xs
xsm
sm
md
lg

สหภาพยุโรปจวก “ตุรกี” ละเมิดเสรีภาพสื่อ หลังรวบนักข่าวครั้งใหญ่ก่อนยัดข้อหา “ล้มล้างรัฐบาล”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - เฟเดริกา โมเกรินี  (Federica Mogherini) ประธานด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป วิจารณ์ นายกรัฐมนตรีตุรกี เรเจป ไตยิป เอร์โดอาน อย่างเผ็ดร้อนในการละเมิดเสรีภาพของสื่อหลังจากตุรกีบุกจับนักข่างครั้งใหญ่จากสื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับศัตรูทางการเมือง โดยอ้างข้อกล่าวหา “ล้มล้างรัฐบาล”

บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้(14) ในแถลงการณ์ที่ออกมาโดย เฟเดริกา โมเกรินี  (Federica Mogherini) ประธานด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป และ โยฮานเนส ฮาห์น (Johannes Hahn) จากEU Enlargement Commissioner ยืนยันว่า การที่ต้องการที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปนั้น สิ่งที่สำคัญขั้นพื้นฐานนั้นคือ ต้องให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานมนุษยชน ซึ่งการเข้าบุกจับล่าสุดนั้น ละเมิดเสรีภาพสื่อมวลชนขั้นร้ายแรง ซึ่งสิ่งนี้เป็นหัวใจของประชาธิปไตย

“เราคาดหวังว่า หลักการที่ถือว่าทุกคนในสายตากระบวนยุติธรรมยังถือเป็นผู้บริสุทธิจนกระทั่งมีหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดนั้นยังคงมีอยู่ในตุรกี ซึ่งเราหวังว่ากระบวนการยุติธรรมของตุรกีนั้นจะโปร่งใสและปราศจากการเข้าแทรกแซง”

การเข้าบุกจับนักสื่อสารมวลชนที่รวมไปถึง นักข่าว โปรดิวเซอร์ สคริปไรท์เตอร์ และบรรณาธิการฝ่ายบริหารของหนังสือพิมพ์ซามาน (Zaman) และประธานกรรมการสถานีโทรทัศน์ซามานโยลูทีวี (  Samanyolu TV )เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากนายกรัฐมนตรีตุรกี เรเจป ไตยิป เอร์โดอาน ประกาศนโยบายกวาดล้างเครือข่ายของเฟตอัลเลาะห์ กูเลน( Fethullah Gulen) นักการศาสนาอิสลามที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัยทางการเมืองในสหรัฐฯ หัวหน้าการเคลื่อนไหวฮิซเมต (Hizmet)  ซึ่งกูเลนอดีตพันธมิตรของเอร์โดอานถูกกล่าวหาว่า “กำลังจัดตั้งรัฐบาลคู่ขนาน”

ทั้งนี้เดลีเมล สื่ออังกฤษ รายงานเพิ่มเติมในวันอาทิตย์(14)ว่า รัฐมนตรีตุรกีต่างปฎิเสธที่จะให้ความเห็นที่แท้จริงในปฎิบัติการบุกจับ แต่รัฐมนตรีสาธารณสุขตุรกีให้ความเห็นตามที่สื่อท้องถิ่นตรกีเสนอว่า “คนที่กระทำความผิดต้องรับผิดในสิ่งที่พวกเขากระทำ”

ทั้งนี้บีบีซีรายงานว่าทั้งหนังสือพิมพ์ซามานและซามานโยลูทีวีนั้นมีความเชื่อมโยงกับกูเลน ปฎิปักษ์การเมืองของผู้นำตุรกี และเอร์โดอานกล่าวหาว่าสื่อทั้งสองนี้พยายามจะยึดรัฐ

ในระหว่างการถูกตำรวจเข้าบุกจับกุมเจ้าหน้าที่ของสื่อทั้งสองต่างถือป้ายประท้วงที่มีข้อความว่า “สื่อเสรีไม่สามารถถูกปิดปาก”

ด้านบรรณาธิการฝ่ายบริหารหนังสือพิมพ์ซามาน เอเครม ดูมานลี( Ekrem Dumanli) ตอบรับการบุกรุกด้วยรอยยิ้ม และอ่านหมายบุกค้นจากตำรวจตุรกีก่อนจะนำเจ้าหน้าที่ไปยังส่วนต่างๆของสำนักงาน และเรียกเสียงตบมือจากพนักงานและนักข่าวในที่นั้น

“ขอให้ผู้ทำความผิดตกอยู่ในความกลัว แต่พวกเราไม่” ดูมานลีกล่าวในระหว่างเดินไปยังรถตำรวจที่จอดรอ รอยเตอร์รายงาน

ซึ่งบีบีซีวิเคราะห์สถานการณ์ที่ตรึงเครียดในการบุกจับนี้ว่า เวลาที่ตำรวจตุรกีเลือกที่จะจับกุมสื่อยักษ์ใหญ่ครั้งนี้ไม่ใช่ “สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญอย่างแน่นอน” เพราะข่าวฉาวเกี่ยวกับคอรัปชันในตุรกีได้ถูกเปิดเผยเป็นเวลาเกือบปีแล้ว ซึ่งศูนย์กลางข่าวลือของข่าวคอรัปชันฉาวคือ “เรเจป ไตยิป เอร์โดอาน” นายกรัฐมนตรีตุรกีก่อนหน้านั้น และต่อมาปัจจุบัน ประธานาธิบดีตุรกี รวมไปถึงเหล่าคนสนิท และคาดว่าจะมีรัฐมนตรี 4 รายจะต้องลาออก และเชื่อกันว่าข่าวฉาวคอรัปชันจะทำให้รัฐบาลตุรกีอยู่ไม่ได้ในท้ายที่สุด

แต่สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นจากการที่ เอร์โดอาน สามารถกลับพลิกสถานการณ์ และแก้เกมส์โดยการประกาศทำสงครามกับ “รัฐบาลคู่ขนาน” กวาดล้างผู้ร่วมสนับสนุนขบวนการฮิซเมตที่นำโดยกูเลน โดยกล่าวหาว่าคนพวกนั้นพยายามทำรัฐประหาร รวมไปถึงปลดตำรวจและอัยการหลายพันคนออกจากตำแหน่ง ดังนั้นการเข้าบุกกวาดล้างจับกุมสื่อจึงถือเป็นด่านที่สอง

จากการลำดับความโปร่งใสของสื่อ ตุรกีนั้นรั้งตำแหน่ง 154 จากทั้งหมด 180 ดัชนีเสรีภาพสื่อที่จัดทำโดยReporters without Borders กลุ่มสิทธิมนุษยชนที่รณรงค์เสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งกลุ่มนี้แสดงความห่วงใยในเสรีภาพของสื่อในประเทศที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

นอกจากนี้บีบีซียังรายงานเพิ่มเติมว่า ประธานกรรมการสถานีโทรทัศน์ซามานโยลูทีวีนั้นถูกนำตัวไปกักขังในที่อีกแห่งหลังจากการถูกเข้าบุกจับในอิสตันบูล

ทั้งนี้ ไฮดาเยต คาราคา(Hidayet Karaca) ประธานกรรมการสถานีโทรทัศน์ซามานโยลูทีวีได้กล่าวว่าการเข้าบุกจับ “ถือเป็นความอัปยศของตุรกี” ก่อนเขาจะถูกตำรวจนำตัวไป

เจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ซามานโยลูทีวีทราบล่วงหน้าถึงปฎิบัติการที่จะถูกตำรวจตุรกีเข้าบุกจับ หลังจากข่าวลือกระจายไปทั่วอินเตอร์เนตจากทวีตเตอร์ของฟูอัต อัฟนี (Fuat Avni) ที่ก่อนหน้านี้ได้แจ้งข่างปฎิบัติการระดับสูงของตำรวจล่วงหน้าก่อนเกิดขึ้นจริงมาแล้ว








กำลังโหลดความคิดเห็น