เอเจนซีส์ - ในกรุงโตเกียว คณะกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติได้เปิดการรับฟังข้อมูลเป็นครั้งแรก ในเวลา 2 วันตั้งแต่วันพฤหัสบดี(28)ที่ผ่านมา ให้กับบรรดาครอบครัวของเหยื่อชาวญี่ปุ่นที่ถูกทางการเกาหลีเหนือลักพาตัวเข้าไปคุมขังที่กรุงเปียงยางในยุค 70 และ 80
คณะกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นที่มีสมาชิก 3 คนได้เข้าตรวจสอบเกี่ยวกับการถูกลักพาตัวของชาวญี่ปุ่นและชาติอื่นๆไปยังเกาหลีเหนือ และการคุมขังนักโทษทางการเมืองในกรุงเปียงยาง โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้รับการแต่งตั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และการเปิดรับฟังข้อมูลนี้เพื่อจัดทำรายงานเสนอต่อสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนมีนาคมปี 2514
โดยการเปิดรับฟังข้อมูลได้เริ่มขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่กรุงโตเกียว ตั้งแต่ในวันพฤหัสบดี(28)ที่ผ่านมา ประธานคณะกรรมการใต่สวน ไมเคิล เคอร์บี อดีตผู้พิพากษาชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า ทางเกาหลีเหนือไม่ได้ตอบว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมการใต่สวนครั้งนี้หรือไม่ เป็นที่น่าสนใจว่าการมาของคณะสิทธิของยูเอ็นที่กรุงโตเกียวครั้งนี้บังเอิญประจวบเหมะกับทูตพิเศษสหรัฐฯที่ได้เดินทางเข้าเกาหลีเหนือเมื่อวันศุกร์(30)เพื่อหาทางปล่อยตัวทัวร์โอเปอร์เรเตอร์ชาวอเมริกันที่ถูกจับขังด้วยโทษการเมืองในเกาหลีเหนือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้
ซากี โยโกตะ วัย 77 ปี หนึ่งในครอบครัวของเหยื่อถูกลักพาตัวเผยว่า ลูกสาวของเธอ “เมกูมิ” วัย 13ปีได้หายตัวไป ในปี 1977 และเธอกล่าวต่อไปว่า หลังจาก 20ปีที่ตามหาลูกสาวเธอด้วยความรู้สึกหวังว่าเมกูมิยังมีชีวิตอยู่ โยโกตะเพิ่งรับรู้ว่าเมกูมิยังมีชีวิตอยู่ที่กรุงเปียงยาง เธอรู้สึกเศร้ามากเมื่อเห็นภาพลูกสาวตัวเองที่ถูกจับขังไว้ในเกาหลีเหนือโดยที่เธอไม่สามารถที่จะช่วยเหลืออกมาได้
ทางด้านญาติของเหยื่อถูกลักพาตัวรายอื่น ชิเกโอะ อิซูกะ พี่ชายของยาอิโกะ ทากูชิ ถูกเกาหลีเหนือจับตัวไปในปี 1978 เมื่อเธอมีอายุได้ 22 ปี ได้กล่าวว่า “มีแต่ทางเกาหลีเหนือเท่านั้นที่รู้จำนวนแน่ชัดของคนที่ถูกลักพาตัวไป เราต้องการมาตรการใหม่ เช่น การตั้งคณะกรรมการไปเกาหลีเหนือเพื่อการค้นหาความจริงในเรื่องนี้”
โดยในยุค 70-80นั้นเกาหลีเหนือได้ทำการจับกุมคนหลากเชื้อชาติเพื่อเข้าโครงการฝึกสายลับของเกาหลีเหนือ เช่นการฝึกภาษาและวัฒนธรรม โดยคาดว่าอาจมีชาวญี่ปุ่นหลายร้อยคนตกเป็นเหยื่อการถูกลักพาตัวในครั้งนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเกาหลีเหนือปฎิเสธและไม่ยอมให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบ