(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China adds six years to Sino-Japanese war in history books
By Lin Wanxia
10/01/2017
วัสดุการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของจีนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงมหาวิทยาลัย กำลังได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขที่กระทำกันในระดับชาติ ซึ่งระบุว่า ต่อไปนี้ให้ถือว่าสงครามที่จีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นนั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1931 ไม่ใช่ในปี 1937 อย่างที่เคยยึดถือกันมาก่อนหน้านี้
“สงครามของประชาชนจีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น” ( Chinese People’s War of Resistance against Japanese Aggression) ได้ถูกขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 ปี หลังจากกระทรวงศึกษาธิการของแดนมังกรออกคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลนี้ในการเรียนการสอนของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกๆ แห่งในประเทศจีนและในหนังสือตำราประวัติศาสตร์ทั้งหลายในประเทศจีน
คำสั่งให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในระดับชาติคราวนี้ มีไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมทุกแห่ง รวมทั้งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขวัสดุการเรียนการสอนซึ่งใช้กันอยู่ตามมหาวิทยาลัยทั้งหลายทั่วประเทศด้วย
สงครามของประชาชนจีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น ตามที่เรียกขานกันในจีน โดยที่ในหนังสือตำราประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกมักเรียกขานกันว่าเป็น “สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2” (Second Sino-Japanese War) นั้น ตั้งแต่นี้ไปจะถือว่าเริ่มต้นขึ้นในปี 1931 แทนที่จะเป็นปี 1937 เหมือนเมื่อก่อน
ทางผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ “เป่ยจิงนิวส์” (Beijing News) ได้รับการยืนยันจากพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาเมื่อตอนเช้าวันอังคาร (4 ม.ค.) ว่า เอกสารที่เผยแพร่เวียนกันทางออนไลน์โดยใช้หัวเรื่องว่า “ให้ปฏิบัติตามอย่างเต็มที่ตามแนวความคิด “การสู้รบต่อต้านญี่ปุ่นดำเนินไปเป็นเวลา 14 ปี” ในหนังสือแบบเรียนของระดับการศึกษาชั้นประถมและมัธยม” นั้น เป็นเอกสารตัวจริงไม่ใช่ของปลอม
เอกสารดังกล่าวกำหนดให้หน่วยงานศึกษาธิการตั้งแต่ระดับชาติ, ระดับมณฑล, และระดับเทศบาล ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบด้านเพื่อให้หนังสือแบบเรียนที่จะใช้กันในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ตัดเอาข้อมูลระยะเวลาของสงครามแบบเดิมออกไปเสีย และเปลี่ยนมาใช้ข้อความระบุกรอบเวลาอย่างใหม่ ขณะเดียวกันก็ให้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
ความเคลื่อนไหวคราวนี้คือการทำให้เจตนารมณ์ของรัฐบาลส่วนกลางกลายเป็นการปฏิบัติอย่างเป็นจริงขึ้นมา เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการผู้หนึ่งบอก ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีจีนได้มีคำสั่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 แล้ว ให้กระทรวงเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ภายในเวลา 2 เดือน “มาถึงตอนนี้หนังสือตำราเรียนที่มีข้อความอย่างใหม่ก็พรักพร้อมแล้วทั่วทั้งประเทศ” เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าว
เท่าที่ผ่านมา กรณีสะพานหลูโกวเฉียว (Lugouqiao Incident) เดือนกรกฎาคม 1937 (เนื่องจากทางโลกตะวันตกรู้จักสะพานหลูโกวเฉียวในชื่อว่าสะพานมาร์โคโปโล [1] เหตุการณ์นี้จึงเรียกกันในโลกตะวันตกว่า กรณีสะพานมาร์โคโปโล Marco Polo Bridge Incident) มักถูกใช้เป็นหลักหมายแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสงครามประชาชนจีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้จัดการซ้อมรบขึ้นใกล้ๆ นครเป่ยผิง (กรุงปักกิ่งในทุกวันนี้) และเรียกร้องต้องการที่จะเข้าไปยังอำเภอหว่านผิง (Wanping ซึ่งอยู่ทางอีกฝั่งหนึ่งของสะพานหลูโกวเฉียว) ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อค้นหาทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งที่หายไป แต่เมื่อทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนปฏิเสธคำขอนี้ กองทหารญี่ปุ่นก็ยกกำลังเข้าโจมตีสะพานแห่งนี้และทิ้งระเบิดถล่มอำเภอดังกล่าว [2]
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนมายึดถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามต่อต้านญี่ปุ่นคือ กรณีเมืองมุกเดน (Mukden Incident) ในวันที่ 18 กันยายน 1931 ทั้งนี้กรณีเมืองมุกเดน (มุกเดนเป็นคำในภาษาแมนจูเรีย ใช้เรียกเมืองซึ่งปัจจุบันนี้ก็คือเมืองเสิ่นหยาง) เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกล่าวหาพวกคนจีนที่ไม่เห็นด้วยกับทางการ ว่าเป็นตัวการจุดชนวนดินระเบิดจำนวนเล็กน้อยซึ่งวางเอาไว้ติดกับเส้นทางรถไฟสายหนึ่งซึ่งญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ ทราบกันต่อมาว่าเหตุการณ์นี้ฝ่ายญี่ปุ่นสร้างเรื่องขึ้นและแรงระเบิดที่เกิดก็เล็กน้อยมากจนไม่ได้ก่อความเสียหายให้แก่รางรถไฟ กระนั้นฝ่ายญี่ปุ่นก็ถือโอกาสตอบโต้ด้วยการทุ่มกำลังทหารอย่างเต็มที่เข้ารุกรานและยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน หรือที่เรียกขานกันว่าแมนจูเรีย [3]
มีบางความเห็นในเว่ยโป๋ (Weibo) ซึ่งก็คือทวิตเตอร์เวอร์ชั่นจีน วิจารณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงคราวนี้โดยหยิบยกคำกล่าวอันเป็นที่รู้จักกันดี ที่ว่า “ประวัติศาสตร์ก็เหมือนกับสาวโสดที่กำลังรอคอยการเปลี่ยนแปลง”
ทางด้าน ฟาน เจี้ยนฉวน (Fan Jianchuan) รองเลขาธิการสถาบันประวัติศาสตร์สงครามจีนต่อต้านญี่ปุ่น (Academy of Chinese Anti-Japanese War History) ในกรุงปักกิ่ง ให้ความสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะเป็นการแสดงความเคารพความจริงในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ฟานระบุในข้อความที่เขาโพสต์ทางเว่ยโป๋ว่า นิทรรศการว่าด้วยสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในกลุ่มพิพิธภัณฑ์เจี้ยนฉวน (Jianchuan Museum Cluster) ในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ซึ่งจัดแสดงมาเป็นเวลา 14 ปีแล้วนั้น ก็ระบุอ้างอิงมาโดยตลอดว่ากรณีเมืองมุกเดนปี 1931 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามคราวนี้
อย่างไรก็ดี ในเว็บไซต์ Britannica.com ยังคงบอกว่าสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 และสิ้นสุดลงในปี 1945 เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมปีนั้น
หมายเหตุผู้แปล
[1]สะพานมาร์โคโปโล (Marco Polo Bridge) เป็นสะพานหินโค้งเชื่อมต่อกัน 11 โค้งซึ่งเก่าแก่ที่สุดในกรุงปักกิ่ง สะพานแห่งนี้สร้างข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง ที่เป็นสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของแม่น้ำหวายเหอ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเฟิงไถ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง ห่างจากใจกลางเมืองราว 15 กิโลเมตร เริ่มสร้างครั้งแรกในยุคราชวงศ์จิน (เมื่อปี ค.ศ.1189) แล้วได้รับการบูรณะซ่อมแซมในราชวงศ์หมิง และในสมัยจักรพรรดิคังซี แห่งราชวงศ์ชิง (ปี 1698) เหตุที่โลกตะวันตกรู้จักสะพานนี้ในชื่อว่าสะพานมาร์โคโปโล นั้น มาจากชื่อของ มาร์โค โปโล นักเดินทางชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 13 ซึ่งได้เดินทางมาพำนักในจีนอยู่หลายปี และได้พรรณนาถึงความงามของสะพานแห่งนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดัง สำหรับชื่อในภาษาจีนนั้น หลูโกว เป็นชื่อเดิมของแม่น้ำหย่งติ้ง ส่วน เฉียว แปลว่าสะพาน ในระยะหลายปีหลังๆ มานี้ น้ำของแม่น้ำหย่งติ้งได้ถูกผันไปยังพื้นที่ต่างๆ ของปักกิ่ง จนกระทั่งปัจจุบันบ่อยครั้งทีเดียวที่ไม่มีน้ำอยู่ใต้สะพานแห่งนี้เลย (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[2] หลังจากเกิดกรณีสะพานหลูโกวเฉียวแล้วไม่นาน สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นในลักษณะเป็นการปะทะกันเป็นจุดๆ และสับสน ก็ได้ยกระดับการเป็นสงครามเต็มขั้น โดยที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดปักกิ่ง (เป่ยผิง) และเมืองเทียนจิน (เทียนสิน) ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 1937 (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[3] หลังจากเกิดกรณีมุกเดน กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผย หลังจากการปะทะกันผ่านไปได้ 5 เดือน ญี่ปุ่นก็ประกาศให้แมนจูเรียเป็นรัฐอิสระใช้ชื่อว่าแมนจูกัว โดยที่เนื้อแท้แล้วเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น พร้อมกับอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จีน เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนามของแมนจูกัว (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
China adds six years to Sino-Japanese war in history books
By Lin Wanxia
10/01/2017
วัสดุการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของจีนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงมหาวิทยาลัย กำลังได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขที่กระทำกันในระดับชาติ ซึ่งระบุว่า ต่อไปนี้ให้ถือว่าสงครามที่จีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นนั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1931 ไม่ใช่ในปี 1937 อย่างที่เคยยึดถือกันมาก่อนหน้านี้
“สงครามของประชาชนจีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น” ( Chinese People’s War of Resistance against Japanese Aggression) ได้ถูกขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 ปี หลังจากกระทรวงศึกษาธิการของแดนมังกรออกคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลนี้ในการเรียนการสอนของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกๆ แห่งในประเทศจีนและในหนังสือตำราประวัติศาสตร์ทั้งหลายในประเทศจีน
คำสั่งให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในระดับชาติคราวนี้ มีไปยังโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมทุกแห่ง รวมทั้งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขวัสดุการเรียนการสอนซึ่งใช้กันอยู่ตามมหาวิทยาลัยทั้งหลายทั่วประเทศด้วย
สงครามของประชาชนจีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น ตามที่เรียกขานกันในจีน โดยที่ในหนังสือตำราประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกมักเรียกขานกันว่าเป็น “สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2” (Second Sino-Japanese War) นั้น ตั้งแต่นี้ไปจะถือว่าเริ่มต้นขึ้นในปี 1931 แทนที่จะเป็นปี 1937 เหมือนเมื่อก่อน
ทางผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ “เป่ยจิงนิวส์” (Beijing News) ได้รับการยืนยันจากพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาเมื่อตอนเช้าวันอังคาร (4 ม.ค.) ว่า เอกสารที่เผยแพร่เวียนกันทางออนไลน์โดยใช้หัวเรื่องว่า “ให้ปฏิบัติตามอย่างเต็มที่ตามแนวความคิด “การสู้รบต่อต้านญี่ปุ่นดำเนินไปเป็นเวลา 14 ปี” ในหนังสือแบบเรียนของระดับการศึกษาชั้นประถมและมัธยม” นั้น เป็นเอกสารตัวจริงไม่ใช่ของปลอม
เอกสารดังกล่าวกำหนดให้หน่วยงานศึกษาธิการตั้งแต่ระดับชาติ, ระดับมณฑล, และระดับเทศบาล ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบด้านเพื่อให้หนังสือแบบเรียนที่จะใช้กันในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ตัดเอาข้อมูลระยะเวลาของสงครามแบบเดิมออกไปเสีย และเปลี่ยนมาใช้ข้อความระบุกรอบเวลาอย่างใหม่ ขณะเดียวกันก็ให้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
ความเคลื่อนไหวคราวนี้คือการทำให้เจตนารมณ์ของรัฐบาลส่วนกลางกลายเป็นการปฏิบัติอย่างเป็นจริงขึ้นมา เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการผู้หนึ่งบอก ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีจีนได้มีคำสั่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 แล้ว ให้กระทรวงเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ภายในเวลา 2 เดือน “มาถึงตอนนี้หนังสือตำราเรียนที่มีข้อความอย่างใหม่ก็พรักพร้อมแล้วทั่วทั้งประเทศ” เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าว
เท่าที่ผ่านมา กรณีสะพานหลูโกวเฉียว (Lugouqiao Incident) เดือนกรกฎาคม 1937 (เนื่องจากทางโลกตะวันตกรู้จักสะพานหลูโกวเฉียวในชื่อว่าสะพานมาร์โคโปโล [1] เหตุการณ์นี้จึงเรียกกันในโลกตะวันตกว่า กรณีสะพานมาร์โคโปโล Marco Polo Bridge Incident) มักถูกใช้เป็นหลักหมายแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสงครามประชาชนจีนต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้จัดการซ้อมรบขึ้นใกล้ๆ นครเป่ยผิง (กรุงปักกิ่งในทุกวันนี้) และเรียกร้องต้องการที่จะเข้าไปยังอำเภอหว่านผิง (Wanping ซึ่งอยู่ทางอีกฝั่งหนึ่งของสะพานหลูโกวเฉียว) ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อค้นหาทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งที่หายไป แต่เมื่อทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนปฏิเสธคำขอนี้ กองทหารญี่ปุ่นก็ยกกำลังเข้าโจมตีสะพานแห่งนี้และทิ้งระเบิดถล่มอำเภอดังกล่าว [2]
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนมายึดถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามต่อต้านญี่ปุ่นคือ กรณีเมืองมุกเดน (Mukden Incident) ในวันที่ 18 กันยายน 1931 ทั้งนี้กรณีเมืองมุกเดน (มุกเดนเป็นคำในภาษาแมนจูเรีย ใช้เรียกเมืองซึ่งปัจจุบันนี้ก็คือเมืองเสิ่นหยาง) เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกล่าวหาพวกคนจีนที่ไม่เห็นด้วยกับทางการ ว่าเป็นตัวการจุดชนวนดินระเบิดจำนวนเล็กน้อยซึ่งวางเอาไว้ติดกับเส้นทางรถไฟสายหนึ่งซึ่งญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ ทราบกันต่อมาว่าเหตุการณ์นี้ฝ่ายญี่ปุ่นสร้างเรื่องขึ้นและแรงระเบิดที่เกิดก็เล็กน้อยมากจนไม่ได้ก่อความเสียหายให้แก่รางรถไฟ กระนั้นฝ่ายญี่ปุ่นก็ถือโอกาสตอบโต้ด้วยการทุ่มกำลังทหารอย่างเต็มที่เข้ารุกรานและยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน หรือที่เรียกขานกันว่าแมนจูเรีย [3]
มีบางความเห็นในเว่ยโป๋ (Weibo) ซึ่งก็คือทวิตเตอร์เวอร์ชั่นจีน วิจารณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงคราวนี้โดยหยิบยกคำกล่าวอันเป็นที่รู้จักกันดี ที่ว่า “ประวัติศาสตร์ก็เหมือนกับสาวโสดที่กำลังรอคอยการเปลี่ยนแปลง”
ทางด้าน ฟาน เจี้ยนฉวน (Fan Jianchuan) รองเลขาธิการสถาบันประวัติศาสตร์สงครามจีนต่อต้านญี่ปุ่น (Academy of Chinese Anti-Japanese War History) ในกรุงปักกิ่ง ให้ความสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะเป็นการแสดงความเคารพความจริงในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ฟานระบุในข้อความที่เขาโพสต์ทางเว่ยโป๋ว่า นิทรรศการว่าด้วยสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในกลุ่มพิพิธภัณฑ์เจี้ยนฉวน (Jianchuan Museum Cluster) ในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ซึ่งจัดแสดงมาเป็นเวลา 14 ปีแล้วนั้น ก็ระบุอ้างอิงมาโดยตลอดว่ากรณีเมืองมุกเดนปี 1931 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามคราวนี้
อย่างไรก็ดี ในเว็บไซต์ Britannica.com ยังคงบอกว่าสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 และสิ้นสุดลงในปี 1945 เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมปีนั้น
หมายเหตุผู้แปล
[1]สะพานมาร์โคโปโล (Marco Polo Bridge) เป็นสะพานหินโค้งเชื่อมต่อกัน 11 โค้งซึ่งเก่าแก่ที่สุดในกรุงปักกิ่ง สะพานแห่งนี้สร้างข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง ที่เป็นสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของแม่น้ำหวายเหอ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเฟิงไถ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง ห่างจากใจกลางเมืองราว 15 กิโลเมตร เริ่มสร้างครั้งแรกในยุคราชวงศ์จิน (เมื่อปี ค.ศ.1189) แล้วได้รับการบูรณะซ่อมแซมในราชวงศ์หมิง และในสมัยจักรพรรดิคังซี แห่งราชวงศ์ชิง (ปี 1698) เหตุที่โลกตะวันตกรู้จักสะพานนี้ในชื่อว่าสะพานมาร์โคโปโล นั้น มาจากชื่อของ มาร์โค โปโล นักเดินทางชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 13 ซึ่งได้เดินทางมาพำนักในจีนอยู่หลายปี และได้พรรณนาถึงความงามของสะพานแห่งนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดัง สำหรับชื่อในภาษาจีนนั้น หลูโกว เป็นชื่อเดิมของแม่น้ำหย่งติ้ง ส่วน เฉียว แปลว่าสะพาน ในระยะหลายปีหลังๆ มานี้ น้ำของแม่น้ำหย่งติ้งได้ถูกผันไปยังพื้นที่ต่างๆ ของปักกิ่ง จนกระทั่งปัจจุบันบ่อยครั้งทีเดียวที่ไม่มีน้ำอยู่ใต้สะพานแห่งนี้เลย (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[2] หลังจากเกิดกรณีสะพานหลูโกวเฉียวแล้วไม่นาน สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นในลักษณะเป็นการปะทะกันเป็นจุดๆ และสับสน ก็ได้ยกระดับการเป็นสงครามเต็มขั้น โดยที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดปักกิ่ง (เป่ยผิง) และเมืองเทียนจิน (เทียนสิน) ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 1937 (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[3] หลังจากเกิดกรณีมุกเดน กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผย หลังจากการปะทะกันผ่านไปได้ 5 เดือน ญี่ปุ่นก็ประกาศให้แมนจูเรียเป็นรัฐอิสระใช้ชื่อว่าแมนจูกัว โดยที่เนื้อแท้แล้วเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น พร้อมกับอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จีน เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนามของแมนจูกัว (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)