Exploring the Shadows of America’s Security State, Or How I Learned Not to Love Big Brother
By Alfred W. McCoy
24/08/2017
“อำนาจความมั่นคงแห่งชาติ” กำลังกลายเป็น “อำนาจฝ่ายที่ 4” ของสหรัฐฯไปแล้ว เพิ่มเติมขึ้นมาจาก 3 ฝ่ายเดิม คือ นิติบัญญัติ, บริหาร, และตุลาการ สิ่งที่ชาวอเมริกันควรฉุกคิดและถามกันขึ้นมาก็คือ อำนาจอันใหญ่โตมหึมา เจ้าสิ่งที่ระบุว่าเพื่อทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมดเหล่านี้ แท้ที่จริงแล้วมุ่งที่จะใช้กับพวกศัตรูนอกพรมแดนของเราออกไปเท่านั้นจริงๆ หรือ?
ภายหลังถูกปลุกให้ตื่นตัวจากเหตุการณ์โจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อปี 2001 วอชิงตันก็เที่ยวไล่ล่าตามหาพวกศัตรูผู้ลี้ลับและว่องไวเหมือนปรอทของตนไปตลอดทั่วทั้งดินแดนพื้นที่ของเอเชียและแอฟริกา เรื่องนี้ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณการที่โครงสร้างพื้นฐานทางด้านข่าวกรองของสหรัฐฯได้รับการขยับขยายออกไปอย่างใหญ่โตกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างการก้าวผงาดขึ้นมาของพวกเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับการสอดแนมตรวจตรา, ยานจักรกล (โดรน) ที่คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง, และการระบุยืนยันอัตลักษณ์ด้วยชีวมิติ (biometric identification) ในปี 2010 หลังจากเวลาผ่านไปเกือบ 1 ทศวรรษสำหรับการดำเนินสงครามปิดลับนี้ซึ่งช่างตะกละกระหายในข้อมูลข่าวสารอย่างไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงาน [1]ว่า “รัฐความมั่นคงแห่งชาติ” (national security state) นี้ได้โป่งพองบวมเป่งจนกลายเป็น “ฝ่ายที่ 4” ของอำนาจการปกครองส่วนกลางของสหรัฐฯไปแล้ว (3 ฝ่ายของอำนาจการปกครองส่วนกลางของสหรัฐฯเดิมคือ ฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ, ฝ่ายตุลาการ -ผู้แปล) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ผ่านงานมาระดับหนึ่งแล้วเป็นจำนวน 854,000 คน, องค์กรด้านความมั่นคง 263 องค์กร, และหน่วยงานด้านข่าวกรองกว่า 3,000 หน่วย, โดยที่กำลังจัดทำเสนอรายงานพิเศษต่างๆ 50,000 ฉบับในแต่ละปี
ถึงแม้ตัวเลขสถิติเหล่านี้จะดูน่าตื่นตาตื่นใจ แต่มันก็เป็นเพียงการลอกเปลือกลอกพื้นผิวชั้นนอกที่เห็นได้ชัดเจนของสิ่งซึ่งได้กลายเป็นกลไกปิดลับซ้อนเร้นที่มีพิษสงร้ายแรงที่สุดและก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไปแล้ว ตามเอกสารลับซึ่ง เอดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ได้เปิดโปงแฉโพยออกมาเมื่อปี 2013 [2] เฉพาะหน่วยงานด้านข่าวกรองระดับประเทศ 16 แห่งของสหรัฐฯเท่านั้นก็ว่าจ้างลูกจ้างพนักงานเอาไว้ 107,035 คน และมี “งบประมาณดำมืด” รวมกันเท่ากับ 52,600 ล้านดอลลาร์ นั่นคือคิดเป็นราวๆ 10% ของงบประมาณกลาโหมอันมากมายมหาศาล [3]
สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency หรือ NSA) ของสหรัฐฯ ซึ่งมีอำนาจในการกวาดดูไปทั่วทั้งฟากฟ้าเวหา และในการสำรวจตรวจตราโครงข่ายสายเคเบิลใต้ทะเลของทั่วโลก สามารถที่จะเจาะทะลวงอย่างประณีตแม่นยำเข้าไปดักฟังการสื่อสารแบบปิดลับของผู้นำคนใดบนพื้นพิภพนี้ก็ได้ ขณะเดียวกับที่ทำการกวาดเก็บข้อความข่าวสารธรรมดาๆ จำนวนเป็นหลายๆ พันล้านข้อความ สำหรับซีไอเอ (สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ) เพื่อการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เป็นความลับของตน ก็สามารถเข้าถึงกองบัญชาการการปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Command) ของเพนตากอน (กระทรวงกลาโหมอเมริกัน) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลกองทหารชั้นนำจำนวน 69,000 คน [4] (ทั้งหน่วยเรนเจอร์ Rangers, ซีล SEALs , คอนมานโดอากาศAir Commandos) ตลอดจนคลังแสงที่คล่องตัวของหน่วยเหล่านี้ นอกเหนือจากศักยภาพด้านกองกำลังกึ่งทหารอันน่าเกรงขามนี้แล้ว ซีไอเอยังเป็นผู้ควบคุมยานจักรกล (โดรน) แบบอากาศยานไร้นักบิน รุ่น เพรเดเตอร์ (Predator) และ รีเปอร์ (Reaper) 30 ลำ [5] ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตของผู้คนมากกว่า 3,000 คนในปากีสถานและเยเมน [6]
ขณะที่ชาวอเมริกันต้องคอยหมั่นฝึกฝนวิธีการในการป้องกันตัวเองแบบรวมหมู่ ในเวลาที่ระบบเตือนภัยโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) เต้นสั่นระรัวอย่างน่าหงุดหงิดจาก “สีเหลือง” ขึ้นเป็น “สีแดง” นั้น แทบไม่มีใครเลยที่คิดจะหยุดสักครู่หนึ่งและตั้งคำถามยากๆ ขึ้นมาว่า เจ้ามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมดเหล่านี้แท้ที่จริงแล้วมุ่งที่จะใช้กับพวกศัตรูที่อยู่นอกพรมแดนของเราออกไปเท่านั้นจริงๆ หรือ? ภายหลังช่วงเวลาครึ่งศตวรรษที่เกิดมีการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคงภายในประเทศ --ตั้งแต่การสร้างความหวาดกลัวภัยแดงภัยคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 1920 ไปจนถึงการที่เอฟบีไอ (สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ) รังควานข่มขู่อย่างผิดกฎหมายต่อพวกผู้ประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนามในทศวรรษ 1960 และทศวรรษ 1970-- เรายังมีความมั่นอกมั่นใจจริงๆ หรือว่ามันไม่ได้มีอะไรซุกซ่อนอยู่ในมาตรการการดำเนินการที่เป็นความลับทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ภายในสหรัฐฯ? เราคงจะตอบว่า อาจจะมี อาจจะมีก็ได้ ทว่าเมื่อเจ้าการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเหล่านี้เข้ามาถึงตัวเราจริงๆ แล้วนั่นแหละ เราอาจจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นมาตรการที่แสนจะอ่อนโยนแสนจะธรรมดาก็เป็นได้
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองในระยะเวลาครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา บวกกับประวัติศาสตร์ของครอบครัวผมตลอดชั่ว 3 อายุคน ผมได้ค้นพบด้วยวิถีทางซึ่งเป็นส่วนตัวที่สุดเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้ทีเดียวว่า มันมีต้นทุนมันมีสิ่งที่จะต้องจ่ายกันจริงๆ ถ้าหากให้ความไว้วางใจมอบหมายอิสรภาพแห่งชีวิตพลเมืองของพวกเราให้แก่การใช้ดุลยพินิจของพวกหน่วยงานปิดลับทั้งหลาย ขอให้ผมได้แบ่งปันเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “สงคราม” ของผมเองสักสองสามเรื่อง ซึ่งจะช่วยอธิบายว่าทำไมผมจึงถูกบีบบังคับให้ต้องคอยเรียนรู้แล้วเรียนรู้อีกถึงบทเรียนอันแสนจะไม่สบายใจเลยนี้ ในวิถีทางที่แสนจะลำบากยากเย็น
ในเส้นทางแกะรอยการลักลอบค้าเฮโรอีน
ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในช่วงปลายทศวรรษ 1960 แล้ว ผมตัดสินใจที่จะเดินหน้าทำปริญญาเอกในสาขาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และรู้สึกประหลาดใจระคนกับความยินดีพอใจเมื่อบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเยล ตอบรับผมเข้าไปศึกษาโดยที่จะให้ทุนการศึกษาแบบเต็มๆ อีกด้วย ทว่าในสมัยนั้นพวกมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับไอวี่ ลีก ไม่ได้อยู่กันแต่บนหอคอยงาช้าง ระหว่างช่วงปีแรกที่ผมเรียนที่เยลนั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯได้ฟ้องร้องดำเนินคดี บ็อบบี้ ซีล (Bobby Seale) ผู้นำของกลุ่ม “แบล็ก แพนเธอร์” (Black Panther) ในข้อหาฆ่าคนตายในท้องถิ่น และการประท้วงวันเมย์เดย์ซึ่งมีผู้คนเข้าไปชุมนุมกันเต็มสวนนิวเฮเวนกรีน (New Haven Green) ยังทำให้มหาวิทยาลัยเยล (ที่ตั้งอยู่ในเมืองนิวเฮเวน) ต้องปิดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แทบจะในเวลาเดียวกันนั้นเอง ประธานาธิบดีนิกสันได้ออกคำสั่งให้รุกรานกัมพูชา และการประท้วงของบรรดานักศึกษาได้ปิดมหาวิทยาลัยไปเป็นร้อยๆ แห่งทั่วทั้งอเมริกาตลอดระยะเวลาที่เหลืออยู่ของภาคการศึกษานั้น
ในท่ามกลางความอึกทึกครึมโครมทั้งหมดเหล่านี้ จุดโฟกัสของการศึกษาของผมได้โยกย้ายจากญี่ปุ่นมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากเรื่องอดีตมาเป็นเรื่องสงครามในเวียดนาม --ครับ สงครามครั้งนั้นแหละ แล้วผมทำอย่างไรเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารนะหรือครับ? ระหว่างภาคการศึกษาแรกของผมที่เยล พูดกันให้ชัดๆ ไปเลยคือ ในวันที่ 1 ธันวาคม 1969 สำนักงานการคัดเลือกทหาร (Selective Service) ได้นำเอาวันที่ทั้งหมดตามปีปฏิทินมาจับสลาก ผู้ที่มีวันเกิดตรงกับ 100 วันที่แรกซึ่งถูกจับขึ้นมา คือพวกที่แน่นอนว่าจะถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร แต่ถ้าวันที่ใดอยู่ในอันดับเกิน 200 ไปแล้วก็น่าจะได้รับการยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ วันเกิดของผมคือ 8 มิถุนายน กลายเป็นวันที่ท้ายสุดที่ถูกจับขึ้นมา ไม่ใช่อันดับ 365 นะครับ แต่เป็นอันดับ 366 (อย่าลืมว่ามีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ด้วย) – นี่คือการจับสลากออกลอตเตอรี่เพียงรายการเดียวที่ผมเคยชนะได้รับรางวัลกับเขา ยกเว้นเมื่อครั้งได้กระทะไฟฟ้ายี่ห้อซันบีม ในการจับสลากชิงรางวัลตอนเรียนระดับไฮสคูล แล้วด้วยการคิดคำนวณทางศีลธรรมอันสลับซับซ้อนตามแบบฉบับของช่วงทศวรรษ 1960 ผมจึงตัดสินใจว่าการที่ผมได้รับยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเช่นนี้ ถึงแม้เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นมาด้วยความโชคดีล้วนๆ แต่ก็ยังคงเรียกร้องให้ผมต้องอุทิศตัวเอง โดยเหนือยิ่งอื่นใดเลย ก็คือจะต้องขบคิด จะต้องขีดเขียน และจะต้องทำงานเพื่อให้สงครามเวียดนามยุติลง
ระหว่างการประท้วงครั้งต่างๆ ในมหาวิทยาลัยด้วยเรื่องสงครามกัมพูชา ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1970 ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น พวกเราซึ่งเป็นนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มเล็กๆ ที่เยล มีความตระหนักเข้าใจกันว่า จากสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในอินโดจีน อีกไม่ช้าไม่นานคงจะเรียกร้องให้สหรัฐฯเรุกรานลาวเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของศัตรูที่ผ่านดินแดนลาวเข้าไปยังเวียดนามใต้ ด้วยเหตุนี้เอง ในเวลาเดียวกับที่การประท้วงเกี่ยวกับกัมพูชาแพร่ลามไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศอยู่นั้น พวกเราก็ได้เกาะกลุ่มทำงานกันอยู่ภายในหอสมุด เตรียมพร้อมรับมือกับการรุกรานครั้งถัดไปด้วยการจัดทำหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเป็นการรวบรวมบทความข้อเขียนต่างๆ ให้กับทางสำนักพิมพ์ฮาร์เพอร์ แอนด์ โรว์ (Harper & Row) หลังจากหนังสือเล่มนั้นปรากฏโฉมออกมาแล้วราวสองสามเดือน เอลิซาเบธ จาแค็บ (Elizabeth Jakab) บรรณาธิการระดับจูเนียร์คนหนึ่งของบริษัทสำนักพิมพ์แห่งนั้น เกิดความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องราวการปลูกฝิ่นในลาวที่พวกเราบรรจุเอาไว้ในหนังสือด้วย เธอจึงโทรศัพท์จากนิวยอร์กเพื่อสอบถามว่าผมทำได้ไหมที่จะศึกษาวิจัยและเขียนหนังสือพ็อกเกตบุ๊ก “แบบเสร็จเร็วๆ” สักเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์เบื้องหลังของการติดติดเฮโรอีนกันงอมแงม ซึ่งเวลานั้นกำลังแพร่ลามไปอย่างรวดเร็วในกองทัพสหรัฐฯซึ่งประจำการอยู่ในเวียดนาม
ผมรีบเริ่มต้นทำการวิจัยดังกล่าวนี้ที่โต๊ะนั่งค้นคว้าสำหรับนักศึกษาของผม ในอาคารหอคอยสูงแบบศิลปะโกธิค ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอสมุดสเตอร์ลิ่ง (Sterling Library) ของเยล โดยพยายามแกะรอยจากรายงานเก่าๆ เกี่ยวกับการค้าฝิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ยุคที่ดินแดนเหล่านี้จำนวนมากยังเป็นอาณานิคม ปรากฏว่าร่องรอยดังกล่าวยุติลงอย่างฉับพลันในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่เรื่องราวเหล่านี้กำลังน่าสนใจพอดี ดังนั้น ด้วยความลังเลไม่ค่อยแน่ใจนักในตอนแรกๆ ผมก็ได้ก้าวออกไปนอกหอสมุดเพื่อทำการสัมภาษณ์สอบถามผู้คนสองสามคน แต่แล้วในไม่ช้าไม่นานผมก็พบว่าตนเองกำลังเดินไปตามรอยทางของการสืบสวนสอบสวนซึ่งหมุนวนออกไปรอบโลกทีเดียว ตอนแรกสุด ผมเดินทางไปทั่วอเมริกาเพื่อพบปะพูดคุยกับพวกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของซีไอเอที่เกษียณอายุแล้ว จากนั้นผมก็ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังฮ่องกงเพื่อศึกษาเรื่องแก๊งค้ายาเสพติดต่างๆ โดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยตำรวจปราบยาเสพติดของอาณานิคมแห่งนั้น (ฮ่องกงเวลานั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ -ผู้แปล) ต่อมา ผมเดินทางลงใต้ไปอีก ไปยังกรุงไซ่ง่อน ที่เวลานั้นเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ เพื่อสืบสวนตรวจสอบเกี่ยวกับทางเดินของเฮโรอีนที่กำลังพุ่งเป้ามุ่งขายให้กับพวกทหารจีไอ ตลอดจนขึ้นไปบนเทือกเขาในประเทศลาว เพื่อสังเกตการณ์การจับมือเป็นพันธมิตรกันระหว่างซีไอเอ กับพวกขุนศึกค้าฝิ่น และกับพวกกองกำลังอาวุธท้องถิ่นชาวเขาซึ่งเป็นผู้ปลูกฝิ่น สุดท้ายแล้วผมบินจากสิงคโปร์ไปยังปารีสเพื่อสัมภาษณ์พูดคุยกับพวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองชาวฝรั่งเศสที่เกษียณอายุแล้ว เกี่ยวกับการค้าฝิ่นของพวกเขาในระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งแรก (first Indochina War) ในยุคทศวรรษ 1950
ผมค้นพบว่า การลักลอบค้ายาเสพติดที่เป็นตัวซัปพลายเฮโรอีนให้แก่ทหารสหรัฐฯซึ่งกำลังสู้รบอยู่ในเวียดนามใต้นั้น ไม่ได้เป็นผลงานของพวกอาชญากรล้วนๆ แต่อย่างใด ทันทีที่ฝิ่นถูกลำเลียงออกมาจากไร่ฝิ่นของพวกชาวเขาในลาวแล้ว การลักลอบขนส่งกลายเป็นเรื่องสลับซ้อนและมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยในทุกๆ ระดับ จากนั้นเครื่องเฮลิคอปเตอร์ของ แอร์ อเมริกา (Air America) สายการบินซึ่งซีไอเอเป็นผู้ดำเนินการอยู่ในตอนนั้น ก็จะขนฝิ่นดิบออกมาจากหมู่บ้านต่างๆ ของพวกชาวเขาที่เป็นพันธมิตรกับซีไอเอ ผู้บัญชาการกองทัพบกราชอาณาจักรลาว (commander of the Royal Lao Army) ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอเมริกาผู้หนึ่ง คือผู้ที่ประกอบกิจการห้องแล็ปเพื่อการแปรรูปฝิ่นให้กลายเป็นเฮโรอีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และก็เป็นผู้ที่ไม่ได้มีความตระหนักเอาเลยถึงผลกระทบต่างๆ ของการค้ายาเสพติดเช่นนี้ จนกระทั่งเขาเปิดบัญชีการค้าฝิ่นของเขาออกมาให้ผมตรวจดู สำหรับพวกนายพลระดับท็อปจำนวนมากของไซ่ง่อนก็เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดอยู่ในกระบวนการขายยาเสพติดเหล่านี้ให้แก่ทหารสหรัฐฯเช่นกัน เมื่อมาถึงปี 1971 เครือข่ายของการรวมหัวร่วมมือกันเช่นนี้ก็ทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า เฮโรอีนจะกระจายออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ทหารอเมริกัน โดยที่ตามการสำรวจของทำเนียบขาวในเวลาต่อมา[7] ซึ่งเป็นการสอบถามจากทหารผ่านศึกจำนวน 1,000 คน ระบุว่า เฮโรอีน “ถูกเสพกันเป็นเรื่องสามัญ” ในหมู่ทหารอเมริกันในเวียดนามใต้จำนวน 34%
ห้องเรียนสัมมนาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของผมไม่เคยมีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้มาก่อนเลย ตัวผมเองก็ไม่ได้มีโมเดลตัวแบบใดๆ สำหรับการทำวิจัยเรื่องอาชญากรรมและการปฏิบัติการแบบปิดลับของโลกใต้ดินที่ไม่เคยถูกศึกษาค้นคว้ากันเลย หลังจากก้าวลงมาจากเครื่องบินที่กรุงไซ่ง่อน ขณะที่ทั่วทั้งร่างกายถูกโยนเข้าสู่ไอแดดแผดเผาของอากาศเขตร้อน ผมได้พบว่าตัวเองอยู่ในนครต่างแดนซึ่งมีประชากรจำนวน 4 ล้านคนอาศัยกันในตัวเมืองที่แผ่ออกไปกว้างขวาง รู้สึกเหมือนกำลังหลงทางอยู่ท่ามกลางเสียงแผดร้องอย่างกราดเกรี้ยวของรถมอเตอร์ไซค์ และถนนหนทางไร้ชื่อที่เลี้ยวลดวกวน ทุกๆ วันของการแกะรอยเส้นทางเฮโรอีนทำให้ผมเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ขาดสาย – จะไปดูที่ไหน, ไปดูอะไร, และที่สำคัญที่สุดว่า จะใช้วิธีอย่างไรในการตั้งคำถามที่ยากๆ แล้วให้ได้คำตอบ
อย่างไรก็ดี การอ่านทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเรื่องเหล่านี้ ได้สอนผมถึงบางสิ่งบางอย่างซึ่งผมไม่รู้มาก่อนเลยว่าผมทราบ แทนที่จะเผชิญหน้ากับพวกแหล่งข่าวของผมด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันอันอ่อนไหวเปราะบาง ผมกลับเริ่มต้นด้วยอดีตสมัยที่ฝรั่งเศสยังเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองอินโดจีน ตอนที่การค้าฝิ่นยังเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ค่อยๆ แง้มม่านเปิดผ้าคลุมให้เห็นถึงโลจิสติกเบื้องลึกของการผลิตยาเสพติด ที่ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเท่าไรนัก ขณะที่ผมติดตามรอยทางในประวัติศาสตร์เข้าสู่ช่วงเวลาปัจจุบัน เมื่อการค้าประเภทนี้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายและก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งที่มีอันตรายขึ้นมา ผมก็เริ่มใช้ชิ้นส่วนต่างๆ จากอดีตเหล่านี้มาช่วยปะติดปะต่อภาพปริศนาในปัจจุบัน จวบจนกระทั่งชื่อต่างๆ ของพวกนักค้ายาร่วมสมัยทั้งหลายดูลงร่องลงรอยเข้าที่เข้าทาง กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือว่า ผมได้ประดิษฐ์วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งในตลอดระยะเวลาแห่งการงานอาชีพของผม 40 ปีถัดจากนั้น ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่ามีประโยชน์อย่างน่าประหลาดใจทีเดียว ในการวิเคราะห์เรื่องราวเกรียวกราวทางนโยบายการต่างประเทศชุดใหญ่ชุดหนึ่งของสหรัฐฯ – ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซีไอเอจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกราชายาเสพติด, การที่สำนักงานแห่งนี้เผยแพร่วิธีทรมานในเชิงจิตวิทยาให้กว้างขวางออกไป, และเรื่องที่การสอดแนมโดยรัฐซึ่งกำลังแผ่ลามกว้างขวางใหญ่โตออกไปทุกที
ซีไอเอบุกเข้ามาในชีวิตของผม
ระยะเวลาหลายๆ เดือนแห่งการรอนแรมเดินทางในช่วงนั้น เพื่อเข้าไปพบปะพูดคุยกับพวกแก๊งอาชญากรและพวกขุนศึกตามสถานที่ซึ่งมักอยู่แยกตัวออกไปโดดเดี่ยว ปรากฏว่ามีอันตรายอันแท้จริงอยู่หน่อยเดียวเท่านั้น โดยในขณะที่ผมกำลังปีนภูดอยอยู่ในเทือกเขาของประเทศลาว เพื่อสัมภาษณ์ชาวบ้านที่เป็นชาวเขาเผ่าม้งเกี่ยวกับการขนส่งฝิ่นของพวกเขาโดยอาศัยเฮลิคอปเตอร์ของซีไอเอ ผมก็ต้องก้มตัวหมอบลงต่ำที่บริเวณไหล่เขาสูงชันแห่งหนึ่งเมื่อมีกระสุนปืนรัวเจาะฉีกพื้นดินตรงบริเวณเท้าของผม ผมได้เดินเข้าไปอยู่ในวงล้อมซุ่มตีของพวกทหารรับจ้างของซีไอเอเสียแล้ว
ขณะที่กองกำลังนักรบชาวม้ง 5 คนซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านท้องถิ่นจัดหามาด้วยความรอบคอบเพื่อให้ทำหน้าที่คอยพิทักษ์อารักขา จัดแจงล้มตัวลงนอนแล้วทำการยิงตอบโต้มุ่งคุ้มครอง จอห์น เอเวอริงแฮม (John Everingham)[8] ช่างภาพชาวออสเตรเลียของผม และตัวผมเองต่างพากันทิ้งตัวหมอบราบบนหญ้าแฝก และคืบคลานผ่านพื้นที่โคลนเลนไปยังจุดปลอดภัย ถ้าไม่มีกลุ่มติดอาวุธพิทักษ์อารักขาเหล่านี้แล้ว การวิจัยของผมก็คงจะถึงจุดจบเฉกเช่นเดียวกับชีวิตของผมเอง หลังจากการซุ่มตีคราวนั้นล้มเหลวลงไป เจ้าหน้าที่กึ่งทหารของซีไอเอผู้หนึ่งได้เรียกตัวผมไปพบปะพูดจากันที่ยอดเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาคุกคามที่จะสังหารล่ามชาวลาวของผมหากผมไม่ยอมหยุดการวิจัย หลังจากใช้ความพยายามจนได้รับการค้ำประกันต่างๆ จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯว่าล่ามของผมจะไม่ได้รับอันตรายแล้ว ผมก็ตัดสินใจเมินเฉยต่อคำเตือนดังกล่าวและยังคงเดินหน้าต่อไป
เวลาผ่านไปอีก 6 เดือน พร้อมด้วยระยะของการเดินทางยืดยาวเพิ่มขึ้นอีก 30,000 ไมล์ ผมจึงกลับมายังเมืองนิวเฮเวน การสืบสวนตรวจสอบเรื่องซีไอเอเป็นพันธมิตรกับพวกราชายาเสพติดได้สอนผมอย่างมากมายยิ่งกว่าที่ผมสามารถนึกคิดจินตนาการขึ้นมาได้ ในเรื่องเกี่ยวกับมิติอันปิดลับด้านต่างๆ ของอำนาจในระดับโลกของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ผมค่อยๆ ลงตัวกับการพำนักอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ห้องใต้หลังคาที่นิวเฮเวน เพื่อลงมือเขียนงานในช่วงปีซึ่งจะต้องทุ่มเทให้แก่วิชาการ ผมมีความมั่นอกมั่นใจว่าผมทราบอะไรมากมายเกินพอแล้วสำหรับการเขียนหนังสือในหัวข้อเรื่องที่พิเศษผิดธรรมดานี้ อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงจะปรากฏออกมาด้วยว่า การศึกษาของผมนั้นยังคงอยู่ในขั้นเพิ่งกำลังเริ่มต้นเท่านั้น
ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ชายวัยกลางคนร่างบึกบึนคนหนึ่งในเครื่องแต่งกายชุดสูท ได้เข้ามาขัดจังหวะการแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวเพื่อทำงานวิชาการของผม เขาปรากฏตัวที่ประตูหน้าของผมและแนะนำตัวเองว่าชื่อ ทอม ทริโพดี (Tom Tripodi)[9] นักสืบอาวุโสของกรมการยาเสพติด (Bureau of Narcotics) ที่ต่อมาภายหลังกลายเป็นสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration หรือ DEA) เขาสารภาพระหว่างที่มาเยี่ยมผมเป็นครั้งที่ 2 ว่า หน่วยงานของเขารู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับงานเขียนของผม และส่งเขามาทำการสืบสวนตรวจสอบ เขาจำเป็นที่จะต้องมีอะไรบางอย่างไปรายงานผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือของเขา ทอมนั้นเป็นคนที่คุณสามารถให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ดังนั้นผมจึงนำเอาร่าง 2-3 หน้าของหนังสือของผมมาให้เขาอ่าน เขาหายตัวเข้าไปในห้องนั่งเล่นสักพักหนึ่งแล้วก็กลับมาบอกว่า “ของดีจริงๆ คุณยิงได้ตรงเป้าทีเดียว” แต่เขาพูดต่อไปว่ายังมีอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก บางสิ่งบางอย่างที่เขาสามารถช่วยผมซ่อมแซมแก้ไขได้
ทอมได้กลายเป็นผู้ทำหน้าที่อ่านงานร่างแรกของผม ในเวลาต่อมาผมจะส่งร่างที่ผมเขียนเสร็จแล้วให้เขาดูเต็มๆ บท เขาจะนั่งในเก้าอี้โยก แขนเสื้อถูกพับขึ้นมา, ปืนรีวอลเวอร์อยู่ในซองหนังคาดไหล่ของเขา, จิบกาแฟอยู่เป็นระยะ, คอยเขียนข้อความแก้ไขด้วยลายมือหวัดๆ บนที่ว่างของแผ่นกระดาษ, และก็คอยบอกเล่าเรื่องราวอันแสนเหลือเชื่อ – อย่างเช่นเมื่อตอนที่เจ้าพ่อมาเฟียนิวเจอร์ซีย์ “เบโยน โจ” ซิคาเรลลี (“Bayonne Joe” Zicarelli) พยายามซื้อปืนเล็กยาว 1,000 กระบอกจากร้านขายปืนในท้องถิ่นแห่งหนึ่งเพื่อเอาไปใช้โค่นล้ม ฟิเดล คาสโตร หรือตอนที่นักรบทำงานปิดลับของซีไอเอบางคนกลับมาบ้านเพื่อพักผ่อน แล้วต้องมีคนคอยคุ้มกันเขาไปทุกหนทุกแห่งเพื่อป้องกันไม่ให้เขาฆ่าใครสักคนตายระหว่างเข้าแถวรอจ่ายเงินในร้านซูเปอร์มาร์เก็ต
เรื่องซึ่งยอดเยี่ยมที่สุดเลย คือเรื่องที่ว่ากรมการยาเสพติดทำอย่างไรจึงสามารถจับพวกข่าวกรองฝรั่งเศสซึ่งกำลังให้ความคุ้มครองพวกแก๊งชาวคอร์ซิกาในการลักลอบขนเฮโรอีนเข้าไปยังนครนิวยอร์ก เรื่องราวที่เขาเล่าบางเรื่อง ซึ่งปกติแล้วไม่ได้มีการอ้างอิงที่มาใดๆ จะปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง “The Politics of Heroin in Southeast Asia” ของผมด้วย การสนทนาต่างๆ เหล่านี้กับมือปฏิบัติการปิดลับ ผู้ซึ่งเคยฝึกอบรมพวกผู้ลี้ภัยชาวคิวบาในฟลอริดาให้แก่ซีไอเอ และต่อมาได้เข้าสืบสวนสอบสวนพวกแก๊งมาเฟียค้าเฮโรอีนในเกาะซิซีลีให้แก่ DEA เปรียบได้กับการได้เข้าคอร์สสัมมนาระดับแอดแวนซ์ เป็นชั้นเรียนระดับมาสเตอร์คลาสในเรื่องการปฏิบัติการแบบปิดลับทีเดียว
ในช่วงฤดูร้อนของปี 1972 ขณะที่หนังสือของผมอยู่ระหว่างการตีพิมพ์ ผมเดินทางไปกรุงวอชิงตันเพื่อให้ปากคำต่อรัฐสภา ขณะที่ผมกำลังไปยังสำนักงานต่างๆ ของรัฐสภาสหรัฐฯที่แคปิโตล ฮิลล์ อยู่หลายๆ รอบนั้นเอง บรรณาธิการหนังสือของผมได้โทรศัพท์มาหาอย่างไม่คาดหมาย และเรียกให้ผมเดินทางไปนิวยอร์กเพื่อเข้าหารือกับตัวประธานบริหารและรองประธานบริหารของ ฮาร์เปอร์ แอนด์ โรว์ ที่เป็นสำนักพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์หนังสือของผม หลังจากถูกพาเข้าไปในห้องชุดสำนักงานอันหรูหราโอ่อ่าซึ่งวิวนอกหน้าต่างมองลงมาเห็นยอดแหลมๆ ของมหาวิหารเซนต์แพทริกส์ (St. Patrick’s Cathedral) ผมก็รับฟังพวกผู้บริหารเหล่านั้นเล่าว่า คอร์ด เมเออร์ จูเนียร์ (Cord Meyer, Jr.) รองผู้อำนวยการซีไอเอฝ่ายงานปฏิบัติการปิดลับ ได้ไปเยี่ยมเยียน แคสส์ แคนฟิลด์ ซีเนียร์ (Cass Canfield, Sr.) ประธานบริหารกิตติมศักดิ์ของบริษัทของพวกเขา การไปเยี่ยมเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ในหนังสือประวัติศาสตร์เรื่อง “The Cultural Cold War: The CIA and the World of Arts and Letters” ของ ฟรานเซส สโตเนอร์ ซาวน์เดอร์ส (Frances Stonor Saunders) ซึ่งถือเป็นผลงานที่ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางในหัวข้อนี้[10] ระบุเอาไว้ว่า แคนฟิลด์ เป็นผู้ที่ “ชื่นชอบการมีสายสัมพันธ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวกับโลกแห่งข่าวกรอง ทั้งในฐานะที่เขาเป็นอดีตเจ้าหน้าที่สงครามจิตวิทยา และเป็นเพื่อนส่วนตัวสนิทสนมคนหนึ่งของ แอลเลน ดัลเลส (Allen Dulles)” อดีตผู้อำนวยการซีไอเอ เมเออร์ได้พูดประณามหนังสือของผมว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ เขาขอร้องแคนฟิลด์ ซึ่งก็เป็นเพื่อนเก่าคนหนึ่ง ให้จัดการหยุดยั้งหนังสือเล่มนี้อย่างเงียบๆ
ผมตกอยู่ในสภาพลำบากร้ายแรงเสียแล้ว ไม่เพียงเพราะเมเออร์เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีไอเอเท่านั้น แต่เขายังมีสายสัมพันธ์ต่างๆ ทางสังคมชนิดไม่มีความด่างพร้อยรอยตำหนิ บวกกับการมีทรัพย์สินปิดลับต่างๆ ในทั่วทุกหัวระแหงแห่งชีวิตทางปัญญาของอเมริกัน ทั้งนี้ ภายหลังเมเออร์สำเร็จการศึกษาจากเยลในปี 1942 เขาเข้าเป็นทหารนาวิกโยธินและประจำการอยู่ในแปซิฟิก ทำหน้าที่เขียนรายงานข่าวสงครามอันคมคายโน้มน้าวจิตใจส่งมาตีพิมพ์ในนิตยสาร แอตแลนติก มันธ์ลี่ (Atlantic Monthly) ต่อมาเขาทำงานกับคณะผู้แทนสหรัฐฯซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎบัตรสหประชาชาติ เมออร์เข้าทำงานในซีไอเอเมื่อปี 1951 โดยที่เจ้าพ่อสายลับ แอลเลน ดัลเลส มาเชื้อเชิญชักชวนด้วยตัวเอง และหลังจากนั้นไม่นานก็เข้าบริหาร แผนกองค์การระหว่างประเทศ (International Organizations Division) ของซีไอเอ ซึ่งตามคำบรรยายของหนังสือประวัติศาสตร์เล่มที่ผมเพิ่งอ้างอิงข้างต้น ระบุว่า “เป็นจุดรวมศูนย์จุดหนึ่งซึ่งมีกิจกรรมปิดลับทางการเมืองและทางการโฆษณาชวนเชื่ออยู่อย่างมากมายใหญ่โตที่สุดในบรรดาจุดรวมศูนย์ทั้งหลายของซีไอเอ ซึ่งบัดนี้อยู่ในลักษณะเหมือนๆ กับปลาหมึกยักษ์ไปแล้ว”[11] โดยที่งานหนึ่งซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของแผนกนี้ ได้แก่ “การปฏิบัติการนกมอคกิ้งเบิร์ด” (Operation Mockingbird)[12] ที่มุ่งปลูกถ่ายแฝงฝังข้อมูลข่าวสารผิดๆ เอาไว้ในหนังสือพิมพ์สหรัฐฯฉบับสำคัญๆ เนื่องจากเล็งว่าจะเป็นการช่วยเหลือเอื้อประโยชน์แก่การปฏิบัติการต่างๆ ของซีไอเอ แหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีหลายๆ รายบอกกับผมว่า เวลานั้นซีไอเอยังคงมีทรัพย์สินต่างๆ แฝงตัวอยู่ภายในสำนักพิมพ์สำคัญๆ ทุกๆ แห่งในนิวยอร์ก และสำนักงานข่าวกรองยักษ์ใหญ่แห่งนี้ได้ต้นฉบับหนังสือของผมไปจนครบทุกๆ หน้าเรียบร้อยแล้ว
ในฐานะที่เป็นบุตรหลานของครอบครัวเศรษฐีมั่งคั่งครอบครัวหนึ่งในนิวยอร์ก คอร์ด เมเออร์ได้เคลื่อนไหวกระทำกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมในแวดวงชนชั้นนำอย่างคุ้นเคย เขาได้พบและได้แต่งงานกับ แมรี พินชอต (Mary Pinchot) หลานสาวของ กิฟฟอร์ด พินชอต (Gifford Pinchot) ผู้ก่อตั้งสำนักงานป่าไม้สหรัฐฯ (U.S. Forestry Service) อีกทั้งเป็นอดีตผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย พินชอตนั้นเป็นผู้หญิงที่มีความงามอย่างน่าพิศวงงงงวย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาลับของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี จึงได้ไปเยือนทำเนียบขาวอย่างเป็นความลับหลายสิบหน[13] เมื่อตอนที่พบเธอถูกยิงตาย [14]ตรงบริเวณฝั่งคลองสายหนึ่งในกรุงวอชิงตันในปี 1964 นั้น เจมส์ เจซัส แองเกิลตัน (James Jesus Angleton) ผู้อำนวยการฝ่ายต่อต้านการจารกรรมของซีไอเอ และก็เป็นศิษย์เก่าจากเยลอีกคนหนึ่ง ได้บุกเข้าไปในบ้านของเธอเพื่อพยายามที่จะค้นหาสมุดไดอารี่ของเธอทว่าไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม น้องสาวของแมรี่ที่ชื่อ โทนี่ (Toni) และสามีของเธอ เบน แบรดลี (Ben Bradlee) บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ได้พบไดอารี่ดังกล่าวในเวลาต่อมา และส่งมันให้แก่แองเกิลตันเพื่อให้ซีไอเอทำลายทิ้ง จนถึงทุกวันนี้ คดีที่เธอถูกฆาตกรรมนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย และยังคงเป็นหัวข้อหนึ่งของความลึกลับเป็นปริศนาและการถกเถียงโต้แย้งกัน[15]
ทั้ง คอร์ด เมเออร์ และ แคสส์ แคนฟิลด์ ประธานบริหารกิตติมศักดิ์ของสำนักพิมพ์ที่กำลังจัดพิมพ์หนังสือของผม ต่างมีชื่ออยู่ใน “โซเชียล รีจิสเตอร์” (Social Register) ของนิวยอร์ก อันเป็นหนังสือทำเนียบนามและที่อยู่ของครอบครัวดีเยี่ยมชาวอเมริกันที่มาจากชนชั้นนำในสังคมในแต่ละเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อถึงเวลาที่เมเออร์ก้าวเข้าไปในสำนักงานของฮาร์เปอร์แอนด์โรว์ ในฤดูร้อนของปี 1972 นั้น ระยะเวลา 2 ทศวรรษของการทำงานในซีไอเอได้เปลี่ยนแปลงเขาไปแล้ว (ตามหนังสือประวัติศาสตร์เล่มเดียวกับที่อ้างอิงไว้ข้างต้น) [16] จากที่เคยเป็นนักอุดมคติแนวทางเสรีนิยม “กลายมาเป็นผู้ประกาศเผยแพร่ความคิดของตัวเขาเองอย่างไม่ยอมหยุดหย่อนผ่อนผันใดๆ” ด้วยแรงขับดันของ “ผู้มีอาการโรคจิตหวาดระแวงซึ่งไม่ไว้วางใจทุกๆ คนที่ไม่ยอมตกลงเห็นพ้องต้องกันกับเขา” และด้วยกิริยาท่าทางของ “การเสแสร้งแกล้งทำและกระทั่งชอบทะเลาะต่อตี” นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยวัย 26 ปีที่ยังไม่มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์คนหนึ่ง ต้องต่อกรกับนายใหญ่ทางด้านการปั่นหัวสื่อของซีไอเอ มันยากที่จะเป็นการต่อสู้ที่มีความเป็นธรรมได้ ผมเริ่มต้นหวั่นกลัวเสียแล้วว่าหนังสือของผมคงจะไม่มีวันได้ปรากฏโฉมออกมา
อย่างไรก็ตาม ต้องยกย่องให้เป็นเครดิตของเขาครับ แคนฟิลด์ปฏิเสธคำขอของเมเออร์ที่จะให้กำจัดหนังสือเล่มนี้ กระนั้นเขาก็ยินยอมให้สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯมีโอกาสที่จะได้อ่านต้นฉบับและวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นเสนอแนะ ก่อนที่หนังสือของผมจะได้รับการตีพิมพ์ อย่างไรก็ดี แทนที่ผมจะรอคอยข้อเขียนวิพากษ์วิจารณ์ของซีไอเออย่างเงียบๆ ผมได้ติดต่อกับ ซีย์มัวร์ เฮอร์ช (Seymour Hersh) ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้สื่อข่าวด้านสืบสวนเจาะลึกของหนังสือพิมพ์นิวยอรกไทมส์ ในวันเดียวกับที่คนรับส่งเอกสารของซีไอเอเดินทางมาถึงจากเมืองแลงลีย์ (รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของซีไอเอ) เพื่อมารับต้นฉบับของผม เฮอร์ชก็สาวเท้าไปตามออฟฟิศต่างๆ ทั่วทั้งฮาร์เปอร์แอนด์โรว์ ด้วยลักษณะท่าทางเหมือนกับเป็นพายุฤดูร้อนลูกหนึ่ง พร้อมกับระดมยิงเข้าใส่พวกผู้บริหารผู้โชคร้ายด้วยคำถามที่ทำให้ไม่สบายใจไม่เลิกไม่รา วันรุ่งขึ้น ผลงานการเปิดโปงความพยายามที่จะทำการเซ็นเซอร์ของซีไอเอปรากฏหราอยู่บนหน้าหนึ่งของนิวยอร์กไทมส์[17] จากนั้นองค์การสื่อระดับชาติรายอื่นๆ ก็เดินตามการนำร่องของเขา เมื่อเผชิญกับการระดมโจมตีด้วยรายงานข่าวในทางลบข่าวแล้วข่าวเล่า ซีไอเอก็ได้ส่งคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เต็มไปด้วยการปฏิเสธซึ่งไม่น่าเชื่อถืออะไร[18]ไปยังฮาร์เปอร์แอนด์โรว์ หนังสือของผมเล่นนี้จึงได้รับการตีพิมพ์โดยไม่ได้ถูกแก้ไข
ชีวิตของผมกลายเป็นหนังสือที่เปิดอ่านได้เสมอสำหรับซีไอเอ
ผมยังได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญอีกบทเรียนหนึ่ง นั่นคือ บทบัญญัติพิทักษ์คุ้มครองเสรีภาพหนังสือพิมพ์ในรัฐธรรมนูญอเมริกันนั้น สามารถที่จะทัดทานหยุดยั้งแม้กระทั่งหน่วยงานสืบราชการลับที่ทรงอำนาจที่สุดในโลกแห่งนี้ มีรายงานว่า คอร์ด เมเออร์ ก็ได้เรียนรู้บทเรียนเดียวกันนี้ด้วย ในประกาศข่าวมรณกรรม (obituary) ของเขาที่ตีพิมพ์เอาไว้ในวอชิงตันโพสต์ [19] นั้น มีตอนหนึ่งเขียนเอาไว้ว่า “เป็นที่เข้าใจสันนิษฐานกันว่า ในที่สุดแล้วมิสเตอร์เมเออร์จะได้ก้าวขึ้นไป” เป็นหัวหน้าดูแลการปฏิบัติการปิดลับต่างๆ ของซีไอเอ “แต่การเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเกี่ยวกับการตกลงกัน (ระหว่างซีไอเอกับทางสำนักพิมพ์) ในเรื่องหนังสือเล่มนั้น ... ดูเหมือนได้กลายเป็นการตัดทอนลู่ทางโอกาสของเขาไป” ตรงกันข้ามเขาถูกส่งตัวไปลี้ภัยที่ลอนดอน และเกษียณอายุออกจากราชการไปก่อนกำหนด
อย่างไรก็ดี เมเออร์และเพื่อนร่วมงานของเขาเป็นพวกที่ไม่คุ้นเคยกับความพ่ายแพ้ เมื่อประสบความปราชัยในแวดวงเปิดเผยเป็นที่รับรู้ของสาธารณชน ซีไอเอก็ล่าถอยกลับไปซ่อนเร้นในเงามืดและตอบโต้แก้แค้นด้วยการกระตุกดึงลากเส้นด้ายทุกๆ เส้นในชีวิตอันเก่าขาดกะรุ่งกะริ่งของนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนต่อมา พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข, ศึกษาธิการ, และสวัสดิการสังคม ต่างพากันมาที่เยลเพื่อสืบสวนสอบสวนการได้ทุนการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัยของผม สำนักงานสรรพากรทำการสอบบัญชีตรวจสอบรายได้ที่อยู่ในระดับยากจนของผม เอฟบีไอแอบดักฟังโทรศัพท์ที่นิวเฮเวนของผม (นี่เป็นอะไรที่ผมได้เรียนรู้หลังจากเวลาผ่านไปแล้วหลายปี สืบเนื่องจากคดีที่เป็นการร่วมฟ้องหมู่คดีหนึ่ง)
ในเดือนสิงหาคม 1972 ขณะที่การถกเถียงโต้แย้งเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ของผมอยู่ในช่วงที่ขึ้นไปถึงระดับสูงสุด พวกสายสืบเอฟบีไอรายงานต่อผู้อำนวยการของสำนักงานว่า พวกเขาได้ “ดำเนินการสืบสวนสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับแมคคอย” ทำการศึกษาสอบค้นแฟ้มต่างๆ เกี่ยวกับผมที่พวกเขารวบรวมขึ้นในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และทำการสัมภาษณ์ “แหล่งข่าวจำนวนหนึ่งซึ่งอัตลักษณ์ของพวกเขาถูกปกปิดเอาไว้ โดยที่คนเหล่านี้ได้ให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้ในอดีตที่ผ่านมา” –จากวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จึงได้จัดทำออกมาเป็นรายงานความยาว 11 หน้าซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิด, การศึกษา, และกิจกรรมต่อต้านสงครามต่างๆ ในขณะเรียนมหาวิทยาลัยของผม
เพื่อนร่วมชั้นเรียนในระดับปริญญาตรีคนหนึ่งซึ่งผมไม่ได้เจอหน้าเจอตามาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว และเข้ารับราชการอยู่ในหน่วยข่าวกรองของฝ่ายทหาร จู่ๆ ก็ปรากฏตัวเหมือนปาฏิหาริย์ที่ข้างๆ ตัวผมในแผนกหนังสือของสหกรณ์เยล ด้วยท่าทีเหมือนกระหายที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของเรา ในสัปดาห์เดียวกันนั้น ข้อเขียนวิจารณ์หนังสือของผมที่เต็มไปด้วยการยกย่องชมเชยได้ปรากฏอยู่บนหน้าแรกของ นิวยอร์กไทมส์บุ๊กรีวิว (New York Times Book Review)[20] อันสมควรถือเป็นผลสำเร็จที่พิเศษโดดเด่นสำหรับนักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม ทว่าภาควิชาประวัติศาสตร์ของเยลได้ใส่ชื่อผมเอาไว้ในบัญชีนักศึกษาที่ถูกภาคทัณฑ์ทางวิชาการ โดยถ้าหากผมไม่สามารถใช้วิธีการใดก็ตามเพื่อทำงานที่ค้างส่งซึ่งควรต้องทำกันในเวลา 1 ปี ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 1 ภาคการศึกษาแล้ว ผมก็จะต้องถูกไล่ออก
ในช่วงเวลานั้น ความผูกพันระหว่างซีไอเอกับเยลช่างกว้างขวางและลึกล้ำอย่างยิ่ง วิทยาลัยต่างๆ (residential colleges) ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้แสดงบทบาทหน้าที่คัดกรองนักศึกษาว่ามีความเป็นไปได้ที่จะประกอบอาชีพในงานสืบราชการลับหรือไม่ โดยที่หนึ่งในผู้ถูกคัดกรองด้วยระบบนี้ ได้แก่ พอร์เตอร์ กอสส์ (Porter Goss) ซึ่งได้กลายเป็นผู้อำนวยการซีไอเอในเวลาต่อมา พวกนักศึกษาเก่าอย่าง คอร์ด เมเออร์ และ เจมส์ แองเกิลตัน ก็ได้ครองตำแหน่งระดับอาวุโสในสำนักงานแห่งนี้ ถ้าหากผมไม่ได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาผู้หนึ่งเป็นศาสตราจารย์รับเชิญจากเยอรมนี นั่นคือ เบอร์นฮาร์ด ดาห์ม (Bernhard Dahm)[21] นักวิชาการผู้โดดเด่นซึ่งเป็นคนแปลกหน้าสำหรับการพัวพันเชื่อมโยงในลักษณะเช่นนี้ โทษภาคทัณฑ์ดังกล่าวของผมก็น่าจะคืบคลานกลายเป็นการไล่ออก ซึ่งจะทำให้อาชีพการงานด้านวิชาการของผมต้องเป็นอันยุติลง และทำลายความน่าเชื่อถือของตัวผมเองด้วย
ระหว่างวันเวลาแห่งความยากลำบากเหล่านั้น ส.ส.อ็อกเดน รีด (Ogden Reid) จากรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสในคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์มาคุยกับผมเพื่อบอกให้ทราบว่า เขากำลังส่งนักสืบสวนสอบสวนหลายคนในทีมของเขาไปยังลาวเพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านฝิ่นที่นั่น ท่ามกลางการถกเถียงโต้แย้งกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เฮลิคอปเตอร์ของซีไอเอลำหนึ่งได้ลงจอดที่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านซึ่งผมหลบหนีเล็ดลอดจากการถูกซุ่มตี และนำเอาผู้ใหญ่บ้านชาวม้งซึ่งได้ช่วยเหลือการวิจัยของผมขึ้นเครื่องไปลงที่ทางวิ่งเครื่องบินแห่งหนึ่งของหน่วยงานแห่งนี้ ณ ที่นั้น เจ้าหน้าที่สอบสวนของซีไอเอคนหนึ่งได้ทำให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าผู้ใหญ่บ้านควรต้องปฏิเสธเรื่องที่เขาได้เล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับฝิ่น ในเวลาต่อมาเขาได้บอกกับช่างภาพของผมว่า ในตอนนั้นด้วยความหวาดกลัวว่า “พวกเขาจะส่งเฮลิคอปเตอร์มาจับผม หรือ ...ให้พวกทหารมายิงผมทิ้ง” ผู้ใหญ่บ้านชาวม้งผู้นี้ก็เลยกระทำตามที่ถูกบอก
ผมกำลังค้นพบในระดับที่มาถึงตัวผมเหมือนกับเป็นเรื่องส่วนตัวของผมเองทีเดียวว่า พวกหน่วยงานข่าวกรองของประเทศเรานั้นสามารถแผ่อำนาจบารมีไปถึงที่ต่างๆ ได้กว้างไกลล้ำลึกขนาดไหน แม้กระทั่งอยู่ในระบอบที่เป็นประชาธิปไตยนี่แหละ ทั้งนี้เรียกได้ว่าซีไอเอไม่ได้หลงเหลือส่วนใดๆ ในชีวิตของผมที่ไม่ถูกแตะต้องเลย กล่าวคือ ทั้งสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือของผม, มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน, แหล่งข่าวต่างๆ ของผม, ภาษีที่ผมเสีย, โทรศัพท์ที่ผมใช้, และแม้กระทั่งคนที่เป็นเพื่อนฝูงของผม
ถึงแม้ผมสามารถชนะศึกยกแรกในสงครามคราวนี้โดยวิธีการใช้สื่อมวลชนเข้าโจมตีแบบสายฟ้าแลบ แต่ซีไอเอกำลังกลายเป็นผู้มีชัยในการต่อสู้ด้วยระบบราชการอันยืดเยื้อยาวนาน ด้วยการทำให้แหล่งข่าวต่างๆ ของผมต้องปิดปากสงบเสียง และด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ประดาเจ้าหน้าที่ของซีไอเอสามารถทำให้รัฐสภาเชื่อว่าทางสำนักงานเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันโดยตรงใดๆ กับการค้ายาเสพติดที่อินโดจีน ระหว่างการจัดรับฟังความคิดเห็นของวุฒิสภาในเรื่องการลอบสังหารต่างๆ โดยฝีมือซีไอเอ โดย “คณะกรรมาธิการเชิร์ช” (Church Committee)[22] ในอีก 3 ปีต่อมา รัฐสภาได้ยอมรับการให้คำรับรองของซีไอเอที่ว่าไม่มีผู้ปฏิบัติการคนใดของสำนักงานเลยที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการลักลอบค้าเฮโรอีน (อันที่จริงแล้วผมก็ไม่เคยตั้งข้อกล่าวหาเช่นนี้ขึ้นมาเลย) อย่างไรก็ดี รายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้ยืนยันสิ่งที่เป็นแกนกลางในข้อวิพากษ์วิจารณ์ของผม นั่นคือพบว่า “ซีไอเอมีความเปราะบางอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อการวิพากษ์วิจารณ์” ซึ่งกระทำต่อทรัพย์สินที่เป็นชาวพื้นเมืองในลาว อันซีไอเอพิจารณาเห็นว่า “มีความสำคัญอย่างมหาศาลต่อทางสำนักงาน” โดยรวมถึง “ผู้คนซึ่งอาจจะเป็นที่ทราบกัน, หรือกำลังเป็นที่สงสัยกัน ว่าเกี่ยวข้องพัวพันในการลักลอบค้ายาเสพติด” แต่เหล่าวุฒิสมาชิกในคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ก็ไม่ได้กดดันซีไอเอให้เสนอหนทางแก้ไขหรือดำเนินการปฏิรูปใดๆ ในสิ่งที่ประธานผู้ตรวจราชการของทางสำนักงานเองเรียกว่า “ภาวะอิหลักอิเหลื่อเป็นพิเศษ” ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ซีไอเอผูกพันธมิตรกับพวกราชายาเสพติดเหล่านี้ – และในทัศนะของผมแล้ว นี่แหละคือมิติสำคัญที่สุดของความซับซ้อนซ่อนเงื่อนในการลักลอบค้ายาเสพติดนี้
เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษ 1970 จากการที่ยาเสพติดหลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐฯลดน้อยชะลอตัวลง และจำนวนของผู้ติดยาก็ต่ำลงไป ปัญหาเฮโรอีนถอยเข้าไปสู่พื้นที่ยากจนบริเวณพื้นที่ชั้นในของตัวเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ ส่วนพวกสื่อมวลชนก็โยกย้ายไปหาเรื่องราวตื่นเต้นหวือหวาอย่างใหม่ๆ นี่ถือเป็นโชคร้ายที่รัฐสภาสูญเสียโอกาสที่จะตรวจสอบทัดทานซีไอเอและแก้ไขหนทางวิธีการต่างๆ ในการทำสงครามปิดลับให้กลับเข้าสู่ความถูกต้อง ครั้นแล้วในเวลาไม่ถึง 10 ปีต่อมา ปัญหาเรื่องซีไอเอผูกพันธมิตรในทางยุทธวิธีกับพวกนักค้ายาเสพติดเพื่อสนับสนุนสงครามปิดลับที่มีขนาดใหญ่โตกว้างขวางของทางสำนักงาน ก็ได้หวนกลับปรากฏขึ้นมาอีกเสมือนกับมีความอาฆาตจองเวรไม่ยอมเลิกรา
ระหว่างทศวรรษ 1980 ขณะที่การเสพโคเคนด้วยวิธีสูบแพร่ระบาดเหมือนโรคร้ายไปตามเมืองใหญ่ๆ ในอเมริกา ซีไอเอ (ดังที่ประธานผู้ตรวจราชการของทางสำนักงานเองได้รายงานเอาไว้ในเวลาต่อมา)[23] ได้พาตัวเองเข้าจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ลักลอบค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่สุดในแถบแคริบเบียน และใช้สิ่งอำนวยความสะดวกด้านท่าเรือของเขาเพื่อลำเลียงขนส่งอาวุธไปให้แก่พวกนักรบจรยุทธ์ “คอนทรา” (Contra) ซึ่งกำลังสู้รบอยู่ในนิการากัว รวมทั้งให้การปกป้องคุ้มครองเขาไม่ให้ถูกฟ้องร้องกล่าวโทษใดๆ เป็นระยะเวลา 5 ปี ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ทางอีกด้านหนึ่งของพื้นพิภพของเรา ในประเทศอัฟกานิสถาน พวกนักรบจรยุทธ์มูจาฮีดีน (mujahedeen) ได้บังคับเก็บภาษีฝิ่น[24] จากเกษตรกรผู้ปลูกฝิ่น เพื่อนำมาเป็นทุนสำหรับการสู้รบของพวกเขาในการต่อต้านการยึดครองอัฟกานิสถานของกองทหารสหภาพโซเวียต ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยการยินยอมแบบอ้อมๆ ของซีไอเอ [25] พวกเขายังเปิดห้องแล็ปหลายแห่งเพื่อนำเอาฝิ่นมาผลิตเป็นเฮโรอีน ตามบริเวณแนวพรมแดนติดต่อกับปากีสถาน แล้วจัดส่งเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษ 1980 ผลผลิตฝิ่นของอัฟกานิสถานได้ขยายเพิ่มพูนขึ้นมา 10 เท่าตัว และกลายเป็นผู้ส่งเฮโรอีนราว 60% ให้แก่ผู้ติดยาในอเมริกา และมากถึง 90% สำหรับผู้ติดยาในนครนิวยอร์ก [26]
แทบจะเป็นไปโดยบังเอิญทีเดียว ผมได้เริ่มต้นงานอาชีพทางวิชาการของผมด้วยการทำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไปนิดๆ หน่อยๆ สิ่งที่แฝงฝังอยู่ภายในการศึกษาว่าด้วยการลักลอบค้ายาเสพติด ก็คือกระบวนวิธีในการวิเคราะห์ซึ่งจะนำพาผม (ในสภาพที่แทบไม่ได้ตั้งใจเลย) เข้าสู่การสำรวจอย่างต่อเนื่องยาวนานตลอดชั่วชีวิต ในเรื่องการวางตัวเป็นเจ้าใหญ่ระดับโลกของสหรัฐฯด้วยการแสดงออกด้านต่างๆ มากมายหลายหลาก เป็นต้นว่า การผูกพันธมิตรทางการทูต, การให้ซีไอเอเข้าแทรกแซงกิจการของประเทศต่างๆ, การพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร, การพึ่งพาอาศัยวิธีการทรมานนักโทษ, และการปฏิบัติการสอดแนมในระดับโลก ผมจะค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละก้าวละก้าว, หัวข้อแล้วหัวข้อเล่า, ทศวรรษแล้วทศวรรษแล้ว, ค่อยๆ สั่งสมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่างๆ จนเพียงพอ แล้วพยายามที่จะนำเอาส่วนต่างๆ เหล่านี้ประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นองค์รวม ในการเขียนหนังสือเล่มใหม่ของผม คือเรื่อง In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power ผมได้นำการวิจัยนี้เข้าสู่การประเมินรูปร่างลักษณะโดยรวมของความเป็นมหาอำนาจระดับโลกของสหรัฐฯ และพลังต่างๆ ที่จะมีส่วนทำให้มันดำรงคงอยู่อย่างถาวรหรือทรุดโทรมเสื่อมสลาย
ในกระบวนการดังกล่าวนี้ ผมค่อยๆ มองเห็นความต่อเนื่องและความเกาะเกี่ยวสอดคล้องกันอย่างน่าตื่นใจ ในเส้นทางแห่งการก้าวผงาดที่กินระยะเวลาเป็นศตวรรษของวอชิงตันเพื่อเข้าครอบงำทั่วทั้งพื้นพิภพ เทคนิคการทรมานนักโทษของซีไอเอนั้นปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นสงครามเย็นในทศวรรษ 1950 แล้ว ขณะที่เทคโนโลยีจำนวนมากของอากาศยานหุ่นจักรกลแห่งยุคอนาคตของทางสำนักงาน ก็ได้มีการทดลองทดสอบครั้งแรกกันไปตั้งแต่ในสงครามเวียดนามของทศวรรษ 1960 และเหนือสิ่งอื่นใดเลย เรื่องที่วอชิงตันพึ่งพาอาศัยวิธีการสอดแนมผู้คนวงกว้างนั้น ได้ปรากฏให้เห็นครั้งแรกในฟิลิปปินส์ช่วงที่ตกเป็นอาณานิคมของอเมริกาเมื่อราวปี 1900 ด้วยซ้ำ และไม่ช้าไม่นานก็กลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญมากอย่างหนึ่ง (ถึงแม้โดยสาระสำคัญแล้วมันเป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย) ของเอฟบีไอ สำหรับการปราบปรามกดขี่พวกผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลภายในสหรัฐฯ โดยที่ได้มีการใช้เครื่องมือนี้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970
การสอดแนมในทุกวันนี้
สืบเนื่องจากเหตุการณ์การโจมตีของผู้ก่อการร้าย 9/11 ผมได้ปัดฝุ่นวิธีการทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ และใช้มันมาสำรวจดูต้นกำเนิดและรูปร่างลักษณะของการสอดแนมภายในประเทศ ซึ่งกระทำภายในสหรัฐอเมริกา
หลังจากเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ในปี 1898 แล้ว กองทัพสหรัฐฯซึ่งประสบความยากลำบากในการรณรงค์ปราบปรามสร้างความสงบราบคาบในดินแดนที่ดื้อรั้นไม่ยอมสยบแห่งนี้ ได้ค้นพบพลังอำนาจของการทำการสอดแนมอย่างกว้างขวางเป็นระบบ เพื่อทำลายการต้านทานของพวกชนชั้นนำทางการเมืองของฟิลิปปินส์ จากนั้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 “บิดาแห่งข่าวกรองทหาร” ของกองทัพสหรัฐฯ นายพลราล์ฟ แวน เดอแมน (Ralph Van Deman) ผู้ซึ่งเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆ ของเขาระหว่างประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์ ก็ได้นำเอาประสบการณ์หลายปีแห่งการสยบสร้างความสงบในหมู่เกาะแห่งนั้น มาเรียกระดมกองกำลังที่ประกอบด้วยทหาร 1,700 คน และพลเรือน-พวกพร้อมจัดการกับผู้ต้องสงสัยเป็นอาชญากรโดยใช้ศาลเตี้ย จำนวน 350,000 คน เพื่อเข้าโปรแกรมสอดแนมอย่างเข้มข้นบรรดาผู้ต้องสงสัยเป็นสายลับของศัตรูในหมู่ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ปรากฏว่าในบรรดาผู้ถูกสอดแนมดังกล่าวนี้ ก็รวมถึงคุณปู่ของผมเองด้วย ในระหว่างศึกษาแฟ้ม “ข่าวกรองด้านการทหาร” (Military Intelligence files) ต่างๆ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives) ผมได้พบจดหมาย “ต้องสงสัย” หลายฉบับที่แอบขโมยจากล็อกเกอร์กองทัพของคุณปู่ของผม ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นจดหมายที่คุณแม่ของท่าน หรือก็คือคุณทวดของผม เขียนไปถึงคุณปู่ด้วยภาษาเยอรมันที่เป็นภาษาบ้านเกิดของคุณทวด ในเรื่อง “การทำลายล้มล้างต่างๆ” อย่างเช่น การถักถุงเท้าให้แก่คุณปู่เพื่อเอาไว้ใช้ในเวลายืนยามรักษาการณ์
ในทศวรรษ 1950 สายสืบเอฟบีไอของ (เจ. เอดการ์) ฮูเวอร์ ได้แอบดักฟังโทรศัพท์เป็นพันๆ เครื่องโดยมิได้มีการขอหมายศาล และคอยติดตามเฝ้าสอดแนมผู้ต้องสงสัยมีการกระทำบ่อนทำลาย โดยที่หนึ่งในนั้นคือลูกพี่ลูกน้องของคุณแม่ผม ที่มีชื่อว่า เจอรัลด์ พีล (Gerard Piel) นักเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์และเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณานิตยสาร “ไซเอนติฟิก อเมริกัน” (Scientific American) (หมายเหตุผู้แปล - นิตยสารทางวิทยาศาสตร์เพื่อผู้อ่านในวงกว้างฉบับนี้มีชื่อเสียงเก่าแก่และได้รับความนิยมมาก ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Scientific_American) ระหว่างสงครามเวียดนาม เอฟบีไอได้ขยายกิจกรรมของตน[27] ด้วยการวางแผนคบคิดทำเรื่องย่ำแย่เลวร้ายที่มักผิดกฎหมายอย่างมากมายจนน่าประหลาดใจ ในความพยายามที่จะทำให้ขบวนการต่อต้านสงครามกลายเป็นอัมพาต ทั้งนี้โดยที่มีการปฏิบัติการแอบสอดแนมอย่างกว้างขวางประเภทที่สามารถพบเห็นได้ในแฟ้มประวัติเกี่ยวกับตัวผมซึ่งเอฟบีไอจัดทำขึ้นมา
ความทรงจำจำนวนมากในเรื่องโปรแกรมสอดแนมอย่างผิดกฎหมายของเอฟบีไอ ได้ถูกลบล้างไปภายหลังสงครามเวียดนาม ซึ่งต้องขอบคุณการปฏิรูปของรัฐสภาที่กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่า การดักฟังทุกๆ อย่างของรัฐบาลจะกระทำได้ก็ต้องขอหมายศาลก่อน อย่างไรก็ตาม การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเดือนกันยายน 2001 ได้ทำให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency หรือ NSA) มีหนทางหลบหลีกเบี่ยงเบนเพื่อเปิดดำเนินการสอดแนมกันใหม่โดยคราวนี้อยู่ในขนาดขอบเขตอันใหญ่โตมโหฬารชนิดที่เมื่อก่อนนี้ไม่เคยคาดคิดจินตนาการกันมาก่อน ในข้อเขียนที่ผมเขียนให้ “ทอมดิสแพตช์” เมื่อปี 2009 [28] ผมตั้งข้อสังเกตว่า วิธีการบีบบังคับต่างๆ ซึ่งทีแรกถูกนำไปทดสอบในตะวันออกกลางนั้น กำลังถูกนำกลับมายังสหรัฐฯ และอาจจะกำลังมีการวางงานปูพื้นฐานสำหรับ “รัฐแห่งการสอดแนมภายในประเทศ” ขึ้นมา เทคนิคทางชีวมิติ (biometric) และทางไซเบอร์อันซับซ้อนก้าวหน้าซึ่งหล่อหลอมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในพื้นที่สงครามของอัฟกานิสถานและอิรัก ได้ทำให้ “รัฐแห่งการสอดแนมด้วยระบบดิจิตอลกลายเป็นสิ่งเป็นจริง” และดังนั้นจึงกำลังเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของระบอบประชาธิปไตยอเมริกันถึงขั้นรากฐานทีเดียว
ถัดจากนั้นอีก 4 ปี เอดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ได้ทำให้เอกสารลับจำนวนมากมายของสำนักงานเอ็นเอสเอรั่วไหลออกมาสู่โลกภายนอก ซึ่งเปิดโปงให้ทราบว่า หลังผ่านระยะอุ้มท้องอยู่อย่างยาวนานราว 1 ศตวรรษ รัฐสหรัฐอเมริกาแห่งการสอดแนมด้วยระบบดิจิตอลก็มาถึงแล้วในท้ายที่สุด ในยุคแห่งอินเทอร์เน็ตนี้ เอ็นเอสเอสามารถติดตามตรวจตราชีวิตส่วนตัวของผู้คนหลายสิบล้านคนตลอดทั่วทั้งโลก รวมทั้งของชาวอเมริกันด้วย โดยผ่านทางเครื่องมืออุปกรณ์ตรวจจับด้วยระบบคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่ร้อยชิ้นซึ่งอยู่ข้างในโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
ครั้นแล้ว ราวกับว่าต้องการเตือนให้ผมระลึกเอาไว้ถึงเรื่องเกี่ยวกับความเป็นจริงใหม่ของพวกเราเหล่านี้ ด้วยวิถีทางที่เป็นส่วนตัวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อ 4 ปีก่อน ผมพบว่าตัวผมเองได้ตกเป็นเป้าหมายของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในการสอบบัญชีของสำนักงานสรรพากร, การตรวจค้นร่างกายโดยสำนักงานบริหารความปลอดภัยทางการขนส่ง (Transportation Security Administration หรือ TSA) ที่ท่าอากาศยานระดับชาติแห่งต่างๆ ของสหรัฐฯ และการแอบดักฟังโทรศัพท์ที่ห้องทำงานของผมในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (ซึ่งผมค้นพบเมื่อสายโทรศัพท์ดังกล่าวไม่ทำงาน) ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? บางทีอาจเนื่องจากสิ่งที่ผมเขียนในปัจจุบันซึ่งเป็นหัวข้ออ่อนไหวต่างๆ อย่างเช่นการทรมานนักโทษของซีไอเอ และการสอดแนมของเอ็นเอสเอ หรือบางทีอาจจะเนื่องจากชื่อของผมเกิดกระเด้งโผล่พรวดขึ้นมาจากฐานข้อมูลเก่าบางแห่งที่เหลือตกทอดมาจากยุคทศวรรษ 1970 ซึ่งเก็บข้อมูลผู้ต้องสงสัยมีการกระทำบ่อนทำลาย แต่ไม่ว่าคำอธิบายจะเป็นอย่างไรก็ตามที มันก็เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกขึ้นมาอย่างสมเหตุสมผลว่า ถ้าหากประสบการณ์ของครอบครัวผมเองในตลอด 3 ชั่วอายุคนจักสามารถที่จะใช้เป็นตัวแทนในวิถีทางใดวิถีทางหนึ่งแล้ว รัฐแห่งการสอดแนมก็ได้เป็นส่วนหนึ่งที่บูรณาการเข้ากับชีวิตทางการเมืองอเมริกันมาอย่างยาวนานไกลโพ้นยิ่งกว่าที่พวกเราอาจคิดจินตนาการกันไว้นักหนา
ด้วยราคาค่างวดที่อยู่ในรูปการสูญเสียความเป็นส่วนตัวของบุคคลเช่นนี้ ตาข่ายแห่งการสอดแนมที่ครอบคลุมทั่วทั้งโลกของวอชิงตันในเวลานี้ก็ได้กลายเป็นอาวุธอันยอดเยี่ยมทรงอำนาจ ในการต่อสู้เพื่อแผ่ขยายฐานะความเป็นเจ้าระดับโลกของสหรัฐฯให้ยืนยงยาวนานต่อไปอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กระนั้นมันก็ยังคงมีคุณค่าที่จะต้องจดจำเอาไว้ด้วยว่าสิ่งที่เราพบเห็นในต่างแดนนั้น บ่อยครั้งที่ดูเหมือนมันจะหวนกลับบ้านมาหลอกหลอนเราเข้าจนได้ในไม่ช้าก็เร็ว แบบเดียวกับที่ซีไอเอและลูกสมุนได้เฝ้าหลอกหลอนผมในช่วงระยะเวลา 50 ปีหลังมานี้ เมื่อเราเรียนรู้ที่จะรัก “บิ๊ก บราเธอร์” ขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นโลกก็จะกลายเป็นสถานที่ซึ่งมีอันตรายเพิ่มมากขึ้น มิใช่มีอันตรายลดน้อยลงแต่อย่างใด
(ข้อเขียนชิ้นนี้ดัดแปลงและขยายความจากบทเกริ่นนำ ของ In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power หนังสือเล่มใหม่ของ อัลเฟรด ดับเบิลยู แมคคอย)
หมายเหตุ
[1] http://projects.washingtonpost.com/top-secret-america/
[2] https://www.washingtonpost.com/world/national-security/black-budget-summary-details-us-spy-networks-successes-failures-and-objectives/2013/08/29/7e57bb78-10ab-11e3-8cdd-bcdc09410972_story.html
[3]http://comptroller.defense.gov/Portals/45/Documents/defbudget/fy2013/FY2013_Budget_Request_Overview_Book.pdf
[4] https://static.dvidshub.net/media/pubs/pdf_23684.pdf
[5] https://www.washingtonpost.com/world/national-security/cia-shifts-focus-to-killing-targets/2011/08/30/gIQA7MZGvJ_story.html
[6]https://www.thebureauinvestigates.com/category/projects/drones/drones-graphs/
[7]http://prhome.defense.gov/Portals/52/Documents/RFM/Readiness/DDRP/docs/35%20Final%20Report.%20The%20Vietnam%20drug%20user%20returns.pdf
[8] https://en.wikipedia.org/wiki/John_Everingham
[9] https://www.amazon.com/Crusade-Undercover-Against-Mafia-KGB/dp/0028810198/ref=sr_1_1?s=books&ie=UTF8&qid=1502898398&sr=1-1&keywords=Tom+Tripodi
[10] https://www.amazon.com/Cultural-Cold-War-World-Letters/dp/156584596X/ref=sr_1_fkmr0_2?s=books&ie=UTF8&qid=1502898503&sr=1-2-fkmr0&keywords=Frances+Stonor+Saunders%2C+The+Cultural+Cold+War%3A+The+CIA+and+the+World+of+Arts+and+Letters+%28New+York%3A+New+Press%2C+1999%29
[11] https://www.amazon.com/Cultural-Cold-War-World-Letters/dp/156584596X/ref=sr_1_fkmr0_2?s=books&ie=UTF8&qid=1502898503&sr=1-2-fkmr0&keywords=Frances+Stonor+Saunders%2C+The+Cultural+Cold+War%3A+The+CIA+and+the+World+of+Arts+and+Letters+%28New+York%3A+New+Press%2C+1999%29
[12]http://www.carlbernstein.com/magazine_cia_and_media.php
[13]https://news.google.com/newspapers?nid=888&dat=19760223&id=3dFQAAAAIBAJ&sjid=gF8DAAAAIBAJ&pg=3895,4938048&hl=en
[14] http://www.smithsonianmag.com/history/44-years-later-a-washington-dc-death-unresolved-93263961
[15] https://www.amazon.com/Marys-Mosaic-Conspiracy-Kennedy-Pinchot/dp/1510708928
[16] https://www.amazon.com/Cultural-Cold-War-World-Letters/dp/1565846648/ref=sr_1_2?s=books&ie=UTF8&qid=1502899216&sr=1-2&keywords=Saunders%2C+cultural+cold+war
[17] http://www.nytimes.com/1972/07/22/archives/cia-aides-assail-asia-drug-charge-agency-fights-reports-that-it.html
[18] http://www.nybooks.com/articles/1972/09/21/a-correspondence-with-the-cia/
[19] http://www.washingtonpost.com/archive/local/2001/03/15/key-cia-figure-cord-meyer-dies/fc90ef11-4137-4582-9f01-c7c13461e1bf/
[20] http://www.nytimes.com/1972/09/03/archives/the-politics-of-heroin-in-southeast-asia-by-alfred-w-mccoy-with.html
[21] https://de.wikipedia.org/wiki/Bernhard_Dahm
[22] https://www.intelligence.senate.gov/sites/default/files/94755_I.pdf
[23] https://fas.org/irp/cia/product/cocaine2/contents.html
[24] http://www.nytimes.com/1986/06/18/world/afghan-rebel-s-victory-garden-opium.html?pagewanted=all
[25]https://books.google.com/books?id=aTT94zkoWlcC&pg=PA132&lpg=PA132&dq=charles+cogan+drug+fallout&source=bl&ots=q28F60jMHu&sig=s0fP945lJk3TQ47Z16JZD25d3K0&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEwiEqZasmNzVAhWi7YMKHSDpCkYQ6AEITzAL#v=onepage&q=charles%20cogan%20drug%20fallout&f=false
[26] http://www.nytimes.com/1983/06/30/world/pakistani-afghan-area-leads-as-supplier-of-heroin-to-us.html?pagewanted=all
[27] http://www.nybooks.com/articles/2013/05/23/berkeley-what-we-didnt-know/
[28] http://www.tomdispatch.com/blog/175154/
อัลเฟรด ดับเบิลยู แมคคอย เป็นนักเขียนประจำของเว็บไซต์ “ทอมดิสแพตช์” (TomDispatch) เป็นศาสตราจารย์แฮริงตันทางด้านประวัติศาสตร์ (Harrington Professor of History) ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มที่ปัจจุบันกลายเป็นงานคลาสสิกไปแล้ว นั่นคือเรื่อง The Politics of Heroin: CIA Complicity in the Global Drug Trade ซึ่งติดตามสืบสวนการเชื่อมต่อโยงใยกันของการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายกับการปฏิบัติลับต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 50 ปี รวมทั้งผลงานชิ้นอื่นๆ อีกจำนวนมาก หนังสือเล่มใหม่ล่าสุดที่กำลังจะออกมา คือ In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power (สำนักพิมพ์ Dispatch Books กันยายน 2017) และข้อเขียนชิ้นนี้ก็ดัดแปลงจากส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
(จากเว็บไซต์ TomDispatch.com)
By Alfred W. McCoy
24/08/2017
“อำนาจความมั่นคงแห่งชาติ” กำลังกลายเป็น “อำนาจฝ่ายที่ 4” ของสหรัฐฯไปแล้ว เพิ่มเติมขึ้นมาจาก 3 ฝ่ายเดิม คือ นิติบัญญัติ, บริหาร, และตุลาการ สิ่งที่ชาวอเมริกันควรฉุกคิดและถามกันขึ้นมาก็คือ อำนาจอันใหญ่โตมหึมา เจ้าสิ่งที่ระบุว่าเพื่อทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมดเหล่านี้ แท้ที่จริงแล้วมุ่งที่จะใช้กับพวกศัตรูนอกพรมแดนของเราออกไปเท่านั้นจริงๆ หรือ?
ภายหลังถูกปลุกให้ตื่นตัวจากเหตุการณ์โจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อปี 2001 วอชิงตันก็เที่ยวไล่ล่าตามหาพวกศัตรูผู้ลี้ลับและว่องไวเหมือนปรอทของตนไปตลอดทั่วทั้งดินแดนพื้นที่ของเอเชียและแอฟริกา เรื่องนี้ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณการที่โครงสร้างพื้นฐานทางด้านข่าวกรองของสหรัฐฯได้รับการขยับขยายออกไปอย่างใหญ่โตกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างการก้าวผงาดขึ้นมาของพวกเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับการสอดแนมตรวจตรา, ยานจักรกล (โดรน) ที่คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง, และการระบุยืนยันอัตลักษณ์ด้วยชีวมิติ (biometric identification) ในปี 2010 หลังจากเวลาผ่านไปเกือบ 1 ทศวรรษสำหรับการดำเนินสงครามปิดลับนี้ซึ่งช่างตะกละกระหายในข้อมูลข่าวสารอย่างไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงาน [1]ว่า “รัฐความมั่นคงแห่งชาติ” (national security state) นี้ได้โป่งพองบวมเป่งจนกลายเป็น “ฝ่ายที่ 4” ของอำนาจการปกครองส่วนกลางของสหรัฐฯไปแล้ว (3 ฝ่ายของอำนาจการปกครองส่วนกลางของสหรัฐฯเดิมคือ ฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ, ฝ่ายตุลาการ -ผู้แปล) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ผ่านงานมาระดับหนึ่งแล้วเป็นจำนวน 854,000 คน, องค์กรด้านความมั่นคง 263 องค์กร, และหน่วยงานด้านข่าวกรองกว่า 3,000 หน่วย, โดยที่กำลังจัดทำเสนอรายงานพิเศษต่างๆ 50,000 ฉบับในแต่ละปี
ถึงแม้ตัวเลขสถิติเหล่านี้จะดูน่าตื่นตาตื่นใจ แต่มันก็เป็นเพียงการลอกเปลือกลอกพื้นผิวชั้นนอกที่เห็นได้ชัดเจนของสิ่งซึ่งได้กลายเป็นกลไกปิดลับซ้อนเร้นที่มีพิษสงร้ายแรงที่สุดและก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไปแล้ว ตามเอกสารลับซึ่ง เอดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ได้เปิดโปงแฉโพยออกมาเมื่อปี 2013 [2] เฉพาะหน่วยงานด้านข่าวกรองระดับประเทศ 16 แห่งของสหรัฐฯเท่านั้นก็ว่าจ้างลูกจ้างพนักงานเอาไว้ 107,035 คน และมี “งบประมาณดำมืด” รวมกันเท่ากับ 52,600 ล้านดอลลาร์ นั่นคือคิดเป็นราวๆ 10% ของงบประมาณกลาโหมอันมากมายมหาศาล [3]
สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency หรือ NSA) ของสหรัฐฯ ซึ่งมีอำนาจในการกวาดดูไปทั่วทั้งฟากฟ้าเวหา และในการสำรวจตรวจตราโครงข่ายสายเคเบิลใต้ทะเลของทั่วโลก สามารถที่จะเจาะทะลวงอย่างประณีตแม่นยำเข้าไปดักฟังการสื่อสารแบบปิดลับของผู้นำคนใดบนพื้นพิภพนี้ก็ได้ ขณะเดียวกับที่ทำการกวาดเก็บข้อความข่าวสารธรรมดาๆ จำนวนเป็นหลายๆ พันล้านข้อความ สำหรับซีไอเอ (สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ) เพื่อการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เป็นความลับของตน ก็สามารถเข้าถึงกองบัญชาการการปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Command) ของเพนตากอน (กระทรวงกลาโหมอเมริกัน) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลกองทหารชั้นนำจำนวน 69,000 คน [4] (ทั้งหน่วยเรนเจอร์ Rangers, ซีล SEALs , คอนมานโดอากาศAir Commandos) ตลอดจนคลังแสงที่คล่องตัวของหน่วยเหล่านี้ นอกเหนือจากศักยภาพด้านกองกำลังกึ่งทหารอันน่าเกรงขามนี้แล้ว ซีไอเอยังเป็นผู้ควบคุมยานจักรกล (โดรน) แบบอากาศยานไร้นักบิน รุ่น เพรเดเตอร์ (Predator) และ รีเปอร์ (Reaper) 30 ลำ [5] ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตของผู้คนมากกว่า 3,000 คนในปากีสถานและเยเมน [6]
ขณะที่ชาวอเมริกันต้องคอยหมั่นฝึกฝนวิธีการในการป้องกันตัวเองแบบรวมหมู่ ในเวลาที่ระบบเตือนภัยโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) เต้นสั่นระรัวอย่างน่าหงุดหงิดจาก “สีเหลือง” ขึ้นเป็น “สีแดง” นั้น แทบไม่มีใครเลยที่คิดจะหยุดสักครู่หนึ่งและตั้งคำถามยากๆ ขึ้นมาว่า เจ้ามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมดเหล่านี้แท้ที่จริงแล้วมุ่งที่จะใช้กับพวกศัตรูที่อยู่นอกพรมแดนของเราออกไปเท่านั้นจริงๆ หรือ? ภายหลังช่วงเวลาครึ่งศตวรรษที่เกิดมีการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคงภายในประเทศ --ตั้งแต่การสร้างความหวาดกลัวภัยแดงภัยคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 1920 ไปจนถึงการที่เอฟบีไอ (สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ) รังควานข่มขู่อย่างผิดกฎหมายต่อพวกผู้ประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนามในทศวรรษ 1960 และทศวรรษ 1970-- เรายังมีความมั่นอกมั่นใจจริงๆ หรือว่ามันไม่ได้มีอะไรซุกซ่อนอยู่ในมาตรการการดำเนินการที่เป็นความลับทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ภายในสหรัฐฯ? เราคงจะตอบว่า อาจจะมี อาจจะมีก็ได้ ทว่าเมื่อเจ้าการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเหล่านี้เข้ามาถึงตัวเราจริงๆ แล้วนั่นแหละ เราอาจจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นมาตรการที่แสนจะอ่อนโยนแสนจะธรรมดาก็เป็นได้
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองในระยะเวลาครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา บวกกับประวัติศาสตร์ของครอบครัวผมตลอดชั่ว 3 อายุคน ผมได้ค้นพบด้วยวิถีทางซึ่งเป็นส่วนตัวที่สุดเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้ทีเดียวว่า มันมีต้นทุนมันมีสิ่งที่จะต้องจ่ายกันจริงๆ ถ้าหากให้ความไว้วางใจมอบหมายอิสรภาพแห่งชีวิตพลเมืองของพวกเราให้แก่การใช้ดุลยพินิจของพวกหน่วยงานปิดลับทั้งหลาย ขอให้ผมได้แบ่งปันเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “สงคราม” ของผมเองสักสองสามเรื่อง ซึ่งจะช่วยอธิบายว่าทำไมผมจึงถูกบีบบังคับให้ต้องคอยเรียนรู้แล้วเรียนรู้อีกถึงบทเรียนอันแสนจะไม่สบายใจเลยนี้ ในวิถีทางที่แสนจะลำบากยากเย็น
ในเส้นทางแกะรอยการลักลอบค้าเฮโรอีน
ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในช่วงปลายทศวรรษ 1960 แล้ว ผมตัดสินใจที่จะเดินหน้าทำปริญญาเอกในสาขาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และรู้สึกประหลาดใจระคนกับความยินดีพอใจเมื่อบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเยล ตอบรับผมเข้าไปศึกษาโดยที่จะให้ทุนการศึกษาแบบเต็มๆ อีกด้วย ทว่าในสมัยนั้นพวกมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับไอวี่ ลีก ไม่ได้อยู่กันแต่บนหอคอยงาช้าง ระหว่างช่วงปีแรกที่ผมเรียนที่เยลนั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯได้ฟ้องร้องดำเนินคดี บ็อบบี้ ซีล (Bobby Seale) ผู้นำของกลุ่ม “แบล็ก แพนเธอร์” (Black Panther) ในข้อหาฆ่าคนตายในท้องถิ่น และการประท้วงวันเมย์เดย์ซึ่งมีผู้คนเข้าไปชุมนุมกันเต็มสวนนิวเฮเวนกรีน (New Haven Green) ยังทำให้มหาวิทยาลัยเยล (ที่ตั้งอยู่ในเมืองนิวเฮเวน) ต้องปิดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แทบจะในเวลาเดียวกันนั้นเอง ประธานาธิบดีนิกสันได้ออกคำสั่งให้รุกรานกัมพูชา และการประท้วงของบรรดานักศึกษาได้ปิดมหาวิทยาลัยไปเป็นร้อยๆ แห่งทั่วทั้งอเมริกาตลอดระยะเวลาที่เหลืออยู่ของภาคการศึกษานั้น
ในท่ามกลางความอึกทึกครึมโครมทั้งหมดเหล่านี้ จุดโฟกัสของการศึกษาของผมได้โยกย้ายจากญี่ปุ่นมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากเรื่องอดีตมาเป็นเรื่องสงครามในเวียดนาม --ครับ สงครามครั้งนั้นแหละ แล้วผมทำอย่างไรเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารนะหรือครับ? ระหว่างภาคการศึกษาแรกของผมที่เยล พูดกันให้ชัดๆ ไปเลยคือ ในวันที่ 1 ธันวาคม 1969 สำนักงานการคัดเลือกทหาร (Selective Service) ได้นำเอาวันที่ทั้งหมดตามปีปฏิทินมาจับสลาก ผู้ที่มีวันเกิดตรงกับ 100 วันที่แรกซึ่งถูกจับขึ้นมา คือพวกที่แน่นอนว่าจะถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร แต่ถ้าวันที่ใดอยู่ในอันดับเกิน 200 ไปแล้วก็น่าจะได้รับการยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ วันเกิดของผมคือ 8 มิถุนายน กลายเป็นวันที่ท้ายสุดที่ถูกจับขึ้นมา ไม่ใช่อันดับ 365 นะครับ แต่เป็นอันดับ 366 (อย่าลืมว่ามีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ด้วย) – นี่คือการจับสลากออกลอตเตอรี่เพียงรายการเดียวที่ผมเคยชนะได้รับรางวัลกับเขา ยกเว้นเมื่อครั้งได้กระทะไฟฟ้ายี่ห้อซันบีม ในการจับสลากชิงรางวัลตอนเรียนระดับไฮสคูล แล้วด้วยการคิดคำนวณทางศีลธรรมอันสลับซับซ้อนตามแบบฉบับของช่วงทศวรรษ 1960 ผมจึงตัดสินใจว่าการที่ผมได้รับยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเช่นนี้ ถึงแม้เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นมาด้วยความโชคดีล้วนๆ แต่ก็ยังคงเรียกร้องให้ผมต้องอุทิศตัวเอง โดยเหนือยิ่งอื่นใดเลย ก็คือจะต้องขบคิด จะต้องขีดเขียน และจะต้องทำงานเพื่อให้สงครามเวียดนามยุติลง
ระหว่างการประท้วงครั้งต่างๆ ในมหาวิทยาลัยด้วยเรื่องสงครามกัมพูชา ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1970 ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น พวกเราซึ่งเป็นนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มเล็กๆ ที่เยล มีความตระหนักเข้าใจกันว่า จากสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในอินโดจีน อีกไม่ช้าไม่นานคงจะเรียกร้องให้สหรัฐฯเรุกรานลาวเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของศัตรูที่ผ่านดินแดนลาวเข้าไปยังเวียดนามใต้ ด้วยเหตุนี้เอง ในเวลาเดียวกับที่การประท้วงเกี่ยวกับกัมพูชาแพร่ลามไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศอยู่นั้น พวกเราก็ได้เกาะกลุ่มทำงานกันอยู่ภายในหอสมุด เตรียมพร้อมรับมือกับการรุกรานครั้งถัดไปด้วยการจัดทำหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเป็นการรวบรวมบทความข้อเขียนต่างๆ ให้กับทางสำนักพิมพ์ฮาร์เพอร์ แอนด์ โรว์ (Harper & Row) หลังจากหนังสือเล่มนั้นปรากฏโฉมออกมาแล้วราวสองสามเดือน เอลิซาเบธ จาแค็บ (Elizabeth Jakab) บรรณาธิการระดับจูเนียร์คนหนึ่งของบริษัทสำนักพิมพ์แห่งนั้น เกิดความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องราวการปลูกฝิ่นในลาวที่พวกเราบรรจุเอาไว้ในหนังสือด้วย เธอจึงโทรศัพท์จากนิวยอร์กเพื่อสอบถามว่าผมทำได้ไหมที่จะศึกษาวิจัยและเขียนหนังสือพ็อกเกตบุ๊ก “แบบเสร็จเร็วๆ” สักเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์เบื้องหลังของการติดติดเฮโรอีนกันงอมแงม ซึ่งเวลานั้นกำลังแพร่ลามไปอย่างรวดเร็วในกองทัพสหรัฐฯซึ่งประจำการอยู่ในเวียดนาม
ผมรีบเริ่มต้นทำการวิจัยดังกล่าวนี้ที่โต๊ะนั่งค้นคว้าสำหรับนักศึกษาของผม ในอาคารหอคอยสูงแบบศิลปะโกธิค ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอสมุดสเตอร์ลิ่ง (Sterling Library) ของเยล โดยพยายามแกะรอยจากรายงานเก่าๆ เกี่ยวกับการค้าฝิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ยุคที่ดินแดนเหล่านี้จำนวนมากยังเป็นอาณานิคม ปรากฏว่าร่องรอยดังกล่าวยุติลงอย่างฉับพลันในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่เรื่องราวเหล่านี้กำลังน่าสนใจพอดี ดังนั้น ด้วยความลังเลไม่ค่อยแน่ใจนักในตอนแรกๆ ผมก็ได้ก้าวออกไปนอกหอสมุดเพื่อทำการสัมภาษณ์สอบถามผู้คนสองสามคน แต่แล้วในไม่ช้าไม่นานผมก็พบว่าตนเองกำลังเดินไปตามรอยทางของการสืบสวนสอบสวนซึ่งหมุนวนออกไปรอบโลกทีเดียว ตอนแรกสุด ผมเดินทางไปทั่วอเมริกาเพื่อพบปะพูดคุยกับพวกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของซีไอเอที่เกษียณอายุแล้ว จากนั้นผมก็ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังฮ่องกงเพื่อศึกษาเรื่องแก๊งค้ายาเสพติดต่างๆ โดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยตำรวจปราบยาเสพติดของอาณานิคมแห่งนั้น (ฮ่องกงเวลานั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ -ผู้แปล) ต่อมา ผมเดินทางลงใต้ไปอีก ไปยังกรุงไซ่ง่อน ที่เวลานั้นเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ เพื่อสืบสวนตรวจสอบเกี่ยวกับทางเดินของเฮโรอีนที่กำลังพุ่งเป้ามุ่งขายให้กับพวกทหารจีไอ ตลอดจนขึ้นไปบนเทือกเขาในประเทศลาว เพื่อสังเกตการณ์การจับมือเป็นพันธมิตรกันระหว่างซีไอเอ กับพวกขุนศึกค้าฝิ่น และกับพวกกองกำลังอาวุธท้องถิ่นชาวเขาซึ่งเป็นผู้ปลูกฝิ่น สุดท้ายแล้วผมบินจากสิงคโปร์ไปยังปารีสเพื่อสัมภาษณ์พูดคุยกับพวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองชาวฝรั่งเศสที่เกษียณอายุแล้ว เกี่ยวกับการค้าฝิ่นของพวกเขาในระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งแรก (first Indochina War) ในยุคทศวรรษ 1950
ผมค้นพบว่า การลักลอบค้ายาเสพติดที่เป็นตัวซัปพลายเฮโรอีนให้แก่ทหารสหรัฐฯซึ่งกำลังสู้รบอยู่ในเวียดนามใต้นั้น ไม่ได้เป็นผลงานของพวกอาชญากรล้วนๆ แต่อย่างใด ทันทีที่ฝิ่นถูกลำเลียงออกมาจากไร่ฝิ่นของพวกชาวเขาในลาวแล้ว การลักลอบขนส่งกลายเป็นเรื่องสลับซ้อนและมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยในทุกๆ ระดับ จากนั้นเครื่องเฮลิคอปเตอร์ของ แอร์ อเมริกา (Air America) สายการบินซึ่งซีไอเอเป็นผู้ดำเนินการอยู่ในตอนนั้น ก็จะขนฝิ่นดิบออกมาจากหมู่บ้านต่างๆ ของพวกชาวเขาที่เป็นพันธมิตรกับซีไอเอ ผู้บัญชาการกองทัพบกราชอาณาจักรลาว (commander of the Royal Lao Army) ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอเมริกาผู้หนึ่ง คือผู้ที่ประกอบกิจการห้องแล็ปเพื่อการแปรรูปฝิ่นให้กลายเป็นเฮโรอีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และก็เป็นผู้ที่ไม่ได้มีความตระหนักเอาเลยถึงผลกระทบต่างๆ ของการค้ายาเสพติดเช่นนี้ จนกระทั่งเขาเปิดบัญชีการค้าฝิ่นของเขาออกมาให้ผมตรวจดู สำหรับพวกนายพลระดับท็อปจำนวนมากของไซ่ง่อนก็เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดอยู่ในกระบวนการขายยาเสพติดเหล่านี้ให้แก่ทหารสหรัฐฯเช่นกัน เมื่อมาถึงปี 1971 เครือข่ายของการรวมหัวร่วมมือกันเช่นนี้ก็ทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า เฮโรอีนจะกระจายออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ทหารอเมริกัน โดยที่ตามการสำรวจของทำเนียบขาวในเวลาต่อมา[7] ซึ่งเป็นการสอบถามจากทหารผ่านศึกจำนวน 1,000 คน ระบุว่า เฮโรอีน “ถูกเสพกันเป็นเรื่องสามัญ” ในหมู่ทหารอเมริกันในเวียดนามใต้จำนวน 34%
ห้องเรียนสัมมนาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของผมไม่เคยมีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้มาก่อนเลย ตัวผมเองก็ไม่ได้มีโมเดลตัวแบบใดๆ สำหรับการทำวิจัยเรื่องอาชญากรรมและการปฏิบัติการแบบปิดลับของโลกใต้ดินที่ไม่เคยถูกศึกษาค้นคว้ากันเลย หลังจากก้าวลงมาจากเครื่องบินที่กรุงไซ่ง่อน ขณะที่ทั่วทั้งร่างกายถูกโยนเข้าสู่ไอแดดแผดเผาของอากาศเขตร้อน ผมได้พบว่าตัวเองอยู่ในนครต่างแดนซึ่งมีประชากรจำนวน 4 ล้านคนอาศัยกันในตัวเมืองที่แผ่ออกไปกว้างขวาง รู้สึกเหมือนกำลังหลงทางอยู่ท่ามกลางเสียงแผดร้องอย่างกราดเกรี้ยวของรถมอเตอร์ไซค์ และถนนหนทางไร้ชื่อที่เลี้ยวลดวกวน ทุกๆ วันของการแกะรอยเส้นทางเฮโรอีนทำให้ผมเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ขาดสาย – จะไปดูที่ไหน, ไปดูอะไร, และที่สำคัญที่สุดว่า จะใช้วิธีอย่างไรในการตั้งคำถามที่ยากๆ แล้วให้ได้คำตอบ
อย่างไรก็ดี การอ่านทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเรื่องเหล่านี้ ได้สอนผมถึงบางสิ่งบางอย่างซึ่งผมไม่รู้มาก่อนเลยว่าผมทราบ แทนที่จะเผชิญหน้ากับพวกแหล่งข่าวของผมด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันอันอ่อนไหวเปราะบาง ผมกลับเริ่มต้นด้วยอดีตสมัยที่ฝรั่งเศสยังเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองอินโดจีน ตอนที่การค้าฝิ่นยังเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ค่อยๆ แง้มม่านเปิดผ้าคลุมให้เห็นถึงโลจิสติกเบื้องลึกของการผลิตยาเสพติด ที่ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเท่าไรนัก ขณะที่ผมติดตามรอยทางในประวัติศาสตร์เข้าสู่ช่วงเวลาปัจจุบัน เมื่อการค้าประเภทนี้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายและก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งที่มีอันตรายขึ้นมา ผมก็เริ่มใช้ชิ้นส่วนต่างๆ จากอดีตเหล่านี้มาช่วยปะติดปะต่อภาพปริศนาในปัจจุบัน จวบจนกระทั่งชื่อต่างๆ ของพวกนักค้ายาร่วมสมัยทั้งหลายดูลงร่องลงรอยเข้าที่เข้าทาง กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือว่า ผมได้ประดิษฐ์วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งในตลอดระยะเวลาแห่งการงานอาชีพของผม 40 ปีถัดจากนั้น ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่ามีประโยชน์อย่างน่าประหลาดใจทีเดียว ในการวิเคราะห์เรื่องราวเกรียวกราวทางนโยบายการต่างประเทศชุดใหญ่ชุดหนึ่งของสหรัฐฯ – ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซีไอเอจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกราชายาเสพติด, การที่สำนักงานแห่งนี้เผยแพร่วิธีทรมานในเชิงจิตวิทยาให้กว้างขวางออกไป, และเรื่องที่การสอดแนมโดยรัฐซึ่งกำลังแผ่ลามกว้างขวางใหญ่โตออกไปทุกที
ซีไอเอบุกเข้ามาในชีวิตของผม
ระยะเวลาหลายๆ เดือนแห่งการรอนแรมเดินทางในช่วงนั้น เพื่อเข้าไปพบปะพูดคุยกับพวกแก๊งอาชญากรและพวกขุนศึกตามสถานที่ซึ่งมักอยู่แยกตัวออกไปโดดเดี่ยว ปรากฏว่ามีอันตรายอันแท้จริงอยู่หน่อยเดียวเท่านั้น โดยในขณะที่ผมกำลังปีนภูดอยอยู่ในเทือกเขาของประเทศลาว เพื่อสัมภาษณ์ชาวบ้านที่เป็นชาวเขาเผ่าม้งเกี่ยวกับการขนส่งฝิ่นของพวกเขาโดยอาศัยเฮลิคอปเตอร์ของซีไอเอ ผมก็ต้องก้มตัวหมอบลงต่ำที่บริเวณไหล่เขาสูงชันแห่งหนึ่งเมื่อมีกระสุนปืนรัวเจาะฉีกพื้นดินตรงบริเวณเท้าของผม ผมได้เดินเข้าไปอยู่ในวงล้อมซุ่มตีของพวกทหารรับจ้างของซีไอเอเสียแล้ว
ขณะที่กองกำลังนักรบชาวม้ง 5 คนซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านท้องถิ่นจัดหามาด้วยความรอบคอบเพื่อให้ทำหน้าที่คอยพิทักษ์อารักขา จัดแจงล้มตัวลงนอนแล้วทำการยิงตอบโต้มุ่งคุ้มครอง จอห์น เอเวอริงแฮม (John Everingham)[8] ช่างภาพชาวออสเตรเลียของผม และตัวผมเองต่างพากันทิ้งตัวหมอบราบบนหญ้าแฝก และคืบคลานผ่านพื้นที่โคลนเลนไปยังจุดปลอดภัย ถ้าไม่มีกลุ่มติดอาวุธพิทักษ์อารักขาเหล่านี้แล้ว การวิจัยของผมก็คงจะถึงจุดจบเฉกเช่นเดียวกับชีวิตของผมเอง หลังจากการซุ่มตีคราวนั้นล้มเหลวลงไป เจ้าหน้าที่กึ่งทหารของซีไอเอผู้หนึ่งได้เรียกตัวผมไปพบปะพูดจากันที่ยอดเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาคุกคามที่จะสังหารล่ามชาวลาวของผมหากผมไม่ยอมหยุดการวิจัย หลังจากใช้ความพยายามจนได้รับการค้ำประกันต่างๆ จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯว่าล่ามของผมจะไม่ได้รับอันตรายแล้ว ผมก็ตัดสินใจเมินเฉยต่อคำเตือนดังกล่าวและยังคงเดินหน้าต่อไป
เวลาผ่านไปอีก 6 เดือน พร้อมด้วยระยะของการเดินทางยืดยาวเพิ่มขึ้นอีก 30,000 ไมล์ ผมจึงกลับมายังเมืองนิวเฮเวน การสืบสวนตรวจสอบเรื่องซีไอเอเป็นพันธมิตรกับพวกราชายาเสพติดได้สอนผมอย่างมากมายยิ่งกว่าที่ผมสามารถนึกคิดจินตนาการขึ้นมาได้ ในเรื่องเกี่ยวกับมิติอันปิดลับด้านต่างๆ ของอำนาจในระดับโลกของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ผมค่อยๆ ลงตัวกับการพำนักอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ห้องใต้หลังคาที่นิวเฮเวน เพื่อลงมือเขียนงานในช่วงปีซึ่งจะต้องทุ่มเทให้แก่วิชาการ ผมมีความมั่นอกมั่นใจว่าผมทราบอะไรมากมายเกินพอแล้วสำหรับการเขียนหนังสือในหัวข้อเรื่องที่พิเศษผิดธรรมดานี้ อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงจะปรากฏออกมาด้วยว่า การศึกษาของผมนั้นยังคงอยู่ในขั้นเพิ่งกำลังเริ่มต้นเท่านั้น
ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ชายวัยกลางคนร่างบึกบึนคนหนึ่งในเครื่องแต่งกายชุดสูท ได้เข้ามาขัดจังหวะการแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวเพื่อทำงานวิชาการของผม เขาปรากฏตัวที่ประตูหน้าของผมและแนะนำตัวเองว่าชื่อ ทอม ทริโพดี (Tom Tripodi)[9] นักสืบอาวุโสของกรมการยาเสพติด (Bureau of Narcotics) ที่ต่อมาภายหลังกลายเป็นสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration หรือ DEA) เขาสารภาพระหว่างที่มาเยี่ยมผมเป็นครั้งที่ 2 ว่า หน่วยงานของเขารู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับงานเขียนของผม และส่งเขามาทำการสืบสวนตรวจสอบ เขาจำเป็นที่จะต้องมีอะไรบางอย่างไปรายงานผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือของเขา ทอมนั้นเป็นคนที่คุณสามารถให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ดังนั้นผมจึงนำเอาร่าง 2-3 หน้าของหนังสือของผมมาให้เขาอ่าน เขาหายตัวเข้าไปในห้องนั่งเล่นสักพักหนึ่งแล้วก็กลับมาบอกว่า “ของดีจริงๆ คุณยิงได้ตรงเป้าทีเดียว” แต่เขาพูดต่อไปว่ายังมีอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก บางสิ่งบางอย่างที่เขาสามารถช่วยผมซ่อมแซมแก้ไขได้
ทอมได้กลายเป็นผู้ทำหน้าที่อ่านงานร่างแรกของผม ในเวลาต่อมาผมจะส่งร่างที่ผมเขียนเสร็จแล้วให้เขาดูเต็มๆ บท เขาจะนั่งในเก้าอี้โยก แขนเสื้อถูกพับขึ้นมา, ปืนรีวอลเวอร์อยู่ในซองหนังคาดไหล่ของเขา, จิบกาแฟอยู่เป็นระยะ, คอยเขียนข้อความแก้ไขด้วยลายมือหวัดๆ บนที่ว่างของแผ่นกระดาษ, และก็คอยบอกเล่าเรื่องราวอันแสนเหลือเชื่อ – อย่างเช่นเมื่อตอนที่เจ้าพ่อมาเฟียนิวเจอร์ซีย์ “เบโยน โจ” ซิคาเรลลี (“Bayonne Joe” Zicarelli) พยายามซื้อปืนเล็กยาว 1,000 กระบอกจากร้านขายปืนในท้องถิ่นแห่งหนึ่งเพื่อเอาไปใช้โค่นล้ม ฟิเดล คาสโตร หรือตอนที่นักรบทำงานปิดลับของซีไอเอบางคนกลับมาบ้านเพื่อพักผ่อน แล้วต้องมีคนคอยคุ้มกันเขาไปทุกหนทุกแห่งเพื่อป้องกันไม่ให้เขาฆ่าใครสักคนตายระหว่างเข้าแถวรอจ่ายเงินในร้านซูเปอร์มาร์เก็ต
เรื่องซึ่งยอดเยี่ยมที่สุดเลย คือเรื่องที่ว่ากรมการยาเสพติดทำอย่างไรจึงสามารถจับพวกข่าวกรองฝรั่งเศสซึ่งกำลังให้ความคุ้มครองพวกแก๊งชาวคอร์ซิกาในการลักลอบขนเฮโรอีนเข้าไปยังนครนิวยอร์ก เรื่องราวที่เขาเล่าบางเรื่อง ซึ่งปกติแล้วไม่ได้มีการอ้างอิงที่มาใดๆ จะปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง “The Politics of Heroin in Southeast Asia” ของผมด้วย การสนทนาต่างๆ เหล่านี้กับมือปฏิบัติการปิดลับ ผู้ซึ่งเคยฝึกอบรมพวกผู้ลี้ภัยชาวคิวบาในฟลอริดาให้แก่ซีไอเอ และต่อมาได้เข้าสืบสวนสอบสวนพวกแก๊งมาเฟียค้าเฮโรอีนในเกาะซิซีลีให้แก่ DEA เปรียบได้กับการได้เข้าคอร์สสัมมนาระดับแอดแวนซ์ เป็นชั้นเรียนระดับมาสเตอร์คลาสในเรื่องการปฏิบัติการแบบปิดลับทีเดียว
ในช่วงฤดูร้อนของปี 1972 ขณะที่หนังสือของผมอยู่ระหว่างการตีพิมพ์ ผมเดินทางไปกรุงวอชิงตันเพื่อให้ปากคำต่อรัฐสภา ขณะที่ผมกำลังไปยังสำนักงานต่างๆ ของรัฐสภาสหรัฐฯที่แคปิโตล ฮิลล์ อยู่หลายๆ รอบนั้นเอง บรรณาธิการหนังสือของผมได้โทรศัพท์มาหาอย่างไม่คาดหมาย และเรียกให้ผมเดินทางไปนิวยอร์กเพื่อเข้าหารือกับตัวประธานบริหารและรองประธานบริหารของ ฮาร์เปอร์ แอนด์ โรว์ ที่เป็นสำนักพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์หนังสือของผม หลังจากถูกพาเข้าไปในห้องชุดสำนักงานอันหรูหราโอ่อ่าซึ่งวิวนอกหน้าต่างมองลงมาเห็นยอดแหลมๆ ของมหาวิหารเซนต์แพทริกส์ (St. Patrick’s Cathedral) ผมก็รับฟังพวกผู้บริหารเหล่านั้นเล่าว่า คอร์ด เมเออร์ จูเนียร์ (Cord Meyer, Jr.) รองผู้อำนวยการซีไอเอฝ่ายงานปฏิบัติการปิดลับ ได้ไปเยี่ยมเยียน แคสส์ แคนฟิลด์ ซีเนียร์ (Cass Canfield, Sr.) ประธานบริหารกิตติมศักดิ์ของบริษัทของพวกเขา การไปเยี่ยมเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ในหนังสือประวัติศาสตร์เรื่อง “The Cultural Cold War: The CIA and the World of Arts and Letters” ของ ฟรานเซส สโตเนอร์ ซาวน์เดอร์ส (Frances Stonor Saunders) ซึ่งถือเป็นผลงานที่ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางในหัวข้อนี้[10] ระบุเอาไว้ว่า แคนฟิลด์ เป็นผู้ที่ “ชื่นชอบการมีสายสัมพันธ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวกับโลกแห่งข่าวกรอง ทั้งในฐานะที่เขาเป็นอดีตเจ้าหน้าที่สงครามจิตวิทยา และเป็นเพื่อนส่วนตัวสนิทสนมคนหนึ่งของ แอลเลน ดัลเลส (Allen Dulles)” อดีตผู้อำนวยการซีไอเอ เมเออร์ได้พูดประณามหนังสือของผมว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ เขาขอร้องแคนฟิลด์ ซึ่งก็เป็นเพื่อนเก่าคนหนึ่ง ให้จัดการหยุดยั้งหนังสือเล่มนี้อย่างเงียบๆ
ผมตกอยู่ในสภาพลำบากร้ายแรงเสียแล้ว ไม่เพียงเพราะเมเออร์เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีไอเอเท่านั้น แต่เขายังมีสายสัมพันธ์ต่างๆ ทางสังคมชนิดไม่มีความด่างพร้อยรอยตำหนิ บวกกับการมีทรัพย์สินปิดลับต่างๆ ในทั่วทุกหัวระแหงแห่งชีวิตทางปัญญาของอเมริกัน ทั้งนี้ ภายหลังเมเออร์สำเร็จการศึกษาจากเยลในปี 1942 เขาเข้าเป็นทหารนาวิกโยธินและประจำการอยู่ในแปซิฟิก ทำหน้าที่เขียนรายงานข่าวสงครามอันคมคายโน้มน้าวจิตใจส่งมาตีพิมพ์ในนิตยสาร แอตแลนติก มันธ์ลี่ (Atlantic Monthly) ต่อมาเขาทำงานกับคณะผู้แทนสหรัฐฯซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎบัตรสหประชาชาติ เมออร์เข้าทำงานในซีไอเอเมื่อปี 1951 โดยที่เจ้าพ่อสายลับ แอลเลน ดัลเลส มาเชื้อเชิญชักชวนด้วยตัวเอง และหลังจากนั้นไม่นานก็เข้าบริหาร แผนกองค์การระหว่างประเทศ (International Organizations Division) ของซีไอเอ ซึ่งตามคำบรรยายของหนังสือประวัติศาสตร์เล่มที่ผมเพิ่งอ้างอิงข้างต้น ระบุว่า “เป็นจุดรวมศูนย์จุดหนึ่งซึ่งมีกิจกรรมปิดลับทางการเมืองและทางการโฆษณาชวนเชื่ออยู่อย่างมากมายใหญ่โตที่สุดในบรรดาจุดรวมศูนย์ทั้งหลายของซีไอเอ ซึ่งบัดนี้อยู่ในลักษณะเหมือนๆ กับปลาหมึกยักษ์ไปแล้ว”[11] โดยที่งานหนึ่งซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของแผนกนี้ ได้แก่ “การปฏิบัติการนกมอคกิ้งเบิร์ด” (Operation Mockingbird)[12] ที่มุ่งปลูกถ่ายแฝงฝังข้อมูลข่าวสารผิดๆ เอาไว้ในหนังสือพิมพ์สหรัฐฯฉบับสำคัญๆ เนื่องจากเล็งว่าจะเป็นการช่วยเหลือเอื้อประโยชน์แก่การปฏิบัติการต่างๆ ของซีไอเอ แหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีหลายๆ รายบอกกับผมว่า เวลานั้นซีไอเอยังคงมีทรัพย์สินต่างๆ แฝงตัวอยู่ภายในสำนักพิมพ์สำคัญๆ ทุกๆ แห่งในนิวยอร์ก และสำนักงานข่าวกรองยักษ์ใหญ่แห่งนี้ได้ต้นฉบับหนังสือของผมไปจนครบทุกๆ หน้าเรียบร้อยแล้ว
ในฐานะที่เป็นบุตรหลานของครอบครัวเศรษฐีมั่งคั่งครอบครัวหนึ่งในนิวยอร์ก คอร์ด เมเออร์ได้เคลื่อนไหวกระทำกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมในแวดวงชนชั้นนำอย่างคุ้นเคย เขาได้พบและได้แต่งงานกับ แมรี พินชอต (Mary Pinchot) หลานสาวของ กิฟฟอร์ด พินชอต (Gifford Pinchot) ผู้ก่อตั้งสำนักงานป่าไม้สหรัฐฯ (U.S. Forestry Service) อีกทั้งเป็นอดีตผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย พินชอตนั้นเป็นผู้หญิงที่มีความงามอย่างน่าพิศวงงงงวย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาลับของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี จึงได้ไปเยือนทำเนียบขาวอย่างเป็นความลับหลายสิบหน[13] เมื่อตอนที่พบเธอถูกยิงตาย [14]ตรงบริเวณฝั่งคลองสายหนึ่งในกรุงวอชิงตันในปี 1964 นั้น เจมส์ เจซัส แองเกิลตัน (James Jesus Angleton) ผู้อำนวยการฝ่ายต่อต้านการจารกรรมของซีไอเอ และก็เป็นศิษย์เก่าจากเยลอีกคนหนึ่ง ได้บุกเข้าไปในบ้านของเธอเพื่อพยายามที่จะค้นหาสมุดไดอารี่ของเธอทว่าไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม น้องสาวของแมรี่ที่ชื่อ โทนี่ (Toni) และสามีของเธอ เบน แบรดลี (Ben Bradlee) บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ได้พบไดอารี่ดังกล่าวในเวลาต่อมา และส่งมันให้แก่แองเกิลตันเพื่อให้ซีไอเอทำลายทิ้ง จนถึงทุกวันนี้ คดีที่เธอถูกฆาตกรรมนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย และยังคงเป็นหัวข้อหนึ่งของความลึกลับเป็นปริศนาและการถกเถียงโต้แย้งกัน[15]
ทั้ง คอร์ด เมเออร์ และ แคสส์ แคนฟิลด์ ประธานบริหารกิตติมศักดิ์ของสำนักพิมพ์ที่กำลังจัดพิมพ์หนังสือของผม ต่างมีชื่ออยู่ใน “โซเชียล รีจิสเตอร์” (Social Register) ของนิวยอร์ก อันเป็นหนังสือทำเนียบนามและที่อยู่ของครอบครัวดีเยี่ยมชาวอเมริกันที่มาจากชนชั้นนำในสังคมในแต่ละเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อถึงเวลาที่เมเออร์ก้าวเข้าไปในสำนักงานของฮาร์เปอร์แอนด์โรว์ ในฤดูร้อนของปี 1972 นั้น ระยะเวลา 2 ทศวรรษของการทำงานในซีไอเอได้เปลี่ยนแปลงเขาไปแล้ว (ตามหนังสือประวัติศาสตร์เล่มเดียวกับที่อ้างอิงไว้ข้างต้น) [16] จากที่เคยเป็นนักอุดมคติแนวทางเสรีนิยม “กลายมาเป็นผู้ประกาศเผยแพร่ความคิดของตัวเขาเองอย่างไม่ยอมหยุดหย่อนผ่อนผันใดๆ” ด้วยแรงขับดันของ “ผู้มีอาการโรคจิตหวาดระแวงซึ่งไม่ไว้วางใจทุกๆ คนที่ไม่ยอมตกลงเห็นพ้องต้องกันกับเขา” และด้วยกิริยาท่าทางของ “การเสแสร้งแกล้งทำและกระทั่งชอบทะเลาะต่อตี” นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยวัย 26 ปีที่ยังไม่มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์คนหนึ่ง ต้องต่อกรกับนายใหญ่ทางด้านการปั่นหัวสื่อของซีไอเอ มันยากที่จะเป็นการต่อสู้ที่มีความเป็นธรรมได้ ผมเริ่มต้นหวั่นกลัวเสียแล้วว่าหนังสือของผมคงจะไม่มีวันได้ปรากฏโฉมออกมา
อย่างไรก็ตาม ต้องยกย่องให้เป็นเครดิตของเขาครับ แคนฟิลด์ปฏิเสธคำขอของเมเออร์ที่จะให้กำจัดหนังสือเล่มนี้ กระนั้นเขาก็ยินยอมให้สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯมีโอกาสที่จะได้อ่านต้นฉบับและวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นเสนอแนะ ก่อนที่หนังสือของผมจะได้รับการตีพิมพ์ อย่างไรก็ดี แทนที่ผมจะรอคอยข้อเขียนวิพากษ์วิจารณ์ของซีไอเออย่างเงียบๆ ผมได้ติดต่อกับ ซีย์มัวร์ เฮอร์ช (Seymour Hersh) ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้สื่อข่าวด้านสืบสวนเจาะลึกของหนังสือพิมพ์นิวยอรกไทมส์ ในวันเดียวกับที่คนรับส่งเอกสารของซีไอเอเดินทางมาถึงจากเมืองแลงลีย์ (รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของซีไอเอ) เพื่อมารับต้นฉบับของผม เฮอร์ชก็สาวเท้าไปตามออฟฟิศต่างๆ ทั่วทั้งฮาร์เปอร์แอนด์โรว์ ด้วยลักษณะท่าทางเหมือนกับเป็นพายุฤดูร้อนลูกหนึ่ง พร้อมกับระดมยิงเข้าใส่พวกผู้บริหารผู้โชคร้ายด้วยคำถามที่ทำให้ไม่สบายใจไม่เลิกไม่รา วันรุ่งขึ้น ผลงานการเปิดโปงความพยายามที่จะทำการเซ็นเซอร์ของซีไอเอปรากฏหราอยู่บนหน้าหนึ่งของนิวยอร์กไทมส์[17] จากนั้นองค์การสื่อระดับชาติรายอื่นๆ ก็เดินตามการนำร่องของเขา เมื่อเผชิญกับการระดมโจมตีด้วยรายงานข่าวในทางลบข่าวแล้วข่าวเล่า ซีไอเอก็ได้ส่งคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เต็มไปด้วยการปฏิเสธซึ่งไม่น่าเชื่อถืออะไร[18]ไปยังฮาร์เปอร์แอนด์โรว์ หนังสือของผมเล่นนี้จึงได้รับการตีพิมพ์โดยไม่ได้ถูกแก้ไข
ชีวิตของผมกลายเป็นหนังสือที่เปิดอ่านได้เสมอสำหรับซีไอเอ
ผมยังได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญอีกบทเรียนหนึ่ง นั่นคือ บทบัญญัติพิทักษ์คุ้มครองเสรีภาพหนังสือพิมพ์ในรัฐธรรมนูญอเมริกันนั้น สามารถที่จะทัดทานหยุดยั้งแม้กระทั่งหน่วยงานสืบราชการลับที่ทรงอำนาจที่สุดในโลกแห่งนี้ มีรายงานว่า คอร์ด เมเออร์ ก็ได้เรียนรู้บทเรียนเดียวกันนี้ด้วย ในประกาศข่าวมรณกรรม (obituary) ของเขาที่ตีพิมพ์เอาไว้ในวอชิงตันโพสต์ [19] นั้น มีตอนหนึ่งเขียนเอาไว้ว่า “เป็นที่เข้าใจสันนิษฐานกันว่า ในที่สุดแล้วมิสเตอร์เมเออร์จะได้ก้าวขึ้นไป” เป็นหัวหน้าดูแลการปฏิบัติการปิดลับต่างๆ ของซีไอเอ “แต่การเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเกี่ยวกับการตกลงกัน (ระหว่างซีไอเอกับทางสำนักพิมพ์) ในเรื่องหนังสือเล่มนั้น ... ดูเหมือนได้กลายเป็นการตัดทอนลู่ทางโอกาสของเขาไป” ตรงกันข้ามเขาถูกส่งตัวไปลี้ภัยที่ลอนดอน และเกษียณอายุออกจากราชการไปก่อนกำหนด
อย่างไรก็ดี เมเออร์และเพื่อนร่วมงานของเขาเป็นพวกที่ไม่คุ้นเคยกับความพ่ายแพ้ เมื่อประสบความปราชัยในแวดวงเปิดเผยเป็นที่รับรู้ของสาธารณชน ซีไอเอก็ล่าถอยกลับไปซ่อนเร้นในเงามืดและตอบโต้แก้แค้นด้วยการกระตุกดึงลากเส้นด้ายทุกๆ เส้นในชีวิตอันเก่าขาดกะรุ่งกะริ่งของนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนต่อมา พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข, ศึกษาธิการ, และสวัสดิการสังคม ต่างพากันมาที่เยลเพื่อสืบสวนสอบสวนการได้ทุนการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัยของผม สำนักงานสรรพากรทำการสอบบัญชีตรวจสอบรายได้ที่อยู่ในระดับยากจนของผม เอฟบีไอแอบดักฟังโทรศัพท์ที่นิวเฮเวนของผม (นี่เป็นอะไรที่ผมได้เรียนรู้หลังจากเวลาผ่านไปแล้วหลายปี สืบเนื่องจากคดีที่เป็นการร่วมฟ้องหมู่คดีหนึ่ง)
ในเดือนสิงหาคม 1972 ขณะที่การถกเถียงโต้แย้งเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ของผมอยู่ในช่วงที่ขึ้นไปถึงระดับสูงสุด พวกสายสืบเอฟบีไอรายงานต่อผู้อำนวยการของสำนักงานว่า พวกเขาได้ “ดำเนินการสืบสวนสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับแมคคอย” ทำการศึกษาสอบค้นแฟ้มต่างๆ เกี่ยวกับผมที่พวกเขารวบรวมขึ้นในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และทำการสัมภาษณ์ “แหล่งข่าวจำนวนหนึ่งซึ่งอัตลักษณ์ของพวกเขาถูกปกปิดเอาไว้ โดยที่คนเหล่านี้ได้ให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้ในอดีตที่ผ่านมา” –จากวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จึงได้จัดทำออกมาเป็นรายงานความยาว 11 หน้าซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิด, การศึกษา, และกิจกรรมต่อต้านสงครามต่างๆ ในขณะเรียนมหาวิทยาลัยของผม
เพื่อนร่วมชั้นเรียนในระดับปริญญาตรีคนหนึ่งซึ่งผมไม่ได้เจอหน้าเจอตามาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว และเข้ารับราชการอยู่ในหน่วยข่าวกรองของฝ่ายทหาร จู่ๆ ก็ปรากฏตัวเหมือนปาฏิหาริย์ที่ข้างๆ ตัวผมในแผนกหนังสือของสหกรณ์เยล ด้วยท่าทีเหมือนกระหายที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของเรา ในสัปดาห์เดียวกันนั้น ข้อเขียนวิจารณ์หนังสือของผมที่เต็มไปด้วยการยกย่องชมเชยได้ปรากฏอยู่บนหน้าแรกของ นิวยอร์กไทมส์บุ๊กรีวิว (New York Times Book Review)[20] อันสมควรถือเป็นผลสำเร็จที่พิเศษโดดเด่นสำหรับนักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม ทว่าภาควิชาประวัติศาสตร์ของเยลได้ใส่ชื่อผมเอาไว้ในบัญชีนักศึกษาที่ถูกภาคทัณฑ์ทางวิชาการ โดยถ้าหากผมไม่สามารถใช้วิธีการใดก็ตามเพื่อทำงานที่ค้างส่งซึ่งควรต้องทำกันในเวลา 1 ปี ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 1 ภาคการศึกษาแล้ว ผมก็จะต้องถูกไล่ออก
ในช่วงเวลานั้น ความผูกพันระหว่างซีไอเอกับเยลช่างกว้างขวางและลึกล้ำอย่างยิ่ง วิทยาลัยต่างๆ (residential colleges) ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้แสดงบทบาทหน้าที่คัดกรองนักศึกษาว่ามีความเป็นไปได้ที่จะประกอบอาชีพในงานสืบราชการลับหรือไม่ โดยที่หนึ่งในผู้ถูกคัดกรองด้วยระบบนี้ ได้แก่ พอร์เตอร์ กอสส์ (Porter Goss) ซึ่งได้กลายเป็นผู้อำนวยการซีไอเอในเวลาต่อมา พวกนักศึกษาเก่าอย่าง คอร์ด เมเออร์ และ เจมส์ แองเกิลตัน ก็ได้ครองตำแหน่งระดับอาวุโสในสำนักงานแห่งนี้ ถ้าหากผมไม่ได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาผู้หนึ่งเป็นศาสตราจารย์รับเชิญจากเยอรมนี นั่นคือ เบอร์นฮาร์ด ดาห์ม (Bernhard Dahm)[21] นักวิชาการผู้โดดเด่นซึ่งเป็นคนแปลกหน้าสำหรับการพัวพันเชื่อมโยงในลักษณะเช่นนี้ โทษภาคทัณฑ์ดังกล่าวของผมก็น่าจะคืบคลานกลายเป็นการไล่ออก ซึ่งจะทำให้อาชีพการงานด้านวิชาการของผมต้องเป็นอันยุติลง และทำลายความน่าเชื่อถือของตัวผมเองด้วย
ระหว่างวันเวลาแห่งความยากลำบากเหล่านั้น ส.ส.อ็อกเดน รีด (Ogden Reid) จากรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสในคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์มาคุยกับผมเพื่อบอกให้ทราบว่า เขากำลังส่งนักสืบสวนสอบสวนหลายคนในทีมของเขาไปยังลาวเพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านฝิ่นที่นั่น ท่ามกลางการถกเถียงโต้แย้งกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เฮลิคอปเตอร์ของซีไอเอลำหนึ่งได้ลงจอดที่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านซึ่งผมหลบหนีเล็ดลอดจากการถูกซุ่มตี และนำเอาผู้ใหญ่บ้านชาวม้งซึ่งได้ช่วยเหลือการวิจัยของผมขึ้นเครื่องไปลงที่ทางวิ่งเครื่องบินแห่งหนึ่งของหน่วยงานแห่งนี้ ณ ที่นั้น เจ้าหน้าที่สอบสวนของซีไอเอคนหนึ่งได้ทำให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าผู้ใหญ่บ้านควรต้องปฏิเสธเรื่องที่เขาได้เล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับฝิ่น ในเวลาต่อมาเขาได้บอกกับช่างภาพของผมว่า ในตอนนั้นด้วยความหวาดกลัวว่า “พวกเขาจะส่งเฮลิคอปเตอร์มาจับผม หรือ ...ให้พวกทหารมายิงผมทิ้ง” ผู้ใหญ่บ้านชาวม้งผู้นี้ก็เลยกระทำตามที่ถูกบอก
ผมกำลังค้นพบในระดับที่มาถึงตัวผมเหมือนกับเป็นเรื่องส่วนตัวของผมเองทีเดียวว่า พวกหน่วยงานข่าวกรองของประเทศเรานั้นสามารถแผ่อำนาจบารมีไปถึงที่ต่างๆ ได้กว้างไกลล้ำลึกขนาดไหน แม้กระทั่งอยู่ในระบอบที่เป็นประชาธิปไตยนี่แหละ ทั้งนี้เรียกได้ว่าซีไอเอไม่ได้หลงเหลือส่วนใดๆ ในชีวิตของผมที่ไม่ถูกแตะต้องเลย กล่าวคือ ทั้งสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือของผม, มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน, แหล่งข่าวต่างๆ ของผม, ภาษีที่ผมเสีย, โทรศัพท์ที่ผมใช้, และแม้กระทั่งคนที่เป็นเพื่อนฝูงของผม
ถึงแม้ผมสามารถชนะศึกยกแรกในสงครามคราวนี้โดยวิธีการใช้สื่อมวลชนเข้าโจมตีแบบสายฟ้าแลบ แต่ซีไอเอกำลังกลายเป็นผู้มีชัยในการต่อสู้ด้วยระบบราชการอันยืดเยื้อยาวนาน ด้วยการทำให้แหล่งข่าวต่างๆ ของผมต้องปิดปากสงบเสียง และด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ประดาเจ้าหน้าที่ของซีไอเอสามารถทำให้รัฐสภาเชื่อว่าทางสำนักงานเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันโดยตรงใดๆ กับการค้ายาเสพติดที่อินโดจีน ระหว่างการจัดรับฟังความคิดเห็นของวุฒิสภาในเรื่องการลอบสังหารต่างๆ โดยฝีมือซีไอเอ โดย “คณะกรรมาธิการเชิร์ช” (Church Committee)[22] ในอีก 3 ปีต่อมา รัฐสภาได้ยอมรับการให้คำรับรองของซีไอเอที่ว่าไม่มีผู้ปฏิบัติการคนใดของสำนักงานเลยที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการลักลอบค้าเฮโรอีน (อันที่จริงแล้วผมก็ไม่เคยตั้งข้อกล่าวหาเช่นนี้ขึ้นมาเลย) อย่างไรก็ดี รายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้ยืนยันสิ่งที่เป็นแกนกลางในข้อวิพากษ์วิจารณ์ของผม นั่นคือพบว่า “ซีไอเอมีความเปราะบางอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อการวิพากษ์วิจารณ์” ซึ่งกระทำต่อทรัพย์สินที่เป็นชาวพื้นเมืองในลาว อันซีไอเอพิจารณาเห็นว่า “มีความสำคัญอย่างมหาศาลต่อทางสำนักงาน” โดยรวมถึง “ผู้คนซึ่งอาจจะเป็นที่ทราบกัน, หรือกำลังเป็นที่สงสัยกัน ว่าเกี่ยวข้องพัวพันในการลักลอบค้ายาเสพติด” แต่เหล่าวุฒิสมาชิกในคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ก็ไม่ได้กดดันซีไอเอให้เสนอหนทางแก้ไขหรือดำเนินการปฏิรูปใดๆ ในสิ่งที่ประธานผู้ตรวจราชการของทางสำนักงานเองเรียกว่า “ภาวะอิหลักอิเหลื่อเป็นพิเศษ” ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ซีไอเอผูกพันธมิตรกับพวกราชายาเสพติดเหล่านี้ – และในทัศนะของผมแล้ว นี่แหละคือมิติสำคัญที่สุดของความซับซ้อนซ่อนเงื่อนในการลักลอบค้ายาเสพติดนี้
เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษ 1970 จากการที่ยาเสพติดหลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐฯลดน้อยชะลอตัวลง และจำนวนของผู้ติดยาก็ต่ำลงไป ปัญหาเฮโรอีนถอยเข้าไปสู่พื้นที่ยากจนบริเวณพื้นที่ชั้นในของตัวเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ ส่วนพวกสื่อมวลชนก็โยกย้ายไปหาเรื่องราวตื่นเต้นหวือหวาอย่างใหม่ๆ นี่ถือเป็นโชคร้ายที่รัฐสภาสูญเสียโอกาสที่จะตรวจสอบทัดทานซีไอเอและแก้ไขหนทางวิธีการต่างๆ ในการทำสงครามปิดลับให้กลับเข้าสู่ความถูกต้อง ครั้นแล้วในเวลาไม่ถึง 10 ปีต่อมา ปัญหาเรื่องซีไอเอผูกพันธมิตรในทางยุทธวิธีกับพวกนักค้ายาเสพติดเพื่อสนับสนุนสงครามปิดลับที่มีขนาดใหญ่โตกว้างขวางของทางสำนักงาน ก็ได้หวนกลับปรากฏขึ้นมาอีกเสมือนกับมีความอาฆาตจองเวรไม่ยอมเลิกรา
ระหว่างทศวรรษ 1980 ขณะที่การเสพโคเคนด้วยวิธีสูบแพร่ระบาดเหมือนโรคร้ายไปตามเมืองใหญ่ๆ ในอเมริกา ซีไอเอ (ดังที่ประธานผู้ตรวจราชการของทางสำนักงานเองได้รายงานเอาไว้ในเวลาต่อมา)[23] ได้พาตัวเองเข้าจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ลักลอบค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่สุดในแถบแคริบเบียน และใช้สิ่งอำนวยความสะดวกด้านท่าเรือของเขาเพื่อลำเลียงขนส่งอาวุธไปให้แก่พวกนักรบจรยุทธ์ “คอนทรา” (Contra) ซึ่งกำลังสู้รบอยู่ในนิการากัว รวมทั้งให้การปกป้องคุ้มครองเขาไม่ให้ถูกฟ้องร้องกล่าวโทษใดๆ เป็นระยะเวลา 5 ปี ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ทางอีกด้านหนึ่งของพื้นพิภพของเรา ในประเทศอัฟกานิสถาน พวกนักรบจรยุทธ์มูจาฮีดีน (mujahedeen) ได้บังคับเก็บภาษีฝิ่น[24] จากเกษตรกรผู้ปลูกฝิ่น เพื่อนำมาเป็นทุนสำหรับการสู้รบของพวกเขาในการต่อต้านการยึดครองอัฟกานิสถานของกองทหารสหภาพโซเวียต ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยการยินยอมแบบอ้อมๆ ของซีไอเอ [25] พวกเขายังเปิดห้องแล็ปหลายแห่งเพื่อนำเอาฝิ่นมาผลิตเป็นเฮโรอีน ตามบริเวณแนวพรมแดนติดต่อกับปากีสถาน แล้วจัดส่งเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษ 1980 ผลผลิตฝิ่นของอัฟกานิสถานได้ขยายเพิ่มพูนขึ้นมา 10 เท่าตัว และกลายเป็นผู้ส่งเฮโรอีนราว 60% ให้แก่ผู้ติดยาในอเมริกา และมากถึง 90% สำหรับผู้ติดยาในนครนิวยอร์ก [26]
แทบจะเป็นไปโดยบังเอิญทีเดียว ผมได้เริ่มต้นงานอาชีพทางวิชาการของผมด้วยการทำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไปนิดๆ หน่อยๆ สิ่งที่แฝงฝังอยู่ภายในการศึกษาว่าด้วยการลักลอบค้ายาเสพติด ก็คือกระบวนวิธีในการวิเคราะห์ซึ่งจะนำพาผม (ในสภาพที่แทบไม่ได้ตั้งใจเลย) เข้าสู่การสำรวจอย่างต่อเนื่องยาวนานตลอดชั่วชีวิต ในเรื่องการวางตัวเป็นเจ้าใหญ่ระดับโลกของสหรัฐฯด้วยการแสดงออกด้านต่างๆ มากมายหลายหลาก เป็นต้นว่า การผูกพันธมิตรทางการทูต, การให้ซีไอเอเข้าแทรกแซงกิจการของประเทศต่างๆ, การพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร, การพึ่งพาอาศัยวิธีการทรมานนักโทษ, และการปฏิบัติการสอดแนมในระดับโลก ผมจะค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละก้าวละก้าว, หัวข้อแล้วหัวข้อเล่า, ทศวรรษแล้วทศวรรษแล้ว, ค่อยๆ สั่งสมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่างๆ จนเพียงพอ แล้วพยายามที่จะนำเอาส่วนต่างๆ เหล่านี้ประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นองค์รวม ในการเขียนหนังสือเล่มใหม่ของผม คือเรื่อง In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power ผมได้นำการวิจัยนี้เข้าสู่การประเมินรูปร่างลักษณะโดยรวมของความเป็นมหาอำนาจระดับโลกของสหรัฐฯ และพลังต่างๆ ที่จะมีส่วนทำให้มันดำรงคงอยู่อย่างถาวรหรือทรุดโทรมเสื่อมสลาย
ในกระบวนการดังกล่าวนี้ ผมค่อยๆ มองเห็นความต่อเนื่องและความเกาะเกี่ยวสอดคล้องกันอย่างน่าตื่นใจ ในเส้นทางแห่งการก้าวผงาดที่กินระยะเวลาเป็นศตวรรษของวอชิงตันเพื่อเข้าครอบงำทั่วทั้งพื้นพิภพ เทคนิคการทรมานนักโทษของซีไอเอนั้นปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นสงครามเย็นในทศวรรษ 1950 แล้ว ขณะที่เทคโนโลยีจำนวนมากของอากาศยานหุ่นจักรกลแห่งยุคอนาคตของทางสำนักงาน ก็ได้มีการทดลองทดสอบครั้งแรกกันไปตั้งแต่ในสงครามเวียดนามของทศวรรษ 1960 และเหนือสิ่งอื่นใดเลย เรื่องที่วอชิงตันพึ่งพาอาศัยวิธีการสอดแนมผู้คนวงกว้างนั้น ได้ปรากฏให้เห็นครั้งแรกในฟิลิปปินส์ช่วงที่ตกเป็นอาณานิคมของอเมริกาเมื่อราวปี 1900 ด้วยซ้ำ และไม่ช้าไม่นานก็กลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญมากอย่างหนึ่ง (ถึงแม้โดยสาระสำคัญแล้วมันเป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย) ของเอฟบีไอ สำหรับการปราบปรามกดขี่พวกผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลภายในสหรัฐฯ โดยที่ได้มีการใช้เครื่องมือนี้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970
การสอดแนมในทุกวันนี้
สืบเนื่องจากเหตุการณ์การโจมตีของผู้ก่อการร้าย 9/11 ผมได้ปัดฝุ่นวิธีการทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ และใช้มันมาสำรวจดูต้นกำเนิดและรูปร่างลักษณะของการสอดแนมภายในประเทศ ซึ่งกระทำภายในสหรัฐอเมริกา
หลังจากเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ในปี 1898 แล้ว กองทัพสหรัฐฯซึ่งประสบความยากลำบากในการรณรงค์ปราบปรามสร้างความสงบราบคาบในดินแดนที่ดื้อรั้นไม่ยอมสยบแห่งนี้ ได้ค้นพบพลังอำนาจของการทำการสอดแนมอย่างกว้างขวางเป็นระบบ เพื่อทำลายการต้านทานของพวกชนชั้นนำทางการเมืองของฟิลิปปินส์ จากนั้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 “บิดาแห่งข่าวกรองทหาร” ของกองทัพสหรัฐฯ นายพลราล์ฟ แวน เดอแมน (Ralph Van Deman) ผู้ซึ่งเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆ ของเขาระหว่างประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์ ก็ได้นำเอาประสบการณ์หลายปีแห่งการสยบสร้างความสงบในหมู่เกาะแห่งนั้น มาเรียกระดมกองกำลังที่ประกอบด้วยทหาร 1,700 คน และพลเรือน-พวกพร้อมจัดการกับผู้ต้องสงสัยเป็นอาชญากรโดยใช้ศาลเตี้ย จำนวน 350,000 คน เพื่อเข้าโปรแกรมสอดแนมอย่างเข้มข้นบรรดาผู้ต้องสงสัยเป็นสายลับของศัตรูในหมู่ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ปรากฏว่าในบรรดาผู้ถูกสอดแนมดังกล่าวนี้ ก็รวมถึงคุณปู่ของผมเองด้วย ในระหว่างศึกษาแฟ้ม “ข่าวกรองด้านการทหาร” (Military Intelligence files) ต่างๆ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives) ผมได้พบจดหมาย “ต้องสงสัย” หลายฉบับที่แอบขโมยจากล็อกเกอร์กองทัพของคุณปู่ของผม ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นจดหมายที่คุณแม่ของท่าน หรือก็คือคุณทวดของผม เขียนไปถึงคุณปู่ด้วยภาษาเยอรมันที่เป็นภาษาบ้านเกิดของคุณทวด ในเรื่อง “การทำลายล้มล้างต่างๆ” อย่างเช่น การถักถุงเท้าให้แก่คุณปู่เพื่อเอาไว้ใช้ในเวลายืนยามรักษาการณ์
ในทศวรรษ 1950 สายสืบเอฟบีไอของ (เจ. เอดการ์) ฮูเวอร์ ได้แอบดักฟังโทรศัพท์เป็นพันๆ เครื่องโดยมิได้มีการขอหมายศาล และคอยติดตามเฝ้าสอดแนมผู้ต้องสงสัยมีการกระทำบ่อนทำลาย โดยที่หนึ่งในนั้นคือลูกพี่ลูกน้องของคุณแม่ผม ที่มีชื่อว่า เจอรัลด์ พีล (Gerard Piel) นักเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์และเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณานิตยสาร “ไซเอนติฟิก อเมริกัน” (Scientific American) (หมายเหตุผู้แปล - นิตยสารทางวิทยาศาสตร์เพื่อผู้อ่านในวงกว้างฉบับนี้มีชื่อเสียงเก่าแก่และได้รับความนิยมมาก ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Scientific_American) ระหว่างสงครามเวียดนาม เอฟบีไอได้ขยายกิจกรรมของตน[27] ด้วยการวางแผนคบคิดทำเรื่องย่ำแย่เลวร้ายที่มักผิดกฎหมายอย่างมากมายจนน่าประหลาดใจ ในความพยายามที่จะทำให้ขบวนการต่อต้านสงครามกลายเป็นอัมพาต ทั้งนี้โดยที่มีการปฏิบัติการแอบสอดแนมอย่างกว้างขวางประเภทที่สามารถพบเห็นได้ในแฟ้มประวัติเกี่ยวกับตัวผมซึ่งเอฟบีไอจัดทำขึ้นมา
ความทรงจำจำนวนมากในเรื่องโปรแกรมสอดแนมอย่างผิดกฎหมายของเอฟบีไอ ได้ถูกลบล้างไปภายหลังสงครามเวียดนาม ซึ่งต้องขอบคุณการปฏิรูปของรัฐสภาที่กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่า การดักฟังทุกๆ อย่างของรัฐบาลจะกระทำได้ก็ต้องขอหมายศาลก่อน อย่างไรก็ตาม การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเดือนกันยายน 2001 ได้ทำให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency หรือ NSA) มีหนทางหลบหลีกเบี่ยงเบนเพื่อเปิดดำเนินการสอดแนมกันใหม่โดยคราวนี้อยู่ในขนาดขอบเขตอันใหญ่โตมโหฬารชนิดที่เมื่อก่อนนี้ไม่เคยคาดคิดจินตนาการกันมาก่อน ในข้อเขียนที่ผมเขียนให้ “ทอมดิสแพตช์” เมื่อปี 2009 [28] ผมตั้งข้อสังเกตว่า วิธีการบีบบังคับต่างๆ ซึ่งทีแรกถูกนำไปทดสอบในตะวันออกกลางนั้น กำลังถูกนำกลับมายังสหรัฐฯ และอาจจะกำลังมีการวางงานปูพื้นฐานสำหรับ “รัฐแห่งการสอดแนมภายในประเทศ” ขึ้นมา เทคนิคทางชีวมิติ (biometric) และทางไซเบอร์อันซับซ้อนก้าวหน้าซึ่งหล่อหลอมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในพื้นที่สงครามของอัฟกานิสถานและอิรัก ได้ทำให้ “รัฐแห่งการสอดแนมด้วยระบบดิจิตอลกลายเป็นสิ่งเป็นจริง” และดังนั้นจึงกำลังเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของระบอบประชาธิปไตยอเมริกันถึงขั้นรากฐานทีเดียว
ถัดจากนั้นอีก 4 ปี เอดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ได้ทำให้เอกสารลับจำนวนมากมายของสำนักงานเอ็นเอสเอรั่วไหลออกมาสู่โลกภายนอก ซึ่งเปิดโปงให้ทราบว่า หลังผ่านระยะอุ้มท้องอยู่อย่างยาวนานราว 1 ศตวรรษ รัฐสหรัฐอเมริกาแห่งการสอดแนมด้วยระบบดิจิตอลก็มาถึงแล้วในท้ายที่สุด ในยุคแห่งอินเทอร์เน็ตนี้ เอ็นเอสเอสามารถติดตามตรวจตราชีวิตส่วนตัวของผู้คนหลายสิบล้านคนตลอดทั่วทั้งโลก รวมทั้งของชาวอเมริกันด้วย โดยผ่านทางเครื่องมืออุปกรณ์ตรวจจับด้วยระบบคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่ร้อยชิ้นซึ่งอยู่ข้างในโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
ครั้นแล้ว ราวกับว่าต้องการเตือนให้ผมระลึกเอาไว้ถึงเรื่องเกี่ยวกับความเป็นจริงใหม่ของพวกเราเหล่านี้ ด้วยวิถีทางที่เป็นส่วนตัวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อ 4 ปีก่อน ผมพบว่าตัวผมเองได้ตกเป็นเป้าหมายของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในการสอบบัญชีของสำนักงานสรรพากร, การตรวจค้นร่างกายโดยสำนักงานบริหารความปลอดภัยทางการขนส่ง (Transportation Security Administration หรือ TSA) ที่ท่าอากาศยานระดับชาติแห่งต่างๆ ของสหรัฐฯ และการแอบดักฟังโทรศัพท์ที่ห้องทำงานของผมในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (ซึ่งผมค้นพบเมื่อสายโทรศัพท์ดังกล่าวไม่ทำงาน) ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? บางทีอาจเนื่องจากสิ่งที่ผมเขียนในปัจจุบันซึ่งเป็นหัวข้ออ่อนไหวต่างๆ อย่างเช่นการทรมานนักโทษของซีไอเอ และการสอดแนมของเอ็นเอสเอ หรือบางทีอาจจะเนื่องจากชื่อของผมเกิดกระเด้งโผล่พรวดขึ้นมาจากฐานข้อมูลเก่าบางแห่งที่เหลือตกทอดมาจากยุคทศวรรษ 1970 ซึ่งเก็บข้อมูลผู้ต้องสงสัยมีการกระทำบ่อนทำลาย แต่ไม่ว่าคำอธิบายจะเป็นอย่างไรก็ตามที มันก็เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกขึ้นมาอย่างสมเหตุสมผลว่า ถ้าหากประสบการณ์ของครอบครัวผมเองในตลอด 3 ชั่วอายุคนจักสามารถที่จะใช้เป็นตัวแทนในวิถีทางใดวิถีทางหนึ่งแล้ว รัฐแห่งการสอดแนมก็ได้เป็นส่วนหนึ่งที่บูรณาการเข้ากับชีวิตทางการเมืองอเมริกันมาอย่างยาวนานไกลโพ้นยิ่งกว่าที่พวกเราอาจคิดจินตนาการกันไว้นักหนา
ด้วยราคาค่างวดที่อยู่ในรูปการสูญเสียความเป็นส่วนตัวของบุคคลเช่นนี้ ตาข่ายแห่งการสอดแนมที่ครอบคลุมทั่วทั้งโลกของวอชิงตันในเวลานี้ก็ได้กลายเป็นอาวุธอันยอดเยี่ยมทรงอำนาจ ในการต่อสู้เพื่อแผ่ขยายฐานะความเป็นเจ้าระดับโลกของสหรัฐฯให้ยืนยงยาวนานต่อไปอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กระนั้นมันก็ยังคงมีคุณค่าที่จะต้องจดจำเอาไว้ด้วยว่าสิ่งที่เราพบเห็นในต่างแดนนั้น บ่อยครั้งที่ดูเหมือนมันจะหวนกลับบ้านมาหลอกหลอนเราเข้าจนได้ในไม่ช้าก็เร็ว แบบเดียวกับที่ซีไอเอและลูกสมุนได้เฝ้าหลอกหลอนผมในช่วงระยะเวลา 50 ปีหลังมานี้ เมื่อเราเรียนรู้ที่จะรัก “บิ๊ก บราเธอร์” ขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นโลกก็จะกลายเป็นสถานที่ซึ่งมีอันตรายเพิ่มมากขึ้น มิใช่มีอันตรายลดน้อยลงแต่อย่างใด
(ข้อเขียนชิ้นนี้ดัดแปลงและขยายความจากบทเกริ่นนำ ของ In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power หนังสือเล่มใหม่ของ อัลเฟรด ดับเบิลยู แมคคอย)
หมายเหตุ
[1] http://projects.washingtonpost.com/top-secret-america/
[2] https://www.washingtonpost.com/world/national-security/black-budget-summary-details-us-spy-networks-successes-failures-and-objectives/2013/08/29/7e57bb78-10ab-11e3-8cdd-bcdc09410972_story.html
[3]http://comptroller.defense.gov/Portals/45/Documents/defbudget/fy2013/FY2013_Budget_Request_Overview_Book.pdf
[4] https://static.dvidshub.net/media/pubs/pdf_23684.pdf
[5] https://www.washingtonpost.com/world/national-security/cia-shifts-focus-to-killing-targets/2011/08/30/gIQA7MZGvJ_story.html
[6]https://www.thebureauinvestigates.com/category/projects/drones/drones-graphs/
[7]http://prhome.defense.gov/Portals/52/Documents/RFM/Readiness/DDRP/docs/35%20Final%20Report.%20The%20Vietnam%20drug%20user%20returns.pdf
[8] https://en.wikipedia.org/wiki/John_Everingham
[9] https://www.amazon.com/Crusade-Undercover-Against-Mafia-KGB/dp/0028810198/ref=sr_1_1?s=books&ie=UTF8&qid=1502898398&sr=1-1&keywords=Tom+Tripodi
[10] https://www.amazon.com/Cultural-Cold-War-World-Letters/dp/156584596X/ref=sr_1_fkmr0_2?s=books&ie=UTF8&qid=1502898503&sr=1-2-fkmr0&keywords=Frances+Stonor+Saunders%2C+The+Cultural+Cold+War%3A+The+CIA+and+the+World+of+Arts+and+Letters+%28New+York%3A+New+Press%2C+1999%29
[11] https://www.amazon.com/Cultural-Cold-War-World-Letters/dp/156584596X/ref=sr_1_fkmr0_2?s=books&ie=UTF8&qid=1502898503&sr=1-2-fkmr0&keywords=Frances+Stonor+Saunders%2C+The+Cultural+Cold+War%3A+The+CIA+and+the+World+of+Arts+and+Letters+%28New+York%3A+New+Press%2C+1999%29
[12]http://www.carlbernstein.com/magazine_cia_and_media.php
[13]https://news.google.com/newspapers?nid=888&dat=19760223&id=3dFQAAAAIBAJ&sjid=gF8DAAAAIBAJ&pg=3895,4938048&hl=en
[14] http://www.smithsonianmag.com/history/44-years-later-a-washington-dc-death-unresolved-93263961
[15] https://www.amazon.com/Marys-Mosaic-Conspiracy-Kennedy-Pinchot/dp/1510708928
[16] https://www.amazon.com/Cultural-Cold-War-World-Letters/dp/1565846648/ref=sr_1_2?s=books&ie=UTF8&qid=1502899216&sr=1-2&keywords=Saunders%2C+cultural+cold+war
[17] http://www.nytimes.com/1972/07/22/archives/cia-aides-assail-asia-drug-charge-agency-fights-reports-that-it.html
[18] http://www.nybooks.com/articles/1972/09/21/a-correspondence-with-the-cia/
[19] http://www.washingtonpost.com/archive/local/2001/03/15/key-cia-figure-cord-meyer-dies/fc90ef11-4137-4582-9f01-c7c13461e1bf/
[20] http://www.nytimes.com/1972/09/03/archives/the-politics-of-heroin-in-southeast-asia-by-alfred-w-mccoy-with.html
[21] https://de.wikipedia.org/wiki/Bernhard_Dahm
[22] https://www.intelligence.senate.gov/sites/default/files/94755_I.pdf
[23] https://fas.org/irp/cia/product/cocaine2/contents.html
[24] http://www.nytimes.com/1986/06/18/world/afghan-rebel-s-victory-garden-opium.html?pagewanted=all
[25]https://books.google.com/books?id=aTT94zkoWlcC&pg=PA132&lpg=PA132&dq=charles+cogan+drug+fallout&source=bl&ots=q28F60jMHu&sig=s0fP945lJk3TQ47Z16JZD25d3K0&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEwiEqZasmNzVAhWi7YMKHSDpCkYQ6AEITzAL#v=onepage&q=charles%20cogan%20drug%20fallout&f=false
[26] http://www.nytimes.com/1983/06/30/world/pakistani-afghan-area-leads-as-supplier-of-heroin-to-us.html?pagewanted=all
[27] http://www.nybooks.com/articles/2013/05/23/berkeley-what-we-didnt-know/
[28] http://www.tomdispatch.com/blog/175154/
อัลเฟรด ดับเบิลยู แมคคอย เป็นนักเขียนประจำของเว็บไซต์ “ทอมดิสแพตช์” (TomDispatch) เป็นศาสตราจารย์แฮริงตันทางด้านประวัติศาสตร์ (Harrington Professor of History) ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มที่ปัจจุบันกลายเป็นงานคลาสสิกไปแล้ว นั่นคือเรื่อง The Politics of Heroin: CIA Complicity in the Global Drug Trade ซึ่งติดตามสืบสวนการเชื่อมต่อโยงใยกันของการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายกับการปฏิบัติลับต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 50 ปี รวมทั้งผลงานชิ้นอื่นๆ อีกจำนวนมาก หนังสือเล่มใหม่ล่าสุดที่กำลังจะออกมา คือ In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power (สำนักพิมพ์ Dispatch Books กันยายน 2017) และข้อเขียนชิ้นนี้ก็ดัดแปลงจากส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
(จากเว็บไซต์ TomDispatch.com)