เอเจนซีส์ - มูลนิธิคริสเตียนไม่แสวงหาผลกำไร SIM เปิดแถลงเมื่อวานนี้(4) ว่าริก ซาครา(Rick Sacra) วัย 51 ปี แพทย์สูตินารีอาสาสมัครประจำโรงพยาบาลALWA ในไลบีเรียที่ติดเชื้ออีโบลาเป็นรายที่ 3 ของสหรัฐฯจะเดินทางกลับมาเข้ามาถึงสหรัฐฯในวันศุกร์(5)เพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เนแบรสกาในโอมาฮา รัฐเนแบรสกา
สื่อสหรัฐฯ NBC News รายงานในวันพฤหัสบดี(4)ว่า มูลนิธิคริสเตียนไม่แสวงหาผลกำไร SIMได้ออกแถลงการณ์ว่า “นายแพทย์ ริก ซาครา(Rick Sacra)จะเดินทางกลับมาถึงสหรัฐฯในเช้าวันศุกร์(5) และตรงเข้ารับการรักษาโรคอีโบลาที่ห้องปลอดภัยทางเชื้อชีวภาพของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เนแบรสกา และได้รับข้อมูลทางโทรศัพท์จากแพทย์ผู้ที่ช่วยเหลือนำตัวซาคราส่งขึ้นเครื่องบินว่า ถึงงแม้จะมีสภาพเห็นได้ชัดว่าป่วย แต่ยังมีกำลังใจดี และซาคราสามารถเดินขึ้นเครื่องบินได้ด้วยตัวเอง” รายงานจากแถลงการณ์ของ SIM
ด้านเด็บบี ซาครา (Debbie Sacra) ภรรยาผู้ติดเชื้อเปิดแถลงข่าวที่โรงพยาบาลวิทยาลัยการแพทย์แมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลต้นสังกัดของริก ซาคราว่า “ทางครอบครัวได้รับกำลังใจอย่างมากจากข่าวดีที่เข้ามา และรอที่จะพบกับริกอีกครั้ง และดิฉันรู้สึกปลาบปลื้มที่ได้รับฟังเสียงชื่นชมถึงสามีที่มีเข้ามาอย่างล้นหลาม ทางครอบครัวยังคงอธิษฐานไม่หยุด และหวังว่าริกจะอยู่กับพวกเรายาวนานขึ้นที่จะเปิดโอกาสให้เขาสามารถทำหน้าที่รักษาคนไข้ได้เหมือนเช่นที่ได้ทำงานในไลบีเรีย แต่ริกคงต้องการอยากให้ทุกคนรับรู้ว่า เขาไม่เกรงที่จะต้องจากโลกนี้ไปเพื่อเข้าสู่ชีวิตนิรันดรร่วมกับพระเจ้า”
ส่วนบรูซ จอห์นสัน (Bruce Johnson ) ประธานมูลนิธิ SIM แห่งสหรัฐฯ แถลงว่า “ทางมูลนิธิต้องขอขอบคุณหน่วยงานต่างเป็นจำนวนมากที่ช่วยทำให้สามารถส่งตัว ริก ซาครากลับเข้ามารักษายังสหรัฐฯได้ และที่สำคัญต้องขอขอบคุณกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เนแบรสกา”
ในส่วนของโรงพยาบาล นายแพทย์ฟิล สมิท ( Phil Smith ) ผู้อำนวยการแผนกกักกันภัยทางชีวภาพแถลง
“ทางโรงพยาบาลมีแผนกพิเศษสำรับการรับมือภัยคุกคามด้านชีวภาพระดับสูงสุดพร้อมผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อที่ผ่านการฝึกฝนทุกวันนับตั้งแต่เปิดแผนกนี้ในปี 2005เพื่อพร้อมรับสถานการณ์เช่นนี้ นอกจากนี้ทางแผนกยังมีอุปกรณ์ทันสมัย อาทิ ระบบควบคุมอากาศแบบพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกระจายเต็มห้องผู้ป่วย รวมไปถึงระบบการทำให้ปลอดเชื้อเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีสิ่งแปลกปลอมเล็ดลอดออกไปได้”
และยังแถลงเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้แผนกกักกันพิเศษนั้นตั้งแยกออกจากบริเวณการรักษาผู้ป่วยทั่วไป และมีทั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชม. เช่นเดียวกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอีโมรีที่ประสบความสำเร็จรักษาผู้ป่วยโรคอีโบลา 2 คนแรกในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ทีมงานเตรียมความพร้อมอย่างหนักเพื่อให้การรักษาผู้ติดเชื้อที่นี่ และทางเราต้องการแจ้งให้ทุกคนทราบว่าทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ส่งตัวผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาล้วนแต่อยู่ภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด”
ด้านแพทย์หญิงแองเกลา ฮิวเล็ต(Angela Hewlet ) เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากแผนกกักกันภัยทางชีวภาพของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เนแบรสกาได้ให้คามเห็นเพิ่มเติมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับประชาชนอเมริกันและทีมแพทย์ที่จะทำการรักษาโรคอีโบลา และดิฉันเข้าใจว่าทุกคนต้องตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่ส่งตัวคนไข้ติดเชื้อไปอีโมรี ทางเราขอตอบว่า นี่เป็นคำร้องขอมาจากกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เพราะการรักษาโรคอีโบลาเหมือนการวิ่งมาราทอน ไม่ใช่การวิ่งเร็ว จึงขอยืนยันว่าทางโรงพยาบาลไม่ได้ขอให้ส่งตัวริก ซาครา มาที่นี่ แต่การที่จะมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยอีโบลาจะทำให้สหรัฐฯมีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อร้ายแรงนี้ได้ในอนาคต”
และนอกเหนือจากสถานพยาบาลแห่งนี้ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอีโมรีในรัฐจอร์เจีย ยังมี NIH ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯในรัฐแมรีแลนด์ และศูนย์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ร็อกกี เมาน์เทน ต่างมีแผนกกักกันภัยติดเชื้อชีวภาพระดับ 4 เพื่อให้การรักษาโรคร้ายแรง เช่น อีโบลา ได้เช่นกัน