The Bloodstained Rise of Global Populism:
A Political Movement’s Violent Pursuit of “Enemies”
By Alfred W. McCoy
02/04/2017
นักประชานิยมไม่ว่าในอดีตอย่าง เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส หรือในปัจจุบันอย่าง โรดริโก ดูเตอร์เต, วลาดิมีร์ ปูติน ประสบความสำเร็จแค่ไหนที่สำคัญแล้วขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจแสดงความรุนแรงกระทั่งเข่นฆ่านองเลือด “ศัตรู” ภายในประเทศ ประสานเสริมส่งด้วยการเดินหมากในทางระหว่างประเทศ จากการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังเผชิญแรงต้านภายในสหรัฐฯจนกระทั่งก้าวขาไม่ค่อยออก จึงน่าวิตกว่าเขาอาจจะพยายามหันไปฟื้นฟูเพิ่มเติม “ออร่า” ของตัวเองขึ้นมาใหม่ ด้วยการออกผจญภัยโดยใช้ความรุนแรงในต่างแดน
ในปี 2016 มีอะไรบางอย่างที่พิเศษผิดธรรมดาเกิดขึ้นมาในแวดวงการเมืองของประเทศต่างๆ หลายหลากในตลอดทั่วโลก ผู้นำนักประชานิยมรุ่นใหม่ได้ก้าวผงาดขึ้นมาจากการเป็นแค่ส่วนเกินไร้ความหมายไร้ความสำคัญของประดาชาติที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย และถึงขนาดสามารถไขว่คว้าเอาชัยชนะได้เข้าครองอำนาจ โดยที่ใช้เวลาอันรวดเร็วอย่างน่าตื่นใจอีกทั้งยังประสบความสำเร็จในหลายๆ ประเทศภายในเวลาใกล้เคียงกัน จากการรณรงค์ต่อสู้เพื่อช่วงชิงขึ้นครองอำนาจเช่นนี้ พวกเขาก็ได้กลายเป็นปากเสียง (บ่อยครั้งทีเดียวอยู่ในลักษณะของปากเสียงที่แสดงความเจ็บแค้นอย่างรุนแรง) ให้แก่สาธารณชนผู้วิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนทางสังคมของกระแสโลกาภิวัตน์
แม้กระทั่งในสังคมที่ดูมีความแตกต่างห่างไกลกันเป็นคนละขั้ว อย่างสหรัฐฯที่ร่ำรวยล้นเหลือ กับฟิลิปปินส์ที่ยังยากจนข้นแค้น แต่วาทกรรมแบบนักประชานิยมในสายพันธุ์เน้นความรุนแรงทำนองเดียวกัน ก็ได้นำพาเอาผู้สมัคร 2 คนจากซอกหลืบแห่งส่วนเกินทางการเมืองซึ่งดูไม่น่าที่จะคว้าชัยชนะมาได้เลย ให้ก้าวขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ ณ คนละฟากฝั่งกันของมหาสมุทรแปซิฟิก การรณรงค์หาเสียงของ “คนนอก” เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องความร้อนระอุเดือดพล่านอย่างน่าขนพองสยองเกล้า ด้วยเสียงเรียกร้องเพรียกหาความรุนแรงและกระทั่งการเข่นฆ่า
ในขณะที่การรณรงค์แบบนอกคอกก่อกบฏของเขาได้รับโมเมนตัมเหวี่ยงตัวขึ้นสู่กระแสสูง โดนัลด์ ทรัมป์ อภิมหาเศรษฐีระดับหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ก็ได้เคลื่อนไหวก้าวไกลออกไปยิ่งขึ้นอีกหลังจากที่ได้กล่าวคำมั่นสัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่จะสู้รบกับการก่อการร้ายของอิสลามิสต์ด้วยการจับเอาคนเหล่านั้นมาทรมานและด้วยการทิ้งระเบิดใส่อย่างหฤโหด โดยคราวนี้เขาไปถึงขั้นประกาศว่าจะทำการเข่นฆ่าพวกผู้หญิงและเด็กๆ ด้วย “อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องทำกับพวกผู้ก่อการร้ายก็คือ คุณต้องเอาครอบครัวของพวกเขามา เมื่อคุณได้ตัวผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ คุณต้องเอาครอบครัวของพวกเขามาด้วย” ทรัมป์บอกกับโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ (Fox News) “พวกเขาห่วงใยชีวิตของคนเหล่านั้น คุณอย่าหลอกตัวเอง เมื่อพวกเขาบอกว่าพวกเขาไม่แคร์อะไรกับชีวิตของพวกเขา คุณต้องจับเอาครอบครัวของพวกเขามา”
ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ระหว่างการรณรงค์หาเสียงในฟิลิปปินส์ด้วยแผนการสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคมของตัวเขาเอง โรดริโก ดูเตอร์เต ที่เวลานั้นยังเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกล ได้สาบานว่าเขาจะสังหารพวกค้ายาเสพติดในตลอดทั่วทั้งประเทศ และพูดวาดภาพถึงความรุนแรงอย่างชนิดจัดเต็มไม่มีปกปิดอำพรางอะไรกันเลย “ถ้าหากพระผู้เป็นเจ้าทรงเมตตาทำให้ตัวผมได้ขึ้นครองตำแหน่ง (ประธานาธิบดี)” เขาให้สัญญาว่าจะเปิดฉากการรณรงค์ของเขา “ระวังให้ดีเถอะ เพราะจำนวน 1,000 (ของผู้คนที่ถูกสังหารในเวลาที่เขาเป็นนายกเทศมนตรี) จะกลายเป็น 100,000 พวกคุณจะได้เห็นปลาในอ่าวมะนิลา (Manila Bay) อ้วนเอาๆ นั่นคือที่ซึ่งผมจะเอาศพของพวกคุณไปทิ้ง”
การก้าวผงาดขึ้นมาของเนื้อคู่ทางการเมืองและบุรุษเหล็กนักประชานิยมเหล่านี้ ไม่เพียงเป็นการก้องกังวานของสิ่งที่อยู่ล้ำลึกลงไปในวัฒนธรรมทางการเมืองของพวกเขาเองเท่านั้น หากยังเป็นการสะท้อนให้เห็นแนวโน้มในระดับโลกซึ่งทำให้วาทกรรมเปื้อนเลือดของพวกเขากลายเป็นการะบวนทัศน์แห่งขณะปัจจุบันของพวกเรา ทั้งนี้หลังจากผ่านกระบวนการโลกาภิวัตน์ในตลอดระยะเวลาเสี้ยวศตวรรษภายหลังยุคสงครามเย็น พวกคนงานที่ถูกทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลังในตลอดทั่วทั้งโลกก็เริ่มต้นปลุกระดมกันขึ้นมาอย่างโกรธแค้น เพื่อคัดค้านระเบียบทางเศรษฐกิจซึ่งมีแต่ทำให้บรรดาบรรษัทข้ามชาติและชนชั้นนำทางสังคมเท่านั้นที่รู้สึกว่าชีวิตช่างดีเหลือเกิน
ตัวอย่างเช่น ในยุคระหว่างปี 1999 ถึง 2011 สินค้านำเข้าจากจีนได้ขจัดตำแหน่งงานของคนอเมริกันไป 2.4 ล้านตำแหน่ง และกำลังทำให้พวกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ในรัฐนอร์ทแคโรไลนาต้องปิดตัวลง รวมทั้งโรงงานต่างๆ ที่ผลิตกระจกในรัฐโอไฮโอ ตลอดจนพวกบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และบริษัทเหล็กกล้าทั่วทั้งเขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันนั้นเอง ชาติต่างๆ หลายหลากทั่วโลกก็แสดงปฏิกิริยาต่อความเป็นจริงต่างๆ ดังกล่าว ด้วยการประกาศใช้มาตรการจำกัดการนำเข้ารวมกันแล้วประมาณ 2,100 มาตรการ เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียตำแหน่งงานทำนองเดียวกันในประเทศของพวกเขา สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การค้าของโลกได้ทางเป็นจริง ได้เริ่มต้นชะลอตัวลงโดยที่ไม่ได้มีภาวะเศรษฐกิจถดถอยขนาดใหญ่ขึ้นมาด้วยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา
ประวัติศาสตร์เปื้อนเลือดของลัทธิประชานิยม
ตลอดทั่วทั้งยุโรป พวกพรรคการเมืองฝ่ายขวาที่มีแนวทางชาตินิยมเข้มข้น อย่างเช่น เนชั่นแนล ฟรอนต์ ของฝรั่งเศส (French National Front), อัลเทอร์เนทีฟ ฟอร์ เยอรมนี (Alternative for Germany), และ ยูเค อินดีเพนเดนซ์ ปาร์ตี้ (UK Independence Party) ต่างสามารถชนะใจได้คะแนนจากผู้มีสิทธิออกเสียง ด้วยการหว่านเพาะแนวความคิดเชิดชูคนพื้นถิ่น ต่อต้านผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อต้านอิสลาม ในการตอบโต้ต่อกระแสโลกาภิวัตน์ แท้ที่จริงแล้ว ในบรรดาชาติประชาธิปไตยทั้งหลายทั่วโลกด้วยซ้ำ ปรากฏว่าภายในระยะเวลาอันใกล้เคียงกัน พวกนักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองโดยอาศัยแนวทางประชานิยม (populist demagogues)รุ่นอายุหนึ่ง ก็สามารถขึ้นครองอำนาจ, หรือคุกคามทำท่าจะสามารถช่วงชิงอำนาจ, หรือได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น, ไม่ว่าจะเป็น มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) ในฝรั่งเศส, เกียร์ต วิลเดอร์ส (Geert Wilders) ในเนเธอร์แลนด์, วิกตอร์ ออร์บาน (Viktor Orban) ในฮังการี, โดนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐฯ, นเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ในอินเดีย, ปราโบโว สุบิอานโต (Prabowo Subianto) ในอินโดนีเซีย, และโรดริโก ดูเตอร์เต ในฟิลิปปินส์ ตลอดจนคนอื่นๆ อีก
นักเขียนความเรียงชาวอินเดีย พังคาช มิสรา (Pankaj Mishra) เมื่อเร็วๆ นี้ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับความสำเร็จของพวกเขาเหล่านี้เอาไว้ดังนี้: “นักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองยังคงกำลังปรากฏตัวออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในโลกตะวันตกและนอกโลกตะวันตก ขณะที่คำมั่นสัญญาเรื่องความมั่งคั่งไพบูลย์ชนปะทะกับความไม่เสมอภาคแถมยังมีความแตกต่างห่างไกลกันอย่างมากมายมหาศาล ทั้งในเรื่องความมั่งคั่ง, อำนาจ, การศึกษา, และฐานะตำแหน่ง” เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์สามารถนำมาเป็นตัวอย่างแบบฉบับอันเลวร้ายของสภาวการณ์เช่นนี้ได้เป็นอย่างดี ในช่วงเวลา 6 ปีก่อนหน้าที่ดูเตอร์เตเริ่มเปิดฉากรณรงค์แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เศรษฐกิจฟิลิปปินส์สามารถเติบโตขยายตัวได้อย่างน่าประทับใจด้วยอัตราสูงถึง 6% ต่อปี ทว่ากลับยังคงมีชาวฟิลิปปินส์ผู้ยากจนย่ำแย่อยู่ถึง 26 ล้านคนซึ่งต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดด้วยรายได้เพียง 1 ดอลลาร์ต่อวัน ในช่วงปีเหล่านั้น ตระกูลชนชันนำชาวฟิลิปปินส์เพียงแค่ 40 ตระกูลเป็นผู้ที่ฉวยคว้ากวาดเอาราวๆ 76% ของความมั่งคั่งทั้งหมดที่การเติบโตของเศรษฐกิจนี้สร้างขึ้นมา
นักวิชาการ ไมเคิล ลี (Michael Lee) ชี้ว่า ความสำเร็จของผู้นำนักประชานิยมอยู่ที่การใช้วาทศิลป์มานิยามจำกัดความ “ประชาคมแห่งชาติ” ของเขาหรือของเธอ ทั้งด้วยการระบุสิ่งที่ถือว่าเป็น “ลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกัน” และ “ศัตรู” ร่วมอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ของประชาคมแห่งชาตินี้ ไม่ว่า “ศัตรู” ดังกล่าว จะเป็น “ผู้ร้ายนักข่มขืนชาวเม็กซิโก” หรือ “ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิม” ก็ตามที เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การนิยามจำกัดความเช่นนี้มีความคล้ายคลึงอยู่มากกับการที่พวกนาซีได้เคยสร้างความสำนึกถึงตัวตนความเป็นชาติอันทรงพลัง ด้วยการกีดกันไม่เอากลุ่มชนบางกลุ่มเข้ามารวมด้วยทั้งนี้โดยอาศัยวิธีแบ่งแยกด้วย “สายเลือด” ลียังเสนอต่อไปอีกว่า ขบวนการประชานิยมเช่นนี้มีการเผยแพร่ป่าวร้องความปรารถนาร่วมกันที่จะมุ่งไปสู่ “การประจันหน้ากันในวันตัดสินชะตากรรมของโลก” โดยที่จะอาศัย “สงครามตามที่ระบุไว้ในตำนาน” ครั้งสุดท้าย มาเป็น “พาหะของการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติถอนรากถอนโคน”
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พวกนักวิชาการอย่างเช่น ลี ย้ำเน้นถึงวิธีการต่างๆ ที่พวกนักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองโดยอาศัยแนวทางประชานิยม พึ่งพาอาศัยโวหารวาทศิลป์อันดุเดือดรุนแรงเพื่อไปสู่ความสำเร็จของพวกเขา ทว่านักวิชาการเหล่านี้ก็มีความโน้มเอียงที่จะให้ความสนใจน้อยเกินไปเกี่ยวกับลักษณะสำคัญยิ่งอีกด้านหนึ่งของพวกนักประชานิยมในทั่วทั้งโลก นั่นก็คือ การลงมือใช้ความรุนแรงกันจริงๆ ไม่ใช่แค่คำพูด ขบวนการเหล่านี้ในสหรัฐฯและยุโรป อาจจะยังอยู่ในระยะอ่อนๆ (โดยเปรียบเทียบ) ของพวกเขา ทว่าสำหรับในประเทศประชาธิปไตยที่มีระดับการพัฒนาด้อยกว่าในตลอดทั่วโลกแล้ว พวกผู้นำประชานิยมไม่มีความลังเลใจเลยที่จะจารึกพลังอำนาจที่พวกเขาเพิ่งค้นพบใหม่ เอาไว้บนร่างกายที่ถูกย่ำยีทำร้ายของบรรดาเหยื่อของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พวกนักวิชาการอย่างเช่น ลี ย้ำเน้นถึงวิธีการต่างๆ ที่พวกนักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองโดยอาศัยแนวทางประชานิยม พึ่งพาอาศัยโวหารวาทศิลป์อันดุเดือดรุนแรงเพื่อไปสู่ความสำเร็จของพวกเขา ทว่านักวิชาการเหล่านี้ก็มีความโน้มเอียงที่จะให้ความสนใจน้อยเกินไปเกี่ยวกับลักษณะสำคัญยิ่งอีกด้านหนึ่งของพวกนักประชานิยมในทั่วทั้งโลก นั่นก็คือ การลงมือใช้ความรุนแรงกันจริงๆ ไม่ใช่แค่คำพูด ขบวนการเหล่านี้ในสหรัฐฯและยุโรป อาจจะยังอยู่ในระยะอ่อนๆ (โดยเปรียบเทียบ) ของพวกเขา ทว่าสำหรับในประเทศประชาธิปไตยที่มีระดับการพัฒนาด้อยกว่าในตลอดทั่วโลกแล้ว พวกผู้นำประชานิยมไม่มีความลังเลใจเลยที่จะจารึกพลังอำนาจที่พวกเขาเพิ่งค้นพบใหม่ เอาไว้บนร่างกายที่ถูกย่ำยีทำร้ายของบรรดาเหยื่อของพวกเขา
ตัวอย่างเช่น ตลอดระยะเวลากว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย หนึ่งในผู้เข้าข่ายสมควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่จุดประกายกระแสลัทธิประชานิยมระลอกนี้ขึ้น ได้สาธิตให้เห็นถึงการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเวอร์ชั่น “เปลือยอกโชว์กล้าม” อันมีชื่อเสียงของเขา ด้วยการทำให้แน่ใจว่าพวกปรปักษ์และผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เขาจะต้องพบจุดจบอันเลวร้ายภายใต้สภาวะแวดล้อม “อันลึกลับเป็นปริศนา” กรณีจุดจบอันดำมืดเหล่านี้มีอาทิ การใช้สารกัมมันตรังสี โพโลเนียม 210 (polonium 210) ที่มีพิษร้ายแรงในการเข่นฆ่าอดีตตำรวจลับชาวรัสเซียที่แปรพักตร์ไปอยู่กับฝ่ายตะวันตก อเล็กซานเดอร์ ลิตวิเนนโค (Alexander Litvinenko) ในกรุงลอนดอนเมื่อปี 2006, การยิงสังหาร อันนา โปลิตคอฟสกายา (Anna Politkovskaya) นักหนังสือพิมพ์และนักวิพากษ์วิจารณ์ปูติน ที่ด้านนอกอพาร์ตเมนต์ของเธอในกรุงมอสโกในปีเดียวกัน , การใช้ยาพิษจากพืชบนเทือกเขาหิมาลัยที่หาได้ยากมาเล่นงาน อเล็กซานเดอร์ เปเรปิลิชนี (Alexander Perepilichny) แบงเกอร์และศัตรูตัวกลั่นของปูติน จนเสียชีวิตในกรุงลอนดอนเมื่อปี 2012, การถล่มยิงสังหารผู้นำฝ่ายค้าน บอริส เนมต์ซอฟ (Boris Nemtsov) ในย่านดาวน์ทาวน์ของมอสโกในปี 2015, และการสาดกระสุน 4 นัดเก็บ เดนิส โวโรเนนคอฟ (Denis Voronenkov) นักการเมืองชาวรัสเซียผู้เปิดโปงปูตินที่กำลังหลบหนีไปลี้ภัยในยูเครน บริเวณทางเท้าในกรุงเคียฟเมื่อเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งยูเครนประณามว่าเป็น “พฤติการณ์ของการก่อการร้ายโดยรัฐ”
ประธานาธิบดีเรเจป แอร์โดอัน ของตุรกี ซึ่งเป็นนักประชานิยมแนวอิสลาม (Islamist populist) คนหนึ่ง ก็ประกาศพลังอำนาจของเขาโดยใช้การกดขี่ปราบปรามอย่างนองเลือด และรวมถึงการทำสงครามครั้งใหม่กับชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดในประเทศของเขา เขาวาดภาพให้เห็นไปว่าชาวเคิร์ดเป็นมะเร็งร้ายภายในร่างกายทางการเมืองของประเทศชาติ ซึ่งสมควรที่จะต้องทำลายลบล้างอัตลักษณ์ของชาวเคิร์ดให้หายสูญไป ทำนองเดียวกับที่พวกผู้ปกครองสมัยก่อนในตุรกีได้เคยกำจัดกวาดล้างชาวอาร์เมเนียมาแล้ว นอกจากนั้นตั้งแต่กลางปี 2016 ภายหลังเหตุการณ์มีผู้พยายามก่อรัฐประหารโค่นล้มเขาแต่ไม่สำเร็จ เขายังสั่งดำเนินการกวาดล้างจับกุมคุมขังและไล่ออกปลดออกพวกข้าราชการ, นักหนังสือพิมพ์, ครูอาจารย์, และนายทหารจำนวนถึงราว 50,000 คน จนกระทั่งเรือนจำทั้งหลายของตุรกีเต็มแน่นแออัด และในการกวาดล้างรอบนี้มีการใช้ความโหดเหี้ยมต่างๆ ทั้งการทรมานและการข่มขืน
ที่อินโดนีเซีย ในปี 2014 ปราโบโว สุบิอานโต นายพลเกษียณอายุราชการ เกือบๆ จะคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศมาได้สำเร็จทีเดียว จากการรณรงค์หาเสียงแบบนักประชานิยมโดยป่าวร้องเรื่อง “ความเข้มแข็งและระเบียบเรียบร้อยในสังคม” อันที่จริงแล้ว ชีวิตในช่วงรับราชการทหารของปราโบโวก็เปียกชุ่มโชกอยู่ในความรุนแรงดังกล่าวอยู่แล้ว เมื่อปี 1998 ตอนที่ระบอบปกครองเผด็จการของซูฮาร์โต ผู้เป็นพ่อตาของเขา อยู่ในช่วงใกล้จะล้มครืนลงมา ปราโบโว ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้บังคับการเหล่าทหารรบพิเศษ “โคปัสซุส เรนเจอร์” (Kopassus Rangers) ได้จัดฉากทำให้มีการลักพาตัวและหายสาปสูญของนักศึกษาที่เป็นนักเคลื่อนไหวไปสิบกว่าคน, การข่มขืนทารุณผู้หญิงเชื้อจีน 168 คน (เป็นพฤติการณ์ที่มุ่งยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางเชื้อชาติ), และการเผาศูนย์การค้า 43 แห่งและอาคาร 5,109 แห่งในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 1,000 คน
สำหรับที่ฟิลิปปินส์ ในระหว่างเดือนแรกๆ ที่ขึ้นครองอำนาจ ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีใหม่ๆ หมาดๆ ได้เปิดฉากทำสงครามปราบปรามการค้ายาเสพติดตามชุมชนแออัดของเมืองใหญ่ อย่างที่ได้โฆษณาป่าวร้องอย่างเอิกเกริก ด้วยการเปิดทางสะดวกให้แก่ตำรวจและกลุ่มใช้กำลังลงโทษผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเองแบบศาลเตี้ยในทั่วประเทศ โดยที่การณรงค์เช่นนี้แค่ช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกก็ได้มีการสังหารเข่นฆ่าคนแบบนอกระบบยุติธรรมไปแล้วอย่างน้อย 7,000 คน ร่างของพวกเหยื่อเหล่านี้ของเขามักถูกทิ้งเอาไว้ตามท้องถนนในกรุงมะนิลา เพื่อเป็นการตักเตือนคนอื่นๆ และก็เป็นเสมือนการวางเงินมัดจำให้แก่คำมั่นสัญญาของดูเตอร์เตที่จะสร้างประเทศชาติซึ่งมีระเบียบเรียบร้อยขึ้นมาใหม่
ที่จริงแล้วเขาไม่ใช่เป็นนักประชานิยมคนแรกในเอเชียที่เลือกเดินไปตามเส้นทางเช่นนี้หรอก เมื่อปี 2003 นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ของไทย ได้เปิดฉากทำสงครามปราบปรามการใช้สารเมทแอมเฟทามีน (ยาบ้า –ผู้แปล) โดยมิชอบ และเพียงช่วงระยะเวลาแค่ 3 เดือนภายใต้การปกครองของทักษิณ ก็มีการเข่นฆ่าด้วยวิธีนอกกระบวนการยุติธรรมต่อผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติดไป 2,275 คน บ่อยครั้งที่ศพของพวกเขาถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ในสถานที่ซึ่งพวกเขาถูกสังหาร ราวกับว่ามันคือการอุทิศอย่างบิดเบี้ยวต่อพลังอำนาจของเขา
ตัวอย่างการที่พวกนักประชานิยมเหล่านี้ก่อการเข่นฆ่าสังหารอย่างนองเลือด อีกทั้งยังน่าจะเกิดขึ้นติดตามมามากกว่านี้อีก --รวมทั้งสิ่งที่อาจจะมีการดำเนินการขึ้นมาในวาระแห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์— ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาหลายๆ ประการ ได้แก่ พลวัตอะไรที่อยู่เบื้องหลังการกระตุ้นเร่งเร้าให้ไปสู่ความรุนแรงซึ่งดูเหมือนเป็นตัวขับดันอันแรงกล้าของขบวนการเช่นนี้ด้วย? ทำไมถ้อยคำวาทะแสดงความเกลียดชังรุนแรงในการรณรงค์ของพวกขบวนการทางการเมืองนักประชานิยม จึงได้แปรเปลี่ยนไปเป็นการใช้ความรุนแรงกันจริงๆ อยู่บ่อยครั้งในทันทีที่นักประชานิยมสามารถกำชัยชนะได้ขึ้นครองอำนาจ? และทำไมความรุนแรงเช่นนั้นจึ่งพุ่งเป้าสม่ำเสมอไปที่พวกศัตรูซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตัวคุกคามการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวของประชาคมแห่งชาติตามที่จินตนาการเชื่อถือศรัทธากัน?
การที่พวกเขามีความยึดมั่นว่าจำเป็นต้องทำการ “พิทักษ์ปกป้อง” ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นประดาอิทธิพลต่างด้าวที่มีภัยอันตรายร้ายแรงทั้งหลาย ทำให้ลักษณะโดดเด่นประการหนึ่งซึ่งนิยามจำกัดความขบวนการนักประชานิยมเหล่านี้ ก็คือการที่พวกเขาจำเป็นจะต้องมี “ศัตรู” ในทางกลับกัน ความจำเป็นในเรื่องนี้ก็ซึมซ่านอาบอิ่มพวกเขาด้วยความยึดมั่นอย่างแทบควบคุมไม่ได้ว่า ต้องมีความขัดแย้ง(กับศัตรู) ซึ่งยอดเยี่ยมเหนือล้ำกว่าภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือยอดเยี่ยมเหนือล้ำกว่าแผนการทางการเมืองอันสมเหตุสมผลทั้งหลาย
การที่จะตระหนักถึงแนวโน้มทางการเมืองที่กำลังก่อให้เกิดความวิตกกังวลกันอยู่นี้อย่างถูกต้องถ่องแท้ จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจว่า ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งที่แน่นอนในประวัติศาสตร์ พลังต่างๆ ของโลกมีการผลิตพวกผู้นำนักประชานิยมรุ่นหนึ่งซึ่งมีศักยภาพที่จะยึดมั่นซึมซ่านอยู่ในการ “พิทักษ์ปกป้อง” ประเทศชาติ และสร้าง “ศัตรู” ของประเทศชาติเช่นนี้ขึ้นมาได้อย่างไร โดยที่สำหรับใน ช่วงขณะนี้แล้ว น่าจะไม่มีตัวอย่างอื่นใดที่ดียิ่งไปกว่าการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นมาในฟิลิปปินส์
ช่วงระยะเวลาครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาท่ามกลางการเลือกตั้งนองเลือดครั้งแล้วครั้งเล่าในฟิลิปปินส์ ได้มีนักประชานิยม 2 คน คือ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส กับ โรดริโก ดูเตอร์เต คว้าชัยชนะด้วยพลังอำนาจอันโดดเด่นผิดธรรมดา โดยการผสมผสานการเมืองระดับสูงแห่งการเดินหมากทางการทูตระดับระหว่างประเทศ เข้ากับการเมืองระดับต่ำของการแสดงออกซึ่งความรุนแรง, มีศพของผู้เสียชีวิตนอนกระจายเกลื่อนเพื่อสร้างความหวาดกลัวในฐานะที่เป็นซิกเนเจอร์แห่งความเหี้ยมโหดของพวกเขา ทั้งนี้การสำรวจประวัติศาสตร์ช่วงตรงนี้อย่างเร็วๆ อาจสามารถให้ภาพคร่าวๆ ที่ยังไม่ถึงกับลงตัวทีเดียวนัก ของอนาคตทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นได้ในสหรัฐอเมริกา
ลัทธิประชานิยมในฟิลิปปินส์: ยุคมาร์กอส
ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ เฟอร์ดินาน มาร์กอส มักถูกจดจำระลึกกันได้มากในฐานะที่เป็น “คนป่วยโรคจิตชอบขโมย” (kleptocrat) ซึ่งได้ปล้นชิงประเทศชาติของเขาและสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้ตัวเองอย่างไม่มีความละอายใจใดๆ (โดยมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจากการค้นพบว่าภรรยาของเขามีรองเท้าอยู่ในครอบครองถึง 3,000 คู่) แต่ในความเป็นจริงนั้น เขาเป็นนักประชานิยมผู้ฉลาดหลักแหลม มีความชำนิชำนาญอย่างสมบูรณ์แบบเป็นเลิศในการใช้ความรุนแรงในเชิงสัญลักษณ์
ขณะที่วาระแห่งการเป็นประธานาธิบดีตามกฎหมายของเขากำลังจะสิ้นสุดลงในสิ้นปี 1972 มาร์กอส –ซึ่งก็เหมือนๆ กับนักประชานิยมจำนวนมากที่มองตัวเขาเองว่าเป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากโชคชะตาให้เป็นผู้ช่วยชีวิตประชาชนของเขาจากความหายนะ – ได้ให้กองทัพประกาศใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 23 กันยายน 1972 ต่อจากนั้นเขาจับกุมคุมขังพวกที่คัดค้านเขาเป็นจำนวนราว 50,000 คน ซึ่งรวมถึงวุฒิสมาชิกหลายคนที่ได้เคยขัดขวางร่างกฎหมายที่เขาต้องการให้ผ่าน และพวกนักเขียนคอลัมน์ซุบซิบที่ล้อเลียนภรรยาผู้ชอบเสแสร้งแกล้งทำมารยาของเขา
ระยะเดือนแรกๆ แห่งระบอบเผด็จการของมาร์กอส ในทางเป็นจริงแล้วไม่ค่อยมีความรุนแรงจากฝีมือทางการอะไรนัก แต่แล้วเมื่อตอนก่อนรุ่งสางของวันที่ 15 มกราคม 1973 พวกเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อ่านคำสั่งให้ประหารชีวิตซึ่งลงนามโดยประธานาธิบดี และจับตัว ลิม เสง (Lim Seng) ชาวจีนโพ้นทะเลที่เป็นเจ้าของโรงงานผลิตเฮโรอีน มัดเอาไว้กับเสาในค่ายทหารแห่งหนึ่งที่กรุงมะนิลา ท่ามกลางกลุ่มช่างภาพหนังสือพิมพ์ที่คอยยืนถ่ายรูปถ่ายภาพยนตร์ข่าวอยู่ข้างๆ กัน หมู่ทหารเพชฌฆาตจำนวน 8 คนก็ใช้ปืนเล็กยาวของพวกเขายิงเป้าเด็ดชีวิตชายผู้นี้ ฟิล์มภาพยนตร์อันน่าตื่นเต้นที่มองเห็นห่ากระสุนกำลังเจาะเปิดหน้าอกของเหยื่อถูกนำออกฉายครั้งแล้วครั้งเล่าไม่รู้จบทั้งทางโทรทัศน์และในโรงภาพยนตร์ โดยเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามุ่งที่จะแสดงออกอย่างมีชีวิตชีวาให้ตระหนักถึงพลังอำนาจของผู้เผด็จการคนใหม่คนนี้ ขณะเดียวกันก็เป็นการดึงดูดมุ่งปลุกกระแสลัทธิเหยียดเชื้อชาติต่อต้านคนจีนซึ่งติดตรึงฝังแน่นอยู่ในฟิลปปินส์อีกด้วย ลิม เสง จะกลายเป็นเหยื่อเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ถูกประหารชีวิตตามกฎหมายในตลอดระยะเวลา 14 ปีแห่งระบอบเผด็จการมาร์กอส อย่างไรก็ดี การเข่นฆ่าแบบศาลเตี้ยนอกกระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มาร์กอสเฉลียวฉลาดมากในการใช้พวกฐานทัพสหรัฐฯอันใหญ่โตมหึมาที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ มะนิลา มาเป็นหมากต่อรองทำให้คณะบริหารของประธานาธิบดีอเมริกัน 3 ชุดต่อเนื่องกัน ยังคงต้องให้ความสนับสนุนการปกครองแบบเผด็จอำนาจ (และการนองเลือดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ) ของเขาต่อไป แม้กระทั่งนโยบายมุ่งชูเรื่องสิทธิมนุษยชนของประธานาธิบดีจิมมี่ คารืเตอร์ ก็ยังถูกลบล้างหมดประสิทธิภาพไปเลย ทว่าหลังจากใช้ระบอบเผด็จการมาได้ราว 1 ทศวรรษ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ก็เริ่มต้นพังครืน ทั้งจากการใช้ “ทุนนิยมเล่นพรรคเล่นพวก” (crony capitalism) อย่างหนักข้อ และจากการที่พวกฝ่ายค้านทางการเมืองเริ่มท้าทายการสร้างภาพลักษณ์ของมาร์กอสให้ตนเองกลายเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกสรรจากโชคชะตาฟ้าประทาน
เพื่อขุนเลี้ยงเอาอกเอาใจหรือไม่ก็ปราบปรามบังคับประชากรที่ดื้อรั้นควบคุมยากยิ่งขึ้นทุกที ไม่ช้าไม่นานมาร์กอสก็หันไปอาศัยความรุนแรงแบบดิบๆ เถื่อนๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ พวกกองกำลังความความมั่นคงของเขาได้กระทำสิ่งที่ถูกเรียกขานว่าเป็น “การกู้ภัย” (salvagings) เป็นจำนวนมากกว่า 2,500 ครั้ง (หรือเท่ากับ 77% ของการสังหารแบบศาลเตี้ย 3,257 รายในระหว่างเวลา 14 ปีแห่งการเป็นผู้เผด็จการของเขา) ศพที่มีร่องรอยของการถูกทรมานมักถูกนำไปทิ้งเอาไว้ตามย่านจัตุรัสสาธารณะ หรือตามสี่แยกที่จอแจแออัด เพื่อที่ผู้ผ่านไปมาจะสามารถอ่านคำจารึกแห่งความเหี้ยมโหดสยดสยองใน “รอยแผลศักดิ์สิทธิ์” ของศพเหล่านี้ ในเมืองหลวงมะนิลาซึ่งมีกำลังตำรวจเพียง 4,000 คนต่อชาวบ้านชาวเมืองจำนวน 6 ล้านคน ระบอบปกครองมาร์กอสได้ตั้ง “เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองลับ” ขึ้นมาช่วยเหลือเป็นจำนวนหลายร้อยคน คนเหล่านี้เองเป็นผู้รับผิดชอบการยิงสังหารตรงจุดเกิดเหตุเป็นจำนวนมากกว่า 30 รายทีเดียว เฉพาะเพียงแค่ช่วงเดือนพฤษภาคม 1985 เดือนเดียว อันเป็นเดือนแรกของโครงการนี้
อย่างไรก็ดี ผลสะเทือนของความรุนแรงแบบนักประชานิยมในเวอร์ชั่นของมาร์กอสนี้ ไปๆ มาๆ ก็เอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่นั่นเอง กล่าวคือ ขณะที่ตอนเริ่มต้นใช้กฎอัยการศึก มันดูมีประสิทธิภาพมากเมื่อประชาชนยังเรียกร้องต้องการความสงบเรียบร้อยกันอยู่ ทว่าพอถึงตอนท้ายๆ มันกลับก่อให้เกิดผลเสียหาย เมื่อชาวฟิลิปปินส์หวนกลับมาคิดถึงเสรีภาพที่สูญเสียไปแล้วกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวนี้ไม่ช้าไม่นานก็นำไปสู่การล้มครืนของมาร์กอสในการปฏิวัติ “พลังประชาชน” (people power) อันน่าตื่นตาตื่นใจครั้งแรก ซึ่งจะติดตามมาด้วยกระแสท้าทายระบอบปกครองเผด็จการตามที่อื่นๆ ในโลกด้วย ตั้งแต่ปักกิ่งไปจนถึงเบอร์ลิน
ลัทธิประชานิยมในฟิลิปปินส์: ความรุนแรงของดูเตอร์เต
โรดริโก ดูเตอร์เต เป็นบุตรชายของผู้ว่าการจังหวัดในท้องที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง ตอนต้นๆ เขาปักหลักสร้างอาชีพทางการเมืองด้วยการเป็นนายกเทศมนตรีนครดาเวา (Davao) สถานที่เกิดความรุนแรงอย่างเรื้อรังซึ่งได้ทิ้งรอยประทับอย่างถาวรแน่นแฟ้นเอาไว้ตัวตนทางการเมืองของเขา
ในปี 1984 หลังจากกองทัพประชาชนใหม่ (New People’s Army) ของพวกคอมมิวนิสต์ ใช้ดาเวาเป็นสถานที่ทดสอบการทำสงครามจรยุทธ์ในเมือง (urban guerilla warfare) จำนวนคดีฆาตกรรมในนครนี้ก็เพิ่มพรวดขึ้นเท่าตัวเป็น 800 ราย ในจำนวนนี้เป็นการลอบสังหารตำรวจ 150 คน เพื่อสกัดทัดทานพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งสามารถครอบครองบางส่วนของเมืองเอาไว้ได้ ฝ่ายทหารได้ระดมเอาพวกอาชญากรและอดีตคอมมิวนิสต์มาจัดตั้งเป็นหน่วยล่าสังหารนอกกฎหมาย ในการรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายที่รุนแรงนองเลือด ตอนที่ผมไปเยือนดาเวาในปี 1987 เพื่อตรวจสอบสืบสวนการเข่นฆ่าของหน่วยล่าสังหารนั้น นครทางภาคใต้ไกลปืนเที่ยงของฟิลิปปินส์แห่งนั้นก็อบอวลด้วยบรรยากาศแห่งความโดดเดี่ยวอ้างว้างและความสิ้นหวังเรียบร้อยแล้ว
ภายในบริบทที่มีการเข่นฆ่ากันแบบศาลเตี้ยทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นี้เอง โรดริโก ดูเตอร์เตซึ่งเวลานั้นอายุ 33 ปี ได้เปิดฉากอาชีพทางการเมืองของเขาด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครดาเวา นั่นเป็นปี 1988 เป็นการเริ่มต้นสมัยแรกของการดำรงตำแหน่งนี้แบบไม่ได้ต่อเนื่องรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 7 สมัยและรวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 21 ปี จวบจนกระทั่งเขาชนะการเลือกตั้งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศในปี 2016 การลงชิงชัยเป็นนายกเทศมนตรีดาเวาครั้งแรกของเขานั้นมีการแข่งขันอย่างดุเดือด และเขามีชัยเหนือคู่แข่งแบบฉิวเฉียด โดยได้คะแนนเสียงไปเพียง 26% เท่านั้น
ราวๆ ปี 1996 มีรายงานว่าเขาระดมจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธใช้อำนาจศาลเตี้ยของเขาเองขึ้นมา โดยเรียกขานกันว่า หน่วยล่าสังหารเมืองดาเวา (Davao Death Squad) กองกำลังนี้เองจะเป็นผู้รับผิดชอบการเข่นฆ่าแบบนอกกระบวนการยุติธรรมจำนวนมากในเมืองนี้จากทั้งหมด 814 รายในช่วงเวลา 1 ทศวรรษถัดไป ร่างของพวกเหยื่อจะถูกทิ้งเอาไว้ตามท้องถนนของเมือง ในสภาพที่ใบหน้าถูกพันเอาไว้อย่างบิดเบี้ยวด้วยเทปปิดกล่อง ตัวดูเตอร์เตเองน่าจะเคยลงมือฆ่าเหยื่อของหน่วยล่าสังหารนี้อย่างน้อยก็คนหนึ่ง ทั้งนี้หน่วยล่าสังหารเมืองดาเวานอกเหนือจากทำหน้าที่กวาดล้างพวกอาชญากรแล้ว ยังมีโอกาสอันเหมาะเจาะที่จะกำจัดพวกคู่แข่งทางการเมืองของนายกเทศมนตรีไปด้วย
ระหว่างรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี 2016 ดูเตอร์เตจะชี้ไปที่การเข่นฆ่าในนครดาเวาด้วยความภาคภูมิใจ พร้อมกับให้สัญญาว่าจะทำสงครามปราบปรามยาเสพติดซึ่งจะสังหารชาวฟิลิปปินส์ไปสัก 100,000 คนถ้าหากจำเป็น จากการประกาศเช่นนี้ เท่ากับเขากำลังดึงเอาเสียงก้องสะท้อนในประวัติศาสตร์จากยุคมาร์กอสมาใช้ประโยชน์ เป็นการหยิบยืมความล้ำลึกทางการเมืองบางประการของยุคสมัยนั้นมาสู่โวหารวาทศิลป์อันรุนแรงของเขาเอง ด้วยการกล่าวยกย่องสรรเสริญมาร์กอสอย่างเจาะจงชัดเจน พร้อมกับให้สัญญาที่จะนำเอาศพของมาร์กอสมาบรรจุฝังในสุสานวีรชนแห่งชาติ (National Heroes Cemetery) ในกรุงมะนิลา ตลอดจนพร้อมสนับสนุนให้ เฟอร์นินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ เข้าดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี ดูเตอร์เตก็กำลังแสดงตนเป็นผู้รับช่วงสืบต่อทางการเมืองคนหนึ่งของประดาบุรุษเหล็กนักประชานิยมทั้งหลายที่มีจอมเผด็จการยุคเก่าอย่างมาร์กอสเป็นตัวอย่างอันโดดเด่น ในช่วงจังหวะเวลาที่ชาวฟิลิปปินส์กำลังดิ้นรนโหยหาความหวังใหม่แห่งการมีชีวิตที่อยู่ดีมีเกียรติ
ครั้นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีดูเตอร์เตก็รีบเร่งเริ่มต้นการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดตามที่เขาให้สัญญาไว้ และร่างไร้ชีวิตก็กลายเป็นของธรรมดาสามัญซึ่งมองเห็นกันตามท้องถนนในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ บางครั้งข้างๆ ศพ ก็มีแผ่นกระดาษแข็งทำขึ้นอย่างหยาบๆ ง่ายๆ เขียนข้อความว่า “ผมเป็นนักค้ายา” หรือบางทีใบหน้าของศพก็ถูกพันด้วยเทปปิดกล่อง ที่เวลานี้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้โดยหน่วยล่าสังหารเมืองดาเวาไปแล้ว ถึงแม้องค์การฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ (Human Rights Watch) ประกาศว่า สงครามปราบปรามยาเสพติดของเขาคือ “ความหายนะ” ทว่าชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากมายถึง 85% ของผู้ที่ตอบคำถามการสำรวจความคิดเห็น ยังคงบอกว่ามีความ “พึงพอใจ” ราวกับว่ากำลังมองดูศพแต่ละศพที่นอนจมกองเลือดอยู่ตามท้องถนนในเมือง ว่าเป็นพยานยืนยันคำมั่นสัญญาของประธานาธิบดีผู้นี้ที่จะสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมขึ้นมาใหม่
ในเวลาเดียวกันนั้น ดูเตอร์เตยังกำลังทำแบบเดียวกับที่มาร์กอสเคยทำมาในอดีต นั่นคือการใช้การทูตในสไตล์ใหม่ผิดแผกจากเดิม มาเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่อำนาจแบบนักประชานิยมอย่างไม่มีขีดจำกัด กล่าวคือ ท่ามกลางความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตัน ดูเตอร์แตจัดแจงปรับปรุงยกระดับฐานะต่อรองของประเทศของเขาด้วยการวางตัวเองให้ออกห่างจากความเป็นพันธมิตรอันเก่าแก่ยาวนานที่ฟิลิปปินส์มีอยู่กับสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมของสมาคมอาเซียนในปี 2016 เมื่อเขาถูกบารัค โอบามา วิพากษ์วิจารณ์เรื่องสงครามปราบปรามยาเสพติด ดูเตอร์เตก็ตอบโต้ด้วยการพูดโพล่งโผงผางด่าใส่ประธานาธิบดีอเมริกันผู้นี้ว่า “ลูกกะหรี่”
อีกเดือนหนึ่งต่อมาระหว่างไปเยือนปักกิ่งอย่างเป็นรัฐพิธี ดูเตอร์เตป่าวประกาศต่อสาธารณชนถึง “การแยกขาดจากสหรัฐฯ” ด้วยการมองเมินไม่ใยดีกับชัยชนะอันงดงามเมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศชาติของเขามีเหนือจีน ในการฟ้องร้องที่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรุงเฮก เกี่ยวกับข้อพิพาททางกฎหมายเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันเหนือดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ดูเตอร์เตก็ได้ข้อตกลงการค้าจากจีนมูลค่ารวม 24,000 ล้านดอลลาร์กลับบ้าน พร้อมกับความรู้สึกที่ว่าเขากำลังช่วยจัดตั้งระเบียบโลกใหม่ขึ้นมา
ในเดือนมกราคมปีนี้ หลังจากตำรวจของเขาทรมานและสังหารนักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ผู้หนึ่ง ด้วยข้ออ้างบังหน้าว่าเป็นการปราบปรามยาเสพติด ดูเตอร์เตจึงถูกบังคับให้ต้องยุติการเข่นฆ่าสังหารทั่วประเทศนี้อย่างฉับพลันทันที อย่างไรก็ดี เขาก็เหมือนๆ กับมาร์กอสผู้เป็นตัวอย่างที่เขาลอกเลียนกระทำตาม ลัทธิประชานิยมของดูเตอร์เตก็ดูเหมือนบรรจุเอาไว้ด้วยความหิวกระหายในความรุนแรงอย่างไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ และด้วยเหตุนี้เองมันจึงกินเวลาไม่นานนักก่อนที่จะมีศพถูกทิ้งตามท้องถนนในมะนิลากันอีกคำรบหนึ่ง ทำให้ยอดจำนวนคนตายพุ่งทะลุผ่านหลัก 8,000 ไปแล้ว
ความสำเร็จและความล้มเหลวของบุรุษเหล็กนักประชานิยม
ประวัติความเป็นมาของบุรุษเหล็กชาวฟิลิปปินส์เหล่านี้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เปิดเผยให้เห็นถึงด้าน 2 ด้านที่ถูกมองข้ามเรื่อยมาของปรากฏการณ์แห่งลัทธิประชานิยมของโลกซึ่งจนบัดนี้ก็ยังขาดการนิยามจำกัดความให้ชัดเจน กล่าวคือ บทบาทของสิ่งที่อาจเรียกว่า ความรุนแรงทางการกระทำเพื่อเป็นการแสดงความเข้มแข็งภายในประเทศ และความสำเร็จทางการทูตเพื่อแสดงอิทธิพลบารมีระหว่างประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในฐานะเป็นตัวเสริม การสร้างความสมดุลระหว่างเสา 2 เสาแห่งอำนาจอันสำคัญยิ่งยวดนี้ได้อย่างชำนิชำนาญแค่ไหน น่าจะสามารถใช้เป็นมาตรวัดประการหนึ่งในการคาดเก็งชะตากรรมของประดาบุรุษเหล็กนักประชานิยมในส่วนต่างๆ หลายหลากของพื้นพิภพนี้ได้
ในกรณีของรัสเซีย ความแข็งแกร่งของปูตินซึ่งแสดงออกโดยผ่านการฆาตกรรมพวกปรปักษ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ผ่านการคัดสรรแล้วบางคน และด้วยการรุกรานจอร์เจียและยูเครนได้อย่างชนิดที่ไม่ประสบการขัดขวางทัดทาน ความสำเร็จอย่างมีความสมดุลทั้งด้านภายในและภายนอกประเทศเช่นนี้ ทำให้ประเทศชาติของเขาทั้งๆ ที่มีเศรษฐกิจอันอ่อนแอจวนพังและมีขนาดใหญ่แค่พอๆ กับอิตาลีเท่านั้น แต่ก็แลดูเหมือนกับก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจยิ่งใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งยังน่าที่จะช่วยแผ่ขยายการปกครองแบบเผด็จการของเขาให้ยืนยาวต่อไปอีกในอนาคตอันมองเห็นได้
ในตุรกี การที่แอร์โดอันกดขี่ปราบปรามเหล่าศัตรูทางชาติพันธุ์และทางการเมืองอย่างเหี้ยมโหด ได้กลายเป็นการทำลายร้ายแรงต่อความพยายามของเขาที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อีกทั้งทำให้ตัวเขาจ่อมจมลงไปในสงครามที่ไม่มีทางชนะกับพวกกบฏชาวเคิร์ด รวมทั้งสร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่ความเป็นพันธมิตรที่เขามีอยู่กับสหรัฐฯเพื่อต่อต้านคัดค้านลัทธิเคร่งจารีตอิสลาม –ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนสามารถที่จะกลายเป็นกำแพงขวางกั้น ไม่ให้เขาประสบความสำเร็จในความพยายามที่จะทำให้ตนเองเป็นผู้นำของประเทศชาติที่กลายเป็นมหาอำนาจศุ้วไม่มีใครขัดขวางทัดทานได้
ในอินโดนีเซีย ปราโบโว สุบิอานโต มีอันล้มเหลวตั้งแต่ก้าวเดินก้าวแรกอันสำคัญยิ่งของเขา นั่นคือ การสร้างฐานภายในประเทศให้ใหญ่เพียงพอสำหรับการนำพาตัวเขาเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ส่วนหนึ่งเนื่องจากเสียงเรียกร้องต้องการความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองของเขานั้น ไม่ได้ดังก้องสะท้อนเป็นที่รื่นหูสาธารณชนแต่อย่างใด เนื่องจากผู้คนจำนวนมากยังคงสามารถจดจำได้ถึงความพยายามที่จะไขว่คว้าอำนาจในช่วงแรกๆ ของเขา ซึ่งเป็นวิธีสร้างความรุนแรงอันน่าขนลุกที่มุ่งป่วนจาการ์ตาด้วยกรณีข่มขืน, ไฟไหม้, และการเข่นฆ่านับเป็นร้อยๆ ราย
สำหรับที่ฟิลิปปินส์ ถ้าไม่มีความสนับสนุนจากประชาชนอันเกิดจากการที่เขาสามารถใช้ความรุนแรงภายในประเทศได้อย่างโดดเด่นชัดเจนแล้ว ความพยายามที่จะให้ได้รับความสนับสนุนจากจีนของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่โดยพฤตินัยแล้วเท่ากับเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิ์ของประเทศของเขาเหนือพื้นที่ทำประมงอันอุดมสมบูรณ์ตลอดจนแหล่งน้ำมันสำรองในทะเลจีนใต้ ย่อมมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเผชิญกับปฏิกิริยาต่อต้านคัดค้านจากประชาชน, การก่อรัฐประหารของฝ่ายทหาร, หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ดี ความเชี่ยวชาญของดูเตอร์เตในการจัดวางความสมดุลให้พอเหมาะระหว่างการเดินหมากในทางระหว่างประเทศ กับการแสดงออกซึ่งความนองเลือดภายในประเทศ ก็ทำให้เขากลายเป็นบุรุษเหล็กที่ประสบความสำเร็จของฟิลิปปินส์ อย่างน้อยก็อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ในเวลานี้ยังแทบมองไม่เห็นเลยว่าจะมีอะไรมาทัดทานขัดขวางอำนาจของเขา
เนื่องจากกองทัพฟิลิปปินส์นั้นโดยสาระสำคัญแล้วเป็นกองทัพที่อ่อนแอ และนี่ก็ได้จำกัดหนทางในการสำแดงความรุนแรงแบบนักประชานิยมของดูเตอร์เต ให้อยู่เพียงแค่การใช้ตำรวจเข่นฆ่าสังหารพวกนักค้ายาเสพติดจนๆ ข้างถนน ทว่า สำหรับโดนัลด์ ทรัมป์ เขาไม่ได้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดทำนองนี้เลย ถ้ารัฐสภาและศาลยุติธรรมยังคงคอยสกัดทัดทานพิษร้ายอันเกิดจากการโจมตีใส่กลุ่มคนภายในประเทศทั้งหลายของเขา ไม่ว่าจะเป็นชาวมุสลิม, คนเม็กซิกัน, หรือศัตรูในจินตนาการกลุ่มอื่นๆ และวาระการดำรงตำแหน่งของเขายังคงต้องประสบความเพลี่ยงพล้ำปราชัยทำนองเดียวกับความอับอายขายหน้าจากความพยายามที่จะรื้อทิ้งแผนประกันสุขภาพโอบามาแคร์เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่มมากขึ้นอีก เขาก็อาจพรักพร้อมที่จะหันไปพึ่งพาอาศัยการผจญภัยทางทหารอันรุนแรงภายนอกประเทศ ไม่เพียงเฉพาะในอิรัก, ซีเรีย, เยเมน, อัฟกานิสถาน, และลิเบียเท่านั้น แต่ยังกระทั่งที่อิหร่านด้วย โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงเกาหลีเหนือ ทั้งนี้เพื่อพยายามที่จะฟื้นฟูออร่าความเป็นนักประชานิยมแห่งชาติมหาอำนาจผู้ยโสโอหังของเขา ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว เขาก็ย่อมจะไม่เหมือนกับผู้ที่อาจจะกลายเป็นนักการเมืองประชานิยมคนใดในพื้นพิภพนี้ไม่ว่าคนไหนเลย เนื่องจากทรัมป์สามารถยึดกุมชะตากรรมของผู้คนเป็นล้านๆ นับไม่ถ้วนเอาไว้ในกำมือของเขา
ถ้าหากสิ่งซึ่งนักวิชาการ ไมเคิล ลี พูดเอาไว้ นั่นคือลัทธิประชานิยมจำเป็นที่จะต้องมุ่งไปสู่ “การประจันหน้ากันในวันตัดสินชะตากรรมของโลก” และ “สงครามตามที่ระบุไว้ในตำนาน” ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าถูกต้องแม่นยำแล้ว ในท้ายที่สุดมันก็อาจจะนำ “นักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงถอนรากถอนโคนทั้งระบบ” ของคณะบริหารทรัมป์ ให้ก้าวไปไกลยิ่งกว่าถ้อยคำวาทศิลป์สุดฤทธิ์สุดเดชของพวกเขานักหนา จนกระทั่งเข้าสู่วงจรความรุนแรงในการต่อสู้กับพวกศัตรูต่างชาติ ที่ไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ อย่างไร้จุด สิ้นสุด ทั้งนี้โดยที่จะใช้อาวุธทุกๆ อย่างที่สามารถหามาได้ ไม่ว่าจะเป็น โดรน, กองทหารปฏิบัติการพิเศษ, เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด, กองเรือโจมตี, หรือแม้กระทั่งอาวุธนิวเคลียร์
อัลเฟรด ดับเบิลยู แมคคอยเป็นนักเขียนประจำของเว็บไซต์ “ทอมดิสแพตช์” (TomDispatch) เป็นศาสตราจารย์แฮริงตันทางด้านประวัติศาสตร์ (Harrington Professor of History) ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มที่ปัจจุบันกลายเป็นงานคลาสสิกไปแล้ว นั่นคือเรื่อง The Politics of Heroin: CIA Complicity in the Global Drug Trade ซึ่งติดตามสืบสวนการเชื่อมต่อโยงใยกันของการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายกับการปฏิบัติลับต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 50 ปี รวมทั้งผลงานชิ้นอื่นๆ อีกจำนวนมาก หนังสือเล่มใหม่ล่าสุดของเขา ชื่อ In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power (สำนักพิมพ์ Dispatch Books/Haymarket) มีกำหนดตีพิมพ์จำหน่ายในเดือนกันยายนนี้ สำหรับบทความชิ้นนี้ปรับปรุงจากปาฐกถาที่เขาแสดงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ณ ศูนย์โลกที่สามศึกษา (Third World Studies Center) มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
(จากเว็บไซต์ TomDispatch.com)
A Political Movement’s Violent Pursuit of “Enemies”
By Alfred W. McCoy
02/04/2017
นักประชานิยมไม่ว่าในอดีตอย่าง เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส หรือในปัจจุบันอย่าง โรดริโก ดูเตอร์เต, วลาดิมีร์ ปูติน ประสบความสำเร็จแค่ไหนที่สำคัญแล้วขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจแสดงความรุนแรงกระทั่งเข่นฆ่านองเลือด “ศัตรู” ภายในประเทศ ประสานเสริมส่งด้วยการเดินหมากในทางระหว่างประเทศ จากการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังเผชิญแรงต้านภายในสหรัฐฯจนกระทั่งก้าวขาไม่ค่อยออก จึงน่าวิตกว่าเขาอาจจะพยายามหันไปฟื้นฟูเพิ่มเติม “ออร่า” ของตัวเองขึ้นมาใหม่ ด้วยการออกผจญภัยโดยใช้ความรุนแรงในต่างแดน
ในปี 2016 มีอะไรบางอย่างที่พิเศษผิดธรรมดาเกิดขึ้นมาในแวดวงการเมืองของประเทศต่างๆ หลายหลากในตลอดทั่วโลก ผู้นำนักประชานิยมรุ่นใหม่ได้ก้าวผงาดขึ้นมาจากการเป็นแค่ส่วนเกินไร้ความหมายไร้ความสำคัญของประดาชาติที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย และถึงขนาดสามารถไขว่คว้าเอาชัยชนะได้เข้าครองอำนาจ โดยที่ใช้เวลาอันรวดเร็วอย่างน่าตื่นใจอีกทั้งยังประสบความสำเร็จในหลายๆ ประเทศภายในเวลาใกล้เคียงกัน จากการรณรงค์ต่อสู้เพื่อช่วงชิงขึ้นครองอำนาจเช่นนี้ พวกเขาก็ได้กลายเป็นปากเสียง (บ่อยครั้งทีเดียวอยู่ในลักษณะของปากเสียงที่แสดงความเจ็บแค้นอย่างรุนแรง) ให้แก่สาธารณชนผู้วิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนทางสังคมของกระแสโลกาภิวัตน์
แม้กระทั่งในสังคมที่ดูมีความแตกต่างห่างไกลกันเป็นคนละขั้ว อย่างสหรัฐฯที่ร่ำรวยล้นเหลือ กับฟิลิปปินส์ที่ยังยากจนข้นแค้น แต่วาทกรรมแบบนักประชานิยมในสายพันธุ์เน้นความรุนแรงทำนองเดียวกัน ก็ได้นำพาเอาผู้สมัคร 2 คนจากซอกหลืบแห่งส่วนเกินทางการเมืองซึ่งดูไม่น่าที่จะคว้าชัยชนะมาได้เลย ให้ก้าวขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ ณ คนละฟากฝั่งกันของมหาสมุทรแปซิฟิก การรณรงค์หาเสียงของ “คนนอก” เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องความร้อนระอุเดือดพล่านอย่างน่าขนพองสยองเกล้า ด้วยเสียงเรียกร้องเพรียกหาความรุนแรงและกระทั่งการเข่นฆ่า
ในขณะที่การรณรงค์แบบนอกคอกก่อกบฏของเขาได้รับโมเมนตัมเหวี่ยงตัวขึ้นสู่กระแสสูง โดนัลด์ ทรัมป์ อภิมหาเศรษฐีระดับหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ก็ได้เคลื่อนไหวก้าวไกลออกไปยิ่งขึ้นอีกหลังจากที่ได้กล่าวคำมั่นสัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่จะสู้รบกับการก่อการร้ายของอิสลามิสต์ด้วยการจับเอาคนเหล่านั้นมาทรมานและด้วยการทิ้งระเบิดใส่อย่างหฤโหด โดยคราวนี้เขาไปถึงขั้นประกาศว่าจะทำการเข่นฆ่าพวกผู้หญิงและเด็กๆ ด้วย “อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องทำกับพวกผู้ก่อการร้ายก็คือ คุณต้องเอาครอบครัวของพวกเขามา เมื่อคุณได้ตัวผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ คุณต้องเอาครอบครัวของพวกเขามาด้วย” ทรัมป์บอกกับโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ (Fox News) “พวกเขาห่วงใยชีวิตของคนเหล่านั้น คุณอย่าหลอกตัวเอง เมื่อพวกเขาบอกว่าพวกเขาไม่แคร์อะไรกับชีวิตของพวกเขา คุณต้องจับเอาครอบครัวของพวกเขามา”
ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ระหว่างการรณรงค์หาเสียงในฟิลิปปินส์ด้วยแผนการสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคมของตัวเขาเอง โรดริโก ดูเตอร์เต ที่เวลานั้นยังเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกล ได้สาบานว่าเขาจะสังหารพวกค้ายาเสพติดในตลอดทั่วทั้งประเทศ และพูดวาดภาพถึงความรุนแรงอย่างชนิดจัดเต็มไม่มีปกปิดอำพรางอะไรกันเลย “ถ้าหากพระผู้เป็นเจ้าทรงเมตตาทำให้ตัวผมได้ขึ้นครองตำแหน่ง (ประธานาธิบดี)” เขาให้สัญญาว่าจะเปิดฉากการรณรงค์ของเขา “ระวังให้ดีเถอะ เพราะจำนวน 1,000 (ของผู้คนที่ถูกสังหารในเวลาที่เขาเป็นนายกเทศมนตรี) จะกลายเป็น 100,000 พวกคุณจะได้เห็นปลาในอ่าวมะนิลา (Manila Bay) อ้วนเอาๆ นั่นคือที่ซึ่งผมจะเอาศพของพวกคุณไปทิ้ง”
การก้าวผงาดขึ้นมาของเนื้อคู่ทางการเมืองและบุรุษเหล็กนักประชานิยมเหล่านี้ ไม่เพียงเป็นการก้องกังวานของสิ่งที่อยู่ล้ำลึกลงไปในวัฒนธรรมทางการเมืองของพวกเขาเองเท่านั้น หากยังเป็นการสะท้อนให้เห็นแนวโน้มในระดับโลกซึ่งทำให้วาทกรรมเปื้อนเลือดของพวกเขากลายเป็นการะบวนทัศน์แห่งขณะปัจจุบันของพวกเรา ทั้งนี้หลังจากผ่านกระบวนการโลกาภิวัตน์ในตลอดระยะเวลาเสี้ยวศตวรรษภายหลังยุคสงครามเย็น พวกคนงานที่ถูกทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลังในตลอดทั่วทั้งโลกก็เริ่มต้นปลุกระดมกันขึ้นมาอย่างโกรธแค้น เพื่อคัดค้านระเบียบทางเศรษฐกิจซึ่งมีแต่ทำให้บรรดาบรรษัทข้ามชาติและชนชั้นนำทางสังคมเท่านั้นที่รู้สึกว่าชีวิตช่างดีเหลือเกิน
ตัวอย่างเช่น ในยุคระหว่างปี 1999 ถึง 2011 สินค้านำเข้าจากจีนได้ขจัดตำแหน่งงานของคนอเมริกันไป 2.4 ล้านตำแหน่ง และกำลังทำให้พวกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ในรัฐนอร์ทแคโรไลนาต้องปิดตัวลง รวมทั้งโรงงานต่างๆ ที่ผลิตกระจกในรัฐโอไฮโอ ตลอดจนพวกบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และบริษัทเหล็กกล้าทั่วทั้งเขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันนั้นเอง ชาติต่างๆ หลายหลากทั่วโลกก็แสดงปฏิกิริยาต่อความเป็นจริงต่างๆ ดังกล่าว ด้วยการประกาศใช้มาตรการจำกัดการนำเข้ารวมกันแล้วประมาณ 2,100 มาตรการ เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียตำแหน่งงานทำนองเดียวกันในประเทศของพวกเขา สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การค้าของโลกได้ทางเป็นจริง ได้เริ่มต้นชะลอตัวลงโดยที่ไม่ได้มีภาวะเศรษฐกิจถดถอยขนาดใหญ่ขึ้นมาด้วยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา
ประวัติศาสตร์เปื้อนเลือดของลัทธิประชานิยม
ตลอดทั่วทั้งยุโรป พวกพรรคการเมืองฝ่ายขวาที่มีแนวทางชาตินิยมเข้มข้น อย่างเช่น เนชั่นแนล ฟรอนต์ ของฝรั่งเศส (French National Front), อัลเทอร์เนทีฟ ฟอร์ เยอรมนี (Alternative for Germany), และ ยูเค อินดีเพนเดนซ์ ปาร์ตี้ (UK Independence Party) ต่างสามารถชนะใจได้คะแนนจากผู้มีสิทธิออกเสียง ด้วยการหว่านเพาะแนวความคิดเชิดชูคนพื้นถิ่น ต่อต้านผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อต้านอิสลาม ในการตอบโต้ต่อกระแสโลกาภิวัตน์ แท้ที่จริงแล้ว ในบรรดาชาติประชาธิปไตยทั้งหลายทั่วโลกด้วยซ้ำ ปรากฏว่าภายในระยะเวลาอันใกล้เคียงกัน พวกนักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองโดยอาศัยแนวทางประชานิยม (populist demagogues)รุ่นอายุหนึ่ง ก็สามารถขึ้นครองอำนาจ, หรือคุกคามทำท่าจะสามารถช่วงชิงอำนาจ, หรือได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น, ไม่ว่าจะเป็น มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) ในฝรั่งเศส, เกียร์ต วิลเดอร์ส (Geert Wilders) ในเนเธอร์แลนด์, วิกตอร์ ออร์บาน (Viktor Orban) ในฮังการี, โดนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐฯ, นเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ในอินเดีย, ปราโบโว สุบิอานโต (Prabowo Subianto) ในอินโดนีเซีย, และโรดริโก ดูเตอร์เต ในฟิลิปปินส์ ตลอดจนคนอื่นๆ อีก
นักเขียนความเรียงชาวอินเดีย พังคาช มิสรา (Pankaj Mishra) เมื่อเร็วๆ นี้ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับความสำเร็จของพวกเขาเหล่านี้เอาไว้ดังนี้: “นักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองยังคงกำลังปรากฏตัวออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในโลกตะวันตกและนอกโลกตะวันตก ขณะที่คำมั่นสัญญาเรื่องความมั่งคั่งไพบูลย์ชนปะทะกับความไม่เสมอภาคแถมยังมีความแตกต่างห่างไกลกันอย่างมากมายมหาศาล ทั้งในเรื่องความมั่งคั่ง, อำนาจ, การศึกษา, และฐานะตำแหน่ง” เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์สามารถนำมาเป็นตัวอย่างแบบฉบับอันเลวร้ายของสภาวการณ์เช่นนี้ได้เป็นอย่างดี ในช่วงเวลา 6 ปีก่อนหน้าที่ดูเตอร์เตเริ่มเปิดฉากรณรงค์แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เศรษฐกิจฟิลิปปินส์สามารถเติบโตขยายตัวได้อย่างน่าประทับใจด้วยอัตราสูงถึง 6% ต่อปี ทว่ากลับยังคงมีชาวฟิลิปปินส์ผู้ยากจนย่ำแย่อยู่ถึง 26 ล้านคนซึ่งต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดด้วยรายได้เพียง 1 ดอลลาร์ต่อวัน ในช่วงปีเหล่านั้น ตระกูลชนชันนำชาวฟิลิปปินส์เพียงแค่ 40 ตระกูลเป็นผู้ที่ฉวยคว้ากวาดเอาราวๆ 76% ของความมั่งคั่งทั้งหมดที่การเติบโตของเศรษฐกิจนี้สร้างขึ้นมา
นักวิชาการ ไมเคิล ลี (Michael Lee) ชี้ว่า ความสำเร็จของผู้นำนักประชานิยมอยู่ที่การใช้วาทศิลป์มานิยามจำกัดความ “ประชาคมแห่งชาติ” ของเขาหรือของเธอ ทั้งด้วยการระบุสิ่งที่ถือว่าเป็น “ลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกัน” และ “ศัตรู” ร่วมอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ของประชาคมแห่งชาตินี้ ไม่ว่า “ศัตรู” ดังกล่าว จะเป็น “ผู้ร้ายนักข่มขืนชาวเม็กซิโก” หรือ “ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิม” ก็ตามที เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การนิยามจำกัดความเช่นนี้มีความคล้ายคลึงอยู่มากกับการที่พวกนาซีได้เคยสร้างความสำนึกถึงตัวตนความเป็นชาติอันทรงพลัง ด้วยการกีดกันไม่เอากลุ่มชนบางกลุ่มเข้ามารวมด้วยทั้งนี้โดยอาศัยวิธีแบ่งแยกด้วย “สายเลือด” ลียังเสนอต่อไปอีกว่า ขบวนการประชานิยมเช่นนี้มีการเผยแพร่ป่าวร้องความปรารถนาร่วมกันที่จะมุ่งไปสู่ “การประจันหน้ากันในวันตัดสินชะตากรรมของโลก” โดยที่จะอาศัย “สงครามตามที่ระบุไว้ในตำนาน” ครั้งสุดท้าย มาเป็น “พาหะของการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติถอนรากถอนโคน”
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พวกนักวิชาการอย่างเช่น ลี ย้ำเน้นถึงวิธีการต่างๆ ที่พวกนักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองโดยอาศัยแนวทางประชานิยม พึ่งพาอาศัยโวหารวาทศิลป์อันดุเดือดรุนแรงเพื่อไปสู่ความสำเร็จของพวกเขา ทว่านักวิชาการเหล่านี้ก็มีความโน้มเอียงที่จะให้ความสนใจน้อยเกินไปเกี่ยวกับลักษณะสำคัญยิ่งอีกด้านหนึ่งของพวกนักประชานิยมในทั่วทั้งโลก นั่นก็คือ การลงมือใช้ความรุนแรงกันจริงๆ ไม่ใช่แค่คำพูด ขบวนการเหล่านี้ในสหรัฐฯและยุโรป อาจจะยังอยู่ในระยะอ่อนๆ (โดยเปรียบเทียบ) ของพวกเขา ทว่าสำหรับในประเทศประชาธิปไตยที่มีระดับการพัฒนาด้อยกว่าในตลอดทั่วโลกแล้ว พวกผู้นำประชานิยมไม่มีความลังเลใจเลยที่จะจารึกพลังอำนาจที่พวกเขาเพิ่งค้นพบใหม่ เอาไว้บนร่างกายที่ถูกย่ำยีทำร้ายของบรรดาเหยื่อของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พวกนักวิชาการอย่างเช่น ลี ย้ำเน้นถึงวิธีการต่างๆ ที่พวกนักปลุกปั่นฉวยโอกาสทางการเมืองโดยอาศัยแนวทางประชานิยม พึ่งพาอาศัยโวหารวาทศิลป์อันดุเดือดรุนแรงเพื่อไปสู่ความสำเร็จของพวกเขา ทว่านักวิชาการเหล่านี้ก็มีความโน้มเอียงที่จะให้ความสนใจน้อยเกินไปเกี่ยวกับลักษณะสำคัญยิ่งอีกด้านหนึ่งของพวกนักประชานิยมในทั่วทั้งโลก นั่นก็คือ การลงมือใช้ความรุนแรงกันจริงๆ ไม่ใช่แค่คำพูด ขบวนการเหล่านี้ในสหรัฐฯและยุโรป อาจจะยังอยู่ในระยะอ่อนๆ (โดยเปรียบเทียบ) ของพวกเขา ทว่าสำหรับในประเทศประชาธิปไตยที่มีระดับการพัฒนาด้อยกว่าในตลอดทั่วโลกแล้ว พวกผู้นำประชานิยมไม่มีความลังเลใจเลยที่จะจารึกพลังอำนาจที่พวกเขาเพิ่งค้นพบใหม่ เอาไว้บนร่างกายที่ถูกย่ำยีทำร้ายของบรรดาเหยื่อของพวกเขา
ตัวอย่างเช่น ตลอดระยะเวลากว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย หนึ่งในผู้เข้าข่ายสมควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่จุดประกายกระแสลัทธิประชานิยมระลอกนี้ขึ้น ได้สาธิตให้เห็นถึงการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเวอร์ชั่น “เปลือยอกโชว์กล้าม” อันมีชื่อเสียงของเขา ด้วยการทำให้แน่ใจว่าพวกปรปักษ์และผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เขาจะต้องพบจุดจบอันเลวร้ายภายใต้สภาวะแวดล้อม “อันลึกลับเป็นปริศนา” กรณีจุดจบอันดำมืดเหล่านี้มีอาทิ การใช้สารกัมมันตรังสี โพโลเนียม 210 (polonium 210) ที่มีพิษร้ายแรงในการเข่นฆ่าอดีตตำรวจลับชาวรัสเซียที่แปรพักตร์ไปอยู่กับฝ่ายตะวันตก อเล็กซานเดอร์ ลิตวิเนนโค (Alexander Litvinenko) ในกรุงลอนดอนเมื่อปี 2006, การยิงสังหาร อันนา โปลิตคอฟสกายา (Anna Politkovskaya) นักหนังสือพิมพ์และนักวิพากษ์วิจารณ์ปูติน ที่ด้านนอกอพาร์ตเมนต์ของเธอในกรุงมอสโกในปีเดียวกัน , การใช้ยาพิษจากพืชบนเทือกเขาหิมาลัยที่หาได้ยากมาเล่นงาน อเล็กซานเดอร์ เปเรปิลิชนี (Alexander Perepilichny) แบงเกอร์และศัตรูตัวกลั่นของปูติน จนเสียชีวิตในกรุงลอนดอนเมื่อปี 2012, การถล่มยิงสังหารผู้นำฝ่ายค้าน บอริส เนมต์ซอฟ (Boris Nemtsov) ในย่านดาวน์ทาวน์ของมอสโกในปี 2015, และการสาดกระสุน 4 นัดเก็บ เดนิส โวโรเนนคอฟ (Denis Voronenkov) นักการเมืองชาวรัสเซียผู้เปิดโปงปูตินที่กำลังหลบหนีไปลี้ภัยในยูเครน บริเวณทางเท้าในกรุงเคียฟเมื่อเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งยูเครนประณามว่าเป็น “พฤติการณ์ของการก่อการร้ายโดยรัฐ”
ประธานาธิบดีเรเจป แอร์โดอัน ของตุรกี ซึ่งเป็นนักประชานิยมแนวอิสลาม (Islamist populist) คนหนึ่ง ก็ประกาศพลังอำนาจของเขาโดยใช้การกดขี่ปราบปรามอย่างนองเลือด และรวมถึงการทำสงครามครั้งใหม่กับชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดในประเทศของเขา เขาวาดภาพให้เห็นไปว่าชาวเคิร์ดเป็นมะเร็งร้ายภายในร่างกายทางการเมืองของประเทศชาติ ซึ่งสมควรที่จะต้องทำลายลบล้างอัตลักษณ์ของชาวเคิร์ดให้หายสูญไป ทำนองเดียวกับที่พวกผู้ปกครองสมัยก่อนในตุรกีได้เคยกำจัดกวาดล้างชาวอาร์เมเนียมาแล้ว นอกจากนั้นตั้งแต่กลางปี 2016 ภายหลังเหตุการณ์มีผู้พยายามก่อรัฐประหารโค่นล้มเขาแต่ไม่สำเร็จ เขายังสั่งดำเนินการกวาดล้างจับกุมคุมขังและไล่ออกปลดออกพวกข้าราชการ, นักหนังสือพิมพ์, ครูอาจารย์, และนายทหารจำนวนถึงราว 50,000 คน จนกระทั่งเรือนจำทั้งหลายของตุรกีเต็มแน่นแออัด และในการกวาดล้างรอบนี้มีการใช้ความโหดเหี้ยมต่างๆ ทั้งการทรมานและการข่มขืน
ที่อินโดนีเซีย ในปี 2014 ปราโบโว สุบิอานโต นายพลเกษียณอายุราชการ เกือบๆ จะคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศมาได้สำเร็จทีเดียว จากการรณรงค์หาเสียงแบบนักประชานิยมโดยป่าวร้องเรื่อง “ความเข้มแข็งและระเบียบเรียบร้อยในสังคม” อันที่จริงแล้ว ชีวิตในช่วงรับราชการทหารของปราโบโวก็เปียกชุ่มโชกอยู่ในความรุนแรงดังกล่าวอยู่แล้ว เมื่อปี 1998 ตอนที่ระบอบปกครองเผด็จการของซูฮาร์โต ผู้เป็นพ่อตาของเขา อยู่ในช่วงใกล้จะล้มครืนลงมา ปราโบโว ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้บังคับการเหล่าทหารรบพิเศษ “โคปัสซุส เรนเจอร์” (Kopassus Rangers) ได้จัดฉากทำให้มีการลักพาตัวและหายสาปสูญของนักศึกษาที่เป็นนักเคลื่อนไหวไปสิบกว่าคน, การข่มขืนทารุณผู้หญิงเชื้อจีน 168 คน (เป็นพฤติการณ์ที่มุ่งยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางเชื้อชาติ), และการเผาศูนย์การค้า 43 แห่งและอาคาร 5,109 แห่งในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 1,000 คน
สำหรับที่ฟิลิปปินส์ ในระหว่างเดือนแรกๆ ที่ขึ้นครองอำนาจ ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีใหม่ๆ หมาดๆ ได้เปิดฉากทำสงครามปราบปรามการค้ายาเสพติดตามชุมชนแออัดของเมืองใหญ่ อย่างที่ได้โฆษณาป่าวร้องอย่างเอิกเกริก ด้วยการเปิดทางสะดวกให้แก่ตำรวจและกลุ่มใช้กำลังลงโทษผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเองแบบศาลเตี้ยในทั่วประเทศ โดยที่การณรงค์เช่นนี้แค่ช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกก็ได้มีการสังหารเข่นฆ่าคนแบบนอกระบบยุติธรรมไปแล้วอย่างน้อย 7,000 คน ร่างของพวกเหยื่อเหล่านี้ของเขามักถูกทิ้งเอาไว้ตามท้องถนนในกรุงมะนิลา เพื่อเป็นการตักเตือนคนอื่นๆ และก็เป็นเสมือนการวางเงินมัดจำให้แก่คำมั่นสัญญาของดูเตอร์เตที่จะสร้างประเทศชาติซึ่งมีระเบียบเรียบร้อยขึ้นมาใหม่
ที่จริงแล้วเขาไม่ใช่เป็นนักประชานิยมคนแรกในเอเชียที่เลือกเดินไปตามเส้นทางเช่นนี้หรอก เมื่อปี 2003 นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ของไทย ได้เปิดฉากทำสงครามปราบปรามการใช้สารเมทแอมเฟทามีน (ยาบ้า –ผู้แปล) โดยมิชอบ และเพียงช่วงระยะเวลาแค่ 3 เดือนภายใต้การปกครองของทักษิณ ก็มีการเข่นฆ่าด้วยวิธีนอกกระบวนการยุติธรรมต่อผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติดไป 2,275 คน บ่อยครั้งที่ศพของพวกเขาถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ในสถานที่ซึ่งพวกเขาถูกสังหาร ราวกับว่ามันคือการอุทิศอย่างบิดเบี้ยวต่อพลังอำนาจของเขา
ตัวอย่างการที่พวกนักประชานิยมเหล่านี้ก่อการเข่นฆ่าสังหารอย่างนองเลือด อีกทั้งยังน่าจะเกิดขึ้นติดตามมามากกว่านี้อีก --รวมทั้งสิ่งที่อาจจะมีการดำเนินการขึ้นมาในวาระแห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์— ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาหลายๆ ประการ ได้แก่ พลวัตอะไรที่อยู่เบื้องหลังการกระตุ้นเร่งเร้าให้ไปสู่ความรุนแรงซึ่งดูเหมือนเป็นตัวขับดันอันแรงกล้าของขบวนการเช่นนี้ด้วย? ทำไมถ้อยคำวาทะแสดงความเกลียดชังรุนแรงในการรณรงค์ของพวกขบวนการทางการเมืองนักประชานิยม จึงได้แปรเปลี่ยนไปเป็นการใช้ความรุนแรงกันจริงๆ อยู่บ่อยครั้งในทันทีที่นักประชานิยมสามารถกำชัยชนะได้ขึ้นครองอำนาจ? และทำไมความรุนแรงเช่นนั้นจึ่งพุ่งเป้าสม่ำเสมอไปที่พวกศัตรูซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตัวคุกคามการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวของประชาคมแห่งชาติตามที่จินตนาการเชื่อถือศรัทธากัน?
การที่พวกเขามีความยึดมั่นว่าจำเป็นต้องทำการ “พิทักษ์ปกป้อง” ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นประดาอิทธิพลต่างด้าวที่มีภัยอันตรายร้ายแรงทั้งหลาย ทำให้ลักษณะโดดเด่นประการหนึ่งซึ่งนิยามจำกัดความขบวนการนักประชานิยมเหล่านี้ ก็คือการที่พวกเขาจำเป็นจะต้องมี “ศัตรู” ในทางกลับกัน ความจำเป็นในเรื่องนี้ก็ซึมซ่านอาบอิ่มพวกเขาด้วยความยึดมั่นอย่างแทบควบคุมไม่ได้ว่า ต้องมีความขัดแย้ง(กับศัตรู) ซึ่งยอดเยี่ยมเหนือล้ำกว่าภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือยอดเยี่ยมเหนือล้ำกว่าแผนการทางการเมืองอันสมเหตุสมผลทั้งหลาย
การที่จะตระหนักถึงแนวโน้มทางการเมืองที่กำลังก่อให้เกิดความวิตกกังวลกันอยู่นี้อย่างถูกต้องถ่องแท้ จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจว่า ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งที่แน่นอนในประวัติศาสตร์ พลังต่างๆ ของโลกมีการผลิตพวกผู้นำนักประชานิยมรุ่นหนึ่งซึ่งมีศักยภาพที่จะยึดมั่นซึมซ่านอยู่ในการ “พิทักษ์ปกป้อง” ประเทศชาติ และสร้าง “ศัตรู” ของประเทศชาติเช่นนี้ขึ้นมาได้อย่างไร โดยที่สำหรับใน ช่วงขณะนี้แล้ว น่าจะไม่มีตัวอย่างอื่นใดที่ดียิ่งไปกว่าการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นมาในฟิลิปปินส์
ช่วงระยะเวลาครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาท่ามกลางการเลือกตั้งนองเลือดครั้งแล้วครั้งเล่าในฟิลิปปินส์ ได้มีนักประชานิยม 2 คน คือ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส กับ โรดริโก ดูเตอร์เต คว้าชัยชนะด้วยพลังอำนาจอันโดดเด่นผิดธรรมดา โดยการผสมผสานการเมืองระดับสูงแห่งการเดินหมากทางการทูตระดับระหว่างประเทศ เข้ากับการเมืองระดับต่ำของการแสดงออกซึ่งความรุนแรง, มีศพของผู้เสียชีวิตนอนกระจายเกลื่อนเพื่อสร้างความหวาดกลัวในฐานะที่เป็นซิกเนเจอร์แห่งความเหี้ยมโหดของพวกเขา ทั้งนี้การสำรวจประวัติศาสตร์ช่วงตรงนี้อย่างเร็วๆ อาจสามารถให้ภาพคร่าวๆ ที่ยังไม่ถึงกับลงตัวทีเดียวนัก ของอนาคตทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นได้ในสหรัฐอเมริกา
ลัทธิประชานิยมในฟิลิปปินส์: ยุคมาร์กอส
ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ เฟอร์ดินาน มาร์กอส มักถูกจดจำระลึกกันได้มากในฐานะที่เป็น “คนป่วยโรคจิตชอบขโมย” (kleptocrat) ซึ่งได้ปล้นชิงประเทศชาติของเขาและสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้ตัวเองอย่างไม่มีความละอายใจใดๆ (โดยมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจากการค้นพบว่าภรรยาของเขามีรองเท้าอยู่ในครอบครองถึง 3,000 คู่) แต่ในความเป็นจริงนั้น เขาเป็นนักประชานิยมผู้ฉลาดหลักแหลม มีความชำนิชำนาญอย่างสมบูรณ์แบบเป็นเลิศในการใช้ความรุนแรงในเชิงสัญลักษณ์
ขณะที่วาระแห่งการเป็นประธานาธิบดีตามกฎหมายของเขากำลังจะสิ้นสุดลงในสิ้นปี 1972 มาร์กอส –ซึ่งก็เหมือนๆ กับนักประชานิยมจำนวนมากที่มองตัวเขาเองว่าเป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากโชคชะตาให้เป็นผู้ช่วยชีวิตประชาชนของเขาจากความหายนะ – ได้ให้กองทัพประกาศใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 23 กันยายน 1972 ต่อจากนั้นเขาจับกุมคุมขังพวกที่คัดค้านเขาเป็นจำนวนราว 50,000 คน ซึ่งรวมถึงวุฒิสมาชิกหลายคนที่ได้เคยขัดขวางร่างกฎหมายที่เขาต้องการให้ผ่าน และพวกนักเขียนคอลัมน์ซุบซิบที่ล้อเลียนภรรยาผู้ชอบเสแสร้งแกล้งทำมารยาของเขา
ระยะเดือนแรกๆ แห่งระบอบเผด็จการของมาร์กอส ในทางเป็นจริงแล้วไม่ค่อยมีความรุนแรงจากฝีมือทางการอะไรนัก แต่แล้วเมื่อตอนก่อนรุ่งสางของวันที่ 15 มกราคม 1973 พวกเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อ่านคำสั่งให้ประหารชีวิตซึ่งลงนามโดยประธานาธิบดี และจับตัว ลิม เสง (Lim Seng) ชาวจีนโพ้นทะเลที่เป็นเจ้าของโรงงานผลิตเฮโรอีน มัดเอาไว้กับเสาในค่ายทหารแห่งหนึ่งที่กรุงมะนิลา ท่ามกลางกลุ่มช่างภาพหนังสือพิมพ์ที่คอยยืนถ่ายรูปถ่ายภาพยนตร์ข่าวอยู่ข้างๆ กัน หมู่ทหารเพชฌฆาตจำนวน 8 คนก็ใช้ปืนเล็กยาวของพวกเขายิงเป้าเด็ดชีวิตชายผู้นี้ ฟิล์มภาพยนตร์อันน่าตื่นเต้นที่มองเห็นห่ากระสุนกำลังเจาะเปิดหน้าอกของเหยื่อถูกนำออกฉายครั้งแล้วครั้งเล่าไม่รู้จบทั้งทางโทรทัศน์และในโรงภาพยนตร์ โดยเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามุ่งที่จะแสดงออกอย่างมีชีวิตชีวาให้ตระหนักถึงพลังอำนาจของผู้เผด็จการคนใหม่คนนี้ ขณะเดียวกันก็เป็นการดึงดูดมุ่งปลุกกระแสลัทธิเหยียดเชื้อชาติต่อต้านคนจีนซึ่งติดตรึงฝังแน่นอยู่ในฟิลปปินส์อีกด้วย ลิม เสง จะกลายเป็นเหยื่อเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ถูกประหารชีวิตตามกฎหมายในตลอดระยะเวลา 14 ปีแห่งระบอบเผด็จการมาร์กอส อย่างไรก็ดี การเข่นฆ่าแบบศาลเตี้ยนอกกระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มาร์กอสเฉลียวฉลาดมากในการใช้พวกฐานทัพสหรัฐฯอันใหญ่โตมหึมาที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ มะนิลา มาเป็นหมากต่อรองทำให้คณะบริหารของประธานาธิบดีอเมริกัน 3 ชุดต่อเนื่องกัน ยังคงต้องให้ความสนับสนุนการปกครองแบบเผด็จอำนาจ (และการนองเลือดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ) ของเขาต่อไป แม้กระทั่งนโยบายมุ่งชูเรื่องสิทธิมนุษยชนของประธานาธิบดีจิมมี่ คารืเตอร์ ก็ยังถูกลบล้างหมดประสิทธิภาพไปเลย ทว่าหลังจากใช้ระบอบเผด็จการมาได้ราว 1 ทศวรรษ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ก็เริ่มต้นพังครืน ทั้งจากการใช้ “ทุนนิยมเล่นพรรคเล่นพวก” (crony capitalism) อย่างหนักข้อ และจากการที่พวกฝ่ายค้านทางการเมืองเริ่มท้าทายการสร้างภาพลักษณ์ของมาร์กอสให้ตนเองกลายเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกสรรจากโชคชะตาฟ้าประทาน
เพื่อขุนเลี้ยงเอาอกเอาใจหรือไม่ก็ปราบปรามบังคับประชากรที่ดื้อรั้นควบคุมยากยิ่งขึ้นทุกที ไม่ช้าไม่นานมาร์กอสก็หันไปอาศัยความรุนแรงแบบดิบๆ เถื่อนๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ พวกกองกำลังความความมั่นคงของเขาได้กระทำสิ่งที่ถูกเรียกขานว่าเป็น “การกู้ภัย” (salvagings) เป็นจำนวนมากกว่า 2,500 ครั้ง (หรือเท่ากับ 77% ของการสังหารแบบศาลเตี้ย 3,257 รายในระหว่างเวลา 14 ปีแห่งการเป็นผู้เผด็จการของเขา) ศพที่มีร่องรอยของการถูกทรมานมักถูกนำไปทิ้งเอาไว้ตามย่านจัตุรัสสาธารณะ หรือตามสี่แยกที่จอแจแออัด เพื่อที่ผู้ผ่านไปมาจะสามารถอ่านคำจารึกแห่งความเหี้ยมโหดสยดสยองใน “รอยแผลศักดิ์สิทธิ์” ของศพเหล่านี้ ในเมืองหลวงมะนิลาซึ่งมีกำลังตำรวจเพียง 4,000 คนต่อชาวบ้านชาวเมืองจำนวน 6 ล้านคน ระบอบปกครองมาร์กอสได้ตั้ง “เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองลับ” ขึ้นมาช่วยเหลือเป็นจำนวนหลายร้อยคน คนเหล่านี้เองเป็นผู้รับผิดชอบการยิงสังหารตรงจุดเกิดเหตุเป็นจำนวนมากกว่า 30 รายทีเดียว เฉพาะเพียงแค่ช่วงเดือนพฤษภาคม 1985 เดือนเดียว อันเป็นเดือนแรกของโครงการนี้
อย่างไรก็ดี ผลสะเทือนของความรุนแรงแบบนักประชานิยมในเวอร์ชั่นของมาร์กอสนี้ ไปๆ มาๆ ก็เอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่นั่นเอง กล่าวคือ ขณะที่ตอนเริ่มต้นใช้กฎอัยการศึก มันดูมีประสิทธิภาพมากเมื่อประชาชนยังเรียกร้องต้องการความสงบเรียบร้อยกันอยู่ ทว่าพอถึงตอนท้ายๆ มันกลับก่อให้เกิดผลเสียหาย เมื่อชาวฟิลิปปินส์หวนกลับมาคิดถึงเสรีภาพที่สูญเสียไปแล้วกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวนี้ไม่ช้าไม่นานก็นำไปสู่การล้มครืนของมาร์กอสในการปฏิวัติ “พลังประชาชน” (people power) อันน่าตื่นตาตื่นใจครั้งแรก ซึ่งจะติดตามมาด้วยกระแสท้าทายระบอบปกครองเผด็จการตามที่อื่นๆ ในโลกด้วย ตั้งแต่ปักกิ่งไปจนถึงเบอร์ลิน
ลัทธิประชานิยมในฟิลิปปินส์: ความรุนแรงของดูเตอร์เต
โรดริโก ดูเตอร์เต เป็นบุตรชายของผู้ว่าการจังหวัดในท้องที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง ตอนต้นๆ เขาปักหลักสร้างอาชีพทางการเมืองด้วยการเป็นนายกเทศมนตรีนครดาเวา (Davao) สถานที่เกิดความรุนแรงอย่างเรื้อรังซึ่งได้ทิ้งรอยประทับอย่างถาวรแน่นแฟ้นเอาไว้ตัวตนทางการเมืองของเขา
ในปี 1984 หลังจากกองทัพประชาชนใหม่ (New People’s Army) ของพวกคอมมิวนิสต์ ใช้ดาเวาเป็นสถานที่ทดสอบการทำสงครามจรยุทธ์ในเมือง (urban guerilla warfare) จำนวนคดีฆาตกรรมในนครนี้ก็เพิ่มพรวดขึ้นเท่าตัวเป็น 800 ราย ในจำนวนนี้เป็นการลอบสังหารตำรวจ 150 คน เพื่อสกัดทัดทานพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งสามารถครอบครองบางส่วนของเมืองเอาไว้ได้ ฝ่ายทหารได้ระดมเอาพวกอาชญากรและอดีตคอมมิวนิสต์มาจัดตั้งเป็นหน่วยล่าสังหารนอกกฎหมาย ในการรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายที่รุนแรงนองเลือด ตอนที่ผมไปเยือนดาเวาในปี 1987 เพื่อตรวจสอบสืบสวนการเข่นฆ่าของหน่วยล่าสังหารนั้น นครทางภาคใต้ไกลปืนเที่ยงของฟิลิปปินส์แห่งนั้นก็อบอวลด้วยบรรยากาศแห่งความโดดเดี่ยวอ้างว้างและความสิ้นหวังเรียบร้อยแล้ว
ภายในบริบทที่มีการเข่นฆ่ากันแบบศาลเตี้ยทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นี้เอง โรดริโก ดูเตอร์เตซึ่งเวลานั้นอายุ 33 ปี ได้เปิดฉากอาชีพทางการเมืองของเขาด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครดาเวา นั่นเป็นปี 1988 เป็นการเริ่มต้นสมัยแรกของการดำรงตำแหน่งนี้แบบไม่ได้ต่อเนื่องรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 7 สมัยและรวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 21 ปี จวบจนกระทั่งเขาชนะการเลือกตั้งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศในปี 2016 การลงชิงชัยเป็นนายกเทศมนตรีดาเวาครั้งแรกของเขานั้นมีการแข่งขันอย่างดุเดือด และเขามีชัยเหนือคู่แข่งแบบฉิวเฉียด โดยได้คะแนนเสียงไปเพียง 26% เท่านั้น
ราวๆ ปี 1996 มีรายงานว่าเขาระดมจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธใช้อำนาจศาลเตี้ยของเขาเองขึ้นมา โดยเรียกขานกันว่า หน่วยล่าสังหารเมืองดาเวา (Davao Death Squad) กองกำลังนี้เองจะเป็นผู้รับผิดชอบการเข่นฆ่าแบบนอกกระบวนการยุติธรรมจำนวนมากในเมืองนี้จากทั้งหมด 814 รายในช่วงเวลา 1 ทศวรรษถัดไป ร่างของพวกเหยื่อจะถูกทิ้งเอาไว้ตามท้องถนนของเมือง ในสภาพที่ใบหน้าถูกพันเอาไว้อย่างบิดเบี้ยวด้วยเทปปิดกล่อง ตัวดูเตอร์เตเองน่าจะเคยลงมือฆ่าเหยื่อของหน่วยล่าสังหารนี้อย่างน้อยก็คนหนึ่ง ทั้งนี้หน่วยล่าสังหารเมืองดาเวานอกเหนือจากทำหน้าที่กวาดล้างพวกอาชญากรแล้ว ยังมีโอกาสอันเหมาะเจาะที่จะกำจัดพวกคู่แข่งทางการเมืองของนายกเทศมนตรีไปด้วย
ระหว่างรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี 2016 ดูเตอร์เตจะชี้ไปที่การเข่นฆ่าในนครดาเวาด้วยความภาคภูมิใจ พร้อมกับให้สัญญาว่าจะทำสงครามปราบปรามยาเสพติดซึ่งจะสังหารชาวฟิลิปปินส์ไปสัก 100,000 คนถ้าหากจำเป็น จากการประกาศเช่นนี้ เท่ากับเขากำลังดึงเอาเสียงก้องสะท้อนในประวัติศาสตร์จากยุคมาร์กอสมาใช้ประโยชน์ เป็นการหยิบยืมความล้ำลึกทางการเมืองบางประการของยุคสมัยนั้นมาสู่โวหารวาทศิลป์อันรุนแรงของเขาเอง ด้วยการกล่าวยกย่องสรรเสริญมาร์กอสอย่างเจาะจงชัดเจน พร้อมกับให้สัญญาที่จะนำเอาศพของมาร์กอสมาบรรจุฝังในสุสานวีรชนแห่งชาติ (National Heroes Cemetery) ในกรุงมะนิลา ตลอดจนพร้อมสนับสนุนให้ เฟอร์นินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ เข้าดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี ดูเตอร์เตก็กำลังแสดงตนเป็นผู้รับช่วงสืบต่อทางการเมืองคนหนึ่งของประดาบุรุษเหล็กนักประชานิยมทั้งหลายที่มีจอมเผด็จการยุคเก่าอย่างมาร์กอสเป็นตัวอย่างอันโดดเด่น ในช่วงจังหวะเวลาที่ชาวฟิลิปปินส์กำลังดิ้นรนโหยหาความหวังใหม่แห่งการมีชีวิตที่อยู่ดีมีเกียรติ
ครั้นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีดูเตอร์เตก็รีบเร่งเริ่มต้นการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดตามที่เขาให้สัญญาไว้ และร่างไร้ชีวิตก็กลายเป็นของธรรมดาสามัญซึ่งมองเห็นกันตามท้องถนนในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ บางครั้งข้างๆ ศพ ก็มีแผ่นกระดาษแข็งทำขึ้นอย่างหยาบๆ ง่ายๆ เขียนข้อความว่า “ผมเป็นนักค้ายา” หรือบางทีใบหน้าของศพก็ถูกพันด้วยเทปปิดกล่อง ที่เวลานี้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้โดยหน่วยล่าสังหารเมืองดาเวาไปแล้ว ถึงแม้องค์การฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ (Human Rights Watch) ประกาศว่า สงครามปราบปรามยาเสพติดของเขาคือ “ความหายนะ” ทว่าชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากมายถึง 85% ของผู้ที่ตอบคำถามการสำรวจความคิดเห็น ยังคงบอกว่ามีความ “พึงพอใจ” ราวกับว่ากำลังมองดูศพแต่ละศพที่นอนจมกองเลือดอยู่ตามท้องถนนในเมือง ว่าเป็นพยานยืนยันคำมั่นสัญญาของประธานาธิบดีผู้นี้ที่จะสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมขึ้นมาใหม่
ในเวลาเดียวกันนั้น ดูเตอร์เตยังกำลังทำแบบเดียวกับที่มาร์กอสเคยทำมาในอดีต นั่นคือการใช้การทูตในสไตล์ใหม่ผิดแผกจากเดิม มาเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่อำนาจแบบนักประชานิยมอย่างไม่มีขีดจำกัด กล่าวคือ ท่ามกลางความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตัน ดูเตอร์แตจัดแจงปรับปรุงยกระดับฐานะต่อรองของประเทศของเขาด้วยการวางตัวเองให้ออกห่างจากความเป็นพันธมิตรอันเก่าแก่ยาวนานที่ฟิลิปปินส์มีอยู่กับสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมของสมาคมอาเซียนในปี 2016 เมื่อเขาถูกบารัค โอบามา วิพากษ์วิจารณ์เรื่องสงครามปราบปรามยาเสพติด ดูเตอร์เตก็ตอบโต้ด้วยการพูดโพล่งโผงผางด่าใส่ประธานาธิบดีอเมริกันผู้นี้ว่า “ลูกกะหรี่”
อีกเดือนหนึ่งต่อมาระหว่างไปเยือนปักกิ่งอย่างเป็นรัฐพิธี ดูเตอร์เตป่าวประกาศต่อสาธารณชนถึง “การแยกขาดจากสหรัฐฯ” ด้วยการมองเมินไม่ใยดีกับชัยชนะอันงดงามเมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศชาติของเขามีเหนือจีน ในการฟ้องร้องที่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรุงเฮก เกี่ยวกับข้อพิพาททางกฎหมายเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันเหนือดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ดูเตอร์เตก็ได้ข้อตกลงการค้าจากจีนมูลค่ารวม 24,000 ล้านดอลลาร์กลับบ้าน พร้อมกับความรู้สึกที่ว่าเขากำลังช่วยจัดตั้งระเบียบโลกใหม่ขึ้นมา
ในเดือนมกราคมปีนี้ หลังจากตำรวจของเขาทรมานและสังหารนักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ผู้หนึ่ง ด้วยข้ออ้างบังหน้าว่าเป็นการปราบปรามยาเสพติด ดูเตอร์เตจึงถูกบังคับให้ต้องยุติการเข่นฆ่าสังหารทั่วประเทศนี้อย่างฉับพลันทันที อย่างไรก็ดี เขาก็เหมือนๆ กับมาร์กอสผู้เป็นตัวอย่างที่เขาลอกเลียนกระทำตาม ลัทธิประชานิยมของดูเตอร์เตก็ดูเหมือนบรรจุเอาไว้ด้วยความหิวกระหายในความรุนแรงอย่างไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ และด้วยเหตุนี้เองมันจึงกินเวลาไม่นานนักก่อนที่จะมีศพถูกทิ้งตามท้องถนนในมะนิลากันอีกคำรบหนึ่ง ทำให้ยอดจำนวนคนตายพุ่งทะลุผ่านหลัก 8,000 ไปแล้ว
ความสำเร็จและความล้มเหลวของบุรุษเหล็กนักประชานิยม
ประวัติความเป็นมาของบุรุษเหล็กชาวฟิลิปปินส์เหล่านี้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เปิดเผยให้เห็นถึงด้าน 2 ด้านที่ถูกมองข้ามเรื่อยมาของปรากฏการณ์แห่งลัทธิประชานิยมของโลกซึ่งจนบัดนี้ก็ยังขาดการนิยามจำกัดความให้ชัดเจน กล่าวคือ บทบาทของสิ่งที่อาจเรียกว่า ความรุนแรงทางการกระทำเพื่อเป็นการแสดงความเข้มแข็งภายในประเทศ และความสำเร็จทางการทูตเพื่อแสดงอิทธิพลบารมีระหว่างประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในฐานะเป็นตัวเสริม การสร้างความสมดุลระหว่างเสา 2 เสาแห่งอำนาจอันสำคัญยิ่งยวดนี้ได้อย่างชำนิชำนาญแค่ไหน น่าจะสามารถใช้เป็นมาตรวัดประการหนึ่งในการคาดเก็งชะตากรรมของประดาบุรุษเหล็กนักประชานิยมในส่วนต่างๆ หลายหลากของพื้นพิภพนี้ได้
ในกรณีของรัสเซีย ความแข็งแกร่งของปูตินซึ่งแสดงออกโดยผ่านการฆาตกรรมพวกปรปักษ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ผ่านการคัดสรรแล้วบางคน และด้วยการรุกรานจอร์เจียและยูเครนได้อย่างชนิดที่ไม่ประสบการขัดขวางทัดทาน ความสำเร็จอย่างมีความสมดุลทั้งด้านภายในและภายนอกประเทศเช่นนี้ ทำให้ประเทศชาติของเขาทั้งๆ ที่มีเศรษฐกิจอันอ่อนแอจวนพังและมีขนาดใหญ่แค่พอๆ กับอิตาลีเท่านั้น แต่ก็แลดูเหมือนกับก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจยิ่งใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งยังน่าที่จะช่วยแผ่ขยายการปกครองแบบเผด็จการของเขาให้ยืนยาวต่อไปอีกในอนาคตอันมองเห็นได้
ในตุรกี การที่แอร์โดอันกดขี่ปราบปรามเหล่าศัตรูทางชาติพันธุ์และทางการเมืองอย่างเหี้ยมโหด ได้กลายเป็นการทำลายร้ายแรงต่อความพยายามของเขาที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อีกทั้งทำให้ตัวเขาจ่อมจมลงไปในสงครามที่ไม่มีทางชนะกับพวกกบฏชาวเคิร์ด รวมทั้งสร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่ความเป็นพันธมิตรที่เขามีอยู่กับสหรัฐฯเพื่อต่อต้านคัดค้านลัทธิเคร่งจารีตอิสลาม –ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนสามารถที่จะกลายเป็นกำแพงขวางกั้น ไม่ให้เขาประสบความสำเร็จในความพยายามที่จะทำให้ตนเองเป็นผู้นำของประเทศชาติที่กลายเป็นมหาอำนาจศุ้วไม่มีใครขัดขวางทัดทานได้
ในอินโดนีเซีย ปราโบโว สุบิอานโต มีอันล้มเหลวตั้งแต่ก้าวเดินก้าวแรกอันสำคัญยิ่งของเขา นั่นคือ การสร้างฐานภายในประเทศให้ใหญ่เพียงพอสำหรับการนำพาตัวเขาเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ส่วนหนึ่งเนื่องจากเสียงเรียกร้องต้องการความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองของเขานั้น ไม่ได้ดังก้องสะท้อนเป็นที่รื่นหูสาธารณชนแต่อย่างใด เนื่องจากผู้คนจำนวนมากยังคงสามารถจดจำได้ถึงความพยายามที่จะไขว่คว้าอำนาจในช่วงแรกๆ ของเขา ซึ่งเป็นวิธีสร้างความรุนแรงอันน่าขนลุกที่มุ่งป่วนจาการ์ตาด้วยกรณีข่มขืน, ไฟไหม้, และการเข่นฆ่านับเป็นร้อยๆ ราย
สำหรับที่ฟิลิปปินส์ ถ้าไม่มีความสนับสนุนจากประชาชนอันเกิดจากการที่เขาสามารถใช้ความรุนแรงภายในประเทศได้อย่างโดดเด่นชัดเจนแล้ว ความพยายามที่จะให้ได้รับความสนับสนุนจากจีนของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่โดยพฤตินัยแล้วเท่ากับเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิ์ของประเทศของเขาเหนือพื้นที่ทำประมงอันอุดมสมบูรณ์ตลอดจนแหล่งน้ำมันสำรองในทะเลจีนใต้ ย่อมมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเผชิญกับปฏิกิริยาต่อต้านคัดค้านจากประชาชน, การก่อรัฐประหารของฝ่ายทหาร, หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ดี ความเชี่ยวชาญของดูเตอร์เตในการจัดวางความสมดุลให้พอเหมาะระหว่างการเดินหมากในทางระหว่างประเทศ กับการแสดงออกซึ่งความนองเลือดภายในประเทศ ก็ทำให้เขากลายเป็นบุรุษเหล็กที่ประสบความสำเร็จของฟิลิปปินส์ อย่างน้อยก็อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ในเวลานี้ยังแทบมองไม่เห็นเลยว่าจะมีอะไรมาทัดทานขัดขวางอำนาจของเขา
เนื่องจากกองทัพฟิลิปปินส์นั้นโดยสาระสำคัญแล้วเป็นกองทัพที่อ่อนแอ และนี่ก็ได้จำกัดหนทางในการสำแดงความรุนแรงแบบนักประชานิยมของดูเตอร์เต ให้อยู่เพียงแค่การใช้ตำรวจเข่นฆ่าสังหารพวกนักค้ายาเสพติดจนๆ ข้างถนน ทว่า สำหรับโดนัลด์ ทรัมป์ เขาไม่ได้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดทำนองนี้เลย ถ้ารัฐสภาและศาลยุติธรรมยังคงคอยสกัดทัดทานพิษร้ายอันเกิดจากการโจมตีใส่กลุ่มคนภายในประเทศทั้งหลายของเขา ไม่ว่าจะเป็นชาวมุสลิม, คนเม็กซิกัน, หรือศัตรูในจินตนาการกลุ่มอื่นๆ และวาระการดำรงตำแหน่งของเขายังคงต้องประสบความเพลี่ยงพล้ำปราชัยทำนองเดียวกับความอับอายขายหน้าจากความพยายามที่จะรื้อทิ้งแผนประกันสุขภาพโอบามาแคร์เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่มมากขึ้นอีก เขาก็อาจพรักพร้อมที่จะหันไปพึ่งพาอาศัยการผจญภัยทางทหารอันรุนแรงภายนอกประเทศ ไม่เพียงเฉพาะในอิรัก, ซีเรีย, เยเมน, อัฟกานิสถาน, และลิเบียเท่านั้น แต่ยังกระทั่งที่อิหร่านด้วย โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงเกาหลีเหนือ ทั้งนี้เพื่อพยายามที่จะฟื้นฟูออร่าความเป็นนักประชานิยมแห่งชาติมหาอำนาจผู้ยโสโอหังของเขา ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว เขาก็ย่อมจะไม่เหมือนกับผู้ที่อาจจะกลายเป็นนักการเมืองประชานิยมคนใดในพื้นพิภพนี้ไม่ว่าคนไหนเลย เนื่องจากทรัมป์สามารถยึดกุมชะตากรรมของผู้คนเป็นล้านๆ นับไม่ถ้วนเอาไว้ในกำมือของเขา
ถ้าหากสิ่งซึ่งนักวิชาการ ไมเคิล ลี พูดเอาไว้ นั่นคือลัทธิประชานิยมจำเป็นที่จะต้องมุ่งไปสู่ “การประจันหน้ากันในวันตัดสินชะตากรรมของโลก” และ “สงครามตามที่ระบุไว้ในตำนาน” ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าถูกต้องแม่นยำแล้ว ในท้ายที่สุดมันก็อาจจะนำ “นักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงถอนรากถอนโคนทั้งระบบ” ของคณะบริหารทรัมป์ ให้ก้าวไปไกลยิ่งกว่าถ้อยคำวาทศิลป์สุดฤทธิ์สุดเดชของพวกเขานักหนา จนกระทั่งเข้าสู่วงจรความรุนแรงในการต่อสู้กับพวกศัตรูต่างชาติ ที่ไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ อย่างไร้จุด สิ้นสุด ทั้งนี้โดยที่จะใช้อาวุธทุกๆ อย่างที่สามารถหามาได้ ไม่ว่าจะเป็น โดรน, กองทหารปฏิบัติการพิเศษ, เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด, กองเรือโจมตี, หรือแม้กระทั่งอาวุธนิวเคลียร์
อัลเฟรด ดับเบิลยู แมคคอยเป็นนักเขียนประจำของเว็บไซต์ “ทอมดิสแพตช์” (TomDispatch) เป็นศาสตราจารย์แฮริงตันทางด้านประวัติศาสตร์ (Harrington Professor of History) ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มที่ปัจจุบันกลายเป็นงานคลาสสิกไปแล้ว นั่นคือเรื่อง The Politics of Heroin: CIA Complicity in the Global Drug Trade ซึ่งติดตามสืบสวนการเชื่อมต่อโยงใยกันของการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายกับการปฏิบัติลับต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 50 ปี รวมทั้งผลงานชิ้นอื่นๆ อีกจำนวนมาก หนังสือเล่มใหม่ล่าสุดของเขา ชื่อ In the Shadows of the American Century: The Rise and Decline of U.S. Global Power (สำนักพิมพ์ Dispatch Books/Haymarket) มีกำหนดตีพิมพ์จำหน่ายในเดือนกันยายนนี้ สำหรับบทความชิ้นนี้ปรับปรุงจากปาฐกถาที่เขาแสดงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ณ ศูนย์โลกที่สามศึกษา (Third World Studies Center) มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
(จากเว็บไซต์ TomDispatch.com)