(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Talk junk, get junk
By Reuven Brenner
19/08/2011
วิกฤตรัฐล้มละลายและเบี้ยวหนี้ เคยเกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และเป็นอะไรที่แสนจะพิศดาร มากล้นด้วยสีสันอันพริ้งพราย ยิ่งกว่านั้น ผู้เขียนประวัติศาสตร์แต่ละค่ายก็ช่างเสกสรรค์ให้ถ้อยคำบัญญัติอันไร้คุณค่าไร้สาระ มาสร้างความชอบธรรมให้แก่เรื่องราวเหล่านั้นไว้อย่างมากมาย แม้แต่ละกรณีล้วนเกิดขึ้นในครั้งเก่าก่อน รายละไม่ถึงร้อยปีบ้าง หลายร้อยปีบ้าง กระนั้นก็ตาม บทเรียนจากเรื่องราวเหล่านี้ยังเป็นเรื่องใกล้ตัวใกล้ใจมนุษยชาติแห่งยุคสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงประดาศัพท์บัญญัติกลวงๆ กับทฤษฎีเก๊ๆ ของเหล่าปัญญาฃน ที่มุ่งสร้างความวุ่นวายอยู่ในปัจจุบัน
ในช่วงระหว่างปี 1826 ถึงปี 1830 ประเทศสเปน เม็กซิโก และบราซิล เข้าสู่ภาวะล้มละลาย มีเหตุต้องเบี้ยวหนี้ในระดับรัฐบาล หลายสิบปีผ่านไป ในช่วงทศวรรษ 1890 ถึงปี 1900 อาร์เจนตินา บราซิล เวเนซุเอลา กับโปรตุเกส ได้เป็นประเทศที่ล้มละลายกันบ้าง ด้านฝรั่งเศสและเยอรมนีลุกขึ้นทวงคืนทรัพย์กลับมา ด้วยการยกกองเรือบ่ายหน้าไปยังกรุงคารากัสแห่งเวเนซุเอลาในปี 1902 แล้วทำการยิงถล่มเมืองตลอดสัปดาห์ จนชาวเมืองยอมแพ้ ผู้ชนะก็จัดการล่ามโซ่ เรียกเก็บภาษีเรือทุกลำที่ผ่านเข้าสู่ท่าเรือของคารากัส ต่อมา ในระหว่างปี 1931 ถึง 1940 บราซิล เม็กซิโก ชิลี และเปรู ก็หวนกลับสู่ภาวะล้มละลาย ต้องเบี้ยวเจ้าหนี้ต่างชาติอีกคำรบหนึ่ง
วิกฤตหนี้ต่างๆ ในช่วงระหว่างสงครามโลก 2 ครั้ง เปิดฉากจากการล้มละลายของโบลิเวียในปี 1929 แต่การล้มละลายภาครัฐครั้งที่ดุเดือดที่สุดคือกรณีของยุโรปกลางในช่วงปี 1931 แล้วเยอรมนีก็เดี้ยงตาม โดยมีผลกระทบที่กลายเป็นความย่อยยับอย่างเหลือเกิน
เรื่องอุบัติเพราะคนเยอรมันกลัวปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมือง (กล่าวคือ ในปี 1930 ทั้งฝั่งนาซีและฝั่งคอมมิวนิสต์ต่างมีผลงานดีเด่นในช่วงการเลือกตั้ง) ดังนั้น จึงเกิดการโยกย้ายเงินทุนหนีออกจากประเทศกันอย่างมหาศาล ด้านแบงก์อังกฤษกับอเมริกันไปคิดกันว่าสักพัก สถานการณ์จะฟื้นตัวสู่ความสงบได้เอง และจึงไม่ได้ดึงเงินกู้ที่ปล่อยไว้ในระบบการเงินของเยอรมนีออก เพียงเพื่อจะได้เห็นว่าทรัพย์ของพวกตนถูกแช่แข็ง
การที่เยอรมนีไม่สามารถชำระคืนหนี้ปฏิกรรมสงคราม นำไปสู่ความล่มสลายของระบบค้าเสรีแบบพหุภาคี ด้านสหรัฐอเมริกาก็ได้นำเสนอข้อบังคับอันเข้มงวดด้านภาษีศุลกากรในกฎหมายฮาวลีย์-สมูท (Hawley-Smoot Act) ซึ่งยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายสาหัสยิ่งๆ ขึ้นไปในทั่วโลก
พวกเยอรมันกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของธนาคาร แล้วที่เด็ดไปกว่านั้น ได้กล่าวโทษนักการเงินชาวยิว ว่าอยู่เบื้องหลังปัญหาทั้งมวล และจึงมีการปลุกปั่นให้ผู้คนเชื่อว่าปัญหาวิกฤตการเงินทั้งปวงเป็นเรื่องของชาติพันธุ์และต้องแก้ไขด้วยความรักชาติ
เมื่อพรรคนาซีขึ้นครองอำนาจ ได้มีการใช้ทรัพย์สินต่างชาติที่ถูกแช่แข็งอยู่ในประเทศ เป็นเครื่องล่อให้สวิตเซอร์แลนด์และอังกฤษเดินนโยบายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเยอรมนี ลดน้อยลง การณ์จึงกลายเป็นว่า ทรัพย์ที่ถูกแช่แข็งกลายเป็นเครื่องมือแบล็กเมล์อันทรงประสิทธิภาพ ที่ทำลายพลังการผนึกกำลังในระหว่างประเทศโลกตะวันตกทั้งปวง
มาในเวียดนามบ้าง มีการชักดาบหนี้ครั้งมโหฬาร เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดครองอำนาจได้ทั่วประเทศในปี 1975 และประกาศว่า หนี้ในสกุลเงินท้องถิ่นที่เกิดในยุคของรัฐบาลเวียดนามใต้นั้น เป็นหนี้ผิดกฎหมาย รัฐบาลคอมมิวนิสต์รัสเซียก็ทำแบบเดียวกันนี้ในคราวปี 1917
กลับไปที่ทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งหนึ่ง ในปี 1982 อาร์เจนตินาเข้าสู่ภาวะล้มละลายอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาเงินเฟ้อลุกลามดุเดือดมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อเนื่องเป็นหลายปี ด้านรัฐบาลก็จึงต้องสัญญาให้ดอกเบี้ยอัตราสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพื่อจูงใจให้ประชาชนยอมปล่อยกู้แก่รัฐบาล ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลก็พิมพ์ธนบัตรเข้าสู่ระบบในปริมาณมหาศาลเกินกลไกแท้จริงของระบบเศรษฐกิจ แล้วในที่สุด รัฐบาลอาร์เจนตินาทำการหักดิบด้วยการยกเลิกสัญญาใช้หนี้
ต่อมา ประเทศอาร์เจนตินาเข้าสู่ภาวะล้มละลายอีกคำรบหนึ่ง ในปี 2002
ด้านเอกวาดอร์ ได้ออกประกาศในเดือนมีนาคม 1987 ว่าจะเว้นวรรคการจ่ายดอกเบี้ยตลอดปีกรณีเงินกู้ต่างชาติมูลค่า 8,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นอีกหนึ่งความต่อเนื่องของสายโซ่แห่งการตัดสินใจผิดพลาด
เรื่องเริ่มในเดือนสิงหาคม ปี 1982 โดยเม็กซิโกประกาศว่าหมดปัญญาจ่ายคืนหนี้ ต่อมาเป็นบราซิลที่ประกาศบ้าง ในเดือนกุมภาพันธ์ 1987 โดยระงับการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับหนี้ระยะสั้นและระยะกลางมูลค่า 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธะผูกพันอยู่กับธนาคารต่างชาติ
ในการนี้ ความเสียหายสุทธิจากเงินปล่อยกู้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในช่วงทศวรรษ 1970 – ทศวรรษ 1990 ทั้งที่เป็นแบบหนี้ภาครัฐ และแบบ “ความช่วยเหลือต่างชาติ” นั้นรวมได้ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทีเดียว
กรณีตัวอย่างทั้งหลายทั้งปวงนี้ คือบทเรียนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับโลกปัจจุบัน เพราะมันชี้ไปถึงบทบาทของศัพท์บัญญัติและทฤษฎีอันไร้คุณค่าไร้สาระ ที่ออกมาจากต่อมสมองของพวก “ปัญญาชน” ในท่วงทำนองละม้ายกัน โดยในปัจจุบัน ทฤษฎีแนวเคนเซียน (Keynesian) ซึ่งมักพาคนไปผิดทิศผิดทาง อีกทั้งศัพท์บัญญัติทั้งมวล ได้สร้างให้เกิดปัญหาความวุ่นวายสารพันไปทั่วโลก
เพื่อให้อรรถาธิบาย ขอยกตัวอย่างมันๆ จากกรณีของสเปนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ราชอาณาจักรสเปนนำทองคำและแร่เงินไปถวายบรรดากษัตริย์ของพวกตน อีกทั้งไปช่วยการต่อสู้เพื่อการครอบงำยุโรป ทั้งในเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี
ครั้งเมื่อการจับจ่ายดำเนินอยู่ในระดับที่สูงกว่ารายได้ สินเชื่อมักจะถูกยกระดับโดยแบงก์ในเยอรมนีตอนใต้ และโดยพวกนครเจนัว หรือมิฉะนั้นก็ถูกทำสวอปจากเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยสูง เป็นพันธบัตรระยะยั่งยืน“อมตะ” ดอกเบี้ยต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ว่าแต่ทำไมพวกนายแบงก์จึงยอม แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพราะความหวังเป็นเรื่องยั่งยืนอมตะอย่างแน่นอน
เรื่องมีอยู่ว่า พวกนายธนาคารได้รับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ลง ในปี 1576 เมื่อกองทัพสเปนปราบเมืองแอนต์เวิร์ปสำเร็จ ก็บังคับให้ธนาคารฟุกเกอร์แห่งอ็อกสเบิร์ก ออก “เงินกู้” ล่วงหน้ามูลค่า 8 ล้านไรนิชกิลเดน (ราว 500-800 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) การณ์ปรากฏว่าตราสารนี้ไม่เคยได้รับการไถ่ถอน หรือก็คือเกิดการเบี้ยวหนี้ครั้งประวัติศาสตร์นั่นเอง การณ์ประมาณนี้เกิดขึ้นหลายกรรมหลายวาระ ด้วยนานาถ้อยศัพท์บัญญัติที่เสกสรรค์สร้างขึ้นมา
ไอเดียอันบรรเจิดในการสร้างศัพท์บัญญัติขึ้นมาเพื่อทำให้อีกฝ่ายยอมปล่อยเงินกู้ ก็เกิดขึ้นในหมู่นาซีและระบอบเผด็จการชาติละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม ในรายพวกนี้ ศัพท์ยอดนิยมมักเป็นด้วยเรื่องของชาติพันธุ์และลัทธิชาตินิยม
ปัจจุบัน ประเด็นของข้ออ้างได้เปลี่ยนไปอีกอย่างมากมาย นโยบายที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องสร้างความชอบธรรมแก่การเบี้ยวหนี้ของภาครัฐ เกิดขึ้นอย่างเพียบด้วยฝีมือของนักวิชาการและประดาทิงค์แทงก์ (think tanks) ที่ได้สร้างสิ่งที่ขอเรียกว่า “ศาสตร์แห่งคำโกหกทางการเมือง”
ที่สำคัญคือ อิทธิพลทางความคิดของพวกนักวิชาการและทิงค์แทงก์นั้นมหาศาลเหลือเกิน โดยเป็นอานิสงส์จากกฎหมายการส่งเสริมการศึกษาแห่งชาติในสหรัฐฯ เมื่อปี 1958 ซึ่งส่งผลให้มีการโปรยเงินอุดหนุนอย่างมโหฬารเข้าสู่ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสร้างให้เกิดนักวิชาการที่พร้อมจะทำงานวิจัยเพื่อการเลี้ยงชีพมากกว่าเพื่อการตอบคำถามสำคัญให้แก่สังคม
คนพวกนี้จำนวนนับไม่ถ้วนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงลิ่วในการเป็นหัวกระบวนดึงให้ผู้คนคิดและเชื่อตามไปกับศัพท์บัญญัติกลวงๆ และทฤษฎีเก๊ๆ ของพวกตน ซึ่งใช้ไปในการอธิบายสถานการณ์และการเสาะหาทางแก้ปัญหาให้แก่วิกฤตประดามีที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
การกำจัดศัพท์บัญญัติกลวงๆ และทฤษฎีเก๊ๆ ที่ทรงอิทธิพลอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันเหล่านี้ จำต้องลงไปสนใจกับการจัดสร้างในทางสถาบัน และต้องมาถามกันว่า อะไรกันแน่ที่แฝงอยูjในการอ้างตัวเลขหรูๆ ระบบราชการมีบทบาทเพียงใด เม็ดเงินได้ลงไปถึงผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาแท้จริงเพียงใด แนวทางที่แบงก์ชาติทั้งหลาย ตลอดจนภาคการธนาคารทั้งหลายปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้นั้น เป็นแหล่งแห่งเสถียรภาพหรือความไร้เสถียรภาพ กันแน่ ทำไม “ระบอบประชาธิปไตย” ที่ดำเนินกันอยู่นั้น จึงไม่สามาiถแก้ปัญหาหรือความผิดพลาดทั้งปวงได้อย่างรวดเร็ว
สิ่งที่สหรัฐฯ ต้องทำให้ได้คือ การปฏิบัติตามหลักการ มิใช่ตะแบงและเล่นเลห์กระเท่ห์ไปเรื่อยๆ “ระบอบทุนนิยมแห่งผู้ประกอบการ” แบบดั้งเดิม เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งพิงได้ แต่การที่จะสำเร็จได้อย่างนั้น การสร้างภาษาขึ้นมาหารือถกเถียงกันต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ประการสำคัญที่สุดนั้น มีอยู่ว่าต้องระลึกให้แม่นยำว่า เครื่องมือและศัพท์บัญญัติแบบที่อิงอยู่กับแนวทางเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายทางการเงินนั้น มีแต่จะพาไปหลงทิศหลงทางอย่างน่าเศร้าใจ
ริวเวน เบรนเนอร์ เป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ของคณะบริหารจัดการเดอซูเทลส์ (Desautels Faculty of Management) แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา McGill University บทความนี้เขียนขึ้นโดยอิงกับหนังสือเรื่อง Force of Finance ของศ.เบรนเนอร์เอง และปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ www.forbes.com วันที่ 19 สิงหาคม 2011
Talk junk, get junk
By Reuven Brenner
19/08/2011
วิกฤตรัฐล้มละลายและเบี้ยวหนี้ เคยเกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และเป็นอะไรที่แสนจะพิศดาร มากล้นด้วยสีสันอันพริ้งพราย ยิ่งกว่านั้น ผู้เขียนประวัติศาสตร์แต่ละค่ายก็ช่างเสกสรรค์ให้ถ้อยคำบัญญัติอันไร้คุณค่าไร้สาระ มาสร้างความชอบธรรมให้แก่เรื่องราวเหล่านั้นไว้อย่างมากมาย แม้แต่ละกรณีล้วนเกิดขึ้นในครั้งเก่าก่อน รายละไม่ถึงร้อยปีบ้าง หลายร้อยปีบ้าง กระนั้นก็ตาม บทเรียนจากเรื่องราวเหล่านี้ยังเป็นเรื่องใกล้ตัวใกล้ใจมนุษยชาติแห่งยุคสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงประดาศัพท์บัญญัติกลวงๆ กับทฤษฎีเก๊ๆ ของเหล่าปัญญาฃน ที่มุ่งสร้างความวุ่นวายอยู่ในปัจจุบัน
ในช่วงระหว่างปี 1826 ถึงปี 1830 ประเทศสเปน เม็กซิโก และบราซิล เข้าสู่ภาวะล้มละลาย มีเหตุต้องเบี้ยวหนี้ในระดับรัฐบาล หลายสิบปีผ่านไป ในช่วงทศวรรษ 1890 ถึงปี 1900 อาร์เจนตินา บราซิล เวเนซุเอลา กับโปรตุเกส ได้เป็นประเทศที่ล้มละลายกันบ้าง ด้านฝรั่งเศสและเยอรมนีลุกขึ้นทวงคืนทรัพย์กลับมา ด้วยการยกกองเรือบ่ายหน้าไปยังกรุงคารากัสแห่งเวเนซุเอลาในปี 1902 แล้วทำการยิงถล่มเมืองตลอดสัปดาห์ จนชาวเมืองยอมแพ้ ผู้ชนะก็จัดการล่ามโซ่ เรียกเก็บภาษีเรือทุกลำที่ผ่านเข้าสู่ท่าเรือของคารากัส ต่อมา ในระหว่างปี 1931 ถึง 1940 บราซิล เม็กซิโก ชิลี และเปรู ก็หวนกลับสู่ภาวะล้มละลาย ต้องเบี้ยวเจ้าหนี้ต่างชาติอีกคำรบหนึ่ง
วิกฤตหนี้ต่างๆ ในช่วงระหว่างสงครามโลก 2 ครั้ง เปิดฉากจากการล้มละลายของโบลิเวียในปี 1929 แต่การล้มละลายภาครัฐครั้งที่ดุเดือดที่สุดคือกรณีของยุโรปกลางในช่วงปี 1931 แล้วเยอรมนีก็เดี้ยงตาม โดยมีผลกระทบที่กลายเป็นความย่อยยับอย่างเหลือเกิน
เรื่องอุบัติเพราะคนเยอรมันกลัวปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมือง (กล่าวคือ ในปี 1930 ทั้งฝั่งนาซีและฝั่งคอมมิวนิสต์ต่างมีผลงานดีเด่นในช่วงการเลือกตั้ง) ดังนั้น จึงเกิดการโยกย้ายเงินทุนหนีออกจากประเทศกันอย่างมหาศาล ด้านแบงก์อังกฤษกับอเมริกันไปคิดกันว่าสักพัก สถานการณ์จะฟื้นตัวสู่ความสงบได้เอง และจึงไม่ได้ดึงเงินกู้ที่ปล่อยไว้ในระบบการเงินของเยอรมนีออก เพียงเพื่อจะได้เห็นว่าทรัพย์ของพวกตนถูกแช่แข็ง
การที่เยอรมนีไม่สามารถชำระคืนหนี้ปฏิกรรมสงคราม นำไปสู่ความล่มสลายของระบบค้าเสรีแบบพหุภาคี ด้านสหรัฐอเมริกาก็ได้นำเสนอข้อบังคับอันเข้มงวดด้านภาษีศุลกากรในกฎหมายฮาวลีย์-สมูท (Hawley-Smoot Act) ซึ่งยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายสาหัสยิ่งๆ ขึ้นไปในทั่วโลก
พวกเยอรมันกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของธนาคาร แล้วที่เด็ดไปกว่านั้น ได้กล่าวโทษนักการเงินชาวยิว ว่าอยู่เบื้องหลังปัญหาทั้งมวล และจึงมีการปลุกปั่นให้ผู้คนเชื่อว่าปัญหาวิกฤตการเงินทั้งปวงเป็นเรื่องของชาติพันธุ์และต้องแก้ไขด้วยความรักชาติ
เมื่อพรรคนาซีขึ้นครองอำนาจ ได้มีการใช้ทรัพย์สินต่างชาติที่ถูกแช่แข็งอยู่ในประเทศ เป็นเครื่องล่อให้สวิตเซอร์แลนด์และอังกฤษเดินนโยบายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเยอรมนี ลดน้อยลง การณ์จึงกลายเป็นว่า ทรัพย์ที่ถูกแช่แข็งกลายเป็นเครื่องมือแบล็กเมล์อันทรงประสิทธิภาพ ที่ทำลายพลังการผนึกกำลังในระหว่างประเทศโลกตะวันตกทั้งปวง
มาในเวียดนามบ้าง มีการชักดาบหนี้ครั้งมโหฬาร เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดครองอำนาจได้ทั่วประเทศในปี 1975 และประกาศว่า หนี้ในสกุลเงินท้องถิ่นที่เกิดในยุคของรัฐบาลเวียดนามใต้นั้น เป็นหนี้ผิดกฎหมาย รัฐบาลคอมมิวนิสต์รัสเซียก็ทำแบบเดียวกันนี้ในคราวปี 1917
กลับไปที่ทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งหนึ่ง ในปี 1982 อาร์เจนตินาเข้าสู่ภาวะล้มละลายอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาเงินเฟ้อลุกลามดุเดือดมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อเนื่องเป็นหลายปี ด้านรัฐบาลก็จึงต้องสัญญาให้ดอกเบี้ยอัตราสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพื่อจูงใจให้ประชาชนยอมปล่อยกู้แก่รัฐบาล ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลก็พิมพ์ธนบัตรเข้าสู่ระบบในปริมาณมหาศาลเกินกลไกแท้จริงของระบบเศรษฐกิจ แล้วในที่สุด รัฐบาลอาร์เจนตินาทำการหักดิบด้วยการยกเลิกสัญญาใช้หนี้
ต่อมา ประเทศอาร์เจนตินาเข้าสู่ภาวะล้มละลายอีกคำรบหนึ่ง ในปี 2002
ด้านเอกวาดอร์ ได้ออกประกาศในเดือนมีนาคม 1987 ว่าจะเว้นวรรคการจ่ายดอกเบี้ยตลอดปีกรณีเงินกู้ต่างชาติมูลค่า 8,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นอีกหนึ่งความต่อเนื่องของสายโซ่แห่งการตัดสินใจผิดพลาด
เรื่องเริ่มในเดือนสิงหาคม ปี 1982 โดยเม็กซิโกประกาศว่าหมดปัญญาจ่ายคืนหนี้ ต่อมาเป็นบราซิลที่ประกาศบ้าง ในเดือนกุมภาพันธ์ 1987 โดยระงับการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับหนี้ระยะสั้นและระยะกลางมูลค่า 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธะผูกพันอยู่กับธนาคารต่างชาติ
ในการนี้ ความเสียหายสุทธิจากเงินปล่อยกู้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในช่วงทศวรรษ 1970 – ทศวรรษ 1990 ทั้งที่เป็นแบบหนี้ภาครัฐ และแบบ “ความช่วยเหลือต่างชาติ” นั้นรวมได้ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทีเดียว
กรณีตัวอย่างทั้งหลายทั้งปวงนี้ คือบทเรียนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับโลกปัจจุบัน เพราะมันชี้ไปถึงบทบาทของศัพท์บัญญัติและทฤษฎีอันไร้คุณค่าไร้สาระ ที่ออกมาจากต่อมสมองของพวก “ปัญญาชน” ในท่วงทำนองละม้ายกัน โดยในปัจจุบัน ทฤษฎีแนวเคนเซียน (Keynesian) ซึ่งมักพาคนไปผิดทิศผิดทาง อีกทั้งศัพท์บัญญัติทั้งมวล ได้สร้างให้เกิดปัญหาความวุ่นวายสารพันไปทั่วโลก
เพื่อให้อรรถาธิบาย ขอยกตัวอย่างมันๆ จากกรณีของสเปนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ราชอาณาจักรสเปนนำทองคำและแร่เงินไปถวายบรรดากษัตริย์ของพวกตน อีกทั้งไปช่วยการต่อสู้เพื่อการครอบงำยุโรป ทั้งในเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี
ครั้งเมื่อการจับจ่ายดำเนินอยู่ในระดับที่สูงกว่ารายได้ สินเชื่อมักจะถูกยกระดับโดยแบงก์ในเยอรมนีตอนใต้ และโดยพวกนครเจนัว หรือมิฉะนั้นก็ถูกทำสวอปจากเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยสูง เป็นพันธบัตรระยะยั่งยืน“อมตะ” ดอกเบี้ยต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ว่าแต่ทำไมพวกนายแบงก์จึงยอม แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพราะความหวังเป็นเรื่องยั่งยืนอมตะอย่างแน่นอน
เรื่องมีอยู่ว่า พวกนายธนาคารได้รับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ลง ในปี 1576 เมื่อกองทัพสเปนปราบเมืองแอนต์เวิร์ปสำเร็จ ก็บังคับให้ธนาคารฟุกเกอร์แห่งอ็อกสเบิร์ก ออก “เงินกู้” ล่วงหน้ามูลค่า 8 ล้านไรนิชกิลเดน (ราว 500-800 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) การณ์ปรากฏว่าตราสารนี้ไม่เคยได้รับการไถ่ถอน หรือก็คือเกิดการเบี้ยวหนี้ครั้งประวัติศาสตร์นั่นเอง การณ์ประมาณนี้เกิดขึ้นหลายกรรมหลายวาระ ด้วยนานาถ้อยศัพท์บัญญัติที่เสกสรรค์สร้างขึ้นมา
ไอเดียอันบรรเจิดในการสร้างศัพท์บัญญัติขึ้นมาเพื่อทำให้อีกฝ่ายยอมปล่อยเงินกู้ ก็เกิดขึ้นในหมู่นาซีและระบอบเผด็จการชาติละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม ในรายพวกนี้ ศัพท์ยอดนิยมมักเป็นด้วยเรื่องของชาติพันธุ์และลัทธิชาตินิยม
ปัจจุบัน ประเด็นของข้ออ้างได้เปลี่ยนไปอีกอย่างมากมาย นโยบายที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องสร้างความชอบธรรมแก่การเบี้ยวหนี้ของภาครัฐ เกิดขึ้นอย่างเพียบด้วยฝีมือของนักวิชาการและประดาทิงค์แทงก์ (think tanks) ที่ได้สร้างสิ่งที่ขอเรียกว่า “ศาสตร์แห่งคำโกหกทางการเมือง”
ที่สำคัญคือ อิทธิพลทางความคิดของพวกนักวิชาการและทิงค์แทงก์นั้นมหาศาลเหลือเกิน โดยเป็นอานิสงส์จากกฎหมายการส่งเสริมการศึกษาแห่งชาติในสหรัฐฯ เมื่อปี 1958 ซึ่งส่งผลให้มีการโปรยเงินอุดหนุนอย่างมโหฬารเข้าสู่ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสร้างให้เกิดนักวิชาการที่พร้อมจะทำงานวิจัยเพื่อการเลี้ยงชีพมากกว่าเพื่อการตอบคำถามสำคัญให้แก่สังคม
คนพวกนี้จำนวนนับไม่ถ้วนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงลิ่วในการเป็นหัวกระบวนดึงให้ผู้คนคิดและเชื่อตามไปกับศัพท์บัญญัติกลวงๆ และทฤษฎีเก๊ๆ ของพวกตน ซึ่งใช้ไปในการอธิบายสถานการณ์และการเสาะหาทางแก้ปัญหาให้แก่วิกฤตประดามีที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
การกำจัดศัพท์บัญญัติกลวงๆ และทฤษฎีเก๊ๆ ที่ทรงอิทธิพลอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันเหล่านี้ จำต้องลงไปสนใจกับการจัดสร้างในทางสถาบัน และต้องมาถามกันว่า อะไรกันแน่ที่แฝงอยูjในการอ้างตัวเลขหรูๆ ระบบราชการมีบทบาทเพียงใด เม็ดเงินได้ลงไปถึงผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาแท้จริงเพียงใด แนวทางที่แบงก์ชาติทั้งหลาย ตลอดจนภาคการธนาคารทั้งหลายปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้นั้น เป็นแหล่งแห่งเสถียรภาพหรือความไร้เสถียรภาพ กันแน่ ทำไม “ระบอบประชาธิปไตย” ที่ดำเนินกันอยู่นั้น จึงไม่สามาiถแก้ปัญหาหรือความผิดพลาดทั้งปวงได้อย่างรวดเร็ว
สิ่งที่สหรัฐฯ ต้องทำให้ได้คือ การปฏิบัติตามหลักการ มิใช่ตะแบงและเล่นเลห์กระเท่ห์ไปเรื่อยๆ “ระบอบทุนนิยมแห่งผู้ประกอบการ” แบบดั้งเดิม เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งพิงได้ แต่การที่จะสำเร็จได้อย่างนั้น การสร้างภาษาขึ้นมาหารือถกเถียงกันต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ประการสำคัญที่สุดนั้น มีอยู่ว่าต้องระลึกให้แม่นยำว่า เครื่องมือและศัพท์บัญญัติแบบที่อิงอยู่กับแนวทางเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายทางการเงินนั้น มีแต่จะพาไปหลงทิศหลงทางอย่างน่าเศร้าใจ
ริวเวน เบรนเนอร์ เป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ของคณะบริหารจัดการเดอซูเทลส์ (Desautels Faculty of Management) แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา McGill University บทความนี้เขียนขึ้นโดยอิงกับหนังสือเรื่อง Force of Finance ของศ.เบรนเนอร์เอง และปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ www.forbes.com วันที่ 19 สิงหาคม 2011