เอเอฟพี - ยายทวดชาวเนปาลวัย 105 ปีรายหนึ่งเพิ่งได้สัญชาติอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หลังจากลืมตาดูโลกในหมู่บ้านแถบชนบทของประเทศบนเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้มากนานกว่าศตวรรษ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเผยวันนี้ (5)
กฤษณา กุมารี การ์ตี หญิงม่ายวัย 105 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านพาคพานี ในเขตพารบัต บนเทือกเขาซึ่งต้องใช้เวลา 1 วันจึงจะเดินถึงถนนที่อยู่ใกล้ที่สุด เป็น 1 ในชาวบ้านอีกหลายคนที่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก
"เจ้าหน้าที่ของเราเดินทางไปยังหมู่บ้านดังกล่าว หลังได้รับคำร้องเรียนว่า มีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังปราศจากสัญชาติ" เต็ก บาฮาดูร เคซี เจ้าหน้าที่บริหารเขตเผย
เขาเสริมว่า ชื่อของยายทวดการตีถูกบันทึกลงในรายชื่อผู้สูงอายุ ที่จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน พร้อมกับให้บัตรประจำตัวผู้สูงอายุกับเธอไว้แล้ว ซึ่งเธอก็มีความสุขมาก
เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวชี้ว่า เหตุผลที่ชาวบ้านเหล่านี้ดำรงชีวิตโดยไม่มีสัญชาติได้นั้น ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านห่างไกลมักไม่เคยออกจากพื้นที่ของพวกเขา และแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมใดๆ
ทั้งนี้ ในเวลาที่ยายทวดการตีเกิดนั้น เนปาลยังคงเป็นประเทศปิดจากโลกภายนอกเสียส่วนมาก และยังดำเนินเศรษฐกิจแบบพอเพียง ภายใต้การปกครองของราชวงศ์รานา แม้จะปฏิรูปให้ก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 20 แต่ภูมิประเทศอันแร้นแค้น และขาดแคลนถนนหนทาง จึงเป็นการยากที่ผู้คนในหมู่บ้านโดดเดี่ยวห่างไกลจะเดินทางไปรับบัตรประชาชนจากสำนักงานรัฐบาลท้องถิ่น
ตามข้อมูลของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอชซีอาร์ ระบุว่า ประชาชนถึง 800,000 คนในเนปาลยังเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ซึ่งไม่มีสิทธิ และได้รับประโยชน์เช่นพลเมืองเนปาลทั่วไป ขณะที่รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับตัวเลขดังกล่าว
กฤษณา กุมารี การ์ตี หญิงม่ายวัย 105 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านพาคพานี ในเขตพารบัต บนเทือกเขาซึ่งต้องใช้เวลา 1 วันจึงจะเดินถึงถนนที่อยู่ใกล้ที่สุด เป็น 1 ในชาวบ้านอีกหลายคนที่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก
"เจ้าหน้าที่ของเราเดินทางไปยังหมู่บ้านดังกล่าว หลังได้รับคำร้องเรียนว่า มีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังปราศจากสัญชาติ" เต็ก บาฮาดูร เคซี เจ้าหน้าที่บริหารเขตเผย
เขาเสริมว่า ชื่อของยายทวดการตีถูกบันทึกลงในรายชื่อผู้สูงอายุ ที่จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน พร้อมกับให้บัตรประจำตัวผู้สูงอายุกับเธอไว้แล้ว ซึ่งเธอก็มีความสุขมาก
เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวชี้ว่า เหตุผลที่ชาวบ้านเหล่านี้ดำรงชีวิตโดยไม่มีสัญชาติได้นั้น ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านห่างไกลมักไม่เคยออกจากพื้นที่ของพวกเขา และแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมใดๆ
ทั้งนี้ ในเวลาที่ยายทวดการตีเกิดนั้น เนปาลยังคงเป็นประเทศปิดจากโลกภายนอกเสียส่วนมาก และยังดำเนินเศรษฐกิจแบบพอเพียง ภายใต้การปกครองของราชวงศ์รานา แม้จะปฏิรูปให้ก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 20 แต่ภูมิประเทศอันแร้นแค้น และขาดแคลนถนนหนทาง จึงเป็นการยากที่ผู้คนในหมู่บ้านโดดเดี่ยวห่างไกลจะเดินทางไปรับบัตรประชาชนจากสำนักงานรัฐบาลท้องถิ่น
ตามข้อมูลของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอชซีอาร์ ระบุว่า ประชาชนถึง 800,000 คนในเนปาลยังเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ซึ่งไม่มีสิทธิ และได้รับประโยชน์เช่นพลเมืองเนปาลทั่วไป ขณะที่รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับตัวเลขดังกล่าว