(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Foxconn eyes building iPhone factories in India
By Asia Unhedged
12/06/2015
ดูเหมือนว่าภาวะค่าจ้างเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ในจีน กำลังทำให้ต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่าของอินเดียดูโดดเด่นเตะตา พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเผยว่า ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กำลังเจรจาหารือเพื่อไปเปิดโรงงานผลิตโทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิลกันในแดนภารตะ ถ้าหากเรื่องนี้สำเร็จเกิดขึ้นมาได้จริงๆ ไม่ว่าแอปเปิล, ฟ็อกซ์คอนน์, หรือรัฐบาลอินเดีย ต่างก็จะได้ประโยชน์
ดูเหมือนว่าภาวะค่าจ้างเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศจีน กำลังทำให้ต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่าของอินเดียดูโดดเด่นเตะตา
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเผยว่า ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี (Foxconn Technology) บริษัทผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไต้หวัน กำลังเจรจาหารือเพื่อไปเปิดโรงงานผลิตโทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิลกันในอินเดีย ถ้าหากเรื่องนี้สำเร็จเกิดขึ้นมาได้จริงๆ ไม่ว่าแอปเปิล, ฟ็อกซ์คอนน์, หรือรัฐบาลอินเดียของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ต่างก็จะได้ประโยชน์
“ฟ็อกซ์คอนน์กำลังส่งผู้แทนของพวกเจ้าหน้าที่ของพวกเขา มาด้อมๆ มองๆ หาสถานที่กันสักเดือนนึงได้แล้ว” สุภัช เดซาย (Subhash Desai) รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของรัฐมหาราษฎระ ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของอินเดีย บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ เดซายกล่าวว่า ฟ็อกซ์คอนน์ยังไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาที่หนักแน่นใดๆ กระนั้นเขาก็แจกแจงว่า กลุ่มนี้กำลังมองหาสถานที่สำหรับตั้งโรงงานผลิตไอโฟน, ไอแพด, และไอพอด ซึ่งจะนำออกจำหน่ายทั้งภายในอินเดียเองและทั่วโลก
เมื่อพิจารณาจากจุดยืนและมุมมองของฟ็อกซ์คอนน์แล้ว ความเคลื่อนไหวเช่นนี้สมเหตุสมผลทีเดียว จากการที่ภาวะค่าจ้างเฟ้อกำลังสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ประเทศจีนซึ่งเป็นฐานที่ฟ็อกซ์คอนน์ใช้ในการผลิตไอโฟนอยู่ในเวลานี้ จึงไม่ได้เป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้อีกต่อไปแล้ว ถ้าหากโยกย้ายไปอยู่ที่อินเดีย ฟ็อกซ์คอนน์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก ก็สามารถที่จะได้แรงงานราคาถูกลง รวมทั้งลดต้นทุนด้านการขนส่งได้ด้วย ในเมื่อสถานที่ผลิตขยับเข้าใกล้ผู้บริโภคชาวอินเดียเพิ่มมากขึ้น
ในสภาพที่การแข่งขันกำลังเป็นไปอย่างดุเดือดเข้มข้น ฟ็อกซ์คอนน์จำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของตนให้ต่ำลง เพื่อรักษาแอปเปิลให้ยังคงเป็นลูกค้าว่าจ้างตนทำการผลิตต่อไปอีก เวลาเดียวกันนั้น แอปเปิลก็จำเป็นต้องตัดลดราคาผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนพวกผู้เล่นท้องถิ่นในตลาดสมาร์ตโฟนใหญ่อันดับ 3 ของโลกอย่างแดนภารตะ
ฟ็อกซ์คอนน์เพิ่งแถลงก่อนหน้านี้ว่า มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาสถานที่สำหรับการดำเนินการด้านต่างๆ ราว 10 -12 แห่งในอินเดียภายในปี 2020 โดยในจำนวนนี้จะมีทั้งโรงงานและศูนย์ข้อมูลด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของไชน่าเดลี่ (China Daily) ทว่าไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในไต้หวันรายนี้ก็ไม่ขอให้ความเห็นอะไรเช่นกัน
ปัจจุบัน อินเดียเป็นประเทศที่มีบัญชีหมายเลขโทรศัพท์มือถือสูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีนเท่านั้น ตามการศึกษาของ ซิสโก ซิสเต็มส์ (Cisco Systems) บริษัทเนตเวิร์กกิ้งโซลูชั่นส์ชื่อก้อง แดนภารตะจะมีโทรศัพท์สมาร์ตโฟนเป็นจำนวน 650 ล้านเครื่องภายในปี 2019 ส่วนจำนวนเครื่องแท็บเล็ตในตอนนั้นก็จะเพิ่มขึ้น 9% เป็น 18.7 ล้านเครื่อง
ฟ็อกซ์คอนน์ถูกบังคับให้ปิดโรงงานในอินเดียเมื่อปีที่แล้ว ภายหลังจาก โนเกีย ผู้เป็นลูกค้าว่าจ้างผลิตของตนยุติกิจการด้านนี้ไป การหวนกลับเข้าไปอีกครั้งของฟ็อกซ์คอนน์จะถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่สำหรับอินเดีย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่โรงงานผลิตและการว่าจ้างงานในอุตสาหกรรมภาคเทคโนโลยี
รัฐบาลโมดีนั้นกำลังหาทางยกเครื่องอุตสาหกรรมการผลิตอย่างขนานใหญ่ ทว่าอินเดียยังคงไม่อาจแข่งขันกับจีนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้โรงงานจำนวนมากในแดนภารตะยังคงติดอยู่ในระดับทำได้เพียงแค่การประกอบเครื่องโดยใช้ไขควงเท่านั้น
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Foxconn eyes building iPhone factories in India
By Asia Unhedged
12/06/2015
ดูเหมือนว่าภาวะค่าจ้างเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ในจีน กำลังทำให้ต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่าของอินเดียดูโดดเด่นเตะตา พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเผยว่า ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กำลังเจรจาหารือเพื่อไปเปิดโรงงานผลิตโทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิลกันในแดนภารตะ ถ้าหากเรื่องนี้สำเร็จเกิดขึ้นมาได้จริงๆ ไม่ว่าแอปเปิล, ฟ็อกซ์คอนน์, หรือรัฐบาลอินเดีย ต่างก็จะได้ประโยชน์
ดูเหมือนว่าภาวะค่าจ้างเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศจีน กำลังทำให้ต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่าของอินเดียดูโดดเด่นเตะตา
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียเผยว่า ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี (Foxconn Technology) บริษัทผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไต้หวัน กำลังเจรจาหารือเพื่อไปเปิดโรงงานผลิตโทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิลกันในอินเดีย ถ้าหากเรื่องนี้สำเร็จเกิดขึ้นมาได้จริงๆ ไม่ว่าแอปเปิล, ฟ็อกซ์คอนน์, หรือรัฐบาลอินเดียของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ต่างก็จะได้ประโยชน์
“ฟ็อกซ์คอนน์กำลังส่งผู้แทนของพวกเจ้าหน้าที่ของพวกเขา มาด้อมๆ มองๆ หาสถานที่กันสักเดือนนึงได้แล้ว” สุภัช เดซาย (Subhash Desai) รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของรัฐมหาราษฎระ ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของอินเดีย บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ เดซายกล่าวว่า ฟ็อกซ์คอนน์ยังไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาที่หนักแน่นใดๆ กระนั้นเขาก็แจกแจงว่า กลุ่มนี้กำลังมองหาสถานที่สำหรับตั้งโรงงานผลิตไอโฟน, ไอแพด, และไอพอด ซึ่งจะนำออกจำหน่ายทั้งภายในอินเดียเองและทั่วโลก
เมื่อพิจารณาจากจุดยืนและมุมมองของฟ็อกซ์คอนน์แล้ว ความเคลื่อนไหวเช่นนี้สมเหตุสมผลทีเดียว จากการที่ภาวะค่าจ้างเฟ้อกำลังสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ประเทศจีนซึ่งเป็นฐานที่ฟ็อกซ์คอนน์ใช้ในการผลิตไอโฟนอยู่ในเวลานี้ จึงไม่ได้เป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้อีกต่อไปแล้ว ถ้าหากโยกย้ายไปอยู่ที่อินเดีย ฟ็อกซ์คอนน์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก ก็สามารถที่จะได้แรงงานราคาถูกลง รวมทั้งลดต้นทุนด้านการขนส่งได้ด้วย ในเมื่อสถานที่ผลิตขยับเข้าใกล้ผู้บริโภคชาวอินเดียเพิ่มมากขึ้น
ในสภาพที่การแข่งขันกำลังเป็นไปอย่างดุเดือดเข้มข้น ฟ็อกซ์คอนน์จำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของตนให้ต่ำลง เพื่อรักษาแอปเปิลให้ยังคงเป็นลูกค้าว่าจ้างตนทำการผลิตต่อไปอีก เวลาเดียวกันนั้น แอปเปิลก็จำเป็นต้องตัดลดราคาผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนพวกผู้เล่นท้องถิ่นในตลาดสมาร์ตโฟนใหญ่อันดับ 3 ของโลกอย่างแดนภารตะ
ฟ็อกซ์คอนน์เพิ่งแถลงก่อนหน้านี้ว่า มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาสถานที่สำหรับการดำเนินการด้านต่างๆ ราว 10 -12 แห่งในอินเดียภายในปี 2020 โดยในจำนวนนี้จะมีทั้งโรงงานและศูนย์ข้อมูลด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของไชน่าเดลี่ (China Daily) ทว่าไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในไต้หวันรายนี้ก็ไม่ขอให้ความเห็นอะไรเช่นกัน
ปัจจุบัน อินเดียเป็นประเทศที่มีบัญชีหมายเลขโทรศัพท์มือถือสูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีนเท่านั้น ตามการศึกษาของ ซิสโก ซิสเต็มส์ (Cisco Systems) บริษัทเนตเวิร์กกิ้งโซลูชั่นส์ชื่อก้อง แดนภารตะจะมีโทรศัพท์สมาร์ตโฟนเป็นจำนวน 650 ล้านเครื่องภายในปี 2019 ส่วนจำนวนเครื่องแท็บเล็ตในตอนนั้นก็จะเพิ่มขึ้น 9% เป็น 18.7 ล้านเครื่อง
ฟ็อกซ์คอนน์ถูกบังคับให้ปิดโรงงานในอินเดียเมื่อปีที่แล้ว ภายหลังจาก โนเกีย ผู้เป็นลูกค้าว่าจ้างผลิตของตนยุติกิจการด้านนี้ไป การหวนกลับเข้าไปอีกครั้งของฟ็อกซ์คอนน์จะถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่สำหรับอินเดีย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่โรงงานผลิตและการว่าจ้างงานในอุตสาหกรรมภาคเทคโนโลยี
รัฐบาลโมดีนั้นกำลังหาทางยกเครื่องอุตสาหกรรมการผลิตอย่างขนานใหญ่ ทว่าอินเดียยังคงไม่อาจแข่งขันกับจีนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้โรงงานจำนวนมากในแดนภารตะยังคงติดอยู่ในระดับทำได้เพียงแค่การประกอบเครื่องโดยใช้ไขควงเท่านั้น
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)