(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Egyptians Say ‘Yes’ to New Constitution
By AJ Correspondents
17/01/2014
ผลการนับคะแนนในช่วงต้นๆ ที่ปรากฏออกมา บ่งชี้ให้เห็นว่าชาวอียิปต์จำนวนท่วมท้นพากันออกเสียงเห็นชอบให้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จัดร่างขึ้นโดยกองทัพ แต่ขณะที่สื่อมวลชนของทางการออกมาไชโยโห่ร้องแล้วว่า ผลลัพธ์ออกมาดีมากอย่างชนิด “ไม่เคยปรากฏมาก่อน” ในทางเป็นจริงเขตผู้ว่าการซึ่งมีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศคือ ไคโร ยังไม่ได้มีการนับคะแนนกันเลย อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดหมายกันว่าผลอย่างเป็นทางการของการลงประชามติ 2 วันคราวนี้ จะออกมาได้ในสุดสัปดาห์นี้
โดฮา – ชาวอียิปต์จำนวนมากมายท่วมท้น ลงคะแนนสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยรัฐบาลชั่วคราวที่หนุนหลังโดยกองทัพ ทั้งนี้ตามการประกาศผลที่ออกมาในช่วงต้นๆ
ผลการนับคะแนนช่วงแรกๆ ดังกล่าว ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี (16 ม.ค.) ยังแสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ที่ออกมาใช้สิทธิลงประชามติซึ่งจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ อย่างน้อยที่สุดก็จะสูงกว่าพอประมาณ จากยอดผู้มาลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับปี 2012 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงการปกครองของประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี ผู้ถูกโค่นล้มตกจากอำนาจไปแล้ว
คะแนนอย่างไม่เป็นทางการจาก 25 ในจำนวนเขตผู้ว่าการ (governorate) ทั่วประเทศทั้งหมด 27 เขต แสดงให้เห็นว่าผู้ลงคะแนนถึง 97% โหวตรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีเพียงไม่ถึง 1% ที่ออกเสียงไม่รับรอง ส่วนที่เหลือเป็นบัตรเสียหรือบัตรที่ไม่สมบูรณ์
เขตผู้ว่าการอีก 2 เขตที่ยังไม่มีผลการนับคะแนนออกมา ได้แก่ ไคโร ซึ่งเป็นเขตผู้ว่าการที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ และ นอร์ท ไซไน (North Sinai)
แต่สำหรับผู้ที่ออกมาใช้สิทธินั้นมีจำนวน 17.4 ล้านคน หรือเท่ากับประมาณ 38% สูงกว่าครั้งปี 2012 ซึ่งมีประชาชน 17 ล้านคน หรือคิดคร่าวๆ เท่ากับ 33% ของผู้มีสิทธิ ได้ออกมาโหวต
กาลัล มุสตาฟา ซาอีด (Galal Mustafa Saeed) ผู้ว่าการเขตไคโร แถลงว่า ตัวเขาเองคาดหมายว่าจำนวนผู้ใช้สิทธิในนครหลวงแห่งนี้จะขึ้นไปที่ระดับ 40% ถึงแม้ตัวเลขนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนก็ตามที
ทางด้านสื่อมวลชนของทางการต่างออกมายกย่องสรรเสริญผลการลงประชามติคราวนี้ว่า เป็นการออกเสียงของ “ผู้คนส่วนข้างมากอย่างชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน” โดยที่ หนังสือพิมพ์ อัล-อาห์รัม (Al-Ahram) ของทางการอียิปต์ ถึงกับประกาศว่า “ชาวอียิปต์เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่สำหรับภูมิภาคนี้”
ขณะที่ พ.อ.อาเหม็ด อาลี โฆษกของกองทัพบก ก็แถลงว่า ผลที่ออกมาเช่นนี้ “ย้ำยืนยันให้เห็นว่าชาวอียิปต์คือประชากรผู้มีเสรีภาพเป็นรายแรกสุดในประวัติศาสตร์เท่าที่มีการจดบันทึกกันไว้” ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเอ็มอีเอ็นเอ ของทางการแดนไอยคุปต์
การลงประชามติเป็นเวลา 2 วันในวันที่ 14 และ 15 ม.ค. คราวนี้ คือการจัดให้ประชาชนได้ออกมาออกเสียงใช้สิทธิกันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่กองทัพโค่นล้มมอร์ซีในวันที่ 3 กรกฎาคมปีที่แล้ว โดยที่รัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้ จะนำมาใช้แทนที่ฉบับซึ่งร่างเมื่อปี 2012 ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระยะสั้นๆ ของมอร์ซี
ถึงแม้ไม่มีรายงานข่าวความรุนแรงใดๆ ในวันพุธ (15 ม.ค.) ทว่าในวันอังคาร (14 ม.ค.) นั้น มีผู้ถูกสังหารไปอย่างน้อย 11คนในเหตุปะทะซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังเกิดการระเบิดซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่อาคารศาลยุติธรรม ในย่านอิมบาบา (Imbaba) ของกรุงไคโร เพียง 2 ชั่วโมงก่อนจะมีการเปิดหน่วยลงประชามติให้ใช้สิทธิออกเสียง
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ส่วนที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กับฉบับก่อนก็คือ เปิดทางให้ฝ่ายทหารสามารถฟ้องร้องกล่าวโทษพลเรือน ที่ทำการโจมตีบุคลากรของกองทัพหรือสถาบันของกองทัพ
**เมื่อดูจากตัวเลข**
เขตผู้ว่าการที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นมากที่สุดในคราวนี้ ได้แก่ เซาท์ ไซไน (South Sinai) ซึ่งมีผู้โหวตถึง 91% ของผู้มีสิทธิลงคะแนน สูงขึ้นมากมายจากระดับเพียงแค่ 27% ในการลงประชามติคราวที่แล้ว ทั้งนี้พื้นที่แถบนี้ซึ่งเศรษฐกิจพึ่งพิงอาศัยการท่องเที่ยว ได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากภาวะไร้เสถียรภาพในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
จำนวนผู้ลงคะแนนก็สูงขึ้นเช่นกันในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ อันเป็นพื้นที่ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว ไม่มีความเป็นมิตรกับขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ของมอร์ซี
ทั้งนี้ในเขตผู้ว่าการ เมนูเฟีย (Minoufia) และ ดากอห์ลิยะห์ (Daqahliya) จำนวนผู้ใช้สิทธิเพิ่มสูงขึ้นราว 19% ส่วนในเขตผู้ว่าการ ชาร์กียะห์ (Sharqiya) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของมอร์ซี ก็เพิ่มขึ้น 15%
พื้นที่ซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิลดน้อยลงสูงที่สุดได้แก่ เขตผู้ว่าการ มาตรูห์ (Matrouh) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอียิปต์และเป็นเขตชายแดนอยู่ติดกับลิเบีย ที่นั่นมีผู้โหวตเพียงแค่ 20% น้อยลงมากจากระดับ 34% ในการลงประชามติปี 2012
บริเวณนี้มีประชากรจำนวนมากเป็นพวกศรัทธาในขบวนการซาลาฟี (Salafi) บ่งชี้ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในแถบนี้จำนวนมากเลือกที่จะอยู่กับบ้าน ถึงแม้พรรคนูร์ (Nour Party) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของพวกซาลาฟีที่ใหญ่ที่สุด เป็นผู้ที่สนับสนุนอย่างแข็งขันรายหนึ่งต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ตามที
จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิก็ต่ำเช่นกันในเขตผู้ว่าการ 2-3 เขต ซึ่งมีประชากรจำนวนมากเป็นพวกที่ศรัทธาในขบวนการภราดรภาพมุสลิม เป็นต้นว่า มิเนีย (Minya) และ เบนิ ซูเอฟ (Beni Suef)
คาดหมายกันว่าผลอย่างเป็นทางการของการลงประชามติคราวนี้จะออกมาได้ภายในวันเสาร์ (18 ม.ค.)
แหล่งข่าวรัฐบาลหลายรายระบุว่า หลังจากประกาศผลการลงประชามติรัฐธรรมนูญแล้ว อัดลี มันซูร์ (Adly Mansour) ประธานาธิบดีชั่วคราวที่แต่งตั้งโดยฝ่ายทหาร ก็จะออกกฤษฎีกา “ภายในเวลาไม่กี่วัน” ประกาศวันเลือกตั้งประธานาธิบดีและเลือกตั้งรัฐสภา โดยที่วางแผนเตรียมการกันไว้ว่าจะให้มีขึ้นภายในครึ่งปีแรกนี้
(รายงานชิ้นนี้จัดทำโดย อัล-ญะซีเราะห์ และเผยแพร่โดยสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส ตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายทำกันไว้)
Egyptians Say ‘Yes’ to New Constitution
By AJ Correspondents
17/01/2014
ผลการนับคะแนนในช่วงต้นๆ ที่ปรากฏออกมา บ่งชี้ให้เห็นว่าชาวอียิปต์จำนวนท่วมท้นพากันออกเสียงเห็นชอบให้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จัดร่างขึ้นโดยกองทัพ แต่ขณะที่สื่อมวลชนของทางการออกมาไชโยโห่ร้องแล้วว่า ผลลัพธ์ออกมาดีมากอย่างชนิด “ไม่เคยปรากฏมาก่อน” ในทางเป็นจริงเขตผู้ว่าการซึ่งมีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศคือ ไคโร ยังไม่ได้มีการนับคะแนนกันเลย อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดหมายกันว่าผลอย่างเป็นทางการของการลงประชามติ 2 วันคราวนี้ จะออกมาได้ในสุดสัปดาห์นี้
โดฮา – ชาวอียิปต์จำนวนมากมายท่วมท้น ลงคะแนนสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยรัฐบาลชั่วคราวที่หนุนหลังโดยกองทัพ ทั้งนี้ตามการประกาศผลที่ออกมาในช่วงต้นๆ
ผลการนับคะแนนช่วงแรกๆ ดังกล่าว ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี (16 ม.ค.) ยังแสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ที่ออกมาใช้สิทธิลงประชามติซึ่งจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ อย่างน้อยที่สุดก็จะสูงกว่าพอประมาณ จากยอดผู้มาลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับปี 2012 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงการปกครองของประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี ผู้ถูกโค่นล้มตกจากอำนาจไปแล้ว
คะแนนอย่างไม่เป็นทางการจาก 25 ในจำนวนเขตผู้ว่าการ (governorate) ทั่วประเทศทั้งหมด 27 เขต แสดงให้เห็นว่าผู้ลงคะแนนถึง 97% โหวตรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีเพียงไม่ถึง 1% ที่ออกเสียงไม่รับรอง ส่วนที่เหลือเป็นบัตรเสียหรือบัตรที่ไม่สมบูรณ์
เขตผู้ว่าการอีก 2 เขตที่ยังไม่มีผลการนับคะแนนออกมา ได้แก่ ไคโร ซึ่งเป็นเขตผู้ว่าการที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ และ นอร์ท ไซไน (North Sinai)
แต่สำหรับผู้ที่ออกมาใช้สิทธินั้นมีจำนวน 17.4 ล้านคน หรือเท่ากับประมาณ 38% สูงกว่าครั้งปี 2012 ซึ่งมีประชาชน 17 ล้านคน หรือคิดคร่าวๆ เท่ากับ 33% ของผู้มีสิทธิ ได้ออกมาโหวต
กาลัล มุสตาฟา ซาอีด (Galal Mustafa Saeed) ผู้ว่าการเขตไคโร แถลงว่า ตัวเขาเองคาดหมายว่าจำนวนผู้ใช้สิทธิในนครหลวงแห่งนี้จะขึ้นไปที่ระดับ 40% ถึงแม้ตัวเลขนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนก็ตามที
ทางด้านสื่อมวลชนของทางการต่างออกมายกย่องสรรเสริญผลการลงประชามติคราวนี้ว่า เป็นการออกเสียงของ “ผู้คนส่วนข้างมากอย่างชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน” โดยที่ หนังสือพิมพ์ อัล-อาห์รัม (Al-Ahram) ของทางการอียิปต์ ถึงกับประกาศว่า “ชาวอียิปต์เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่สำหรับภูมิภาคนี้”
ขณะที่ พ.อ.อาเหม็ด อาลี โฆษกของกองทัพบก ก็แถลงว่า ผลที่ออกมาเช่นนี้ “ย้ำยืนยันให้เห็นว่าชาวอียิปต์คือประชากรผู้มีเสรีภาพเป็นรายแรกสุดในประวัติศาสตร์เท่าที่มีการจดบันทึกกันไว้” ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเอ็มอีเอ็นเอ ของทางการแดนไอยคุปต์
การลงประชามติเป็นเวลา 2 วันในวันที่ 14 และ 15 ม.ค. คราวนี้ คือการจัดให้ประชาชนได้ออกมาออกเสียงใช้สิทธิกันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่กองทัพโค่นล้มมอร์ซีในวันที่ 3 กรกฎาคมปีที่แล้ว โดยที่รัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้ จะนำมาใช้แทนที่ฉบับซึ่งร่างเมื่อปี 2012 ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระยะสั้นๆ ของมอร์ซี
ถึงแม้ไม่มีรายงานข่าวความรุนแรงใดๆ ในวันพุธ (15 ม.ค.) ทว่าในวันอังคาร (14 ม.ค.) นั้น มีผู้ถูกสังหารไปอย่างน้อย 11คนในเหตุปะทะซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังเกิดการระเบิดซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่อาคารศาลยุติธรรม ในย่านอิมบาบา (Imbaba) ของกรุงไคโร เพียง 2 ชั่วโมงก่อนจะมีการเปิดหน่วยลงประชามติให้ใช้สิทธิออกเสียง
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ส่วนที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กับฉบับก่อนก็คือ เปิดทางให้ฝ่ายทหารสามารถฟ้องร้องกล่าวโทษพลเรือน ที่ทำการโจมตีบุคลากรของกองทัพหรือสถาบันของกองทัพ
**เมื่อดูจากตัวเลข**
เขตผู้ว่าการที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นมากที่สุดในคราวนี้ ได้แก่ เซาท์ ไซไน (South Sinai) ซึ่งมีผู้โหวตถึง 91% ของผู้มีสิทธิลงคะแนน สูงขึ้นมากมายจากระดับเพียงแค่ 27% ในการลงประชามติคราวที่แล้ว ทั้งนี้พื้นที่แถบนี้ซึ่งเศรษฐกิจพึ่งพิงอาศัยการท่องเที่ยว ได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากภาวะไร้เสถียรภาพในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
จำนวนผู้ลงคะแนนก็สูงขึ้นเช่นกันในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ อันเป็นพื้นที่ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว ไม่มีความเป็นมิตรกับขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ของมอร์ซี
ทั้งนี้ในเขตผู้ว่าการ เมนูเฟีย (Minoufia) และ ดากอห์ลิยะห์ (Daqahliya) จำนวนผู้ใช้สิทธิเพิ่มสูงขึ้นราว 19% ส่วนในเขตผู้ว่าการ ชาร์กียะห์ (Sharqiya) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของมอร์ซี ก็เพิ่มขึ้น 15%
พื้นที่ซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิลดน้อยลงสูงที่สุดได้แก่ เขตผู้ว่าการ มาตรูห์ (Matrouh) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอียิปต์และเป็นเขตชายแดนอยู่ติดกับลิเบีย ที่นั่นมีผู้โหวตเพียงแค่ 20% น้อยลงมากจากระดับ 34% ในการลงประชามติปี 2012
บริเวณนี้มีประชากรจำนวนมากเป็นพวกศรัทธาในขบวนการซาลาฟี (Salafi) บ่งชี้ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในแถบนี้จำนวนมากเลือกที่จะอยู่กับบ้าน ถึงแม้พรรคนูร์ (Nour Party) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของพวกซาลาฟีที่ใหญ่ที่สุด เป็นผู้ที่สนับสนุนอย่างแข็งขันรายหนึ่งต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ตามที
จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิก็ต่ำเช่นกันในเขตผู้ว่าการ 2-3 เขต ซึ่งมีประชากรจำนวนมากเป็นพวกที่ศรัทธาในขบวนการภราดรภาพมุสลิม เป็นต้นว่า มิเนีย (Minya) และ เบนิ ซูเอฟ (Beni Suef)
คาดหมายกันว่าผลอย่างเป็นทางการของการลงประชามติคราวนี้จะออกมาได้ภายในวันเสาร์ (18 ม.ค.)
แหล่งข่าวรัฐบาลหลายรายระบุว่า หลังจากประกาศผลการลงประชามติรัฐธรรมนูญแล้ว อัดลี มันซูร์ (Adly Mansour) ประธานาธิบดีชั่วคราวที่แต่งตั้งโดยฝ่ายทหาร ก็จะออกกฤษฎีกา “ภายในเวลาไม่กี่วัน” ประกาศวันเลือกตั้งประธานาธิบดีและเลือกตั้งรัฐสภา โดยที่วางแผนเตรียมการกันไว้ว่าจะให้มีขึ้นภายในครึ่งปีแรกนี้
(รายงานชิ้นนี้จัดทำโดย อัล-ญะซีเราะห์ และเผยแพร่โดยสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส ตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายทำกันไว้)