ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ทำให้สิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำจืด และพึ่งพาการนำเข้าน้ำจากมาเลเซียมานานหลายสิบปี รัฐบาลจึงมุ่งมั่นพัฒนาระบบประปาให้ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้เกาะสิงคโปร์สามารถพึ่งพาทรัพยากรน้ำของตนเองได้ ก่อนที่ข้อตกลงสั่งซื้อน้ำจากมาเลเซียฉบับล่าสุดจะหมดอายุลงในปี 2061
ปัจจุบันสิงคโปร์มีโรงงานรีไซเคิลน้ำ และโรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลหลายแห่ง ซึ่งสามารถผลิตน้ำจืดได้ราวร้อยละ 40 ของปริมาณน้ำ 340 ล้านแกลลอนที่โรงงานอุตสาหกรรมและพลเมือง 5.2 ล้านคนใช้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนี้ เขื่อนที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองยังสามารถผลิตน้ำเพื่อสนองการบริโภคได้อีกร้อยละ 10 และส่วนที่เหลือได้จากอ่างเก็บน้ำต่างๆ รวมถึงน้ำที่นำเข้าจากมาเลเซีย
ชิว เมิน เลียง ผู้บริหารองค์การจัดการน้ำ PUB สังกัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ระบุว่า โครงการผลิตน้ำในสิงคโปร์มีความก้าวหน้าไปมาก จนสามารถมั่นใจได้ในเรื่องของความมั่นคงและความยั่งยืน และหากถามว่าสิงคโปร์จะหยุดพึ่งพาน้ำจากต่างชาติได้เมื่อใด เขาก็ตอบได้ว่า สิงคโปร์จะสามารถผลิตน้ำได้เพียงพอต่อการบริโภคแน่นอน เมื่อถึงคราวจำเป็น
เกาะสิงคโปร์ซึ่งมีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของนครลอสแองเจลิส กำลังเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสูงเกินกว่า 700 ล้านแกลลอนต่อวัน หรือเทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิกกว่า 1,000 สระ ภายในอีก 50 ปีข้างหน้า
สิงคโปร์เริ่มทำข้อตกลงสั่งซื้อน้ำดิบจากมาเลเซียในปี 1927 ต่อมาในปี 1961 ได้ทำข้อตกลงฉบับที่ 2 ซึ่งเพิ่งหมดอายุลงไปเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา ส่วนข้อตกลงฉบับที่ 3 ลงนามเมื่อปี 1962 และจะหมดอายุในปี 2061 หรืออีก 49 ปีข้างหน้า
ข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับกำหนดให้สิงคโปร์นำเข้าน้ำดิบจากมาเลเซียจำนวน 250 ล้านแกลลอนต่อวัน ในราคา 3 เซนต์ต่อน้ำ 1,000 แกลลอน
ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา สิงคโปร์ทุ่มงบประมาณราว 600-800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปีเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการผลิตน้ำจืด ความตื่นตัวของรัฐบาลดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตน้ำในสิงคโปร์มากมาย อาทิ เจเนอรัล อิเล็กทริก โค. และ ซีเมนส์ เอจี เป็นต้น
พอล บราวน์ รองประธานบริหาร ซีดีเอ็ม สมิธ อิงค์ บริษัทที่ปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานจากมลรัฐแมสซาชูเซตส์ เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์น้ำของสิงคโปร์เกิดขึ้นในสมัยของนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ซึ่งต้องการเห็นสิงคโปร์ก้าวไปสู่จุดที่สามารถบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคได้อย่างยั่งยืน
ซีดีเอ็ม สมิธ ได้รับมอบหมายให้ออกแบบเขื่อนกั้นน้ำ มารีนา บาร์เรจ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจของสิงคโปร์ เขื่อนแห่งนี้สร้างสำเร็จเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา และใช้ในการกักเก็บน้ำจากแม่น้ำสิงคโปร์และอ่าวมารีนา
โรงงานรีไซเคิลน้ำแห่งแรกเปิดใช้งานเมื่อปี 2003 โดยน้ำที่ผลิตได้ซึ่งใช้ชื่อว่า NEWater จะถูกนำไปผสมกับน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ ก่อนส่งผ่านระบบประปาไปยังผู้บริโภค
สิงคโปร์ดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวนมาก และเพื่อขยายพื้นที่รับน้ำจึงมีการติดตั้งท่อและขุดคลองหลายสาย เพื่อดึงน้ำฝนลงไปสู่อ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่ง ก่อนที่จะบำบัดเป็นน้ำสะอาดต่อไป
โรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลแห่งแรกเริ่มใช้งานเมื่อปี 2005 โดยบริษัทไฮฟลักซ์ซึ่งเป็นเจ้าของยังเตรียมขยายโครงการลักษณะเดียวกันนี้ไปยังจีนและแอลจีเรียด้วย
ปัจจุบันโรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลสามารถผลิตน้ำเพื่อตอบสนองการบริโภคในประเทศได้ร้อยละ 10 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ภายในอีก 50 ปีข้างหน้า ส่วนน้ำที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล หรือ NEWater นั้นจะใช้ในวงการอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้กับเครื่องทำความเย็น หรือใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งน้ำในส่วนนี้คาดว่าจะสามารถผลิตได้มากขึ้น จนรองรับความต้องการในประเทศที่เหลืออีกราวๆ 50 เปอร์เซ็นต์ได้ก่อนปี 2061
ผู้บริหาร PUB ระบุว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาระบบชลประทานและประปาในสิงคโปร์ ก็เพื่อให้สามารถผลิตน้ำใช้ได้เองอย่างยั่งยืนโดยลดต้นทุนการผลิตลงด้วย อีกทั้งเพื่อยุติการพึ่งพาน้ำจากมาเลเซีย ซึ่งมักใช้ข้อตกลงจัดส่งน้ำดิบมาเป็นข้อต่อรองกับรัฐบาลสิงคโปร์เสมอมา
สิงคโปร์มีเป้าหมายจะเพิ่มการจ้างงานในอุตสาหกรรมน้ำให้ได้ถึง 11,000 ตำแหน่งภายในปี 2015 ซึ่งก็นับว่าประสบความสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว เนื่องจากบริษัทผลิตน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 100 ราย หรือเกือบเท่าตัวจากเมื่อปี 2006
สิงคโปร์ยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัปดาห์น้ำสากลและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องเมื่อต้นเดือนกรกฎาคนที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 19,200 คน ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี
สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับสิงคโปร์ในขณะนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลง ลักษณะอากาศที่แปรปรวนทำให้มีฝนตกหนักในบางครั้ง จนระบบระบายน้ำในเมืองไม่สามารถรองรับได้ทัน ดังจะเห็นได้ว่าถนนออร์ชาร์ดซึ่งเป็นย่านธุรกิจชื่อดังของสิงคโปร์ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมา 2 ปีติดต่อกันแล้ว
นอกจากจะส่งเสริมการผลิตน้ำใช้เองแล้ว PUB ยังรณรงค์ให้ชาวสิงคโปร์ใช้น้ำอย่างประหยัด โดยมีมาตรการหลายรูปแบบ อาทิ การใช้ชักโครกระบบ 2 จังหวะ (dual-flushing) และก๊อกน้ำระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติในสุขาสาธารณะทุกแห่ง เป็นต้น
ชาวสิงคโปร์ใช้น้ำโดยเฉลี่ย 153.4 ลิตรต่อคนต่อวัน ซึ่งลดลงจากสถิติ 165 ลิตรต่อคนต่อวันเมื่อ 9 ปีก่อน และรัฐบาลยังมีเป้าหมายลดการใช้น้ำให้เหลือเพียง 147 ลิตรต่อคนต่อวันภายในสิ้นทศวรรษนี้ ก่อนจะลดให้ได้เหลือ 140 ลิตรต่อคนต่อวันในอีก 10 ปีถัดไป
ปัจจุบันสิงคโปร์มีโรงงานรีไซเคิลน้ำ และโรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลหลายแห่ง ซึ่งสามารถผลิตน้ำจืดได้ราวร้อยละ 40 ของปริมาณน้ำ 340 ล้านแกลลอนที่โรงงานอุตสาหกรรมและพลเมือง 5.2 ล้านคนใช้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนี้ เขื่อนที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองยังสามารถผลิตน้ำเพื่อสนองการบริโภคได้อีกร้อยละ 10 และส่วนที่เหลือได้จากอ่างเก็บน้ำต่างๆ รวมถึงน้ำที่นำเข้าจากมาเลเซีย
ชิว เมิน เลียง ผู้บริหารองค์การจัดการน้ำ PUB สังกัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ระบุว่า โครงการผลิตน้ำในสิงคโปร์มีความก้าวหน้าไปมาก จนสามารถมั่นใจได้ในเรื่องของความมั่นคงและความยั่งยืน และหากถามว่าสิงคโปร์จะหยุดพึ่งพาน้ำจากต่างชาติได้เมื่อใด เขาก็ตอบได้ว่า สิงคโปร์จะสามารถผลิตน้ำได้เพียงพอต่อการบริโภคแน่นอน เมื่อถึงคราวจำเป็น
เกาะสิงคโปร์ซึ่งมีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของนครลอสแองเจลิส กำลังเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสูงเกินกว่า 700 ล้านแกลลอนต่อวัน หรือเทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิกกว่า 1,000 สระ ภายในอีก 50 ปีข้างหน้า
สิงคโปร์เริ่มทำข้อตกลงสั่งซื้อน้ำดิบจากมาเลเซียในปี 1927 ต่อมาในปี 1961 ได้ทำข้อตกลงฉบับที่ 2 ซึ่งเพิ่งหมดอายุลงไปเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา ส่วนข้อตกลงฉบับที่ 3 ลงนามเมื่อปี 1962 และจะหมดอายุในปี 2061 หรืออีก 49 ปีข้างหน้า
ข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับกำหนดให้สิงคโปร์นำเข้าน้ำดิบจากมาเลเซียจำนวน 250 ล้านแกลลอนต่อวัน ในราคา 3 เซนต์ต่อน้ำ 1,000 แกลลอน
ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา สิงคโปร์ทุ่มงบประมาณราว 600-800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปีเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการผลิตน้ำจืด ความตื่นตัวของรัฐบาลดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตน้ำในสิงคโปร์มากมาย อาทิ เจเนอรัล อิเล็กทริก โค. และ ซีเมนส์ เอจี เป็นต้น
พอล บราวน์ รองประธานบริหาร ซีดีเอ็ม สมิธ อิงค์ บริษัทที่ปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานจากมลรัฐแมสซาชูเซตส์ เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์น้ำของสิงคโปร์เกิดขึ้นในสมัยของนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ซึ่งต้องการเห็นสิงคโปร์ก้าวไปสู่จุดที่สามารถบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคได้อย่างยั่งยืน
ซีดีเอ็ม สมิธ ได้รับมอบหมายให้ออกแบบเขื่อนกั้นน้ำ มารีนา บาร์เรจ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจของสิงคโปร์ เขื่อนแห่งนี้สร้างสำเร็จเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา และใช้ในการกักเก็บน้ำจากแม่น้ำสิงคโปร์และอ่าวมารีนา
โรงงานรีไซเคิลน้ำแห่งแรกเปิดใช้งานเมื่อปี 2003 โดยน้ำที่ผลิตได้ซึ่งใช้ชื่อว่า NEWater จะถูกนำไปผสมกับน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ ก่อนส่งผ่านระบบประปาไปยังผู้บริโภค
สิงคโปร์ดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวนมาก และเพื่อขยายพื้นที่รับน้ำจึงมีการติดตั้งท่อและขุดคลองหลายสาย เพื่อดึงน้ำฝนลงไปสู่อ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่ง ก่อนที่จะบำบัดเป็นน้ำสะอาดต่อไป
โรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลแห่งแรกเริ่มใช้งานเมื่อปี 2005 โดยบริษัทไฮฟลักซ์ซึ่งเป็นเจ้าของยังเตรียมขยายโครงการลักษณะเดียวกันนี้ไปยังจีนและแอลจีเรียด้วย
ปัจจุบันโรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลสามารถผลิตน้ำเพื่อตอบสนองการบริโภคในประเทศได้ร้อยละ 10 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ภายในอีก 50 ปีข้างหน้า ส่วนน้ำที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล หรือ NEWater นั้นจะใช้ในวงการอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้กับเครื่องทำความเย็น หรือใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งน้ำในส่วนนี้คาดว่าจะสามารถผลิตได้มากขึ้น จนรองรับความต้องการในประเทศที่เหลืออีกราวๆ 50 เปอร์เซ็นต์ได้ก่อนปี 2061
ผู้บริหาร PUB ระบุว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาระบบชลประทานและประปาในสิงคโปร์ ก็เพื่อให้สามารถผลิตน้ำใช้ได้เองอย่างยั่งยืนโดยลดต้นทุนการผลิตลงด้วย อีกทั้งเพื่อยุติการพึ่งพาน้ำจากมาเลเซีย ซึ่งมักใช้ข้อตกลงจัดส่งน้ำดิบมาเป็นข้อต่อรองกับรัฐบาลสิงคโปร์เสมอมา
สิงคโปร์มีเป้าหมายจะเพิ่มการจ้างงานในอุตสาหกรรมน้ำให้ได้ถึง 11,000 ตำแหน่งภายในปี 2015 ซึ่งก็นับว่าประสบความสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว เนื่องจากบริษัทผลิตน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 100 ราย หรือเกือบเท่าตัวจากเมื่อปี 2006
สิงคโปร์ยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัปดาห์น้ำสากลและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องเมื่อต้นเดือนกรกฎาคนที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 19,200 คน ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี
สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับสิงคโปร์ในขณะนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลง ลักษณะอากาศที่แปรปรวนทำให้มีฝนตกหนักในบางครั้ง จนระบบระบายน้ำในเมืองไม่สามารถรองรับได้ทัน ดังจะเห็นได้ว่าถนนออร์ชาร์ดซึ่งเป็นย่านธุรกิจชื่อดังของสิงคโปร์ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมา 2 ปีติดต่อกันแล้ว
นอกจากจะส่งเสริมการผลิตน้ำใช้เองแล้ว PUB ยังรณรงค์ให้ชาวสิงคโปร์ใช้น้ำอย่างประหยัด โดยมีมาตรการหลายรูปแบบ อาทิ การใช้ชักโครกระบบ 2 จังหวะ (dual-flushing) และก๊อกน้ำระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติในสุขาสาธารณะทุกแห่ง เป็นต้น
ชาวสิงคโปร์ใช้น้ำโดยเฉลี่ย 153.4 ลิตรต่อคนต่อวัน ซึ่งลดลงจากสถิติ 165 ลิตรต่อคนต่อวันเมื่อ 9 ปีก่อน และรัฐบาลยังมีเป้าหมายลดการใช้น้ำให้เหลือเพียง 147 ลิตรต่อคนต่อวันภายในสิ้นทศวรรษนี้ ก่อนจะลดให้ได้เหลือ 140 ลิตรต่อคนต่อวันในอีก 10 ปีถัดไป