(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Russia’s game plan: Compel Obama to meet with Putin
By M.K. Bhadrakumar
16/09/2015
รายงานข่าวที่ว่ารัสเซียกำลังเพิ่มการปรากฏตัวทางทหารในซีเรีย กำลังสร้างความว้าวุ่นหงุดหงิดให้คณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ เนื่องจากไม่ทราบว่ามอสโกมีเจตนารมณ์ในเรื่องนี้อย่างไรกันแน่ แต่ในบรรดาปัจจัยต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้นั้น ข้อที่โดดเด่นที่สุดคือ รัสเซียกำลังเดิมเกมเพื่อบีบบังคับให้ประธานาธิบดีโอบามา ยินยอมทำการเจรจาหารือโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน โดยที่ทางมอสโกวาดหวังว่า การมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงของผู้นำทั้งสองเช่นนี้ นอกจากจะตกลงกันเรื่องซีเรียแล้ว ยังน่าจะเปิดทางให้แก่การปรับปรุงความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย
ในเรื่องซีเรีย มอสโกกำลังทำให้คณะบริหารบารัค โอบามา รู้สึกหงุดหงิดรำคาญ นี่คือการเดินเกมการทูตแบบมุ่งบีบบังคับซึ่งทำได้อย่างดีเยี่ยม
ขณะที่เหลือเวลาอีกประมาณ 3 สัปดาห์ก่อนที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly) จะเริ่มต้นเปิดประชุมกันที่นครนิวยอร์ก ฉับพลันนั้นรัสเซียก็เพิ่มระดับการเข้าแทรกแซงทางทหารในซีเรีย การแทรกแซงดังกล่าวนี้ไม่ได้อยู่ในลักษณะซุกซ่อนอำพราง หรือที่เรียกกันหรูๆ ว่า “อยู่ต่ำกว่าระดับการตรวจจับของเรดาร์” (below-the-radar) อีกต่อไปแล้ว เห็นได้ชัดว่ามอสโกตั้งใจที่จะสร้างความระแวงเคลือบแคลงขึ้นในสมองของฝ่ายอเมริกัน และก็ประสบความสำเร็จเสียด้วย [1]
ยังไม่มีใครในวอชิงตันทราบว่าฝ่ายรัสเซียมีความตั้งใจที่จะทำอะไรแน่ๆ ขณะที่คำแถลงของฝ่ายรัสเซียอยู่ในลักษณะยืนกรานแข็งกร้าวและเล่นสำนวนโวหารทำให้อ่านเจตนารมณ์ได้ยาก ความเคลื่อนไหวของรัสเซียอาจจะมีวัตถุประสงค์ได้หลายหลาก อาทิ
**มอสโกเพียงแค่ต้องการเป็นฝ่ายลงมือก่อน ในเมื่อการเข้าแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯ-นาโต้ เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หรือ
**มอสโกตัดสินใจแล้วที่จะเข้าสู้รบโดยตรงเพื่อปราบปรามกลุ่ม “รัฐอิสลาม” (Islamic State หรือ IS) ซึ่งก็กำลังคุกคาม “บริเวณท้องน้อยที่เป็นจุดอ่อน” ของรัสเซียในดินแดนคอเคซัส (Caucasus) และเอเชียกลาง หรือ
**มอสโกกำลังช่วยเหลือเพิ่มพูนสมรรถนะทางทหารของระบอบปกครองอัสซาด เพื่อให้แน่ใจว่าระบอบปกครองนี้จะไม่รีบม้วนเสื่อในเร็ววันนี้ หรือ
**ฝ่ายรัสเซียกำลังจัดตั้งฐานทัพทางทหารขึ้นมา เพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจอันยากลำบากและยืดเยื้อ หรือ
**เนื่องจากวิกฤตยูเครนกำลังคลี่คลายเย็นตัวลงมาแล้ว มอสโกจึงหันกลับไปสนใจซีเรีย หรือ
**มอสโกมองเห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกในยุโรปตะวันตกกำลังถูกกระทบกระเทือนจากกระแสการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัย และดังนั้นขณะนี้คือช่วงจังหวะโอกาสอันดีงามที่จะฉวยไว้เพื่อพยายามโดดเดี่ยวสหรัฐฯ หรือ
**มอสโกกำลังเบ่งกล้ามสำแดงอานุภาพอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อบีบคั้นบังคับให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต้องยอมเข้าร่วมประชุมหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
เหตุผลข้อถกเถียงเหล่านี้แต่ละข้อต่างมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยประการหลังสุดคือข้อที่โดดเด่นกว่าเพื่อน
จุดสำคัญที่จะต้องตระหนักในการพิจารณาเรื่องนี้อยู่ที่ว่า การที่รัสเซียจะเข้าแทรกแซงทางทหารในซีเรียแบบเต็มสูบ เป็นสิ่งที่ฐานะทางการคลังของมอสโกแบกรับไม่ไหวในระยะยาว รวมทั้งไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนภายในประเทศจะชื่นชอบเอออวย
ในทางระหว่างประเทศ รัสเซียยังจะถูกมองว่า “ย่ำท็อปบูตย่างเท้า” เข้าไปในตะวันออกกลางโดยที่ไม่ได้รับอาณัติจากสหประชาชาติ ด้วยเหตุนี้ บทสรุปตอนท้ายสุดจึงน่าจะอยู่ที่ว่า การที่วังเครมลินกำลังเดินหมากใช้วิธีการต่างๆ ผสมผสานกัน ทั้งการข่มขู่คุกคามแบบอ้อมๆ , การสำแดงจุดยืนท่าทีในเชิงยุทธศาสตร์, การแบล็กเมล์และการเปล่งเสียงคำรามกึกก้อง, ตลอดจนการโหมโรงยื่นไมตรีในทางการทูตอย่างมีจังหวะจะโคน แท้ที่จริงแล้วก็คือการพยายามหาทางให้ฝ่ายรัสเซียกับฝ่ายอเมริกันมีปฏิสัมพันธ์กันในระดับสูงในเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งในซีเรีย หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นไปอีกก็ต้องบอกว่า มอสโกกำลังกดดันให้จัดการประชุมหารือระหว่าง ปูติน กับ โอบามา ขึ้นมา
มอสโกต้องการให้มีการประชุมหารือดังกล่าว เนื่องจากมันยังน่าจะกลายเป็นการเปิดประตูให้รัสเซียกับสหรัฐฯมีปฏิสัมพันธ์กันในวงกว้างออกไปอีกด้วย โดยที่กระบวนการดังกล่าวอาจจะค่อยๆ เพิ่มทวีขึ้นไปจนถึงขั้นมีการ “รีเซต” (reset) ความสัมพันธ์นี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกัน มอสโกยังมีความกังวลใจอยู่บ้าง จากการที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนสหรัฐฯแบบรัฐพิธีในวันที่ 24 กันยายนนี้
สำหรับรัสเซียในเวลานี้ ประเด็นปัญหาแกนกลางของพวกเขาได้แก่เรื่องการถูกฝ่ายตะวันตกใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตร มอสโกต้องการให้เริ่มต้นกระบวนการที่จะนำไปสู่การยกเลิกมาตรการลงโทษเหล่านี้ และตอนนี้วังเครมลินสัมผัสได้ว่า อารมณ์ความรู้สึกใน “ยุโรปเก่า” (Old Europe)[2] กำลังปรารถนาที่จะฟื้นฟูสายสัมพันธ์ขั้นปกติกับรัสเซีย
ในยูเครน มอสโกกำลังแสดงพฤติกรรมซึ่งถูกหยิบยกว่าเป็นตัวอย่างที่น่าชมเชย ขณะที่การเจรจา 4 ฝ่ายระหว่าง รัสเซีย, ยูเครน, เยอรมนี, และฝรั่งเศส ที่เรียกขานกันว่าเป็น “นอร์มังดี ฟอร์แมต (Normandy format) [3] ก็กำลังมีส่วนช่วยเหลือมอสโกในการทำงานเพื่อขยายความสัมพันธ์กับเบอร์ลินและปารีส ส่วนข้อตกลงขนาดใหญ่ในเรื่องพลังงาน ซึ่ง กาซปรอม (Gazprom รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของรัสเซีย) กับพวกกิจการใหญ่ด้านน้ำมันของยุโรป ลงนามกันไปเมื่อต้นเดือนกันยายนนี้ ระหว่างพบปะกันใน “เวทีการประชุมเศรษฐกิจตะวันออก” (Eastern Economic Forum) ณ เมืองวลาดิวอสต็อก ก็ถือเป็นหลักหมายที่สำคัญประการหนึ่ง
อีกด้านหนึ่ง เมื่อต้องรับมือกับปัญหาผู้ลี้ภัยที่ขยายใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ (ขณะที่วิกฤตหนี้สินกรีซก็ยังใช่ว่าจะหมดสิ้นความน่าวิตกลงแล้ว) ยุโรปเองจึงต้องการผลักเรื่องยูเครนให้ถอยไปอยู่ข้างหลังเหมือนกัน โดยที่ เคียฟ กำลังสัมผัสได้ถึงสถานการณ์อันนิ่งเงียบผิดปกติ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกการล่าถอยออกจากยูเครนของฝ่ายยุโรป
แล้วที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญหาซีเรียนั้นมีผลกระทบแรงต่อความมั่นคงของยุโรป ระบบวีซ่า เชงเก้น (Shengen visa system)[4] กำลังอยู่ในอาการถอยหลังกรูด (เมื่อเผชิญหน้ากับการหลั่งไหลทะลักเข้ามาของผู้ลี้ภัย ซึ่งจำนวนมากเป็นผู้ที่หนีภัยสงครามมาจากซีเรีย –ผู้แปล) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งหาทางทำให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิถีทางการเมืองขึ้นในซีเรีย แต่วิถีทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาได้ ยุโรปจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากรัสเซีย นายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ก็เพิ่งเสนอว่ายุโรปกับรัสเซียควรต้องร่วมมือประสานงานกันในเรื่องซีเรีย
เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า เมื่อไปถึงจุดใดจุดหนึ่ง ทั้งยุโรปและรัสเซียจะเริ่มต้นมองเห็นกันขึ้นมา (นั่นคือ ถ้าหากไม่ใช่ว่าขณะนี้พวกเขาก็มองเห็นกันแล้ว) ว่าความขัดแย้งในยูเครน และความขัดแย้งในรัสเซียนั้น มีการเชื่อมต่อยึดโยงกันเอาไว้ในทางการเมือง จนกระทั่งว่าต้องมีความเชื่อทัศนคติที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยต้องเป็นความเชื่อทัศนคติซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่การแบ่งปันผลประโยชน์กันและการมีความสนใจห่วงใยร่วมกัน จึงจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งเหล่านี้ได้
อย่างไรก็ดี ไม่ว่ามอสโกจะชื่นชอบการที่ตนเองสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีอยู่กับยุโรปตะวันตกอย่างมากมายแค่ไหนก็ตามที มันก็ยังคงเป็นเพียงงานที่ทำเสร็จไปครึ่งเดียวอยู่นั่นเอง มอสโกกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมานานแล้วและก็ยังคงวัตถุประสงค์ดังกล่าวเอาไว้จนถึงขณะนี้ ที่จะดึงให้วอชิงตันเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงสร้างสรรค์ สหรัฐฯนั้นเป็นอภิมหาอำนาจ และเมื่อทำการวิเคราะห์กันจนถึงที่สุดแล้ว สหรัฐฯนั่นแหละคือผู้ที่วางกฎสำหรับให้ฝ่ายตะวันตกโดยรวม ปฏิบัติเดินตาม
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีอะไรจะสามารถไปถึงตอนจบได้ (ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในยูเครนหรือในซีเรียก็ตามที) ถ้าหากประธานาธิบดีโอบามา ไม่ได้เข้ามาร่วมลงนามด้วย ตามการประเมินของมอสโกนั้น พวกนีโอคอน (neocon คำเต็มคือ Neoconservative พวกอนุรักษนิยมใหม่ -ผู้แปล) ในคณะบริหารโอบามา คือผู้ที่กำหนดนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับสายสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยที่ตัวประธานาธิบดีโอบามาเองก็ไม่ได้ใช้วิธีตรวจสอบดูแลอย่างใกล้ชิดแบบ “ถึงลูกถึงคน” เป็นความลับที่ทราบกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วว่า พวกนีโอคอนนั้นทนปูตินไม่ได้ ขณะเดียวกัน รัสเซียก็ขาดไร้ “อำนาจละมุน” (soft power) ใดๆ ในสหรัฐฯ
ปูตินนั้นรู้สึกขุ่นเคืองที่ว่า ความปรารถนาอย่างแท้จริงของเขาที่จะให้รัสเซียกับโลกตะวันตกมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และการที่เขาให้ความสำคัญลำดับแรกแก่เรื่องการทำให้รัสเซียในอนาคตกลายเป็นมหาอำนาจยุโรปที่ทันสมัย กลับไม่เป็นที่เข้าอกเข้าใจกันอย่างถูกต้องเหมาะสมในสหรัฐฯ และความรู้สึกโกรธเคืองเช่นนี้ก็สะท้อนให้เห็นอยู่ในถ้อยคำโวหารของมอสโก
เพียงแค่สัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น เราก็พบว่ามอสโกออกมาพูดด้วยเสียงตรงกันข้ามคนละทิศกันทีเดียวในเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย โดยตอนที่รัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เกย์ ลาฟรอฟ (Sergey Lavrov) ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของรัสเซียในวันอาทิตย์ (13 ก.ย.) น้ำเสียงของเขาแทบจะเป็นการออกมากล่าวหาสหรัฐฯว่า มีวาระลับๆ ที่จะบ่มเพาะอุ้มชูกลุ่มรัฐอิสลาม
ลาฟรอฟแสดงท่าทีดังกล่าว ในขณะที่กำลังป้องปัดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของวอชิงตันในเรื่องการปรากฏตัวของรัสเซียในซีเรีย อย่างไรก็ตาม อีก 1 วันถัดมา เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติในนิวยอร์ก วิตาลี ชุรคิน (Vitaly Churkin) กลับพูดด้วยเสียงที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
ชุรคินระบุว่า อันที่จริงแล้วรัสเซียกับสหรัฐฯมีความเข้าใจตรงกันว่า การดำรงคงอยู่ในอำนาจของระบอบปกครองอัสซาด มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำให้การสู้รบกับกลุ่มไอเอสสามารถดำเนินไปได้อย่างน่าพึงพอใจ ผมขอคัดเอาข้อความบางตอนที่ถอดความจากเสียงพูดให้สัมภาษณ์ของ ชุรกิน แก่ทาง ซีบีเอส นิวส์ (CBS News ) เมื่อวันจันทร์ (14 ก.ย.) มานำเสนอไว้ในที่นี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าฝ่ายมอสโกกำลังเคลื่อนไหวเดินเกมอย่างซับซ้อนเช่นไร:
** “ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เราเห็นร่วมกันอยู่ในเวลานี้กับทางสหรัฐฯ กับทางรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขาไม่ต้องการให้รัฐบาลอัสซาดล้มลงไป พวกเขาไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลนี้ล้ม พวกเขาต้องการสู้รบ (กับไอเอส) ในหนทางซึ่งจะไม่ใช่การสร้างอันตรายต่อรัฐบาลซีเรีย ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็ไม่ต้องการให้รัฐบาลซีเรียสามารถฉวยใช้ประโยชน์จากการรณรงค์ต่อสู้ (กับไอเอส) ของพวกเขา แต่พวกเขาก็ไม่ต้องการสร้างอันตรายต่อรัฐบาลซีเรียจากการกระทำของพวกเขา เรื่องนี้มีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง”
** (เมื่อถูกถามว่าจุดยืนของสหรัฐฯกำลังขยับเข้าใกล้มากขึ้นกับทัศนะของฝ่ายรัสเซียในเรื่องซีเรียหรือยัง) “ผมคิดว่าพวกเราเข้าใกล้กันมากขึ้นนะ พวกเขามีความก้าวหน้าไปอย่างมากมายเลยในการเข้าอกเข้าใจถึงความยุ่งยากซับซ้อนของสถานการณ์ สำหรับผมแล้ว ความกระจ่างชัดเจนอย่างที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือ ... ความเป็นห่วงกังวลอย่างจริงจังยิ่งประการหนึ่งของรัฐบาลอเมริกันในเวลานี้ ได้แก่ การที่ระบอบปกครองอัสซาดจะล้มครืนลงไป และ (กลุ่มไอเอส) จะเข้ายึดครองกรุงดามัสกัส แล้วสหรัฐฯจะต้องถูกประณามที่เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา”
** (เกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลอัสซาดในการเจรจากันเรื่องซีเรีย) “พวกเขาจำเป็นที่จะต้องทำงานกับรัฐบาลชุดนี้ เราไม่ได้กำลังพูดว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะประชุมตัวเดียวกันกับอัสซาด แต่ถึงอย่างไรพวกเขาก็เป็นรัฐบาลของซีเรีย และดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องทำงานกับรัฐบาลนี้ พวกเขา (รัฐบาลอัสซาด) ยังกำลังสู้รบอยู่บนภาคพื้นดินอีกด้วย”
** “เราเตรียมพร้อมที่จะพิจารณาญัตติในคณะมนตรีความมั่นคง (แห่งสหประชาชาติ) ว่าด้วยเรื่องนี้ (เรื่องกลุ่มไอเอส) ผมได้สนทนาหลายครั้งกับเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกันของผม (เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น ซาแมนธา พาวเวอร์ Samantha Power) เมื่อตอนที่เธอกำลังสงสัยข้องใจว่าพวกเขาควรที่จะเอาด้วยกับการออกญัตติหรือไม่ แต่แล้วพวกเขาก็ตัดสินใจจะทำเรื่องนี้โดยไม่มีการออกเป็นญัตติ มีเพียงการออกเป็นคำแถลงฝ่ายเดียวเท่านั้น”
** (ในเรื่องทิศทางอนาคตของสายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย) “เมื่อมีการติดต่อกันเพิ่มมากขึ้น และถ้าพวกเราสามารถสร้างความคืบหน้าได้บ้างในประเด็นปัญหาอื่นๆ ด้วยหนทางเล็กๆ ที่พวกเราทำได้ พวกเรากำลังพยายามที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างคุณประโยชน์ (แก่สายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย) ถ้าพวกเราสามารถทำงานด้วยกันได้ในเรื่องนี้ (ซีเรีย) มันก็จะเป็นการสร้างคุณประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ถ้าหากว่าเราเกิดทำให้กลายเป็นโมเมนตัมทางการเมืองขึ้นมาได้ และมีโอกาสสำหรับพวกเราที่จะร่วมกันสร้างคุณประโยชน์ในทางทำให้เกิดความคืบหน้าขึ้นมาบ้างในวิกฤตการณ์ซีเรียแล้ว นั่นย่อมจะเป็นการสร้างคุณประโยชน์ขึ้นมาอยู่แล้ว เรายังจะต้องทำงานกันในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำกับอิหร่าน นี่ก็จะเป็นโอกาสอีกอันหนึ่ง ผมวาดหวังด้วยว่าพวกเรายังจะสามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ในยูเครนไปได้ในไม่ช้าไม่นานนี้ ซึ่งจะทำให้ความระคายเคืองบางส่วนหมดสิ้นลงไป และอาจจะเกิดเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบและดียิ่งขึ้นสำหรับความสัมพันธ์ของพวกเรา”
สิ่งหนึ่งซึ่งเราสามารถพูดได้ด้วยความแน่ใจมากที่สุดก็คือ ฐานะของรัสเซียในเรื่องซีเรียเวลานี้ มีความแข็งแกร่งมั่นคงเพิ่มขึ้นมากไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับช่วงใดๆ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา เหตุผลใหญ่ประการหนึ่งก็คือ ความตึงเครียดในเรื่องเกี่ยวกับยูเครนกำลังคลี่คลาย ข้อตกลงหยุดยิงสามารถรักษาเอาไว้ได้ และเวลานี้จุดโฟกัสไปอยู่ที่การเดินงานในทางการทูต การตีกระหน่ำกลองศึกระหว่างรัสเซียกับองค์การนาโต้ก็แทบจะเงียบสนิทไปหมดแล้ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า รัสเซียในวันนี้มีช่องทางเพิ่มขึ้นมากสำหรับการเหยียบคันเร่งทางการเมือง-การทหารของตนในซีเรีย
ตรงข้ามกับการคาดการณ์พยากรณ์ของสื่อตะวันตกและสื่อของชาติอาหรับริมอ่าวเปอร์เซีย อัสซาดยังไม่ได้มีอันตรายใดๆ ที่จะประสบความพ่ายแพ้อย่างแน่นอนในช่วงใกล้ๆ นี้ ในรายงานข่าวชิ้นหนึ่งจากกรุงดามัสกัสเมื่อวันจันทร์ (14 ก.ย.) เจอเรมี โบเวน (Jeremy Bowen) บรรณาธิการด้านตะวันออกกลางของบีบีซี ซึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์มือเก่าของภูมิภาคดังกล่าว กล่าวประมาณการว่า “เป็นเรื่องผิดพลาดที่จะทำนายทายทักว่ากรุงดามัสกัสกำลังใกล้จะแตกอย่างแน่นอนแล้ว หรือกระทั่งจะแตกในระยะปานกลาง”
กล่าวโดยสรุป มอสโกกำลังทำให้โอบามาแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นใดนอกจากต้องเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับปูตินด้วยการเจรจาหารือกันตรงๆ ไม่ว่าวอชิงตันจะชอบหรือไม่ก็ตามที การปรากฏตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของฝ่ายรัสเซียบนภาคพื้นดินในซีเรีย ได้กลายเป็นตัวจำกัดขนาดขอบเขตอาณาบริเวณที่สหรัฐฯกับพันธมิตรจะสามารถทำการโจมตีทางอากาศได้ในอนาคต มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอีกต่อไปที่สหรัฐฯกับรัสเซียจะต้องมีการร่วมมือประสานงานในระดับการปฏิบัติการ ถึงแม้เราจะกล่าวได้เช่นนี้ แต่จากการที่รัสเซียยืนกรานว่าจะยังคงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ระบอบปกครองอัสซาดต่อไป ก็ยังเป็นการย้ำยืนยันด้วยว่า วาระที่จัดวางขึ้นมาเพื่อล้มล้างระบอบปกครองนี้ลงไปนั้น จะยังคงเป็นความฝันลมๆ แล้งๆ อยู่นั่นเอง
ความได้เปรียบข้อสำคัญที่สุดของรัสเซียอยู่ที่ว่า การใช้วิธีการทางการเมืองมาแก้ปัญหาในซีเรีย ก็เป็นสิ่งที่ยุโรปกำลังพยายามเสาะแสดงหาอยู่ การล็อบบี้เพื่อให้แก้ปัญหาด้วยสงครามได้หดตัวลงมามากแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้กระทั่งพวกรัฐสมาชิกของคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (GCC) ก็ยังได้แต่แสดงปฏิกิริยาด้วยการนิ่งเงียบ ต่อการที่รัสเซียกำลังขยายการปรากฏตัวทางทหารในซีเรียเวลานี้ ในทางเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องยากเย็นยิ่งขึ้นทุกทีที่จะไปจำกัดไม่ให้รัสเซียเพิ่มความเข้มแข็งในการสู้รบกับพวกไอเอส
ขณะนี้เกมการแข่งขันกำลังขึ้นอยู่กับการขยับเดินหมากของคณะบริหารโอบามา โดยที่มีโอกาสความเป็นไปมากที่จะได้เห็นโอบามาพบปะหารือกับปูตินที่นครนิวยอร์ก
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
หมายเหตุผู้แปล
[1] เรื่องที่รัสเซียเพิ่มระดับการแทรกแซงทางทหารในซีเรียนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเอาไว้เมื่อวันที่ 14 กันยายน ดังนี้:
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯระบุรัสเซียนำรถถังออกตั้งประจำที่มั่นในสนามบินซีเรีย
รอยเตอร์ – รัสเซียส่งรถถัง 7 คันเข้าประจำที่มั่นในสนามบินแห่งหนึ่ง ซึ่งกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการสร้างสมกำลังทหารแดนหมีขาวในซีเรีย เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 2 คนเปิดเผยในวันจันทร์ (14 ก.ย.) พร้อมกับบอกด้วยว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่ามอสโกมีเจตนารมณ์อย่างไรกันแน่ สำหรับการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดหนักเข้าไปประจำการในซีเรียล่าสุดนี้
มอสโกนั้นตกอยู่ใต้การกดดันของนานาชาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่ขอให้อธิบายความเคลื่อนไหวต่างๆ ของแดนหมีขาวในซีเรีย โดยที่วังเครมลินได้ให้ความสนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดเรื่อยมา ในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียซึ่งยืดเยื้อมายาวนาน 4 ปีครึ่งแล้ว
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) นั้น ไม่ขอออกความเห็นโดยตรงใดๆ ต่อรายงานข่าวเรื่องนี้ของรอยเตอร์ โดยบอกว่าไม่สามารถพูดเรื่องที่เป็นข่าวกรองของสหรัฐฯได้ กระนั้น โฆษกผู้หนึ่งของเพนตากอนก็พูดพาดพิงว่า การกระทำต่างๆ ของมอสโกในช่วงหลังๆ นี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงแผนการที่จะจัดตั้งฐานปฏิบัติการทางอากาศส่วนหน้าขึ้นมา
“เราได้เห็นความเคลื่อนไหวของทั้งคนและสิ่งของ ซึ่งดูจะบ่งบอกว่าพวกเขาวางแผนจะใช้ฐานแห่งนั้น ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองลาตาเกีย (Latakia) ให้เป็นฐานปฏิบัติการทางอากาศส่วนหน้า” เจฟฟ์ เดวิส (Jeff Davis) โฆษกเพนตากอนกล่าวระหว่างการแถลงข่าวตามปกติของกระทรวง
ทางด้านเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 1 ใน 2 ราย ซึ่งบอกกับรอยเตอร์โดยขอให้สงวนนาม เพราะกำลังพูดถึงเรื่องที่เป็นข่าวกรอง ระบุว่า ได้เห็นรถถังแบบ ที-90 ของรัสเซียจำนวน 7 คันที่สนามบินดังกล่าวซึ่งอยู่ใกล้ๆ เมืองลาตาเกีย อันเป็นที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของอัสซาด
ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯทั้ง 2 คนต่างระบุว่า รัสเซียยังได้ติดตั้งปืนใหญ่ ซึ่งดูเหมือนเพื่อใช้พิทักษ์คุ้มครองบุคลากรชาวรัสเซียที่ประจำอยู่ที่นั่น
รอยเตอร์ได้รายงานเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียได้ส่งทหารเรือที่ทำหน้าที่เป็นเหล่าทหารราบประมาณ 200 คนเข้าไปประจำการในสนามบินแห่งดังกล่าว โดยที่นั่นมีทั้งกลุ่มบ้านพักอาศัยแบบชั่วคราว, สถานีควบคุมการจราจรทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้, ตลอดจนส่วนประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบป้องกันภัยทางอากาศ
พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯบอกว่า มอสโกกำลังจัดส่งเครื่องบินลำเลียงสินค้าทางทหารไปยังสนามบินแห่งนั้นวันละประมาณ 2 เที่ยวบินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงฝีก้าวของการสร้างสมทางทหารของรัสเซีย
แหล่งข่าวทางการทูตรายหนึ่ง ซึ่งพูดกับรอยเตอร์ในภูมิภาคดังกล่าวโดยขอให้สงวนนาม ระบุว่าฝ่ายรัสเซียกำลังดำเนินการปรับปรุงยกระดับสนามบินใกล้เมืองลาตาเกียแห่งนี้ “มีพวกรถบรรทุกวิ่งเข้าๆ ออกๆ ดูเหมือนว่ารันเวย์ที่นั่นยังไม่เหมาะกับเครื่องบินบางรุ่น ดังนั้นพวกเขาจึงต้องทำการปรับปรุงเพิ่มเติม” นักการทูตผู้นี้บอก
รัสเซียนั้นประกาศยืนยันว่า จะยังคงจัดส่งสัมภาระทางทหารไปให้แก่ซีเรีย และยืนยันว่าการให้ความช่วยเหลือแก่กองทัพซีเรียของตนนั้นสอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ฝ่ายสหรัฐฯก็กำลังอาศัยน่านฟ้าของซีเรีย ในการนำพาการรณรงค์โจมตีทางอากาศต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) การที่ฝ่ายรัสเซียเพิ่มการปรากฏตัวอย่างใหญ่โตเช่นนี้ ทำให้เกิดลู่ทางความเป็นไปได้ขึ้นมาว่า อภิมหาอำนาจที่เป็นปรปักษ์กันในสงครามเย็นคู่นี้ กำลังจะมีการเผชิญหน้ากันและกันในสนามรบ
อย่างไรก็ดี เพนตากอนบอกว่า จนถึงเวลานี้ รัสเซียยังไม่ได้จัดส่งเครื่องบินรบหรือเฮลิคอปเตอร์แบบกันชิป เข้าไปยังสนามบินแห่งดังกล่าว
ทั้งมอสโกและวอชิงตันต่างระบุว่าศัตรูของพวกเขาคือกลุ่มรัฐอิสลาม ซึ่งนักรบอิสลามิสต์ของกลุ่มนี้สามารถควบคุมพื้นที่ขนาดใหญ่หลายบริเวณในซีเรียและอิรัก แต่ขณะที่รัสเซียสนับสนุนรัฐบาลอัสซาดในซีเรีย สหรัฐฯกลับบอกว่าการที่อัสซาดยังดำรงคงอยู่ กำลังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ
โฆษกทำเนียบขาว โจช เอิร์นเนสต์ (Josh Earnest) บอกกับผู้สื่อข่าวขณะอยู่บน “แอร์ ฟอร์ซ วัน” (Air Force One) เครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าการสนับสนุนใดๆ ที่รัสเซียให้แก่อัสซาดนั้น มีแต่จะ “สั่นคลอนเสถียรภาพและก่อให้เกิดผลในทางลบ” ทว่าทำเนียบขาวก็ยังดูตั้งความหวังที่จะสามารถร่วมมือในบางระดับกับมอสโก โดยที่ชี้ให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีความกังวลร่วมกันในเรื่องพวกสุดโต่งหัวรุนแรง
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น เคอร์บี (John Kirby) บอกว่า ยังคงไม่ทราบแน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดของรัสเซียในซีเรียคืออะไร
“สิ่งที่ชัดเจนคือพวกเขากำลังจัดหาความช่วยเหลือส่งไปให้มากขึ้น” เคอร์บีกล่าว “แต่เป้าหมายสูงสุดล่ะ? เจตนารมณ์สูงสุดตรงนี้ล่ะ? ผมคิดว่าเรื่องนี้ยังคงมีความคลุมเครืออยู่”
(เก็บความจาก http://www.reuters.com/article/2015/09/14/us-mideast-crisis-syria-usa-idUSKCN0RE1LH20150914)
[2] “ยุโรปเก่า” (Old Europe) หมายถึงชาติยุโรปตะวันตก ซึ่งมีท่าทีไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัสเซียอย่างแรงกล้าเท่ากับ “ยุโรปใหม่” อันหมายถึงบรรดาชาติยุโรปตะวันออกที่หลุดออกจากการเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้
[3] “นอร์มังดี ฟอร์แมต (Normandy format) สาเหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากผู้นำของรัสเซีย, ยูเครน, เยอรมนี, ฝรั่งเศส ได้เปิดเจรจาด้วยรูปแบบเช่นนี้เป็นครั้งแรก ระหว่างที่พวกเขาไปร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 70 ปีของการยกพลขึ้นบกของกองทัพสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน 2014
[4] ระบบวีซ่า เชงเก้น (Shengen visa system) หมายถึงข้อตกลงที่ลงนามกันที่เมืองเชงเก้น, ลักเซมเบิร์ก ซึ่งมุ่งจะสร้างอาณาบริเวณในยุโรปที่สามารถเดินทางได้แบบไร้พรมแดนไม่ต้องมีการขอวีซ่า
Russia’s game plan: Compel Obama to meet with Putin
By M.K. Bhadrakumar
16/09/2015
รายงานข่าวที่ว่ารัสเซียกำลังเพิ่มการปรากฏตัวทางทหารในซีเรีย กำลังสร้างความว้าวุ่นหงุดหงิดให้คณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ เนื่องจากไม่ทราบว่ามอสโกมีเจตนารมณ์ในเรื่องนี้อย่างไรกันแน่ แต่ในบรรดาปัจจัยต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้นั้น ข้อที่โดดเด่นที่สุดคือ รัสเซียกำลังเดิมเกมเพื่อบีบบังคับให้ประธานาธิบดีโอบามา ยินยอมทำการเจรจาหารือโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน โดยที่ทางมอสโกวาดหวังว่า การมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงของผู้นำทั้งสองเช่นนี้ นอกจากจะตกลงกันเรื่องซีเรียแล้ว ยังน่าจะเปิดทางให้แก่การปรับปรุงความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย
ในเรื่องซีเรีย มอสโกกำลังทำให้คณะบริหารบารัค โอบามา รู้สึกหงุดหงิดรำคาญ นี่คือการเดินเกมการทูตแบบมุ่งบีบบังคับซึ่งทำได้อย่างดีเยี่ยม
ขณะที่เหลือเวลาอีกประมาณ 3 สัปดาห์ก่อนที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly) จะเริ่มต้นเปิดประชุมกันที่นครนิวยอร์ก ฉับพลันนั้นรัสเซียก็เพิ่มระดับการเข้าแทรกแซงทางทหารในซีเรีย การแทรกแซงดังกล่าวนี้ไม่ได้อยู่ในลักษณะซุกซ่อนอำพราง หรือที่เรียกกันหรูๆ ว่า “อยู่ต่ำกว่าระดับการตรวจจับของเรดาร์” (below-the-radar) อีกต่อไปแล้ว เห็นได้ชัดว่ามอสโกตั้งใจที่จะสร้างความระแวงเคลือบแคลงขึ้นในสมองของฝ่ายอเมริกัน และก็ประสบความสำเร็จเสียด้วย [1]
ยังไม่มีใครในวอชิงตันทราบว่าฝ่ายรัสเซียมีความตั้งใจที่จะทำอะไรแน่ๆ ขณะที่คำแถลงของฝ่ายรัสเซียอยู่ในลักษณะยืนกรานแข็งกร้าวและเล่นสำนวนโวหารทำให้อ่านเจตนารมณ์ได้ยาก ความเคลื่อนไหวของรัสเซียอาจจะมีวัตถุประสงค์ได้หลายหลาก อาทิ
**มอสโกเพียงแค่ต้องการเป็นฝ่ายลงมือก่อน ในเมื่อการเข้าแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯ-นาโต้ เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หรือ
**มอสโกตัดสินใจแล้วที่จะเข้าสู้รบโดยตรงเพื่อปราบปรามกลุ่ม “รัฐอิสลาม” (Islamic State หรือ IS) ซึ่งก็กำลังคุกคาม “บริเวณท้องน้อยที่เป็นจุดอ่อน” ของรัสเซียในดินแดนคอเคซัส (Caucasus) และเอเชียกลาง หรือ
**มอสโกกำลังช่วยเหลือเพิ่มพูนสมรรถนะทางทหารของระบอบปกครองอัสซาด เพื่อให้แน่ใจว่าระบอบปกครองนี้จะไม่รีบม้วนเสื่อในเร็ววันนี้ หรือ
**ฝ่ายรัสเซียกำลังจัดตั้งฐานทัพทางทหารขึ้นมา เพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจอันยากลำบากและยืดเยื้อ หรือ
**เนื่องจากวิกฤตยูเครนกำลังคลี่คลายเย็นตัวลงมาแล้ว มอสโกจึงหันกลับไปสนใจซีเรีย หรือ
**มอสโกมองเห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกในยุโรปตะวันตกกำลังถูกกระทบกระเทือนจากกระแสการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัย และดังนั้นขณะนี้คือช่วงจังหวะโอกาสอันดีงามที่จะฉวยไว้เพื่อพยายามโดดเดี่ยวสหรัฐฯ หรือ
**มอสโกกำลังเบ่งกล้ามสำแดงอานุภาพอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อบีบคั้นบังคับให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต้องยอมเข้าร่วมประชุมหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
เหตุผลข้อถกเถียงเหล่านี้แต่ละข้อต่างมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยประการหลังสุดคือข้อที่โดดเด่นกว่าเพื่อน
จุดสำคัญที่จะต้องตระหนักในการพิจารณาเรื่องนี้อยู่ที่ว่า การที่รัสเซียจะเข้าแทรกแซงทางทหารในซีเรียแบบเต็มสูบ เป็นสิ่งที่ฐานะทางการคลังของมอสโกแบกรับไม่ไหวในระยะยาว รวมทั้งไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนภายในประเทศจะชื่นชอบเอออวย
ในทางระหว่างประเทศ รัสเซียยังจะถูกมองว่า “ย่ำท็อปบูตย่างเท้า” เข้าไปในตะวันออกกลางโดยที่ไม่ได้รับอาณัติจากสหประชาชาติ ด้วยเหตุนี้ บทสรุปตอนท้ายสุดจึงน่าจะอยู่ที่ว่า การที่วังเครมลินกำลังเดินหมากใช้วิธีการต่างๆ ผสมผสานกัน ทั้งการข่มขู่คุกคามแบบอ้อมๆ , การสำแดงจุดยืนท่าทีในเชิงยุทธศาสตร์, การแบล็กเมล์และการเปล่งเสียงคำรามกึกก้อง, ตลอดจนการโหมโรงยื่นไมตรีในทางการทูตอย่างมีจังหวะจะโคน แท้ที่จริงแล้วก็คือการพยายามหาทางให้ฝ่ายรัสเซียกับฝ่ายอเมริกันมีปฏิสัมพันธ์กันในระดับสูงในเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งในซีเรีย หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นไปอีกก็ต้องบอกว่า มอสโกกำลังกดดันให้จัดการประชุมหารือระหว่าง ปูติน กับ โอบามา ขึ้นมา
มอสโกต้องการให้มีการประชุมหารือดังกล่าว เนื่องจากมันยังน่าจะกลายเป็นการเปิดประตูให้รัสเซียกับสหรัฐฯมีปฏิสัมพันธ์กันในวงกว้างออกไปอีกด้วย โดยที่กระบวนการดังกล่าวอาจจะค่อยๆ เพิ่มทวีขึ้นไปจนถึงขั้นมีการ “รีเซต” (reset) ความสัมพันธ์นี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกัน มอสโกยังมีความกังวลใจอยู่บ้าง จากการที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนสหรัฐฯแบบรัฐพิธีในวันที่ 24 กันยายนนี้
สำหรับรัสเซียในเวลานี้ ประเด็นปัญหาแกนกลางของพวกเขาได้แก่เรื่องการถูกฝ่ายตะวันตกใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตร มอสโกต้องการให้เริ่มต้นกระบวนการที่จะนำไปสู่การยกเลิกมาตรการลงโทษเหล่านี้ และตอนนี้วังเครมลินสัมผัสได้ว่า อารมณ์ความรู้สึกใน “ยุโรปเก่า” (Old Europe)[2] กำลังปรารถนาที่จะฟื้นฟูสายสัมพันธ์ขั้นปกติกับรัสเซีย
ในยูเครน มอสโกกำลังแสดงพฤติกรรมซึ่งถูกหยิบยกว่าเป็นตัวอย่างที่น่าชมเชย ขณะที่การเจรจา 4 ฝ่ายระหว่าง รัสเซีย, ยูเครน, เยอรมนี, และฝรั่งเศส ที่เรียกขานกันว่าเป็น “นอร์มังดี ฟอร์แมต (Normandy format) [3] ก็กำลังมีส่วนช่วยเหลือมอสโกในการทำงานเพื่อขยายความสัมพันธ์กับเบอร์ลินและปารีส ส่วนข้อตกลงขนาดใหญ่ในเรื่องพลังงาน ซึ่ง กาซปรอม (Gazprom รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของรัสเซีย) กับพวกกิจการใหญ่ด้านน้ำมันของยุโรป ลงนามกันไปเมื่อต้นเดือนกันยายนนี้ ระหว่างพบปะกันใน “เวทีการประชุมเศรษฐกิจตะวันออก” (Eastern Economic Forum) ณ เมืองวลาดิวอสต็อก ก็ถือเป็นหลักหมายที่สำคัญประการหนึ่ง
อีกด้านหนึ่ง เมื่อต้องรับมือกับปัญหาผู้ลี้ภัยที่ขยายใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ (ขณะที่วิกฤตหนี้สินกรีซก็ยังใช่ว่าจะหมดสิ้นความน่าวิตกลงแล้ว) ยุโรปเองจึงต้องการผลักเรื่องยูเครนให้ถอยไปอยู่ข้างหลังเหมือนกัน โดยที่ เคียฟ กำลังสัมผัสได้ถึงสถานการณ์อันนิ่งเงียบผิดปกติ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกการล่าถอยออกจากยูเครนของฝ่ายยุโรป
แล้วที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญหาซีเรียนั้นมีผลกระทบแรงต่อความมั่นคงของยุโรป ระบบวีซ่า เชงเก้น (Shengen visa system)[4] กำลังอยู่ในอาการถอยหลังกรูด (เมื่อเผชิญหน้ากับการหลั่งไหลทะลักเข้ามาของผู้ลี้ภัย ซึ่งจำนวนมากเป็นผู้ที่หนีภัยสงครามมาจากซีเรีย –ผู้แปล) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งหาทางทำให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิถีทางการเมืองขึ้นในซีเรีย แต่วิถีทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาได้ ยุโรปจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากรัสเซีย นายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ก็เพิ่งเสนอว่ายุโรปกับรัสเซียควรต้องร่วมมือประสานงานกันในเรื่องซีเรีย
เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า เมื่อไปถึงจุดใดจุดหนึ่ง ทั้งยุโรปและรัสเซียจะเริ่มต้นมองเห็นกันขึ้นมา (นั่นคือ ถ้าหากไม่ใช่ว่าขณะนี้พวกเขาก็มองเห็นกันแล้ว) ว่าความขัดแย้งในยูเครน และความขัดแย้งในรัสเซียนั้น มีการเชื่อมต่อยึดโยงกันเอาไว้ในทางการเมือง จนกระทั่งว่าต้องมีความเชื่อทัศนคติที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยต้องเป็นความเชื่อทัศนคติซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่การแบ่งปันผลประโยชน์กันและการมีความสนใจห่วงใยร่วมกัน จึงจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งเหล่านี้ได้
อย่างไรก็ดี ไม่ว่ามอสโกจะชื่นชอบการที่ตนเองสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีอยู่กับยุโรปตะวันตกอย่างมากมายแค่ไหนก็ตามที มันก็ยังคงเป็นเพียงงานที่ทำเสร็จไปครึ่งเดียวอยู่นั่นเอง มอสโกกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมานานแล้วและก็ยังคงวัตถุประสงค์ดังกล่าวเอาไว้จนถึงขณะนี้ ที่จะดึงให้วอชิงตันเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงสร้างสรรค์ สหรัฐฯนั้นเป็นอภิมหาอำนาจ และเมื่อทำการวิเคราะห์กันจนถึงที่สุดแล้ว สหรัฐฯนั่นแหละคือผู้ที่วางกฎสำหรับให้ฝ่ายตะวันตกโดยรวม ปฏิบัติเดินตาม
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีอะไรจะสามารถไปถึงตอนจบได้ (ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในยูเครนหรือในซีเรียก็ตามที) ถ้าหากประธานาธิบดีโอบามา ไม่ได้เข้ามาร่วมลงนามด้วย ตามการประเมินของมอสโกนั้น พวกนีโอคอน (neocon คำเต็มคือ Neoconservative พวกอนุรักษนิยมใหม่ -ผู้แปล) ในคณะบริหารโอบามา คือผู้ที่กำหนดนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับสายสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยที่ตัวประธานาธิบดีโอบามาเองก็ไม่ได้ใช้วิธีตรวจสอบดูแลอย่างใกล้ชิดแบบ “ถึงลูกถึงคน” เป็นความลับที่ทราบกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วว่า พวกนีโอคอนนั้นทนปูตินไม่ได้ ขณะเดียวกัน รัสเซียก็ขาดไร้ “อำนาจละมุน” (soft power) ใดๆ ในสหรัฐฯ
ปูตินนั้นรู้สึกขุ่นเคืองที่ว่า ความปรารถนาอย่างแท้จริงของเขาที่จะให้รัสเซียกับโลกตะวันตกมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และการที่เขาให้ความสำคัญลำดับแรกแก่เรื่องการทำให้รัสเซียในอนาคตกลายเป็นมหาอำนาจยุโรปที่ทันสมัย กลับไม่เป็นที่เข้าอกเข้าใจกันอย่างถูกต้องเหมาะสมในสหรัฐฯ และความรู้สึกโกรธเคืองเช่นนี้ก็สะท้อนให้เห็นอยู่ในถ้อยคำโวหารของมอสโก
เพียงแค่สัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น เราก็พบว่ามอสโกออกมาพูดด้วยเสียงตรงกันข้ามคนละทิศกันทีเดียวในเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย โดยตอนที่รัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เกย์ ลาฟรอฟ (Sergey Lavrov) ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของรัสเซียในวันอาทิตย์ (13 ก.ย.) น้ำเสียงของเขาแทบจะเป็นการออกมากล่าวหาสหรัฐฯว่า มีวาระลับๆ ที่จะบ่มเพาะอุ้มชูกลุ่มรัฐอิสลาม
ลาฟรอฟแสดงท่าทีดังกล่าว ในขณะที่กำลังป้องปัดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของวอชิงตันในเรื่องการปรากฏตัวของรัสเซียในซีเรีย อย่างไรก็ตาม อีก 1 วันถัดมา เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติในนิวยอร์ก วิตาลี ชุรคิน (Vitaly Churkin) กลับพูดด้วยเสียงที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
ชุรคินระบุว่า อันที่จริงแล้วรัสเซียกับสหรัฐฯมีความเข้าใจตรงกันว่า การดำรงคงอยู่ในอำนาจของระบอบปกครองอัสซาด มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำให้การสู้รบกับกลุ่มไอเอสสามารถดำเนินไปได้อย่างน่าพึงพอใจ ผมขอคัดเอาข้อความบางตอนที่ถอดความจากเสียงพูดให้สัมภาษณ์ของ ชุรกิน แก่ทาง ซีบีเอส นิวส์ (CBS News ) เมื่อวันจันทร์ (14 ก.ย.) มานำเสนอไว้ในที่นี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าฝ่ายมอสโกกำลังเคลื่อนไหวเดินเกมอย่างซับซ้อนเช่นไร:
** “ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เราเห็นร่วมกันอยู่ในเวลานี้กับทางสหรัฐฯ กับทางรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขาไม่ต้องการให้รัฐบาลอัสซาดล้มลงไป พวกเขาไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลนี้ล้ม พวกเขาต้องการสู้รบ (กับไอเอส) ในหนทางซึ่งจะไม่ใช่การสร้างอันตรายต่อรัฐบาลซีเรีย ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็ไม่ต้องการให้รัฐบาลซีเรียสามารถฉวยใช้ประโยชน์จากการรณรงค์ต่อสู้ (กับไอเอส) ของพวกเขา แต่พวกเขาก็ไม่ต้องการสร้างอันตรายต่อรัฐบาลซีเรียจากการกระทำของพวกเขา เรื่องนี้มีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง”
** (เมื่อถูกถามว่าจุดยืนของสหรัฐฯกำลังขยับเข้าใกล้มากขึ้นกับทัศนะของฝ่ายรัสเซียในเรื่องซีเรียหรือยัง) “ผมคิดว่าพวกเราเข้าใกล้กันมากขึ้นนะ พวกเขามีความก้าวหน้าไปอย่างมากมายเลยในการเข้าอกเข้าใจถึงความยุ่งยากซับซ้อนของสถานการณ์ สำหรับผมแล้ว ความกระจ่างชัดเจนอย่างที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือ ... ความเป็นห่วงกังวลอย่างจริงจังยิ่งประการหนึ่งของรัฐบาลอเมริกันในเวลานี้ ได้แก่ การที่ระบอบปกครองอัสซาดจะล้มครืนลงไป และ (กลุ่มไอเอส) จะเข้ายึดครองกรุงดามัสกัส แล้วสหรัฐฯจะต้องถูกประณามที่เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา”
** (เกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลอัสซาดในการเจรจากันเรื่องซีเรีย) “พวกเขาจำเป็นที่จะต้องทำงานกับรัฐบาลชุดนี้ เราไม่ได้กำลังพูดว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะประชุมตัวเดียวกันกับอัสซาด แต่ถึงอย่างไรพวกเขาก็เป็นรัฐบาลของซีเรีย และดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องทำงานกับรัฐบาลนี้ พวกเขา (รัฐบาลอัสซาด) ยังกำลังสู้รบอยู่บนภาคพื้นดินอีกด้วย”
** “เราเตรียมพร้อมที่จะพิจารณาญัตติในคณะมนตรีความมั่นคง (แห่งสหประชาชาติ) ว่าด้วยเรื่องนี้ (เรื่องกลุ่มไอเอส) ผมได้สนทนาหลายครั้งกับเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกันของผม (เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น ซาแมนธา พาวเวอร์ Samantha Power) เมื่อตอนที่เธอกำลังสงสัยข้องใจว่าพวกเขาควรที่จะเอาด้วยกับการออกญัตติหรือไม่ แต่แล้วพวกเขาก็ตัดสินใจจะทำเรื่องนี้โดยไม่มีการออกเป็นญัตติ มีเพียงการออกเป็นคำแถลงฝ่ายเดียวเท่านั้น”
** (ในเรื่องทิศทางอนาคตของสายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย) “เมื่อมีการติดต่อกันเพิ่มมากขึ้น และถ้าพวกเราสามารถสร้างความคืบหน้าได้บ้างในประเด็นปัญหาอื่นๆ ด้วยหนทางเล็กๆ ที่พวกเราทำได้ พวกเรากำลังพยายามที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างคุณประโยชน์ (แก่สายสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย) ถ้าพวกเราสามารถทำงานด้วยกันได้ในเรื่องนี้ (ซีเรีย) มันก็จะเป็นการสร้างคุณประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ถ้าหากว่าเราเกิดทำให้กลายเป็นโมเมนตัมทางการเมืองขึ้นมาได้ และมีโอกาสสำหรับพวกเราที่จะร่วมกันสร้างคุณประโยชน์ในทางทำให้เกิดความคืบหน้าขึ้นมาบ้างในวิกฤตการณ์ซีเรียแล้ว นั่นย่อมจะเป็นการสร้างคุณประโยชน์ขึ้นมาอยู่แล้ว เรายังจะต้องทำงานกันในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำกับอิหร่าน นี่ก็จะเป็นโอกาสอีกอันหนึ่ง ผมวาดหวังด้วยว่าพวกเรายังจะสามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ในยูเครนไปได้ในไม่ช้าไม่นานนี้ ซึ่งจะทำให้ความระคายเคืองบางส่วนหมดสิ้นลงไป และอาจจะเกิดเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบและดียิ่งขึ้นสำหรับความสัมพันธ์ของพวกเรา”
สิ่งหนึ่งซึ่งเราสามารถพูดได้ด้วยความแน่ใจมากที่สุดก็คือ ฐานะของรัสเซียในเรื่องซีเรียเวลานี้ มีความแข็งแกร่งมั่นคงเพิ่มขึ้นมากไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับช่วงใดๆ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา เหตุผลใหญ่ประการหนึ่งก็คือ ความตึงเครียดในเรื่องเกี่ยวกับยูเครนกำลังคลี่คลาย ข้อตกลงหยุดยิงสามารถรักษาเอาไว้ได้ และเวลานี้จุดโฟกัสไปอยู่ที่การเดินงานในทางการทูต การตีกระหน่ำกลองศึกระหว่างรัสเซียกับองค์การนาโต้ก็แทบจะเงียบสนิทไปหมดแล้ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า รัสเซียในวันนี้มีช่องทางเพิ่มขึ้นมากสำหรับการเหยียบคันเร่งทางการเมือง-การทหารของตนในซีเรีย
ตรงข้ามกับการคาดการณ์พยากรณ์ของสื่อตะวันตกและสื่อของชาติอาหรับริมอ่าวเปอร์เซีย อัสซาดยังไม่ได้มีอันตรายใดๆ ที่จะประสบความพ่ายแพ้อย่างแน่นอนในช่วงใกล้ๆ นี้ ในรายงานข่าวชิ้นหนึ่งจากกรุงดามัสกัสเมื่อวันจันทร์ (14 ก.ย.) เจอเรมี โบเวน (Jeremy Bowen) บรรณาธิการด้านตะวันออกกลางของบีบีซี ซึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์มือเก่าของภูมิภาคดังกล่าว กล่าวประมาณการว่า “เป็นเรื่องผิดพลาดที่จะทำนายทายทักว่ากรุงดามัสกัสกำลังใกล้จะแตกอย่างแน่นอนแล้ว หรือกระทั่งจะแตกในระยะปานกลาง”
กล่าวโดยสรุป มอสโกกำลังทำให้โอบามาแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นใดนอกจากต้องเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับปูตินด้วยการเจรจาหารือกันตรงๆ ไม่ว่าวอชิงตันจะชอบหรือไม่ก็ตามที การปรากฏตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของฝ่ายรัสเซียบนภาคพื้นดินในซีเรีย ได้กลายเป็นตัวจำกัดขนาดขอบเขตอาณาบริเวณที่สหรัฐฯกับพันธมิตรจะสามารถทำการโจมตีทางอากาศได้ในอนาคต มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอีกต่อไปที่สหรัฐฯกับรัสเซียจะต้องมีการร่วมมือประสานงานในระดับการปฏิบัติการ ถึงแม้เราจะกล่าวได้เช่นนี้ แต่จากการที่รัสเซียยืนกรานว่าจะยังคงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ระบอบปกครองอัสซาดต่อไป ก็ยังเป็นการย้ำยืนยันด้วยว่า วาระที่จัดวางขึ้นมาเพื่อล้มล้างระบอบปกครองนี้ลงไปนั้น จะยังคงเป็นความฝันลมๆ แล้งๆ อยู่นั่นเอง
ความได้เปรียบข้อสำคัญที่สุดของรัสเซียอยู่ที่ว่า การใช้วิธีการทางการเมืองมาแก้ปัญหาในซีเรีย ก็เป็นสิ่งที่ยุโรปกำลังพยายามเสาะแสดงหาอยู่ การล็อบบี้เพื่อให้แก้ปัญหาด้วยสงครามได้หดตัวลงมามากแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้กระทั่งพวกรัฐสมาชิกของคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (GCC) ก็ยังได้แต่แสดงปฏิกิริยาด้วยการนิ่งเงียบ ต่อการที่รัสเซียกำลังขยายการปรากฏตัวทางทหารในซีเรียเวลานี้ ในทางเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องยากเย็นยิ่งขึ้นทุกทีที่จะไปจำกัดไม่ให้รัสเซียเพิ่มความเข้มแข็งในการสู้รบกับพวกไอเอส
ขณะนี้เกมการแข่งขันกำลังขึ้นอยู่กับการขยับเดินหมากของคณะบริหารโอบามา โดยที่มีโอกาสความเป็นไปมากที่จะได้เห็นโอบามาพบปะหารือกับปูตินที่นครนิวยอร์ก
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
หมายเหตุผู้แปล
[1] เรื่องที่รัสเซียเพิ่มระดับการแทรกแซงทางทหารในซีเรียนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเอาไว้เมื่อวันที่ 14 กันยายน ดังนี้:
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯระบุรัสเซียนำรถถังออกตั้งประจำที่มั่นในสนามบินซีเรีย
รอยเตอร์ – รัสเซียส่งรถถัง 7 คันเข้าประจำที่มั่นในสนามบินแห่งหนึ่ง ซึ่งกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการสร้างสมกำลังทหารแดนหมีขาวในซีเรีย เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 2 คนเปิดเผยในวันจันทร์ (14 ก.ย.) พร้อมกับบอกด้วยว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่ามอสโกมีเจตนารมณ์อย่างไรกันแน่ สำหรับการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดหนักเข้าไปประจำการในซีเรียล่าสุดนี้
มอสโกนั้นตกอยู่ใต้การกดดันของนานาชาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่ขอให้อธิบายความเคลื่อนไหวต่างๆ ของแดนหมีขาวในซีเรีย โดยที่วังเครมลินได้ให้ความสนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดเรื่อยมา ในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียซึ่งยืดเยื้อมายาวนาน 4 ปีครึ่งแล้ว
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) นั้น ไม่ขอออกความเห็นโดยตรงใดๆ ต่อรายงานข่าวเรื่องนี้ของรอยเตอร์ โดยบอกว่าไม่สามารถพูดเรื่องที่เป็นข่าวกรองของสหรัฐฯได้ กระนั้น โฆษกผู้หนึ่งของเพนตากอนก็พูดพาดพิงว่า การกระทำต่างๆ ของมอสโกในช่วงหลังๆ นี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงแผนการที่จะจัดตั้งฐานปฏิบัติการทางอากาศส่วนหน้าขึ้นมา
“เราได้เห็นความเคลื่อนไหวของทั้งคนและสิ่งของ ซึ่งดูจะบ่งบอกว่าพวกเขาวางแผนจะใช้ฐานแห่งนั้น ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองลาตาเกีย (Latakia) ให้เป็นฐานปฏิบัติการทางอากาศส่วนหน้า” เจฟฟ์ เดวิส (Jeff Davis) โฆษกเพนตากอนกล่าวระหว่างการแถลงข่าวตามปกติของกระทรวง
ทางด้านเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 1 ใน 2 ราย ซึ่งบอกกับรอยเตอร์โดยขอให้สงวนนาม เพราะกำลังพูดถึงเรื่องที่เป็นข่าวกรอง ระบุว่า ได้เห็นรถถังแบบ ที-90 ของรัสเซียจำนวน 7 คันที่สนามบินดังกล่าวซึ่งอยู่ใกล้ๆ เมืองลาตาเกีย อันเป็นที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของอัสซาด
ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯทั้ง 2 คนต่างระบุว่า รัสเซียยังได้ติดตั้งปืนใหญ่ ซึ่งดูเหมือนเพื่อใช้พิทักษ์คุ้มครองบุคลากรชาวรัสเซียที่ประจำอยู่ที่นั่น
รอยเตอร์ได้รายงานเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียได้ส่งทหารเรือที่ทำหน้าที่เป็นเหล่าทหารราบประมาณ 200 คนเข้าไปประจำการในสนามบินแห่งดังกล่าว โดยที่นั่นมีทั้งกลุ่มบ้านพักอาศัยแบบชั่วคราว, สถานีควบคุมการจราจรทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้, ตลอดจนส่วนประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบป้องกันภัยทางอากาศ
พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯบอกว่า มอสโกกำลังจัดส่งเครื่องบินลำเลียงสินค้าทางทหารไปยังสนามบินแห่งนั้นวันละประมาณ 2 เที่ยวบินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงฝีก้าวของการสร้างสมทางทหารของรัสเซีย
แหล่งข่าวทางการทูตรายหนึ่ง ซึ่งพูดกับรอยเตอร์ในภูมิภาคดังกล่าวโดยขอให้สงวนนาม ระบุว่าฝ่ายรัสเซียกำลังดำเนินการปรับปรุงยกระดับสนามบินใกล้เมืองลาตาเกียแห่งนี้ “มีพวกรถบรรทุกวิ่งเข้าๆ ออกๆ ดูเหมือนว่ารันเวย์ที่นั่นยังไม่เหมาะกับเครื่องบินบางรุ่น ดังนั้นพวกเขาจึงต้องทำการปรับปรุงเพิ่มเติม” นักการทูตผู้นี้บอก
รัสเซียนั้นประกาศยืนยันว่า จะยังคงจัดส่งสัมภาระทางทหารไปให้แก่ซีเรีย และยืนยันว่าการให้ความช่วยเหลือแก่กองทัพซีเรียของตนนั้นสอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ฝ่ายสหรัฐฯก็กำลังอาศัยน่านฟ้าของซีเรีย ในการนำพาการรณรงค์โจมตีทางอากาศต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) การที่ฝ่ายรัสเซียเพิ่มการปรากฏตัวอย่างใหญ่โตเช่นนี้ ทำให้เกิดลู่ทางความเป็นไปได้ขึ้นมาว่า อภิมหาอำนาจที่เป็นปรปักษ์กันในสงครามเย็นคู่นี้ กำลังจะมีการเผชิญหน้ากันและกันในสนามรบ
อย่างไรก็ดี เพนตากอนบอกว่า จนถึงเวลานี้ รัสเซียยังไม่ได้จัดส่งเครื่องบินรบหรือเฮลิคอปเตอร์แบบกันชิป เข้าไปยังสนามบินแห่งดังกล่าว
ทั้งมอสโกและวอชิงตันต่างระบุว่าศัตรูของพวกเขาคือกลุ่มรัฐอิสลาม ซึ่งนักรบอิสลามิสต์ของกลุ่มนี้สามารถควบคุมพื้นที่ขนาดใหญ่หลายบริเวณในซีเรียและอิรัก แต่ขณะที่รัสเซียสนับสนุนรัฐบาลอัสซาดในซีเรีย สหรัฐฯกลับบอกว่าการที่อัสซาดยังดำรงคงอยู่ กำลังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ
โฆษกทำเนียบขาว โจช เอิร์นเนสต์ (Josh Earnest) บอกกับผู้สื่อข่าวขณะอยู่บน “แอร์ ฟอร์ซ วัน” (Air Force One) เครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าการสนับสนุนใดๆ ที่รัสเซียให้แก่อัสซาดนั้น มีแต่จะ “สั่นคลอนเสถียรภาพและก่อให้เกิดผลในทางลบ” ทว่าทำเนียบขาวก็ยังดูตั้งความหวังที่จะสามารถร่วมมือในบางระดับกับมอสโก โดยที่ชี้ให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีความกังวลร่วมกันในเรื่องพวกสุดโต่งหัวรุนแรง
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น เคอร์บี (John Kirby) บอกว่า ยังคงไม่ทราบแน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดของรัสเซียในซีเรียคืออะไร
“สิ่งที่ชัดเจนคือพวกเขากำลังจัดหาความช่วยเหลือส่งไปให้มากขึ้น” เคอร์บีกล่าว “แต่เป้าหมายสูงสุดล่ะ? เจตนารมณ์สูงสุดตรงนี้ล่ะ? ผมคิดว่าเรื่องนี้ยังคงมีความคลุมเครืออยู่”
(เก็บความจาก http://www.reuters.com/article/2015/09/14/us-mideast-crisis-syria-usa-idUSKCN0RE1LH20150914)
[2] “ยุโรปเก่า” (Old Europe) หมายถึงชาติยุโรปตะวันตก ซึ่งมีท่าทีไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัสเซียอย่างแรงกล้าเท่ากับ “ยุโรปใหม่” อันหมายถึงบรรดาชาติยุโรปตะวันออกที่หลุดออกจากการเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้
[3] “นอร์มังดี ฟอร์แมต (Normandy format) สาเหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากผู้นำของรัสเซีย, ยูเครน, เยอรมนี, ฝรั่งเศส ได้เปิดเจรจาด้วยรูปแบบเช่นนี้เป็นครั้งแรก ระหว่างที่พวกเขาไปร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 70 ปีของการยกพลขึ้นบกของกองทัพสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน 2014
[4] ระบบวีซ่า เชงเก้น (Shengen visa system) หมายถึงข้อตกลงที่ลงนามกันที่เมืองเชงเก้น, ลักเซมเบิร์ก ซึ่งมุ่งจะสร้างอาณาบริเวณในยุโรปที่สามารถเดินทางได้แบบไร้พรมแดนไม่ต้องมีการขอวีซ่า