เอเอฟพี - องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (เอ็มเอสเอฟ) แถลงในวันนี้ (3) ว่า กำลังถอนตัวออกจากประเทศไทย หลังจากเข้ามาทำโครงการช่วยเหลือนาน 36 ปี โดยให้เหตุผลว่า “การแทรกแซง” ของรัฐบาลไทยส่งผลให้ผู้อพยพต่างด้าวจำนวนมากไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์
ทั้งนี้ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเปิดเผยว่า เมื่อเดือนมิถุนายน องค์การจำเป็นต้องปิดตัวโครงการความช่วยเหลือ 2 โครงการด้วยกัน ซึ่งทางเอ็มเอสเอฟระบุว่า ได้ให้การรักษาผู้อพยพราว 55,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
“เราประสบกับความยากลำบากอย่างยิ่งในการหาแผนงาน ที่ทั้งทางการไทยและเรายอมรับได้ทั้งสองฝ่าย” เดนิส เปนอย หัวหน้าโครงการความช่วยเหลือของเอ็มเอสเอฟประจำประเทศไทย กล่าว
“เราถูกบังคับให้ปิดคลินิกแห่งหนึ่ง และมีแรงผลักดันให้ปิดอีกแห่งหนึ่ง เราจะไม่ทำโครงการใดๆ ต่อไป และจะไม่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย”
สถานีอนามัยทั้งสองแห่งนี้เป็นศูนย์ประสานงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในประเทศไทย มานานกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม เดนิส เปนอย เปิดเผยว่า ทางจังหวัดสมุทรสาครบอกกับคลินิกของเอ็มเอสเอฟในท้องที่ให้จำกัดการรักษา ส่วนสถานีอนามัยแห่งที่สอง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ ก็ถูกปิดในเวลาต่อมา
นักเคลื่อนไหวประเมินว่า ในประเทศไทยมีผู้อพยพต่างด้าวมากถึง 3 ล้านคน ส่วนใหญ่ลี้ภัยความยากจนมาจากพม่า ผู้อพยพเหล่านี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังคงไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง แม้รัฐบาลไทยเคยประกาศแผนขึ้นทะเบียนคนต่างด้าวก็ตาม
ทั้งนี้ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนมีเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยประมาณ 70 คน โดยทางเอ็มเอสเอฟได้เข้ามาทำโครงการอนามัยในไทยครั้งแรก เมื่อปี 1975
เดนิส เปนอย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะหวนกลับมาทำโครงการในไทยอีก หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือมีความต้องการอันยิ่งยวด
ทั้งนี้ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเปิดเผยว่า เมื่อเดือนมิถุนายน องค์การจำเป็นต้องปิดตัวโครงการความช่วยเหลือ 2 โครงการด้วยกัน ซึ่งทางเอ็มเอสเอฟระบุว่า ได้ให้การรักษาผู้อพยพราว 55,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
“เราประสบกับความยากลำบากอย่างยิ่งในการหาแผนงาน ที่ทั้งทางการไทยและเรายอมรับได้ทั้งสองฝ่าย” เดนิส เปนอย หัวหน้าโครงการความช่วยเหลือของเอ็มเอสเอฟประจำประเทศไทย กล่าว
“เราถูกบังคับให้ปิดคลินิกแห่งหนึ่ง และมีแรงผลักดันให้ปิดอีกแห่งหนึ่ง เราจะไม่ทำโครงการใดๆ ต่อไป และจะไม่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย”
สถานีอนามัยทั้งสองแห่งนี้เป็นศูนย์ประสานงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในประเทศไทย มานานกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม เดนิส เปนอย เปิดเผยว่า ทางจังหวัดสมุทรสาครบอกกับคลินิกของเอ็มเอสเอฟในท้องที่ให้จำกัดการรักษา ส่วนสถานีอนามัยแห่งที่สอง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ ก็ถูกปิดในเวลาต่อมา
นักเคลื่อนไหวประเมินว่า ในประเทศไทยมีผู้อพยพต่างด้าวมากถึง 3 ล้านคน ส่วนใหญ่ลี้ภัยความยากจนมาจากพม่า ผู้อพยพเหล่านี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังคงไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง แม้รัฐบาลไทยเคยประกาศแผนขึ้นทะเบียนคนต่างด้าวก็ตาม
ทั้งนี้ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนมีเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยประมาณ 70 คน โดยทางเอ็มเอสเอฟได้เข้ามาทำโครงการอนามัยในไทยครั้งแรก เมื่อปี 1975
เดนิส เปนอย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะหวนกลับมาทำโครงการในไทยอีก หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือมีความต้องการอันยิ่งยวด