(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Cambodia’s unrealized promise
By Ou Virak
27/10/2011
ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส ซึ่งยุติสงครามกลางเมืองกับพวกเขมรแดงในกัมพูชา เวียนมาบรรจบครบรอบ 20 ปีในสัปดาห์นี้ ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจก้าวหน้าไปในระดับที่น่ายินดีทีเดียว อย่างไรก็ตาม การที่นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ไม่ค่อยเคารพหลักนิติธรรม จึงเปิดทางให้ชนชั้นนำที่ทุจริตฉ้อฉลสามารถมุ่งเสาะแสวงหาความมั่งคั่งร่ำรวยอย่างโหดเหี้ยมทารุณ โดยที่ผู้ยากไร้ทั้งหลายคือพวกที่ต้องทุกข์ยากสูญเสีย ขณะที่การก้าวไปสู่อนาคตแห่งประชาธิปไตย ดังที่ชาวกัมพูชาผู้ทนลำบากยากแค้นมานมนานเคยได้รับคำมั่นสัญญาเป็นมั่นเหมาะนั้น กลับแทบไม่มีความคืบหน้าใดๆ เลย
พนมเปญ – ย้อนหลังไป 20 ปีจากสัปดาห์นี้ เวลานั้นกัมพูชาได้ย่างก้าวเข้าสู่รุ่งอรุณของวันใหม่ด้วยความหาญกล้า ฝ่ายต่างๆ 4 ฝ่ายในกัมพูชาที่ได้ต่อสู้กันในสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อนับตั้งแต่ที่ระบอบปกครองเขมรแดงถูกโค่นล้มลงในปี 1979 (หมายเหตุผู้แปล- การโค่นล้มเขมรแดงคราวนั้น กลุ่มเฮงสัมริน-เพ็ญโสวัน-ฮุนเซน เป็นหุ่นเชิดของกองทัพเวียดนามที่บุกรุกรานเข้าไปในกัมพูชา) พร้อมกับผู้ร่วมลงนามจากอีก 18 ประเทศได้ไปชุมนุมกันที่กรุงปารีส เพื่อลงนามใน ความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา (Agreement on a Comprehensive Political Settlement of the Cambodian Conflict) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) มันเป็นเอกสารที่ให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาชนชาวกัมพูชาว่า ประเทศของพวกเขาจะมีสันติภาพ, เสถียรภาพ, ประชาธิปไตย, และสิทธิมนุษยชน ภายหลังเกิดสงครามและความยากลำบากมาหลายสิบปี
นับตั้งแต่ลงนามในข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Royal Government of Cambodia หรือ RGC) สามารถสร้างผลงานที่น่ายกย่องสรรเสริญบางอย่างบางประการ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเฝ้าชมการแตกสลายลงในที่สุดของฝ่ายเขมรแดงภายหลังช่วงเวลากว่า 30 ปีแห่งสงคราม, การเข่นฆ่าสังหารหมู่, และความทุกข์ยากลำเข็ญอย่างกว้างขวาง RGC ยังเป็นผู้จัดตั้งศาลพิเศษพิจารณาคดีเขมรแดง ในความพยายามที่จะให้ความยุติธรรมแก่บรรดาเหยื่อของระบอบปกครองฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รายนี้ นอกจากนั้น RGC ยังลงนามในข้อตกลงและสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับต่างๆ ตลอดจนเป็นเป็นผู้กำกับดูแลจนกระทั่งกัมพูชาได้เข้าเป็นชาติสมาชิกรายหนึ่งของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) รวมทั้งยังประสบความสำเร็จในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับที่น่าพอใจทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ในกิจการทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ผลสำเร็จของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากลับมีความกระจะชัดเจนน้อยกว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนมักดูหมิ่นเย้ยเยาะข้อตกลงจำนวนมากที่ได้ให้สัตยาบันรับรองไปแล้วอยู่เป็นประจำ และกลับยิ่งทำการปกป้องวัฒนธรรมแห่งการคอร์รัปชั่นและวัฒนธรรมแห่งการไม่ลงโทษผู้กระทำผิด แถมยินยอมปล่อยให้ช่วงห่างในเรื่องความมั่งคั่งระหว่างชนชั้นนำกับชาวกัมพูชาส่วนข้างมากที่จ่อมจมอยู่ในความยากจน กลับขยายถ่างกว้างออกไปอย่างน่ากลัวเกรงอันตราย นอกจากนั้นยังเปิดการรณรงค์ทางด้านนิติบัญญัติและทางด้านการบริหารราชการอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนเพื่อควบคุมชีวิตของประชาชนกัมพูชาในทุกๆ ด้าน โดยที่แสดงให้เห็นเพียงน้อยนิดเหลือเกินว่าเคารพรับรองเรื่องหลักนิติรัฐ, สถาบันต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย, ตลอดจนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพด้านต่างๆ
ในกัมพูชา เสรีภาพแห่งการแสดงความคิดเห็นถูกบีบคั้นกดรัดเรื่อยมา ทั้งนี้พวกที่ต้องการแสดงทัศนะอย่างเปิดเผยและทำการประท้วงอย่างสันติ กำลังถูกปิดปากมากขึ้นเรื่อยๆ จากเครื่องมือทั้งทางด้านนิติบัญญัติและทางด้านตุลาการ ภายหลังจากมีชัยได้ครองเสียงข้างมากอย่างมั่นคงยิ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party หรือ CPP) ที่เป็นพรรครัฐบาลปกครองประเทศ ก็ได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมายจำนวนมากที่ทำให้พรรคนี้เป็นผู้ได้เปรียบทางการเมือง รวมทั้งยังทำท่าจะออกกฎหมายลักษณะเช่นนี้ให้มากขึ้นอีก ขณะที่ศาลยุติธรรมซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายบริหารอย่างสิ้นเชิงนั้น บ่อยครั้งทีเดียวก็ทำตัวเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายที่ต่อต้านประชาธิปไตย ตลอดจนเป็นผู้ปฏิบัติตามตามมาตรการอันเข้มงวดบีบคั้นซึ่งออกมาภายใต้ผ้าคลุมความถูกต้องชอบธรรมตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ
ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา ซี่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2010 ระบุเอาไว้ว่า การเผยแพร่ “ข่าวสารข้อมูลอันเป็นเท็จ” และการหมิ่นประมาท เป็นความผิดทางอาญาที่อาจถูกลงโทษถึงขั้นจำคุก ปรากฏว่ากฎหมายเหล่านี้กำลังถูกนำมาใช้เพื่อปิดปากสงบเสียงบรรดานักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและผู้คนอื่นๆ ซึ่งตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์บุคลาการ, นโยบาย, และการกระทำต่างๆ ของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
เรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพแห่งการจัดตั้งสมาคม ก็กำลังกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของรัฐบาลในช่วงหลังๆ มานี้ กฎหมายฉบับล่าสุดและก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงที่สุดในกรอบแห่งการรณรงค์ด้านนิติบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ของรัฐบาล ได้แก่ ร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมและองค์กรนอกภาครัฐบาล (Law on Associations and Non-Governmental Organizations เรียกกันย่อๆ ว่า LANGO) ร่างกฎหมายที่ยังถูกเลื่อนการพิจารณาไปก่อนฉบับนี้ มีบทบังคับให้องค์กรนอกภาครัฐบาล (non-governmental organizations หรือ NGOs) ทุกๆ องค์กร ตลอดจนองค์กรที่อิงอยู่กับชุมชนทุกๆ แห่ง ต้องจดทะเบียนกับทางการ พร้อมกันนั้นก็ให้อำนาจทางการในการลงโทษแทรกแซงองค์กรเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงอำนาจในการสั่งระงับการดำเนินงาน และกระทั่งอำนาจในการสั่งให้ยุติการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ด้วย
ร่างกฎหมายว่าด้วยสหภาพแรงงาน ซึ่งกำลังจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากยังคงมีเนื้อหาเหมือนในร่างฉบับปัจจุบันแล้ว ก็มีอันตรายที่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้แก่สิทธิเสรีภาพแห่งการจัดตั้งสมาคมขึ้นในกัมพูชา เนื่องจากกระบวนการในการจดทะเบียนเป็นสหภาพแรงงาน ตลอดจนข้อกำหนดในการยื่นรายงานด้านต่างๆ ภายหลังเป็นสหภาพแรงงานแล้ว เต็มไปด้วยความยุ่งยากและกลายเป็นภาระหนักหน่วงของกลุ่มลูกจ้าง
ภายใต้ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว กลุ่มทั้งหลายทั้งปวงจะต้องจดทะเบียนแจ้งกิจกรรมของพวกเขา ถ้าหากกระทำการรวมตัวจัดตั้งกันขึ้นมาในลักษณะเอ็นจีโอหรือสหภาพแรงงานแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว ก็จะถูกถือว่ากระทำผิดกฎหมาย เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นต้นว่า การสั่งระงับการดำเนินงานของเอ็นจีโอแห่งหนึ่งที่กำลังทำการติดตามตรวจสอบโครงการจ่ายเงินชดเชยของรัฐบาลโครงการหนึ่ง ตลอดจนการที่เจ้าหน้าที่ทางการได้เข้าไปก่อกวนล่วงละเมิดและข่มขู่คุกคามเอ็นจีโอแห่งอื่นๆ ซึ่งทำหน้าที่คอยเฝ้าระวังและคอยให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าร่างกฎหมายเหล่านี้คือส่วนหนึ่งแห่งความพยายามอันกว้างไกลยิ่งกว่านั้นของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมุ่งที่จะลดทอนพื้นที่ทางประชาธิปไตย และสยบปิดปากภาคประชาสังคม
กัมพูชาในเวลานี้กำลังตกอยู่ในสภาพที่ปราศจากฝ่ายค้านทางการเมืองชนิดที่สามารถทำงานได้ ดังนั้นในทางเป็นจริงแล้วจึงเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองอยู่เพียงพรรคเดียวเท่านั้น สม รังสี (Sam Rainsy) ผู้นำของพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ใช้ชื่อของเขาเองมาเป็นนามของพรรค นั่นคือ พรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party) ปัจจุบันกำลังหลบหนีลี้ภัยอยู่ในต่างแดนโดยที่เขาถูกตั้งข้อหาทางอาญามากมายซึ่งล้วนแต่เป็นข้อกล่าวหาที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง แกม สุขะ (Kem Sokha) หัวหน้าพรรคสิทธิมนุษยชน (Human Rights Party) ก็กำลังถูกคุกคามว่าจะถูกเล่นงานในทางกฎหมายอยู่เหมือนกัน มันไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้หรอกว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปคราวต่อไปในปี 2013 ผู้นำของพรรคการเมืองฝ่ายค้านหลักๆ ทั้งสองพรรค อาจไม่ได้ลงสมัครเข้าแข่งขันด้วย
ในการกล่าวปราศรัยครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ในปีนี้ ฮุนเซน ได้เคยพูดสรุปถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเขาที่จะ “ทำให้กลุ่มฝ่ายค้านล้มตายไป” และหลังจากนั้นมาก็ลั่นปากให้คำมั่นที่จะจับกุมนักวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลผู้หนึ่ง ซึ่งการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ “อาหรับ สปริง” ของเขา ถูกรัฐบาลมองว่าคือความพยายามที่จะยุยงให้เกิดการลุกฮือของประชาชนในทำนองเดียวกันขึ้นในกัมพูชา
แทนที่จะพยายามจำกัดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายค้าน รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาควรที่จะให้ความมั่นใจว่า การพัฒนาที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่จะให้ประโยชน์แก่ทุกๆ คน โดยที่การพัฒนาทางสังคมจะได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญทัดเทียมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาและมีความปราดเปรื่องทางเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จะต้องสามารถแสดงบทบาทของตนเอง โดยที่คนหนุ่มคนสาวควรจะได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆ ที่พวกคนรุ่นก่อนหน้าพวกเขาได้ถูกลิดรอนไป สืบเนื่องจากความต้องการอันดำมืดของระบอบปกครองแสนทารุณโหดร้ายของเขมรแดง
ชนชั้นนักวิชาชีพที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ มีความคิดฝันต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศไฮเทคที่มีการศึกษาและมั่งคั่งรุ่งเรือง สามารถแสดงบทบาทเป็นผู้นำรายหนึ่งในสมาคมอาเซียน ทว่าภายใต้ระบอบปกครองปัจจุบันและข้อจำกัดบีบรัดต่างๆ ในเวลานี้ วิสัยทัศน์แบบประชาธิปไตยนั่นแหละที่กำลังตกอยู่ในอันตรายว่า จะไม่อาจกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้
ประชาคมระหว่างประเทศนั้น สามารถที่จะทำอะไรได้มากทีเดียว ขณะที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาพยายามโต้แย้งว่า การดำเนินการและการคุ้มครองปกป้องในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เป็นประเด็นปัญหาทางด้านอธิปไตย ซึ่งนานาชาติไม่สามารถที่จะเข้ามาแทรกแซงได้ ทว่าผู้ร่วมลงนามรายอื่นๆ อีก 18 ประเทศในข้อตกลงสันติภาพแห่งกรุงปารีส ตลอดจนสหประชาชาติ ย่อมมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องคุ้มครองปกป้องและส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา
ฝ่ายต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะใช้พลังทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของพวกเขา เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ประชาชนชาวกัมพูชาผู้ได้รับความยากลำบากมานมนานแล้ว จะสามารถได้ชื่นชมกับประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอันวัฒนาสถาพร เหมือนกับที่ได้เคยให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาเมื่อ 20 ปีก่อน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับอนาคตของกัมพูชาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา, ชาติผู้ร่วมลงนามในข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส, สหประชาชาติ, ชาติผู้บริจาคความช่วยเหลือให้แก่กัมพูชา, และประชาชนชาวกัมพูชา ควรที่จะใช้วาระครบรอบ 20 ปีคราวนี้มาเป็นโอกาสในการก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า คำมั่นสัญญาและการลงทุนอย่างเอาจริงเอาจังของพวกเขาจักต้องไม่ถูกถลุงให้เปล่าเปลืองไปอย่างไร้ค่า
อู วิรัก เป็นประธานของศูนย์กลางชาวกัมพูชาเพื่อสิทธิมนุษยชน (Cambodian Center for Human Rights) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงพนมเปญ
Cambodia’s unrealized promise
By Ou Virak
27/10/2011
ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส ซึ่งยุติสงครามกลางเมืองกับพวกเขมรแดงในกัมพูชา เวียนมาบรรจบครบรอบ 20 ปีในสัปดาห์นี้ ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจก้าวหน้าไปในระดับที่น่ายินดีทีเดียว อย่างไรก็ตาม การที่นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ไม่ค่อยเคารพหลักนิติธรรม จึงเปิดทางให้ชนชั้นนำที่ทุจริตฉ้อฉลสามารถมุ่งเสาะแสวงหาความมั่งคั่งร่ำรวยอย่างโหดเหี้ยมทารุณ โดยที่ผู้ยากไร้ทั้งหลายคือพวกที่ต้องทุกข์ยากสูญเสีย ขณะที่การก้าวไปสู่อนาคตแห่งประชาธิปไตย ดังที่ชาวกัมพูชาผู้ทนลำบากยากแค้นมานมนานเคยได้รับคำมั่นสัญญาเป็นมั่นเหมาะนั้น กลับแทบไม่มีความคืบหน้าใดๆ เลย
พนมเปญ – ย้อนหลังไป 20 ปีจากสัปดาห์นี้ เวลานั้นกัมพูชาได้ย่างก้าวเข้าสู่รุ่งอรุณของวันใหม่ด้วยความหาญกล้า ฝ่ายต่างๆ 4 ฝ่ายในกัมพูชาที่ได้ต่อสู้กันในสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อนับตั้งแต่ที่ระบอบปกครองเขมรแดงถูกโค่นล้มลงในปี 1979 (หมายเหตุผู้แปล- การโค่นล้มเขมรแดงคราวนั้น กลุ่มเฮงสัมริน-เพ็ญโสวัน-ฮุนเซน เป็นหุ่นเชิดของกองทัพเวียดนามที่บุกรุกรานเข้าไปในกัมพูชา) พร้อมกับผู้ร่วมลงนามจากอีก 18 ประเทศได้ไปชุมนุมกันที่กรุงปารีส เพื่อลงนามใน ความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา (Agreement on a Comprehensive Political Settlement of the Cambodian Conflict) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) มันเป็นเอกสารที่ให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาชนชาวกัมพูชาว่า ประเทศของพวกเขาจะมีสันติภาพ, เสถียรภาพ, ประชาธิปไตย, และสิทธิมนุษยชน ภายหลังเกิดสงครามและความยากลำบากมาหลายสิบปี
นับตั้งแต่ลงนามในข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Royal Government of Cambodia หรือ RGC) สามารถสร้างผลงานที่น่ายกย่องสรรเสริญบางอย่างบางประการ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเฝ้าชมการแตกสลายลงในที่สุดของฝ่ายเขมรแดงภายหลังช่วงเวลากว่า 30 ปีแห่งสงคราม, การเข่นฆ่าสังหารหมู่, และความทุกข์ยากลำเข็ญอย่างกว้างขวาง RGC ยังเป็นผู้จัดตั้งศาลพิเศษพิจารณาคดีเขมรแดง ในความพยายามที่จะให้ความยุติธรรมแก่บรรดาเหยื่อของระบอบปกครองฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รายนี้ นอกจากนั้น RGC ยังลงนามในข้อตกลงและสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับต่างๆ ตลอดจนเป็นเป็นผู้กำกับดูแลจนกระทั่งกัมพูชาได้เข้าเป็นชาติสมาชิกรายหนึ่งของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) รวมทั้งยังประสบความสำเร็จในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับที่น่าพอใจทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ในกิจการทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ผลสำเร็จของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากลับมีความกระจะชัดเจนน้อยกว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนมักดูหมิ่นเย้ยเยาะข้อตกลงจำนวนมากที่ได้ให้สัตยาบันรับรองไปแล้วอยู่เป็นประจำ และกลับยิ่งทำการปกป้องวัฒนธรรมแห่งการคอร์รัปชั่นและวัฒนธรรมแห่งการไม่ลงโทษผู้กระทำผิด แถมยินยอมปล่อยให้ช่วงห่างในเรื่องความมั่งคั่งระหว่างชนชั้นนำกับชาวกัมพูชาส่วนข้างมากที่จ่อมจมอยู่ในความยากจน กลับขยายถ่างกว้างออกไปอย่างน่ากลัวเกรงอันตราย นอกจากนั้นยังเปิดการรณรงค์ทางด้านนิติบัญญัติและทางด้านการบริหารราชการอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนเพื่อควบคุมชีวิตของประชาชนกัมพูชาในทุกๆ ด้าน โดยที่แสดงให้เห็นเพียงน้อยนิดเหลือเกินว่าเคารพรับรองเรื่องหลักนิติรัฐ, สถาบันต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย, ตลอดจนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพด้านต่างๆ
ในกัมพูชา เสรีภาพแห่งการแสดงความคิดเห็นถูกบีบคั้นกดรัดเรื่อยมา ทั้งนี้พวกที่ต้องการแสดงทัศนะอย่างเปิดเผยและทำการประท้วงอย่างสันติ กำลังถูกปิดปากมากขึ้นเรื่อยๆ จากเครื่องมือทั้งทางด้านนิติบัญญัติและทางด้านตุลาการ ภายหลังจากมีชัยได้ครองเสียงข้างมากอย่างมั่นคงยิ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party หรือ CPP) ที่เป็นพรรครัฐบาลปกครองประเทศ ก็ได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมายจำนวนมากที่ทำให้พรรคนี้เป็นผู้ได้เปรียบทางการเมือง รวมทั้งยังทำท่าจะออกกฎหมายลักษณะเช่นนี้ให้มากขึ้นอีก ขณะที่ศาลยุติธรรมซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายบริหารอย่างสิ้นเชิงนั้น บ่อยครั้งทีเดียวก็ทำตัวเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายที่ต่อต้านประชาธิปไตย ตลอดจนเป็นผู้ปฏิบัติตามตามมาตรการอันเข้มงวดบีบคั้นซึ่งออกมาภายใต้ผ้าคลุมความถูกต้องชอบธรรมตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ
ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา ซี่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2010 ระบุเอาไว้ว่า การเผยแพร่ “ข่าวสารข้อมูลอันเป็นเท็จ” และการหมิ่นประมาท เป็นความผิดทางอาญาที่อาจถูกลงโทษถึงขั้นจำคุก ปรากฏว่ากฎหมายเหล่านี้กำลังถูกนำมาใช้เพื่อปิดปากสงบเสียงบรรดานักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและผู้คนอื่นๆ ซึ่งตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์บุคลาการ, นโยบาย, และการกระทำต่างๆ ของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
เรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพแห่งการจัดตั้งสมาคม ก็กำลังกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของรัฐบาลในช่วงหลังๆ มานี้ กฎหมายฉบับล่าสุดและก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงที่สุดในกรอบแห่งการรณรงค์ด้านนิติบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ของรัฐบาล ได้แก่ ร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมและองค์กรนอกภาครัฐบาล (Law on Associations and Non-Governmental Organizations เรียกกันย่อๆ ว่า LANGO) ร่างกฎหมายที่ยังถูกเลื่อนการพิจารณาไปก่อนฉบับนี้ มีบทบังคับให้องค์กรนอกภาครัฐบาล (non-governmental organizations หรือ NGOs) ทุกๆ องค์กร ตลอดจนองค์กรที่อิงอยู่กับชุมชนทุกๆ แห่ง ต้องจดทะเบียนกับทางการ พร้อมกันนั้นก็ให้อำนาจทางการในการลงโทษแทรกแซงองค์กรเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงอำนาจในการสั่งระงับการดำเนินงาน และกระทั่งอำนาจในการสั่งให้ยุติการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ด้วย
ร่างกฎหมายว่าด้วยสหภาพแรงงาน ซึ่งกำลังจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากยังคงมีเนื้อหาเหมือนในร่างฉบับปัจจุบันแล้ว ก็มีอันตรายที่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้แก่สิทธิเสรีภาพแห่งการจัดตั้งสมาคมขึ้นในกัมพูชา เนื่องจากกระบวนการในการจดทะเบียนเป็นสหภาพแรงงาน ตลอดจนข้อกำหนดในการยื่นรายงานด้านต่างๆ ภายหลังเป็นสหภาพแรงงานแล้ว เต็มไปด้วยความยุ่งยากและกลายเป็นภาระหนักหน่วงของกลุ่มลูกจ้าง
ภายใต้ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว กลุ่มทั้งหลายทั้งปวงจะต้องจดทะเบียนแจ้งกิจกรรมของพวกเขา ถ้าหากกระทำการรวมตัวจัดตั้งกันขึ้นมาในลักษณะเอ็นจีโอหรือสหภาพแรงงานแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว ก็จะถูกถือว่ากระทำผิดกฎหมาย เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นต้นว่า การสั่งระงับการดำเนินงานของเอ็นจีโอแห่งหนึ่งที่กำลังทำการติดตามตรวจสอบโครงการจ่ายเงินชดเชยของรัฐบาลโครงการหนึ่ง ตลอดจนการที่เจ้าหน้าที่ทางการได้เข้าไปก่อกวนล่วงละเมิดและข่มขู่คุกคามเอ็นจีโอแห่งอื่นๆ ซึ่งทำหน้าที่คอยเฝ้าระวังและคอยให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าร่างกฎหมายเหล่านี้คือส่วนหนึ่งแห่งความพยายามอันกว้างไกลยิ่งกว่านั้นของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมุ่งที่จะลดทอนพื้นที่ทางประชาธิปไตย และสยบปิดปากภาคประชาสังคม
กัมพูชาในเวลานี้กำลังตกอยู่ในสภาพที่ปราศจากฝ่ายค้านทางการเมืองชนิดที่สามารถทำงานได้ ดังนั้นในทางเป็นจริงแล้วจึงเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองอยู่เพียงพรรคเดียวเท่านั้น สม รังสี (Sam Rainsy) ผู้นำของพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ใช้ชื่อของเขาเองมาเป็นนามของพรรค นั่นคือ พรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party) ปัจจุบันกำลังหลบหนีลี้ภัยอยู่ในต่างแดนโดยที่เขาถูกตั้งข้อหาทางอาญามากมายซึ่งล้วนแต่เป็นข้อกล่าวหาที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง แกม สุขะ (Kem Sokha) หัวหน้าพรรคสิทธิมนุษยชน (Human Rights Party) ก็กำลังถูกคุกคามว่าจะถูกเล่นงานในทางกฎหมายอยู่เหมือนกัน มันไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้หรอกว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปคราวต่อไปในปี 2013 ผู้นำของพรรคการเมืองฝ่ายค้านหลักๆ ทั้งสองพรรค อาจไม่ได้ลงสมัครเข้าแข่งขันด้วย
ในการกล่าวปราศรัยครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ในปีนี้ ฮุนเซน ได้เคยพูดสรุปถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเขาที่จะ “ทำให้กลุ่มฝ่ายค้านล้มตายไป” และหลังจากนั้นมาก็ลั่นปากให้คำมั่นที่จะจับกุมนักวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลผู้หนึ่ง ซึ่งการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ “อาหรับ สปริง” ของเขา ถูกรัฐบาลมองว่าคือความพยายามที่จะยุยงให้เกิดการลุกฮือของประชาชนในทำนองเดียวกันขึ้นในกัมพูชา
แทนที่จะพยายามจำกัดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายค้าน รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาควรที่จะให้ความมั่นใจว่า การพัฒนาที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่จะให้ประโยชน์แก่ทุกๆ คน โดยที่การพัฒนาทางสังคมจะได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญทัดเทียมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาและมีความปราดเปรื่องทางเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จะต้องสามารถแสดงบทบาทของตนเอง โดยที่คนหนุ่มคนสาวควรจะได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆ ที่พวกคนรุ่นก่อนหน้าพวกเขาได้ถูกลิดรอนไป สืบเนื่องจากความต้องการอันดำมืดของระบอบปกครองแสนทารุณโหดร้ายของเขมรแดง
ชนชั้นนักวิชาชีพที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ มีความคิดฝันต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศไฮเทคที่มีการศึกษาและมั่งคั่งรุ่งเรือง สามารถแสดงบทบาทเป็นผู้นำรายหนึ่งในสมาคมอาเซียน ทว่าภายใต้ระบอบปกครองปัจจุบันและข้อจำกัดบีบรัดต่างๆ ในเวลานี้ วิสัยทัศน์แบบประชาธิปไตยนั่นแหละที่กำลังตกอยู่ในอันตรายว่า จะไม่อาจกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้
ประชาคมระหว่างประเทศนั้น สามารถที่จะทำอะไรได้มากทีเดียว ขณะที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาพยายามโต้แย้งว่า การดำเนินการและการคุ้มครองปกป้องในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เป็นประเด็นปัญหาทางด้านอธิปไตย ซึ่งนานาชาติไม่สามารถที่จะเข้ามาแทรกแซงได้ ทว่าผู้ร่วมลงนามรายอื่นๆ อีก 18 ประเทศในข้อตกลงสันติภาพแห่งกรุงปารีส ตลอดจนสหประชาชาติ ย่อมมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องคุ้มครองปกป้องและส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา
ฝ่ายต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะใช้พลังทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของพวกเขา เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ประชาชนชาวกัมพูชาผู้ได้รับความยากลำบากมานมนานแล้ว จะสามารถได้ชื่นชมกับประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอันวัฒนาสถาพร เหมือนกับที่ได้เคยให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาเมื่อ 20 ปีก่อน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับอนาคตของกัมพูชาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา, ชาติผู้ร่วมลงนามในข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส, สหประชาชาติ, ชาติผู้บริจาคความช่วยเหลือให้แก่กัมพูชา, และประชาชนชาวกัมพูชา ควรที่จะใช้วาระครบรอบ 20 ปีคราวนี้มาเป็นโอกาสในการก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า คำมั่นสัญญาและการลงทุนอย่างเอาจริงเอาจังของพวกเขาจักต้องไม่ถูกถลุงให้เปล่าเปลืองไปอย่างไร้ค่า
อู วิรัก เป็นประธานของศูนย์กลางชาวกัมพูชาเพื่อสิทธิมนุษยชน (Cambodian Center for Human Rights) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงพนมเปญ