เอเอฟพี - ขณะที่เสียงเพลง “ก็อด เซฟ เดอะ ควีน” ดังสะท้อนไปทั่วเกาะอังกฤษในปีนี้ เนื่องจากลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2012 และยังเป็นปีที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ทว่าคงมีพสกนิกรเพียงไม่มากนักที่จะเปล่งเสียงร้องตามไปด้วย ผลวิจัยซึ่งเผยแพร่วันนี้ (25) ระบุ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษซึ่งทำการศึกษาเนื้อร้องและท่วงทำนองของเพลงชาติ พบว่า “ก็อด เซฟ เดอะ ควีน” เป็นเพลงที่ร้องตามได้ยากที่สุด ขณะที่เพลงชาติฝรั่งเศส “ลา มาร์เซแยส” (La Marseillaise) มีปัจจัยเอื้อให้ผู้ฟังร้องตามได้ง่ายที่สุด
แดเนียล มูเอลเลนซีเฟน นักจิตวิทยาเพลงชาวเยอรมันจากสถาบันโกลด์สมิธส์ มหาวิทยาลัยลอนดอน และอาลิซัน พอว์ลีย์ นักดนตรีวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์ก ร่วมกันพัฒนาวิธีที่ใช้วิเคราะห์เพลงชาติของ 6 ประเทศ โดยคำนึงถึงตัวแปรกว่า 30 ชนิด เช่น “การใช้พลังในการเปล่งเสียงร้อง” (vocal effort) ไปจนถึง “ความยาวของวลี” เป็นต้น
นักวิชาการทั้งสองนำเพลงชาติ 6 ประเทศไปเปิดตามผับและไนต์คลับหลายแห่งทางตอนเหนือของอังกฤษ เพื่อนับว่ามีจำนวนคนร้องตามมากน้อยเท่าใด โดยมีผู้ร่วมทดสอบ 1,160 คน
ผลการทดสอบพบว่า เพลงชาติฝรั่งเศสมีผู้ร้องตามมากที่สุด รองลงมาคือ ออสเตรเลีย, เยอรมนี, แคนาดา, สหรัฐฯ และอังกฤษ
พอว์ลีย์อธิบายว่า “ลา มาร์เซแยส” มีผู้ร้องตามมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากเป็นเพลงที่ต้องใช้พลังในการเปล่งเสียง ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนร้องตาม
“ฉันว่าคงไม่มีประเทศไหนพอใจกับผลการศึกษาครั้งนี้แน่ นอกจากฝรั่งเศส” พอว์ลีย์กล่าว
เบน ฟรีดแมน ผู้กำกับละครเวที “Sing-a-long-a-Grease” ซึ่งสนับสนุนงานวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า “มีฉากหนึ่งจากภาพยนตร์เรื่องคาซาบลังกา ที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือตอนที่หัวหน้าแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศสสั่งให้วงดนตรีในริกส์ คาเฟ่ บรรเลงเพลง ลา มาร์เซแยส และทุกๆ คนที่ได้ยินเพลงนั้นก็ร้องตามอย่างสุดจิตสุดใจ เว้นแต่พวกทหารนาซี”
“คงยากที่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนั้นกับก็อด เซฟ เดอะ ควีน” ฟรีดแมนกล่าว
ด้านเพลงชาติสหรัฐฯ “เดอะ สตาร์-สแปงเกิลด์ แบนเนอร์” ก็ทำคะแนนได้เป็นอันดับรองบ๊วย เนื่องจาก “มีจุดอ่อนคล้ายๆ เพลงชาติอังกฤษ ภาษาที่ใช้ค่อนข้างเก่า และต้องลากเสียงยาวพอควร”
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษซึ่งทำการศึกษาเนื้อร้องและท่วงทำนองของเพลงชาติ พบว่า “ก็อด เซฟ เดอะ ควีน” เป็นเพลงที่ร้องตามได้ยากที่สุด ขณะที่เพลงชาติฝรั่งเศส “ลา มาร์เซแยส” (La Marseillaise) มีปัจจัยเอื้อให้ผู้ฟังร้องตามได้ง่ายที่สุด
แดเนียล มูเอลเลนซีเฟน นักจิตวิทยาเพลงชาวเยอรมันจากสถาบันโกลด์สมิธส์ มหาวิทยาลัยลอนดอน และอาลิซัน พอว์ลีย์ นักดนตรีวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์ก ร่วมกันพัฒนาวิธีที่ใช้วิเคราะห์เพลงชาติของ 6 ประเทศ โดยคำนึงถึงตัวแปรกว่า 30 ชนิด เช่น “การใช้พลังในการเปล่งเสียงร้อง” (vocal effort) ไปจนถึง “ความยาวของวลี” เป็นต้น
นักวิชาการทั้งสองนำเพลงชาติ 6 ประเทศไปเปิดตามผับและไนต์คลับหลายแห่งทางตอนเหนือของอังกฤษ เพื่อนับว่ามีจำนวนคนร้องตามมากน้อยเท่าใด โดยมีผู้ร่วมทดสอบ 1,160 คน
ผลการทดสอบพบว่า เพลงชาติฝรั่งเศสมีผู้ร้องตามมากที่สุด รองลงมาคือ ออสเตรเลีย, เยอรมนี, แคนาดา, สหรัฐฯ และอังกฤษ
พอว์ลีย์อธิบายว่า “ลา มาร์เซแยส” มีผู้ร้องตามมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากเป็นเพลงที่ต้องใช้พลังในการเปล่งเสียง ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนร้องตาม
“ฉันว่าคงไม่มีประเทศไหนพอใจกับผลการศึกษาครั้งนี้แน่ นอกจากฝรั่งเศส” พอว์ลีย์กล่าว
เบน ฟรีดแมน ผู้กำกับละครเวที “Sing-a-long-a-Grease” ซึ่งสนับสนุนงานวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า “มีฉากหนึ่งจากภาพยนตร์เรื่องคาซาบลังกา ที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือตอนที่หัวหน้าแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศสสั่งให้วงดนตรีในริกส์ คาเฟ่ บรรเลงเพลง ลา มาร์เซแยส และทุกๆ คนที่ได้ยินเพลงนั้นก็ร้องตามอย่างสุดจิตสุดใจ เว้นแต่พวกทหารนาซี”
“คงยากที่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนั้นกับก็อด เซฟ เดอะ ควีน” ฟรีดแมนกล่าว
ด้านเพลงชาติสหรัฐฯ “เดอะ สตาร์-สแปงเกิลด์ แบนเนอร์” ก็ทำคะแนนได้เป็นอันดับรองบ๊วย เนื่องจาก “มีจุดอ่อนคล้ายๆ เพลงชาติอังกฤษ ภาษาที่ใช้ค่อนข้างเก่า และต้องลากเสียงยาวพอควร”