(เก็บความจากเอเชียไทมส์/เมียนมาร์ไทมส์)
Myanmar central bank buys dollars to ‘reduce panic’
By Asia Unhedged
11/03/2016
ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคมเป็นต้นว่าพวกธนาคารเอกชนของพม่าพากันเสนอขายเงินดอลลาร์ระหว่างการประมูลซื้อขายประจำวัน และแบงก์ชาติก็ได้เข้ารับซื้อไว้ รวมแล้วเป็นจำนวนกว่า 40 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเพียงแค่ 5 วันทำการ ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า แบงก์เอกชนทั้งหลายยังตั้งข้อจำกัดต่อลูกค้าซึ่งต้องการนำดอลลาร์มาแลกเปลี่ยนกับเงินจ๊าด
ธนาคารกลางของพม่าได้รับซื้อเงินดอลลาร์จากพวกแบงก์เอกชนเป็นจำนวนมากกว่า 40 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเพียงแค่ 5 วันทำการ เพื่อ “ลดความตื่นตระหนกและป้องกันไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบ” เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติพม่าผู้หนึ่งบอกกับหนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ (Myanmar Times) ขณะเดียวกัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารเอกชนทั้งหลายยังพากันประกาศเพดานข้อจำกัดในการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง สืบเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบ (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/19387-kyat-rally-puzzles-bankers.html)
พวกธนาคารเอกชนเริ่มต้นการโอนเงินดอลลาร์สุทธิให้แบงก์ชาติพม่า โดยใช้ช่องทางการประมูลซื้อขายเงินตราประจำวันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม
ปรากฏว่าแรงเสนอขายดอลลาร์ได้พุ่งพรวดขึ้นมา ขณะที่แรงเสนอซื้อหดหายไป (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18921-dollar-bid-dries-up-as-banks-fear-currency-losses.html) ส่งผลให้เกิดการโอนสุทธิไปยังธนาคารกลางเป็นจำนวน 44.5 ล้านดอลลาร์ ในช่วงระหว่างวันที่ 4 มีนาคมจนถึงวันที่ 10 มีนาคม ก่อนหน้านี้ มีเพียงวันเดียวเท่านั้นในปีนี้ที่พวกแบงก์เอกชนเป็นผู้ขายสุทธิดอลลาร์ให้แบงก์ชาติ
ขณะเดียวกัน ธนาคารเอกชนทั้งหลายยังประกาศเพดานจำกัดปริมาณที่ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ สาขาต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ย่านกลางเมืองของพวกตน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของพวกพนักงานหน้าเคาน์เตอร์กับเมียนมาร์ไทมส์ เพดานจำกัดเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร รวมทั้งแตกต่างกันไปในแต่ละวัน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18902-surging-kyat-closes-foreign-exchange-desks.html )
พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ผู้หนึ่งในสาขาย่านกลางเมืองย่างกุ้งของธนาคาร เคบีแซด แบงก์ (KBZ Bank) เล่าว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคม เพดานจำกัดของธนาคารของเขาคือลูกค้าแลกเงินได้ไม่เกินรายละ 100 ดอลลาร์สำหรับสาขาทุกๆ แห่งในย่างกุ้ง ส่วนสาขาแห่งหนึ่งของ เอวายเอ แบงก์ (AYA Bank) และสาขาแห่งหนึ่งของ เมียนมา เอเพกซ์ แบงก์ (Myanma Apex Bank) ให้แลกได้ไม่เกินรายละ 500 ดอลลาร์ แต่สาขาหนึ่งของ ซีบี แบงก์ (CB Bank) กำหนดเพดานไว้ที่ 1,000 ดอลลาร์ ขณะที่เคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราของสาขาแห่งหนึ่งของ เมียวดี แบงก์ (Myawaddy Bank) ต้องปิดไปเลยสืบเนื่องจากความปั่นป่วนผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน
ธนาคารกลางมีความสามารถตอบสนองความต้องการที่จะปล่อยเงินดอลลาร์ของพวกแบงก์เอกชนได้เกือบทั้งหมด --โดยที่ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 10 มีนาคม มีเสนอขายดอลลาร์ออกมารวมทั้งสิ้น 46 ล้านดอลลาร์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/19258-banks-to-ship-millions-in-cash-overseas.html) เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางผู้หนึ่งซึ่งขอให้สงวนนาม บอกว่าทางแบงก์ชาติกำลังพยายามลดความแตกตื่น ซึ่งจะยิ่งพุ่งขึ้นสูงแน่ๆ ถ้าพวกธนาคารเอกชนไม่สามารถที่จะกำจัดเงินดอลลาร์ออกไปได้โดยอาศัยช่องทางการประมูล (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/19385-banks-fear-giving-up-licences.html)
ทั้งนี้ ช่องทางการประมูลเป็น 1 ใน 2 วิธีหลักซึ่งพวกแบงก์เอกชนใช้ในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ทว่าอีกช่องทางหนึ่งซึ่งได้แก่ตลาดระหว่างธนาคาร (interbank market) นั้น ทำงานได้ย่ำแย่มาก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18566-cbm-net-to-bolster-domestic-bond-market.html)
เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติคนเดิมกล่าวต่อไปว่า การรับซื้อดอลลาร์ของธนาคารกลาง ยังถือเป็นความพยายามที่จะควบคุมไม่ให้มูลค่าของเงินจ๊าดเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบอีกด้วย โดยสำหรับปีนี้เท่าที่ผ่านมาจนถึงบัดนี้ ต้องถือว่าสกุลเงินตราพม่านี้มีปัญหาเรื่องนี้ (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18834-kyat-appreciates-as-imports-slow-ahead-of-chinese-new-year.html) เพียงแต่เป็นปัญหาที่แตกต่างเป็นตรงกันข้ามกับเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา ซึ่งเงินจ๊าดลดค่าลงไปกว่า 25% เมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์ (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/17535-post-election-kyat-resumes-its-weakening-trend.html ) กล่าวคือ ความวูบวาบขึ้นลงของปีนี้ มาจากการที่เงินจ๊าดปรับค่าสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ลดฮวบลงมา
ทั้งนี้อัตราอ้างอิงทางการมีการเคลื่อนไหวสูงขึ้นไปเกือบๆ 5% ในช่วงเวลาเพียงสัปดาห์เดียวตอนช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อแบงก์เอกชนพากันกำหนดเพดานจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือกระทั่งปิดเคาน์เตอร์แลกเงินของพวกเขาลงอย่างสิ้นเชิงเพื่อไม่ให้ประสบการขาดทุน (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18902-surging-kyat-closes-foreign-exchange-desks.html)
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พวกธนาคารเอกชนยังไม่ได้นำดอลลาร์มาเทขายเป็นจำนวนมากๆ ให้แบงก์ชาติ การที่พวกเขาตัดสินใจทำเช่นนี้ในตอนนี้ ต้องถือว่าเป็นเรื่องผิดธรรมดา เพราะพวกเขาเป็นผู้ซื้อเงินดอลลาร์สุทธิจากธนาคารกลางเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มต้นมีการเปิดการประมูลกันขึ้น
บ่อยครั้งทีเดียวที่แบงก์ชาติต้องดิ้นรนหาทางสนองความต้องการเงินดอลลาร์ของพวกธนาคารเอกชน จากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอันน้อยนิดของตน เพียงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ พวกแบงก์เอกชนเรียกร้องขอซื้อเงินดอลลาร์จากธนาคารกลางสูงถึง 17.8 ล้านดอลลาร์ก็มีในการประมูลซื้อขายแต่ละวัน แล้วปรากฏว่าแบงก์ชาติสามารถสนองให้ได้เพียงแค่ 200,000 ดอลลาร์
เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางคนดังกล่าวระบุว่า มีเหตุผลสำคัญอยู่ 3 ประการซึ่งทำให้เกิดการเทขายเงินดอลลาร์กันอย่างพุ่งพรวดขึ้นมาเช่นนี้ เขาแจกแจงว่าปัจจัยประการแรกคือเรื่องฤดูกาล กล่าวคือพวกผู้ส่งออกต้องแลกเปลี่ยนดอลลาร์มาเป็นเงินจ๊าด จะได้สามารถรับซื้อผลผลิตที่เก็บเกี่ยวเสร็จจากบรรดาเกษตรกร เขาชี้ว่าเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี กระนั้นก็ตาม หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินตราของพม่าขยับค่าสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้าฤดูการเก็บเกี่ยวนั้น ดูจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก โดยที่ค่าเงินจ๊าดได้เคยพุ่งขึ้นทำนองนี้ในระยะก่อนฤดูการเก็บเกี่ยวเมื่อปี 2014 ทว่ากลับไม่ได้เป็นเช่นนั้นในปี 2015
เหตุผลประการที่ 2 ในความเห็นของเจ้าหน้าที่แบงก์ชาติผู้นี้ ได้แก่การที่ต่างประเทศได้เข้ามาลงทุน, ให้ความช่วยเหลือ, ให้เงินกู้และเงินให้เปล่ากันเพิ่มขึ้นมาก ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ภายหลังจากนานาชาติมีการตอบสนองในทางบวกต่อการเลือกตั้งและการเปลี่ยนถ่ายอำนาจของพม่า (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/17668-moody-s-views-nld-landslide-as-credit-positive.html)
ดังจะเห็นได้ว่าเงินทุนต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งไหลเข้าสู่ธนาคารทั้งในภาครัฐและในภาคเอกชน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2015-16 (เม.ย.-ธ.ค.2015) มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมา 10% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้านี้ทั้งปี เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวสำทับ
ทางด้าน ดอว์ โอนมาร์ จ่อ (Daw Ohnmar Kyaw) ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารเงินของ เอวายเอ แบงก์ บอกว่าธนาคารของเธอขายดอลลาร์ให้แก่ทางแบงก์ชาติเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ก็เนื่องจากฐานะสุทธิของธนาคารมีปริมาณสูงเกิน 30% ของเงินทุนแกนกลางมาเป็นเวลามากกว่า 3 วันแล้ว
เธออธิบายว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเทรดเดอร์ซึ่งมีบัญชีสกุลเงินดอลลาร์ ยังไม่ได้ชำระเงินค่าสินค้านำเข้า เธอตระหนักดีว่าพวกแบงก์ต่างๆ เพิ่มการขายดอลลาร์ในการประมูลซื้อขายเงินตรา ซึ่งเธอกล่าวว่าไม่ใช่เป็นเรื่องฤดูกาลและก็ไม่ใช่เรื่องปกติเลย ขณะที่ อู มา ทัน (U Mya Than) ประธานของเมียนมาร์ โอเรียนทอล แบงก์ (Myanmar Oriental Bank) บอกว่าแบงก์ของเขาก็ขายดอลลาร์ให้ธนาคารกลางด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีเงินดอลลาร์ล้นเกิน และอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินจ๊าดก็แข็งขึ้นมา
อู ซอ เต็ง (U Soe Thein) รองกรรมการผู้จัดการของธนาคาร เอเชีย กรีน ดีเวลอปเมนต์ แบงก์ (Asia Green Development Bank) กล่าวว่า พวกธนาคารเอกชนกำลังขายดอลลาร์ให้แก่แบงก์ชาติ ก็เนื่องจากแบงก์ชาติให้อัตราที่ดีกว่าตลาดไม่เป็นทางการ เป็นต้นว่าเมื่อวันที่ 9 มีนาคมนั้น มีความแตกต่างกันประมาณ 13 จ๊าดทีเดียว
สำหรับเหตุผลประการที่ 3 ในความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางผู้นี้ ได้แก่การที่พวกแบงก์ของพม่าคาดหมายกันว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯกำลังจะอ่อนค่าลงมา ดังนั้นจึงเทขายดอลลาร์ออกไปเพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มนี้ ทั้งนี้อัตราเสนอซื้อดอลลาร์ในการประมูลเพิ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 4 มีนาคม หลังจากที่เงินจ๊าดแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องมา 3 วันซ้อน
ในปีนี้เงินจ๊าดเพิ่มค่าขึ้นมาหลายๆ ครั้ง ทำให้ยุติอารมณ์ความรู้สึกที่ว่าทิศทางแนวโน้มของมันมีแต่จะลดต่ำลงไป ทั้งนี้ตามอัตราอ้างอิงของแบงก์ชาติ ในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) สกุลเงินตราของพม่านี้ได้แข็งขึ้นสู่ระดับ 1219 จ๊าดแลกได้ 1 ดอลลาร์ ใกล้ๆ ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนทีเดียว ขณะที่ช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว พวกร้านแลกเงินบางแห่งในย่านกลางเมืองย่างกุ้ง เสนอให้อัตราที่ดีที่สุดก็เพียงแค่ 1180 จ๊าดต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม เงินจ๊าดมีทิศทางแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ในระยะยาวได้หรือไม่นั้น ดูจะไม่มีความแน่นอน โดยที่พวกนายแบงก์และนักเศรษฐศาสตร์ต่างมองว่าพม่ายังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามร่างงบประมาณเมื่อเดือนธันวาคมก็คาดการณ์ว่าในปีงบประมาณหน้านี้จะขาดดุลการค้ามากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์
การที่เงินจ๊าดมีค่าแข็งขึ้น ถึงแม้ในทางทฤษฎีถือเป็นข่าวดีสำหรับพวกผู้นำเข้า และเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ส่งออก แต่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ในทางเป็นจริงแล้วเศรษฐกิจพม่าโดยรวมก็ต้องเสียหาย หากมีความเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างวูบวาบ ไม่ว่าในทิศทางขึ้นหรือลงก็ตามที
(จากเมียนมาร์ไทมส์)
Myanmar central bank buys dollars to ‘reduce panic’
By Asia Unhedged
11/03/2016
ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคมเป็นต้นว่าพวกธนาคารเอกชนของพม่าพากันเสนอขายเงินดอลลาร์ระหว่างการประมูลซื้อขายประจำวัน และแบงก์ชาติก็ได้เข้ารับซื้อไว้ รวมแล้วเป็นจำนวนกว่า 40 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเพียงแค่ 5 วันทำการ ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า แบงก์เอกชนทั้งหลายยังตั้งข้อจำกัดต่อลูกค้าซึ่งต้องการนำดอลลาร์มาแลกเปลี่ยนกับเงินจ๊าด
ธนาคารกลางของพม่าได้รับซื้อเงินดอลลาร์จากพวกแบงก์เอกชนเป็นจำนวนมากกว่า 40 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเพียงแค่ 5 วันทำการ เพื่อ “ลดความตื่นตระหนกและป้องกันไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบ” เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติพม่าผู้หนึ่งบอกกับหนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ (Myanmar Times) ขณะเดียวกัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารเอกชนทั้งหลายยังพากันประกาศเพดานข้อจำกัดในการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง สืบเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบ (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/19387-kyat-rally-puzzles-bankers.html)
พวกธนาคารเอกชนเริ่มต้นการโอนเงินดอลลาร์สุทธิให้แบงก์ชาติพม่า โดยใช้ช่องทางการประมูลซื้อขายเงินตราประจำวันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม
ปรากฏว่าแรงเสนอขายดอลลาร์ได้พุ่งพรวดขึ้นมา ขณะที่แรงเสนอซื้อหดหายไป (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18921-dollar-bid-dries-up-as-banks-fear-currency-losses.html) ส่งผลให้เกิดการโอนสุทธิไปยังธนาคารกลางเป็นจำนวน 44.5 ล้านดอลลาร์ ในช่วงระหว่างวันที่ 4 มีนาคมจนถึงวันที่ 10 มีนาคม ก่อนหน้านี้ มีเพียงวันเดียวเท่านั้นในปีนี้ที่พวกแบงก์เอกชนเป็นผู้ขายสุทธิดอลลาร์ให้แบงก์ชาติ
ขณะเดียวกัน ธนาคารเอกชนทั้งหลายยังประกาศเพดานจำกัดปริมาณที่ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ สาขาต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ย่านกลางเมืองของพวกตน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของพวกพนักงานหน้าเคาน์เตอร์กับเมียนมาร์ไทมส์ เพดานจำกัดเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร รวมทั้งแตกต่างกันไปในแต่ละวัน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18902-surging-kyat-closes-foreign-exchange-desks.html )
พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ผู้หนึ่งในสาขาย่านกลางเมืองย่างกุ้งของธนาคาร เคบีแซด แบงก์ (KBZ Bank) เล่าว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคม เพดานจำกัดของธนาคารของเขาคือลูกค้าแลกเงินได้ไม่เกินรายละ 100 ดอลลาร์สำหรับสาขาทุกๆ แห่งในย่างกุ้ง ส่วนสาขาแห่งหนึ่งของ เอวายเอ แบงก์ (AYA Bank) และสาขาแห่งหนึ่งของ เมียนมา เอเพกซ์ แบงก์ (Myanma Apex Bank) ให้แลกได้ไม่เกินรายละ 500 ดอลลาร์ แต่สาขาหนึ่งของ ซีบี แบงก์ (CB Bank) กำหนดเพดานไว้ที่ 1,000 ดอลลาร์ ขณะที่เคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราของสาขาแห่งหนึ่งของ เมียวดี แบงก์ (Myawaddy Bank) ต้องปิดไปเลยสืบเนื่องจากความปั่นป่วนผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน
ธนาคารกลางมีความสามารถตอบสนองความต้องการที่จะปล่อยเงินดอลลาร์ของพวกแบงก์เอกชนได้เกือบทั้งหมด --โดยที่ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 10 มีนาคม มีเสนอขายดอลลาร์ออกมารวมทั้งสิ้น 46 ล้านดอลลาร์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/19258-banks-to-ship-millions-in-cash-overseas.html) เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางผู้หนึ่งซึ่งขอให้สงวนนาม บอกว่าทางแบงก์ชาติกำลังพยายามลดความแตกตื่น ซึ่งจะยิ่งพุ่งขึ้นสูงแน่ๆ ถ้าพวกธนาคารเอกชนไม่สามารถที่จะกำจัดเงินดอลลาร์ออกไปได้โดยอาศัยช่องทางการประมูล (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/19385-banks-fear-giving-up-licences.html)
ทั้งนี้ ช่องทางการประมูลเป็น 1 ใน 2 วิธีหลักซึ่งพวกแบงก์เอกชนใช้ในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ทว่าอีกช่องทางหนึ่งซึ่งได้แก่ตลาดระหว่างธนาคาร (interbank market) นั้น ทำงานได้ย่ำแย่มาก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18566-cbm-net-to-bolster-domestic-bond-market.html)
เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติคนเดิมกล่าวต่อไปว่า การรับซื้อดอลลาร์ของธนาคารกลาง ยังถือเป็นความพยายามที่จะควบคุมไม่ให้มูลค่าของเงินจ๊าดเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบอีกด้วย โดยสำหรับปีนี้เท่าที่ผ่านมาจนถึงบัดนี้ ต้องถือว่าสกุลเงินตราพม่านี้มีปัญหาเรื่องนี้ (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18834-kyat-appreciates-as-imports-slow-ahead-of-chinese-new-year.html) เพียงแต่เป็นปัญหาที่แตกต่างเป็นตรงกันข้ามกับเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา ซึ่งเงินจ๊าดลดค่าลงไปกว่า 25% เมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์ (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/17535-post-election-kyat-resumes-its-weakening-trend.html ) กล่าวคือ ความวูบวาบขึ้นลงของปีนี้ มาจากการที่เงินจ๊าดปรับค่าสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ลดฮวบลงมา
ทั้งนี้อัตราอ้างอิงทางการมีการเคลื่อนไหวสูงขึ้นไปเกือบๆ 5% ในช่วงเวลาเพียงสัปดาห์เดียวตอนช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อแบงก์เอกชนพากันกำหนดเพดานจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือกระทั่งปิดเคาน์เตอร์แลกเงินของพวกเขาลงอย่างสิ้นเชิงเพื่อไม่ให้ประสบการขาดทุน (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/18902-surging-kyat-closes-foreign-exchange-desks.html)
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พวกธนาคารเอกชนยังไม่ได้นำดอลลาร์มาเทขายเป็นจำนวนมากๆ ให้แบงก์ชาติ การที่พวกเขาตัดสินใจทำเช่นนี้ในตอนนี้ ต้องถือว่าเป็นเรื่องผิดธรรมดา เพราะพวกเขาเป็นผู้ซื้อเงินดอลลาร์สุทธิจากธนาคารกลางเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มต้นมีการเปิดการประมูลกันขึ้น
บ่อยครั้งทีเดียวที่แบงก์ชาติต้องดิ้นรนหาทางสนองความต้องการเงินดอลลาร์ของพวกธนาคารเอกชน จากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอันน้อยนิดของตน เพียงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ พวกแบงก์เอกชนเรียกร้องขอซื้อเงินดอลลาร์จากธนาคารกลางสูงถึง 17.8 ล้านดอลลาร์ก็มีในการประมูลซื้อขายแต่ละวัน แล้วปรากฏว่าแบงก์ชาติสามารถสนองให้ได้เพียงแค่ 200,000 ดอลลาร์
เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางคนดังกล่าวระบุว่า มีเหตุผลสำคัญอยู่ 3 ประการซึ่งทำให้เกิดการเทขายเงินดอลลาร์กันอย่างพุ่งพรวดขึ้นมาเช่นนี้ เขาแจกแจงว่าปัจจัยประการแรกคือเรื่องฤดูกาล กล่าวคือพวกผู้ส่งออกต้องแลกเปลี่ยนดอลลาร์มาเป็นเงินจ๊าด จะได้สามารถรับซื้อผลผลิตที่เก็บเกี่ยวเสร็จจากบรรดาเกษตรกร เขาชี้ว่าเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี กระนั้นก็ตาม หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินตราของพม่าขยับค่าสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้าฤดูการเก็บเกี่ยวนั้น ดูจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก โดยที่ค่าเงินจ๊าดได้เคยพุ่งขึ้นทำนองนี้ในระยะก่อนฤดูการเก็บเกี่ยวเมื่อปี 2014 ทว่ากลับไม่ได้เป็นเช่นนั้นในปี 2015
เหตุผลประการที่ 2 ในความเห็นของเจ้าหน้าที่แบงก์ชาติผู้นี้ ได้แก่การที่ต่างประเทศได้เข้ามาลงทุน, ให้ความช่วยเหลือ, ให้เงินกู้และเงินให้เปล่ากันเพิ่มขึ้นมาก ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ภายหลังจากนานาชาติมีการตอบสนองในทางบวกต่อการเลือกตั้งและการเปลี่ยนถ่ายอำนาจของพม่า (ดูรายละเอียดที่ http://www.mmtimes.com/index.php/business/17668-moody-s-views-nld-landslide-as-credit-positive.html)
ดังจะเห็นได้ว่าเงินทุนต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งไหลเข้าสู่ธนาคารทั้งในภาครัฐและในภาคเอกชน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2015-16 (เม.ย.-ธ.ค.2015) มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมา 10% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้านี้ทั้งปี เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวสำทับ
ทางด้าน ดอว์ โอนมาร์ จ่อ (Daw Ohnmar Kyaw) ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารเงินของ เอวายเอ แบงก์ บอกว่าธนาคารของเธอขายดอลลาร์ให้แก่ทางแบงก์ชาติเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ก็เนื่องจากฐานะสุทธิของธนาคารมีปริมาณสูงเกิน 30% ของเงินทุนแกนกลางมาเป็นเวลามากกว่า 3 วันแล้ว
เธออธิบายว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเทรดเดอร์ซึ่งมีบัญชีสกุลเงินดอลลาร์ ยังไม่ได้ชำระเงินค่าสินค้านำเข้า เธอตระหนักดีว่าพวกแบงก์ต่างๆ เพิ่มการขายดอลลาร์ในการประมูลซื้อขายเงินตรา ซึ่งเธอกล่าวว่าไม่ใช่เป็นเรื่องฤดูกาลและก็ไม่ใช่เรื่องปกติเลย ขณะที่ อู มา ทัน (U Mya Than) ประธานของเมียนมาร์ โอเรียนทอล แบงก์ (Myanmar Oriental Bank) บอกว่าแบงก์ของเขาก็ขายดอลลาร์ให้ธนาคารกลางด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีเงินดอลลาร์ล้นเกิน และอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินจ๊าดก็แข็งขึ้นมา
อู ซอ เต็ง (U Soe Thein) รองกรรมการผู้จัดการของธนาคาร เอเชีย กรีน ดีเวลอปเมนต์ แบงก์ (Asia Green Development Bank) กล่าวว่า พวกธนาคารเอกชนกำลังขายดอลลาร์ให้แก่แบงก์ชาติ ก็เนื่องจากแบงก์ชาติให้อัตราที่ดีกว่าตลาดไม่เป็นทางการ เป็นต้นว่าเมื่อวันที่ 9 มีนาคมนั้น มีความแตกต่างกันประมาณ 13 จ๊าดทีเดียว
สำหรับเหตุผลประการที่ 3 ในความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางผู้นี้ ได้แก่การที่พวกแบงก์ของพม่าคาดหมายกันว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯกำลังจะอ่อนค่าลงมา ดังนั้นจึงเทขายดอลลาร์ออกไปเพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มนี้ ทั้งนี้อัตราเสนอซื้อดอลลาร์ในการประมูลเพิ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 4 มีนาคม หลังจากที่เงินจ๊าดแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องมา 3 วันซ้อน
ในปีนี้เงินจ๊าดเพิ่มค่าขึ้นมาหลายๆ ครั้ง ทำให้ยุติอารมณ์ความรู้สึกที่ว่าทิศทางแนวโน้มของมันมีแต่จะลดต่ำลงไป ทั้งนี้ตามอัตราอ้างอิงของแบงก์ชาติ ในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) สกุลเงินตราของพม่านี้ได้แข็งขึ้นสู่ระดับ 1219 จ๊าดแลกได้ 1 ดอลลาร์ ใกล้ๆ ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนทีเดียว ขณะที่ช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว พวกร้านแลกเงินบางแห่งในย่านกลางเมืองย่างกุ้ง เสนอให้อัตราที่ดีที่สุดก็เพียงแค่ 1180 จ๊าดต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม เงินจ๊าดมีทิศทางแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ในระยะยาวได้หรือไม่นั้น ดูจะไม่มีความแน่นอน โดยที่พวกนายแบงก์และนักเศรษฐศาสตร์ต่างมองว่าพม่ายังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามร่างงบประมาณเมื่อเดือนธันวาคมก็คาดการณ์ว่าในปีงบประมาณหน้านี้จะขาดดุลการค้ามากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์
การที่เงินจ๊าดมีค่าแข็งขึ้น ถึงแม้ในทางทฤษฎีถือเป็นข่าวดีสำหรับพวกผู้นำเข้า และเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ส่งออก แต่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ในทางเป็นจริงแล้วเศรษฐกิจพม่าโดยรวมก็ต้องเสียหาย หากมีความเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างวูบวาบ ไม่ว่าในทิศทางขึ้นหรือลงก็ตามที
(จากเมียนมาร์ไทมส์)