(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Turkmenistan goes green, and is happy
By Deana Kjuka & RFE/RL's Turkmen Service
14/03/2013
ประธานาธิบดีกุรบันกูลีย์ เบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ แห่งเติร์กเมนิสถาน ประเทศเอเชียกลางซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย กำลังเร่งรัดผลักดันโครงการปลูกต้นไม้เป็นจำนวน 3 ล้านต้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงเติร์กเมนิสถานให้กลายเป็น “สวนสวยเบ่งบานและเพิ่มพูนธรรมชาติอันงดงามของประเทศให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งมีทั้งอำนาจและความสุข” ดูเหมือนว่าเขากำลังประสบ “ความสำเร็จ” เป็นอันดีทีเดียว เมื่อมีกลุ่มหญิงสาวออกมาเริงระบำ ณ จุดปลูกต้นไม้จุดหนึ่ง พร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญเยินยอเขาว่า “ทั่วทั้งชาติกำลังปรบมือชมเชยฯพณฯท่าน ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความสุข ท่านผู้พิทักษ์ของเราจงเจริญ”
ประธานาธิบดีกุรบันกูลีย์ เบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ (Gurbanguly Berdymukhammedov) แห่งเติร์กเมนิสถาน ลงนามประกาศใช้กฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีเนื้อหาสั่งการให้กระทรวงต่างๆ ต้องปลูกต้นไม้ให้ได้เป็นจำนวน 3 ล้านต้นในปี 2013 นี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศเอเชียกลางซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห่งนี้ ให้กลายเป็น “สวนสวยเบ่งบานและเพิ่มพูนธรรมชาติอันงดงามของประเทศให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งมีทั้งอำนาจและความสุข”
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/ฟรีลิเบอร์ตี ภาคภาษาเติร์กเมน (RFE/RL's Turkmen Service) รายงานว่า พนักงานลูกจ้างในภาครัฐ รวมทั้งพวกที่กำลังทำงานอยู่ตามโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในเติร์กเมนิสถาน จำนวนรวมประมาณ 465,000 คน พากันหยิบจับจอบจับเสียมขึ้นมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม และใช้เวลาวันนั้นในการปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 755,000 ต้น
อันที่จริงแล้ว ความริเริ่มทำนองเดียวกันนี้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะต่อสู้กับภาวการณ์ที่ประเทศกำลังถูกทะเลทรายรุกคืบขยายตัวยึดพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเกือบจะทุกปีนับตั้งแต่ปี 1999 เมื่อตอนที่ประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ ซาปาร์มูรัต นิยาซอฟ (Saparmurat Niyazov) ได้เริ่มต้นโครงการเช่นนี้ขึ้นมาภายใต้นามว่า “แนวเส้นสีเขียว” (Green Belt)
สำหรับในปัจจุบัน กระทรวงของเติร์กเมนิสถานแต่ละกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบในการปลูกต้นไม้ของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม ดังที่ประสบการณ์จากแผนการริเริ่มในครั้งก่อนๆ ได้แสดงให้เห็นกันอย่างชัดเจนแล้ว ต้นไม้ที่ปลูกเหล่านี้ใช่ว่าทุกต้นจะอยู่รอดปลอดภัยกันหมด จำนวนมากล้มตายไปถ้าไม่เป็นเพราะสภาพภูมิอากาศที่โหดดุเกรี้ยวกราด ก็เนื่องมาจากขาดการดูแลเอาใจใส่ เป็นต้นว่า ไม่มีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ตามคำบอกเล่าของ มุสตาฟา บิลกิน (Mustafa Bilgin) เจ้าของบริษัทตุรกีแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็น 1 ในหมู่บริษัทรายหลักๆ ที่เป็นผู้จัดหาต้นไม้มาให้เติร์กเมนิสถานได้ปลูกกัน พวกต้นสนซึ่งเขาขายให้แก่เติร์กเมนิสถานนั้นมีราคาอยู่ในราวต้นละระหว่าง 13 ถึง 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 390 ถึง 510 บาท) นั่นจึงทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการริเริ่มคราวนี้ต้องตกประมาณอย่างน้อยที่สุด 39 ล้านดอลลาร์ (1,170 ล้านบาท)
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกเลยที่ประธานาธิบดีเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินงบประมาณก้อนใหญ่ในการปรับปรุงยกระดับภูมิทัศน์ภาพภายนอกของประเทศซึ่งร่ำรวยด้วยก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ เมื่อปี 2010 ก่อนหน้าวาระครบรอบ 20 ปีของการที่เติร์กเมนิสถานเป็นเอกราชแยกตัวออกจากอดีตสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายลงไป เขาประกาศจะสร้างอาคารสถานที่ใหม่ๆ จำนวนหลายร้อยแห่ง ตลอดจนสิ่งสาธารณูปโภค “ขนาดใหญ่” 240 แห่ง ซึ่งจะสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเกือบๆ 24,000 ล้านดอลลาร์ (720,000 ล้านบาท)
แน่นอนทีเดียวว่า โครงการริเริ่มปลูกต้นไม้อย่างขนานใหญ่ของท่านผู้นำเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ไม่ได้หลุดรอดสายตาอันช่างสังเกตสังกาของพวกสื่อมวลชนที่ควบคุมโดยรัฐทั้งหลาย
รายการหนึ่งซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐ แสดงให้เห็นว่าท่านผู้นำเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ในเครื่องแต่งกายสีขาวทั้งชุด เดินทางด้วยรถยนต์เอสยูวีสีขาว ไปยังสถานที่ปลูกต้นไม้แห่งหนึ่งในหลายๆ แห่งในกรุงอาชกาบัต (นิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งของเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ก็คือเขาจะปรากฏตัวท่ามกลางสายตาของสาธารณชนโดยเน้นที่โทนสีขาว ชนิดที่ทำให้แลดูเหมือนอยู่ในดินแดนสีขาวแห่งเทพนิยายทีเดียว ทั้งนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในวิถีทางที่จะสร้างลัทธิพิธีแห่งการบูชาบุคคลของเขาเองขึ้นมากระมัง?) พร้อมๆ กับที่มีเสียงดนตรีแบบประเพณีขับกล่อมประกอบเป็นฉากหลัง ภาพของรายการก็ฉายให้เราเห็นเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟเดินไปจับมือกับพวกเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย แล้วจากนั้นเขาก็หยุดยืน ในขณะที่กลุ่มหญิงสาวเริงระบำและร้องเพลงด้วยข้อความสรรเสริญเยินยอเขาว่า “ทั่วทั้งชาติกำลังปรบมือชมเชยฯพณฯท่าน ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความสุข ท่านผู้พิทักษ์ของเราจงเจริญ”
ในรายการของสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐนี้ ยังมีการสัมภาษณ์ อีวอร์ เปโตรเว (Ivor Petrove) ผู้แทนของเติร์กเมนิสถานประจำองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe หรือ OSCE) และ คีธ อัลเลน (Keith Allan) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเติร์กเมนิสถาน ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาเติร์กเมน ซึ่งถูกอัดทับเสียงพูดของเจ้าหน้าที่ทั้งสองคนนี้ (เมื่อตอนที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ โคฟี อันนัน เยือนเติร์กเมนิสถานในปี 2002 คำปราศรัยของเขาก็ถูกอัดทับด้วยคำแปลภาษาเติร์กเมน และออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐเช่นกัน ปรากฏว่าจากการตรวจสอบได้พบจุดที่แปลไม่ถูกต้องเต็มไปหมด)
สำหรับในคลิปวิดีโอล่าสุดนี้ ปรากฏว่าคำแปลคำพูดของเจ้าหน้าที่ทั้งสองคนนี้ มีความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน –อย่างน้อยที่สุดทั้งคู่ต่างแสดงความชื่นชมยกย่องท่านผู้นำเติร์กเมนผู้นี้เหมือนๆ กัน
รายงานนี้มาจากเรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL) ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Turkmenistan goes green, and is happy
By Deana Kjuka & RFE/RL's Turkmen Service
14/03/2013
ประธานาธิบดีกุรบันกูลีย์ เบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ แห่งเติร์กเมนิสถาน ประเทศเอเชียกลางซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย กำลังเร่งรัดผลักดันโครงการปลูกต้นไม้เป็นจำนวน 3 ล้านต้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงเติร์กเมนิสถานให้กลายเป็น “สวนสวยเบ่งบานและเพิ่มพูนธรรมชาติอันงดงามของประเทศให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งมีทั้งอำนาจและความสุข” ดูเหมือนว่าเขากำลังประสบ “ความสำเร็จ” เป็นอันดีทีเดียว เมื่อมีกลุ่มหญิงสาวออกมาเริงระบำ ณ จุดปลูกต้นไม้จุดหนึ่ง พร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญเยินยอเขาว่า “ทั่วทั้งชาติกำลังปรบมือชมเชยฯพณฯท่าน ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความสุข ท่านผู้พิทักษ์ของเราจงเจริญ”
ประธานาธิบดีกุรบันกูลีย์ เบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ (Gurbanguly Berdymukhammedov) แห่งเติร์กเมนิสถาน ลงนามประกาศใช้กฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีเนื้อหาสั่งการให้กระทรวงต่างๆ ต้องปลูกต้นไม้ให้ได้เป็นจำนวน 3 ล้านต้นในปี 2013 นี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศเอเชียกลางซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห่งนี้ ให้กลายเป็น “สวนสวยเบ่งบานและเพิ่มพูนธรรมชาติอันงดงามของประเทศให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งมีทั้งอำนาจและความสุข”
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/ฟรีลิเบอร์ตี ภาคภาษาเติร์กเมน (RFE/RL's Turkmen Service) รายงานว่า พนักงานลูกจ้างในภาครัฐ รวมทั้งพวกที่กำลังทำงานอยู่ตามโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในเติร์กเมนิสถาน จำนวนรวมประมาณ 465,000 คน พากันหยิบจับจอบจับเสียมขึ้นมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม และใช้เวลาวันนั้นในการปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 755,000 ต้น
อันที่จริงแล้ว ความริเริ่มทำนองเดียวกันนี้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะต่อสู้กับภาวการณ์ที่ประเทศกำลังถูกทะเลทรายรุกคืบขยายตัวยึดพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเกือบจะทุกปีนับตั้งแต่ปี 1999 เมื่อตอนที่ประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ ซาปาร์มูรัต นิยาซอฟ (Saparmurat Niyazov) ได้เริ่มต้นโครงการเช่นนี้ขึ้นมาภายใต้นามว่า “แนวเส้นสีเขียว” (Green Belt)
สำหรับในปัจจุบัน กระทรวงของเติร์กเมนิสถานแต่ละกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบในการปลูกต้นไม้ของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม ดังที่ประสบการณ์จากแผนการริเริ่มในครั้งก่อนๆ ได้แสดงให้เห็นกันอย่างชัดเจนแล้ว ต้นไม้ที่ปลูกเหล่านี้ใช่ว่าทุกต้นจะอยู่รอดปลอดภัยกันหมด จำนวนมากล้มตายไปถ้าไม่เป็นเพราะสภาพภูมิอากาศที่โหดดุเกรี้ยวกราด ก็เนื่องมาจากขาดการดูแลเอาใจใส่ เป็นต้นว่า ไม่มีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ตามคำบอกเล่าของ มุสตาฟา บิลกิน (Mustafa Bilgin) เจ้าของบริษัทตุรกีแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็น 1 ในหมู่บริษัทรายหลักๆ ที่เป็นผู้จัดหาต้นไม้มาให้เติร์กเมนิสถานได้ปลูกกัน พวกต้นสนซึ่งเขาขายให้แก่เติร์กเมนิสถานนั้นมีราคาอยู่ในราวต้นละระหว่าง 13 ถึง 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 390 ถึง 510 บาท) นั่นจึงทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการริเริ่มคราวนี้ต้องตกประมาณอย่างน้อยที่สุด 39 ล้านดอลลาร์ (1,170 ล้านบาท)
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกเลยที่ประธานาธิบดีเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินงบประมาณก้อนใหญ่ในการปรับปรุงยกระดับภูมิทัศน์ภาพภายนอกของประเทศซึ่งร่ำรวยด้วยก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ เมื่อปี 2010 ก่อนหน้าวาระครบรอบ 20 ปีของการที่เติร์กเมนิสถานเป็นเอกราชแยกตัวออกจากอดีตสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายลงไป เขาประกาศจะสร้างอาคารสถานที่ใหม่ๆ จำนวนหลายร้อยแห่ง ตลอดจนสิ่งสาธารณูปโภค “ขนาดใหญ่” 240 แห่ง ซึ่งจะสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเกือบๆ 24,000 ล้านดอลลาร์ (720,000 ล้านบาท)
แน่นอนทีเดียวว่า โครงการริเริ่มปลูกต้นไม้อย่างขนานใหญ่ของท่านผู้นำเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ไม่ได้หลุดรอดสายตาอันช่างสังเกตสังกาของพวกสื่อมวลชนที่ควบคุมโดยรัฐทั้งหลาย
รายการหนึ่งซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐ แสดงให้เห็นว่าท่านผู้นำเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ในเครื่องแต่งกายสีขาวทั้งชุด เดินทางด้วยรถยนต์เอสยูวีสีขาว ไปยังสถานที่ปลูกต้นไม้แห่งหนึ่งในหลายๆ แห่งในกรุงอาชกาบัต (นิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งของเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟ ก็คือเขาจะปรากฏตัวท่ามกลางสายตาของสาธารณชนโดยเน้นที่โทนสีขาว ชนิดที่ทำให้แลดูเหมือนอยู่ในดินแดนสีขาวแห่งเทพนิยายทีเดียว ทั้งนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในวิถีทางที่จะสร้างลัทธิพิธีแห่งการบูชาบุคคลของเขาเองขึ้นมากระมัง?) พร้อมๆ กับที่มีเสียงดนตรีแบบประเพณีขับกล่อมประกอบเป็นฉากหลัง ภาพของรายการก็ฉายให้เราเห็นเบียร์ดีมูฮัมเมดอฟเดินไปจับมือกับพวกเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย แล้วจากนั้นเขาก็หยุดยืน ในขณะที่กลุ่มหญิงสาวเริงระบำและร้องเพลงด้วยข้อความสรรเสริญเยินยอเขาว่า “ทั่วทั้งชาติกำลังปรบมือชมเชยฯพณฯท่าน ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความสุข ท่านผู้พิทักษ์ของเราจงเจริญ”
ในรายการของสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐนี้ ยังมีการสัมภาษณ์ อีวอร์ เปโตรเว (Ivor Petrove) ผู้แทนของเติร์กเมนิสถานประจำองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe หรือ OSCE) และ คีธ อัลเลน (Keith Allan) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเติร์กเมนิสถาน ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาเติร์กเมน ซึ่งถูกอัดทับเสียงพูดของเจ้าหน้าที่ทั้งสองคนนี้ (เมื่อตอนที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ โคฟี อันนัน เยือนเติร์กเมนิสถานในปี 2002 คำปราศรัยของเขาก็ถูกอัดทับด้วยคำแปลภาษาเติร์กเมน และออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐเช่นกัน ปรากฏว่าจากการตรวจสอบได้พบจุดที่แปลไม่ถูกต้องเต็มไปหมด)
สำหรับในคลิปวิดีโอล่าสุดนี้ ปรากฏว่าคำแปลคำพูดของเจ้าหน้าที่ทั้งสองคนนี้ มีความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน –อย่างน้อยที่สุดทั้งคู่ต่างแสดงความชื่นชมยกย่องท่านผู้นำเติร์กเมนผู้นี้เหมือนๆ กัน
รายงานนี้มาจากเรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL) ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง