เอเจนซีส์ - ทารกแฝดเพศชายชาวเยเมน “อับดุลเลาะห์” และ “อับดุลราห์มาน” มีสุขภาพดีหลังได้รับการผ่าตัดแยกส่วนล่างที่มีอวัยวะใช้ร่วมกัน รวมไปถึงลำไส้ สำเร็จหลังจากเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลคิงอับดุลลาซิส เมดิคัล ซิตี ที่กรุงริยาร์ด ซาอุดีอาระเบียเป็นเวลานานถึง 9 ชม ซึ่งในการผ่าตัดครั้งนี้นำทีมโดย. นายแพทย์ อับดุลเลาะห์ อัล-ราบีอาห์ (Dr. Abdullah Al-Rabeeah) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบีย
เดลีเมล สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้(2)ว่า นายแพทย์ อับดุลเลาะห์ อัล-ราบีอาห์ (Dr. Abdullah Al-Rabeeah) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียนำทีมคณะแพทย์ชาวซาอุฯทำการผ่าตัดร่วม 9 ชม.ในโรงพยาบาลคิงอับดุลลาซิส เมดิคัล ซิตี กลางกรุงริยาร์ด ซาอุดีอาระเบีย ให้กับทารกแฝดสยามชาวเยเมน 2 คน “อับดุลเลาะห์” และ “อับดุลราห์มาน” ที่มีอวัยวะเบื้องล่างติดกัน รวมไปถึง อวัยวะภายในใช้ร่วมกัน เช่น ลำไส้ แยกออกจากกันสำเร็จ และมีรายงานว่า หลังการผ่าตัดทารกทั้งสองมีสุขภาพแข็งแรง
ซึ่งในการวินิจฉัยเบื้องต้นพบว่าหนูน้อยทั้งคู่ที่บินมาจากเยเมนมายังซาอุดีอาระเบียเพื่อเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งทางโฆษกโรงพยาบาลคิงอับดุลลาซิส เมดิคัล ซิตี แถลงว่า การผ่าตัดนั้นมีถึง 9 ขั้นตอน ใช้เวลาร่วม 9 ชม.ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทางทีมแพทย์ได้ทำการแยกระบบปัสสาวะ ลำไส้ และกระดูกสันหลังออกจากกัน “และเมื่อทางทีมแพทย์สามารถแยกแฝดสยามชาวเยเมนคู่นี้สำเร็จ ทางทีมแพทย์แบ่งออกเป็น 2 ทีมเพื่อรับช่วงดูแลสร้างและซ่อม “อับดุลเลาะห์” และ “อับดุลราห์มาน” ต่อ และทั้งหมดนี้ดำเนินการนำโดยนายแพทย์ อับดุลเลาห์ อัล-ราบีอาห์ (Dr. Abdullah Al-Rabeeah) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบีย ที่ปรึกษาซาอุดีอาระเบียด้านวิสัญญีวิทยา และมีแพทย์เชี่ยวชาญอื่นๆจากกุมารศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ ศัลยกรรมตกแต่ง และศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงพยาบาลและเจ้าหน้าที่เทคนิก”
ซึ่งแต่เดิมทางทีมแพทย์ซาอุฯให้อัตราการรอดชีวิตของทารกแฝดแค่ 60-70% เท่านั้น แต่ภายหลังให้ความเห็นหลังจากเห็นสัญญาณที่ดีว่า แฝดทั้งคู่น่าจะมีโอกาสรอดชีวิตหลังจากการเข้ารับการผ่าตัด
และในขณะนี้ทั้งอับดุลเลาะห์และอับดุลราห์มานอยู่ในห้อง ICUแผนกกุมารเวชของโรงพยาบาล ซึ่งการผ่าตัดแยกแฝดสยามชาวเยเมนนี้ถือเป็นครั้งที่ 35 ของโรงพยาบาลคิงอับดุลลาซิส เมดิคัล ซิตี นับตั้งแต่ปี 1990 จาก 18 ประเทศที่ส่งตัวเข้ามารับการรักษาที่นี่ รวมถึง เยเมน อียิปต์ ซูดาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โมร็อกโก และอิรัก เพราะซาอุดีอาระเบียขึ้นชื่อติดอันดับโลกในการผ่าตัดแยกแฝดสยามสำเร็จในสถิติความสำเร็จถึง 30 ครั้งในช่วง 20ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แฝดสยามทารกเพศหญิงชาวเทกซัสวัย 10 เดือน คนาตาลี โฮป (Knatalye Hope) และอาเดลีน เฟธ(Adeline Faith ) เข้ารับการผ่าตัดแยกร่างครั้งแรกของโลกที่โรงพยาบาลเด็กในรัฐเทกซัส และประสบความสำเร็จด้วยดีหลังจากใช้เวลานานถึง 26 ชม. ซึ่งฝาแฝดทั้งสองใช้ผนังทรวงอกร่วมกัน รวมไปถึง ปอด เยื่อหุ้มหัวใจ กะบังลม ตับ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ และเชิงกราน