xs
xsm
sm
md
lg

In Clip : สุดยอด! “มาลาลา ยูซาฟไซ” เด็กหญิงปากีฯวัย 15 ที่เคยถูกตอลิบานลอบสังหารระหว่างไป ร.ร. ถูกรับเข้า “ม.ออกซฟอร์ด” แล้ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - “มาลาลา ยูซาฟไซ” วัย 20 ปี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และนักรณรงค์การศึกษาให้แก่เด็กผู้หญิงทั่วโลก หลังจากที่เคยเกือบไม่รอดชีวิตจากการถูกกลุ่มก่อการร้ายตอลิบานยิงเข้าที่ศีรษะเมื่อมีอายุเพียง 15 ปี ระหว่างทางไปโรงเรียน ล่าสุดประกาศข่าวดีทางทวิตเตอร์ เธอได้รับเลือกให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ (PPE) ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแล้ว

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ (17 ส.ค.) ว่า ในแถลงการณ์ของนักเคลื่อนไหวด้านการศึกษาเด็กผู้หญิง และผู้ที่รอดชีวิตจากถูกสังหารโดยกลุ่มตอลีบานในวัยแค่ 15 ปี “มาลาลา ยูซาฟไซ” ได้ประกาศข่าวดีด้วยความตื่นเต้นผ่านทวิตเตอร์

โดยยูซาฟไซได้ทวีตสกรีนช็อตถึงการยืนยันการได้รับเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และกล่าวว่า “รู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้ไป ม.ออกซฟอร์ด! ขอแสดงความยินดีต่อนักเรียนเกรดเอทั้งหมด ในปีที่ยากลำบากที่สุด ขอแสดงความยินดีต่อชีวิตที่กำลังจะก้าวต่อไป”

และพบว่า อลัน รัสบริดเจอร์ (Alan Rusbridger) อาจารย์ใหญ่แห่ง เลดี้ มาร์กาเรต ฮอล (Lady Margaret Hall) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แสดงความยินดีต่อ มาลาลา ยูซาฟไซ ที่เธอสามารถได้รับเลือกให้เข้ามาที่แห่งนี้ได้สำเร็จ โดยเขาได้กล่าวต้อนรับเธอผ่านทางทวิตเตอร์

สื่ออังกฤษชี้ว่า นอกจาก รัสบริดเจอร์ แล้ว อดีตประธานาธิบดีหญิงปากีสถาน เบนาซีร์ บุตโต ซึ่งเคยเป็นศิษย์เก่าและเป็นบุคคลที่ยูซาฟไซให้ความชื่นชอบในฐานะฮีโรมาโดยตลอด ได้ร่วมแสดงความยินดีผ่านทางทวิตเตอร์เช่นกัน

บีบีซีรายงานว่า มาลาลา ยูซาฟไซ ถูกเลือกให้เข้าต่อศึกษาระดับปริญญาตรีด้านปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ (PPE) ซึ่งเป็นคณะเดียวกันกับที่อดีตนายกรัฐมนตรีไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เคยเข้ารับการศึกษา

ทั้งนี้ ในภาควิชานี้ พบว่ายูซาฟไซต้องศึกษาในขอบเขตที่กว้างตั้งแต่ปรัชญากรีกโบราณของอริสโตเติลไปจนถึงเศรษฐศาสตร์โลก และการเมืองสมัยใหม่ของทั้งอังกฤษและอเมริกา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นอกจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแล้วยังพบว่า ยูซาฟไซยังได้สมัครเรียนต่อที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน LSE (London School Of Economics) และรวมไปถึงมหาวิทยาลัยดูแฮม และมหาวิทยาลัยวอร์วิก (Warwick)

ทั้งนี้ พบว่าหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกกลุ่มตอลีบานยิงที่ศีรษะในขณะที่เธอกำลังเดินทางไปโรงเรียนในวัย 15 ปี ยูซาฟไซถูกส่งตัวมารับการรักษาในอังกฤษ และได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายที่นี่ พร้อมกับครอบครัวที่ได้ย้ายมาอาศัยในอังกฤษพร้อมเธอ ซึ่งเธอเคยตั้งปณิธานว่า หากสำเร็จการศึกษาระดับสูงสุดจะกลับไปลงเลือกตั้งเพื่อเป็นนักการเมืองในปากีสถาน

ยูซาฟไซเป็นนักเรียนที่มีผลการศึกษาเป็นเลิศ และเธอยังเป็นสัญลักษณ์ในระดับโลก ซึ่วเป็นที่รู้จักในเวทีองค์การสหประชาชาติ และในปี 2014 เธอได้รับรางวัลสูงสุดของโลก รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกับนักการศึกษาของอินเดีย นอกเหนือจากรางวัลที่ทรงเกียร์ติจากเวทีอื่นๆ ทั่วโลก และเธอยังมีกองทุนเพื่อณรงค์ด้านการศึกษาของเด็กผู้หญิงทั่วโลก โดยเธอและบิดาได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2013





กำลังโหลดความคิดเห็น