เอเจนซี - โออีซีดีระบุ ไม่มีประเทศเศรษฐกิจชั้นนำรายใดหรือกระทั่งมหาอำนาจเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ สามารถรอดพ้นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้ ตอกย้ำสัญญาณชัดเจนว่าโมเมนตัมการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงขาลงทั่วหน้า
องค์การความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ที่เป็นหน่วยงานคลังสมองของพวกชาติพัฒนาแล้วทั้งหลาย ออกคำแถลงเมื่อวันจันทร์ (14) ว่าดัชนีชี้นำผสม (ซีแอลไอ) ของบรรดาชาติสมาชิก ได้ลดร่าลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อยู่ที่ 100.4 ในเดือนกันยายน จาก 100.9 ในเดือนสิงหาคม และทำสถิติต่ำสุดนับจากเดือนธันวาคม 2009
ดัชนีสำหรับสมาชิกแต่ละประเทศ ตลอดจนถึงชาติกำลังพัฒนาชั้นนำ ล้วนบ่งชี้ภาวะชะลอตัว โดยหลายประเทศมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระยะยาว
คำแถลงของโออีซีดีแจงว่า หากเปรียบเทียบกับตัวเลขประมาณการของเดือนที่แล้ว จะพบว่าซีแอลไอบ่งชี้ชัดเจนถึงการชะลอตัวในประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งหมด
ทั้งนี้ ดัชนีซีแอลไอพัฒนาขึ้นมาเพื่อคาดการณ์จุดเปลี่ยนในกิจกรรมเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับแนวโน้ม โดยที่การเปลี่ยนแปลงของดัชนีมักชี้นำจุดเปลี่ยนในกิจกรรมเศรษฐกิจในระยะเวลา 6 เดือนโดยประมาณ
ดัชนีซีแอลไอของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือจี 7 ลดจากจาก 101.1 ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 100.6 ขณะที่ดัชนีของยูโรโซนลดจาก 99.9 เหลือ 99.1 ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระยะยาวที่ 100
ดัชนีซีแอลไอของญี่ปุ่นยังสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระยะยาวที่ 100 โดยอยู่ที่ 101.6 แต่ลดจาก 102.0 บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังแผ่นดินไหวและสึนามิเริ่มแกว่ง
พลวัตรเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแรงลงเล็กน้อย คือ 101.2 จาก 101.5
สำหรับเศรษฐกิจจีนนั้นขยับลงเบาหวิว จาก 99.9 อยู่ที่ 99.8 ขณะที่เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ชั้นนำอื่นๆ อยู่ในช่วงขาลงเช่นเดียวกัน อาทิ บราซิลลดจาก 95.1 อยู่ที่ 94.0 และอินเดีย จาก 94.4 เหลือ 93.8
อนึ่ง ในรายงานที่เผยแพร่ออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โออีซีดีประเมินว่าในปี 2012 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวเพียง 1.8% จากที่คาดไว้เดิม 3.1% ส่วนยูโรโซนลดฮวบเหลือแค่ 0.3% จากที่คาดไว้ 2.0% ในเดือนพฤษภาคม
องค์การความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ที่เป็นหน่วยงานคลังสมองของพวกชาติพัฒนาแล้วทั้งหลาย ออกคำแถลงเมื่อวันจันทร์ (14) ว่าดัชนีชี้นำผสม (ซีแอลไอ) ของบรรดาชาติสมาชิก ได้ลดร่าลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อยู่ที่ 100.4 ในเดือนกันยายน จาก 100.9 ในเดือนสิงหาคม และทำสถิติต่ำสุดนับจากเดือนธันวาคม 2009
ดัชนีสำหรับสมาชิกแต่ละประเทศ ตลอดจนถึงชาติกำลังพัฒนาชั้นนำ ล้วนบ่งชี้ภาวะชะลอตัว โดยหลายประเทศมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระยะยาว
คำแถลงของโออีซีดีแจงว่า หากเปรียบเทียบกับตัวเลขประมาณการของเดือนที่แล้ว จะพบว่าซีแอลไอบ่งชี้ชัดเจนถึงการชะลอตัวในประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งหมด
ทั้งนี้ ดัชนีซีแอลไอพัฒนาขึ้นมาเพื่อคาดการณ์จุดเปลี่ยนในกิจกรรมเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับแนวโน้ม โดยที่การเปลี่ยนแปลงของดัชนีมักชี้นำจุดเปลี่ยนในกิจกรรมเศรษฐกิจในระยะเวลา 6 เดือนโดยประมาณ
ดัชนีซีแอลไอของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือจี 7 ลดจากจาก 101.1 ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 100.6 ขณะที่ดัชนีของยูโรโซนลดจาก 99.9 เหลือ 99.1 ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระยะยาวที่ 100
ดัชนีซีแอลไอของญี่ปุ่นยังสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยระยะยาวที่ 100 โดยอยู่ที่ 101.6 แต่ลดจาก 102.0 บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังแผ่นดินไหวและสึนามิเริ่มแกว่ง
พลวัตรเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแรงลงเล็กน้อย คือ 101.2 จาก 101.5
สำหรับเศรษฐกิจจีนนั้นขยับลงเบาหวิว จาก 99.9 อยู่ที่ 99.8 ขณะที่เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ชั้นนำอื่นๆ อยู่ในช่วงขาลงเช่นเดียวกัน อาทิ บราซิลลดจาก 95.1 อยู่ที่ 94.0 และอินเดีย จาก 94.4 เหลือ 93.8
อนึ่ง ในรายงานที่เผยแพร่ออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โออีซีดีประเมินว่าในปี 2012 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวเพียง 1.8% จากที่คาดไว้เดิม 3.1% ส่วนยูโรโซนลดฮวบเหลือแค่ 0.3% จากที่คาดไว้ 2.0% ในเดือนพฤษภาคม