่เกิดกรณีฉาวโฉ่ซึ่งเขาเฉียดใกล้การถูกกล่าวหากระทำความผิดอาญาอุกฉกรรจ์และข้อหาอื่นๆ โดยที่หนึ่งในจำนวนนี้ได้แก่ การกล่าวเท็จระหว่างการสอบสวนของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.washingtonpost.com/world/national-security/how-david-petraeus-avoided-felony-charges-and-possible-prison-time/2016/01/25/d77628dc-bfab-11e5-83d4-42e3bceea902_story.html?utm_term=.ec70b899bf6a) --โดยในที่สุดแล้ว เขายอมรับสารภาพว่ากระทำความผิดอาญาที่ไม่ร้ายแรง (misdemeanor) ในเรื่องการจัดการกับพวกเอกสารที่ถูกจัดชั้นความลับ และได้ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปีแต่ให้รอลงอาญาตลอดจนถูกสั่งปรับ – แต่กระนั้นเพเทรอัสก็ดูยังคงเป็นนายพลที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของสหรัฐฯอยู่นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ขอให้ลองพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่ไนเจอร์ ประเทศซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกากลาง ที่นั่นมีฐานอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) ของสหรัฐฯซึ่งกำลังออกปฏิบัติการอยู่เรียบร้อยแล้ว 1 แห่ง แล้วยังมีอีกแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://theintercept.com/2016/09/29/u-s-military-is-building-a-100-million-drone-base-in-africa/) และมีทหารอเมริกันประมาณ 800 คนไปตั้งประจำอยู่ที่นั่นอย่างเงียบๆ ทว่าอยู่กันอย่างถาวรทีเดียว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cnn.com/2017/10/04/politics/us-forces-hostile-fire-niger/index.html) มันยังคงเป็นประเทศซึ่งจนกระทั่งเพียงเมื่อไม่นานมานี้ คงมีชาวอเมริกันไม่ถึง 1 ล้านคนหรอกซึ่งสามารถที่จะสามารถระบุได้ว่าประเทศนี้ตั้งอยู่ตรงไหนบนแผนที่
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ทหารรบพิเศษหน่วยกรีนแบเรต์ 4 คนได้ถูกสังหารและอีก 2 คนได้รับบาดเจ็บ ระหว่าง “การปฏิบัติภารกิจฝึกอบรมตามปกติ” ที่ประเทศนั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2017/10/06/world/africa/green-berets-niger-soldiers-killed.html) ทั้งนี้ขณะกำลังออกลาดตระเวนพร้อมกับกองทหารชาวไนเจอร์ พวกเขาถูกซุ่มตีโดยกองกำลังนักรบอิสลาม –ซึ่งอาจจะเป็นพวกอัลกออิดะห์ในดินแดนอิสลามแห่งมาเกร็บ (al-Qaeda in the Islamic Maghreb) หรือเป็นสาขาใหม่ของพวกไอซิส (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2017/oct/15/sahel-niger-us-special-forces-islamists) ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจน
เหตุการณ์นี้ทำให้ไนเจอร์ได้ฐานะอย่างเป็นทางการว่า เป็นประเทศอย่างน้อยที่สุดก็รายที่ 8 แล้ว (โดยที่ชาติอื่นๆ ประกอบด้วย ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อิรัก, เยเมน, ซีเรีย, โซมาเลีย, และลิเบีย) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://thehill.com/opinion/national-security/354281-niger-americas-forgotten-soldiers-and-another-nameless-war) ซึ่งได้ถูกดูดกลืนเข้าสู่สงครามต่อสู้การก่อการร้ายของวอชิงตัน และในกรณีที่คุณอาจจะไม่ทันได้สังเกต ก็ขอชี้เอาไว้ด้วยว่า ประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้มีรายไหนเลยที่สงครามนี้ได้ยุติปิดฉากลงแล้ว รวมทั้งยังไม่มีรายใดเลยซึ่งกองทหารสหรัฐฯประสบชัยชนะอย่างเด็ดขาดชัดเจน
กระนั้นถ้าหากคุณสามารถที่จะตามกวาดตามสางพาดหัวข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในไนเจอร์บนสื่อมวลชนกระแสหลักในช่วงหลังๆ มานี้ คุณก็จะไม่พบเครื่องบ่งชี้ใดๆ เลยว่าการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นตัวแทนแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มระดับครั้งใหม่อย่างน้อยก็พอประมาณ ในสงครามปราบปรามการก่อการร้ายซึ่งไม่เคยยุติจบสิ้นลงและกลับแผ่กระจายออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ
ประดุจดังว่ามันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นอยู่แล้ว ในอิรักและซีเรียนั้น “รัฐกาหลิบ” (caliphate) แบบอิสลามของ อาบู บาคร์ อัล-แบกดาดี (Abu Bakr al-Baghdadi) กำลังพังทลายลงมาในที่สุด นครโมซุลกลับคืนมาอยู่ในกำมือของชาวอิรัก เฉกเช่นเดียวกับเมือง ตอล อะฟาร์ (Tal Afar) และในช่วงหลังๆ เข้ามาอีกคือเมืองฮาวิจา (Hawija) ซึ่งมีการออกมายอมแพ้กันเป็นจำนวนมากอย่างที่หาได้ยากของพวกนักรบไอซิสอีกด้วย (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2017/10/08/world/middleeast/isis-iraq-surrender.html) เหล่านี้คือพื้นที่ตัวเมืองอันสำคัญแห่งท้ายๆ ซึ่งควบคุมโดยพวกไอซิสในอิรัก ขณะเดียวกันในซีเรีย “การพังพินาศแบบโลกาวินาศ” ของเมืองร็อกเกาะฮ์ (Raqqa) ที่เป็น “เมืองหลวง” ของกลุ่มรัฐอิสลามนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วก็กำลังตกอยู่ในมือของกองกำลังที่เป็นพันธมิตร อีกทั้งได้รับการสนับสนุนด้วยแสนยานุภาพทางอากาศของกองทัพสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี ในซีเรียและอิรักเวลานี้ซึ่งแปรสภาพกลายเป็นซากปรักหักพังวินาศสันตะโร “ชัยชนะ” ดังกล่าวย่อมถูกพิสูจน์แบหราออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเป็นเพียงความกลวงโบ๋ว่างเปล่า เฉกเช่นเดียวกับการเข้ารุกรานอัฟกานิสถานและอิรัก “อย่างประสบชัยชนะ” หรือการโค่นล้มระบอบปกครองเผด็จการมูอัมมาร์ กัดดาฟี แห่งลิเบีย “อย่างประสบชัยชนะ” นั่นแหละ ในเวลาเดียวกันรัฐอิสลามก็อาจจะแพร่กระจายแบรนด์ของพวกเขาลุกลามไปยังอีกประเทศหนึ่งด้วยกำลังทหารสหรัฐฯซึ่งมีอยู่ในประเทศดังกล่าว
กระนั้น ตลอดทั่วดินแดนผืนกว้างใหญ่ผืนหนึ่งของพื้นพิภพนี้ สงครามของเดวิด เพเทรอัส, เจมส์ แมตทิส, และเหล่านายพลคนอื่นๆ ของยุคสมัยนี้ ก็ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ ในภูมิภาคหนึ่งซึ่งได้แตกหักออกเป็นเสี่ยงๆ และถูกทำลายราบกลายเป็นเศษซากปรักหักพัง (ขณะเดียวกัน ผู้ลี้ภัยซึ่งต้องพลัดถิ่นที่อยู่เป็นจำนวนมหาศาลของภูมิภาคนี้เอง ก็กำลังช่วยทำให้ยุโรปเกิดการแตกหักออกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยเช่นกัน ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://fpif.org/europe-and-the-middle-east-are-both-on-the-verge-of-unraveling/)
สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านี้เสียอีกก็คือ มันกำลังกลายเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถอภิปรายกันหรือถกเถียงกันอย่างจริงจังในสหรัฐฯได้เสียแล้ว เพราะถ้าเกิดมีการกระทำเช่นนั้นขึ้นมา แรงต่อต้านสงครามเหล่านี้ก็อาจเพิ่มสูงขึ้น และทางเลือกอื่นๆ รวมทั้งการตัดสินใจของพวกนายพลเหล่านี้ (ซึ่งเมื่อถึงเวลานี้อยู่ในอาการสมองไม่ทำงานไปเสียแล้ว) อาทิเช่น การเพิ่มความเข้มข้นดุเดือดของสงครามทางอากาศขึ้นมาใหม่ และ “มินิ-เซิร์จ” (mini-surge) ล่าสุดในอัฟกานิสถาน ก็อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของการถกเถียงอภิปรายระดับชาติอย่างแท้จริงไป
ดังนั้น ขอให้เราหันมาคิดถึงเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นเรื่องราวความสำเร็จทางการทหารแบบที่แปลกประหลาดที่สุดก็แล้วกัน –เป็นความสำเร็จที่สามารถติดตามสาวร่องรอยได้อย่างตรงๆ จนกระทั่งกลับไปถึงการตัดสินใจครั้งหนึ่งซึ่งกระทำไว้เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว โดยประธานาธิบดีอเมริกันผู้หนึ่งซึ่งชื่อเสียงของเขาได้เสื่อมเสียหมดเครดิตไปนานแล้ว นามของประธานาธิบดีผู้นี้คือ ริชาร์ด นิกสัน หากเราไม่หวนกลับไปพิจารณาการตัดสินใจคราวนั้นแล้ว ก็เรียกได้ว่าไม่มีทางที่เราจะสามารถเข้าใจสงครามต่างๆ ในยุคศตวรรษที่ 21 ของอเมริกาได้เลย พิจารณาจากความแยบยลของตัวมันเองแล้ว การตัดสินใจในเรื่องนี้ควรต้องถือเป็นการกระทำของอัจฉริยะทีเดียว (ทั้งนี้อย่างน้อยที่สุด ถ้าหากคุณต้องการที่จะสู้รบในสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้นไปเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งไปถึงจุดสุดท้ายของกาลเวลา)
แต่จะเป็นยังไงก็แล้วแต่ เมื่อติดหนี้เครดิตใครแล้ว ก็ควรจะต้องชดใช้ต้องคืนเครดิตแก่พวกเขา ตอนที่กำลังเผชิญขบวนการต่อต้านสงครามซึ่งไม่มีท่าทีว่าจะซบเซาจางหาย แถมเมื่อถึงประมาณต้นทศวรรษ 1970 ยังมีทั้งทหารที่กำลังประจำการทำหน้าที่อยู่และทหารผ่านศึกเวียดนามจำนวนหนึ่งเข้าร่วมขบวนการนี้ด้วย ประธานาธิบดีนิกสัน และรัฐมนตรีกลาโหมของเขา ซึ่งคือ เมลวิน แลร์ด (Melvin Laird) ตัดสินใจที่จะพยายามลดทอนความเข้มแข็งของพลังต่อต้านสงครามด้วยการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร นิกสันนั้นคิดว่าพวกคนหนุ่มๆ เมื่อไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายของความเป็นไปได้ที่จะถูกส่งตัวเข้าสู่สงครามเวียดนามแล้ว ก็น่าจะมีความกระตือรือร้นลดน้อยลงอย่างฮวบฮาบทีเดียวที่จะออกมาเดินขบวนต่อต้านสงครามนี้
พวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของฝ่ายทหารไม่มีความแน่ใจต่อความเคลื่อนไหวเช่นนี้เลย พวกเขารู้สึกวิตกกังวลซึ่งก็มีเหตุมีผลอยู่ ว่าเนื่องจากสงครามเวียดนามนี่แหละ จะทำให้เป็นเรื่องยากลำบากที่จะระดมหาผู้สมัครใจเป็นทหารเพื่อให้ได้กองทัพที่ประกอบด้วยอาสาสมัครล้วนๆ ไม่มีใครถูกบังคับกะเกณฑ์เลย พวกเขาสงสัยว่าจะมีใครในโลกที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังอาวุธที่สูญเสียเกียรติยศไปเยอะแยะมากมายเช่นนั้น
แน่นอน นี่คือเวอร์ชั่นหนึ่งของการมองสวนทางกับความคิดของนิกสัน กระนั้นประธานาธิบดีผู้นี้ยังคงเดินหน้าต่อไปอยู่ดี และในวันที่ 27 มกราคม 1973 (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.politico.com/story/2012/01/us-military-draft-ends-jan-27-1973-072085) การเกณฑ์ทหารก็เป็นอันยุติลง ต่อจากนี้ไปสหรัฐฯจะไม่มีการเรียกเกณฑ์ทหารกันอีกแล้ว และกองทัพของพลเมืองแห่งสหรัฐฯ อันเป็นกองทัพซึ่งได้เคยสู้รบอยู่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งได้รับชัยชนะ และได้ก่อให้เกิดการเอะอะโวยวายเกี่ยวกับความโหดเหี้ยมและความน่ารังเกียจของสงครามในเวียดนาม ก็จะไม่มีอีกต่อไปแล้ว
ด้วยการตวัดปากกาเพียงครั้งเดียวคราวนั้น ก่อนที่ตัวเขาเองจะตกเป็นเหยื่อของกรณีอื้อฉาววอเตอร์เกตและต้องลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี นิกสันก็ได้กระทำหน้าที่สร้างมรดกสำหรับยุคสมัยต่อๆ มาอีกยาวนาน เป็นการแผ้วถางทางให้ฝ่ายทหารสหรัฐฯสามารถสู้รบทำสงครามของตน “เป็นชั่วอายุคน” ได้ และสามารถพ่ายแพ้ปราชัยในสงครามเหล่านั้นได้อย่างยาวนานเรื่อยไป โดยที่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่มีใครในประเทศนี้ทำท่าจะสนอกสนใจอะไรแม้แต่น้อยนิด
หรืออาจพิจารณาเรื่องนี้ในอีกแง่มุมหนึ่งก็ได้ คุณสามารถจินตนาการได้จริงๆ หรือว่า จะยังคงมีความเงียบกริบขนาดนี้ภายใน “มาตุภูมิ” ถ้าหากทหารเกณฑ์ชาวอเมริกันกำลังถูกระดมหลั่งไหลอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน เพื่อเข้าไปเติมเต็มตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในกองทัพของพลเมืองซึ่งทำการสู้รบในสงครามต่อสู้การก่อการร้ายมาเป็นเวลา 16 ปีแล้ว แต่ยังคงเป็นสงครามที่มีแต่ขยายตัวออกไปอยู่เรื่อยๆ และกระทั่งเวลานี้มีการมองกันว่า มันเป็นสงครามอันยาวนาน “เป็นชั่วอายุคน” ตัวผมเองน่ะเชื่อว่ามันไม่มีทางที่จะเงียบเชียบเช่นนี้ได้แน่ๆ
ดังนั้น ขณะที่การสำแดงแสนยานุภาพทางอากาศของสหรัฐฯในสถานที่ต่างๆ อย่าง เยเมน, โซมาเลีย, และอัฟกานิสถาน กำลังเพิ่มทวีความดุเดือดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่กองทหารที่เข้าร่วมใน “มินิ-เซิร์จ” รอบล่าสุดเดินทางไปถึงอัฟกานิสถาน ขณะที่ไนเจอร์เป็นประเทศรายล่าสุดที่กลายเป็นสมรภูมิของสงครามคราวนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำเอาเหล่านายพลอย่าง เดวิด เพเทรอัส, เจมส์ แมตทิส, เอช อาร์ แมคมาสเตอร์, และ จอห์น เคลลี เข้ามาอยู่ในบริบทอย่างที่ควรจะเป็น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเรียกขานพวกเขาอย่างที่พวกเขาเป็นอยู่จริงๆ นั่นคือ พวกเขาคือลูกหลานของริชาร์ด นิกสัน
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์ไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
ทอม เองเกลฮาร์ดต์ เป็นผู้สร้างและดำเนินงานเว็บไซต์ Tomdispatch.com ที่เป็นโครงการหนึ่งของ The Nation Institute โดยที่เขาเองก็เป็นสมาชิกผู้หนึ่งของสถาบันแห่งนี้ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่ได้รับการยกย่องชมเชยอย่างสูง เรื่อง The End of Victory Culture ว่าด้วยประวัติศาสตร์ลัทธิเชิดชูชัยชนะอย่างเลยเถิดของชาวอเมริกัน (American triumphalism) ในช่วงสงครามเย็น สำหรับผลงานหนังสือเล่มล่าสุดของเขาได้แก่เรื่อง Shadow Government: Surveillance, Secret Wars, and a Global Security State in a Single-Superpower World นอกจากนั้นทุกๆ ฤดูใบไม้ผลิเขาจะเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่บัณฑิตวิทยาลัยวารสารศาสตร์ (Graduate School of Journalism) มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley)
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในเว็บไซต์ TomDispatch.com)