(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Is Hong Kong less free now than under British colonial rule?
By Ken Moak
11/04/2017
สื่อมวลชนตะวันตกและพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง พยายามทำให้ทั่วโลกเชื่อว่า นับตั้งแต่ที่จีนรับมอบดินแดนฮ่องกงมาจากสหราชอาณาจักร และปกครองภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างอื่นๆ ก็กำลังเสื่อมถอยทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ ทว่าเมื่อศึกษาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย
สื่อมวลชนตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออังกฤษ-อเมริกัน และพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกง พยายามที่จะทำให้ทั่วโลกเชื่อว่า ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างอื่นๆ กำลังเสื่อมถอยทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ ภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” (one country, two systems)
วิธีการปกครองเช่นนี้ (ซึ่งออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้กับไต้หวัน และตอนแรกสุดทีเดียวประดิษฐ์ขึ้นโดยจอมพล เย่ เจี้ยนอิง อดีตประมุขแห่งรัฐและอดีตรัฐมนตรีกลาโหมของจีน ทว่ามักจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นความคิดของ เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดของจีน) มีจุดมุ่งหมายที่จะสงวนรักษาฐานะกึ่งปกครองตนเองของฮ่องกงเอาไว้เป็นระยะเวลา 50 ปี –หรือกระทั่งยาวนานกว่านั้นถ้าหากมีความจำเป็น โดยที่วันเวลาสิ้นสุดการใช้ระบบนี้ได้ถูกปล่อยให้มีความคลุมเครืออย่างจงใจ ด้วยความตระหนักสำนึกในหลักการเรื่องนี้เองที่กฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) หรือก็คือรัฐธรรมนูญฉบับมินิของฮ่องกง ได้รับการจัดร่างขึ้นมาและเป็นที่ตกลงเห็นชอบทั้งของฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่และของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
การประนีประนอมจนออกมาเป็นวิธีการปกครอง “หนึ่งประเทศ สองระบบ”นี้ ไม่ได้มีความสมบูรณ์แต่อย่างไร แต่มันเป็นการยอมรับว่ามีช่องว่างมีช่วงห่างระหว่างฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่ในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, ทางการเมือง, และทางสังคม จากการที่ฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 150 ปี บรรดาสถาบันทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคมของดินแดนแห่งนี้ ไม่เพียงพัฒนาไปมากกว่าของแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ยังมีลักษณะความเป็นตะวันตกมากกว่าด้วย ตัวอย่างเช่น เรื่องหลักนิติธรรม, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, และเสรีภาพของวิสาหกิจ ต่างเป็นสิ่งที่ลงลงปักฐานอย่างมั่นคงทีเดียวในฮ่องกง โดยที่ยังไม่ได้มีการให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปแต่อย่างใด เนื่องจากจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ใน “ขั้นต้นของการพัฒนาทางสังคมนิยม” สถาบันทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคมจึงมีความเติบโตสุกงอมน้อยกว่า จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการไล่ตามให้ทันบรรดาสถาบันของทางฮ่องกง
ฮ่องกงภายใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ออกแบบวิธีการปกครองฮ่องกงอย่างพิเศษโดดเด่น ซึ่งผมขอเรียกว่าเป็น “โมเดลแบบอาศัยนายหน้า” (comprador model) โมเดลเช่นนี้อนุญาตให้คนจีนมีเสรีภาพในวิสาหกิจ ซึ่งกลายเป็นการปลดปล่อยความเป็นชาติพันธุ์ทีบากบั่นอดทนทำงานหนักตลอดจนจิตวิญญาณแห่งความเป็นผู้ประกอบการของพวกเขา ดังนั้นจึงส่งผลให้อาณานิคมแห่งนี้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาและมั่งคั่งรุ่งเรือง จากการมีฐานะเป็นอาณานิคม บรรดาที่ดินของฮ่องกงได้เปลี่ยนไปเป็นที่ดิน “ส่วนพระมหากษัตริย์” (Crown) กลายเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรนำเอาที่ดินกลับไปปล่อยเช่าแก่พวกประชากรท้องถิ่น สหราชอาณาจักรยังได้สร้างระบบ “คนจีนปกครองคนจีน” ขึ้นมา ด้วยการว่าจ้างพวก “กัมประโด” (comprador) ซึ่งหมายถึงพวกผู้ที่ยินดีร่วมมือเป็นนายหน้าให้แก่ต่างชาติ (สำหรับในฮ่องกงแล้วมีความหมายเจาะจงถึงพวกคนจีนท้องถิ่นที่มั่งคั่งร่ำรวยและมีอำนาจบารมีขึ้นจากการทำงานกับรัฐบาลและธุรกิจต่างๆ ของสหราชอาณาจักร) มาควบคุมชาวจีนด้วยกัน พวกนักปกครองอาณานิคมชาวสหราชอาณาจักรในฮ่องกงเพียงแค่ “นั่งพักผ่อนและเสพสุขกับความมั่งคั่งร่ำรวย” โดยที่ไม่ต้องรับมือโดยตรงกับประชากรชาวจีนในท้องถิ่น
“โมเดลกัมประโด” นี้สามารถทำงานรับใช้สหราชอาณาจักรและบรรดา “ตระกูลชาวสหราชอาณาจักรชั้นที่หนึ่ง” (first British families) เป็นต้นว่า ตระกูลเคสวิก (Keswick), จาร์ดีน (Jardine), สไวร์ (Swire) ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองบวกกับรายรับจากการปล่อยเช่าที่ดินได้เปิดทางให้สหราชอาณาจักรสามารถจัดส่งเงินทองจำนวนมหึมากลับไปยังเมืองแม่ พวก “ตระกูลชาวสหราชอาณาจักรชั้นที่หนึ่ง” ในฮ่องกงนั้นต่างได้รับรางวัลตอบแทนในรูปของการเป็นผู้ผูกขาดในทางเป็นจริงในธุรกิจต่างๆ ซึ่งสามารถทำกำไรได้มากที่สุดของอาณานิคมแห่งนี้ เป็นต้นว่า การพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์, การคมนาคมขนส่ง, และการค้ากับจีน ตัวอย่างเช่น ตระกูลเคสวิก, ตระกูลจาร์ดีน, และตระกูลแมทธีสัน (Matheson) ต่างมีฐานะเป็นเจ้าของรายใหญ่ของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (Hongkong and Shanghai Banking Corporation), ฮ่องกงแลนด์ (Hong Kong Land), และผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆ ในดินแดนแห่งนี้ ส่วนตระกูลสไวร์เป็นผู้ควบคุมอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายแห่งในฮ่องกง และสายการบินคาเธย์แปซิฟิก ซึ่งเป็นสายการบินข้ามชาติเพียงแห่งเดียวของฮ่องกง
รัฐบาลเจ้าอาณานิคมของสหราชอาณาจักรยังใช้จ่ายงบประมาณในเรื่องการจัดสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูก, การดูแลรักษาสุขภาพ, ตลอดจนโครงการทางสังคมอื่นๆ จากการดำเนินการเช่นนี้ ก็ได้ช่วยทำให้เกิดเสถียรภาพทางสังคมขึ้นมา
สำหรับพวกนายหน้ากัมประโดที่ร่วมไม้ร่วมมือกับต่างชาติเจ้าอาณานิคมนั้น ก็พากันอยู่ดีมีสุขมีฐานะตำแหน่งซึ่งอำนวยให้ทั้งชื่อเสียง, ทรัพย์สินเงินทอง, และอำนาจบารมี พวกที่แสดงว่าจงรักภักดีมากที่สุดได้รับแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นอัศวิน และแม้กระทั่งเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกของสภาขุนนาง (House of Lords) ของสหราชอาณาจักร ขณะที่บุคคลที่ด้อยความสำคัญลงมาได้รับตำแหน่งอย่างเช่น ผู้พิพากษารักษาความสงบท้องถิ่น (justice of the peace), ที่ปรึกษากฎหมายในสมเด็จพระราชินี (Queen’s counsel) ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จากการที่ฮ่องกงถูกโอนกลับคืนไปให้แก่จีน รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็ได้สูญเสีย “กิจการที่ทำกำไรมหาศาล” (cash cow) ขณะที่ความมั่งคั่งและอภิสิทธิ์ต่างๆ ของ “ตระกูลชั้นที่หนึ่ง” และพวกนายหน้ากัมประโดที่ร่วมมือกับต่างชาติ ก็เป็นอันหดหายไป ถ้าหากไม่ถึงกับหายวับไปอย่างรวดเร็ว
การปกครองฮ่องกงของสหราชอาณาจักรใน 2 ทศวรรษก่อนปี 1997
ช่วงระยะเวลา 2 ทศวรรษก่อนที่จะส่งมอบฮ่องกงกลับคืนไปให้จีนในปี 1997 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนวิธีการในการปกครองฮ่องกง โดยที่มีการหนุนหลังส่งเสริมให้จัดตั้งพรรคการเมืองที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนประชาธิปไตย ขณะเดียวกันพวกนักเรียนที่กำลังเรียนวิชาประวัติศาสตร์จีนอยู่ก็พบว่าเป็นเรื่องยากเย็นกว่าแต่ก่อนมากที่จะทำคะแนนให้ได้สูงๆ ซึ่งทำให้มีผู้ลงทะเบียนเรียนวิชานี้ลดน้อยลงไปอย่างสำคัญ มีบางคนร้องทุกข์ว่าความเคลื่อนไหวในลักษณะนี้คือมุ่งที่ทำให้คนรุ่นต่อๆ ไปของฮ่องกงมีความเป็น “คนจีน” ลดน้อยลงนั่นเอง
การสนับสนุนส่งเสริมเรื่องประชาธิปไตยยิ่งเข้มข้นทวีคูณเป็นพิเศษภายใต้การปกครองของข้าหลวงฮ่องกงคนสุดท้าย ซึ่งก็คือ คริส แพตเทน (Chris Patten) วิธีการกลเม็ดต่างๆ ของเขาทำให้ หลู่ ผิง (Lu Ping) เจ้าหน้าที่ของฝ่ายแผ่นดินใหญ่ที่รับผิดชอบกิจการฮ่องกงและมาเก๊า ถึงกับตราหน้าข้าหลวงผู้นี้ว่า เป็น “คนบาปในรอบ 1 พันปี” เนื่องจาก “การวางระเบิดเวลาทางการเมืองเอาไว้ในฮ่องกง” กล่าวกันว่ายุทธศาสตร์ของแพตเทนนี่เองมีส่วนรับผิดชอบทำให้เกิดการจัดตั้งประดากลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วถ้วนขึ้นมาในภายหลัง อย่างเช่น กลุ่มอ็อกคิวพาย เซนทรัล (Occupy Central) และขบวนการร่ม (Umbrella Movement) แพตเทนยังถูกบางกลุ่มบางคนในฮ่องกงเรียกว่าเป็นคนมือถือสาก ปากถือศีล เนื่องจากตัวเขาเองไม่เคยได้รับการเลือกตั้งอะไร แต่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
พวกผู้นำกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วถ้วน เป็นต้นว่า มาร์ติน ลี (Martin Lee) และสามเกลอที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอ็อกคิวพาย เซนทรัล ปรากฏว่าในช่วงที่ฮ่องกงยังตกอยู่ใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอยู่นั้น ต่างไม่เคยเรียกร้องสิทธิให้ประชาชนสามารถออกเสียงลงคะแนนกันทั่วหน้า รวมทั้งไม่เคยออกเดินทางตระเวนไปในต่างแดนเพื่อขอร้องมหาอำนาจต่างประเทศให้ออกแรงกดดันรัฐบาลสหราชอาณาจักรนำเอาประชาธิปไตยมาใช้ในฮ่องกง ด้วยเหตุนี้เอง ผู้คนจำนวนมากในฮ่องกงจึงต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเครดิตความน่าเชื่อถือในเรื่องประชาธิปไตยของพวกเขา และประทับตราให้พวกเขาเป็น “พวกคนทรยศ”
เสียงส่วนใหญ่ในฮ่องกงคัดค้านพวกนักเคลื่อนไหวโปรประชาธิปไตย
พวกผู้ประท้วงของขบวนการร่ม ผู้ซึ่งกล่าวหาปักกิ่งว่ากดขี่ปราบปรามสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง พร้อมกับเรียกร้องสิทธิให้ประชาชนสามารถออกเสียงลงคะแนนกันทั่วหน้านั้น เป็นพวกซึ่งไม่ได้รับความสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ แท้ที่จริงแล้ว ประชาชนชาวฮ่องกงส่วนมาก (จำนวนกว่า 65% ตามผลสำรวจของโพลท้องถิ่นหลายสำนัก) กล่าวหาคนเหล่านี้ว่าก่อกวนขัดขวางระบบเศรษฐกิจ, รัฐบาลพลเรือน, และสังคมของฮ่องกง ภายใต้ข้ออ้างอำพรางว่าเรียกร้องต้องการประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่ยังร้องเรียนด้วยว่า พวกนักเคลื่อนไหว “โปรประชาธิปไตย” เหล่านี้เป็นพวก “จอมปลอม” เนื่องจากพวกเขาใช้มาตรการ “ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ต่างๆ เป็นต้นว่า การทำลายทรัพย์สินอย่างไร้เหตุผล และการใช้ความรุนแรงต่อพวกที่คัดค้านกิจกรรมของพวกเขา
สื่อมวลชนตะวันตกกล่าวหารัฐบาลฮ่องกงและรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ว่ากำลังอุดปากบีบคอเสรีภาพของบรรดาสื่อ ขณะที่ทางรัฐบาลจีนและรัฐบาลฮ่องกงก็ร้องเรียนว่าสื่อตะวันตกมีอคติ, คอยแต่สัมภาษณ์ทำข่าวคำพูดความคิดเห็นของพวกที่ไม่เห็นด้วยกับทางรัฐบาล และเอาแต่รายงานเฉพาะเหตุการณ์ในทางลบ ตัวอย่างเช่น ในระหว่างเกิดการประท้วงของขบวนการร่ม บีบีซี และซีเอ็นเอ็น สัมภาษณ์แต่พวกนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักศึกษา และพวกเขาไม่ได้รายงานหรอกว่าพลเมืองฮ่องกงจำนวนกว่า 2 ล้านคนกำลังเรียกร้องต้องการให้ตำรวจเคลื่อนย้ายพวกผู้ประท้วงออกไปจากการปิดถนนหนทาง ทว่าเอาแต่รายงานข่าวให้ความสำคัญกับเรื่องราวของพวกผู้ประท้วง 100,000 คน
ฮ่องกงในทุกวันนี้มีเสรีน้อยกว่าเมื่อครั้งที่ตกอยู่ใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักรหรือไม่อาจจะยังไม่มีความกระจ่างชัดเจน แต่จากข้อเท็จจริงที่ว่าพวกนักประชาธิปไตยทั่วถ้วนและพวกผู้ประท้วงของขบวนการร่ม ได้รับอนุญาตให้ทำการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง, จัดการประท้วง, และเดินทางไปต่างแดนเพื่อเรียกร้องหาความสนับสนุนจากพวกรัฐบาลต่างประเทศโดยที่พวกเขาไม่ได้เผชิญกับแรงสะท้อนกลับทางการเมืองนั้น ก็เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับการกล่าวอ้างของพวกนักเคลื่อนไหว “โปรประชาธิปไตย” เหล่านี้อยู่แล้ว
อันที่จริงแล้ว ผู้คนจำนวนมากในฮ่องกงพูดกันว่าดินแดนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเสรีภาพมากกว่าเมื่อตอนอยู่ใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าในยุคอาณานิคม พวกเขาเดินทางไปต่างแดนเพื่อเรียกร้องหาความสนับสนุนทางการเงินและทางการเมืองเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนรับบาลแล้ว พวกเขาก็น่าจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏ ยิ่งกว่านั้น ตำแหน่งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ปัจจุบันก็ได้รับเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาจากกลุ่มอาชีพและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคส่วนสำคัญๆ ของฮ่องกง ดังนั้นจึงมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าการปกครองแบบอาณานิคมโดยข้าหลวงที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
ประชาชนส่วนข้างมากของฮ่องกงยังมีความสงสัยข้องใจด้วยว่า พวกขบวนการ “โปรประชาธิปไตย” เหล่านี้ ใช่หรือไม่ว่าถูกปลุกปั่นยุยงจากเหล่ามหาอำนาจต่างประเทศเพื่อมุ่งสั่นคลอนเสถียรภาพของแผ่นดินใหญ่ ทั้งนี้พวกหนังสือพิมพ์ภาษาจีนตั้งคำถามว่า ใครที่เป็นผู้ออกเงินจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์ฮ่องกงเพื่อใช้สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประท้วงเหล่านี้ กล่าวกันว่าผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาบางคนเป็นผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนในรูปของเงินทอง โดยพวกที่ต่อสู้กับตำรวจจะได้รับ 2,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ส่วนพวกที่กล้าน้อยกว่าได้รับ 500 ดอลลาร์ฮ่องกง
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์ไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
เคน มวค สอนวิชาทฤษฎีเศรษฐกิจ, นโยบายภาคสาธารณะ, และกระแสโลกาภิวัตน์ในระดับมหาวิทยาลัยมาเป็นเวลา 33 ปี เขายังเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือเรื่อง China's Economic Rise and Its Global Impact (Palgrave McMillan, 2015) สำหรับหนังสือเล่มล่าสุดของเขาซึ่งใช้ชื่อว่า Developed Nations and the Impact of Globalization มีกำหนดจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Palgrave McMillan Springer ในปี 2017
Is Hong Kong less free now than under British colonial rule?
By Ken Moak
11/04/2017
สื่อมวลชนตะวันตกและพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง พยายามทำให้ทั่วโลกเชื่อว่า นับตั้งแต่ที่จีนรับมอบดินแดนฮ่องกงมาจากสหราชอาณาจักร และปกครองภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างอื่นๆ ก็กำลังเสื่อมถอยทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ ทว่าเมื่อศึกษาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย
สื่อมวลชนตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออังกฤษ-อเมริกัน และพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกง พยายามที่จะทำให้ทั่วโลกเชื่อว่า ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างอื่นๆ กำลังเสื่อมถอยทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ ภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” (one country, two systems)
วิธีการปกครองเช่นนี้ (ซึ่งออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้กับไต้หวัน และตอนแรกสุดทีเดียวประดิษฐ์ขึ้นโดยจอมพล เย่ เจี้ยนอิง อดีตประมุขแห่งรัฐและอดีตรัฐมนตรีกลาโหมของจีน ทว่ามักจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นความคิดของ เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดของจีน) มีจุดมุ่งหมายที่จะสงวนรักษาฐานะกึ่งปกครองตนเองของฮ่องกงเอาไว้เป็นระยะเวลา 50 ปี –หรือกระทั่งยาวนานกว่านั้นถ้าหากมีความจำเป็น โดยที่วันเวลาสิ้นสุดการใช้ระบบนี้ได้ถูกปล่อยให้มีความคลุมเครืออย่างจงใจ ด้วยความตระหนักสำนึกในหลักการเรื่องนี้เองที่กฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) หรือก็คือรัฐธรรมนูญฉบับมินิของฮ่องกง ได้รับการจัดร่างขึ้นมาและเป็นที่ตกลงเห็นชอบทั้งของฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่และของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
การประนีประนอมจนออกมาเป็นวิธีการปกครอง “หนึ่งประเทศ สองระบบ”นี้ ไม่ได้มีความสมบูรณ์แต่อย่างไร แต่มันเป็นการยอมรับว่ามีช่องว่างมีช่วงห่างระหว่างฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่ในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, ทางการเมือง, และทางสังคม จากการที่ฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 150 ปี บรรดาสถาบันทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคมของดินแดนแห่งนี้ ไม่เพียงพัฒนาไปมากกว่าของแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ยังมีลักษณะความเป็นตะวันตกมากกว่าด้วย ตัวอย่างเช่น เรื่องหลักนิติธรรม, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, และเสรีภาพของวิสาหกิจ ต่างเป็นสิ่งที่ลงลงปักฐานอย่างมั่นคงทีเดียวในฮ่องกง โดยที่ยังไม่ได้มีการให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปแต่อย่างใด เนื่องจากจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ใน “ขั้นต้นของการพัฒนาทางสังคมนิยม” สถาบันทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคมจึงมีความเติบโตสุกงอมน้อยกว่า จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการไล่ตามให้ทันบรรดาสถาบันของทางฮ่องกง
ฮ่องกงภายใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ออกแบบวิธีการปกครองฮ่องกงอย่างพิเศษโดดเด่น ซึ่งผมขอเรียกว่าเป็น “โมเดลแบบอาศัยนายหน้า” (comprador model) โมเดลเช่นนี้อนุญาตให้คนจีนมีเสรีภาพในวิสาหกิจ ซึ่งกลายเป็นการปลดปล่อยความเป็นชาติพันธุ์ทีบากบั่นอดทนทำงานหนักตลอดจนจิตวิญญาณแห่งความเป็นผู้ประกอบการของพวกเขา ดังนั้นจึงส่งผลให้อาณานิคมแห่งนี้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาและมั่งคั่งรุ่งเรือง จากการมีฐานะเป็นอาณานิคม บรรดาที่ดินของฮ่องกงได้เปลี่ยนไปเป็นที่ดิน “ส่วนพระมหากษัตริย์” (Crown) กลายเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรนำเอาที่ดินกลับไปปล่อยเช่าแก่พวกประชากรท้องถิ่น สหราชอาณาจักรยังได้สร้างระบบ “คนจีนปกครองคนจีน” ขึ้นมา ด้วยการว่าจ้างพวก “กัมประโด” (comprador) ซึ่งหมายถึงพวกผู้ที่ยินดีร่วมมือเป็นนายหน้าให้แก่ต่างชาติ (สำหรับในฮ่องกงแล้วมีความหมายเจาะจงถึงพวกคนจีนท้องถิ่นที่มั่งคั่งร่ำรวยและมีอำนาจบารมีขึ้นจากการทำงานกับรัฐบาลและธุรกิจต่างๆ ของสหราชอาณาจักร) มาควบคุมชาวจีนด้วยกัน พวกนักปกครองอาณานิคมชาวสหราชอาณาจักรในฮ่องกงเพียงแค่ “นั่งพักผ่อนและเสพสุขกับความมั่งคั่งร่ำรวย” โดยที่ไม่ต้องรับมือโดยตรงกับประชากรชาวจีนในท้องถิ่น
“โมเดลกัมประโด” นี้สามารถทำงานรับใช้สหราชอาณาจักรและบรรดา “ตระกูลชาวสหราชอาณาจักรชั้นที่หนึ่ง” (first British families) เป็นต้นว่า ตระกูลเคสวิก (Keswick), จาร์ดีน (Jardine), สไวร์ (Swire) ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองบวกกับรายรับจากการปล่อยเช่าที่ดินได้เปิดทางให้สหราชอาณาจักรสามารถจัดส่งเงินทองจำนวนมหึมากลับไปยังเมืองแม่ พวก “ตระกูลชาวสหราชอาณาจักรชั้นที่หนึ่ง” ในฮ่องกงนั้นต่างได้รับรางวัลตอบแทนในรูปของการเป็นผู้ผูกขาดในทางเป็นจริงในธุรกิจต่างๆ ซึ่งสามารถทำกำไรได้มากที่สุดของอาณานิคมแห่งนี้ เป็นต้นว่า การพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์, การคมนาคมขนส่ง, และการค้ากับจีน ตัวอย่างเช่น ตระกูลเคสวิก, ตระกูลจาร์ดีน, และตระกูลแมทธีสัน (Matheson) ต่างมีฐานะเป็นเจ้าของรายใหญ่ของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (Hongkong and Shanghai Banking Corporation), ฮ่องกงแลนด์ (Hong Kong Land), และผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆ ในดินแดนแห่งนี้ ส่วนตระกูลสไวร์เป็นผู้ควบคุมอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายแห่งในฮ่องกง และสายการบินคาเธย์แปซิฟิก ซึ่งเป็นสายการบินข้ามชาติเพียงแห่งเดียวของฮ่องกง
รัฐบาลเจ้าอาณานิคมของสหราชอาณาจักรยังใช้จ่ายงบประมาณในเรื่องการจัดสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูก, การดูแลรักษาสุขภาพ, ตลอดจนโครงการทางสังคมอื่นๆ จากการดำเนินการเช่นนี้ ก็ได้ช่วยทำให้เกิดเสถียรภาพทางสังคมขึ้นมา
สำหรับพวกนายหน้ากัมประโดที่ร่วมไม้ร่วมมือกับต่างชาติเจ้าอาณานิคมนั้น ก็พากันอยู่ดีมีสุขมีฐานะตำแหน่งซึ่งอำนวยให้ทั้งชื่อเสียง, ทรัพย์สินเงินทอง, และอำนาจบารมี พวกที่แสดงว่าจงรักภักดีมากที่สุดได้รับแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นอัศวิน และแม้กระทั่งเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกของสภาขุนนาง (House of Lords) ของสหราชอาณาจักร ขณะที่บุคคลที่ด้อยความสำคัญลงมาได้รับตำแหน่งอย่างเช่น ผู้พิพากษารักษาความสงบท้องถิ่น (justice of the peace), ที่ปรึกษากฎหมายในสมเด็จพระราชินี (Queen’s counsel) ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จากการที่ฮ่องกงถูกโอนกลับคืนไปให้แก่จีน รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็ได้สูญเสีย “กิจการที่ทำกำไรมหาศาล” (cash cow) ขณะที่ความมั่งคั่งและอภิสิทธิ์ต่างๆ ของ “ตระกูลชั้นที่หนึ่ง” และพวกนายหน้ากัมประโดที่ร่วมมือกับต่างชาติ ก็เป็นอันหดหายไป ถ้าหากไม่ถึงกับหายวับไปอย่างรวดเร็ว
การปกครองฮ่องกงของสหราชอาณาจักรใน 2 ทศวรรษก่อนปี 1997
ช่วงระยะเวลา 2 ทศวรรษก่อนที่จะส่งมอบฮ่องกงกลับคืนไปให้จีนในปี 1997 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนวิธีการในการปกครองฮ่องกง โดยที่มีการหนุนหลังส่งเสริมให้จัดตั้งพรรคการเมืองที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนประชาธิปไตย ขณะเดียวกันพวกนักเรียนที่กำลังเรียนวิชาประวัติศาสตร์จีนอยู่ก็พบว่าเป็นเรื่องยากเย็นกว่าแต่ก่อนมากที่จะทำคะแนนให้ได้สูงๆ ซึ่งทำให้มีผู้ลงทะเบียนเรียนวิชานี้ลดน้อยลงไปอย่างสำคัญ มีบางคนร้องทุกข์ว่าความเคลื่อนไหวในลักษณะนี้คือมุ่งที่ทำให้คนรุ่นต่อๆ ไปของฮ่องกงมีความเป็น “คนจีน” ลดน้อยลงนั่นเอง
การสนับสนุนส่งเสริมเรื่องประชาธิปไตยยิ่งเข้มข้นทวีคูณเป็นพิเศษภายใต้การปกครองของข้าหลวงฮ่องกงคนสุดท้าย ซึ่งก็คือ คริส แพตเทน (Chris Patten) วิธีการกลเม็ดต่างๆ ของเขาทำให้ หลู่ ผิง (Lu Ping) เจ้าหน้าที่ของฝ่ายแผ่นดินใหญ่ที่รับผิดชอบกิจการฮ่องกงและมาเก๊า ถึงกับตราหน้าข้าหลวงผู้นี้ว่า เป็น “คนบาปในรอบ 1 พันปี” เนื่องจาก “การวางระเบิดเวลาทางการเมืองเอาไว้ในฮ่องกง” กล่าวกันว่ายุทธศาสตร์ของแพตเทนนี่เองมีส่วนรับผิดชอบทำให้เกิดการจัดตั้งประดากลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วถ้วนขึ้นมาในภายหลัง อย่างเช่น กลุ่มอ็อกคิวพาย เซนทรัล (Occupy Central) และขบวนการร่ม (Umbrella Movement) แพตเทนยังถูกบางกลุ่มบางคนในฮ่องกงเรียกว่าเป็นคนมือถือสาก ปากถือศีล เนื่องจากตัวเขาเองไม่เคยได้รับการเลือกตั้งอะไร แต่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
พวกผู้นำกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วถ้วน เป็นต้นว่า มาร์ติน ลี (Martin Lee) และสามเกลอที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอ็อกคิวพาย เซนทรัล ปรากฏว่าในช่วงที่ฮ่องกงยังตกอยู่ใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอยู่นั้น ต่างไม่เคยเรียกร้องสิทธิให้ประชาชนสามารถออกเสียงลงคะแนนกันทั่วหน้า รวมทั้งไม่เคยออกเดินทางตระเวนไปในต่างแดนเพื่อขอร้องมหาอำนาจต่างประเทศให้ออกแรงกดดันรัฐบาลสหราชอาณาจักรนำเอาประชาธิปไตยมาใช้ในฮ่องกง ด้วยเหตุนี้เอง ผู้คนจำนวนมากในฮ่องกงจึงต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเครดิตความน่าเชื่อถือในเรื่องประชาธิปไตยของพวกเขา และประทับตราให้พวกเขาเป็น “พวกคนทรยศ”
เสียงส่วนใหญ่ในฮ่องกงคัดค้านพวกนักเคลื่อนไหวโปรประชาธิปไตย
พวกผู้ประท้วงของขบวนการร่ม ผู้ซึ่งกล่าวหาปักกิ่งว่ากดขี่ปราบปรามสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง พร้อมกับเรียกร้องสิทธิให้ประชาชนสามารถออกเสียงลงคะแนนกันทั่วหน้านั้น เป็นพวกซึ่งไม่ได้รับความสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ แท้ที่จริงแล้ว ประชาชนชาวฮ่องกงส่วนมาก (จำนวนกว่า 65% ตามผลสำรวจของโพลท้องถิ่นหลายสำนัก) กล่าวหาคนเหล่านี้ว่าก่อกวนขัดขวางระบบเศรษฐกิจ, รัฐบาลพลเรือน, และสังคมของฮ่องกง ภายใต้ข้ออ้างอำพรางว่าเรียกร้องต้องการประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่ยังร้องเรียนด้วยว่า พวกนักเคลื่อนไหว “โปรประชาธิปไตย” เหล่านี้เป็นพวก “จอมปลอม” เนื่องจากพวกเขาใช้มาตรการ “ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ต่างๆ เป็นต้นว่า การทำลายทรัพย์สินอย่างไร้เหตุผล และการใช้ความรุนแรงต่อพวกที่คัดค้านกิจกรรมของพวกเขา
สื่อมวลชนตะวันตกกล่าวหารัฐบาลฮ่องกงและรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ว่ากำลังอุดปากบีบคอเสรีภาพของบรรดาสื่อ ขณะที่ทางรัฐบาลจีนและรัฐบาลฮ่องกงก็ร้องเรียนว่าสื่อตะวันตกมีอคติ, คอยแต่สัมภาษณ์ทำข่าวคำพูดความคิดเห็นของพวกที่ไม่เห็นด้วยกับทางรัฐบาล และเอาแต่รายงานเฉพาะเหตุการณ์ในทางลบ ตัวอย่างเช่น ในระหว่างเกิดการประท้วงของขบวนการร่ม บีบีซี และซีเอ็นเอ็น สัมภาษณ์แต่พวกนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักศึกษา และพวกเขาไม่ได้รายงานหรอกว่าพลเมืองฮ่องกงจำนวนกว่า 2 ล้านคนกำลังเรียกร้องต้องการให้ตำรวจเคลื่อนย้ายพวกผู้ประท้วงออกไปจากการปิดถนนหนทาง ทว่าเอาแต่รายงานข่าวให้ความสำคัญกับเรื่องราวของพวกผู้ประท้วง 100,000 คน
ฮ่องกงในทุกวันนี้มีเสรีน้อยกว่าเมื่อครั้งที่ตกอยู่ใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักรหรือไม่อาจจะยังไม่มีความกระจ่างชัดเจน แต่จากข้อเท็จจริงที่ว่าพวกนักประชาธิปไตยทั่วถ้วนและพวกผู้ประท้วงของขบวนการร่ม ได้รับอนุญาตให้ทำการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง, จัดการประท้วง, และเดินทางไปต่างแดนเพื่อเรียกร้องหาความสนับสนุนจากพวกรัฐบาลต่างประเทศโดยที่พวกเขาไม่ได้เผชิญกับแรงสะท้อนกลับทางการเมืองนั้น ก็เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับการกล่าวอ้างของพวกนักเคลื่อนไหว “โปรประชาธิปไตย” เหล่านี้อยู่แล้ว
อันที่จริงแล้ว ผู้คนจำนวนมากในฮ่องกงพูดกันว่าดินแดนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเสรีภาพมากกว่าเมื่อตอนอยู่ใต้การปกครองแบบอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าในยุคอาณานิคม พวกเขาเดินทางไปต่างแดนเพื่อเรียกร้องหาความสนับสนุนทางการเงินและทางการเมืองเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนรับบาลแล้ว พวกเขาก็น่าจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏ ยิ่งกว่านั้น ตำแหน่งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ปัจจุบันก็ได้รับเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาจากกลุ่มอาชีพและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคส่วนสำคัญๆ ของฮ่องกง ดังนั้นจึงมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าการปกครองแบบอาณานิคมโดยข้าหลวงที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
ประชาชนส่วนข้างมากของฮ่องกงยังมีความสงสัยข้องใจด้วยว่า พวกขบวนการ “โปรประชาธิปไตย” เหล่านี้ ใช่หรือไม่ว่าถูกปลุกปั่นยุยงจากเหล่ามหาอำนาจต่างประเทศเพื่อมุ่งสั่นคลอนเสถียรภาพของแผ่นดินใหญ่ ทั้งนี้พวกหนังสือพิมพ์ภาษาจีนตั้งคำถามว่า ใครที่เป็นผู้ออกเงินจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์ฮ่องกงเพื่อใช้สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประท้วงเหล่านี้ กล่าวกันว่าผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาบางคนเป็นผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนในรูปของเงินทอง โดยพวกที่ต่อสู้กับตำรวจจะได้รับ 2,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ส่วนพวกที่กล้าน้อยกว่าได้รับ 500 ดอลลาร์ฮ่องกง
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์ไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
เคน มวค สอนวิชาทฤษฎีเศรษฐกิจ, นโยบายภาคสาธารณะ, และกระแสโลกาภิวัตน์ในระดับมหาวิทยาลัยมาเป็นเวลา 33 ปี เขายังเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือเรื่อง China's Economic Rise and Its Global Impact (Palgrave McMillan, 2015) สำหรับหนังสือเล่มล่าสุดของเขาซึ่งใช้ชื่อว่า Developed Nations and the Impact of Globalization มีกำหนดจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Palgrave McMillan Springer ในปี 2017