เอเจนซี - โพลจากรอยเตอร์ ชี้ ปีหน้าจีนจะโตช้าลงในอัตราต่ำสุดในรอบทศวรรษ ส่งผลให้เอเชียชะลอตัวตามไปด้วย ในภาวะที่ดีมานด์ทั่วโลกซบเซาลง
อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์มองเห็นความเสี่ยงน้อยมากที่เศรษฐกิจเอเชียจะดิ่งลงรุนแรง นอกจากนั้น ผู้วางนโยบายในเอเชียยังมีช่องทางเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ หรือลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการในกรณีที่แนวโน้มเลวร้ายลง
แม้การเติบโตของจีนในปี 2012 อาจลดลงต่ำกว่า 9% แต่นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 30 คนในการสำรวจของรอยเตอร์คราวนี้ เชื่อว่าตัวเลขจะเกินกว่า 8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในการรับประกันการสร้างงานที่พอเพียงเพื่อรองรับการอพยพจากชนบท
ไมเคิล สเปนเซอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของดอยช์ แบงก์ประจำเอเชีย ไม่คิดว่าเอเชียจะประสบภาวะถดถอยอย่างที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยคาดคิดกัน แต่ภูมิภาคนี้กำลังมุ่งหน้าสู่ช่วงเวลา 6-8 เดือนที่จะมีการเติบโตต่ำกว่าเฉลี่ย ซึ่งส่วนใหญ่สะท้อนกิจกรรมเศรษฐกิจที่ลดลงในประเทศก้าวหน้า
ขณะนี้ การเติบโตชะลอตัวในสหรัฐฯ และยุโรปกำลังส่งผลต่อการส่งออกทั่วทั้งเอเชียแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดว่าการชะลอตัวจะรุนแรงขึ้นในไตรมาสต่อๆ ไป
กระนั้น การขยายตัวที่เนือยลงจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อ โดยนักเศรษฐศาสตร์ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า อินเดียเป็นประเทศเดียวในการสำรวจความคิดเห็นที่มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้
อนึ่ง ในการสำรวจความคิดเห็นของรอยเตอร์ครั้งก่อนหน้า ที่จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า จะมีการขึ้นดอกเบี้ย ทั้งในอินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้
ธนาคารกลางอินเดีย อาจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า แต่เป็นที่คาดหมายอย่างกว้างขวางว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสุดท้ายในวงจรนโยบายแบบเคร่งครัด โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอินเดียจะลดดอกเบี้ย 0.50% ในปีหน้า
ทางด้านอินโดนีเซีย นั้น ลดดอกเบี้ยไปแล้วเมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมา และนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีการปรับลดอีกครั้งในปีหน้า สำหรับนิวซีแลนด์เป็นประเทศเดียวที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า
จีนนั้นเป็นเฟืองจักรสำคัญของเอเชีย หากการเติบโตในปี 2012 ชะลอลงอยู่ที่ 8.6% ตามฉันทามติของนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อนร่วมภูมิภาคจะรู้สึกถึงแรงกระเพื่อม และหากการเติบโตทรุดลงรุนแรง จะกระทบอย่างจังต่อเอเชีย
ฮักบินฉัว นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา-เมอร์ริล ระบุว่า หากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนลดลง 1% การเติบโตในสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย จะหดตาม 0.7% และ 0.3% สำหรับอินโดนีเซีย
“ระดับผลกระทบเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษ เนื่องจากขณะนี้จีนนำเข้าจากเพื่อนบ้านในเอเชียมากขึ้น
ฉัว เพิ่มเติมว่า ผลกระทบจากการชะลอตัวในจีนคาดว่าจะน้อยกว่าการชะลอตัวหรือการถดถอยในสหรัฐฯ แต่ความสำคัญของทั้งสองประเทศจะเทียบเท่ากันในทศวรรษหน้า
เปรียบเทียบกับผลสำรวจในเดือนกรกฎาคม นักเศรษฐศาสตร์ลดแนวโน้มการขยายตัวของประเทศทั่วทั้งเอเชียในปีหน้า ประเทศที่แนวโน้มตกต่ำที่สุดคือมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด
โพลชี้ว่า อัตราเติบโตจะเพิ่มขึ้นในปี 2012 ใน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย และ ฟิลิปปินส์ ขณะที่อัตราเติบโตของอินโดนีเซีย สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน ในปีหน้ามีแนวโน้มเทียบเท่ากับปีนี้
อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์มองเห็นความเสี่ยงน้อยมากที่เศรษฐกิจเอเชียจะดิ่งลงรุนแรง นอกจากนั้น ผู้วางนโยบายในเอเชียยังมีช่องทางเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ หรือลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการในกรณีที่แนวโน้มเลวร้ายลง
แม้การเติบโตของจีนในปี 2012 อาจลดลงต่ำกว่า 9% แต่นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 30 คนในการสำรวจของรอยเตอร์คราวนี้ เชื่อว่าตัวเลขจะเกินกว่า 8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในการรับประกันการสร้างงานที่พอเพียงเพื่อรองรับการอพยพจากชนบท
ไมเคิล สเปนเซอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของดอยช์ แบงก์ประจำเอเชีย ไม่คิดว่าเอเชียจะประสบภาวะถดถอยอย่างที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยคาดคิดกัน แต่ภูมิภาคนี้กำลังมุ่งหน้าสู่ช่วงเวลา 6-8 เดือนที่จะมีการเติบโตต่ำกว่าเฉลี่ย ซึ่งส่วนใหญ่สะท้อนกิจกรรมเศรษฐกิจที่ลดลงในประเทศก้าวหน้า
ขณะนี้ การเติบโตชะลอตัวในสหรัฐฯ และยุโรปกำลังส่งผลต่อการส่งออกทั่วทั้งเอเชียแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดว่าการชะลอตัวจะรุนแรงขึ้นในไตรมาสต่อๆ ไป
กระนั้น การขยายตัวที่เนือยลงจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อ โดยนักเศรษฐศาสตร์ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า อินเดียเป็นประเทศเดียวในการสำรวจความคิดเห็นที่มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้
อนึ่ง ในการสำรวจความคิดเห็นของรอยเตอร์ครั้งก่อนหน้า ที่จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า จะมีการขึ้นดอกเบี้ย ทั้งในอินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้
ธนาคารกลางอินเดีย อาจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า แต่เป็นที่คาดหมายอย่างกว้างขวางว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสุดท้ายในวงจรนโยบายแบบเคร่งครัด โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอินเดียจะลดดอกเบี้ย 0.50% ในปีหน้า
ทางด้านอินโดนีเซีย นั้น ลดดอกเบี้ยไปแล้วเมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมา และนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีการปรับลดอีกครั้งในปีหน้า สำหรับนิวซีแลนด์เป็นประเทศเดียวที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า
จีนนั้นเป็นเฟืองจักรสำคัญของเอเชีย หากการเติบโตในปี 2012 ชะลอลงอยู่ที่ 8.6% ตามฉันทามติของนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อนร่วมภูมิภาคจะรู้สึกถึงแรงกระเพื่อม และหากการเติบโตทรุดลงรุนแรง จะกระทบอย่างจังต่อเอเชีย
ฮักบินฉัว นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา-เมอร์ริล ระบุว่า หากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนลดลง 1% การเติบโตในสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย จะหดตาม 0.7% และ 0.3% สำหรับอินโดนีเซีย
“ระดับผลกระทบเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษ เนื่องจากขณะนี้จีนนำเข้าจากเพื่อนบ้านในเอเชียมากขึ้น
ฉัว เพิ่มเติมว่า ผลกระทบจากการชะลอตัวในจีนคาดว่าจะน้อยกว่าการชะลอตัวหรือการถดถอยในสหรัฐฯ แต่ความสำคัญของทั้งสองประเทศจะเทียบเท่ากันในทศวรรษหน้า
เปรียบเทียบกับผลสำรวจในเดือนกรกฎาคม นักเศรษฐศาสตร์ลดแนวโน้มการขยายตัวของประเทศทั่วทั้งเอเชียในปีหน้า ประเทศที่แนวโน้มตกต่ำที่สุดคือมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด
โพลชี้ว่า อัตราเติบโตจะเพิ่มขึ้นในปี 2012 ใน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย และ ฟิลิปปินส์ ขณะที่อัตราเติบโตของอินโดนีเซีย สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน ในปีหน้ามีแนวโน้มเทียบเท่ากับปีนี้