xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มสิทธิฯ อังกฤษจวกไทยล้มเหลวแก้ปัญหาค้ามนุษย์ แนะสหรัฐฯ คงระดับ “เทียร์ 3”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รอยเตอร์ - กลุ่มสิทธิมนุษยชนอังกฤษระบุในวันอังคาร (17 ก.พ.) ว่าความพยายามของไทยในการต่อสู้กับปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงมูลค่าพลายพันล้านดอลลาร์ “ไม่เพียงพอโดยสิ้นเชิง” และล้มเหลวหยุดยั้งเหล่าเจ้าหน้าที่ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับขบวนการค้ามนุษย์และล่วงละเมิดแรงงาน แถมยังแนะนำให้สหรัฐฯคงสถานะไทยให้อยู่ใน เทียร์ 3 ต่อไป

เมื่อปีที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ปรับลดระดับไทยไปอยู่ในกลุ่ม “เทียร์ 3” หรือประเทศที่ล้มเหลวในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ เคียงข้างชาติอื่นๆอีก 22 ประเทศ ในนั้นรวมถึงเกาหลีเหนือ อิหร่าน และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2014

รัฐบาลที่หนุนหลังโดยทหารของไทยเมื่อเดือนที่แล้ว แสดงความมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อปรับปรุงอันดับของประเทศ แต่ มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม (London-based Environmental Justice Foundation) ระบุในวันอังคาร (17 ก.พ.) ว่าไทยยังคงล้มเหลวในการป้องกันการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิในอุตสาหกรรมประมง

“เมื่อปีที่แล้ว เราไม่เห็นหรือได้ยินอะไรที่บ่งชี้ว่าไทยได้ดำเนินการอย่างมีความหมายสำหรับจัดการกับสาเหตุรากเหง้าของการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิ” ตีฟ เทรนท์ กรรมการบริหารของมูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมระบุในถ้อยแถลง “รัฐบาลไทยต้องดำเนินมาตรการที่ชัดเจน มีผลสำคัญและต่อเนื่องเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง”

มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม (EJF) ระบุในเอกสารสรุปว่าไทยล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการคอรัปชันของพวกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมถึงหาตัวเหยื่อค้ามนุษย์และเหยื่อแรงงานบังคับบนเรือประมง แม้ว่าพวกเขาได้ปฏิบัติการลาดตระเวนตรวจตราตามทะเลเมื่อปีที่แล้วก็ตาม

ทางมูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมระบุด้วยว่า รัฐบาลไทยไม่ได้ปกป้องเหยื่อที่หลบหนีหรือเคยถูกช่วยเหลือจากการค้าทาสสมัยใหม่ โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของเหยื่อหลายคนที่เล่าว่าเคยถูกเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พักพิงของรัฐบาลเอาปืนจี้และทุบตีจนได้รับบาดเจ็บ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนแห่งนี้อ้างรายงานข่าวต่างๆ ของสื่อมวลชนตลอดปีที่ผ่านมาที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ทั้งคนไทยและชาวพม่า โดยคนเหล่านั้นต้องซื้ออิสรภาพด้วยการหลบหนีออกจากเรือประมงและว่ายขึ้นฝั่งจากกลางทะเล

โดยมูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมอ้างรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อเดือนพศจิกายน ในคดีเด็กชายชาวไทย 2 คนอายุ 13 และ 15 ปี ได้รับความช่วยเหลือจากการเป็นเหยื่อแรงงานบังคับบนเรือประมงลำหนึ่งที่กำลังปฏิบัติการนอกชายฝั่งเมืองอัมบอน อินโดนีเซีย จากนั้นในเดือนต่อมา ไทยรัฐก็รายงานว่ามีการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานบนเรือประมงที่มีคนไทยเป็นเจ้าของในอิหร่าน และแรงงานเหล่านั้นได้ติดต่อมายังผู้สื่อข่าวเพื่อขอให้รัฐบาลช่วยพากลับบ้าน

มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมชี้ว่ารัฐบาลไทยไม่ใส่ใจจัดการกับอุตสาหกรรมนายหน้าแรงงานที่ไร้กฎระเบียบ ที่ภาคเอกชนบอกว่าเป็นผู้อำนวยความสะดวกหลักในขบวนการค้ามนษย์และละเมิดแรงงานต่างด้าว “จากความล้มเหลวเหล่านี้และการเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการค้ามนุษย์และล่วงละเมิดต่างๆในอุตสาหกรรมประมงตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ทาง EJF ของแนะนำอย่างหนักแน่นว่าไทยควรยังอยู่ใน เทียร์ 3 ต่อไปในปี 2015” EJF กล่าว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้มาตรการต่างๆนานาและปฏิรูปเพื่อต่อสู้กับปัญหาค้ามนุษย์

กระทรวงการต่างประเทศของไทยตอบโต้การค้นพบของ EJF ด้วยเอกสารแสดงถึงรายละเอียดความพยายามต่างๆ 5 หน้า ซึ่งเหล่านั้นรวมถึงนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง พร้อมทั้งยังให้ตัวเลขจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ถูกจับกุมฐานสมคบคิดกับขบวนการค้ามนุษย์ จำนวนคดีที่ได้ดำเนินการทางกฎหมายนายหน้าแรงงานเถื่อน เช่นเดียวกับจำนวนเหยื่อที่ได้รับความช่วยเหลือ

เมื่อเดือนที่้แล้ว ทางกระทรวงการต่างประเทศไทยระบุในรายงานที่มีป้าหมายหวังขยับระดับในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปีของสหรัฐฯ ว่ามีเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 595 คน สอบสวนตั้งข้อหา 280 คดี สั่งฟ้องผู้ต้องหา 115 คดี และถูกพิพากษาลงโทษ 104 คน อย่างไรก็ตามจำนวนดังกล่าวถือว่าน้อยกว่าปี 2013 อย่างมาก โดยปีนั้นมีเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 1,020 คน สอบสวนตั้งข้อหา 674 คดี สั่งฟ้องผู้ต้องหา 386 คดีและถูกพิพากษาลงโทษ 255 คน


กำลังโหลดความคิดเห็น