(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Rallies replace riots in Malaysia
By Chin Huat Wong
13/05/13
ภายหลังการเลือกตั้งในมาเลเซียเมื่อปี 1969 ได้เกิดการปะทะกันระหว่างคนต่างชาติพันธุ์ ซึ่งก็คือระหว่างชาวมาเลย์กับชาวจีน และเหตุการณ์จลาจลอันรุนแรง โดยตามตัวเลขของทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิตไปราว 200 คน สถานการณ์ดังกล่าวกลายเป็นการแผ้วถางทางให้แก่การเข้าปกครองประเทศด้วยการใช้อำนาจในภาวะฉุกเฉินอยู่เป็นเวลา 2 ปี อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเป็นต้นมาประเทศนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทั้งนี้ในขณะที่ผลการเลือกตั้งในเดือนนี้ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป ได้นำไปสู่การจัดการชุมนุมประท้วงอย่างไม่ขาดสาย โดยสามารถดึงดูดพลเมืองผู้โกรธเกรี้ยวให้เข้าร่วมได้นับหมื่นนับแสนคนนั้น ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมเหล่านี้กลับมาจากหลายหลากชาติพันธุ์หลายหลากเชื้อชาติคละเคล้ากัน และส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มวัยสาว ในสภาวการณ์เช่นนี้ สิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 1969 นั้น ดูไม่น่าที่จะเกิดซ้ำรอยขึ้นมาอีกแล้ว
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กัวลาลัมเปอร์ – เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 1969 เมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียมีสภาพไม่ต่างอะไรกับนรกในแดนมนุษย์ ยวดยานพาหนะ, อาคารบ้านเรือน, และสติสัมปชัญญะของประเทศชาติ ล้วนแต่ถูกจุดไฟเผาผลาญ การปะทะต่อสู้กันระหว่างคนเชื้อสายมาเลย์กับคนเชื้อสายจีนในคราวนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 196 คน ตามตัวเลขประมาณการอย่างเป็นทางการของตำรวจ ในขณะที่พวกผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศประมาณการจำนวนคนตายสูงกว่านั้นถึงสิบเท่าตัว
การจลาจลในคราวนั้นซึ่งจุดชนวนขึ้นจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 10 พฤษภาคม 1969 ได้กลายเป็นการแผ้วถางทางให้รัฐบาลเข้าปกครองประเทศโดยใช้อำนาจในภาวะฉุกเฉินอยู่เป็นเวลา 2 ปี และส่งผลทำให้ทั้งการเมืองและสังคมเกิดความความเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับรากฐาน ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรที่เป็นผู้ปกครองมาเลเซียในเวลานั้น ซึ่งใช้ชื่อว่า “พรรคพันธมิตร” (Alliance Party) และมีสภาพเป็นแนวร่วมของพรรคการเมือง 3 พรรคที่เป็นตัวแทนของชุมชนชาวมาเลย์, ชาวจีน, และชาวอินเดีย ตลอดจนพวกพันธมิตรระดับภูมิภาคของพรรคทั้ง 3 เหล่านี้ที่อยู่ในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค ค้นพบจากผลการเลือกตั้งคราวนั้นว่า ตนเองกำลังถูกบีบคั้นกดดันอย่างหนัก ทั้งจากพวกฝ่ายค้านที่เป็นชาวมาเลย์และที่ไม่ใช่ชาวมาเลย์
พิจารณาจากตัวคะแนนเสียงของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเฉพาะส่วนที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่มาเลเซีย ปรากฏว่าพรรครวมอิสลามมาเลเซีย (Pan-Malaysia Islamic Party ใช้อักษรย่อว่า PAS) ที่เป็นฝ่ายค้าน ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้นจาก 15% ในการเลือกตั้งปี 1964 เป็น 24% ในการเลือกตั้งปี 1969 จึงกลายเป็นการคุกคามโดยตรงต่อพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ (United Malays National Organization's ใช้อักษรย่อว่า UMNO) แกนนำสำคัญที่สุดใน “พรรคพันธมิตร” ที่เป็นผู้ปกครองประเทศ เนื่องจากอัมโนประกาศอ้างตนเรื่อยมาว่าเป็นตัวแทนทางการเมืองแต่เพียงผู้เดียวของชาวชาติพันธุ์มาเลย์ ในทางตรงกันข้าม คะแนนเสียงของผู้ไปใช้สิทธิซึ่งกาบัตรให้แก่พวกฝ่ายค้านที่มิใช่พรรคของชาวมาเลย์นั้น ยังอยู่ในระดับคงที่เท่าเดิมที่ประมาณ 26%
แต่ต้องขอบคุณระบบการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบใครได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งก็ถือเป็นผู้ชนะได้ที่นั่งในเขตเลือกตั้งนั้นไปแต่เพียงผู้เดียว (first-past-the-post voting system) รวมทั้งการใช้ยุทธศาสตร์การส่งตัวผู้สมัครของฝ่ายค้านซึ่งพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้พวกเขาต้องเกิดการแข่งขันกันเอง เมื่อปรากฏว่าพวกพรรคฝ่ายค้านที่มิใช่ชาวมาเลย์กลับได้ที่นั่งในรัฐสภาของพวกเขาเพิ่มสูงขึ้นจากจำนวน 6 ที่นั่งในปี 1964 กลายเป็น 22 ที่นั่งในปี 1969 ในเวลาเดียวกัน พรรค PAS กลับมีที่นั่งเพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ จาก 9 ที่นั่ง เป็น 12 ที่นั่ง การที่พวกฝ่ายค้านที่มิใช่ตัวแทนชาวมาเลย์ได้ที่นั่ง ส.ส.มากขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำเช่นนี้ ได้รับการตีความเอาอย่างง่ายๆ ตื้นๆ ในเวลานั้นว่า คือการที่คนเชื้อจีนกำลังท้าทายอำนาจครอบงำทางการเมืองของคนเชื้อมาเลย์
ยิ่งเมื่อพรรคสมาคมชาวจีนมาเลเซีย (Malaysian Chinese Association ใช้อักษรย่อว่า MCA) ซึ่งเป็น 1 ในสมาชิกที่มีฐานะด้อยกว่าของ อัมโน ภายในพรรคพันธมิตร มีมติตัดสินใจที่จะไม่ขอเข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นการแสดงความเคารพการตัดสินของประชาชน สืบเนื่องจากพวกเขาประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งวันที่ 10 พฤษภาคม 1969 ช่างเคราะห์ร้ายเหลือเกินที่เรื่องนี้กลับถูกมองว่า คือการที่ชาวจีนตัดสินใจถอนตัวไม่เข้าร่วมกับ อัมโน ในการจัดสรรแบ่งปันอำนาจให้แก่ชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ แล้ว
ภายหลังเกิดการจลาจลครั้งนั้นแล้ว ทำให้มีการถ่ายโอนอำนาจจาก ตนกู อับดุล เราะห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย มายังรองนายกรัฐมนตรีของเขา คือ อับดุล ราซัค ฮุสเซน (Abdul Razak Hussein) ซึ่งเป็นบิดาของ นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนั่นเอง ยิ่งกว่านั้น จากผลพวงสืบเนื่องของการจลาจลคราวนั้น อับดุล ราซัค ได้เดินหน้าดำเนินนโยบายต่างๆ เป็นชุดใหญ่ที่มุ่งส่งเสริมเพิ่มพูนอำนาจและผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ ในนโยบายเหล่านี้สิ่งที่สำคัญที่สุดย่อมได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy ใช้อักษรย่อว่า NEP) และการชักจูงดึงเอาพวกฝ่ายค้านส่วนใหญ่เข้ามาไว้ในแนวร่วม “บารีซัน นาซีโอนัล” (Barisan Nasional ใช้อักษรย่อว่า BN แปลว่า แนวร่วมแห่งชาติ) ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นเพิ่มขยายของพรรคพันธมิตรที่เป็นรัฐบาลปกครองประเทศอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง จากความเคลื่อนไหวในประการหลังนี้ ในทางเป็นจริงแล้วเท่ากับเขาสร้างรัฐที่ปกครองโดยพรรคเดียวขึ้นมาทว่ายังคงรักษารูปแบบการเลือกตั้งเอาไว้ ระบบดังกล่าวนี้อยู่ยงคงกระพันสืบต่อมาอีกหลายสิบปีจวบจนกระทั่งถึงปี 2008 เมื่อพวกพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งในเวลาต่อมาได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตร ปากาตัน รักยัต (Pakatan Rakyat ใช้อักษรย่อว่า PR แปลว่า ภาคีประชาชน) ได้คะแนนเสียงอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ในการเลือกตั้งทั่วไปปีนั้น
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ดังที่พรรณนามาเหล่านี้ ยังคงมีคุณค่าควรแก่การย้อนกลับไปศึกษาทบทวน เนื่องจากประวัติศาสตร์ทำท่าว่าจะซ้ำรอยตนเองในหลายๆ แง่มุมทีเดียว ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุดที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ก็ทำนองเดียวกับสิ่งที่เคยเกิดขั้นในปี 1969 บารีซัน นาซีโอนัล ได้คะแนนจากผู้ออกเสียงลดน้อยลง โดยในปี 2013 นี้ แนวร่วมแห่งชาตินี้ถึงขนาดได้เสียงโหวตจากผู้มาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ โดยได้ไปเพียง 47% ทั้งๆ ที่มีการกล่าวหากันอย่างหนักเกี่ยวกับความไม่ปกติและการทุจริตคดโกงการเลือกตั้งอย่างกว้างขวางและโจ๋งครึ่ม กระนั้นก็ตามที จากการจัดแบ่งเขตเลือกตั้งที่มิได้คำนึงถึงเหตุผลความเป็นธรรมหากแต่มุ่งเพื่อทำให้ฝ่ายรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงทำให้ บารีซัน นาซีโอนัล ยังคงรักษาที่นั่ง 60% ของที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภาเอาไว้ได้
ปฏิกิริยาตอบสนองแรกสุดของนาจิบ จากการที่ บารีซัน นาซีโอนัล ได้คะแนนเสียงจากผู้ใช้สิทธิอย่างลดฮวบ ก็คือ การกล่าวโทษว่า ความเพลี่ยงพล้ำในการเลือกตั้งคราวนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการแปรพักตร์ของคนจีน โดยเขาเรียกขานว่า นี่เป็น “คลื่นสึนามิชาวจีน” (Chinese tsunami) ที่โถมซัดใส่แนวร่วมแห่งชาติ สำหรับกลุ่มพันธมิตรฝ่ายค้าน ปากาตัน รักยัต นั้น ปรากฏว่าคว้าที่นั่งในรัฐสภาไปเพียงแค่ 40% ถึงแม้ได้คะแนนเสียงโหวตของผู้ออกมาใช้สิทธิได้เกินกึ่งหนึ่ง นั่นคือ 51% ก็ตามที
หากพิจารณาแยกไปทีละพรรค ในจำนวน 3 พรรคการเมืองที่มาจับมือกันเป็นพันธมิตรฝ่ายค้าน พรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party ใช้อักษรย่อว่า DAP) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนจีน ได้คะแนนนิยมสูงขึ้นจาก 14% ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2008 เป็น 15% ในครั้งนี้ ขณะที่พรรคปาส ก็ได้เสียงจากผู้ใช้สิทธิสูงขึ้น จาก 14% เป็น 15% ส่วนพรรคยุติธรรมประชาชน (People's Justice Party ใช้อักษรย่อว่า PKR) ซึ่งมีแนวทางกลางๆ และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์นั้น ได้คะแนนจากผู้ออกเสียง 20% เปรียบเทียบกับระดับ 19% ที่พรรคนี้ได้รับมาเมื่อ 5 ปีก่อน
ต้องแสดงความขอบคุณอีกครั้งสำหรับระบบการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบใครได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งก็ถือเป็นผู้ชนะได้ที่นั่งในเขตเลือกตั้งนั้นไปแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปรากฏว่าพรรคกิจประชาธิปไตย กลายเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดโดยได้ที่นั่งในรัฐสภาไปทั้งสิ้น 38 ที่นั่ง ขณะที่พรรค PKR และพรรคปาส สูญเสียที่นั่งไป 1 และ 2 ที่นั่งตามลำดับ จนเหลือเพียง 30 และ 21 ที่นั่ง ทั้งๆ ที่พวกเขาต่างได้รับคะแนนเลือกตั้งมากขึ้นกว่าที่เคยได้รับในปี 2008
ชิน ฮวด หว่อง เป็นนักวิจัยอยู่ที่สถาบันปีนัง (Penang Institute) องค์กรคลังสมองที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเอสเสกซ์ (University of Essex), สหราชอาณาจักร โดยทำวิทยานิพนธ์ซึ่งเน้นหนักที่ระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองของมาเลเซีย นอกจากนั้น เขายังเป็นสมาชิกคนหนึ่งในคณะกรรมการนำร่องของกลุ่มพันธมิตรเพื่อการเลือกตั้งที่สะอาดและยุติธรรม 2.0 (Coalition for Clean and Fair Elections 2.0) หรือที่รู้จักกันในนาม เบอร์ซิห์ 2.0 (Bersih 2.0)
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Rallies replace riots in Malaysia
By Chin Huat Wong
13/05/13
ภายหลังการเลือกตั้งในมาเลเซียเมื่อปี 1969 ได้เกิดการปะทะกันระหว่างคนต่างชาติพันธุ์ ซึ่งก็คือระหว่างชาวมาเลย์กับชาวจีน และเหตุการณ์จลาจลอันรุนแรง โดยตามตัวเลขของทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิตไปราว 200 คน สถานการณ์ดังกล่าวกลายเป็นการแผ้วถางทางให้แก่การเข้าปกครองประเทศด้วยการใช้อำนาจในภาวะฉุกเฉินอยู่เป็นเวลา 2 ปี อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเป็นต้นมาประเทศนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทั้งนี้ในขณะที่ผลการเลือกตั้งในเดือนนี้ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป ได้นำไปสู่การจัดการชุมนุมประท้วงอย่างไม่ขาดสาย โดยสามารถดึงดูดพลเมืองผู้โกรธเกรี้ยวให้เข้าร่วมได้นับหมื่นนับแสนคนนั้น ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมเหล่านี้กลับมาจากหลายหลากชาติพันธุ์หลายหลากเชื้อชาติคละเคล้ากัน และส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มวัยสาว ในสภาวการณ์เช่นนี้ สิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 1969 นั้น ดูไม่น่าที่จะเกิดซ้ำรอยขึ้นมาอีกแล้ว
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กัวลาลัมเปอร์ – เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 1969 เมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียมีสภาพไม่ต่างอะไรกับนรกในแดนมนุษย์ ยวดยานพาหนะ, อาคารบ้านเรือน, และสติสัมปชัญญะของประเทศชาติ ล้วนแต่ถูกจุดไฟเผาผลาญ การปะทะต่อสู้กันระหว่างคนเชื้อสายมาเลย์กับคนเชื้อสายจีนในคราวนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 196 คน ตามตัวเลขประมาณการอย่างเป็นทางการของตำรวจ ในขณะที่พวกผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศประมาณการจำนวนคนตายสูงกว่านั้นถึงสิบเท่าตัว
การจลาจลในคราวนั้นซึ่งจุดชนวนขึ้นจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 10 พฤษภาคม 1969 ได้กลายเป็นการแผ้วถางทางให้รัฐบาลเข้าปกครองประเทศโดยใช้อำนาจในภาวะฉุกเฉินอยู่เป็นเวลา 2 ปี และส่งผลทำให้ทั้งการเมืองและสังคมเกิดความความเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับรากฐาน ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรที่เป็นผู้ปกครองมาเลเซียในเวลานั้น ซึ่งใช้ชื่อว่า “พรรคพันธมิตร” (Alliance Party) และมีสภาพเป็นแนวร่วมของพรรคการเมือง 3 พรรคที่เป็นตัวแทนของชุมชนชาวมาเลย์, ชาวจีน, และชาวอินเดีย ตลอดจนพวกพันธมิตรระดับภูมิภาคของพรรคทั้ง 3 เหล่านี้ที่อยู่ในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค ค้นพบจากผลการเลือกตั้งคราวนั้นว่า ตนเองกำลังถูกบีบคั้นกดดันอย่างหนัก ทั้งจากพวกฝ่ายค้านที่เป็นชาวมาเลย์และที่ไม่ใช่ชาวมาเลย์
พิจารณาจากตัวคะแนนเสียงของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเฉพาะส่วนที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่มาเลเซีย ปรากฏว่าพรรครวมอิสลามมาเลเซีย (Pan-Malaysia Islamic Party ใช้อักษรย่อว่า PAS) ที่เป็นฝ่ายค้าน ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้นจาก 15% ในการเลือกตั้งปี 1964 เป็น 24% ในการเลือกตั้งปี 1969 จึงกลายเป็นการคุกคามโดยตรงต่อพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ (United Malays National Organization's ใช้อักษรย่อว่า UMNO) แกนนำสำคัญที่สุดใน “พรรคพันธมิตร” ที่เป็นผู้ปกครองประเทศ เนื่องจากอัมโนประกาศอ้างตนเรื่อยมาว่าเป็นตัวแทนทางการเมืองแต่เพียงผู้เดียวของชาวชาติพันธุ์มาเลย์ ในทางตรงกันข้าม คะแนนเสียงของผู้ไปใช้สิทธิซึ่งกาบัตรให้แก่พวกฝ่ายค้านที่มิใช่พรรคของชาวมาเลย์นั้น ยังอยู่ในระดับคงที่เท่าเดิมที่ประมาณ 26%
แต่ต้องขอบคุณระบบการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบใครได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งก็ถือเป็นผู้ชนะได้ที่นั่งในเขตเลือกตั้งนั้นไปแต่เพียงผู้เดียว (first-past-the-post voting system) รวมทั้งการใช้ยุทธศาสตร์การส่งตัวผู้สมัครของฝ่ายค้านซึ่งพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้พวกเขาต้องเกิดการแข่งขันกันเอง เมื่อปรากฏว่าพวกพรรคฝ่ายค้านที่มิใช่ชาวมาเลย์กลับได้ที่นั่งในรัฐสภาของพวกเขาเพิ่มสูงขึ้นจากจำนวน 6 ที่นั่งในปี 1964 กลายเป็น 22 ที่นั่งในปี 1969 ในเวลาเดียวกัน พรรค PAS กลับมีที่นั่งเพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ จาก 9 ที่นั่ง เป็น 12 ที่นั่ง การที่พวกฝ่ายค้านที่มิใช่ตัวแทนชาวมาเลย์ได้ที่นั่ง ส.ส.มากขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำเช่นนี้ ได้รับการตีความเอาอย่างง่ายๆ ตื้นๆ ในเวลานั้นว่า คือการที่คนเชื้อจีนกำลังท้าทายอำนาจครอบงำทางการเมืองของคนเชื้อมาเลย์
ยิ่งเมื่อพรรคสมาคมชาวจีนมาเลเซีย (Malaysian Chinese Association ใช้อักษรย่อว่า MCA) ซึ่งเป็น 1 ในสมาชิกที่มีฐานะด้อยกว่าของ อัมโน ภายในพรรคพันธมิตร มีมติตัดสินใจที่จะไม่ขอเข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นการแสดงความเคารพการตัดสินของประชาชน สืบเนื่องจากพวกเขาประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งวันที่ 10 พฤษภาคม 1969 ช่างเคราะห์ร้ายเหลือเกินที่เรื่องนี้กลับถูกมองว่า คือการที่ชาวจีนตัดสินใจถอนตัวไม่เข้าร่วมกับ อัมโน ในการจัดสรรแบ่งปันอำนาจให้แก่ชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ แล้ว
ภายหลังเกิดการจลาจลครั้งนั้นแล้ว ทำให้มีการถ่ายโอนอำนาจจาก ตนกู อับดุล เราะห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย มายังรองนายกรัฐมนตรีของเขา คือ อับดุล ราซัค ฮุสเซน (Abdul Razak Hussein) ซึ่งเป็นบิดาของ นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนั่นเอง ยิ่งกว่านั้น จากผลพวงสืบเนื่องของการจลาจลคราวนั้น อับดุล ราซัค ได้เดินหน้าดำเนินนโยบายต่างๆ เป็นชุดใหญ่ที่มุ่งส่งเสริมเพิ่มพูนอำนาจและผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ ในนโยบายเหล่านี้สิ่งที่สำคัญที่สุดย่อมได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy ใช้อักษรย่อว่า NEP) และการชักจูงดึงเอาพวกฝ่ายค้านส่วนใหญ่เข้ามาไว้ในแนวร่วม “บารีซัน นาซีโอนัล” (Barisan Nasional ใช้อักษรย่อว่า BN แปลว่า แนวร่วมแห่งชาติ) ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นเพิ่มขยายของพรรคพันธมิตรที่เป็นรัฐบาลปกครองประเทศอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง จากความเคลื่อนไหวในประการหลังนี้ ในทางเป็นจริงแล้วเท่ากับเขาสร้างรัฐที่ปกครองโดยพรรคเดียวขึ้นมาทว่ายังคงรักษารูปแบบการเลือกตั้งเอาไว้ ระบบดังกล่าวนี้อยู่ยงคงกระพันสืบต่อมาอีกหลายสิบปีจวบจนกระทั่งถึงปี 2008 เมื่อพวกพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งในเวลาต่อมาได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตร ปากาตัน รักยัต (Pakatan Rakyat ใช้อักษรย่อว่า PR แปลว่า ภาคีประชาชน) ได้คะแนนเสียงอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ในการเลือกตั้งทั่วไปปีนั้น
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ดังที่พรรณนามาเหล่านี้ ยังคงมีคุณค่าควรแก่การย้อนกลับไปศึกษาทบทวน เนื่องจากประวัติศาสตร์ทำท่าว่าจะซ้ำรอยตนเองในหลายๆ แง่มุมทีเดียว ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุดที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ก็ทำนองเดียวกับสิ่งที่เคยเกิดขั้นในปี 1969 บารีซัน นาซีโอนัล ได้คะแนนจากผู้ออกเสียงลดน้อยลง โดยในปี 2013 นี้ แนวร่วมแห่งชาตินี้ถึงขนาดได้เสียงโหวตจากผู้มาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ โดยได้ไปเพียง 47% ทั้งๆ ที่มีการกล่าวหากันอย่างหนักเกี่ยวกับความไม่ปกติและการทุจริตคดโกงการเลือกตั้งอย่างกว้างขวางและโจ๋งครึ่ม กระนั้นก็ตามที จากการจัดแบ่งเขตเลือกตั้งที่มิได้คำนึงถึงเหตุผลความเป็นธรรมหากแต่มุ่งเพื่อทำให้ฝ่ายรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงทำให้ บารีซัน นาซีโอนัล ยังคงรักษาที่นั่ง 60% ของที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภาเอาไว้ได้
ปฏิกิริยาตอบสนองแรกสุดของนาจิบ จากการที่ บารีซัน นาซีโอนัล ได้คะแนนเสียงจากผู้ใช้สิทธิอย่างลดฮวบ ก็คือ การกล่าวโทษว่า ความเพลี่ยงพล้ำในการเลือกตั้งคราวนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการแปรพักตร์ของคนจีน โดยเขาเรียกขานว่า นี่เป็น “คลื่นสึนามิชาวจีน” (Chinese tsunami) ที่โถมซัดใส่แนวร่วมแห่งชาติ สำหรับกลุ่มพันธมิตรฝ่ายค้าน ปากาตัน รักยัต นั้น ปรากฏว่าคว้าที่นั่งในรัฐสภาไปเพียงแค่ 40% ถึงแม้ได้คะแนนเสียงโหวตของผู้ออกมาใช้สิทธิได้เกินกึ่งหนึ่ง นั่นคือ 51% ก็ตามที
หากพิจารณาแยกไปทีละพรรค ในจำนวน 3 พรรคการเมืองที่มาจับมือกันเป็นพันธมิตรฝ่ายค้าน พรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party ใช้อักษรย่อว่า DAP) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนจีน ได้คะแนนนิยมสูงขึ้นจาก 14% ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2008 เป็น 15% ในครั้งนี้ ขณะที่พรรคปาส ก็ได้เสียงจากผู้ใช้สิทธิสูงขึ้น จาก 14% เป็น 15% ส่วนพรรคยุติธรรมประชาชน (People's Justice Party ใช้อักษรย่อว่า PKR) ซึ่งมีแนวทางกลางๆ และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์นั้น ได้คะแนนจากผู้ออกเสียง 20% เปรียบเทียบกับระดับ 19% ที่พรรคนี้ได้รับมาเมื่อ 5 ปีก่อน
ต้องแสดงความขอบคุณอีกครั้งสำหรับระบบการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบใครได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งก็ถือเป็นผู้ชนะได้ที่นั่งในเขตเลือกตั้งนั้นไปแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปรากฏว่าพรรคกิจประชาธิปไตย กลายเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดโดยได้ที่นั่งในรัฐสภาไปทั้งสิ้น 38 ที่นั่ง ขณะที่พรรค PKR และพรรคปาส สูญเสียที่นั่งไป 1 และ 2 ที่นั่งตามลำดับ จนเหลือเพียง 30 และ 21 ที่นั่ง ทั้งๆ ที่พวกเขาต่างได้รับคะแนนเลือกตั้งมากขึ้นกว่าที่เคยได้รับในปี 2008
ชิน ฮวด หว่อง เป็นนักวิจัยอยู่ที่สถาบันปีนัง (Penang Institute) องค์กรคลังสมองที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเอสเสกซ์ (University of Essex), สหราชอาณาจักร โดยทำวิทยานิพนธ์ซึ่งเน้นหนักที่ระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองของมาเลเซีย นอกจากนั้น เขายังเป็นสมาชิกคนหนึ่งในคณะกรรมการนำร่องของกลุ่มพันธมิตรเพื่อการเลือกตั้งที่สะอาดและยุติธรรม 2.0 (Coalition for Clean and Fair Elections 2.0) หรือที่รู้จักกันในนาม เบอร์ซิห์ 2.0 (Bersih 2.0)
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)