เอเอฟพี - จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 75% ภายในปี 2030 ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางประชากรศาสตร์และรูปแบบการใช้ชีวิต ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาเนื้องอกแลนเซ็ต ระบุ
ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย เฟร็ดดี เบรย์ จากองค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านโรคมะเร็ง (IARC) เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส เผยว่า เมื่อปี 2008 มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นราว 12.7 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 22.2 ล้านคนภายในปี 2030 โดยร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะอยู่ในประเทศยากจน
ในหลายประเทศ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งจากการติดเชื้อลดน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งทวารหนัก, มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากความนิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตก
ผลการศึกษาชิ้นนี้ใช้ข้อมูลจาก GLOBOCAN ซึ่งเป็นฐานข้อมูลโรคมะเร็งของ ไอเออาร์ซี ใน 184 ประเทศ
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งต่อมลูกหมาก คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในประเทศร่ำรวย เมื่อปี 2008 ขณะที่ประเทศระดับกลางจะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งในช่องท้อง และมะเร็งตับ มากที่สุด
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 กลุ่มประเทศมีสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งช่องท้องลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
สำหรับกลุ่มประเทศยากจน มะเร็งปากมดลูกยังเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ
“หากแนวโน้มซึ่งว่าด้วยชนิดของมะเร็งและเพศของผู้ป่วยยังเป็นไปตามที่ผลวิจัยนี้ระบุ เราทำนายว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่รวมทุกประเภท จะเพิ่มจาก 12.7 ล้านคนในปี 2008 เป็น 22.2 ล้านคนในปี 2030” ผลวิจัยระบุ
“แนวโน้มดังกล่าวอาจลดลงได้ หากออกยุทธศาสตร์ป้องกันตั้งแต่ต้น บวกกับการฉีดวัคซีน, ตรวจสุขภาพเพื่อหาเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และจัดโครงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพพอ”
ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย เฟร็ดดี เบรย์ จากองค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านโรคมะเร็ง (IARC) เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส เผยว่า เมื่อปี 2008 มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นราว 12.7 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 22.2 ล้านคนภายในปี 2030 โดยร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะอยู่ในประเทศยากจน
ในหลายประเทศ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งจากการติดเชื้อลดน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งทวารหนัก, มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากความนิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตก
ผลการศึกษาชิ้นนี้ใช้ข้อมูลจาก GLOBOCAN ซึ่งเป็นฐานข้อมูลโรคมะเร็งของ ไอเออาร์ซี ใน 184 ประเทศ
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งต่อมลูกหมาก คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในประเทศร่ำรวย เมื่อปี 2008 ขณะที่ประเทศระดับกลางจะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งในช่องท้อง และมะเร็งตับ มากที่สุด
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 กลุ่มประเทศมีสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งช่องท้องลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
สำหรับกลุ่มประเทศยากจน มะเร็งปากมดลูกยังเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ
“หากแนวโน้มซึ่งว่าด้วยชนิดของมะเร็งและเพศของผู้ป่วยยังเป็นไปตามที่ผลวิจัยนี้ระบุ เราทำนายว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่รวมทุกประเภท จะเพิ่มจาก 12.7 ล้านคนในปี 2008 เป็น 22.2 ล้านคนในปี 2030” ผลวิจัยระบุ
“แนวโน้มดังกล่าวอาจลดลงได้ หากออกยุทธศาสตร์ป้องกันตั้งแต่ต้น บวกกับการฉีดวัคซีน, ตรวจสุขภาพเพื่อหาเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และจัดโครงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพพอ”