(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The lessons of war
By Andreas Herberg-Rothe
03/07/2014
ถ้าหากเราคิดว่า ความขัดแย้งในเอเชียปัจจุบันจะไม่ขยายตัวบานปลายออกไปจนกลายเป็นสงครามโลก ด้วยเหตุผลที่ว่ามหาสงครามเช่นนั้นจะไม่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใดเลย นั่นคือมุมมองซึ่งไม่ได้รองรับด้วยหลักฐานข้อเท็จจริงหรอก ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองผ่านแว่นแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เวียนมาบรรจบครบรอบ 100 ปีพอดีในปีนี้ด้วยแล้ว แสดงให้เห็นเรื่อยมาถึงอันตรายของความไม่มีเหตุผล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้บังเกิดความล้มเหลวไม่สามารถถอดถอนเรียนรู้บทเรียนต่างๆ จากอดีตของเราเองได้
ในปี 1914 หรือเมื่อ 100 ปีที่แล้ว กรณีการลอบสังหาร อาร์ชดุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินันด์ (Archduke Franz Ferdinand) ได้กลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ติดตามมาอย่างต่อเนื่องบานปลาย จนกระทั่งทำให้สงครามโลกครั้งที่ 1 ระเบิดขึ้น โดยที่ผลของมหาสงครามคราวนั้น เมื่อกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ยังคงสำแดงฤทธิ์เดชยืดยาวต่อมาอีกจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยซ้ำ อดีตที่เกิดขึ้นในตอนนั้นมีบทเรียนใดๆ ที่น่าเรียนรู้หรือไม่? หรือว่ามีเพียงบทเรียนเดียวเท่านั้นซึ่งได้มีการเรียนรู้กัน –นั่นคือคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลยจากประวัติศาสตร์? แล้วถ้าหากเราไม่สามารถเรียนรู้อะไรจากอดีตได้เลย นั่นหมายความว่าชะตากรรมของเราถูกกำหนดเอาไว้แล้วว่าจะต้องประสบกับประวัติศาสตร์ซ้ำรอยใช่หรือไม่?
ประวัติศาสตร์นั้นย่อมไม่มีการซ้ำรอยเดิมอย่างตรงเป๊ะหรอก กระนั้นสงคราม และแม้กระทั่งมหาสงคราม ก็ยังคงบังเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคซึ่งมีความคิดเห็นกันว่าสงครามระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะปรากฏขึ้น เนื่องจากผลพวงต่อเนื่องของมันจะเป็นความวิบัติหายนะระดับมโหฬาร จนทำให้แต่ละฝ่ายแต่ละชาติต่างจะพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นมา ในยุคสมัยของเรานี้ ดูเหมือนว่าความมีเหตุมีผลจะเป็นฝ่ายชนะมีฐานะครอบงำโลก อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า สงครามในอดีตที่ผ่านมาจะไม่มีทางเกิดขึ้นมาหรอก ถ้าหากฝ่ายที่ปราชัย หรือแม้กระทั่งทั้งสองฝ่าย ได้ทราบล่วงหน้าถึงผลพวงทั้งหลายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นตามมา
จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 จะไม่ซ้ำรอยตัวเองจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกในเอเชียครั้งที่ 1 ในอีก 100 ปีถัดมาหรอก ทว่าก็มีความละม้ายคล้ายคลึงอย่างชวนเตะตาหลายๆ ประการทีเดียว ระหว่างช่วงเวลาที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งแรก กับพัฒนาการของเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังปรากฏขึ้นในเอเชียทุกวันนี้ วาระครบรอบ 1 ศตวรรษของสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงเป็นสัญญาณที่เป็นการเตือนให้เห็นถึงอันตรายของสงครามโลกครั้งใหม่ที่มีโอกาสจะมาถึงในไม่ช้านี้ ไม่ใช่เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่ามหาสงครามจะไม่มีทางเกิดขึ้นมาอีก
ปี 1914 คือสัญลักษณ์ตัวแทนของความเสี่ยงที่ว่า สงครามระหว่างพวกมหาอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่ปะทุขึ้นมาได้ ถึงแม้ไม่มีฝ่ายใดเลยที่จะได้ประโยชน์จากการรบราฆ่าฟันกันอย่างมโหฬารเช่นนี้ก็ตามที มันเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาที่ว่า ความมีเหตุมีผลไม่ได้เป็นหลักประกันเลยว่า เราจะสามารถหลีกเลี่ยงการทำล้ายล้างตัวเองไปได้
การขบคิดทั้งหลายในเรื่องที่ว่า สงครามเช่นนั้นจะเกิดซ้ำรอยขึ้นมาอีกในเอเชียหรือไม่ แล้วให้คำตอบกันว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นหรอก มักเป็นการคาดคำนวณซึ่งวางอยู่บนข้อสมมุติฐานที่ว่า มันจะไม่มีใครได้ผลประโยชน์อะไรเลยถ้าหากต้องเข้าสู้รบในสงครามขนาดใหญ่โต แม้กระทั่งเมื่อยังไม่มีการใช้อาวุธมหาประลัยทรงฤทธิ์เดชทำลายล้างสูงก็ตาม และยิ่งเมื่อมีการใช้อาวุธดังกล่าว ก็ยิ่งมีแต่ทำให้พื้นที่จำนวนมากของภูมิภาคแถบนี้ประสบความวิบัติหายนะสุดเลวร้าย ดังนั้นใครกันล่ะที่อยากจะเข้าสงครามเช่นนี้ แต่ถ้าเราสมมุติใหม่ว่า ความขัดแย้งสู้รบกันในเอเชียไม่ได้เป็นการต่อสู้กันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์แห่งชาติอะไรนักหรอก หากแต่เพื่อศักดิ์ศรีเพื่อให้ได้รับการยอมรับเสียมากกว่าล่ะ? เรื่องศักดิ์ศรีเรื่องการทำให้ได้รับการยอมรับนี้หมายความว่าอะไรได้บ้าง? ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติที่มีความเท่าเทียมกันชาติอื่นๆ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ถูกเหยียบย่ำมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงที่ชาติยุโรปออกล่าอาณานิคมและติดตามมาด้วยการวางตัวเป็นเจ้าโลกของอเมริกา ? เอาเข้าจริงแล้ว สำหรับชาติเอเชียจำนวนมากทีเดียว การทำให้ชาติอื่นๆ ยอมรับว่าได้มาสร้างความเจ็บปวดชอกช้ำให้แก่ตนเองในอดีต ดูจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเอามากๆ ความปรารถนาเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ไร้เหตุผล หรือว่าเป็นความมีเหตุมีผลอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างออกไปจากเกณฑ์ปกติ?
บทเรียนที่สำคัญที่สุดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นมีอยู่ว่า การขัดแย้งสู้รบกัน ซึ่งในตอนแรกๆ ดูเหมือนอยู่แค่ภายในขอบเขตอันจำกัด กลับสามารถที่จะบานปลายขยายตัวจนกระทั่งกลายเป็นฝันร้ายสุดสยองที่มีผู้คนจำนวนเป็นล้านๆ ต้องล้มตายและประสบความทุกข์ยากแสนสาหัสชนิดยากที่จะพรรณนาออกมาได้ครบถ้วน มันเป็นการบานปลายขยายตัวซึ่งไม่สามารถที่จะหาคำอธิบายอันสมเหตุสมผลใดๆ มาทำความเข้าใจได้เลย จุดมุ่งหมายต่างๆ และยุทธศาสตร์ต่างๆ ในทางการทหาร ได้เข้ายึดครองความสำคัญ จนอยู่ในฐานะครอบงำเหนือกว่าวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่มีความหมายไปเสียแล้ว
ถึงแม้เหล่านายพลของจักรวรรดิเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่างเชื่อว่าพวกเขากำลังปฏิบัติการโดยอิงอยู่กับทฤษฎีสงคราม ของ เคลาสวิตซ์ (Clausewitz) แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขากำลังตีความทฤษฎีนี้อย่างผิดพลาด ยุทธวิธีได้เข้าแทนที่ยุทธศาสตร์, ยุทธศาสตร์เข้าแทนที่การเมือง, การเมืองได้รับความสำคัญจนอยู่เหนือนโยบาย, และนโยบายก็ถูกแปรให้เน้นแต่การทหาร มันเหมือนกับทุกๆ คนกำลังพูดว่า การเข้าไปอยู่ในภาวะสงครามก็คือเท่ากับการหยุดขบคิดกันไปเลย
บางทีเหตุผลอันล้ำลึกที่สุดและถูกซ่อนเร้นเอาไว้ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการบานปลายขยายตัวเช่นนี้ ก็คือว่า ไม่มีฝ่ายที่เข้าสงครามฝ่ายใดเลย สามารถยอมรับความพ่ายแพ้ปราชัยได้ ตัวอย่างอันโดดเด่นเตะตาของเรื่องนี้ ได้แก่การที่จุดมุ่งหมายในการทำสงครามของจักรวรรดิเยอรมัน ยิ่งดูมีชีวิตชีวาและมีโมเมนตัมเพิ่มขึ้นเท่าใด มันก็ยิ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและขาดไร้เหตุผลมากขึ้นเท่านั้น เรื่องของเกียรติ, ศักดิ์ศรี, และอัตลักษณ์แห่งจักรวรรดิไรช์เยอรมัน กลายเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้ยอมรับความปราชัย สภาวการณ์เช่นนี้ก็บังเกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งกับรัสเซีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, จักรวรรดิของราชวงศ์ฮับสเบิร์ก (Habsburg), และจักรวรรดิ (ออตโตมัน) ของชาวเติร์ก
บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าจักรวรรดิเหล่านี้ทราบดีอยู่แก่ใจว่า ระบอบปการปกครองของพวกเขาจะไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ถ้าหากพวกเขาต้องออกมายอมรับว่าประสบความพ่ายแพ้ทางการทหาร ความปราชัยจะลบหลู่เหยียดหยามอัตลักษณ์และ “หน้า” ของพวกเขา ความปราชัยทางการทหารจะเป็นสัญญาณแสดงถึง “ความตายเชิงสัญลักษณ์” ของพวกเขา และด้วยเหตุนี้เอง จักรวรรดิเหล่านี้จึงมีความรู้สึกว่าพวกเขากำลังทำสงครามเพื่อตัดสินความเป็นความตายของตนเองโดยแท้
นี่ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถที่จะเปรียบเทียบจีนซึ่งกำลังผงาดขึ้นมาในเวลานี้ ว่าเท่ากับจักรวรรดิเยอรมันในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตัวแสดงในตอนนั้นและในตอนนี้จะมีความแตกต่างผิดแผกกัน ทว่าพลวัตความมีชีวิตชีวาซึ่งเกิดขึ้นจากการก้าวผงาดของมหาอำนาจเกิดใหม่ ก็ยังคงมีความละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างโดดเด่นสะดุดตา
โรเบิร์ต แมคนามารา ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ได้เคยพูดตั้งข้อสังเกตที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเอาไว้ว่า มันเป็นเพราะโชคช่วยแท้ๆ ไม่ใช่เนื่องจากความมีเหตุมีผลอะไรเลย ซึ่งป้องกันไม่ให้วิกฤตการณ์คราวนั้นบานปลายจนกลายเป็นสงครามโลกขึ้นมา หรือในเหตุการณ์ความหวาดผวาว่าจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นมาเมื่อปี 1983 สืบเนื่องจากการฝึกซ้อมรบของกองบัญชาการสูงสุดขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) จนทำให้ฝ่ายสหภาพโซเวียตระแวงว่าจะเป็นอุบายอำพรางเพื่อก่อศึกนิวเคลียร์จริงๆ ขึ้นมานั้น โลกก็ต้องพึ่งพาอาศัยความโชคดีอย่างมหาศาลทีเดียวจึงสามารถคลาดแคล้วภัยพิบัติหายนะมาได้
สำหรับในยุคสมัยของเรา มหาอำนาจทุกๆ รายต่างใช้เครื่องมือทางการทหารเพื่อมุ่งเสาะแสวงหาผลประโยชน์ในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจของพวกเขาเป็นสำคัญ แต่กระนั้นเราก็ไม่ควรปล่อยตัวเองให้กล้าวางเดิมพันพนันว่า ความขัดแย้งทางการทหารและยุทธศาสตร์ทางการทหารทั้งหลายจะไม่มีทางบานปลายขยายตัวจนกลายเป็นมหาสงครามไปได้
ด้วยเหตุฉะนี้ จุดมุ่งหมายของนโยบายในพื้นพิภพแห่งยุคโลกาภิวัตน์นี้ จึงจะต้องเป็นการริเริ่มส่งเสริมให้เกิดการพูดจาแลกเปลี่ยนหารือกันตลอดช่วงหลายๆ สิบปีจากนี้ไป ถึงแม้เราจะมีความขัดแย้งกันและมีการแข่งขันช่วงชิงกัน ทั้งในด้านผลประโยชน์, อัตลักษณ์, และความสำนึกความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง อย่างไรก็ตามที แต่ความมุ่งมั่นผูกพันกับการพูดจาหารือกันเช่นนี้ ก็จะช่วยให้สามารถจัดวางนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ความขัดแย้งและการแข่งขันในเอเชียบานปลายขยายตัวจนกลายเป็นปี 1914 ครั้งใหม่
ครั้งหนึ่ง โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้เคยตั้งข้อสังเกตซึ่งมีชื่อเสียงมากเอาไว้ว่า สภาวะตามธรรมชาติของมนุษยชาตินั้นไม่ใช่สันติภาพ หากเป็นสงคราม เป็นการทำสงครามที่ทุกๆ คนกระทำกับทุกๆ คน เราไม่ควรที่จะหลอกตัวเองให้หลงเชื่อสมมุติฐานที่ว่า สันติภาพคือสภาวะตามธรรมชาติของมนุษยชาติในยุคสมัยของเรา ยิซฮัค ราบิน (Yitzhak Rabin) ผู้ล่วงลับ ได้เคยเสนอความคิดเห็นเอาไว้ว่า –คุณไม่จำเป็นต้องทำสันติภาพกับเพื่อนมิตรของคุณหรอก แต่คุณจำเป็นต้องทำสันติภาพกับพวกศัตรูของคุณ
นักทฤษฎีการเมือง คาร์ล ชมิตต์ (Carl Schmitt) เชื่อว่า สาระสำคัญของการเมืองก็คือการแยกให้ออกระหว่างมิตรกับศัตรู ตัวผมเองได้ตีความหมายแนวความคิดของ ฮันนาห์ อาเรนต์ (Hannah Arendt) และ ชมิตต์ เอาไว้ดังนี้ครับ: เริ่มแรกทีเดียว การเมืองจะมุ่งแสวงหาแยกแยะให้ออกระหว่างมิตรกับศัตรู แต่เมื่อมาถึงจุดมุ่งหมายสุดท้ายของการเมืองแล้ว มันกลับมุ่งเป็นตัวกลางต่อเชื่อมระหว่างมิตรกับศัตรู, มุ่งเสาะแสวงหาพื้นที่ร่วมตรงกลางระหว่างฝ่ายที่ขัดแย้งเป็นปรปักษ์กันเหล่านี้ โดยที่ไม่ได้มีการกำจัดการแข่งขันช่วงชิงทิ้งไป (แนวความคิดนี้มีต้นตอจากแนวความคิดของ เปลโต้ (Plato), อีริก เวอเกลิน (Eric Voegelin), และ อาเรนต์)
นี่แหละ น่าที่จะเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดซึ่งเราควรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์
ข้อเขียนนี้ปรากฏอยู่ในส่วน “Speaking Freely ” ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดทางให้เหล่านักเขียนรับเชิญสามารถแสดงความคิดเห็นของพวกตน โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่ เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
ดร.อันเดรียส แฮร์แบร์ก-โรเท เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะสังคมและวัฒนธรรมศึกษา (faculty of social and cultural studies) แห่ง มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ฟุลดา (Fulda University of Applied Sciences) ประเทศเยอรมนี และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Clausewitz's Puzzle: The Political Theory of War สำหรับข้อเขียนชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post)
The lessons of war
By Andreas Herberg-Rothe
03/07/2014
ถ้าหากเราคิดว่า ความขัดแย้งในเอเชียปัจจุบันจะไม่ขยายตัวบานปลายออกไปจนกลายเป็นสงครามโลก ด้วยเหตุผลที่ว่ามหาสงครามเช่นนั้นจะไม่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใดเลย นั่นคือมุมมองซึ่งไม่ได้รองรับด้วยหลักฐานข้อเท็จจริงหรอก ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองผ่านแว่นแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เวียนมาบรรจบครบรอบ 100 ปีพอดีในปีนี้ด้วยแล้ว แสดงให้เห็นเรื่อยมาถึงอันตรายของความไม่มีเหตุผล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้บังเกิดความล้มเหลวไม่สามารถถอดถอนเรียนรู้บทเรียนต่างๆ จากอดีตของเราเองได้
ในปี 1914 หรือเมื่อ 100 ปีที่แล้ว กรณีการลอบสังหาร อาร์ชดุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินันด์ (Archduke Franz Ferdinand) ได้กลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ติดตามมาอย่างต่อเนื่องบานปลาย จนกระทั่งทำให้สงครามโลกครั้งที่ 1 ระเบิดขึ้น โดยที่ผลของมหาสงครามคราวนั้น เมื่อกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ยังคงสำแดงฤทธิ์เดชยืดยาวต่อมาอีกจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยซ้ำ อดีตที่เกิดขึ้นในตอนนั้นมีบทเรียนใดๆ ที่น่าเรียนรู้หรือไม่? หรือว่ามีเพียงบทเรียนเดียวเท่านั้นซึ่งได้มีการเรียนรู้กัน –นั่นคือคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลยจากประวัติศาสตร์? แล้วถ้าหากเราไม่สามารถเรียนรู้อะไรจากอดีตได้เลย นั่นหมายความว่าชะตากรรมของเราถูกกำหนดเอาไว้แล้วว่าจะต้องประสบกับประวัติศาสตร์ซ้ำรอยใช่หรือไม่?
ประวัติศาสตร์นั้นย่อมไม่มีการซ้ำรอยเดิมอย่างตรงเป๊ะหรอก กระนั้นสงคราม และแม้กระทั่งมหาสงคราม ก็ยังคงบังเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคซึ่งมีความคิดเห็นกันว่าสงครามระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะปรากฏขึ้น เนื่องจากผลพวงต่อเนื่องของมันจะเป็นความวิบัติหายนะระดับมโหฬาร จนทำให้แต่ละฝ่ายแต่ละชาติต่างจะพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นมา ในยุคสมัยของเรานี้ ดูเหมือนว่าความมีเหตุมีผลจะเป็นฝ่ายชนะมีฐานะครอบงำโลก อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า สงครามในอดีตที่ผ่านมาจะไม่มีทางเกิดขึ้นมาหรอก ถ้าหากฝ่ายที่ปราชัย หรือแม้กระทั่งทั้งสองฝ่าย ได้ทราบล่วงหน้าถึงผลพวงทั้งหลายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นตามมา
จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 จะไม่ซ้ำรอยตัวเองจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกในเอเชียครั้งที่ 1 ในอีก 100 ปีถัดมาหรอก ทว่าก็มีความละม้ายคล้ายคลึงอย่างชวนเตะตาหลายๆ ประการทีเดียว ระหว่างช่วงเวลาที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งแรก กับพัฒนาการของเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังปรากฏขึ้นในเอเชียทุกวันนี้ วาระครบรอบ 1 ศตวรรษของสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงเป็นสัญญาณที่เป็นการเตือนให้เห็นถึงอันตรายของสงครามโลกครั้งใหม่ที่มีโอกาสจะมาถึงในไม่ช้านี้ ไม่ใช่เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่ามหาสงครามจะไม่มีทางเกิดขึ้นมาอีก
ปี 1914 คือสัญลักษณ์ตัวแทนของความเสี่ยงที่ว่า สงครามระหว่างพวกมหาอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่ปะทุขึ้นมาได้ ถึงแม้ไม่มีฝ่ายใดเลยที่จะได้ประโยชน์จากการรบราฆ่าฟันกันอย่างมโหฬารเช่นนี้ก็ตามที มันเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาที่ว่า ความมีเหตุมีผลไม่ได้เป็นหลักประกันเลยว่า เราจะสามารถหลีกเลี่ยงการทำล้ายล้างตัวเองไปได้
การขบคิดทั้งหลายในเรื่องที่ว่า สงครามเช่นนั้นจะเกิดซ้ำรอยขึ้นมาอีกในเอเชียหรือไม่ แล้วให้คำตอบกันว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นหรอก มักเป็นการคาดคำนวณซึ่งวางอยู่บนข้อสมมุติฐานที่ว่า มันจะไม่มีใครได้ผลประโยชน์อะไรเลยถ้าหากต้องเข้าสู้รบในสงครามขนาดใหญ่โต แม้กระทั่งเมื่อยังไม่มีการใช้อาวุธมหาประลัยทรงฤทธิ์เดชทำลายล้างสูงก็ตาม และยิ่งเมื่อมีการใช้อาวุธดังกล่าว ก็ยิ่งมีแต่ทำให้พื้นที่จำนวนมากของภูมิภาคแถบนี้ประสบความวิบัติหายนะสุดเลวร้าย ดังนั้นใครกันล่ะที่อยากจะเข้าสงครามเช่นนี้ แต่ถ้าเราสมมุติใหม่ว่า ความขัดแย้งสู้รบกันในเอเชียไม่ได้เป็นการต่อสู้กันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์แห่งชาติอะไรนักหรอก หากแต่เพื่อศักดิ์ศรีเพื่อให้ได้รับการยอมรับเสียมากกว่าล่ะ? เรื่องศักดิ์ศรีเรื่องการทำให้ได้รับการยอมรับนี้หมายความว่าอะไรได้บ้าง? ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติที่มีความเท่าเทียมกันชาติอื่นๆ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ถูกเหยียบย่ำมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงที่ชาติยุโรปออกล่าอาณานิคมและติดตามมาด้วยการวางตัวเป็นเจ้าโลกของอเมริกา ? เอาเข้าจริงแล้ว สำหรับชาติเอเชียจำนวนมากทีเดียว การทำให้ชาติอื่นๆ ยอมรับว่าได้มาสร้างความเจ็บปวดชอกช้ำให้แก่ตนเองในอดีต ดูจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเอามากๆ ความปรารถนาเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ไร้เหตุผล หรือว่าเป็นความมีเหตุมีผลอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างออกไปจากเกณฑ์ปกติ?
บทเรียนที่สำคัญที่สุดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นมีอยู่ว่า การขัดแย้งสู้รบกัน ซึ่งในตอนแรกๆ ดูเหมือนอยู่แค่ภายในขอบเขตอันจำกัด กลับสามารถที่จะบานปลายขยายตัวจนกระทั่งกลายเป็นฝันร้ายสุดสยองที่มีผู้คนจำนวนเป็นล้านๆ ต้องล้มตายและประสบความทุกข์ยากแสนสาหัสชนิดยากที่จะพรรณนาออกมาได้ครบถ้วน มันเป็นการบานปลายขยายตัวซึ่งไม่สามารถที่จะหาคำอธิบายอันสมเหตุสมผลใดๆ มาทำความเข้าใจได้เลย จุดมุ่งหมายต่างๆ และยุทธศาสตร์ต่างๆ ในทางการทหาร ได้เข้ายึดครองความสำคัญ จนอยู่ในฐานะครอบงำเหนือกว่าวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่มีความหมายไปเสียแล้ว
ถึงแม้เหล่านายพลของจักรวรรดิเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่างเชื่อว่าพวกเขากำลังปฏิบัติการโดยอิงอยู่กับทฤษฎีสงคราม ของ เคลาสวิตซ์ (Clausewitz) แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขากำลังตีความทฤษฎีนี้อย่างผิดพลาด ยุทธวิธีได้เข้าแทนที่ยุทธศาสตร์, ยุทธศาสตร์เข้าแทนที่การเมือง, การเมืองได้รับความสำคัญจนอยู่เหนือนโยบาย, และนโยบายก็ถูกแปรให้เน้นแต่การทหาร มันเหมือนกับทุกๆ คนกำลังพูดว่า การเข้าไปอยู่ในภาวะสงครามก็คือเท่ากับการหยุดขบคิดกันไปเลย
บางทีเหตุผลอันล้ำลึกที่สุดและถูกซ่อนเร้นเอาไว้ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการบานปลายขยายตัวเช่นนี้ ก็คือว่า ไม่มีฝ่ายที่เข้าสงครามฝ่ายใดเลย สามารถยอมรับความพ่ายแพ้ปราชัยได้ ตัวอย่างอันโดดเด่นเตะตาของเรื่องนี้ ได้แก่การที่จุดมุ่งหมายในการทำสงครามของจักรวรรดิเยอรมัน ยิ่งดูมีชีวิตชีวาและมีโมเมนตัมเพิ่มขึ้นเท่าใด มันก็ยิ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและขาดไร้เหตุผลมากขึ้นเท่านั้น เรื่องของเกียรติ, ศักดิ์ศรี, และอัตลักษณ์แห่งจักรวรรดิไรช์เยอรมัน กลายเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้ยอมรับความปราชัย สภาวการณ์เช่นนี้ก็บังเกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งกับรัสเซีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, จักรวรรดิของราชวงศ์ฮับสเบิร์ก (Habsburg), และจักรวรรดิ (ออตโตมัน) ของชาวเติร์ก
บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าจักรวรรดิเหล่านี้ทราบดีอยู่แก่ใจว่า ระบอบปการปกครองของพวกเขาจะไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ถ้าหากพวกเขาต้องออกมายอมรับว่าประสบความพ่ายแพ้ทางการทหาร ความปราชัยจะลบหลู่เหยียดหยามอัตลักษณ์และ “หน้า” ของพวกเขา ความปราชัยทางการทหารจะเป็นสัญญาณแสดงถึง “ความตายเชิงสัญลักษณ์” ของพวกเขา และด้วยเหตุนี้เอง จักรวรรดิเหล่านี้จึงมีความรู้สึกว่าพวกเขากำลังทำสงครามเพื่อตัดสินความเป็นความตายของตนเองโดยแท้
นี่ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถที่จะเปรียบเทียบจีนซึ่งกำลังผงาดขึ้นมาในเวลานี้ ว่าเท่ากับจักรวรรดิเยอรมันในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตัวแสดงในตอนนั้นและในตอนนี้จะมีความแตกต่างผิดแผกกัน ทว่าพลวัตความมีชีวิตชีวาซึ่งเกิดขึ้นจากการก้าวผงาดของมหาอำนาจเกิดใหม่ ก็ยังคงมีความละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างโดดเด่นสะดุดตา
โรเบิร์ต แมคนามารา ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ได้เคยพูดตั้งข้อสังเกตที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเอาไว้ว่า มันเป็นเพราะโชคช่วยแท้ๆ ไม่ใช่เนื่องจากความมีเหตุมีผลอะไรเลย ซึ่งป้องกันไม่ให้วิกฤตการณ์คราวนั้นบานปลายจนกลายเป็นสงครามโลกขึ้นมา หรือในเหตุการณ์ความหวาดผวาว่าจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นมาเมื่อปี 1983 สืบเนื่องจากการฝึกซ้อมรบของกองบัญชาการสูงสุดขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) จนทำให้ฝ่ายสหภาพโซเวียตระแวงว่าจะเป็นอุบายอำพรางเพื่อก่อศึกนิวเคลียร์จริงๆ ขึ้นมานั้น โลกก็ต้องพึ่งพาอาศัยความโชคดีอย่างมหาศาลทีเดียวจึงสามารถคลาดแคล้วภัยพิบัติหายนะมาได้
สำหรับในยุคสมัยของเรา มหาอำนาจทุกๆ รายต่างใช้เครื่องมือทางการทหารเพื่อมุ่งเสาะแสวงหาผลประโยชน์ในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจของพวกเขาเป็นสำคัญ แต่กระนั้นเราก็ไม่ควรปล่อยตัวเองให้กล้าวางเดิมพันพนันว่า ความขัดแย้งทางการทหารและยุทธศาสตร์ทางการทหารทั้งหลายจะไม่มีทางบานปลายขยายตัวจนกลายเป็นมหาสงครามไปได้
ด้วยเหตุฉะนี้ จุดมุ่งหมายของนโยบายในพื้นพิภพแห่งยุคโลกาภิวัตน์นี้ จึงจะต้องเป็นการริเริ่มส่งเสริมให้เกิดการพูดจาแลกเปลี่ยนหารือกันตลอดช่วงหลายๆ สิบปีจากนี้ไป ถึงแม้เราจะมีความขัดแย้งกันและมีการแข่งขันช่วงชิงกัน ทั้งในด้านผลประโยชน์, อัตลักษณ์, และความสำนึกความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง อย่างไรก็ตามที แต่ความมุ่งมั่นผูกพันกับการพูดจาหารือกันเช่นนี้ ก็จะช่วยให้สามารถจัดวางนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ความขัดแย้งและการแข่งขันในเอเชียบานปลายขยายตัวจนกลายเป็นปี 1914 ครั้งใหม่
ครั้งหนึ่ง โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้เคยตั้งข้อสังเกตซึ่งมีชื่อเสียงมากเอาไว้ว่า สภาวะตามธรรมชาติของมนุษยชาตินั้นไม่ใช่สันติภาพ หากเป็นสงคราม เป็นการทำสงครามที่ทุกๆ คนกระทำกับทุกๆ คน เราไม่ควรที่จะหลอกตัวเองให้หลงเชื่อสมมุติฐานที่ว่า สันติภาพคือสภาวะตามธรรมชาติของมนุษยชาติในยุคสมัยของเรา ยิซฮัค ราบิน (Yitzhak Rabin) ผู้ล่วงลับ ได้เคยเสนอความคิดเห็นเอาไว้ว่า –คุณไม่จำเป็นต้องทำสันติภาพกับเพื่อนมิตรของคุณหรอก แต่คุณจำเป็นต้องทำสันติภาพกับพวกศัตรูของคุณ
นักทฤษฎีการเมือง คาร์ล ชมิตต์ (Carl Schmitt) เชื่อว่า สาระสำคัญของการเมืองก็คือการแยกให้ออกระหว่างมิตรกับศัตรู ตัวผมเองได้ตีความหมายแนวความคิดของ ฮันนาห์ อาเรนต์ (Hannah Arendt) และ ชมิตต์ เอาไว้ดังนี้ครับ: เริ่มแรกทีเดียว การเมืองจะมุ่งแสวงหาแยกแยะให้ออกระหว่างมิตรกับศัตรู แต่เมื่อมาถึงจุดมุ่งหมายสุดท้ายของการเมืองแล้ว มันกลับมุ่งเป็นตัวกลางต่อเชื่อมระหว่างมิตรกับศัตรู, มุ่งเสาะแสวงหาพื้นที่ร่วมตรงกลางระหว่างฝ่ายที่ขัดแย้งเป็นปรปักษ์กันเหล่านี้ โดยที่ไม่ได้มีการกำจัดการแข่งขันช่วงชิงทิ้งไป (แนวความคิดนี้มีต้นตอจากแนวความคิดของ เปลโต้ (Plato), อีริก เวอเกลิน (Eric Voegelin), และ อาเรนต์)
นี่แหละ น่าที่จะเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดซึ่งเราควรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์
ข้อเขียนนี้ปรากฏอยู่ในส่วน “Speaking Freely ” ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดทางให้เหล่านักเขียนรับเชิญสามารถแสดงความคิดเห็นของพวกตน โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่ เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
ดร.อันเดรียส แฮร์แบร์ก-โรเท เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะสังคมและวัฒนธรรมศึกษา (faculty of social and cultural studies) แห่ง มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ฟุลดา (Fulda University of Applied Sciences) ประเทศเยอรมนี และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Clausewitz's Puzzle: The Political Theory of War สำหรับข้อเขียนชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post)