xs
xsm
sm
md
lg

“ช้าง” อินเดียตาย แพทย์ชี้ถูกใช้ออกงานมากเกินไป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ควาญช้างของเจ้าบิจลีอยู่ในอาการเศร้าโศกและนั่งอยู่ข้างๆมันหลังจากมันตาย
เอเอฟพี - เนื่องด้วยการโหมงานหนักเกินไปและน้ำหนักตัวที่มากเกินของช้างในมุมไบ ซึ่งสภาพอันเลวร้ายของช้างตัวนี้ชี้ให้เห็นถึงการขาดความดูแลเอาใจใส่ต่อสัตว์ที่ไม่ต่างกับนักแสดงบนถนน และสุดท้ายต้องจบชีวิตลงหลังจากการต่อสู้เพื่อยื้อชีวิตของเธอไว้หลายสัปดาห์ สัตวแพทย์ กล่าวในวันจันทร์ (1)

ช้างพังวัย 58 ปี ตัวนี้มีชื่อว่า บิจลี เสียชีวิตในวันอาทิตย์ (30) ด้วยภาวะโรคแทรกซ้อนในวัยชรา และการเสื่อมของกล้ามเนื้อขาและภาวะข้ออักเสบ เจ.ซี.คันนา เลขาสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งบอมเบย์ บอกต่อเอเอฟพี

“เธอตายเพราะการถูกละเลย การขาดความสำนึกและการทารุณกรรม” คันนา สัตวแพทย์และที่ปรึกษาผู้เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่พยายามช่วยชีวิตช้างพังตัวนี้ กล่าว

บิจลี ซึ่งชื่อนี้ของเธอแปลว่าสายฟ้า เธอได้ก่อประกายความปวดร้าวขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์และบรรดาดาราบอลลีวูด หลังจากที่พบว่าเธอนอนจมความเจ็บปวดเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ในแถบชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ และไม่สามารถเดินได้หลังจากการถูกละเลยและการถูกใช้งานมากเกินไปเป็นเวลาหลายทศวรรษ

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายงานว่า เจ้าของของบิจลีใช้ให้เธอเดินรับบริจาคตามถนนและทำการแสดงตามงานแต่งงานต่างๆ โดยไม่ได้หยุดพักเลยเป็นเวลานานกว่า 50 ปี

อย่างไรก็ตาม ภาพของสัตว์เดินตามท้องถนนของเมืองต่างๆ ในอินเดียนั้นนับเป็นเรื่องชินตา ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุมอย่างเป็นทางการในมุมไบซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียแล้วก็ตาม

โดยปกติแล้วการจะนำช้างออกมาใช้ในเมืองได้นั้นจะได้รับการยินยอมก็ต่อเมื่อเป็นโอกาสต่างๆ ทางศาสนาเท่านั้น

สัตวแพทย์กล่าวว่าเจ้าของเจ้าบิจลีนั้นให้แต่พวกอาหารขยะ (junk food) เช่นพวกมันฝรั่งทอด และขนมขบเคี้ยวให้เธอกินเป็นเวลาหลายปี ซึ่งปกติแล้วช้างในแถบเอเชียจะกินหญ้า ส่วนต่างๆของพืช และเปลือกไม้เพื่อดำรงชีวิต

นิเลช ภานาช นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมสงเคราะห์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บอกต่อหนังสือพิมพ์ ไทม์ ออฟ อินเดีย ว่า “ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต้องหยุดยั้งการทารุณกรรมต่อช้างที่เพิ่มมากขึ้น เราไม่ต้องการให้มีกรณีแบบ “บิจลี” เพิ่มไปมากกว่านี้”

ทั้งนี้อินเดียเป็นบ้านของช้างป่าเอเชียราว 25,000 ตัว แต่จำนวนดังกล่าวกำลังลดลงอย่างมาก สืบเนื่องจากการบุรุกเข้าไปล่าสัตว์และการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันโดยมนุษย์
กำลังโหลดความคิดเห็น