(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Modi hacks a chip from India’s business bureaucracy
Author: Asia Unhedged
01/05/2015
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย กำลังวาดหวังว่าก้าวเล็กๆ ที่กระทำไปในสัปดาห์นี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างต่อเนื่องกว้างไกลออกไป หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ มันก็จะทำให้ระบบราชการที่แสนเลื่องชื่ออื้อฉาวของแดนภารตะ สามารถบีบคั้นพวกผู้ประกอบการได้ยากขึ้น ทั้งนี้โมดีตั้งความปรารถนาไว้ว่า ภายในเวลา 2 ปี อินเดียจะสามารถติดอันดับ 50 ในบรรดาประเทศซึ่งธนาคารโลกนำมาจัดลำดับในการสำรวจรายปีว่าด้วยความสะดวกง่ายดายในการทำธุรกิจ
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย กำลังวาดหวังว่าก้าวเล็กๆ ที่กระทำไปในสัปดาห์นี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างต่อเนื่องกว้างไกลออกไป หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ มันก็จะทำให้ระบบราชการที่แสนเลื่องชื่ออื้อฉาวของแดนภารตะ สามารถบีบคั้นพวกผู้ประกอบการได้ยากขึ้น
เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายของอินเดียออกมาประกาศในวันศุกร์ (1 พ.ค.) ว่า ผู้ประกอบการที่กำลังหาทางเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ ตอนนี้ จะสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ด้วยการกรอกแบบฟอร์มเพียงแบบเดียวเท่านั้น แทนที่จะต้องกรอกแบบฟอร์มถึง 8 แบบอย่างที่กระทรวงซึ่งดูแลกิจการบริษัทภาคธุรกิจเคยกำหนดไว้
แบบฟอร์มแบบใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า INC-29 ถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับดันของ โมดี ที่จะปรับปรุงอันดับของอินเดียในดัชนีซึ่งติดตามความสะดวกง่ายดายในการทำธุรกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โมดีกำหนดให้จัดเรื่องนี้อยู่ในกลุ่มเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด และต้องการที่จะให้การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในอินเดียใช้เวลาเพียง 1 วันก็แล้วเสร็จ
โมดีคาดหวังว่าภายในเวลา 2 ปี อินเดียจะสามารถติดอันดับ 50 ในบรรดาประเทศซึ่งธนาคารโลกนำมาจัดลำดับในการสำรวจรายปีว่าด้วยความสะดวกง่ายดายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ทั้งนี้สำหรับปี 2015 นั้น จากระบบเศรษฐกิจจำนวนทั้งสิ้น 189 ระบบที่เวิลด์แบงก์ทำการสำรวจ อินเดียอยู่ที่อันดับ 142 นี่เป็นการหล่นฮวบไปมากทีเดียวจากในปี 2006 ซึ่งตอนนั้นแดนภารตะยังรั้งอันดับ 116
อันที่จริงโมดีได้ขยับเดินฝีก้าวใหญ่กว่านี้อีกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ด้วยการยุบทิ้งหน่วยงานคณะกรรมการวางแผนแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมา 65 ปีแล้วของอินเดีย และถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการขัดขวางบีบคั้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยระบบราชการในสไตล์ของสหภาพโซเวียต ทั้งนี้เขาแทนที่หน่วยงานที่เข้มงวดแข็งทื่อและมุ่งสร้างแบบแผนซึ่งเหมือนๆ กันไปหมดแห่งนั้น ด้วยองค์กรซึ่งเกี่ยวข้องโยงใยกับภูมิภาคต่างๆ ของอินเดียมากยิ่งขึ้น
“โพลิติคัล แอนด์ อีโคโนมิก ริสก์ คอนซัลแทนซี” (Political and Economic Risk Consultancy) บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในฮ่องกง เคยระบุไว้ในรายงานเมื่อปี 2012 ฉบับหนึ่งว่า ระบบราชการของอินเดียถือว่าเลวร้ายที่สุดในเอเชีย โดยที่อินเดียมีคะแนนถึง 9.21 ในเกณฑ์คะแนนระหว่าง 1 ถึง 10 ซึ่งยิ่งใกล้ 10 เท่าใดก็คือย่ำแย่มากขึ้นเท่านั้น
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Modi hacks a chip from India’s business bureaucracy
Author: Asia Unhedged
01/05/2015
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย กำลังวาดหวังว่าก้าวเล็กๆ ที่กระทำไปในสัปดาห์นี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างต่อเนื่องกว้างไกลออกไป หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ มันก็จะทำให้ระบบราชการที่แสนเลื่องชื่ออื้อฉาวของแดนภารตะ สามารถบีบคั้นพวกผู้ประกอบการได้ยากขึ้น ทั้งนี้โมดีตั้งความปรารถนาไว้ว่า ภายในเวลา 2 ปี อินเดียจะสามารถติดอันดับ 50 ในบรรดาประเทศซึ่งธนาคารโลกนำมาจัดลำดับในการสำรวจรายปีว่าด้วยความสะดวกง่ายดายในการทำธุรกิจ
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย กำลังวาดหวังว่าก้าวเล็กๆ ที่กระทำไปในสัปดาห์นี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างต่อเนื่องกว้างไกลออกไป หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ มันก็จะทำให้ระบบราชการที่แสนเลื่องชื่ออื้อฉาวของแดนภารตะ สามารถบีบคั้นพวกผู้ประกอบการได้ยากขึ้น
เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายของอินเดียออกมาประกาศในวันศุกร์ (1 พ.ค.) ว่า ผู้ประกอบการที่กำลังหาทางเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ ตอนนี้ จะสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ด้วยการกรอกแบบฟอร์มเพียงแบบเดียวเท่านั้น แทนที่จะต้องกรอกแบบฟอร์มถึง 8 แบบอย่างที่กระทรวงซึ่งดูแลกิจการบริษัทภาคธุรกิจเคยกำหนดไว้
แบบฟอร์มแบบใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า INC-29 ถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับดันของ โมดี ที่จะปรับปรุงอันดับของอินเดียในดัชนีซึ่งติดตามความสะดวกง่ายดายในการทำธุรกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โมดีกำหนดให้จัดเรื่องนี้อยู่ในกลุ่มเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด และต้องการที่จะให้การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในอินเดียใช้เวลาเพียง 1 วันก็แล้วเสร็จ
โมดีคาดหวังว่าภายในเวลา 2 ปี อินเดียจะสามารถติดอันดับ 50 ในบรรดาประเทศซึ่งธนาคารโลกนำมาจัดลำดับในการสำรวจรายปีว่าด้วยความสะดวกง่ายดายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ทั้งนี้สำหรับปี 2015 นั้น จากระบบเศรษฐกิจจำนวนทั้งสิ้น 189 ระบบที่เวิลด์แบงก์ทำการสำรวจ อินเดียอยู่ที่อันดับ 142 นี่เป็นการหล่นฮวบไปมากทีเดียวจากในปี 2006 ซึ่งตอนนั้นแดนภารตะยังรั้งอันดับ 116
อันที่จริงโมดีได้ขยับเดินฝีก้าวใหญ่กว่านี้อีกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ด้วยการยุบทิ้งหน่วยงานคณะกรรมการวางแผนแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมา 65 ปีแล้วของอินเดีย และถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการขัดขวางบีบคั้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยระบบราชการในสไตล์ของสหภาพโซเวียต ทั้งนี้เขาแทนที่หน่วยงานที่เข้มงวดแข็งทื่อและมุ่งสร้างแบบแผนซึ่งเหมือนๆ กันไปหมดแห่งนั้น ด้วยองค์กรซึ่งเกี่ยวข้องโยงใยกับภูมิภาคต่างๆ ของอินเดียมากยิ่งขึ้น
“โพลิติคัล แอนด์ อีโคโนมิก ริสก์ คอนซัลแทนซี” (Political and Economic Risk Consultancy) บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในฮ่องกง เคยระบุไว้ในรายงานเมื่อปี 2012 ฉบับหนึ่งว่า ระบบราชการของอินเดียถือว่าเลวร้ายที่สุดในเอเชีย โดยที่อินเดียมีคะแนนถึง 9.21 ในเกณฑ์คะแนนระหว่าง 1 ถึง 10 ซึ่งยิ่งใกล้ 10 เท่าใดก็คือย่ำแย่มากขึ้นเท่านั้น
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)