(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
US-Saudi push for regime change arms terror groups, poses threat to Asia
By Christina Lin
02/09/2016
กลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีอุดมการณ์อย่างเดียวกัน นั่นคือลัทธิวะฮาบีย์ ที่ไร้ขันติธรรม แนวความคิดรุนแรงสุดโต่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวะฮาบีย์ กำลังทำให้คุณลักษณะของพวกรัฐเอเชียที่มีประชากรชาวมุสลิมเป็นจำนวนมากเฉกเช่นอินโดนีเซีย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีอันตรายยิ่ง ด้วยความตระหนักถึงภัยคุกคามเช่นนี้ รวมทั้งด้วยความตระหนักถึงวาระของสหรัฐฯ-ซาอุดีอาระเบียที่มุ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง ประเทศอย่างจีนและอินเดีย จึงดูเหมือนกำลังพยายามรวมตัวกันเป็นแนวร่วมและจัดวางแผนการต่างๆ เพื่อต่อสู้กับพวกเขา
การจับกลุ่มกันระหว่างสหรัฐฯกับซาอุดีอาระเบีย (US-Saudi nexus) กำลังก่อให้เกิดปัญหาต่อความมั่นคงของเอเชีย ตั้งแต่อัฟกานิสถานไปถึงซีเรียและเวลานี้ก็กำลังย้อนกลับมาทางเอเชียอีกครั้ง การจับกลุ่มกันระหว่างสองประเทศนี้ ซึ่งมีทั้งการดำเนินการติดอาวุธและการให้ความสนับสนุนแก่พวกสุดโต่งอิสลามิสต์เพื่อออกปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง คือการเพาะเชื้อและการแพร่พันธุ์นักรบญิฮาดระดับโลก ให้กระจายเข้าสู่ประชาคมระหว่างประเทศ
ดร.บราห์มา เชลลานีย์ (Dr. Brahma Chellaney) แห่งศูนย์เพื่อการวิจัยนโยบาย (Centre for Policy Research) ที่มีฐานอยู่ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ยังตั้งข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า “ในความเป็นจริงแล้วพวกมหาอำนาจตะวันตกได้กระตุ้นส่งเสริมราชอาณาจักรแห่งนี้ให้ส่งออกลัทธิวะฮาบีย์ (Wahhabism) ไปยังประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษลัทธิคอมมิวนิสต์ และตั้งแต่ปี 1979 ก็เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษการปฏิวัติอิหร่านที่ต่อต้านสหรัฐฯไปด้วย” [1]
เวลานี้หลังจากผ่านช่วงเวลาหลายทศวรรษแห่งการใช้เงินดอลลาร์จากน้ำมัน (petrol-dollars) เป็นเงินทุนสำหรับการส่งออกลัทธิวะฮาบีย์ และการทำให้ชาวมุสลิมในเอเชียเข้าสู่ “กระบวนการทำให้กลายเป็นแบบซาอุดีอาระเบีย” (“Saudization” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่อง After Mideast, will the Saudi-Wahhabi nexus destabilize East Asia? ของผู้เขียน http://atimes.com/2016/06/after-mideast-will-the-saudi-wahhabi-nexus-destabilize-east-asia/) เอเชียก็กำลังอยู่ในภาวะสุกงอมจากผลพวงต่อเนื่องทางลบด้านต่างๆ ของการจับกลุ่มดังกล่าว [2] ระหว่างที่ไปกล่าวคำปราศรัยต่อมูลนิธิริเริ่มสร้างญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ (Rebuild Japan Initiative Foundation) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา พลเรือเอก แฮร์รี บี. แฮร์ริส จูเนียร์ (Admiral Harry B. Harris Jr.) ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารภาคแปซิฟิกของสหรัฐฯ (US PACOM) เตือนว่า กลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) กำลังแพร่กระจายไปในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย-เอเชียแปซิฟิก (Indo-Asia Pacific region) โดยที่ไอเอสมองว่าภูมิภาคดังกล่าวนี้คือแนวรบด้านใหม่ของพวกเขา [3]
ไอเอสกับซาอุดีฯมีอุดมการณ์เดียวกันคือ “วะฮาบีย์”
สถานการณ์เช่นนี้ไม่ควรสร้างความประหลาดใจอะไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มไอเอสกับซาอุดีอาระเบียต่างมีอุดมการณ์อย่างเดียวกัน นั่นคือลัทธิวะฮาบีย์ที่ไร้ขันติธรรม ดังที่ วิลเลียม แมคแคนต์ส (William McCants) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The ISIS Apocalypse” พูดเอาไว้ว่า ศาสนาอย่างเป็นทางการของซาอุดีอาระเบียคือ “อิสลามชนิดอนุรักษนิยมอย่างยิ่งยวด (brand of ultraconservative Islam) ซึ่งเกือบๆ จะเหมือนกันกับของกลุ่มรัฐอิสลามทีเดียว”
อดีตอิหม่ามของมหามัสยิดในนครเมกกะ (Grand Mosque in Mecca) ของซาอุดีอาระเบีย ก็ยืนยันอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า “เรามีความเชื่อต่างๆ อย่างเดียวกันกับกลุ่มไอซิส (ไอเอส) เรามีอุดมการณ์อย่างเดียวกันกับพวกเขา แต่เราแสดงออกซึ่งอุดมการณ์นี้ในวิถีทางที่บริสุทธิ์ละเอียดประณีตกว่า” (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=nwRaPK7G8cA)
อันที่จริง เมื่อตอนที่พวกไอเอสมองหาว่าจะใช้อะไรมาเป็นตำรับตำราสำหรับโรงเรียนของพวกเขาในเมืองร็อกเกาะฮ์ (Raqqa ประเทศซีเรีย ถือเป็นเมืองหลวงของไอเอส) อยู่นั้น ปรากฏว่าพวกเขาสั่งพิมพ์สำเนาตำราเรียนของทางการซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพวกเขาค้นหาเจอทางออนไลน์
ด้วยเหตุนี้เอง ชาวมุสลิมในเอเชียซึ่งได้รับการศึกษาอบรมด้วยลัทธิวะฮาบีย์ จึงถูกดึงดูดเข้าไปหากลุ่มไอเอสอย่างเป็นธรรมชาติ เฉกเช่นเดียวกับชาวมุสลิมในยุโรป, โคโซโว, และที่อื่นๆ ซึ่งอนุญาตให้พวกมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย สามารถหยั่งรากปักหลักได้ [4] (เขตเทศบาลตำบล )โมเลนบีค (Molenbeek) ในกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการก่อการร้ายของกลุ่มไอเอสในเบลเยียม คือหนึ่งในตัวอย่างของเรื่องดังกล่าว
แนวความคิดสุดโต่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิวะฮาบีย์ ยังกำลังเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของรัฐต่างๆ ในเอเชียซึ่งมีประชากรชาวมุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ได้อธิบายให้นายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ ของออสเตรเลียฟัง ระหว่างการประชุมซัมมิตของกลุ่มเอเปก เมื่อเร็วๆ นี้ ลัทธิวะฮาบีย์ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียได้เปลี่ยนแปลงอินโดนีเซียจากที่เคยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีลักษณะผ่อนคลายและรับเอาแนวความคิดจากศาสนาอื่นๆ ให้กลายเป็นอิสลามแบบเคร่งครัดจารีตดั้งเดิม, ไม่ยอมรับและไม่ยอมให้อภัยแก่การตีความที่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม, รวมทั้งมีความเชื่อแบบอาหรับมากขึ้นกว่าเมื่อตอนที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นในวัยเด็ก [5] ทั้งนี้ในปัจจุบันอินโดนีเซียก็กำลังประสบกับเหตุโจมตีแบบก่อการร้ายซึ่งโยงใยไปถึงอัลกออิดะห์และไอเอส พุ่งพรวดขึ้นมามาก [6]
กระนั้นก็ตาม สหรัฐฯยังคงเดินหน้าสนับสนุนนโยบายของกรุงริยาดที่เป็นการสร้างอันตรายให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป ในซีเรีย แทนที่จะปฏิบัติตามนโยบายของการต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้าย สหรัฐฯก็เข้าเป็นหุ้นส่วนกับทางซาอุดีอาระเบียในการสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอัลกออิดะห์ เพื่อเดินหน้านโยบายมุ่งเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง ขณะเดียวกันนั้นเองก็กำลังทำลายล้างเยเมน ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ไอเอสและอัลกออิดะห์ผงาดเฟื่องฟูขึ้นมา [7]
นี่คือภัยคุกคามต่อเอเชีย ในเวลานี้สหรัฐฯไม่ได้มีความจำเป็นต้องอาศัยน้ำมันจากตะวันออกกลางอีกแล้ว และด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะล่าถอยออกจากภูมิภาคนี้ได้ตามความปรารถนา ตรงกันข้ามกับพวกรัฐในเอเชียซึ่งกำลังพึ่งพาตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเพื่อการเข้าถึงตลาดสำหรับสินค้าออกของพวกเขาและทั้งเพื่อการเข้าถึงแหล่งที่มาของพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิวเดลีกับปักกิ่งยังกำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายอันสาหัสร้ายแรงอีกประการหนึ่ง ได้แก่การปกป้องคุ้มครองประชาชนของพวกเขาที่อพยพไปทำงานอยู่ในตะวันออกกลาง ซึ่งสำหรับชาวอินเดียแล้วมีจำนวน 7 ล้านคนทีเดียว ส่วนคนงานอพยพชาวจีนในภูมิภาคนี้แม้มีจำนวนน้อยกว่ามาก แต่ก็ยังมีถึง 2 ล้านคน [8]
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ว่าอัลกออิดะห์, ไอเอส, ตลอดจนกลุ่ม “ซาลาฟิสต์” (Salafist) อื่นๆ หลายหลากในตะวันออกกลาง ต่างกำลังเป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริงต่อโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road) มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ของจีน ซึ่งมุ่งเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ และโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ไปทั่วทั้งยูเรเชีย [9]
พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สหรัฐฯนั้น (1) ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันตะวันออกกลางอีกต่อไปแล้ว, (2) ในทางภูมิศาสตร์ก็อยู่ห่างไกลออกไปมากจากภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับพวกรัฐต่างๆ ในเอเชีย, (3) ไม่ได้มีประชากรชาวมุสลิมภายในประเทศจำนวนมากๆ ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกทำให้กลายเป็นพวกหัวรุนแรง, (4) จับมือเป็นหุ้นส่วนกับพวกรัฐวะฮาบีย์เพื่อทำให้รัฐอื่นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง แทนที่จะเข้าต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิวะฮาบีย์, และ (5) กำลังประสบกับความอัปยศอดสูระดับระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากพฤติการณ์ทำลายล้างในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยเมน, (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.politico.com/magazine/story/2016/02/rfk-jr-why-arabs-dont-trust-america-213601 และ https://theintercept.com/2016/08/22/a-congressman-campaigns-to-stop-the-madness-of-u-s-support-for-saudi-bombing-in-yemen/) ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าบรรดารัฐในเอเชียกำลังหันมารวมตัวกัน เพื่อจัดทำแผนการริเริ่มต่อต้านปราบปรามการก่อการร้ายของพวกเขาเองขึ้นมา
ตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาแล้ว ทั้งอินเดียและจีนต่างพากันยกระดับสายสัมพันธ์ด้านความมั่นคงที่พวกเขามีอยู่กับรัฐบาลซีเรีย ด้วยจุดมุ่งหมายในการตอบโต้กับอัลกออิดะห์และไอเอส [10]
พันเอก วิเวก จันทรา (Colonel Vivek Chadha) นักเขียนและนักวิจัยของสถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านการป้องกันประเทศ (Defence Studies and Analysis ใช้อักษรย่อว่า IDSA) ซึ่งตั้งฐานอยู่ในนิวเดลี แสดงความคิดเห็นเอาไว้ว่า “... นี่คือตัวอย่างประการหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นพื้นที่ซึ่งเราควรจะลงมือปฏิบัติการด้วยกัน เพื่อกำราบปราบปรามภัยคุกคามนี้ตั้งแต่ก่อนที่มันจะมีการขยายตัวออกไปจนน่ากังวลใจ” [11]
ทางฝ่ายจีนก็มีทัศนะเช่นนี้เหมือนกัน ในเรื่องการกำราบปราบปรามกลุ่ม TIP/ETIM ที่อยู่ในเครือข่ายอัลกออิดะห์ และเวลานี้ตั้งฐานอยู่ในซีเรีย (TIP คือ Turkistan Islamic Party พรรคอิสลามิสต์เตอร์กิสถาน ซึ่งเดิมรู้จักกันในนาม ETIM ที่เป็นคำย่อของชื่อเต็มว่า East Turkestan Islamic Movement ขบวนการอิสลามิสต์เตอร์กิสถานตะวันออก Wikipedia บอกว่า TIP/ETIM เป็นองค์การก่อการร้ายอิสลามิสต์และแบ่งแยกดินแดน ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพวกนักรบหัวรุนแรงชาวอุยกูร์ในภาคตะวันตกของจีน -ผู้แปล) ทั้งนี้ย้อนหลังไปในปี 2013 ปักกิ่งก็ได้ออกมาเรียกร้องแล้ว ให้ “ทำการสู้รบปราบปราม ETIM ก่อนที่ภัยคุกคามจากกลุ่มนี้จะขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น” (ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.globaltimes.cn/content/833525.shtml )
ทั้งอินเดียและจีนต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization ใช้อักษรย่อว่า SCO) โดยที่รัฐสมาชิกรายอื่นๆ ยังประกอบด้วยรัสเซีย, ปากีสถาน, และเหล่าสาธารณรัฐในแถบเอเชียกลาง ซึ่งต่างกำลังยกระดับเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ความพยายามในการต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายของพวกเขาในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ ทั้งอินเดียและจีนยังต่างปฏิเสธไม่เห็นด้วยกับความพยายามของสหรัฐฯ-ซาอุดีอาระเบียที่จะโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย และนำเอาระบอบปกครองวะฮาบีย์ทำนองเดียวกับ “ตอลิบาน” ในอัฟกานิสถาน เข้าไปแทนที่ [12]
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในกลุ่มฝ่ายค้านต่างชาติในซีเรียซึ่งสหรัฐฯและซาอุดีอาระเบียให้การหนุนหลังอยู่นั้น มีพวกนักรบญิฮาดชาวเอเชียด้วยหลายๆ กลุ่ม (ดูรายละเอียดได้ที่
http://atimes.com/2016/02/asian-rebels-in-aleppo-western-blind-spot/) ดังนั้น มันจึงกลายเป็นผลประโยชน์ของบรรดารัฐสมาชิกขององค์การ SCO ที่จะต้องต่อต้านคัดค้านวาระเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองของสหรัฐฯ-ซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งต้องปฏิเสธไม่ยอมให้ซีเรียถูกแปรสภาพเสมือนเป็นแหล่งพักพิงหลบภัย ซึ่งพวกนักรบหัวรุนแรงชาวเอเชียสามารถที่จะใช้เปิดฉากทำการโจมตีต่อดินแดนของเหล่ารัฐสมาชิก SCO ในอีกด้านหนึ่ง รัสเซีย, อินเดีย, และจีน ยังได้จัดตั้งกลุ่มแกนที่นำเอาอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อประเทศพวกเขามารวมกัน ขนามนามว่ากลุ่ม RIC โดยที่มีการจัดประชุมซัมมิตกลุ่ม RIC 3 ฝ่ายเป็นครั้งที่ 14 แล้วในกรุงมอสโกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ณ การประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีต่างประเทศ สุชมา สวาราช (Sushma Swaraj) ของอินเดียประกาศว่า “เหล่าประเทศ RIC ต้องเป็นผู้นำทาง ในการนำเอาประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมือกันเพื่อต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้าย ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติการร่วมกัน" [13]
เวลานี้ จึงกำลังปรากฏกลุ่มพันธมิตรขึ้นมา 2 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มพันธมิตรนำโดย RIC ที่เป็นชาวยูเรเชีย ซึ่งมุ่งต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายวะฮาบีย์-ซาลาฟี (Wahhabi-Salafi terrorism) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มพันธมิตรนำโดยซาอุดีอาระเบีย-สหรัฐฯ ที่มุ่งต่อต้านโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย ดังนั้น จึงดูเหมือนกรุงดามัสกัสกำลังจะเกิดการแออัดเบียดเสียดอย่างน่ากลัวอันตราย
หมายเหตุ
[1] Peter Hartcher, “We help pay for terrorism at the petro pump”, Sydney Morning Herald, August 30, 2016, http://www.smh.com.au/comment/saudi-funds-help-pay-for-spread-of-wahhabism-20160829-gr3dlu.html
[2] “The World Reaps What the Saudis Sow”, New York Times, May 27, 2016, http://www.nytimes.com/2016/05/28/opinion/the-world-reaps-what-the-saudis-sow.html?_r=0
[3] David Larter, “US admiral warns Asia-Pacific may be next front in ISIS fight”, Navy Times, August 3, 2016, https://www.navytimes.com/story/military/2016/08/03/isis-asia-islamic-state-philippines-indonesia-malaysia-bangladesh/87999820/http://english.alarabiya.net/en/perspective/features/2016/07/14/ISIS-recruits-in-SE-Asia-a-rising-threat-despite-weak-attacks.html
[4] Ishaan Tharoor, “The Saudi Origins of Belgium’s Islamist Threat”, Washington Post, March 23, 2016, https://www.washingtonpost.com/news/worldviews/wp/2016/03/23/the-roots-of-belgiums-islamist-threat-reach-back-to-saudi-arabia/ Nicholas Kristoff, “The terrorists the Saudis cultivate in peaceful countries”, New York Times, July 2, 2016, http://www.nytimes.com/2016/07/03/opinion/sunday/the-terrorists-the-saudis-cultivate-in-peaceful-countries.html; Carlotta Gal, “How Kosovo was turned into fertile ground for ISIS”, New York Times, May 21, 2016, http://www.nytimes.com/2016/05/22/world/europe/how-the-saudis-turned-kosovo-into-fertile-ground-for-isis.html?_r=0;
[5] Peter Mitchell, “Obama to Turnbull on Indonesia, Islam and the Saudis: ‘It’s complicated’”, Sydney Morning Herald, March 12, 2016, http://www.smh.com.au/world/obama-to-turnbull-on-indonesia-islam-and-the-saudis-its-complicated-20160311-gnh8m9.html; http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2016/04/the-obama-doctrine/471525/
[6] Tara John, “Indonesia’s Long Battle Against Islamic Extremism Could Be About To Get Tougher” Time, January 14, 2016, http://time.com/4181557/jakarta-terrorist-attacks-indonesia-isis/
[7] Patrick Cockburn, “Thanks to UK and US intervention, al Qaeda now has a mini state in Yemen. It’s Iraq and Isis all over again”, The Independent, April 15, 2016, http://www.independent.co.uk/voices/thanks-to-uk-and-us-intervention-al-qaeda-now-has-a-mini-state-in-yemen-its-iraq-and-isis-all-over-a6986086.html Pamela Engel, “ISIS steadily gaining strength in another Middle Eastern country while everyone looks the other way” Business Insider, December 17, 2015, http://www.businessinsider.com/isis-in-yemen-2015-12
[8] Kabir Taneja, “What’s behind ties between Assad and India”, War on the Rocks, April 4, 2016, http://warontherocks.com/2016/04/whats-behind-ties-between-assad-and-india/
[9] http://www.pbs.org/newshour/making-sense/china-is-spending-nearly-1-trillion-to-rebuild-the-silk-road/
[10] Sami Moubayed, “India throws its weight behind Syria’s Al Assad”, Gulf News, August 23, 2016, http://gulfnews.com/news/mena/syria/india-throws-its-weight-behind-syria-s-al-assad-1.1883712; “China steps up ‘military cooperation’ with Assad as top admiral visits Damascus”, Telegraph, August 18, 2016.
[11] Iftikhar Gilani, “Islamic State Threat: India, Syria to intensify security cooperation”, DNA India, August 22, 2016, http://www.dnaindia.com/india/report-islamic-state-threat-india-syria-work-out-new-mechanisms-2247592; “Six reasons why India should join Russian air strikes in Syria”, Indian Defence News, October 11, 2015, http://www.indiandefensenews.in/2015/10/six-reasons-why-india-should-join.html
[12] “Syria, India call for rejection of foreign influence in internal affairs’, The BRICS Post, August 22, 2016, http://thebricspost.com/syria-india-call-for-rejection-of-foreign-influence-in-internal-affairs/#.V8jALmVlnq0
[13] “Russia, China, India FMs discuss ties at Moscow meet”, The BRICS Post, April 19, 2016, http://thebricspost.com/russia-china-india-fms-discuss-ties-at-moscow-meet/#.V8jPfmVllmA
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
ดร.คริสตินา ลิน เป็นนักวิจัยอยู่ที่ ศูนย์เพื่อความสัมพันธ์สองฟากฝั่งแอตแลนติก (Center for Transatlantic Relations) วิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ (SAIS) มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) โดยเธอเป็นผู้ชำนาญการในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ตะวันออก กลาง/เมดิเตอร์เรเนียน เธอยังเป็นที่ปรึกษาด้านการวิจัยให้แก่ ศูนย์เจนส์ด้านข่าวกรองทางเคมี, ชีวภาพ, รังสี, และนิวเคลียร์ (Jane’s Chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Intelligence Centre) ณ บริษัทวิจัย ไอเอสเอส เจนส์ (IHS Jane’s)
US-Saudi push for regime change arms terror groups, poses threat to Asia
By Christina Lin
02/09/2016
กลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีอุดมการณ์อย่างเดียวกัน นั่นคือลัทธิวะฮาบีย์ ที่ไร้ขันติธรรม แนวความคิดรุนแรงสุดโต่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวะฮาบีย์ กำลังทำให้คุณลักษณะของพวกรัฐเอเชียที่มีประชากรชาวมุสลิมเป็นจำนวนมากเฉกเช่นอินโดนีเซีย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีอันตรายยิ่ง ด้วยความตระหนักถึงภัยคุกคามเช่นนี้ รวมทั้งด้วยความตระหนักถึงวาระของสหรัฐฯ-ซาอุดีอาระเบียที่มุ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง ประเทศอย่างจีนและอินเดีย จึงดูเหมือนกำลังพยายามรวมตัวกันเป็นแนวร่วมและจัดวางแผนการต่างๆ เพื่อต่อสู้กับพวกเขา
การจับกลุ่มกันระหว่างสหรัฐฯกับซาอุดีอาระเบีย (US-Saudi nexus) กำลังก่อให้เกิดปัญหาต่อความมั่นคงของเอเชีย ตั้งแต่อัฟกานิสถานไปถึงซีเรียและเวลานี้ก็กำลังย้อนกลับมาทางเอเชียอีกครั้ง การจับกลุ่มกันระหว่างสองประเทศนี้ ซึ่งมีทั้งการดำเนินการติดอาวุธและการให้ความสนับสนุนแก่พวกสุดโต่งอิสลามิสต์เพื่อออกปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง คือการเพาะเชื้อและการแพร่พันธุ์นักรบญิฮาดระดับโลก ให้กระจายเข้าสู่ประชาคมระหว่างประเทศ
ดร.บราห์มา เชลลานีย์ (Dr. Brahma Chellaney) แห่งศูนย์เพื่อการวิจัยนโยบาย (Centre for Policy Research) ที่มีฐานอยู่ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ยังตั้งข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า “ในความเป็นจริงแล้วพวกมหาอำนาจตะวันตกได้กระตุ้นส่งเสริมราชอาณาจักรแห่งนี้ให้ส่งออกลัทธิวะฮาบีย์ (Wahhabism) ไปยังประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษลัทธิคอมมิวนิสต์ และตั้งแต่ปี 1979 ก็เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษการปฏิวัติอิหร่านที่ต่อต้านสหรัฐฯไปด้วย” [1]
เวลานี้หลังจากผ่านช่วงเวลาหลายทศวรรษแห่งการใช้เงินดอลลาร์จากน้ำมัน (petrol-dollars) เป็นเงินทุนสำหรับการส่งออกลัทธิวะฮาบีย์ และการทำให้ชาวมุสลิมในเอเชียเข้าสู่ “กระบวนการทำให้กลายเป็นแบบซาอุดีอาระเบีย” (“Saudization” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่อง After Mideast, will the Saudi-Wahhabi nexus destabilize East Asia? ของผู้เขียน http://atimes.com/2016/06/after-mideast-will-the-saudi-wahhabi-nexus-destabilize-east-asia/) เอเชียก็กำลังอยู่ในภาวะสุกงอมจากผลพวงต่อเนื่องทางลบด้านต่างๆ ของการจับกลุ่มดังกล่าว [2] ระหว่างที่ไปกล่าวคำปราศรัยต่อมูลนิธิริเริ่มสร้างญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ (Rebuild Japan Initiative Foundation) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา พลเรือเอก แฮร์รี บี. แฮร์ริส จูเนียร์ (Admiral Harry B. Harris Jr.) ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารภาคแปซิฟิกของสหรัฐฯ (US PACOM) เตือนว่า กลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) กำลังแพร่กระจายไปในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย-เอเชียแปซิฟิก (Indo-Asia Pacific region) โดยที่ไอเอสมองว่าภูมิภาคดังกล่าวนี้คือแนวรบด้านใหม่ของพวกเขา [3]
ไอเอสกับซาอุดีฯมีอุดมการณ์เดียวกันคือ “วะฮาบีย์”
สถานการณ์เช่นนี้ไม่ควรสร้างความประหลาดใจอะไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มไอเอสกับซาอุดีอาระเบียต่างมีอุดมการณ์อย่างเดียวกัน นั่นคือลัทธิวะฮาบีย์ที่ไร้ขันติธรรม ดังที่ วิลเลียม แมคแคนต์ส (William McCants) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The ISIS Apocalypse” พูดเอาไว้ว่า ศาสนาอย่างเป็นทางการของซาอุดีอาระเบียคือ “อิสลามชนิดอนุรักษนิยมอย่างยิ่งยวด (brand of ultraconservative Islam) ซึ่งเกือบๆ จะเหมือนกันกับของกลุ่มรัฐอิสลามทีเดียว”
อดีตอิหม่ามของมหามัสยิดในนครเมกกะ (Grand Mosque in Mecca) ของซาอุดีอาระเบีย ก็ยืนยันอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า “เรามีความเชื่อต่างๆ อย่างเดียวกันกับกลุ่มไอซิส (ไอเอส) เรามีอุดมการณ์อย่างเดียวกันกับพวกเขา แต่เราแสดงออกซึ่งอุดมการณ์นี้ในวิถีทางที่บริสุทธิ์ละเอียดประณีตกว่า” (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=nwRaPK7G8cA)
อันที่จริง เมื่อตอนที่พวกไอเอสมองหาว่าจะใช้อะไรมาเป็นตำรับตำราสำหรับโรงเรียนของพวกเขาในเมืองร็อกเกาะฮ์ (Raqqa ประเทศซีเรีย ถือเป็นเมืองหลวงของไอเอส) อยู่นั้น ปรากฏว่าพวกเขาสั่งพิมพ์สำเนาตำราเรียนของทางการซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพวกเขาค้นหาเจอทางออนไลน์
ด้วยเหตุนี้เอง ชาวมุสลิมในเอเชียซึ่งได้รับการศึกษาอบรมด้วยลัทธิวะฮาบีย์ จึงถูกดึงดูดเข้าไปหากลุ่มไอเอสอย่างเป็นธรรมชาติ เฉกเช่นเดียวกับชาวมุสลิมในยุโรป, โคโซโว, และที่อื่นๆ ซึ่งอนุญาตให้พวกมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย สามารถหยั่งรากปักหลักได้ [4] (เขตเทศบาลตำบล )โมเลนบีค (Molenbeek) ในกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการก่อการร้ายของกลุ่มไอเอสในเบลเยียม คือหนึ่งในตัวอย่างของเรื่องดังกล่าว
แนวความคิดสุดโต่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิวะฮาบีย์ ยังกำลังเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของรัฐต่างๆ ในเอเชียซึ่งมีประชากรชาวมุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ได้อธิบายให้นายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ ของออสเตรเลียฟัง ระหว่างการประชุมซัมมิตของกลุ่มเอเปก เมื่อเร็วๆ นี้ ลัทธิวะฮาบีย์ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียได้เปลี่ยนแปลงอินโดนีเซียจากที่เคยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีลักษณะผ่อนคลายและรับเอาแนวความคิดจากศาสนาอื่นๆ ให้กลายเป็นอิสลามแบบเคร่งครัดจารีตดั้งเดิม, ไม่ยอมรับและไม่ยอมให้อภัยแก่การตีความที่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม, รวมทั้งมีความเชื่อแบบอาหรับมากขึ้นกว่าเมื่อตอนที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นในวัยเด็ก [5] ทั้งนี้ในปัจจุบันอินโดนีเซียก็กำลังประสบกับเหตุโจมตีแบบก่อการร้ายซึ่งโยงใยไปถึงอัลกออิดะห์และไอเอส พุ่งพรวดขึ้นมามาก [6]
กระนั้นก็ตาม สหรัฐฯยังคงเดินหน้าสนับสนุนนโยบายของกรุงริยาดที่เป็นการสร้างอันตรายให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป ในซีเรีย แทนที่จะปฏิบัติตามนโยบายของการต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้าย สหรัฐฯก็เข้าเป็นหุ้นส่วนกับทางซาอุดีอาระเบียในการสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอัลกออิดะห์ เพื่อเดินหน้านโยบายมุ่งเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง ขณะเดียวกันนั้นเองก็กำลังทำลายล้างเยเมน ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ไอเอสและอัลกออิดะห์ผงาดเฟื่องฟูขึ้นมา [7]
นี่คือภัยคุกคามต่อเอเชีย ในเวลานี้สหรัฐฯไม่ได้มีความจำเป็นต้องอาศัยน้ำมันจากตะวันออกกลางอีกแล้ว และด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะล่าถอยออกจากภูมิภาคนี้ได้ตามความปรารถนา ตรงกันข้ามกับพวกรัฐในเอเชียซึ่งกำลังพึ่งพาตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเพื่อการเข้าถึงตลาดสำหรับสินค้าออกของพวกเขาและทั้งเพื่อการเข้าถึงแหล่งที่มาของพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิวเดลีกับปักกิ่งยังกำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายอันสาหัสร้ายแรงอีกประการหนึ่ง ได้แก่การปกป้องคุ้มครองประชาชนของพวกเขาที่อพยพไปทำงานอยู่ในตะวันออกกลาง ซึ่งสำหรับชาวอินเดียแล้วมีจำนวน 7 ล้านคนทีเดียว ส่วนคนงานอพยพชาวจีนในภูมิภาคนี้แม้มีจำนวนน้อยกว่ามาก แต่ก็ยังมีถึง 2 ล้านคน [8]
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ว่าอัลกออิดะห์, ไอเอส, ตลอดจนกลุ่ม “ซาลาฟิสต์” (Salafist) อื่นๆ หลายหลากในตะวันออกกลาง ต่างกำลังเป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริงต่อโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road) มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ของจีน ซึ่งมุ่งเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ และโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ไปทั่วทั้งยูเรเชีย [9]
พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สหรัฐฯนั้น (1) ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันตะวันออกกลางอีกต่อไปแล้ว, (2) ในทางภูมิศาสตร์ก็อยู่ห่างไกลออกไปมากจากภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับพวกรัฐต่างๆ ในเอเชีย, (3) ไม่ได้มีประชากรชาวมุสลิมภายในประเทศจำนวนมากๆ ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกทำให้กลายเป็นพวกหัวรุนแรง, (4) จับมือเป็นหุ้นส่วนกับพวกรัฐวะฮาบีย์เพื่อทำให้รัฐอื่นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง แทนที่จะเข้าต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิวะฮาบีย์, และ (5) กำลังประสบกับความอัปยศอดสูระดับระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากพฤติการณ์ทำลายล้างในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยเมน, (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.politico.com/magazine/story/2016/02/rfk-jr-why-arabs-dont-trust-america-213601 และ https://theintercept.com/2016/08/22/a-congressman-campaigns-to-stop-the-madness-of-u-s-support-for-saudi-bombing-in-yemen/) ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าบรรดารัฐในเอเชียกำลังหันมารวมตัวกัน เพื่อจัดทำแผนการริเริ่มต่อต้านปราบปรามการก่อการร้ายของพวกเขาเองขึ้นมา
ตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาแล้ว ทั้งอินเดียและจีนต่างพากันยกระดับสายสัมพันธ์ด้านความมั่นคงที่พวกเขามีอยู่กับรัฐบาลซีเรีย ด้วยจุดมุ่งหมายในการตอบโต้กับอัลกออิดะห์และไอเอส [10]
พันเอก วิเวก จันทรา (Colonel Vivek Chadha) นักเขียนและนักวิจัยของสถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านการป้องกันประเทศ (Defence Studies and Analysis ใช้อักษรย่อว่า IDSA) ซึ่งตั้งฐานอยู่ในนิวเดลี แสดงความคิดเห็นเอาไว้ว่า “... นี่คือตัวอย่างประการหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นพื้นที่ซึ่งเราควรจะลงมือปฏิบัติการด้วยกัน เพื่อกำราบปราบปรามภัยคุกคามนี้ตั้งแต่ก่อนที่มันจะมีการขยายตัวออกไปจนน่ากังวลใจ” [11]
ทางฝ่ายจีนก็มีทัศนะเช่นนี้เหมือนกัน ในเรื่องการกำราบปราบปรามกลุ่ม TIP/ETIM ที่อยู่ในเครือข่ายอัลกออิดะห์ และเวลานี้ตั้งฐานอยู่ในซีเรีย (TIP คือ Turkistan Islamic Party พรรคอิสลามิสต์เตอร์กิสถาน ซึ่งเดิมรู้จักกันในนาม ETIM ที่เป็นคำย่อของชื่อเต็มว่า East Turkestan Islamic Movement ขบวนการอิสลามิสต์เตอร์กิสถานตะวันออก Wikipedia บอกว่า TIP/ETIM เป็นองค์การก่อการร้ายอิสลามิสต์และแบ่งแยกดินแดน ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพวกนักรบหัวรุนแรงชาวอุยกูร์ในภาคตะวันตกของจีน -ผู้แปล) ทั้งนี้ย้อนหลังไปในปี 2013 ปักกิ่งก็ได้ออกมาเรียกร้องแล้ว ให้ “ทำการสู้รบปราบปราม ETIM ก่อนที่ภัยคุกคามจากกลุ่มนี้จะขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น” (ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.globaltimes.cn/content/833525.shtml )
ทั้งอินเดียและจีนต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization ใช้อักษรย่อว่า SCO) โดยที่รัฐสมาชิกรายอื่นๆ ยังประกอบด้วยรัสเซีย, ปากีสถาน, และเหล่าสาธารณรัฐในแถบเอเชียกลาง ซึ่งต่างกำลังยกระดับเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ความพยายามในการต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายของพวกเขาในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ ทั้งอินเดียและจีนยังต่างปฏิเสธไม่เห็นด้วยกับความพยายามของสหรัฐฯ-ซาอุดีอาระเบียที่จะโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย และนำเอาระบอบปกครองวะฮาบีย์ทำนองเดียวกับ “ตอลิบาน” ในอัฟกานิสถาน เข้าไปแทนที่ [12]
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในกลุ่มฝ่ายค้านต่างชาติในซีเรียซึ่งสหรัฐฯและซาอุดีอาระเบียให้การหนุนหลังอยู่นั้น มีพวกนักรบญิฮาดชาวเอเชียด้วยหลายๆ กลุ่ม (ดูรายละเอียดได้ที่
http://atimes.com/2016/02/asian-rebels-in-aleppo-western-blind-spot/) ดังนั้น มันจึงกลายเป็นผลประโยชน์ของบรรดารัฐสมาชิกขององค์การ SCO ที่จะต้องต่อต้านคัดค้านวาระเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองของสหรัฐฯ-ซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งต้องปฏิเสธไม่ยอมให้ซีเรียถูกแปรสภาพเสมือนเป็นแหล่งพักพิงหลบภัย ซึ่งพวกนักรบหัวรุนแรงชาวเอเชียสามารถที่จะใช้เปิดฉากทำการโจมตีต่อดินแดนของเหล่ารัฐสมาชิก SCO ในอีกด้านหนึ่ง รัสเซีย, อินเดีย, และจีน ยังได้จัดตั้งกลุ่มแกนที่นำเอาอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อประเทศพวกเขามารวมกัน ขนามนามว่ากลุ่ม RIC โดยที่มีการจัดประชุมซัมมิตกลุ่ม RIC 3 ฝ่ายเป็นครั้งที่ 14 แล้วในกรุงมอสโกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ณ การประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีต่างประเทศ สุชมา สวาราช (Sushma Swaraj) ของอินเดียประกาศว่า “เหล่าประเทศ RIC ต้องเป็นผู้นำทาง ในการนำเอาประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมือกันเพื่อต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้าย ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติการร่วมกัน" [13]
เวลานี้ จึงกำลังปรากฏกลุ่มพันธมิตรขึ้นมา 2 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มพันธมิตรนำโดย RIC ที่เป็นชาวยูเรเชีย ซึ่งมุ่งต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายวะฮาบีย์-ซาลาฟี (Wahhabi-Salafi terrorism) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มพันธมิตรนำโดยซาอุดีอาระเบีย-สหรัฐฯ ที่มุ่งต่อต้านโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย ดังนั้น จึงดูเหมือนกรุงดามัสกัสกำลังจะเกิดการแออัดเบียดเสียดอย่างน่ากลัวอันตราย
หมายเหตุ
[1] Peter Hartcher, “We help pay for terrorism at the petro pump”, Sydney Morning Herald, August 30, 2016, http://www.smh.com.au/comment/saudi-funds-help-pay-for-spread-of-wahhabism-20160829-gr3dlu.html
[2] “The World Reaps What the Saudis Sow”, New York Times, May 27, 2016, http://www.nytimes.com/2016/05/28/opinion/the-world-reaps-what-the-saudis-sow.html?_r=0
[3] David Larter, “US admiral warns Asia-Pacific may be next front in ISIS fight”, Navy Times, August 3, 2016, https://www.navytimes.com/story/military/2016/08/03/isis-asia-islamic-state-philippines-indonesia-malaysia-bangladesh/87999820/http://english.alarabiya.net/en/perspective/features/2016/07/14/ISIS-recruits-in-SE-Asia-a-rising-threat-despite-weak-attacks.html
[4] Ishaan Tharoor, “The Saudi Origins of Belgium’s Islamist Threat”, Washington Post, March 23, 2016, https://www.washingtonpost.com/news/worldviews/wp/2016/03/23/the-roots-of-belgiums-islamist-threat-reach-back-to-saudi-arabia/ Nicholas Kristoff, “The terrorists the Saudis cultivate in peaceful countries”, New York Times, July 2, 2016, http://www.nytimes.com/2016/07/03/opinion/sunday/the-terrorists-the-saudis-cultivate-in-peaceful-countries.html; Carlotta Gal, “How Kosovo was turned into fertile ground for ISIS”, New York Times, May 21, 2016, http://www.nytimes.com/2016/05/22/world/europe/how-the-saudis-turned-kosovo-into-fertile-ground-for-isis.html?_r=0;
[5] Peter Mitchell, “Obama to Turnbull on Indonesia, Islam and the Saudis: ‘It’s complicated’”, Sydney Morning Herald, March 12, 2016, http://www.smh.com.au/world/obama-to-turnbull-on-indonesia-islam-and-the-saudis-its-complicated-20160311-gnh8m9.html; http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2016/04/the-obama-doctrine/471525/
[6] Tara John, “Indonesia’s Long Battle Against Islamic Extremism Could Be About To Get Tougher” Time, January 14, 2016, http://time.com/4181557/jakarta-terrorist-attacks-indonesia-isis/
[7] Patrick Cockburn, “Thanks to UK and US intervention, al Qaeda now has a mini state in Yemen. It’s Iraq and Isis all over again”, The Independent, April 15, 2016, http://www.independent.co.uk/voices/thanks-to-uk-and-us-intervention-al-qaeda-now-has-a-mini-state-in-yemen-its-iraq-and-isis-all-over-a6986086.html Pamela Engel, “ISIS steadily gaining strength in another Middle Eastern country while everyone looks the other way” Business Insider, December 17, 2015, http://www.businessinsider.com/isis-in-yemen-2015-12
[8] Kabir Taneja, “What’s behind ties between Assad and India”, War on the Rocks, April 4, 2016, http://warontherocks.com/2016/04/whats-behind-ties-between-assad-and-india/
[9] http://www.pbs.org/newshour/making-sense/china-is-spending-nearly-1-trillion-to-rebuild-the-silk-road/
[10] Sami Moubayed, “India throws its weight behind Syria’s Al Assad”, Gulf News, August 23, 2016, http://gulfnews.com/news/mena/syria/india-throws-its-weight-behind-syria-s-al-assad-1.1883712; “China steps up ‘military cooperation’ with Assad as top admiral visits Damascus”, Telegraph, August 18, 2016.
[11] Iftikhar Gilani, “Islamic State Threat: India, Syria to intensify security cooperation”, DNA India, August 22, 2016, http://www.dnaindia.com/india/report-islamic-state-threat-india-syria-work-out-new-mechanisms-2247592; “Six reasons why India should join Russian air strikes in Syria”, Indian Defence News, October 11, 2015, http://www.indiandefensenews.in/2015/10/six-reasons-why-india-should-join.html
[12] “Syria, India call for rejection of foreign influence in internal affairs’, The BRICS Post, August 22, 2016, http://thebricspost.com/syria-india-call-for-rejection-of-foreign-influence-in-internal-affairs/#.V8jALmVlnq0
[13] “Russia, China, India FMs discuss ties at Moscow meet”, The BRICS Post, April 19, 2016, http://thebricspost.com/russia-china-india-fms-discuss-ties-at-moscow-meet/#.V8jPfmVllmA
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
ดร.คริสตินา ลิน เป็นนักวิจัยอยู่ที่ ศูนย์เพื่อความสัมพันธ์สองฟากฝั่งแอตแลนติก (Center for Transatlantic Relations) วิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ (SAIS) มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) โดยเธอเป็นผู้ชำนาญการในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ตะวันออก กลาง/เมดิเตอร์เรเนียน เธอยังเป็นที่ปรึกษาด้านการวิจัยให้แก่ ศูนย์เจนส์ด้านข่าวกรองทางเคมี, ชีวภาพ, รังสี, และนิวเคลียร์ (Jane’s Chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Intelligence Centre) ณ บริษัทวิจัย ไอเอสเอส เจนส์ (IHS Jane’s)