(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Salt threatens Mekong rice
By Marwaan Macan-Markar
18/04/2012
ปัญหาดินเค็มและน้ำเค็มเพิ่มมากขึ้นในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง กำลังเป็นภัยคุกคามการผลิตข้าวในอาณาบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวถึงเกือบครึ่งหนึ่งของเวียดนาม เวลานี้กำลังมีการศึกษาวิจัยชนิดแข่งกับเวลาเพื่อพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่ทนทานต่อถูกน้ำท่วมได้เกินกว่า 2 สัปดาห์ และก็ต้านทานน้ำเค็มได้มากขึ้น ทั้งนี้ขณะนี้ได้มีการค้นพบหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
กรุงเทพฯ - จากการที่เขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ของเวียดนาม กำลังเผชิญภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนน้ำเค็มที่ไหลทะลักเข้าสู่ดินแดนตอนใน ทำให้อนาคตของเวียดนาม ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญรายหนึ่งของโลก ต้องขึ้นอยู่กับการวิจัยที่กำลังทำกันในฟิลิปปินส์เป็นอย่างยิ่ง
เหล่านักวิทยาศาสตร์ ณ สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute หรือ IRRI) กำลังทำงานร่วมกับพวกนักวิจัยชาวเวียดนาม อยู่ที่เมืองโลส บาโนส (Los Banos) ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงมะนิลา เพื่อพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ทั้งสามารถทนทานการถูกน้ำท่วมได้เกินกว่า 2 สัปดาห์ และทั้งสามารถต้านทานความเค็มได้ เวลานี้ เมื่อทาง IRRIประสบความสำเร็จได้ข้าวพันธุ์ที่ทนทานการถูกน้ำท่วมมิด ซึ่งได้รับฉายาเรียกขานกันว่า “ข้าวประดาน้ำ” (scuba rice) โดยที่มียีนข้าวที่ช่วยให้อยู่รอดได้ในเวลาจมอยู่ในน้ำ (ยีน SUB1) จึงนับว่าสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
“สถาบัน IRRI กำลังทดลองวิจัยค้นหาข้าวพันธุ์ที่สามารถรับมือกับปัญหาทั้งสองอย่างได้” บียอห์น โอเล แซนเดอร์ (Bjorn Ole Sander) นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งของศูนย์วิจัยนอกภาครัฐบาลแห่งนี้ที่เป็นสถาบันวิจัยเรื่องข้าวชั้นนำของโลก กล่าว “ตอนนี้ถึงแม้เรามีข้าวพันธุ์ที่สามารถทนน้ำท่วมได้แล้ว แต่มันก็ยังจะตายอยู่ดีเมื่อเจอกับความเค็ม”
เขื่อน 4 แห่งที่จีนสร้างขึ้นมากั้นเก็บกักน้ำในแม่น้ำโขงตอนบน กำลังส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อนาข้าวในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแห่งนี้ เพราะเมื่อปริมาณน้ำที่ไหลบ่าลงมาตามปกติ ต้องมีอันลดน้อยลงไป น้ำเค็มจากทะเลก็ไหลทะลักเข้าสู่ดินแดนตอนในได้มากขึ้น นอกจากนั้นโคลนตะกอนที่สายน้ำพัดพายังบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในระหว่างน้ำท่วมท้นช่วงฤดูมรสุมของแต่ละปี ก็ยังลดน้อยลงไปด้วย ทำให้ปริมาณปุ๋ยธรรมชาติชนิดนี้หดหาย
แต่กระนั้นหากพยายามมองหาข้อดี เขื่อนเหล่านี้ก็สามารถให้เบาะแสบ่งบอกถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เกือบๆ หนึ่งในสามของเขตสามเหลี่ยนปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวร่วมๆ ครึ่งหนึ่งของเวียดนาม อาจจะถูกน้ำเค็มท่วมมิด ถ้าหากระดับน้ำทะเลเกิดสูงขึ้นมา 1 เมตร ทั้งนี้ตามรายงานการศึกษาซึ่งจัดทำโดย สถาบันเพื่อการศึกษาอุทกอุตุนิยมวิทยาและวิทยาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Institute for Hydrometeorology and Environmental Science ) ของเวียดนาม เมื่อปี 2009
การค้นหาจนกระทั่งได้เมล็ดข้าวที่ตอบปัญหาได้แล้วครึ่งหนึ่ง นั่นคือสามารถต่อสู้กับน้ำท่วมได้นั้น ได้มาจากพันธุ์ข้าวซึ่งมีรากเหง้าต้นกำเนิดอยู่ในรัฐโอริสสา ของอินเดีย ข้าวพันธุ์ดังกล่าวของที่นั่นสามารถกลับฟื้นตัวเติบโตต่อไปได้ใหม่ แม้กระทั่งหลังจากจมอยู่ใต้น้ำมาเป็นเวลา 14 วัน แตกต่างไปจากข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะตายถ้าหากจมน้ำเกินกว่า 1 สัปดาห์
“เรานำมาวิจัยต่อและก็ประสบความสำเร็จโดยที่ไม่ได้ใช้วิธีการทางพันธุกรรมเลย แต่ด้วยวิธีการผสมพันธุ์ข้าวพันธุ์ที่มียีน SUB1” แซนเดอร์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ “ตอนนี้มันสามารถอยู่รอดแม้จมอยู่ในน้ำ 17 วันแล้ว”
อย่างไรก็ดี การค้นหาพันธุ์ข้าวที่ทนทานต่อความเค็ม เพื่อนำมาผสมเข้ากับ “ข้าวประดาน้ำ” เป็นงานที่ยากลำบากกว่ามาก “ยังจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยที่สุด 4 ปีจึงจะสามารถพบพันธุ์ข้าวที่จะทนทานทั้งสองอย่าง นั่นคือทั้งความเค็มและทั้งน้ำท่วม” เขากล่าว “นั่นจึงจะสามารถเป็นคำตอบให้แก่คำถามที่เผชิญกันอยู่ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง จากการที่ถูกน้ำท่วมและจากความเค็มที่มาจากน้ำทะเลหนุนสูง”
น้ำเค็มจากทะเลจีนใต้เวลานี้แผ่รุกเข้าไปในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นระยะทางไกลถึง 40 กิโลเมตรแล้ว ไม่เหมือนกับเมื่อ 30 ปีก่อนซึ่งมันเคยเข้าไปได้เพียงแค่ 10 กิโลเมตรเท่านั้น
“เดิมพันในเวลานี้คืออนาคตของเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทีเดียว นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงกำลังทำงานร่วมกับ IRRI เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สามารถรับมือกับทั้งน้ำท่วมและความเค็ม” เป็นคำบอกเล่าของ เหวียน วัน โบ (Nguyen Van Bo) ประธานของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งเวียดนาม (Vietnam Academy of Agricultural Science) อันเป็นหน่วยงานที่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดนามและมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงฮานอย “นาข้าวในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำประมาณ 7% แล้ว ที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากระดับน้ำทะเลที่กำลังสูงขึ้นมา”
ในเวลานี้เกษตรกรที่นั่นได้เริ่มเปลี่ยนอาชีพกันแล้ว จำนวนมากทีเดียวกำลังเปลี่ยนจากการทำนาข้าวไปทำนากุ้ง เขาบอกกับสำนักข่าาวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) “มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นกันได้ถนัดชัดเจนมากจากในอดีตที่ผ่านมา เพราะเมื่อก่อนนั้นเกษตรกรจะปลูกข้าวสลับกับการทำนากุ้งตามฤดูกาล ไม่ใช่เปลี่ยนอาชีพไปเลย”
และชะตากรรมของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชะตากรรมของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ยังกำลังทำท่าจะเลวร้ายลงไปอีกด้วยซ้ำ นี่เป็นคำเตือนของพวกนักวิทยาศาสตร์การเกษตรและผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของเอเชีย ในการประชุมนัดหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯในเดือนเมษายนนี้ มันจะเป็นความเลวร้ายเพิ่มเติมขึ้นมาอีก จากความทุกข์ยากเดือดร้อนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบอยู่แล้วในปัจจุบัน สืบเนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไม่ปกติ ซึ่งได้กระหน่ำใส่บรรดาชาติผู้ผลิตข้าวรายใหญ่รายอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้ อย่างเช่นประเทศไทย
เขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นแหล่งผลิตข้าวร่วมๆ 50% ของผลผลิตปีละ 42 ล้านตันข้าวเปลือกที่ทำได้ในเวียดนาม ทั้งนี้จากการปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง และทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลกตามหลังประเทศไทยเท่านั้น ในปี 2011 เวียดนามส่งออกข้าวได้สูงเป็นสถิติใหม่ นั่นคือ 7 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นการขายให้แก่ฟิลิปปินส์และตลาดเอเชียอื่นๆ
สำหรับผู้คนกว่า 17 ล้านคนจากประชากรเวียดนามทั่วประเทศ 87 ล้านคน ซึ่งเรียกเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่และอากาศร้อนชื้นแห่งนี้เป็นบ้านของพวกเขานั้น เครือข่ายทางน้ำเครือข่ายนี้มีความสำคัญอย่างที่สุดต่อการปลูกข้าว ทางน้ำแยกย่อยมากมายเหล่านี้ได้น้ำจากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นน้ำของแม่น้ำโขงอยู่ในเขตที่ราบสูงทิเบต จากนั้นก็ไหลระเรื่อยลงมาเป็นระยะทางยาว 4,880 กิโลเมตร ผ่านตอนใต้ของจีน, แตะดินแดนพม่าและไทย, แล้วจึงไหลเลี้ยวลดคดเคี้ยวเข้าไปในลาว, กัมพูชา, และเวียดนาม ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้
รายงานการศึกษาของธนาคารโลกระบุว่า ถ้าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแห่งนี้แหละเป็นพื้นที่ซึ่งจะถูกคุกคามมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบชุมชนริมชายฝั่งต่างๆ ในประเทศกำลังพัฒนารวม 87 ประเทศที่ทำการสำรวจศึกษา
นอกจากนั้นในรายงานฉบับอื่นๆ ก็มีคำเตือนออกมาว่า พืชผลราว 21% ของเอเชียจะได้รับความเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภายในปี 2050 ทว่าคำเตือนเหล่านี้ดูจะยังไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้เหล่าผู้นำรัฐบาลจาก 190 ประเทศซึ่งมาชุมนุมกัน ณ การประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศประจำปีของสหประชาชาติ ตัดสินใจนำเอาภาคการเกษตรเข้าเป็นเรื่องหนึ่งสำหรับการเจรจาต่อรองกัน
“เรื่องการเกษตรและการผลิตอาหาร มีอ้างอิงเอาไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCC) แต่มันยังไม่ได้ถูกแปลให้กลายเป็นภาษาที่จะทำให้ต้องริเริ่มโครงการงานพิเศษโครงการหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ โครงการงานพิเศษว่าด้วยการเกษตรในความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” บรูซ แคมป์เบลล์ (Bruce Campbell) แห่ง กลุ่มที่ปรึกษาว่าด้วยการวิจัยทางการเกษตรระหว่างประเทศ (Consultative Group on International Agricultural Research หรือ CGIAR) กล่าวแจกแจง
“ยังไม่มีเสียงที่เปล่งออกมาร่วมกันในเรื่องการเกษตรในการเจรจาของ UNFCCC” แคมป์เบลล์ กล่าวต่อ เขาเป็นกรรมการคนหนึ่งของ CGIAR ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการอุปถัมภ์จาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organisation หรือ FAO), กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (International Fund for Agricultural Development), โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme), และธนาคารโลก
“การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อระบบการทำการเกษตรต่างๆ และกำลังเป็นอันตรายต่อเรื่องพืชผล” แคมป์เบลล์บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส “ระบบการเกษตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้การเกษตรมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับภูมิอากาศ” เขากล่าวย้ำ
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Salt threatens Mekong rice
By Marwaan Macan-Markar
18/04/2012
ปัญหาดินเค็มและน้ำเค็มเพิ่มมากขึ้นในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง กำลังเป็นภัยคุกคามการผลิตข้าวในอาณาบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวถึงเกือบครึ่งหนึ่งของเวียดนาม เวลานี้กำลังมีการศึกษาวิจัยชนิดแข่งกับเวลาเพื่อพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่ทนทานต่อถูกน้ำท่วมได้เกินกว่า 2 สัปดาห์ และก็ต้านทานน้ำเค็มได้มากขึ้น ทั้งนี้ขณะนี้ได้มีการค้นพบหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
กรุงเทพฯ - จากการที่เขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ของเวียดนาม กำลังเผชิญภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนน้ำเค็มที่ไหลทะลักเข้าสู่ดินแดนตอนใน ทำให้อนาคตของเวียดนาม ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญรายหนึ่งของโลก ต้องขึ้นอยู่กับการวิจัยที่กำลังทำกันในฟิลิปปินส์เป็นอย่างยิ่ง
เหล่านักวิทยาศาสตร์ ณ สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute หรือ IRRI) กำลังทำงานร่วมกับพวกนักวิจัยชาวเวียดนาม อยู่ที่เมืองโลส บาโนส (Los Banos) ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงมะนิลา เพื่อพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ทั้งสามารถทนทานการถูกน้ำท่วมได้เกินกว่า 2 สัปดาห์ และทั้งสามารถต้านทานความเค็มได้ เวลานี้ เมื่อทาง IRRIประสบความสำเร็จได้ข้าวพันธุ์ที่ทนทานการถูกน้ำท่วมมิด ซึ่งได้รับฉายาเรียกขานกันว่า “ข้าวประดาน้ำ” (scuba rice) โดยที่มียีนข้าวที่ช่วยให้อยู่รอดได้ในเวลาจมอยู่ในน้ำ (ยีน SUB1) จึงนับว่าสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
“สถาบัน IRRI กำลังทดลองวิจัยค้นหาข้าวพันธุ์ที่สามารถรับมือกับปัญหาทั้งสองอย่างได้” บียอห์น โอเล แซนเดอร์ (Bjorn Ole Sander) นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งของศูนย์วิจัยนอกภาครัฐบาลแห่งนี้ที่เป็นสถาบันวิจัยเรื่องข้าวชั้นนำของโลก กล่าว “ตอนนี้ถึงแม้เรามีข้าวพันธุ์ที่สามารถทนน้ำท่วมได้แล้ว แต่มันก็ยังจะตายอยู่ดีเมื่อเจอกับความเค็ม”
เขื่อน 4 แห่งที่จีนสร้างขึ้นมากั้นเก็บกักน้ำในแม่น้ำโขงตอนบน กำลังส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อนาข้าวในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแห่งนี้ เพราะเมื่อปริมาณน้ำที่ไหลบ่าลงมาตามปกติ ต้องมีอันลดน้อยลงไป น้ำเค็มจากทะเลก็ไหลทะลักเข้าสู่ดินแดนตอนในได้มากขึ้น นอกจากนั้นโคลนตะกอนที่สายน้ำพัดพายังบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในระหว่างน้ำท่วมท้นช่วงฤดูมรสุมของแต่ละปี ก็ยังลดน้อยลงไปด้วย ทำให้ปริมาณปุ๋ยธรรมชาติชนิดนี้หดหาย
แต่กระนั้นหากพยายามมองหาข้อดี เขื่อนเหล่านี้ก็สามารถให้เบาะแสบ่งบอกถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เกือบๆ หนึ่งในสามของเขตสามเหลี่ยนปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวร่วมๆ ครึ่งหนึ่งของเวียดนาม อาจจะถูกน้ำเค็มท่วมมิด ถ้าหากระดับน้ำทะเลเกิดสูงขึ้นมา 1 เมตร ทั้งนี้ตามรายงานการศึกษาซึ่งจัดทำโดย สถาบันเพื่อการศึกษาอุทกอุตุนิยมวิทยาและวิทยาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Institute for Hydrometeorology and Environmental Science ) ของเวียดนาม เมื่อปี 2009
การค้นหาจนกระทั่งได้เมล็ดข้าวที่ตอบปัญหาได้แล้วครึ่งหนึ่ง นั่นคือสามารถต่อสู้กับน้ำท่วมได้นั้น ได้มาจากพันธุ์ข้าวซึ่งมีรากเหง้าต้นกำเนิดอยู่ในรัฐโอริสสา ของอินเดีย ข้าวพันธุ์ดังกล่าวของที่นั่นสามารถกลับฟื้นตัวเติบโตต่อไปได้ใหม่ แม้กระทั่งหลังจากจมอยู่ใต้น้ำมาเป็นเวลา 14 วัน แตกต่างไปจากข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะตายถ้าหากจมน้ำเกินกว่า 1 สัปดาห์
“เรานำมาวิจัยต่อและก็ประสบความสำเร็จโดยที่ไม่ได้ใช้วิธีการทางพันธุกรรมเลย แต่ด้วยวิธีการผสมพันธุ์ข้าวพันธุ์ที่มียีน SUB1” แซนเดอร์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ “ตอนนี้มันสามารถอยู่รอดแม้จมอยู่ในน้ำ 17 วันแล้ว”
อย่างไรก็ดี การค้นหาพันธุ์ข้าวที่ทนทานต่อความเค็ม เพื่อนำมาผสมเข้ากับ “ข้าวประดาน้ำ” เป็นงานที่ยากลำบากกว่ามาก “ยังจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยที่สุด 4 ปีจึงจะสามารถพบพันธุ์ข้าวที่จะทนทานทั้งสองอย่าง นั่นคือทั้งความเค็มและทั้งน้ำท่วม” เขากล่าว “นั่นจึงจะสามารถเป็นคำตอบให้แก่คำถามที่เผชิญกันอยู่ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง จากการที่ถูกน้ำท่วมและจากความเค็มที่มาจากน้ำทะเลหนุนสูง”
น้ำเค็มจากทะเลจีนใต้เวลานี้แผ่รุกเข้าไปในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นระยะทางไกลถึง 40 กิโลเมตรแล้ว ไม่เหมือนกับเมื่อ 30 ปีก่อนซึ่งมันเคยเข้าไปได้เพียงแค่ 10 กิโลเมตรเท่านั้น
“เดิมพันในเวลานี้คืออนาคตของเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทีเดียว นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงกำลังทำงานร่วมกับ IRRI เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สามารถรับมือกับทั้งน้ำท่วมและความเค็ม” เป็นคำบอกเล่าของ เหวียน วัน โบ (Nguyen Van Bo) ประธานของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งเวียดนาม (Vietnam Academy of Agricultural Science) อันเป็นหน่วยงานที่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดนามและมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงฮานอย “นาข้าวในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำประมาณ 7% แล้ว ที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากระดับน้ำทะเลที่กำลังสูงขึ้นมา”
ในเวลานี้เกษตรกรที่นั่นได้เริ่มเปลี่ยนอาชีพกันแล้ว จำนวนมากทีเดียวกำลังเปลี่ยนจากการทำนาข้าวไปทำนากุ้ง เขาบอกกับสำนักข่าาวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) “มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นกันได้ถนัดชัดเจนมากจากในอดีตที่ผ่านมา เพราะเมื่อก่อนนั้นเกษตรกรจะปลูกข้าวสลับกับการทำนากุ้งตามฤดูกาล ไม่ใช่เปลี่ยนอาชีพไปเลย”
และชะตากรรมของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชะตากรรมของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ยังกำลังทำท่าจะเลวร้ายลงไปอีกด้วยซ้ำ นี่เป็นคำเตือนของพวกนักวิทยาศาสตร์การเกษตรและผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของเอเชีย ในการประชุมนัดหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯในเดือนเมษายนนี้ มันจะเป็นความเลวร้ายเพิ่มเติมขึ้นมาอีก จากความทุกข์ยากเดือดร้อนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบอยู่แล้วในปัจจุบัน สืบเนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไม่ปกติ ซึ่งได้กระหน่ำใส่บรรดาชาติผู้ผลิตข้าวรายใหญ่รายอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้ อย่างเช่นประเทศไทย
เขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นแหล่งผลิตข้าวร่วมๆ 50% ของผลผลิตปีละ 42 ล้านตันข้าวเปลือกที่ทำได้ในเวียดนาม ทั้งนี้จากการปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง และทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลกตามหลังประเทศไทยเท่านั้น ในปี 2011 เวียดนามส่งออกข้าวได้สูงเป็นสถิติใหม่ นั่นคือ 7 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นการขายให้แก่ฟิลิปปินส์และตลาดเอเชียอื่นๆ
สำหรับผู้คนกว่า 17 ล้านคนจากประชากรเวียดนามทั่วประเทศ 87 ล้านคน ซึ่งเรียกเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่และอากาศร้อนชื้นแห่งนี้เป็นบ้านของพวกเขานั้น เครือข่ายทางน้ำเครือข่ายนี้มีความสำคัญอย่างที่สุดต่อการปลูกข้าว ทางน้ำแยกย่อยมากมายเหล่านี้ได้น้ำจากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นน้ำของแม่น้ำโขงอยู่ในเขตที่ราบสูงทิเบต จากนั้นก็ไหลระเรื่อยลงมาเป็นระยะทางยาว 4,880 กิโลเมตร ผ่านตอนใต้ของจีน, แตะดินแดนพม่าและไทย, แล้วจึงไหลเลี้ยวลดคดเคี้ยวเข้าไปในลาว, กัมพูชา, และเวียดนาม ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้
รายงานการศึกษาของธนาคารโลกระบุว่า ถ้าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแห่งนี้แหละเป็นพื้นที่ซึ่งจะถูกคุกคามมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบชุมชนริมชายฝั่งต่างๆ ในประเทศกำลังพัฒนารวม 87 ประเทศที่ทำการสำรวจศึกษา
นอกจากนั้นในรายงานฉบับอื่นๆ ก็มีคำเตือนออกมาว่า พืชผลราว 21% ของเอเชียจะได้รับความเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภายในปี 2050 ทว่าคำเตือนเหล่านี้ดูจะยังไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้เหล่าผู้นำรัฐบาลจาก 190 ประเทศซึ่งมาชุมนุมกัน ณ การประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศประจำปีของสหประชาชาติ ตัดสินใจนำเอาภาคการเกษตรเข้าเป็นเรื่องหนึ่งสำหรับการเจรจาต่อรองกัน
“เรื่องการเกษตรและการผลิตอาหาร มีอ้างอิงเอาไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCC) แต่มันยังไม่ได้ถูกแปลให้กลายเป็นภาษาที่จะทำให้ต้องริเริ่มโครงการงานพิเศษโครงการหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ โครงการงานพิเศษว่าด้วยการเกษตรในความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” บรูซ แคมป์เบลล์ (Bruce Campbell) แห่ง กลุ่มที่ปรึกษาว่าด้วยการวิจัยทางการเกษตรระหว่างประเทศ (Consultative Group on International Agricultural Research หรือ CGIAR) กล่าวแจกแจง
“ยังไม่มีเสียงที่เปล่งออกมาร่วมกันในเรื่องการเกษตรในการเจรจาของ UNFCCC” แคมป์เบลล์ กล่าวต่อ เขาเป็นกรรมการคนหนึ่งของ CGIAR ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการอุปถัมภ์จาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organisation หรือ FAO), กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (International Fund for Agricultural Development), โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme), และธนาคารโลก
“การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อระบบการทำการเกษตรต่างๆ และกำลังเป็นอันตรายต่อเรื่องพืชผล” แคมป์เบลล์บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส “ระบบการเกษตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้การเกษตรมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับภูมิอากาศ” เขากล่าวย้ำ
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)