xs
xsm
sm
md
lg

InClip: ประเทศแรกในเอเชีย “ไต้หวัน” ออก “กม.ห้ามกินเนื้อหมา” อย่างเป็นทางการแล้ว โทษปรับสูงถึง 2 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – "ไต้หวัน" กลายเป็นชาติแรกในเอชีย ออกฎหมายคุ้มครองสัตว์ฉบับแก้ไข (The Animal Protection Act amendments) ในวันอังคาร(11 เม.ย) มีโทษปรับสูงระหว่าง 50,000 – 2 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่(NT) แต่ไร้โทษจำคุก ห้ามบริโภค จำหน่าย หรือ ซื้อขายเนื้อสุนัขและแมว ที่ถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยง สส.หญิงพรรคก๊กมินตั๋งผู้เสนอร่างกฎหมายลั่น ถือเป็นความก้าวหน้าชาติแรกในเอเชีย

หนังสือพิมพ์ไชน่าโพสต์ รายงานเมื่อวานนี้(11 เม.ย)ว่า หวัง ยู-มิน( Wang Yu-min) สส.พรรคก๊กมินตั๋ง ผู้เสนอร่างกฎหมาย คุ้มครองสัตว์ฉบับแก้ไข (The Animal Protection Act amendments) ที่ได้รับการผ่านรัฐสภาในวันอังคาร(11 เมย) กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ***ไต้หวันถือเป็นประเทศแรกที่มีการออกกฎหมายบังคับห้ามรับประทานเนื้อสุนัขและแมวในภูมิภาคเอเชีย***

และชี้ว่า กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นในไต้หวันได้ออกมาตรการห้ามการบริโภคเนื้อสัตว์เลี้ยงเหล่านี้แล้ว

โดยสื่อไชน่าโพสต์ระบุในรายละเอียดของกฏหมายคุ้มครองสัตว์ฉบับแก้ไขว่า
* ความผิด ห้ามบริโภค จำหน่าย หรือ ซื้อขายเนื้อสุนัขและแมว นั้นมีโทษปรับเงินสูงถึง 50,000 – 2 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่(NT)
*ความผิด ทรมานสัตว์อย่างเจตนา และรวมไปถึงทำให้สัตว์เสียชีวิต ได้แก้ไขให้มีอัตราโทษทั้งจำคุกและปรับสูงขึ้น โดยโทษจำคุกนั้นสุงสุด 2 ปีในเรือนจำ ส่วนโทษปรับนั้นสูงถึง 200,000 – 2 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่(NT) และผู้กระทำผิดซ้ำ จะได้รับโทษจำคุก 1-5 ปี และปรับเงิน 500,000 – 5 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่(NT)
*ความผิดจูงสุนัขในระหว่างขับมอเตอร์ไซด์หรือสกูตเตอร์ จะได้รับโทษปรับสูงสุด 15,000 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (NT)


อย่างไรก็ตาม สื่อไต้หวันชี้ว่า ร่างกหฎหมายคุ้มครองสัตว์ไต้หวันที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังต้องส่งไปให้คณะรัฐมนตรีไต้หวัน และประธานาธิบดี ไช่ อิง เหวิน ลงนาม เพื่อบังคับใช้ต่อไป

เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษชี้ว่า ร่างกฎหมายใหม่นี้ถือเป็นก้าวสำคัญในภูมิภาคเอเชียที่เห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสื่ออังกฤษระบุว่า ถึงแม้เนื้อสุนัขจะไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย แต่ยังเป็นเมนูอาหารในบางพื้นที่ ส่วนเนื้อแมวนั้นมีการบริโภคน้อยกว่า

ซึ่งสำหรับไต้หวัน ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่นิยมบริโภคเนื้อสุนัขอย่างกว้างขวาง แต่ในปัจจุบันจากการที่มีจำนวนผู้เลี้ยงสุนัขในฐานะสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น ทำให้บทบาทของ "สุนัข" ในไต้หวันถูกจัดเป็น “สัตว์เลี้ยง” ไม่ใช่สัตว์บริโภคเนื้อต่อไป

นอกจากนี้ยังพบว่า ประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันคนปัจจุบัน ได้ชื่อว่าเป็นคนรักแมว และมักถ่ายภาพคู่กับแมวตัวโปรดของเธอ 2 ตัวในช่วงระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันล่าสุด และในปีที่ผ่านมายังพบว่า ไช่ได้รับอุปการะอดีตสุนัขนำทางที่ปลดเกษียณ 2 ตัว

สื่ออังกฤษรายงานว่า เทศกาลเสียชีวิตหมู่ของสุนัขครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้น 1 ครั้งของทุกปี ถูกจัดในชื่อเทศกาลกินเนื้อสุนัขยู่หลิน(Yulin dog meat festival) โดยพบว่าสุนัขถึง 10,000 ตัวต้องจบชีวิตลงในเทศกาลนี้ในแต่ละปี

เนื้อของพวกมันจะถูกรับประทานอย่างกว้างขวางทั่วเมืองยู่หลินทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ แต่การจัดเทศกาลได้รับความกดดันอย่างหนักจากกลุ่มเคลื่อนไหวปกป้องชีวิตสัตว์ในระยะหลัง

สำหรับไต้หวัน เดอะการ์เดียนชี้ว่า มีกระแสตื่นตัวการปกป้องสุนัจขและแมวจนถึงขั้นกลายเป็นจลาจล เมื่อพบว่าในปีที่ผ่านมา คดีสังหารแมวจรจัดในไต้หวัน จากฝีมือนักศึกษาจากเกาะมาเก๋าสร้างความโกรธแค้นให้กับสังคมไทเปเป็นอย่างมาก

โดยพบว่าผู้ต้องหากระทำความผิด ถูกรุมทำร้ายโดยกลุ่มเคลื่อนไหวปกป้องสัตว์บริเวณด้านนอกของศาลไทเปในเดิอนสิงหาคม 2016 ในระหว่างผู้กระทำผิดรายนี้เดินออกมาด้านนอกอาคารท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาของเจ้าหน้าที่

จากการรายงานของสื่อทเปไทม์สในขณะนั้นพบว่า กลุ่มเคลื่อนไหวสิทธิสัตว์จำนวนไม่ต่ำกว่า 100 คน ฝ่าวงล้อมเจ้าหน้าที่ ตรงเข้าทำร้าย Chan Ho-yeung วัย 22 ปี นักศึกษาระดับบิณฑิตศึกษาประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน NTU

ในรายงานยังชี้ว่า Chan ตั้งใจก่อเหตุสังหารแมวจรจัดชื่อดังของไต้หวัน บิ๊ก ออเรนจ์ (Big Orange) ในเดือนธันวาคม ปี 2015 และก่อนหน้านี้ชายผู้นี้ถูกต้องสงสัยว่า ได้ทำการทรมานแมวชื่อ แบนแบน (Ban Ban) จนเสียชีวิต ซึ่งเป็นแมวเลี้ยงของภัตตาคารอาหารมังสวิรัติ ที่ได้หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2015

โดยสื่อการ์เดียนชี้ว่า Chan นั้นถูกศ่าลไต้หวันตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลา 10 เดือนในความผิดสังหารแมวจรจัด 2 ตัว

นอกจากนี้ในส่วนของฮ่องกง เดอะการ์เดียนรายงานว่า ในช่วงระหว่างอยู่ภายใต้การปกครองอังกฤษ ได้มีกฎห้ามการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสุนัขและแมวเพื่อการบริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีการออกกฎหมายการประกาศห้ามกินเนื้อสุนัขหรือแมวอย่างเป็นทางการ





กำลังโหลดความคิดเห็น