(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Russia misses key China deal
By Robert M Cutler
13/10/2011
วลาดิมีร์ ปูติน ลงนามในข้อตกลงการลงทุนหลายฉบับรวมเป็นมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างเที่ยวการเดินทางเยือนจีนเมื่อวันที่ 11-12 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเป็นเที่ยวสุดท้ายในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีรัสเซียของเขา อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงสำคัญที่สุดว่าด้วยการส่งออกก๊าซธรรมชาติไซบีเรียไปยังแดนมังกรซึ่งมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์นั้น วังเครมลินยังคงไม่ประสบความสำเร็จในการไขว่คว้าเอามาไว้ในกำมือ
มอนทรีออล, แคนาดา – วลาดิมีร์ ปูติน เดินทางไปเยือนจีนอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 11-12 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นเที่ยวสุดท้ายของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรีรัสเซีย (เขาน่าจะมีชัยชนะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปีหน้า) และได้ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีฉบับใหม่ๆ ไม่ต่ำกว่า 16 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นสัญญาทางด้านการลงทุนใหม่ๆ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สื่อมวลชนรัสเซียให้ความสนใจเป็นพิเศษในข้อตกลงมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อก่อสร้างโรงถลุงอลูมิเนียมรัสเซีย ในเมืองไตเชต (Taishet) ซึ่งตั้งอยู่ในแนวทางรถไฟ ไบคาล-อามูร์ เมนไลน์ (Baikal-Amur Mainline) อันเป็นสายแยกสายหนึ่งของทางรถไฟข้ามไซบีเรีย (Trans-Siberian Railway) นอกจากนั้นแล้ว สัญญาความร่วมมือกันที่เซ็นกันในวาระนี้ยังประกอบด้วย การอนุรักษ์พลังงาน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นิวตรอนพลังงานสูง (fast-neutron nuclear reactors) ซึ่งถือเป็นระยะต่อไปของข้อตกลงที่ทำไว้กันเอาไว้แล้ว ในการที่รัสเซียทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ เถียนวาน (Tianwan), ทางรถไฟไฮสปีด, เทคโนโลยีนาโน, และเวชภัณฑ์
ก่อนที่ปูตินจะออกเดินทางเยือนแดนมังกรเที่ยวนี้ โฆษกของฝ่ายรัสเซียหลายต่อหลายคนได้โหมประโคมข้อเท็จจริง “ในเชิงสัญลักษณ์” เป็นการปูพื้นอย่างเอิกเกริก เป็นต้นว่า จีนเพิ่งแซงหน้าเยอรมนีกลายเป็นชาติคู่ค้าใหญ่ที่สุดของรัสเซีย โดยที่ปริมาณการค้าระหว่างกันในระดับ 59,000 ล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในปี 2010 อาจจะพุ่งขึ้นไปเป็น 70,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ครั้นเมื่อถึงเวลาที่ปูตินแถลงข่าวอำลาในกรุงปักกิ่งในวันที่ 12 ตุลาคม ตัวเลขประมาณการนี้ยังถูกขยับขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2011, 100,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2015, และ 200,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2020 นอกจากนั้นในปีนี้จีนยังกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 5 ในเศรษฐกิจของรัสเซีย และเป็นสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียนิยมไปกันสูงที่สุดเป็นอันดับ 3
ยิ่งกว่านั้นยังมีรายงานว่า ประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับราคาของน้ำมันรัสเซียที่จัดส่งจากเมืองสโคโวโรดิโน (Skovorodino) ในไซบีเรีย ไปยังเมืองต้าชิ่ง (Daqing) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ก็ได้มีการแก้ไขผ่านพ้นไปได้แล้ว รัสเซียได้เริ่มส่งน้ำมันในปริมาณ 300,000 บาร์เรลต่อปี (โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มสูงกว่านี้อีกในอนาคตข้างหน้า) ตามข้อตกลงระยะเวลา 20 ปี ผ่านทางท่อส่งน้ำมันสาย สโคโวโรดิโน - ต้าชิ่ง ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ ท่อส่งน้ำมันสายดังกล่าวถือเป็นสายแยกสายหนึ่งของโครงการท่อส่งน้ำมันสายไซบีเรียตะวันออก-มหาสมุทรแปซิฟิก (Eastern Siberia-Pacific Ocean หรือ ESPO) โดยที่จีนได้ให้เงินกู้แก่รัสเซียเป็นจำนวน 25,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อการก่อสร้างท่อส่งสายสโคโวโรดิโน – ต้าชิ่ง นี้เมื่อตอนต้นปี 2009 โดยขอแลกเปลี่ยนกับข้อตกลงส่งออกน้ำมันให้แดนมังกร
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อตกลงที่ถือว่าสำคัญที่สุดว่าด้วยการส่งออกก๊าซธรรมชาติไซบีเรียมายังจีนมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์นั้น วังเครมลินยังคงล้มเหลวไม่อาจไขว่คว้ามาไว้ในกำมือ สัญญาดังกล่าวนี้ได้มีการต่อรองหารือกันมาร่วม 10 ปีแล้ว โดยที่เป็นการเจรจาต่อจากบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่ทำไว้ในปี 2004 ระหว่าง กาซปรอม (Gazprom รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายยักษ์ของรัสเซีย) กับ บรรษัทปิโตเลียมแห่งชาติของจีน (China National Petroleum Corporation) ถัดจากนั้นอีก 2 ปี ก็ได้มีการทำเอ็มโอยูอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาเป็นการกำหนดแนวเส้นทางวางท่อส่งก๊าซ 2 สาย สายหนึ่งจากเขตไซบีเรียตะวันตก จะส่งออกก๊าซให้แก่จีนในปริมาณ 30,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่วนอีกสายหนึ่งจากไซบีเรียตะวันออก จะส่งก๊าซ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
ทว่าหลังจากนั้นการเจรจาต่อรองก็ประสบความล้มเหลวเรื่อยมาเนื่องจากตกลงกันไม่ได้ในเรื่องราคา โดยที่ปักกิ่งพยายามต่อรองอย่างหนักหน่วง อีกทั้งพยายามกระจายแหล่งซัปพลายพลังงานของตนไปสู่แหล่งอื่นๆ ให้มากขึ้นเพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยรัสเซียน้อยลง ทั้งนี้ตามข่าวรั่วที่ปรากฏออกมาในหนังสือพิมพ์จีนเมื่อ 1 ปีก่อน ในเวลานั้นทั้งสองฝ่ายเสนอราคาที่แตกต่างกันอยู่ราว 100 ดอลลาร์ต่อก๊าซ 1,000 ลูกบาศก์เมตร
รัสเซียนั้นต้องการคิดราคาก๊าซที่ขายให้จีนในระดับเท่ากับที่ตนขายให้ยุโรป ทั้งนี้ควรต้องบันทึกไว้ด้วยว่า เมื่อเดือนที่แล้วมีรายงานข่าวะบุว่า ทีมเจ้าหน้าที่สอบสวนเพื่อต่อต้านการผูกขาดของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้บุกเข้าไปตรวจค้นประดาบริษัทหุ้นส่วนของกาซปรอมในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ด้วยความกังวลว่าอาจจะมีพฤตการณ์รวมหัวกัน ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซพุ่งขึ้นสูงอย่างไม่สอดคล้องความเป็นจริง
นอกจากนั้น ในเรื่องการก่อสร้างสายท่อส่งก๊าซจากไซบีเรียมายังแดนมังกรทั้ง 2 สาย จีนปรารถนามากกว่าที่จะให้ขั้นตอนแรกมุ่งเน้นไปที่การก่อสร้างสายตะวันตก ซึ่งจะตัดผ่านเขตอัลไต (Altai) ในไซบีเรียตะวันตก อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าในเดือนที่แล้ว รัสเซียได้เปิดท่อส่งก๊าซสาย ซาฮาลิน-ฮาบารอฟสก์-วลาดิวอลสตอค (Sakhalin-Khabarovsk-Vladivostok) ในไซบีเรียตะวันออก และน่าที่จะขยายท่อส่งก๊าซสายนี้เพื่อการส่งออกมายังจีน โดยอาจจะขนส่งกันทางบก หรือไม่ก็ผ่านกระบวนการอัดก๊าซให้เป็นของเหลวแล้วขนส่งกันทางทะเล
รายงานการวิจัยฉบับหนึ่งที่จัดทำเมื่อเร็วๆ นี้โดย สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสต็อกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute หรือ SIPRI) ระบุว่าจีนกำลังพึ่งพารัสเซียลดน้อยลงทั้งในด้านการนำเข้าอาวุธและการนำเข้าพลังงาน ทั้งนี้การซื้อขายอาวุธถือเป็นทิศทางหลักเพื่อการร่วมมือกันระหว่างประเทศทั้งสอง ตามที่ระบุเอาไว้ใน “สนธิสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านที่ดี, มิตรภาพ, และความร่วมมือกัน” (Treaty on Good-Neighborly Relations, Friendship and Cooperation) ปี 2001
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่นั้นจีนก็ได้พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตทางการทหารภายในประเทศของตนเองอย่างแข็งขัน ขณะที่พวกบริษัทรัสเซียทั้งที่อยู่ในและอยู่นอกภาคอาวุธยุทธภัณฑ์ ต่างลังเลที่จะส่งออกเทคโนโลยีอันปราณีตล้ำสมัยที่สุดของพวกตน เนื่องจากรู้สึกไม่สบายใจที่แดนมังกรมีชื่ออื้อฉาวในด้านไม่เคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พวกอุตสาหกรรมต่างๆ ในโลกตะวันตก ตั้งแต่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สัญชาติอเมริกัน ต่างตระหนักถึงกิตติศัพท์ในด้านนี้ของจีนเป็นอันดี และเมื่อไม่นานมานี้เอง พวกบริษัทพัฒนารางรถไฟไฮสปีดสัญชาติเยอรมัน ก็เพิ่งค้นพบความจริงเรื่องนี้เช่นกัน
ขณะเดียวกัน แหล่งซัปพลายหลักๆ ของน้ำมันที่จีนนำเข้า ก็กำลังเปลี่ยนหน้าไปเป็น ซาอุดีอาระเบีย, แองโกลา, อิหร่าน, และโอมาน ส่วนในเรื่องก๊าซธรรมชาติ แดนมังกรก็กำลังเพิ่มการนำเข้าจากเอเชียกลางมากขึ้นเรื่อยๆ รายงานของ SIPRI สรุปว่า การที่จีนประสบความสำเร็จในการหาซัปพลายเออร์พลังงานรายอื่นๆ ย่อมหมายความว่า “จีนกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในความสัมพันธ์ (ทวิภาคีจีน-รัสเซีย)”
ทว่าในอีกด้านหนึ่ง มีสัญญาณความเป็นไปได้ที่จีนจะเพิ่มการลงทุนในรัสเซียขึ้นอีกมหาศาล โดยที่มีการทำข้อตกลงกันว่า ไช่น่า อินเวสต์เมนต์ คอร์ป (China Investment Corp หรือ CIC) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของแดนมังกร จะลงทุนเป็นมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ในกองทุนเพื่อการลงทุนโดยตรงแห่งรัสเซีย (Russia Direct Investment Fund หรือ RDIF) ซึ่งเป็นกองทุนแบบไพรเวต อิควิตี้ ฟันด์ (private equity fund กองทุนที่มุ่งลงทุนซื้อหุ้นในกิจการที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ๆ ของรัสเซีย ปักกิ่งได้จัดตั้ง CIC ขึ้นตั้งแต่ปี 2007 โดยมีทุนเบื้องต้น 200,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อมาถึงสิ้นปี 2010 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีนรายนี้ก็ได้เติบโตจนมีขนาด 410,000 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นกองทุนลักษณะเช่นนี้ที่ใหญ่อันดับ 5 ของโลก
กองทุน RDIF จัดตั้งขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่จะระดมเม็ดเงินจากนักลงทุนระหว่างประเทศมาร่วมลงทุน และลดการที่รัสเซียต้องพึ่งพาอาศัยการส่งออกพลังงาน (ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 17% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) เป็นตัวหาเงินทุน คิริล ดมิตรีฟ (Kiril Dmitriev) นายใหญ่ของ RDIF แถลงเอาไว้ในเดือนที่แล้วว่า รัสเซียจะออกเงินสมทบเข้าไปในกองทุนนี้เป็นจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ไป โดยที่คาดหวังว่าวงเงินทั้งหมดที่ระดมได้จากทุกๆ แหล่งจะอยู่ในระดับ 60,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ส่วนที่เกินจากการลงขันของรัสเซีย น่าจะได้มาจากพวกกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ, กิจการต่างชาติที่เป็นกิจการมุ่งซื้อกิจการคนอื่น (buyout firms), ตลอดจนพวกบริษัทที่กำลังมองหาทางเพิ่มการลงทุนในรัสเซีย
สำหรับในรอบแรกนี้ รัสเซียเองแจ้งว่าจะร่วมลงขัน 1,000 ล้านดอลลาร์ และกำลังมองหาเงินอีกสัก 1,000 – 2,000 ล้านดอลลาร์จากผู้สนใจอื่นๆ นอกเหนือจากจีน เพื่อให้ยอดรวมทั้งหมดขึ้นไปถึง 4,000 ล้านดอลลาร์ การก่อตั้ง RDIF ขึ้นมานี้ รัสเซียดูเหมือนมุ่งที่จะตอบสนองคำขอของ CIC เมื่อเดือนตุลาคม 2010 ที่แสดงปรารถนาจะเข้ามีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัสเซีย
RDIF ทำท่าน่าจะกลายเป็นเครื่องมือที่วังเครมลินจะใช้ในการดำเนินการตามโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งได้ประกาศเอาไว้ตั้งแต่ปี 2009 โดย อเล็กเซย์ คูดริน (Alexei Kudrin) รัฐมนตรีคลังที่เพิ่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อเร็วๆ นี้ โครงการดังกล่าวได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปร่างเค้าโครงมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ภายหลังการประกาศครั้งแรก และถึงแม้เวลาล่วงเลยมาได้ 2 ปี โครงการนี้ก็ยังคงอยู่ในขั้นจัดทำรายละเอียด และยังไม่ได้มีกฎหมายอนุมัติรับรองอย่างเป็นทางการ
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา
Russia misses key China deal
By Robert M Cutler
13/10/2011
วลาดิมีร์ ปูติน ลงนามในข้อตกลงการลงทุนหลายฉบับรวมเป็นมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างเที่ยวการเดินทางเยือนจีนเมื่อวันที่ 11-12 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเป็นเที่ยวสุดท้ายในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีรัสเซียของเขา อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงสำคัญที่สุดว่าด้วยการส่งออกก๊าซธรรมชาติไซบีเรียไปยังแดนมังกรซึ่งมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์นั้น วังเครมลินยังคงไม่ประสบความสำเร็จในการไขว่คว้าเอามาไว้ในกำมือ
มอนทรีออล, แคนาดา – วลาดิมีร์ ปูติน เดินทางไปเยือนจีนอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 11-12 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นเที่ยวสุดท้ายของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรีรัสเซีย (เขาน่าจะมีชัยชนะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปีหน้า) และได้ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีฉบับใหม่ๆ ไม่ต่ำกว่า 16 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นสัญญาทางด้านการลงทุนใหม่ๆ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สื่อมวลชนรัสเซียให้ความสนใจเป็นพิเศษในข้อตกลงมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อก่อสร้างโรงถลุงอลูมิเนียมรัสเซีย ในเมืองไตเชต (Taishet) ซึ่งตั้งอยู่ในแนวทางรถไฟ ไบคาล-อามูร์ เมนไลน์ (Baikal-Amur Mainline) อันเป็นสายแยกสายหนึ่งของทางรถไฟข้ามไซบีเรีย (Trans-Siberian Railway) นอกจากนั้นแล้ว สัญญาความร่วมมือกันที่เซ็นกันในวาระนี้ยังประกอบด้วย การอนุรักษ์พลังงาน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นิวตรอนพลังงานสูง (fast-neutron nuclear reactors) ซึ่งถือเป็นระยะต่อไปของข้อตกลงที่ทำไว้กันเอาไว้แล้ว ในการที่รัสเซียทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ เถียนวาน (Tianwan), ทางรถไฟไฮสปีด, เทคโนโลยีนาโน, และเวชภัณฑ์
ก่อนที่ปูตินจะออกเดินทางเยือนแดนมังกรเที่ยวนี้ โฆษกของฝ่ายรัสเซียหลายต่อหลายคนได้โหมประโคมข้อเท็จจริง “ในเชิงสัญลักษณ์” เป็นการปูพื้นอย่างเอิกเกริก เป็นต้นว่า จีนเพิ่งแซงหน้าเยอรมนีกลายเป็นชาติคู่ค้าใหญ่ที่สุดของรัสเซีย โดยที่ปริมาณการค้าระหว่างกันในระดับ 59,000 ล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในปี 2010 อาจจะพุ่งขึ้นไปเป็น 70,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ครั้นเมื่อถึงเวลาที่ปูตินแถลงข่าวอำลาในกรุงปักกิ่งในวันที่ 12 ตุลาคม ตัวเลขประมาณการนี้ยังถูกขยับขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2011, 100,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2015, และ 200,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2020 นอกจากนั้นในปีนี้จีนยังกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 5 ในเศรษฐกิจของรัสเซีย และเป็นสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียนิยมไปกันสูงที่สุดเป็นอันดับ 3
ยิ่งกว่านั้นยังมีรายงานว่า ประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับราคาของน้ำมันรัสเซียที่จัดส่งจากเมืองสโคโวโรดิโน (Skovorodino) ในไซบีเรีย ไปยังเมืองต้าชิ่ง (Daqing) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ก็ได้มีการแก้ไขผ่านพ้นไปได้แล้ว รัสเซียได้เริ่มส่งน้ำมันในปริมาณ 300,000 บาร์เรลต่อปี (โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มสูงกว่านี้อีกในอนาคตข้างหน้า) ตามข้อตกลงระยะเวลา 20 ปี ผ่านทางท่อส่งน้ำมันสาย สโคโวโรดิโน - ต้าชิ่ง ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ ท่อส่งน้ำมันสายดังกล่าวถือเป็นสายแยกสายหนึ่งของโครงการท่อส่งน้ำมันสายไซบีเรียตะวันออก-มหาสมุทรแปซิฟิก (Eastern Siberia-Pacific Ocean หรือ ESPO) โดยที่จีนได้ให้เงินกู้แก่รัสเซียเป็นจำนวน 25,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อการก่อสร้างท่อส่งสายสโคโวโรดิโน – ต้าชิ่ง นี้เมื่อตอนต้นปี 2009 โดยขอแลกเปลี่ยนกับข้อตกลงส่งออกน้ำมันให้แดนมังกร
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อตกลงที่ถือว่าสำคัญที่สุดว่าด้วยการส่งออกก๊าซธรรมชาติไซบีเรียมายังจีนมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์นั้น วังเครมลินยังคงล้มเหลวไม่อาจไขว่คว้ามาไว้ในกำมือ สัญญาดังกล่าวนี้ได้มีการต่อรองหารือกันมาร่วม 10 ปีแล้ว โดยที่เป็นการเจรจาต่อจากบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่ทำไว้ในปี 2004 ระหว่าง กาซปรอม (Gazprom รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายยักษ์ของรัสเซีย) กับ บรรษัทปิโตเลียมแห่งชาติของจีน (China National Petroleum Corporation) ถัดจากนั้นอีก 2 ปี ก็ได้มีการทำเอ็มโอยูอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาเป็นการกำหนดแนวเส้นทางวางท่อส่งก๊าซ 2 สาย สายหนึ่งจากเขตไซบีเรียตะวันตก จะส่งออกก๊าซให้แก่จีนในปริมาณ 30,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่วนอีกสายหนึ่งจากไซบีเรียตะวันออก จะส่งก๊าซ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
ทว่าหลังจากนั้นการเจรจาต่อรองก็ประสบความล้มเหลวเรื่อยมาเนื่องจากตกลงกันไม่ได้ในเรื่องราคา โดยที่ปักกิ่งพยายามต่อรองอย่างหนักหน่วง อีกทั้งพยายามกระจายแหล่งซัปพลายพลังงานของตนไปสู่แหล่งอื่นๆ ให้มากขึ้นเพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยรัสเซียน้อยลง ทั้งนี้ตามข่าวรั่วที่ปรากฏออกมาในหนังสือพิมพ์จีนเมื่อ 1 ปีก่อน ในเวลานั้นทั้งสองฝ่ายเสนอราคาที่แตกต่างกันอยู่ราว 100 ดอลลาร์ต่อก๊าซ 1,000 ลูกบาศก์เมตร
รัสเซียนั้นต้องการคิดราคาก๊าซที่ขายให้จีนในระดับเท่ากับที่ตนขายให้ยุโรป ทั้งนี้ควรต้องบันทึกไว้ด้วยว่า เมื่อเดือนที่แล้วมีรายงานข่าวะบุว่า ทีมเจ้าหน้าที่สอบสวนเพื่อต่อต้านการผูกขาดของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้บุกเข้าไปตรวจค้นประดาบริษัทหุ้นส่วนของกาซปรอมในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ด้วยความกังวลว่าอาจจะมีพฤตการณ์รวมหัวกัน ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซพุ่งขึ้นสูงอย่างไม่สอดคล้องความเป็นจริง
นอกจากนั้น ในเรื่องการก่อสร้างสายท่อส่งก๊าซจากไซบีเรียมายังแดนมังกรทั้ง 2 สาย จีนปรารถนามากกว่าที่จะให้ขั้นตอนแรกมุ่งเน้นไปที่การก่อสร้างสายตะวันตก ซึ่งจะตัดผ่านเขตอัลไต (Altai) ในไซบีเรียตะวันตก อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าในเดือนที่แล้ว รัสเซียได้เปิดท่อส่งก๊าซสาย ซาฮาลิน-ฮาบารอฟสก์-วลาดิวอลสตอค (Sakhalin-Khabarovsk-Vladivostok) ในไซบีเรียตะวันออก และน่าที่จะขยายท่อส่งก๊าซสายนี้เพื่อการส่งออกมายังจีน โดยอาจจะขนส่งกันทางบก หรือไม่ก็ผ่านกระบวนการอัดก๊าซให้เป็นของเหลวแล้วขนส่งกันทางทะเล
รายงานการวิจัยฉบับหนึ่งที่จัดทำเมื่อเร็วๆ นี้โดย สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสต็อกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute หรือ SIPRI) ระบุว่าจีนกำลังพึ่งพารัสเซียลดน้อยลงทั้งในด้านการนำเข้าอาวุธและการนำเข้าพลังงาน ทั้งนี้การซื้อขายอาวุธถือเป็นทิศทางหลักเพื่อการร่วมมือกันระหว่างประเทศทั้งสอง ตามที่ระบุเอาไว้ใน “สนธิสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านที่ดี, มิตรภาพ, และความร่วมมือกัน” (Treaty on Good-Neighborly Relations, Friendship and Cooperation) ปี 2001
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่นั้นจีนก็ได้พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตทางการทหารภายในประเทศของตนเองอย่างแข็งขัน ขณะที่พวกบริษัทรัสเซียทั้งที่อยู่ในและอยู่นอกภาคอาวุธยุทธภัณฑ์ ต่างลังเลที่จะส่งออกเทคโนโลยีอันปราณีตล้ำสมัยที่สุดของพวกตน เนื่องจากรู้สึกไม่สบายใจที่แดนมังกรมีชื่ออื้อฉาวในด้านไม่เคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พวกอุตสาหกรรมต่างๆ ในโลกตะวันตก ตั้งแต่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สัญชาติอเมริกัน ต่างตระหนักถึงกิตติศัพท์ในด้านนี้ของจีนเป็นอันดี และเมื่อไม่นานมานี้เอง พวกบริษัทพัฒนารางรถไฟไฮสปีดสัญชาติเยอรมัน ก็เพิ่งค้นพบความจริงเรื่องนี้เช่นกัน
ขณะเดียวกัน แหล่งซัปพลายหลักๆ ของน้ำมันที่จีนนำเข้า ก็กำลังเปลี่ยนหน้าไปเป็น ซาอุดีอาระเบีย, แองโกลา, อิหร่าน, และโอมาน ส่วนในเรื่องก๊าซธรรมชาติ แดนมังกรก็กำลังเพิ่มการนำเข้าจากเอเชียกลางมากขึ้นเรื่อยๆ รายงานของ SIPRI สรุปว่า การที่จีนประสบความสำเร็จในการหาซัปพลายเออร์พลังงานรายอื่นๆ ย่อมหมายความว่า “จีนกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในความสัมพันธ์ (ทวิภาคีจีน-รัสเซีย)”
ทว่าในอีกด้านหนึ่ง มีสัญญาณความเป็นไปได้ที่จีนจะเพิ่มการลงทุนในรัสเซียขึ้นอีกมหาศาล โดยที่มีการทำข้อตกลงกันว่า ไช่น่า อินเวสต์เมนต์ คอร์ป (China Investment Corp หรือ CIC) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของแดนมังกร จะลงทุนเป็นมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ในกองทุนเพื่อการลงทุนโดยตรงแห่งรัสเซีย (Russia Direct Investment Fund หรือ RDIF) ซึ่งเป็นกองทุนแบบไพรเวต อิควิตี้ ฟันด์ (private equity fund กองทุนที่มุ่งลงทุนซื้อหุ้นในกิจการที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ๆ ของรัสเซีย ปักกิ่งได้จัดตั้ง CIC ขึ้นตั้งแต่ปี 2007 โดยมีทุนเบื้องต้น 200,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อมาถึงสิ้นปี 2010 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีนรายนี้ก็ได้เติบโตจนมีขนาด 410,000 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นกองทุนลักษณะเช่นนี้ที่ใหญ่อันดับ 5 ของโลก
กองทุน RDIF จัดตั้งขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่จะระดมเม็ดเงินจากนักลงทุนระหว่างประเทศมาร่วมลงทุน และลดการที่รัสเซียต้องพึ่งพาอาศัยการส่งออกพลังงาน (ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 17% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) เป็นตัวหาเงินทุน คิริล ดมิตรีฟ (Kiril Dmitriev) นายใหญ่ของ RDIF แถลงเอาไว้ในเดือนที่แล้วว่า รัสเซียจะออกเงินสมทบเข้าไปในกองทุนนี้เป็นจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ไป โดยที่คาดหวังว่าวงเงินทั้งหมดที่ระดมได้จากทุกๆ แหล่งจะอยู่ในระดับ 60,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ส่วนที่เกินจากการลงขันของรัสเซีย น่าจะได้มาจากพวกกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ, กิจการต่างชาติที่เป็นกิจการมุ่งซื้อกิจการคนอื่น (buyout firms), ตลอดจนพวกบริษัทที่กำลังมองหาทางเพิ่มการลงทุนในรัสเซีย
สำหรับในรอบแรกนี้ รัสเซียเองแจ้งว่าจะร่วมลงขัน 1,000 ล้านดอลลาร์ และกำลังมองหาเงินอีกสัก 1,000 – 2,000 ล้านดอลลาร์จากผู้สนใจอื่นๆ นอกเหนือจากจีน เพื่อให้ยอดรวมทั้งหมดขึ้นไปถึง 4,000 ล้านดอลลาร์ การก่อตั้ง RDIF ขึ้นมานี้ รัสเซียดูเหมือนมุ่งที่จะตอบสนองคำขอของ CIC เมื่อเดือนตุลาคม 2010 ที่แสดงปรารถนาจะเข้ามีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัสเซีย
RDIF ทำท่าน่าจะกลายเป็นเครื่องมือที่วังเครมลินจะใช้ในการดำเนินการตามโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งได้ประกาศเอาไว้ตั้งแต่ปี 2009 โดย อเล็กเซย์ คูดริน (Alexei Kudrin) รัฐมนตรีคลังที่เพิ่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อเร็วๆ นี้ โครงการดังกล่าวได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปร่างเค้าโครงมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ภายหลังการประกาศครั้งแรก และถึงแม้เวลาล่วงเลยมาได้ 2 ปี โครงการนี้ก็ยังคงอยู่ในขั้นจัดทำรายละเอียด และยังไม่ได้มีกฎหมายอนุมัติรับรองอย่างเป็นทางการ
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา