(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Cut the crap and ask Tillerson the right questions
By M K Bhadrakumar
19/12/2016
พวกชนชั้นนำทางการเมืองในสหรัฐฯกำลังโวยวายเรื่องที่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซึ่งว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เลือกให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของเขา เป็นผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนด์ชิพของรัสเซีย ทั้งๆ ที่มั่นไม่ใช่ประเด็นใหญ่โตอะไรเลย ทั้งนี้เรื่องซึ่งพวกเขาควรให้ความสนใจและถามไถ่ซักไซ้มากกว่า คือผลงานของทิลเลอร์สันในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายใหญ่ของบริษัทเอ็กซ์ซอนโมบิล
พวกชนชั้นนำทางการเมืองชาวอเมริกันเก่งกันจริงๆ ในการตีหน้าเซ่อ ทำไมพวกเขาจึงต้องทำเป็นตื่นเต้นนักหนากับการที่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน (Rex Tillerson) นายใหญ่ของบริษัทเอ็กซ์ซอนโมบิล ซึ่งว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกันของเขานั้น เป็นผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ออร์เดอร์ออฟเฟรนด์ชิพ” (Order of Friendship) ของรัสเซีย ?
วุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน (John McCain) แสดงปฏิกิริยาด้วยภาษาแสดงความหยามหยันตามแบบฉบับว่า “เมื่อเขา (ทิลเลอร์สัน) ได้รับอิสริยาภรณ์เฟรนด์ชิพ (มิตรภาพ) จากนักฆ่าเช่นนี้ พูดกันตรงๆ เลยนะ มันกลายเป็นประเด็นปัญหาที่ผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบกัน” ทั้งนี้ “นักฆ่า” ที่เขาอ้างอิงถึงนั้น แน่นอนทีเดียว คือประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย
ทางด้านวุฒิสมาชิกมาร์โค รูบิโอ (Marco Rubio) จากรัฐฟลอริดา ก็ทวิตด้วยข้อความว่า “การเป็น ‘เพื่อนของวลาดิมีร์’ ไม่ใช่เป็นคุณสมบัติที่ผมคาดหวังจะได้จากรัฐมนตรีต่างประเทศหรอก”
ทำไมชนชั้นนำพวกนี้ถึงได้พูดสิ่งที่โง่เขลาไร้สติปัญญากันได้ถึงขนาดนี้นะ? เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนชิพ ของรัสเซียนั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นปัญหาที่ใหญ่โตอะไรเลย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ถือว่าสถาปนากันขึ้นมาค่อนข้างใหม่มากด้วยซ้ำ โดยอย่างที่อยู่ในลักษณะปัจจุบันนั้นเริ่มมอบกันตั้งแต่ปี 1994 เป็นต้นมา และกฤษฎีประธานาธิบดีฉบับสุดท้ายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ลงนามโดยประธานาธิบดีดมิตริ เมดเวเดฟ ในปี 2012
กฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับดังกล่าวพูดกว้างๆ ว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะมอบให้แก่บุคคลสัญชาติต่างประเทศผู้ประกอบคุณงามความดีอย่างสำคัญ ในการดำเนินการด้านการลงทุนร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย, ในการดำเนินการโครงการทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ๆ และดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสหพันธรัฐรัสเซีย, หรือส่งเสริมเชิดชูมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ฯลฯ
เครมลิน [1] เลือกที่จะมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิลผู้นี้ เนื่องจากแผนการลงทุนอันมโหฬารของบริษัทแห่งนี้ในภาคพลังงานของรัสเซีย มอสโกรู้สึกว่าจำเป็นต้องให้เกียรติแก่นายใหญ่วงการน้ำมันผู้นี้ซึ่งกล้าตัดสินในเรื่องที่ใหญ่โต
สำหรับมอสโกแล้ว แผนธุรกิจของเอ็กซ์ซอนโมบิลเปรียบเหมือนกับเป็นความฝันที่กลายเป็นความจริงทีเดียว เมื่อพิจารณาจากแง่มุมที่ว่าคำมั่นสัญญาของบริษัทที่จะเปิดแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติแหล่งใหม่ในรัสเซียนั้น มันจะมีทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าประสานกันสนิทชนิดไร้รอยต่อ หลั่งไหลพรั่งพรูกันเข้ามาสู่แดนหมีขาว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนชิพ เป็นการแสดงออกซึ่งไมตรีจิต และ/หรือ ความรู้สึกขอบคุณอย่างซาบซึ้ง มันห่างไกลจากการเป็นเครื่องมือแห่งความชั่วร้ายของรัสเซียที่ตีประทับลงให้แก่บุคคลทรงอิทธิพลผู้ทุจริตสามานย์ แท้ที่จริงแล้ว หนึ่งในผู้ทรงเกียรติซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย ได้แก่ ลี กวนยู รัฐบุรุษอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้วของสิงคโปร์ (ผู้ซึ่งดูเหมือนว่าทั้งปูตินและแมคเคนต่างยกย่องนับถือ)
หรือลองดูรายชื่อชาวอเมริกันซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ดูเถอะ จะได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนทีเดียว ได้แก่ ลีเดีย แบล็ก (Lydia Black) นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยา, เดวิด แบลตต์ (David Blatt) โคชบาสเกตบอล, แวน ไคลเบิร์น (Van Kliburn ) นักเปียโนผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง, แพตริเชีย โคลเฮอร์ตี (Patricia Kloherty) นักธุรกิจหญิงชาวอเมริกันที่เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนเพื่อการลงทุนสหรัฐฯ-รัสเซีย (US-Russia Investment Fund), เรย์มอนด์ จอห์นสัน (Raymond Johnson) นักธุรกิจผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะรัสเซีย (Museum of Russian Art) ขึ้นที่เมืองมินนีแอโพลิส, จอห์น มิดเดิลตัน-ทิดเวลล์ (John Middleton-Tidwell) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สหรัฐฯ-รัสเซีย,ริชาร์ด เพียร์ซ (Richard Pierce) นักวิชาการด้านรัสเซีย-สหรัฐฯศึกษา, บาร์บารา สวีตแลนด์-สมิท (Barbara Sweetland-Smith) นักประวัติศาสตร์ทางด้านรัสเซีย-สหรัฐฯศึกษา, เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิล คอร์เปอเรชั่น, และ สตีเวน ซีกัล (Steven Seagal) นักแสดง, ผู้กำกับการแสดง, นักดนตรี, ผู้สอนศิลปะป้องกันตัว
สภาพความเอะอะโวยวายเกี่ยวกับทิลเลอร์สันในเวลานี้ ควรต้องบอกว่าปรากฏขึ้นมาเนื่องจากเหตุผลที่ผิดฝาผิดตัว แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่ส่งแสงประกายเจิดจ้าที่สุดเกี่ยวกับการแต่งตั้งเขา อยู่ตรงที่ว่านี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันซึ่งบิ๊กบอสจากภาคบริษัทธุรกิจคนหนึ่งกำลังจะกลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งก็คือนักการทูตระดับท็อปของสหรัฐอเมริกา และจะเป็นผู้รับชอบการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งใหญ่ในนโยบายการต่างประเทศด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ
ความสำนึกของการจัดลำดับความสำคัญของทรัมป์ตรงนี้กระจ่างชัดเจนมาก และก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งอย่างใหญ่โตด้วย เขาดูเหมือนต้องการที่จะโยกย้ายถ่ายโอนความมั่งคั่งร่ำรวยจากส่วนอื่นๆ ของโลก ให้เข้ามายังระบบเศรษฐกิจอเมริกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ว่ามันเป็นเรื่องดีหรือที่ประเทศผู้มีฐานะเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดี่ยวโดดๆ ของโลกในปัจจุบัน จะหันไปหาพวกนโยบายแบบลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism)[2] อันละโมบโลภมากของยุคศตวรรษที่ 19 เพื่อที่จะได้ขูดรีดสูบผลประโยชน์จากมนุษยชาติมาบำรุงเลี้ยงเศรษฐกิจอเมริกันให้อ้วนพีอย่างนี้? นโยบายเช่นนี้จะไม่นำไปสู่การฟื้นคืนชีพของ “อเมริกันผู้น่าชัง” (Ugly American)[3] และการทูตแบบใช้เรือปืน (gunboat diplomacy)[4] ขึ้นมาใหม่ละหรือ?
แล้วจะทำยังไงกับพวกเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development goals)[5] ? แล้วยังแนวความคิดเรื่องอเมริกาคือชาติพิเศษที่ไม่มีประเทศไหนในโลกเสมอเหมือนและก็ไม่เหมือนชาติใดในโลก (America’s exceptionalism)[6] ซึ่งเป็นหัวข้อในด้านนโยบายการต่างประเทศ ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ชื่นชอบป่าวร้องเหลือเกิน?
แน่นอนทีเดียว ยังมีคำถามสำคัญมากอีกข้อหนึ่งด้วย นั่นคือ อเมริกากำลังจะใช้ประโยชน์อย่างไรจากประสบการณ์และคุณภาพแห่งความเป็นผู้นำของทิลเลอร์สัน ซึ่งไม่มีข้อสงสัยเลยว่าแสนดีเลิศประเสริฐศรี ?
ทิลเลอร์สันเป็นผู้ที่แสดงบทบาทความเป็นผู้นำซึ่งสำคัญมาก ในการส่งเสริมสนับสนุนบรรดากิจกรรมทางธุรกิจซึ่งได้กำไรเป็นกอบเป็นกำของเอ็กซ์ซอนโมบิลในประเทศต่างๆ อย่างเช่น อิรัก, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, เม็กซิโก, และเวเนซุเอลา
ในอิรัก เอ็กซ์ซอนโมบิลมีกิจกรรมคึกคักในอาณาบริเวณทางตอนเหนือของประเทศนั้น ทั้งนี้หากคิดคำนวณกันโดยแยกแยะออกเป็นแต่ละรายแต่ละเจ้าแล้ว บริษัทนี้แหละจะเป็นรายที่ได้รับผลประโยชน์ก้อนโตที่สุดหากอิรักถูกแบ่งแยกออกเป็นเสี่ยงๆ และพื้นที่ของชาวเคิร์ดทางภาคเหนือแตกออกไปเป็นประเทศเอกราช
ในทำนองเดียวกัน ถ้าซีเรียล่มสลายลงไม่สามารถรักษาความเป็นประเทศหนึ่งเดียว (บูรณภาพแห่งดินแดน) เอาไว้ได้ แล้วสายท่อส่งน้ำมันและแก๊สที่เชื่อมโยงระหว่างแคว้นเคอร์ดิสถาน (ทางภาคเหนือ) ของอิรัก เข้ากับดินแดนตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ของซีเรีย) สามารถสร้างกันขึ้นมาได้สำเร็จ เอ็กซ์ซอนโมบิลก็จะได้รับรางวัลแจ๊กพอต เพราะสายท่อส่งนี้ยังจะสามารถขนส่งแก๊สของกาตาร์ไปสู่ตลาดยุโรปได้อีกด้วย
ทรัมป์กับทิลเลอร์สันจะส่งแรงผลักดันที่จำเป็นเพื่อทำให้อิรักกับซีเรียแตกออกเป็นเสี่ยงๆ หรือไม?
ซาอุดีอาระเบียและกาตาร์ต่างเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอิสลามิสต์สุดโต่งทั้งหลายในซีเรีย โดยที่บางกลุ่มมีคุณสมบัติสมควรที่จะเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งในเครือของกลุ่มอัล-กออิดะห์ด้วยซ้ำ ทว่าเอ็กซ์ซอนโมบิลกำลังทำธุรกิจอย่างสนุกสนานอยู่ในทั้ง 2 ประเทศนี้
ตอนนี้ทรัมป์ให้สัญญาว่าจะทำมหาสงครามอันใหญ่โตชนิดเป็นเหมือนมารดาของสงครามทั้งหลายทั้งปวง เพื่อกำจัดกวาดล้างการก่อการร้าย ซึ่งตามเหตุตามผลแล้วก็ทำให้ต้องเล็งเป้ามุ่งเล่นงานท่านชัยค์ (sheikh) ชาวซาอุดีและชาวกาตาร์ทั้งหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น แล้วทิลเลอร์สันจะแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในขั้นสุดท้ายหรือไม่?
ขณะที่ทรัมป์ยังคงพออกพอใจอยู่กับการทำสงครามน้ำลายเล่นงานกลุ่มสุดโต่งที่เลี้ยงดูฟูมฟักโดยพวกท่านชัยค์ทั้งหลายอยู่นั้น ทิลเลอร์สันก็อาจสามารถทำหน้าที่เป็นผู้คอยระวังหลังในอ่าวเปอร์เซีย ให้แก่ประดาบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก
สิ่งที่สำคัญมากก็คือ เอ็กซ์ซอนโมบิลจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่เวลานี้ยังขาดหายอยู่ ระหว่างวาระ “การเปลี่ยนระบอบปกครอง” ในซีเรีย ตามแบบของโอบามา กับวาระตามแบบของทรัมป์ แน่นอนทีเดียว ประดาท่านชัยค์ทั้งหลายจะต้องยินดีปรีดาถ้าหากการเชื่อมต่อดังกล่าวนี้ประสบความสำเร็จ
หรือหันมาพิจารณาพื้นที่สนามหลังบ้านของสหรัฐอเมริกากันบ้าง เม็กซิโกเป็นประเทศซึ่งทรัมป์ต้องการที่จะปิดกั้นไม่ให้มีผู้อพยพไหลออกมาสู่สหรัฐฯ เขาวาดหวังที่จะบังคับให้เม็กซิโกยอมออกเงินค่าก่อสร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศทั้งสอง
ทรัมป์ยังวาดหวังที่จะขับไล่ไสส่งพวกผู้อพยพผิดกฎหมายให้ออกไปจากผืนแผ่นดินอเมริกัน ทว่าเอ็กซ์ซอนโมบิลนี่แหละกลับเป็นผู้ที่มีเดิมพันก้อนมหึมาอยู่ในเม็กซิโก
สำหรับชาติละตินอเมริกาอีกรายหนึ่ง ได้แก่เวเนซุเอลา รัฐบาลฝ่ายซ้ายของประเทศนี้ตั้งแต่ยุคฮูโก ชาเบซ (Hugo Chavez) ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้ประกาศยึดทรัพย์สินอันมีอยู่มากมายกว้างขวางในเวเนซุเอลาของเอ็กซ์ซอนโมบิลเข้าเป็นสมบัติของชาติ หลังจากนั้น บริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของทิลเลอร์สันรายนี้ ก็ตอบโต้ระบายความเคียดแค้นของตนในทันที ด้วยการยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายรวมแล้วอยู่ในระดับหลายหมื่นล้านดอลลาร์
เวเนซุเอลาเวลานี้กล่าวหาว่าสหรัฐฯกำลังวางแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของตนซึ่งขึ้นครองอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้สร้างความรบกวนระคายเคืองให้แก่แมคเคน และไม่ได้เคยถึงขนาดทำให้เขาคิดไม่ตกนอนไม่หลับกันหลายๆ คืนเลยใช่ไหม?
มันไม่ได้อัตคัดขาดแคลนเลยนะ พวกคำถามอันถูกต้องเหมาะเจาะที่แมคเคนสามารถหยิบยกขึ้นมาถามทิลเลอร์สันได้ ในระหว่างที่บิ๊กบอสเอ็กซ์ซอนโมบิลผู้นี้ต้องมาให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ เพื่อให้ได้รับการอนุมัติรับรองนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกันได้ เอ็กซ์ซอนโมบิลนั้นมีประวัติอันยาวเหยียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางธุรกิจแบบดื้อรั้นดึงดัน
บริษัทเดินอยู่บนเส้นบางเฉียบซึ่งกั้นระหว่างการทำธุรกิจอย่างชอบธรรมถูกกฎหมาย กับ “การกระตุ้นแรงจูงใจ” ของเหล่าผู้นำต่างประเทศผู้ซึ่งไม่ต้องผ่านการตรวจสอบรับผิดชอบอะไรอยู่แล้ว ให้ดำเนินการตัดสินใจด้วยความรวดเร็วและเอื้ออาทร
ทิลเลอร์สันเป็นผู้อุทิศชีวิตการทำงานทั้งชีวิตของเขาให้เอ็กซ์ซอนโมบิล อย่าถามเชียวว่าทำไมพวกผู้นำต่างชาติจึงให้ความอุปถัมภ์เขา แต่ควรต้องถามว่าเขาทำอย่างไรจึงสามารถโน้มน้าวผู้นำต่างประเทศเหล่านี้ให้แสดงความเอนเอียงเข้าข้างเอ็กซ์ซอนโมบิล
เฮ้อ แต่ก็นั่นแหละ โฟกัสจุดสนใจซึ่งเน้นกันอยู่ตอนนี้กลับเฉไฉหันเหไปอยู่ที่เรื่อง “การแฮกข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย” และเรื่องที่ทิลเลอร์สันได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนชิพของรัสเซีย
มันเป็นภาพสะท้อนอันน่าเศร้าใจของบางสิ่งบางอย่างซึ่งอยู่เบื้องลึกลงไป อันได้แก่ความแตกแยกแบ่งพวกซึ่งดูเหมือนปรากฏอยู่ในหมู่ชนชั้นนำผู้ปกครองของอเมริกา เกี่ยวกับทิศทางต่างๆ ของนโยบายการต่างประเทศ ในห้วงหัวเลี้ยวหัวต่อขณะเมื่ออิทธิพลบารมีในทั่วโลกของสหรัฐฯกำลังอยู่ในอาการเสื่อมทรุด และจำเป็นที่จะต้องสกัดกั้นยับยั้งไม่ให้แย่ลงไปกว่านี้อีก
สภาพความยากลำบากเช่นนี้มีความสาหัสรุนแรงยิ่ง เนื่องจากความเสื่อมทรุดของอิทธิพลบารมีทั่วโลกของอเมริกัน กับความเสื่อมทรุดของอเมริกาเอง ยังเกิดถักร้อยทอประสานเข้าด้วยกัน และเสริมกำลังแห่งความถดถอยให้แก่กันและกัน
กระแสการโจมตีเรื่อง “การแฮกข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย” กลายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เคียงคู่กับความพ่ายแพ้ของสหรัฐฯในซีเรีย, ความฉีกขาดรุ่งริ่งของการปักหมุดหวนคืนสู่เอเชีย, และความล้มเหลวของยุทธศาสตร์ของโอบามาในการปิดล้อมรัสเซีย
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์ไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
หมายเหตุผู้แปล
[1] เครมลิน (Kremlin)
คำๆ นี้ในภาษารัสเซียหมายถึงกลุ่มอาคารสำคัญขนาดใหญ่ที่มีป้อมค่ายรายล้อม ซึ่งมักพบเห็นเป็นศูนย์กลางตามเมืองประวัติศาสตร์แห่งต่างๆ ของรัสเซีย บ่อยครั้งที่คำๆ นี้ถูกใช้ให้หมายถึง “เครมลิน” ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด อันได้แก่ เครมลินแห่งกรุงมอสโก (Moscow Kremlin) เนื่องจากเครมลิน มอสโก ปัจจุบันเป็นทำเนียบของประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย คำๆ นี้จึงถูกใช้ให้หมายถึง สำนักงานหรือรัฐบาลของประธานาธิบดีรัสเซีย ด้วยเช่นกัน (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[2]ลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism)
เป็นทฤษฎีและการปฏิบัติทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำหลายๆ ส่วนของยุโรปในระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 16 ถึง 18 รัฐที่ปฏิบัติตามลัทธินี้มักพยายามที่จะสะสมความมั่งคั่งร่ำรวยโดยผ่านการค้าขายกับรัฐอื่นๆ โดยถือหลักว่าต้องส่งออกมากกว่านำเข้า และสะสมทองคำตลอดจนโลหะมีค่าต่างๆ ให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามประวัติศาสตร์แล้ว นโยบายเหล่านี้มักนำไปสู่สงคราม และยังกระตุ้นให้มีการขยายอาณานิคม
[3] “อเมริกันผู้น่าชัง” (Ugly American)
คำเหยียดหยามที่มักหมายถึงชาวอเมริกันผู้ที่เดินทางไปต่างแดนหรือกำลังพำนักอยู่ในต่างแดน โดยที่ยังคงไม่ประสีประสากับวัฒนธรรมท้องถิ่น และวินิจฉัยทุกสิ่งทุกอย่างโดยใช้มาตรฐานแบบอเมริกัน คำๆ นี้ใช้กันแพร่หลาย จากการเป็นชื่อเรื่องของหนังสือนวนิยายขายดีเล่มหนึ่งซึ่งเขียนโดย ยูยีน เบอร์ดิก และ วิลเลียม เลเดอเรอร์ แล้วต่อมายังถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด นำแสดงโดย มาร์ลอน แบรนโด และมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ “สารขัณฑ์” ประเทศสมมุติที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังเผชิญกับขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามท้องเรื่องของ “อักลี่ อเมริกัน” ตัวละครต่างๆ มีวิธีการแตกต่างกันในการต่อสู้คอมมิวนิสต์ โดยที่ตัวละครที่เป็นชาวอเมริกันส่วนใหญ่แล้ว มีพฤติกรรมในทางซุ่มซ่ามสะเพร่า, ทุจริตคดโกง, และไร้ความรู้ความสามารถ, ชอบเน้นหนักที่พวกโครงการซึ่งไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ ทว่าให้ผลประโยชน์แก่ผู้รับเหมาชาวอเมริกันมากกว่าประชากรท้องถิ่น
[4] การทูตแบบใช้เรือปืน (gunboat diplomacy)
นโยบายการต่างประเทศแบบสนับสนุนด้วยการใช้หรือการข่มขู่ว่าจะใช้กำลังทหาร
[5]เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development goals)
เมื่อปี 2000 เกือบทุกประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (Millennium Summit) ของสหประชาชาติ และได้รับรองเป้าหมายหลักในการพัฒนาที่ทุกประเทศจะต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2015 รวม 8 ข้อ ได้แก่ (1) ขจัดความยากจนและความหิวโหย (2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา (3) ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี (4) ลดอัตราการตายของเด็ก (5) พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ (6) ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่น ๆ (7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (8) ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก
[6]แนวความคิดเรื่องอเมริกาคือชาติพิเศษที่ไม่มีประเทศไหนในโลกเสมอเหมือนและก็ไม่เหมือนชาติใดในโลก (America’s exceptionalism)
แนวความคิดนี้ประกอบด้วยแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกัน 3 ประการ ได้แก่ 1) แนวความคิดที่เชื่อว่าประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯนั้นโดยเนื้อแท้แล้วมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ 2) แนวความคิดที่เชื่อว่าสหรัฐฯมีภารกิจอันโดดเด่นของตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงโลก และ 3) ความรู้สึกสำนักที่ว่า เนื่องจากประวัติศาสตร์และภารกิจของสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯมีฐานะที่เหนือกว่าชาติอื่นๆ
เสียงจากรัสเซียเรื่องที่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน จะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
นอกเหนือจากข้อเขียนของเอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร ข้างต้นแล้ว ในเว็บไซต์เอเชียไทมส์ ยังได้เสนอรายงานข่าวซึ่งมาจากเว็บไซต์คริสเตียนไซแอนซ์มอนิเตอร์ (csmonitor.com) หนังสือพิมพ์ออนไลน์ซึ่งปรับตัวแปลงโฉมจากหนังสือพิมพ์รายวัน (The Christian Science Monitor) ที่มีชื่อเสียงฉบับหนึ่งของสหรัฐฯ รายงานข่าวชิ้นนี้เขียนโดย เฟรด เวียร์ ผู้สื่อข่าวในมอสโก พูดถึงปฏิกิริยาของพวกผู้เชี่ยวชาญในรัสเซียต่อการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ จึงขอเก็บความนำมาเสนอเพิ่มเติมในที่นี้:
‘มอสโก’เพิ่มความหวังปรองดองกับ ‘สหรัฐฯ’ หลัง‘ทรัมป์’เสนอชื่อ‘ทิลเลอร์สัน’
โดย เฟรด เวียร์ ผู้สื่อข่าวคริสเตียนไซแอนซ์มอร์นิเตอร์
In Moscow, Trump's tapping of Tillerson lifts hope of US rapprochement
By Fred Weir
13/12/2016
พวกผู้เชี่ยวชาญรัสเซียรู้จัก เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิลเป็นอย่างดี และมองว่าการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อเขาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คือสัญญาณแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นมาอย่างแท้จริง
มอสโก - เป็นเรื่องพบเห็นได้ยากทีเดียวสำหรับการที่มอสโกจะแสดงความกระตือรือร้นต่อบุคคลผู้ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แน่นอนอยู่แล้วที่ว่ารัสเซียไม่ได้ออกอาการเช่นนี้ให้เห็นเลยในกรณีของรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกัน 2 คนก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็น ฮิลลารี คลินตัน หรือ จอห์น เคร์รี (John Kerry)
บรรยากาศของความปรีดาปราโมทย์ในรัสเซีย จากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศในวันที่ 13 ธ.ค. ถึงการที่เขาตัดสินใจเสนอชื่อของ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิล จึงออกจะมีความพิเศษไม่ธรรมดา
เมื่อตอนที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐฯปรากฏผลออกมาว่ามิสเตอร์ทรัมป์เป็นผู้ชนะ สเตทดูมา (State Duma สภาล่าง) ของรัสเซียถึงขนาดลุกขึ้นยืนปรบมือด้วยความยินดี (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.csmonitor.com/World/Europe/2016/1110/The-Trump-presidency-How-will-it-affect-ties-to-Putin-s-Russia-video) แต่การที่มิสเตอร์ทิลเลอร์สันได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นนักการทูตระดับสูงสุดของอเมริกาคราวนี้ บรรยากาศมันยิ่งกว่านั้นอีก เพราะเรื่องนี้ดูเหมือนกับเป็นหลักฐานยืนยันแก่เหล่าชาวรัสเซียผู้ใกล้ชิดเครมลินว่า คณะบริหารชุดใหม่ของสหรัฐฯจะเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสัญญาคร่าวๆ ระหว่างการรณรงค์หาเสียงของมิสเตอร์ทรัมป์ ในเรื่องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นมาใหม่
ทิลเลอร์สันเป็นที่รู้จักมักคุ้นและเป็นที่ชื่นชอบในมอสโก ซึ่งเขาได้มาติดต่อทำธุรกิจด้วยเป็นเวลาเกือบๆ 20 ปีแล้ว แต่นอกจากนั้นแล้วเขายังถูกมองว่าจะเป็นนักการทูตประเภทซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากนักการทูตอเมริกันทั้งหลายที่ฝ่ายรัสเซียเคยติดต่อด้วยเป็นประจำ “ทิลเลอร์สันขึ้นเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ จะเป็นสัญญาณแสดงว่านโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯได้เกิดการยุติความต่อเนื่องครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสงครามเย็นเป็นต้นมาทีเดียว” ดมิตริ เทรนิน (Dmitri Trenin) ผู้อำนวยการศูนย์คาร์เนกี มอสโก (Moscow Carnegie Center) ทวิตเช่นนี้ตั้งแต่ก่อนมีการประกาศเสนอชื่อเสียอีก (ดูรายละเอียดได้ที่ https://twitter.com/DmitriTrenin/status/807659440749084672?ref_src=twsrc%5Egoogle%7Ctwcamp%5Enews%7Ctwgr%5Etweet)
เซียร์เกย์ คารากานอฟ (Sergei Karaganov) หนึ่งในมือวางอาวุโสที่สุดทางด้านนโยบายการต่างประเทศของรัสเซีย กล่าวว่า ความแตกต่างที่เกิดขึ้นมาก็คือ ทิลเลอร์สันเป็นนักเล็งผลในทางปฏิบัติผู้ดึงดันไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาจะเน้นโฟกัสไปที่การทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ และปล่อยผ่านไม่แตะต้องประเด็นปัญหาทางการเมืองและทางปรัชญาจำนวนมากที่ถึงอย่างไรรัสเซียกับสหรัฐฯก็ไม่มีทางที่จะเห็นพ้องต้องกันได้อยู่แล้ว มิสเตอร์คารากานอฟก็เหมือนกับบุคคลจำนวนมากในแวดวงชั้นสูงของมอสโก นั่นคือได้เคยพบปะกับทิลเลอร์สันมาแล้ว และมีความเห็นว่าหากวุฒิสภาสหรัฐฯอนุมัติรับรองการแต่งตั้งเขา ก็จะเป็นสัญญาณแสดงว่า การผ่อนคลายความตึงเครียดกันอย่างแท้จริงและยืนยาวระหว่างมหาอำนาจทั้งสอง เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้จริงๆ แล้ว
“เรารู้จักเขา และนี่เป็นเรื่องที่ดี แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือสิ่งซึ่งเรารู้เกี่ยวกับตัวเขา ซึ่งก็คือรู้ว่าเขาเป็นนักมองโลกตามความเป็นจริง (realist) ซึ่งไม่ได้ถูกขับดันโดยอุดมการณ์” คารากานอฟกล่าว “ถ้าคณะบริหารทรัมป์สามารถอยู่รอดและกุมอำนาจได้อย่างมั่นคง ผมก็จะเป็นคนหนึ่งซึ่งเริ่มเชื่อว่าเราสามารถที่จะจัดวางความสัมพันธ์นี้ (ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐฯ) ให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องกันอีกครั้ง ให้อยู่ในหนทางซึ่งจะเน้นย้ำเรื่องการตกลงประนีประนอมกันและการร่วมมือกัน และหาหนทางซึ่งจะจัดการกับความผิดแผกแตกต่างกัน”
ทิลเลอร์สันเข้ารับผิดชอบการดำเนินงานในรัสเซียของเอ็กซ์ซอนโมบิลเมื่อปี 1998 และนำพาบริษัทฟันฝ่าผ่านความยากลำบากใหญ่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังจากวลาดิมีร์ ปูติน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และเครมลินประกาศเรียกร้องว่า บรรดาข้อตกลงด้านน้ำมันและแก๊สที่ทำกันไว้ก่อนหน้านั้นจะต้องตรวจสอบทบทวนกันใหม่ ด้วยความมุ่งหมายที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่าง กาซปรอม (Gazprom) และ รอสเนฟต์ (Rosneft) (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.csmonitor.com/2006/1011/p06s02-woeu.html) ในปี 2011 ซึ่งทิลเลอร์สันอยู่ในตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของเอ็กซ์ซอนโมบิลแล้ว เขาได้เจรจาจัดทำข้อตกลงร่วมทุนอันกว้างขวางยาวไกลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์กับรอสเนฟต์ เพื่อการสำรวจขุดเจาะน้ำมันในแถบอาร์กติกของรัสเซีย (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.rosneft.com/press/releases/item/114495/)
มิสเตอร์ปูติน ผู้ซึ่งได้พบปะหารืออยู่บ่อยครั้งกับทิลเลอร์สัน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.kremlin.ru/events/president/transcripts/15659)ได้ให้รางวัลเขาในปี 2013 ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนด์ชิพ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่รัสเซียสามารถมอบให้แก่ชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี จากการที่สหรัฐฯประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพื่อเป็นการลงโทษรัสเซียสำหรับการเข้าผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ได้บังคับให้โครงการอาร์กติกต้องหยุดชะงัก และมีรายงานว่าส่งผลให้เอ็กซ์ซอนโมบิลต้องขาดทุนถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว (ดูรายละเอียดได้ที่ http://oilprice.com/Energy/Energy-General/Exxon-Has-Lost-Over-1-Billion-From-Russian-Sanctions.html) นับจากนั้นมาทิลเลอร์สันก็พยายามล็อบบี้อย่างหนักหน่วงเพื่อคัดค้านการลงโทษคว่ำบาตรเช่นนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.bloomberg.com/politics/articles/2016-12-12/tillerson-a-frequent-white-house-visitor-over-russia-sanctions) และนี่ก็กลายเป็นข้อเท็จจริงซึ่งอาจสร้างปัญหาให้เขาในระหว่างไปให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ
“ผมทราบดีว่าชนชั้นปกครองวอชิงตันจะต้องพยายามโยนทุกสิ่งทุกอย่างเข้าใส่เพื่อกล่าวหาทิลเลอร์สัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เขาเสนอให้สาน ‘มิตรภาพ’ กับปูติน” คารากานอฟ บอก “แต่ผมไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในตำแหน่งของเขาเช่นนี้ จะกลายเป็นคนทุจริตเลวร้ายไปได้อย่างไร ไม่ว่าในทางอุดมการณ์หรือในเรื่องเกี่ยวกับเงินทอง เราต่างรู้ดีว่าเขาเป็นนักเจรจาต่อรองที่โหดมาก เป็นผู้รักชาติผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของบริษัทของเขา เรามีสมมุติฐานว่าเขาจะเป็นผู้รักชาติคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา นี่คือความเป็นจริงซึ่งบรรดาผู้นำของรัสเซียต้องการที่จะเห็น ชายคนที่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามบนโต๊ะเจรจา ผู้ซึ่งจะกดดันอย่างหนักหน่วงแต่ก็เป็นข้อต่อรองซึ่งสามารถทำได้และให้ผลยืนยาว”
ทางด้าน เซียร์เกย์ มาร์คอฟ (Sergei Markov) ผู้เคยเป็นที่ปรึกษาในอดีตของปูติน กล่าวว่าเมื่อมองกันในภาพรวมของทีมงานด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งทรัมป์กำลังรวบรวมแต่งตั้งขึ้นมา มันดูเหมือนกับว่าน่าจะเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวที่จะมีการยุติตัดขาดจากการปฏิบัติที่เคยกระทำกันมาในอดีต
“เรามองเห็น พลเอก (เจมส์) แมตทิส (James Mattis) ผู้กำลังได้รับเสนอชื่อให้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งสำหรับเราแล้ว เขาดูน่าจะเป็นคนซึ่งสามารถนำร่องให้เกิดความร่วมมือประสานงานกันทางการทหารระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย ชนิดออกห่างจากการพยายามสร้างอุปสรรคอย่างสม่ำเสมอให้แก่กันและกัน แต่มุ่งสู่การร่วมมือประสานงานกันเพื่อยังความปราชัยให้แก่การก่อการร้าย อีกคนหนึ่งคือ ไมเคิล ฟลินน์ (Michael Flynn) ผู้ซึ่งกำลังจะเป็นที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว เขาก็เป็นคนซึ่งประกาศสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือกับรัสเซีย ในด้านที่พวกเราทั้งสองฝ่ายต่างถือเป็นด้านที่สำคัญ” มิสเตอร์มาร์คอฟกล่าว “เราไม่ได้จินตนาการไปว่าผู้คนเหล่านี้เป็นเพื่อนมิตรพิเศษของพวกเรา หรืออะไรทำนองนั้นหรอก แต่มันจะทำให้เกิดความสดชื่นขึ้นมาใหม่เป็นอย่างมากที่มีตัวบุคคลในทางการทูตของฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจในการต่อรองทำข้อตกลงแบบมุ่งผลในทางปฏิบัติ
“ประสบการณ์ของเราในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษครึ่งที่ผ่านมาก็คือ เราไม่ได้มีการเจรจาต่อรองในลักษณะที่เป็นจริงใดๆ เลย เรามีแต่ได้รับการเทศนาสั่งสอนและการยื่นคำขาดจากพวกคู่เจรจาชาวสหรัฐฯของเราเท่านั้น” มาร์คอฟ กล่าวต่อ “แม้กระทั่งเมื่อมีการหารืออย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อยในระยะหลังๆ ในเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย จุดยืนของสหรัฐฯก็คอยแต่จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และไม่สามารถบรรลุอะไรได้เลย”
อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญชาวรัสเซียบางรายซึ่งแสดงความระแวงสงสัยยิ่งกว่าความเห็นของพวกผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวมา
“สำหรับผมแล้ว มันดูเหมือนกับว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็มีภาพมายากันมากมายเหลือเกิน ฝ่ายรัสเซียกับฝ่ายอเมริกันไม่ได้รู้จักกันและกันอีกต่อไปแล้ว ถ้าหากเมื่อก่อนพวกเขาเคยรู้จักกันจริงๆ นะ” เป็นคำกล่าวของ อเล็กซานเดอร์ โคโนวาลอฟ (Alexander Konovalov) ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการประเมินผลทางยุทธศาสตร์ (Institute for Strategic Assessments) ซึ่งเป็นสถาบันอิสระที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงมอสโก “ผมสงสัยว่าคนของทรัมป์จะต้องผ่านช่วงของการตื่นจากความฝันอย่างลำบากยากเย็นทีเดียว เมื่อพวกเขาตระหนักขึ้นมาว่าการเจรจาต่อรองทำข้อตกลงในแวดวงที่สลับซับซ้อนเหลือเกินอย่างแวดวงการทูตนั้น มันไม่ได้เหมือนอะไรนักหรอกกับโลกธุรกิจ”
“ปูตินนะรู้อยู่แล้วว่าเขาต้องการอะไร” มิสเตอร์โคโนวาลอฟกล่าว “แต่ผมไม่แน่ใจหรอกว่าทรัมป์มีไอเดียชัดเจนมากๆ หรือเปล่าในเรื่องวิธีที่จะรับมือกับรัสเซีย”
(เก็บความจากhttp://www.csmonitor.com/World/Europe/2016/1213/In-Moscow-Trump-s-tapping-of-Tillerson-lifts-hope-of-US-rapprochement)
Cut the crap and ask Tillerson the right questions
By M K Bhadrakumar
19/12/2016
พวกชนชั้นนำทางการเมืองในสหรัฐฯกำลังโวยวายเรื่องที่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซึ่งว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เลือกให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของเขา เป็นผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนด์ชิพของรัสเซีย ทั้งๆ ที่มั่นไม่ใช่ประเด็นใหญ่โตอะไรเลย ทั้งนี้เรื่องซึ่งพวกเขาควรให้ความสนใจและถามไถ่ซักไซ้มากกว่า คือผลงานของทิลเลอร์สันในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายใหญ่ของบริษัทเอ็กซ์ซอนโมบิล
พวกชนชั้นนำทางการเมืองชาวอเมริกันเก่งกันจริงๆ ในการตีหน้าเซ่อ ทำไมพวกเขาจึงต้องทำเป็นตื่นเต้นนักหนากับการที่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน (Rex Tillerson) นายใหญ่ของบริษัทเอ็กซ์ซอนโมบิล ซึ่งว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกันของเขานั้น เป็นผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ออร์เดอร์ออฟเฟรนด์ชิพ” (Order of Friendship) ของรัสเซีย ?
วุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน (John McCain) แสดงปฏิกิริยาด้วยภาษาแสดงความหยามหยันตามแบบฉบับว่า “เมื่อเขา (ทิลเลอร์สัน) ได้รับอิสริยาภรณ์เฟรนด์ชิพ (มิตรภาพ) จากนักฆ่าเช่นนี้ พูดกันตรงๆ เลยนะ มันกลายเป็นประเด็นปัญหาที่ผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบกัน” ทั้งนี้ “นักฆ่า” ที่เขาอ้างอิงถึงนั้น แน่นอนทีเดียว คือประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย
ทางด้านวุฒิสมาชิกมาร์โค รูบิโอ (Marco Rubio) จากรัฐฟลอริดา ก็ทวิตด้วยข้อความว่า “การเป็น ‘เพื่อนของวลาดิมีร์’ ไม่ใช่เป็นคุณสมบัติที่ผมคาดหวังจะได้จากรัฐมนตรีต่างประเทศหรอก”
ทำไมชนชั้นนำพวกนี้ถึงได้พูดสิ่งที่โง่เขลาไร้สติปัญญากันได้ถึงขนาดนี้นะ? เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนชิพ ของรัสเซียนั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นปัญหาที่ใหญ่โตอะไรเลย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ถือว่าสถาปนากันขึ้นมาค่อนข้างใหม่มากด้วยซ้ำ โดยอย่างที่อยู่ในลักษณะปัจจุบันนั้นเริ่มมอบกันตั้งแต่ปี 1994 เป็นต้นมา และกฤษฎีประธานาธิบดีฉบับสุดท้ายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ลงนามโดยประธานาธิบดีดมิตริ เมดเวเดฟ ในปี 2012
กฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับดังกล่าวพูดกว้างๆ ว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะมอบให้แก่บุคคลสัญชาติต่างประเทศผู้ประกอบคุณงามความดีอย่างสำคัญ ในการดำเนินการด้านการลงทุนร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย, ในการดำเนินการโครงการทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ๆ และดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสหพันธรัฐรัสเซีย, หรือส่งเสริมเชิดชูมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ฯลฯ
เครมลิน [1] เลือกที่จะมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิลผู้นี้ เนื่องจากแผนการลงทุนอันมโหฬารของบริษัทแห่งนี้ในภาคพลังงานของรัสเซีย มอสโกรู้สึกว่าจำเป็นต้องให้เกียรติแก่นายใหญ่วงการน้ำมันผู้นี้ซึ่งกล้าตัดสินในเรื่องที่ใหญ่โต
สำหรับมอสโกแล้ว แผนธุรกิจของเอ็กซ์ซอนโมบิลเปรียบเหมือนกับเป็นความฝันที่กลายเป็นความจริงทีเดียว เมื่อพิจารณาจากแง่มุมที่ว่าคำมั่นสัญญาของบริษัทที่จะเปิดแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติแหล่งใหม่ในรัสเซียนั้น มันจะมีทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าประสานกันสนิทชนิดไร้รอยต่อ หลั่งไหลพรั่งพรูกันเข้ามาสู่แดนหมีขาว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนชิพ เป็นการแสดงออกซึ่งไมตรีจิต และ/หรือ ความรู้สึกขอบคุณอย่างซาบซึ้ง มันห่างไกลจากการเป็นเครื่องมือแห่งความชั่วร้ายของรัสเซียที่ตีประทับลงให้แก่บุคคลทรงอิทธิพลผู้ทุจริตสามานย์ แท้ที่จริงแล้ว หนึ่งในผู้ทรงเกียรติซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย ได้แก่ ลี กวนยู รัฐบุรุษอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้วของสิงคโปร์ (ผู้ซึ่งดูเหมือนว่าทั้งปูตินและแมคเคนต่างยกย่องนับถือ)
หรือลองดูรายชื่อชาวอเมริกันซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ดูเถอะ จะได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนทีเดียว ได้แก่ ลีเดีย แบล็ก (Lydia Black) นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยา, เดวิด แบลตต์ (David Blatt) โคชบาสเกตบอล, แวน ไคลเบิร์น (Van Kliburn ) นักเปียโนผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง, แพตริเชีย โคลเฮอร์ตี (Patricia Kloherty) นักธุรกิจหญิงชาวอเมริกันที่เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนเพื่อการลงทุนสหรัฐฯ-รัสเซีย (US-Russia Investment Fund), เรย์มอนด์ จอห์นสัน (Raymond Johnson) นักธุรกิจผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะรัสเซีย (Museum of Russian Art) ขึ้นที่เมืองมินนีแอโพลิส, จอห์น มิดเดิลตัน-ทิดเวลล์ (John Middleton-Tidwell) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สหรัฐฯ-รัสเซีย,ริชาร์ด เพียร์ซ (Richard Pierce) นักวิชาการด้านรัสเซีย-สหรัฐฯศึกษา, บาร์บารา สวีตแลนด์-สมิท (Barbara Sweetland-Smith) นักประวัติศาสตร์ทางด้านรัสเซีย-สหรัฐฯศึกษา, เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิล คอร์เปอเรชั่น, และ สตีเวน ซีกัล (Steven Seagal) นักแสดง, ผู้กำกับการแสดง, นักดนตรี, ผู้สอนศิลปะป้องกันตัว
สภาพความเอะอะโวยวายเกี่ยวกับทิลเลอร์สันในเวลานี้ ควรต้องบอกว่าปรากฏขึ้นมาเนื่องจากเหตุผลที่ผิดฝาผิดตัว แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่ส่งแสงประกายเจิดจ้าที่สุดเกี่ยวกับการแต่งตั้งเขา อยู่ตรงที่ว่านี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันซึ่งบิ๊กบอสจากภาคบริษัทธุรกิจคนหนึ่งกำลังจะกลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งก็คือนักการทูตระดับท็อปของสหรัฐอเมริกา และจะเป็นผู้รับชอบการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งใหญ่ในนโยบายการต่างประเทศด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ
ความสำนึกของการจัดลำดับความสำคัญของทรัมป์ตรงนี้กระจ่างชัดเจนมาก และก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งอย่างใหญ่โตด้วย เขาดูเหมือนต้องการที่จะโยกย้ายถ่ายโอนความมั่งคั่งร่ำรวยจากส่วนอื่นๆ ของโลก ให้เข้ามายังระบบเศรษฐกิจอเมริกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ว่ามันเป็นเรื่องดีหรือที่ประเทศผู้มีฐานะเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดี่ยวโดดๆ ของโลกในปัจจุบัน จะหันไปหาพวกนโยบายแบบลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism)[2] อันละโมบโลภมากของยุคศตวรรษที่ 19 เพื่อที่จะได้ขูดรีดสูบผลประโยชน์จากมนุษยชาติมาบำรุงเลี้ยงเศรษฐกิจอเมริกันให้อ้วนพีอย่างนี้? นโยบายเช่นนี้จะไม่นำไปสู่การฟื้นคืนชีพของ “อเมริกันผู้น่าชัง” (Ugly American)[3] และการทูตแบบใช้เรือปืน (gunboat diplomacy)[4] ขึ้นมาใหม่ละหรือ?
แล้วจะทำยังไงกับพวกเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development goals)[5] ? แล้วยังแนวความคิดเรื่องอเมริกาคือชาติพิเศษที่ไม่มีประเทศไหนในโลกเสมอเหมือนและก็ไม่เหมือนชาติใดในโลก (America’s exceptionalism)[6] ซึ่งเป็นหัวข้อในด้านนโยบายการต่างประเทศ ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ชื่นชอบป่าวร้องเหลือเกิน?
แน่นอนทีเดียว ยังมีคำถามสำคัญมากอีกข้อหนึ่งด้วย นั่นคือ อเมริกากำลังจะใช้ประโยชน์อย่างไรจากประสบการณ์และคุณภาพแห่งความเป็นผู้นำของทิลเลอร์สัน ซึ่งไม่มีข้อสงสัยเลยว่าแสนดีเลิศประเสริฐศรี ?
ทิลเลอร์สันเป็นผู้ที่แสดงบทบาทความเป็นผู้นำซึ่งสำคัญมาก ในการส่งเสริมสนับสนุนบรรดากิจกรรมทางธุรกิจซึ่งได้กำไรเป็นกอบเป็นกำของเอ็กซ์ซอนโมบิลในประเทศต่างๆ อย่างเช่น อิรัก, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, เม็กซิโก, และเวเนซุเอลา
ในอิรัก เอ็กซ์ซอนโมบิลมีกิจกรรมคึกคักในอาณาบริเวณทางตอนเหนือของประเทศนั้น ทั้งนี้หากคิดคำนวณกันโดยแยกแยะออกเป็นแต่ละรายแต่ละเจ้าแล้ว บริษัทนี้แหละจะเป็นรายที่ได้รับผลประโยชน์ก้อนโตที่สุดหากอิรักถูกแบ่งแยกออกเป็นเสี่ยงๆ และพื้นที่ของชาวเคิร์ดทางภาคเหนือแตกออกไปเป็นประเทศเอกราช
ในทำนองเดียวกัน ถ้าซีเรียล่มสลายลงไม่สามารถรักษาความเป็นประเทศหนึ่งเดียว (บูรณภาพแห่งดินแดน) เอาไว้ได้ แล้วสายท่อส่งน้ำมันและแก๊สที่เชื่อมโยงระหว่างแคว้นเคอร์ดิสถาน (ทางภาคเหนือ) ของอิรัก เข้ากับดินแดนตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ของซีเรีย) สามารถสร้างกันขึ้นมาได้สำเร็จ เอ็กซ์ซอนโมบิลก็จะได้รับรางวัลแจ๊กพอต เพราะสายท่อส่งนี้ยังจะสามารถขนส่งแก๊สของกาตาร์ไปสู่ตลาดยุโรปได้อีกด้วย
ทรัมป์กับทิลเลอร์สันจะส่งแรงผลักดันที่จำเป็นเพื่อทำให้อิรักกับซีเรียแตกออกเป็นเสี่ยงๆ หรือไม?
ซาอุดีอาระเบียและกาตาร์ต่างเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอิสลามิสต์สุดโต่งทั้งหลายในซีเรีย โดยที่บางกลุ่มมีคุณสมบัติสมควรที่จะเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งในเครือของกลุ่มอัล-กออิดะห์ด้วยซ้ำ ทว่าเอ็กซ์ซอนโมบิลกำลังทำธุรกิจอย่างสนุกสนานอยู่ในทั้ง 2 ประเทศนี้
ตอนนี้ทรัมป์ให้สัญญาว่าจะทำมหาสงครามอันใหญ่โตชนิดเป็นเหมือนมารดาของสงครามทั้งหลายทั้งปวง เพื่อกำจัดกวาดล้างการก่อการร้าย ซึ่งตามเหตุตามผลแล้วก็ทำให้ต้องเล็งเป้ามุ่งเล่นงานท่านชัยค์ (sheikh) ชาวซาอุดีและชาวกาตาร์ทั้งหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น แล้วทิลเลอร์สันจะแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในขั้นสุดท้ายหรือไม่?
ขณะที่ทรัมป์ยังคงพออกพอใจอยู่กับการทำสงครามน้ำลายเล่นงานกลุ่มสุดโต่งที่เลี้ยงดูฟูมฟักโดยพวกท่านชัยค์ทั้งหลายอยู่นั้น ทิลเลอร์สันก็อาจสามารถทำหน้าที่เป็นผู้คอยระวังหลังในอ่าวเปอร์เซีย ให้แก่ประดาบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก
สิ่งที่สำคัญมากก็คือ เอ็กซ์ซอนโมบิลจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่เวลานี้ยังขาดหายอยู่ ระหว่างวาระ “การเปลี่ยนระบอบปกครอง” ในซีเรีย ตามแบบของโอบามา กับวาระตามแบบของทรัมป์ แน่นอนทีเดียว ประดาท่านชัยค์ทั้งหลายจะต้องยินดีปรีดาถ้าหากการเชื่อมต่อดังกล่าวนี้ประสบความสำเร็จ
หรือหันมาพิจารณาพื้นที่สนามหลังบ้านของสหรัฐอเมริกากันบ้าง เม็กซิโกเป็นประเทศซึ่งทรัมป์ต้องการที่จะปิดกั้นไม่ให้มีผู้อพยพไหลออกมาสู่สหรัฐฯ เขาวาดหวังที่จะบังคับให้เม็กซิโกยอมออกเงินค่าก่อสร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศทั้งสอง
ทรัมป์ยังวาดหวังที่จะขับไล่ไสส่งพวกผู้อพยพผิดกฎหมายให้ออกไปจากผืนแผ่นดินอเมริกัน ทว่าเอ็กซ์ซอนโมบิลนี่แหละกลับเป็นผู้ที่มีเดิมพันก้อนมหึมาอยู่ในเม็กซิโก
สำหรับชาติละตินอเมริกาอีกรายหนึ่ง ได้แก่เวเนซุเอลา รัฐบาลฝ่ายซ้ายของประเทศนี้ตั้งแต่ยุคฮูโก ชาเบซ (Hugo Chavez) ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้ประกาศยึดทรัพย์สินอันมีอยู่มากมายกว้างขวางในเวเนซุเอลาของเอ็กซ์ซอนโมบิลเข้าเป็นสมบัติของชาติ หลังจากนั้น บริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของทิลเลอร์สันรายนี้ ก็ตอบโต้ระบายความเคียดแค้นของตนในทันที ด้วยการยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายรวมแล้วอยู่ในระดับหลายหมื่นล้านดอลลาร์
เวเนซุเอลาเวลานี้กล่าวหาว่าสหรัฐฯกำลังวางแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของตนซึ่งขึ้นครองอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้สร้างความรบกวนระคายเคืองให้แก่แมคเคน และไม่ได้เคยถึงขนาดทำให้เขาคิดไม่ตกนอนไม่หลับกันหลายๆ คืนเลยใช่ไหม?
มันไม่ได้อัตคัดขาดแคลนเลยนะ พวกคำถามอันถูกต้องเหมาะเจาะที่แมคเคนสามารถหยิบยกขึ้นมาถามทิลเลอร์สันได้ ในระหว่างที่บิ๊กบอสเอ็กซ์ซอนโมบิลผู้นี้ต้องมาให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ เพื่อให้ได้รับการอนุมัติรับรองนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกันได้ เอ็กซ์ซอนโมบิลนั้นมีประวัติอันยาวเหยียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางธุรกิจแบบดื้อรั้นดึงดัน
บริษัทเดินอยู่บนเส้นบางเฉียบซึ่งกั้นระหว่างการทำธุรกิจอย่างชอบธรรมถูกกฎหมาย กับ “การกระตุ้นแรงจูงใจ” ของเหล่าผู้นำต่างประเทศผู้ซึ่งไม่ต้องผ่านการตรวจสอบรับผิดชอบอะไรอยู่แล้ว ให้ดำเนินการตัดสินใจด้วยความรวดเร็วและเอื้ออาทร
ทิลเลอร์สันเป็นผู้อุทิศชีวิตการทำงานทั้งชีวิตของเขาให้เอ็กซ์ซอนโมบิล อย่าถามเชียวว่าทำไมพวกผู้นำต่างชาติจึงให้ความอุปถัมภ์เขา แต่ควรต้องถามว่าเขาทำอย่างไรจึงสามารถโน้มน้าวผู้นำต่างประเทศเหล่านี้ให้แสดงความเอนเอียงเข้าข้างเอ็กซ์ซอนโมบิล
เฮ้อ แต่ก็นั่นแหละ โฟกัสจุดสนใจซึ่งเน้นกันอยู่ตอนนี้กลับเฉไฉหันเหไปอยู่ที่เรื่อง “การแฮกข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย” และเรื่องที่ทิลเลอร์สันได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนชิพของรัสเซีย
มันเป็นภาพสะท้อนอันน่าเศร้าใจของบางสิ่งบางอย่างซึ่งอยู่เบื้องลึกลงไป อันได้แก่ความแตกแยกแบ่งพวกซึ่งดูเหมือนปรากฏอยู่ในหมู่ชนชั้นนำผู้ปกครองของอเมริกา เกี่ยวกับทิศทางต่างๆ ของนโยบายการต่างประเทศ ในห้วงหัวเลี้ยวหัวต่อขณะเมื่ออิทธิพลบารมีในทั่วโลกของสหรัฐฯกำลังอยู่ในอาการเสื่อมทรุด และจำเป็นที่จะต้องสกัดกั้นยับยั้งไม่ให้แย่ลงไปกว่านี้อีก
สภาพความยากลำบากเช่นนี้มีความสาหัสรุนแรงยิ่ง เนื่องจากความเสื่อมทรุดของอิทธิพลบารมีทั่วโลกของอเมริกัน กับความเสื่อมทรุดของอเมริกาเอง ยังเกิดถักร้อยทอประสานเข้าด้วยกัน และเสริมกำลังแห่งความถดถอยให้แก่กันและกัน
กระแสการโจมตีเรื่อง “การแฮกข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย” กลายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เคียงคู่กับความพ่ายแพ้ของสหรัฐฯในซีเรีย, ความฉีกขาดรุ่งริ่งของการปักหมุดหวนคืนสู่เอเชีย, และความล้มเหลวของยุทธศาสตร์ของโอบามาในการปิดล้อมรัสเซีย
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์ไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
หมายเหตุผู้แปล
[1] เครมลิน (Kremlin)
คำๆ นี้ในภาษารัสเซียหมายถึงกลุ่มอาคารสำคัญขนาดใหญ่ที่มีป้อมค่ายรายล้อม ซึ่งมักพบเห็นเป็นศูนย์กลางตามเมืองประวัติศาสตร์แห่งต่างๆ ของรัสเซีย บ่อยครั้งที่คำๆ นี้ถูกใช้ให้หมายถึง “เครมลิน” ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด อันได้แก่ เครมลินแห่งกรุงมอสโก (Moscow Kremlin) เนื่องจากเครมลิน มอสโก ปัจจุบันเป็นทำเนียบของประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย คำๆ นี้จึงถูกใช้ให้หมายถึง สำนักงานหรือรัฐบาลของประธานาธิบดีรัสเซีย ด้วยเช่นกัน (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[2]ลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism)
เป็นทฤษฎีและการปฏิบัติทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำหลายๆ ส่วนของยุโรปในระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 16 ถึง 18 รัฐที่ปฏิบัติตามลัทธินี้มักพยายามที่จะสะสมความมั่งคั่งร่ำรวยโดยผ่านการค้าขายกับรัฐอื่นๆ โดยถือหลักว่าต้องส่งออกมากกว่านำเข้า และสะสมทองคำตลอดจนโลหะมีค่าต่างๆ ให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามประวัติศาสตร์แล้ว นโยบายเหล่านี้มักนำไปสู่สงคราม และยังกระตุ้นให้มีการขยายอาณานิคม
[3] “อเมริกันผู้น่าชัง” (Ugly American)
คำเหยียดหยามที่มักหมายถึงชาวอเมริกันผู้ที่เดินทางไปต่างแดนหรือกำลังพำนักอยู่ในต่างแดน โดยที่ยังคงไม่ประสีประสากับวัฒนธรรมท้องถิ่น และวินิจฉัยทุกสิ่งทุกอย่างโดยใช้มาตรฐานแบบอเมริกัน คำๆ นี้ใช้กันแพร่หลาย จากการเป็นชื่อเรื่องของหนังสือนวนิยายขายดีเล่มหนึ่งซึ่งเขียนโดย ยูยีน เบอร์ดิก และ วิลเลียม เลเดอเรอร์ แล้วต่อมายังถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด นำแสดงโดย มาร์ลอน แบรนโด และมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ “สารขัณฑ์” ประเทศสมมุติที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังเผชิญกับขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามท้องเรื่องของ “อักลี่ อเมริกัน” ตัวละครต่างๆ มีวิธีการแตกต่างกันในการต่อสู้คอมมิวนิสต์ โดยที่ตัวละครที่เป็นชาวอเมริกันส่วนใหญ่แล้ว มีพฤติกรรมในทางซุ่มซ่ามสะเพร่า, ทุจริตคดโกง, และไร้ความรู้ความสามารถ, ชอบเน้นหนักที่พวกโครงการซึ่งไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ ทว่าให้ผลประโยชน์แก่ผู้รับเหมาชาวอเมริกันมากกว่าประชากรท้องถิ่น
[4] การทูตแบบใช้เรือปืน (gunboat diplomacy)
นโยบายการต่างประเทศแบบสนับสนุนด้วยการใช้หรือการข่มขู่ว่าจะใช้กำลังทหาร
[5]เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development goals)
เมื่อปี 2000 เกือบทุกประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (Millennium Summit) ของสหประชาชาติ และได้รับรองเป้าหมายหลักในการพัฒนาที่ทุกประเทศจะต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2015 รวม 8 ข้อ ได้แก่ (1) ขจัดความยากจนและความหิวโหย (2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา (3) ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี (4) ลดอัตราการตายของเด็ก (5) พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ (6) ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่น ๆ (7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (8) ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก
[6]แนวความคิดเรื่องอเมริกาคือชาติพิเศษที่ไม่มีประเทศไหนในโลกเสมอเหมือนและก็ไม่เหมือนชาติใดในโลก (America’s exceptionalism)
แนวความคิดนี้ประกอบด้วยแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกัน 3 ประการ ได้แก่ 1) แนวความคิดที่เชื่อว่าประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯนั้นโดยเนื้อแท้แล้วมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ 2) แนวความคิดที่เชื่อว่าสหรัฐฯมีภารกิจอันโดดเด่นของตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงโลก และ 3) ความรู้สึกสำนักที่ว่า เนื่องจากประวัติศาสตร์และภารกิจของสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯมีฐานะที่เหนือกว่าชาติอื่นๆ
เสียงจากรัสเซียเรื่องที่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน จะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
นอกเหนือจากข้อเขียนของเอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร ข้างต้นแล้ว ในเว็บไซต์เอเชียไทมส์ ยังได้เสนอรายงานข่าวซึ่งมาจากเว็บไซต์คริสเตียนไซแอนซ์มอนิเตอร์ (csmonitor.com) หนังสือพิมพ์ออนไลน์ซึ่งปรับตัวแปลงโฉมจากหนังสือพิมพ์รายวัน (The Christian Science Monitor) ที่มีชื่อเสียงฉบับหนึ่งของสหรัฐฯ รายงานข่าวชิ้นนี้เขียนโดย เฟรด เวียร์ ผู้สื่อข่าวในมอสโก พูดถึงปฏิกิริยาของพวกผู้เชี่ยวชาญในรัสเซียต่อการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ จึงขอเก็บความนำมาเสนอเพิ่มเติมในที่นี้:
‘มอสโก’เพิ่มความหวังปรองดองกับ ‘สหรัฐฯ’ หลัง‘ทรัมป์’เสนอชื่อ‘ทิลเลอร์สัน’
โดย เฟรด เวียร์ ผู้สื่อข่าวคริสเตียนไซแอนซ์มอร์นิเตอร์
In Moscow, Trump's tapping of Tillerson lifts hope of US rapprochement
By Fred Weir
13/12/2016
พวกผู้เชี่ยวชาญรัสเซียรู้จัก เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิลเป็นอย่างดี และมองว่าการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อเขาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คือสัญญาณแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นมาอย่างแท้จริง
มอสโก - เป็นเรื่องพบเห็นได้ยากทีเดียวสำหรับการที่มอสโกจะแสดงความกระตือรือร้นต่อบุคคลผู้ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แน่นอนอยู่แล้วที่ว่ารัสเซียไม่ได้ออกอาการเช่นนี้ให้เห็นเลยในกรณีของรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกัน 2 คนก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็น ฮิลลารี คลินตัน หรือ จอห์น เคร์รี (John Kerry)
บรรยากาศของความปรีดาปราโมทย์ในรัสเซีย จากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศในวันที่ 13 ธ.ค. ถึงการที่เขาตัดสินใจเสนอชื่อของ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ซีอีโอของเอ็กซ์ซอนโมบิล จึงออกจะมีความพิเศษไม่ธรรมดา
เมื่อตอนที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐฯปรากฏผลออกมาว่ามิสเตอร์ทรัมป์เป็นผู้ชนะ สเตทดูมา (State Duma สภาล่าง) ของรัสเซียถึงขนาดลุกขึ้นยืนปรบมือด้วยความยินดี (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.csmonitor.com/World/Europe/2016/1110/The-Trump-presidency-How-will-it-affect-ties-to-Putin-s-Russia-video) แต่การที่มิสเตอร์ทิลเลอร์สันได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นนักการทูตระดับสูงสุดของอเมริกาคราวนี้ บรรยากาศมันยิ่งกว่านั้นอีก เพราะเรื่องนี้ดูเหมือนกับเป็นหลักฐานยืนยันแก่เหล่าชาวรัสเซียผู้ใกล้ชิดเครมลินว่า คณะบริหารชุดใหม่ของสหรัฐฯจะเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสัญญาคร่าวๆ ระหว่างการรณรงค์หาเสียงของมิสเตอร์ทรัมป์ ในเรื่องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นมาใหม่
ทิลเลอร์สันเป็นที่รู้จักมักคุ้นและเป็นที่ชื่นชอบในมอสโก ซึ่งเขาได้มาติดต่อทำธุรกิจด้วยเป็นเวลาเกือบๆ 20 ปีแล้ว แต่นอกจากนั้นแล้วเขายังถูกมองว่าจะเป็นนักการทูตประเภทซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากนักการทูตอเมริกันทั้งหลายที่ฝ่ายรัสเซียเคยติดต่อด้วยเป็นประจำ “ทิลเลอร์สันขึ้นเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ จะเป็นสัญญาณแสดงว่านโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯได้เกิดการยุติความต่อเนื่องครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสงครามเย็นเป็นต้นมาทีเดียว” ดมิตริ เทรนิน (Dmitri Trenin) ผู้อำนวยการศูนย์คาร์เนกี มอสโก (Moscow Carnegie Center) ทวิตเช่นนี้ตั้งแต่ก่อนมีการประกาศเสนอชื่อเสียอีก (ดูรายละเอียดได้ที่ https://twitter.com/DmitriTrenin/status/807659440749084672?ref_src=twsrc%5Egoogle%7Ctwcamp%5Enews%7Ctwgr%5Etweet)
เซียร์เกย์ คารากานอฟ (Sergei Karaganov) หนึ่งในมือวางอาวุโสที่สุดทางด้านนโยบายการต่างประเทศของรัสเซีย กล่าวว่า ความแตกต่างที่เกิดขึ้นมาก็คือ ทิลเลอร์สันเป็นนักเล็งผลในทางปฏิบัติผู้ดึงดันไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาจะเน้นโฟกัสไปที่การทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ และปล่อยผ่านไม่แตะต้องประเด็นปัญหาทางการเมืองและทางปรัชญาจำนวนมากที่ถึงอย่างไรรัสเซียกับสหรัฐฯก็ไม่มีทางที่จะเห็นพ้องต้องกันได้อยู่แล้ว มิสเตอร์คารากานอฟก็เหมือนกับบุคคลจำนวนมากในแวดวงชั้นสูงของมอสโก นั่นคือได้เคยพบปะกับทิลเลอร์สันมาแล้ว และมีความเห็นว่าหากวุฒิสภาสหรัฐฯอนุมัติรับรองการแต่งตั้งเขา ก็จะเป็นสัญญาณแสดงว่า การผ่อนคลายความตึงเครียดกันอย่างแท้จริงและยืนยาวระหว่างมหาอำนาจทั้งสอง เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้จริงๆ แล้ว
“เรารู้จักเขา และนี่เป็นเรื่องที่ดี แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือสิ่งซึ่งเรารู้เกี่ยวกับตัวเขา ซึ่งก็คือรู้ว่าเขาเป็นนักมองโลกตามความเป็นจริง (realist) ซึ่งไม่ได้ถูกขับดันโดยอุดมการณ์” คารากานอฟกล่าว “ถ้าคณะบริหารทรัมป์สามารถอยู่รอดและกุมอำนาจได้อย่างมั่นคง ผมก็จะเป็นคนหนึ่งซึ่งเริ่มเชื่อว่าเราสามารถที่จะจัดวางความสัมพันธ์นี้ (ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐฯ) ให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องกันอีกครั้ง ให้อยู่ในหนทางซึ่งจะเน้นย้ำเรื่องการตกลงประนีประนอมกันและการร่วมมือกัน และหาหนทางซึ่งจะจัดการกับความผิดแผกแตกต่างกัน”
ทิลเลอร์สันเข้ารับผิดชอบการดำเนินงานในรัสเซียของเอ็กซ์ซอนโมบิลเมื่อปี 1998 และนำพาบริษัทฟันฝ่าผ่านความยากลำบากใหญ่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังจากวลาดิมีร์ ปูติน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และเครมลินประกาศเรียกร้องว่า บรรดาข้อตกลงด้านน้ำมันและแก๊สที่ทำกันไว้ก่อนหน้านั้นจะต้องตรวจสอบทบทวนกันใหม่ ด้วยความมุ่งหมายที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่าง กาซปรอม (Gazprom) และ รอสเนฟต์ (Rosneft) (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.csmonitor.com/2006/1011/p06s02-woeu.html) ในปี 2011 ซึ่งทิลเลอร์สันอยู่ในตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของเอ็กซ์ซอนโมบิลแล้ว เขาได้เจรจาจัดทำข้อตกลงร่วมทุนอันกว้างขวางยาวไกลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์กับรอสเนฟต์ เพื่อการสำรวจขุดเจาะน้ำมันในแถบอาร์กติกของรัสเซีย (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.rosneft.com/press/releases/item/114495/)
มิสเตอร์ปูติน ผู้ซึ่งได้พบปะหารืออยู่บ่อยครั้งกับทิลเลอร์สัน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.kremlin.ru/events/president/transcripts/15659)ได้ให้รางวัลเขาในปี 2013 ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออร์เดอร์ออฟเฟรนด์ชิพ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่รัสเซียสามารถมอบให้แก่ชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี จากการที่สหรัฐฯประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพื่อเป็นการลงโทษรัสเซียสำหรับการเข้าผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ได้บังคับให้โครงการอาร์กติกต้องหยุดชะงัก และมีรายงานว่าส่งผลให้เอ็กซ์ซอนโมบิลต้องขาดทุนถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว (ดูรายละเอียดได้ที่ http://oilprice.com/Energy/Energy-General/Exxon-Has-Lost-Over-1-Billion-From-Russian-Sanctions.html) นับจากนั้นมาทิลเลอร์สันก็พยายามล็อบบี้อย่างหนักหน่วงเพื่อคัดค้านการลงโทษคว่ำบาตรเช่นนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.bloomberg.com/politics/articles/2016-12-12/tillerson-a-frequent-white-house-visitor-over-russia-sanctions) และนี่ก็กลายเป็นข้อเท็จจริงซึ่งอาจสร้างปัญหาให้เขาในระหว่างไปให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ
“ผมทราบดีว่าชนชั้นปกครองวอชิงตันจะต้องพยายามโยนทุกสิ่งทุกอย่างเข้าใส่เพื่อกล่าวหาทิลเลอร์สัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เขาเสนอให้สาน ‘มิตรภาพ’ กับปูติน” คารากานอฟ บอก “แต่ผมไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในตำแหน่งของเขาเช่นนี้ จะกลายเป็นคนทุจริตเลวร้ายไปได้อย่างไร ไม่ว่าในทางอุดมการณ์หรือในเรื่องเกี่ยวกับเงินทอง เราต่างรู้ดีว่าเขาเป็นนักเจรจาต่อรองที่โหดมาก เป็นผู้รักชาติผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของบริษัทของเขา เรามีสมมุติฐานว่าเขาจะเป็นผู้รักชาติคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา นี่คือความเป็นจริงซึ่งบรรดาผู้นำของรัสเซียต้องการที่จะเห็น ชายคนที่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามบนโต๊ะเจรจา ผู้ซึ่งจะกดดันอย่างหนักหน่วงแต่ก็เป็นข้อต่อรองซึ่งสามารถทำได้และให้ผลยืนยาว”
ทางด้าน เซียร์เกย์ มาร์คอฟ (Sergei Markov) ผู้เคยเป็นที่ปรึกษาในอดีตของปูติน กล่าวว่าเมื่อมองกันในภาพรวมของทีมงานด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งทรัมป์กำลังรวบรวมแต่งตั้งขึ้นมา มันดูเหมือนกับว่าน่าจะเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวที่จะมีการยุติตัดขาดจากการปฏิบัติที่เคยกระทำกันมาในอดีต
“เรามองเห็น พลเอก (เจมส์) แมตทิส (James Mattis) ผู้กำลังได้รับเสนอชื่อให้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งสำหรับเราแล้ว เขาดูน่าจะเป็นคนซึ่งสามารถนำร่องให้เกิดความร่วมมือประสานงานกันทางการทหารระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย ชนิดออกห่างจากการพยายามสร้างอุปสรรคอย่างสม่ำเสมอให้แก่กันและกัน แต่มุ่งสู่การร่วมมือประสานงานกันเพื่อยังความปราชัยให้แก่การก่อการร้าย อีกคนหนึ่งคือ ไมเคิล ฟลินน์ (Michael Flynn) ผู้ซึ่งกำลังจะเป็นที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว เขาก็เป็นคนซึ่งประกาศสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือกับรัสเซีย ในด้านที่พวกเราทั้งสองฝ่ายต่างถือเป็นด้านที่สำคัญ” มิสเตอร์มาร์คอฟกล่าว “เราไม่ได้จินตนาการไปว่าผู้คนเหล่านี้เป็นเพื่อนมิตรพิเศษของพวกเรา หรืออะไรทำนองนั้นหรอก แต่มันจะทำให้เกิดความสดชื่นขึ้นมาใหม่เป็นอย่างมากที่มีตัวบุคคลในทางการทูตของฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจในการต่อรองทำข้อตกลงแบบมุ่งผลในทางปฏิบัติ
“ประสบการณ์ของเราในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษครึ่งที่ผ่านมาก็คือ เราไม่ได้มีการเจรจาต่อรองในลักษณะที่เป็นจริงใดๆ เลย เรามีแต่ได้รับการเทศนาสั่งสอนและการยื่นคำขาดจากพวกคู่เจรจาชาวสหรัฐฯของเราเท่านั้น” มาร์คอฟ กล่าวต่อ “แม้กระทั่งเมื่อมีการหารืออย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อยในระยะหลังๆ ในเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย จุดยืนของสหรัฐฯก็คอยแต่จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และไม่สามารถบรรลุอะไรได้เลย”
อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญชาวรัสเซียบางรายซึ่งแสดงความระแวงสงสัยยิ่งกว่าความเห็นของพวกผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวมา
“สำหรับผมแล้ว มันดูเหมือนกับว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็มีภาพมายากันมากมายเหลือเกิน ฝ่ายรัสเซียกับฝ่ายอเมริกันไม่ได้รู้จักกันและกันอีกต่อไปแล้ว ถ้าหากเมื่อก่อนพวกเขาเคยรู้จักกันจริงๆ นะ” เป็นคำกล่าวของ อเล็กซานเดอร์ โคโนวาลอฟ (Alexander Konovalov) ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการประเมินผลทางยุทธศาสตร์ (Institute for Strategic Assessments) ซึ่งเป็นสถาบันอิสระที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงมอสโก “ผมสงสัยว่าคนของทรัมป์จะต้องผ่านช่วงของการตื่นจากความฝันอย่างลำบากยากเย็นทีเดียว เมื่อพวกเขาตระหนักขึ้นมาว่าการเจรจาต่อรองทำข้อตกลงในแวดวงที่สลับซับซ้อนเหลือเกินอย่างแวดวงการทูตนั้น มันไม่ได้เหมือนอะไรนักหรอกกับโลกธุรกิจ”
“ปูตินนะรู้อยู่แล้วว่าเขาต้องการอะไร” มิสเตอร์โคโนวาลอฟกล่าว “แต่ผมไม่แน่ใจหรอกว่าทรัมป์มีไอเดียชัดเจนมากๆ หรือเปล่าในเรื่องวิธีที่จะรับมือกับรัสเซีย”
(เก็บความจากhttp://www.csmonitor.com/World/Europe/2016/1213/In-Moscow-Trump-s-tapping-of-Tillerson-lifts-hope-of-US-rapprochement)