เอเอฟพี - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ที่ปาปัวนิวกินี วันนี้(22) ตามรายงานจากสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ(USGS) ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดินนับร้อยกิโลเมตร จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกราว 105 กิโลเมตร ห่างจากเมืองโกโรกา เมืองหลวงของจังหวัด อีสเทิร์น ไฮแลนด์ส และเมืองพอร์ตมอร์สบีประมาณ 62 และ 324 กิโลเมตร ตามลำดับ
“ด้วยความลึกเกินกว่า 100 กิโลเมตรลงไป จึงไม่น่าจะสร้างความเสียหายมากนัก ไม่มีฉากความสูญเสียครั้งใหญ่แน่นอน” แดน แจ็ค ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวประจำศูนย์ จีโอไซเอินส์ ระบุ
“ชาวเมืองพอร์ตมอร์สบีก็รู้สึกถึงแผ่นดินไหว แต่เป็นแค่แรงสั่นสะเทือนเล็กน้อย”
แผ่นดินไหวระดับนี้เกิดขึ้นจนเป็นปกติในปาปัวนิวกินี ซึ่งตั้งอยู่เหนือรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เรียกกันว่า “วงแหวนไฟแห่งแปซิฟิก”
สัปดาห์ที่แล้ว เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.4 ที่ภูมิภาคนิวบริเทนของปาปัวนิวกินี ทว่าไม่มีรายงานความเสียหายเช่นกัน
“โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างอาคารในปาปัวนิวกินีจะไม่แตกทลายง่ายเหมือนที่พบในภูมิภาคอื่น เช่น ตอนใต้ของยุโรปและตะวันออกกลาง เป็นต้น อาคารที่นี่สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้พอสมควรโดยไม่แตกร้าว เพราะใช้วิธีก่อสร้างไม่เหมือนที่อื่น” คริส แม็คกี ผู้ช่วย ผอ.ศูนย์สังเกตการณ์ทางธรณีฟิสิกส์ เมืองพอร์ตมอร์สบี ระบุ
“บ้านในตะวันออกกลางมักสร้างด้วยอิฐที่ทำจากดินเหนียว ซึ่งไม่ทนแรงสั่นสะเทือนมากนัก ส่วนบ้านเรือนที่นี่มักสร้างด้วยไม้ จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่า”
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกราว 105 กิโลเมตร ห่างจากเมืองโกโรกา เมืองหลวงของจังหวัด อีสเทิร์น ไฮแลนด์ส และเมืองพอร์ตมอร์สบีประมาณ 62 และ 324 กิโลเมตร ตามลำดับ
“ด้วยความลึกเกินกว่า 100 กิโลเมตรลงไป จึงไม่น่าจะสร้างความเสียหายมากนัก ไม่มีฉากความสูญเสียครั้งใหญ่แน่นอน” แดน แจ็ค ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวประจำศูนย์ จีโอไซเอินส์ ระบุ
“ชาวเมืองพอร์ตมอร์สบีก็รู้สึกถึงแผ่นดินไหว แต่เป็นแค่แรงสั่นสะเทือนเล็กน้อย”
แผ่นดินไหวระดับนี้เกิดขึ้นจนเป็นปกติในปาปัวนิวกินี ซึ่งตั้งอยู่เหนือรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เรียกกันว่า “วงแหวนไฟแห่งแปซิฟิก”
สัปดาห์ที่แล้ว เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.4 ที่ภูมิภาคนิวบริเทนของปาปัวนิวกินี ทว่าไม่มีรายงานความเสียหายเช่นกัน
“โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างอาคารในปาปัวนิวกินีจะไม่แตกทลายง่ายเหมือนที่พบในภูมิภาคอื่น เช่น ตอนใต้ของยุโรปและตะวันออกกลาง เป็นต้น อาคารที่นี่สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้พอสมควรโดยไม่แตกร้าว เพราะใช้วิธีก่อสร้างไม่เหมือนที่อื่น” คริส แม็คกี ผู้ช่วย ผอ.ศูนย์สังเกตการณ์ทางธรณีฟิสิกส์ เมืองพอร์ตมอร์สบี ระบุ
“บ้านในตะวันออกกลางมักสร้างด้วยอิฐที่ทำจากดินเหนียว ซึ่งไม่ทนแรงสั่นสะเทือนมากนัก ส่วนบ้านเรือนที่นี่มักสร้างด้วยไม้ จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่า”