เอเจนซีส์ - ข้อมูลรายงานปรากฏการณ์ฟอกขาว (bleaching)ของแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ(Great Barrier Reef )ของออสเตรเลียพบว่า ความเสียหายกินพื้นที่ไปแล้วร่วม 8,000 ก.ม หรือ 2 ใน 3 โดยนักวิทยาศาสตร์ต่างออกมาชี้ว่า เป็นระยะการป่วยขั้นสุดท้ายของแหล่งมรดกโลกของออสเตรเลีย
หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้(9 เม.ย)ว่า หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญประจำสภาวิจัยออสเตรเลีย(Australia Research Council) ออกมายืนยันว่า “ในปีที่ผ่านมาถือว่าแย่ แต่ปีนี้วิกฤต” โดยพบจากข้อมูลรายงานปรากฎการณ์ฟอกขาว (bleaching) ของแนวปะการัง เกรตแบร์ริเออร์รีฟ(Great Barrier Reef ) นั้นถูกทำลายล่าสุดถึง 8,000 ก.ม
โดยพบว่าภาพสำรวจทางอากาศบริเวณแหล่งปะการังมรดกโลกออสเตรเลีย ชี้ว่าปรากฎการณ์ฟอกขาว หรือภาวะที่ปะการัง (coral)มีสีซีด เกิดจากความหนาแน่นของกลุ่มชีวิตที่พึ่งพาตาย และกลุ่มที่ว่านี้ลดลงจำนวนลง นั้นพบว่ามีพื้นที่ซีดขาวไปแล้วกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่แนวปะการัง เกรตแบร์ริเออร์รีฟ
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิจัยประจำศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาแนวปะการัง (Centre of Excellence for Coral Reef Studies) ประจำสภาวิจัยออสเตรเลีย นั้นได้เสร็จสิ้นการสำรวจทางอากาศของเกรตแบร์ริเออร์รีฟ พบว่าเกิดปรากฎการณ์ฟอกขาวของกลุ่มสิงชีวิตพึ่งพาไปแล้วร่วม 800 กลุ่มสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ 8,000 ก.ม
และในผลข้อมูลล่าสุดชี้ว่า ปรากฎการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น 2 ครั้งทำลายพื้นที่ปะการังไป 1,500 ก.ม ทิ้งไว้แต่ช่วง 1 ใน 3ตอนใต้ของแนวปะการังที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ
สื่ออังกฤษชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลสำรวจในปีที่ผ่านมาที่พบว่า ปรากฎการณ์ฟอกขาวนั้นเกิดขึ้น
บริเวณทาง 1 ใน3 ตอนเหนือของแนวปะการัง แต่ทว่าการสำรวจทางอากาศในปี 2017 ชี้ว่า การฟอกขาวนั้นคืบคลานมุ่งหน้าลงทางใต้ โดยพบภาวะการถูกทำลายมีสูงบริเวณตอนกลางของแนวปะการังออสเตรเลีย
โดยพบว่า ภาวะการฟอกขาวครั้งใหญ่ในปีนี้(2017) เกิดขึ้นแล้วถึงแม้จะไม่มีปรากฎการณ์ เอลนีโญ ( El Niño ) ซึ่งเป็นภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น กระทบกับแนวปะการังออสเตรเลียแล้วถึง 4 ครั้ง
ภาวะการฟอกขาวของแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟปีนี้ มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่ 2 เมื่อคิดจากปี 2016
โดยศาสตราจารย์ เทอร์รี ฮิวจ์(Prof Terry Hughe) ผู้ซึ่งทำการศึกษา ยืนยันว่า เวลาในการที่จะทำให้ปะการังกลับมาอีกครั้งนั้นต้องใช้อย่างน้อย 10 ปี เฉพาะกรณีปะการังเติบโตไว
ฮิวจ์ชี้ว่า ในกรณีปรากฎการณ์ฟอกขาวปีนี้ ที่ผ่านมาแค่ 3 เดือนเท่านั้น มีความร้ายแรงมาก ทำให้ความน่าจะเป็นที่จะกู้คืนกลับได้คิดเป็นศูนย์ และยังระบุกับเดอะการ์เดียนต่อว่า “ในขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสามารถรู้ถึงยอดตัวเลขความเสียหายที่แท้จริงของปี 2017 แต่ที่แน่ๆคือ มีพื้นที่ความเสียหายนั้นเพิ่มขึ้น โดยพบว่า พื้นที่การทำลายของปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟกินพื้นที่ไปทางใต้อีก 500 ก.มของความเสียหายเกิดขึ้นปี 2016
เฉพาะปีที่ผ่านมา พื้นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เกิดขึ้นบริเวณตอนเหนือของแนว คิดเป็นราว 2 ใน 3 ของปะการังน้ำตื้นที่หายไป
ปรากฎการณ์ฟอกขาวปีนี้เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยต่อการตายของแนวปะการัง ที่มีทั้ง ดาวมงกุฎหนาม หรือ ปลาดาวหนาม (Crown-of-thorns starfish ) ที่ถูกทำลาย และคุณภาพน้ำทะล
และในการให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียน ฮิวจ์กล่าวโทษไปยังรัฐบาลซิดนีย์ที่ล้มเหลวในการกู้ระบบนิเวศน์ของแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ในมาตรการปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเล
โจน เดย์(Jon Day ) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมแหล่งทรัพยากรทางทะเล เกรตแบร์ริเออร์รีฟ(the Great Barrier Reef Marine Park Authority )ที่ทำงานต่อเนื่องมานานถึง 16 ปี และเพิ่งเกษียณในปี 2014 ออกมาให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกับฮิวจ์ โดยชี้ว่า รัฐบาลออสเตรเลียไม่ได้ให้งบประมาณสนับสนุนมากพอต่อการแก้ปัญหา โดยพบว่ามาตรการปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเลต้องใช้เงินอีก 8.2 พันล้านออสเตรเลียดอลลาร์ในการลงทุนเพื่อที่จะทำให้คุณภาพน้ำทะเลนั้นสามารถถึงระดับเป้าหมายสำเร็จ
ที่ผ่านมาออสเตรเลียล้มเหลวอย่างต่อเนื่องในเป้าหมายระยะสั้นปี 2018เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยไม่ต้องพูดถึงเป้าหมายปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเลในระยะยาว