เอเจนซีส์ - เวิลด์แบงก์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลก เตือนปัญหาหนี้สินสาธารณะของชาติมั่งคั่ง อาจฉุดรั้งไม่เว้นแม้แต่ประเทศกำลังพัฒนา ให้ติดกับดักปัญหาที่อาจเลวร้ายกว่าวิกฤตภาคการเงินโลกในปี 2008 ซึ่งเรียกขานกันว่า “วิกฤตเลห์แมน” หรือ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์”
ธนาคารโลกระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects)ฉบับล่าสุด ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันอังคาร(18)ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตในอัตรา 2.5% และ 3.1% ในปี 2013 ลดลงอย่างชัดเจนจากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ซึ่งให้ไว้ที่ 3.6% ทั้งสองปี และเทียบกับ 2.7% ในปี 2011 ที่ผ่านมา
“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากอย่างมากจากความเสี่ยงขาลงและความเปราะบาง” รายงานล่าสุดของเวิลด์แบง์กล่าว ทั้งนี้หน่วยงานแห่งนี้จัดทำรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกออกมาเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
รายงานเสริมว่า ประเทศที่มีรายได้สูงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับความพึงพอใจของตลาด ในการระดมหาเงินกู้มาอัดฉีดยอดขาดดุลและหนี้ที่ถึงกำหนดชำระของพวกตน เพราะหากตลาดเกิดไม่ตอบสนองแล้ว วิกฤตก็จะแผ่ปกคลุมแบงก์เอกชนและสถาบันการเงินทั้งสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจโลกอาจประสบภาวะถดถอยรุนแรงพอๆ กับหรือรุนแรงกว่า “วิกฤตเลห์แมน” ซึ่งหมายถึงวิกฤตในภาคการเงินโลกที่จุดชนวนโดยการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจอเมริกันยักษ์ใหญ่ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว
ทั้งประเทศมั่งคั่งและประเทศกำลังพัฒนาที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากวิกฤตดังกล่าว ต้องหาทางรับมือแนวโน้มขาลงที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า รายงานเตือนและกล่าวด้วยว่า “หากเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ประเทศต่างๆ จะถูกบีบให้ลดการใช้จ่ายอันจะทำให้วงจรขาลงยิ่งดิ่งลึก”
รายงานระบุว่า การเติบโตในประเทศกำลังพัฒนารายสำคัญ โดยเฉพาะบราซิลและอินเดียนั้น กำลังชะลอลง โดยส่วนหนึ่งเพราะนโยบายคุมเข้มภายในประเทศ
จัสติน หลิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก แนะว่า ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบในอนาคตขณะที่ยังมีเวลา เนื่องจากขณะนี้ถือได้ว่าประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในสภาพอ่อนแอกว่าเมื่อ 4 ปีที่ก่อน
รายงานชี้ว่า นับจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว การหลีกหนีความเสี่ยงไปยังยุโรป ทำให้เกมในประเทศกำลังพัฒนาเปลี่ยน และประเทศเหล่านี้พบว่า ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งขึ้นรุนแรง ขณะที่เงินทุนไหลเข้าน้อยลง
ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนาดิ่งลงเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับปี 2010 แต่ที่น่าตกใจกว่าคือ สถานการณ์อาจเลวร้ายกว่านี้ และเวิลด์แบงก์เตือนให้ 30 ประเทศกำลังพัฒนาที่จำเป็นต้องระดมทุนมากกว่า 10% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เร่งรีไฟแนนซ์ทันที
“แม้ประเทศรวยมีความรับผิดชอบหลักในการป้องกันวิกฤต แต่ประเทศกำลังพัฒนาก็มีหน้าที่ในการสนับสนุนกระบวนการดังกล่าวผ่านทางจี20 และเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ” เขาย้ำ
สิ่งหนึ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาทำได้คือ หลีกเลี่ยงการเข้าสู่ข้อพิพาททางการค้า และด้วยการปล่อยให้ราคาในตลาดเคลื่อนไหวอย่างเสรี
นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนายังควรเริ่มวางแผนฉุกเฉินซึ่งมีการระบุเป้าหมายสำคัญอันดับแรกในการใช้จ่าย โดยพิจารณาความเป็นไปได้ที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และการไหลเข้าของเงินทุนลดต่ำลง รวมทั้งพยายามส่งเสริมโครงการสวัสดิการสังคม
รายงานล่าสุดของเวิลด์แบงก์ปรับลดการคาดการณ์อัตราเติบโตในปีนี้ของประเทศกำลังพัฒนา ลงมาอยู่ที่ 5.4% จากระดับ 6.2% ที่ให้ไว้ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ส่วนประเทศรวย ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าจะขยายตัวเบาบางเพียงแค่ 1.4% ขณะที่ 17 ชาติยูโรโซนมีแนวโน้มหดตัว 0.3%
สำหรับการค้าโลกถูกคาดว่าจะชะลอลงรุนแรงเช่นกัน โดยอัตราเติบโตในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 4.7% จากที่คาดว่าขยายตัว 6.6% ในปีที่ผ่านมา
ธนาคารโลกยังเตือนว่า ยังไร้ความแน่นอนอย่างมากที่จะมีการบรรลุตามตัวเลขคาดการณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความเสี่ยงสำคัญสองอย่างคือ ภาวะขาลงในยุโรป และการเติบโตชะลอลงในประเทศกำลังพัฒนา ต่างแสดงฤทธิ์เสริมแรงซึ่งกันและกัน
รายงานตั้งข้อสังเกตว่า อุปทานน้ำมันอาจประสบปัญหาติดขัด ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
นอกจากนี้ ยอดขาดดุลและหนี้สูงในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ตลอดจนแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอลงในประเทศมั่งคั่งอื่นๆ อาจทำให้เกิดผลร้ายแรงเฉพาะหน้าได้
ธนาคารโลกคาดว่า สหรัฐฯ ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก จะเติบโต 2.2% ในปีนี้ และ 1.9% สำหรับญี่ปุ่น
ส่วนจีนจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกสำคัญ โดยคาดว่าอัตราขยายตัวปีนี้จะอยู่ที่ 8.4% ซึ่งก็ต่ำลงมากทีเดียวจาก 9.1% ที่คาดการณ์ไว้สำหรับปี 2011
ธนาคารโลกระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects)ฉบับล่าสุด ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันอังคาร(18)ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตในอัตรา 2.5% และ 3.1% ในปี 2013 ลดลงอย่างชัดเจนจากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ซึ่งให้ไว้ที่ 3.6% ทั้งสองปี และเทียบกับ 2.7% ในปี 2011 ที่ผ่านมา
“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากอย่างมากจากความเสี่ยงขาลงและความเปราะบาง” รายงานล่าสุดของเวิลด์แบง์กล่าว ทั้งนี้หน่วยงานแห่งนี้จัดทำรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกออกมาเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
รายงานเสริมว่า ประเทศที่มีรายได้สูงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับความพึงพอใจของตลาด ในการระดมหาเงินกู้มาอัดฉีดยอดขาดดุลและหนี้ที่ถึงกำหนดชำระของพวกตน เพราะหากตลาดเกิดไม่ตอบสนองแล้ว วิกฤตก็จะแผ่ปกคลุมแบงก์เอกชนและสถาบันการเงินทั้งสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจโลกอาจประสบภาวะถดถอยรุนแรงพอๆ กับหรือรุนแรงกว่า “วิกฤตเลห์แมน” ซึ่งหมายถึงวิกฤตในภาคการเงินโลกที่จุดชนวนโดยการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจอเมริกันยักษ์ใหญ่ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว
ทั้งประเทศมั่งคั่งและประเทศกำลังพัฒนาที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากวิกฤตดังกล่าว ต้องหาทางรับมือแนวโน้มขาลงที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า รายงานเตือนและกล่าวด้วยว่า “หากเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ประเทศต่างๆ จะถูกบีบให้ลดการใช้จ่ายอันจะทำให้วงจรขาลงยิ่งดิ่งลึก”
รายงานระบุว่า การเติบโตในประเทศกำลังพัฒนารายสำคัญ โดยเฉพาะบราซิลและอินเดียนั้น กำลังชะลอลง โดยส่วนหนึ่งเพราะนโยบายคุมเข้มภายในประเทศ
จัสติน หลิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก แนะว่า ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบในอนาคตขณะที่ยังมีเวลา เนื่องจากขณะนี้ถือได้ว่าประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในสภาพอ่อนแอกว่าเมื่อ 4 ปีที่ก่อน
รายงานชี้ว่า นับจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว การหลีกหนีความเสี่ยงไปยังยุโรป ทำให้เกมในประเทศกำลังพัฒนาเปลี่ยน และประเทศเหล่านี้พบว่า ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งขึ้นรุนแรง ขณะที่เงินทุนไหลเข้าน้อยลง
ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนาดิ่งลงเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับปี 2010 แต่ที่น่าตกใจกว่าคือ สถานการณ์อาจเลวร้ายกว่านี้ และเวิลด์แบงก์เตือนให้ 30 ประเทศกำลังพัฒนาที่จำเป็นต้องระดมทุนมากกว่า 10% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เร่งรีไฟแนนซ์ทันที
“แม้ประเทศรวยมีความรับผิดชอบหลักในการป้องกันวิกฤต แต่ประเทศกำลังพัฒนาก็มีหน้าที่ในการสนับสนุนกระบวนการดังกล่าวผ่านทางจี20 และเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ” เขาย้ำ
สิ่งหนึ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาทำได้คือ หลีกเลี่ยงการเข้าสู่ข้อพิพาททางการค้า และด้วยการปล่อยให้ราคาในตลาดเคลื่อนไหวอย่างเสรี
นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนายังควรเริ่มวางแผนฉุกเฉินซึ่งมีการระบุเป้าหมายสำคัญอันดับแรกในการใช้จ่าย โดยพิจารณาความเป็นไปได้ที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และการไหลเข้าของเงินทุนลดต่ำลง รวมทั้งพยายามส่งเสริมโครงการสวัสดิการสังคม
รายงานล่าสุดของเวิลด์แบงก์ปรับลดการคาดการณ์อัตราเติบโตในปีนี้ของประเทศกำลังพัฒนา ลงมาอยู่ที่ 5.4% จากระดับ 6.2% ที่ให้ไว้ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ส่วนประเทศรวย ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าจะขยายตัวเบาบางเพียงแค่ 1.4% ขณะที่ 17 ชาติยูโรโซนมีแนวโน้มหดตัว 0.3%
สำหรับการค้าโลกถูกคาดว่าจะชะลอลงรุนแรงเช่นกัน โดยอัตราเติบโตในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 4.7% จากที่คาดว่าขยายตัว 6.6% ในปีที่ผ่านมา
ธนาคารโลกยังเตือนว่า ยังไร้ความแน่นอนอย่างมากที่จะมีการบรรลุตามตัวเลขคาดการณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความเสี่ยงสำคัญสองอย่างคือ ภาวะขาลงในยุโรป และการเติบโตชะลอลงในประเทศกำลังพัฒนา ต่างแสดงฤทธิ์เสริมแรงซึ่งกันและกัน
รายงานตั้งข้อสังเกตว่า อุปทานน้ำมันอาจประสบปัญหาติดขัด ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
นอกจากนี้ ยอดขาดดุลและหนี้สูงในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ตลอดจนแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอลงในประเทศมั่งคั่งอื่นๆ อาจทำให้เกิดผลร้ายแรงเฉพาะหน้าได้
ธนาคารโลกคาดว่า สหรัฐฯ ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก จะเติบโต 2.2% ในปีนี้ และ 1.9% สำหรับญี่ปุ่น
ส่วนจีนจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกสำคัญ โดยคาดว่าอัตราขยายตัวปีนี้จะอยู่ที่ 8.4% ซึ่งก็ต่ำลงมากทีเดียวจาก 9.1% ที่คาดการณ์ไว้สำหรับปี 2011