เอเอฟพี - กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งลงทะเบียน อินเทอร์เน็ต แอดเดรส ในจีนอาจเข้าไปเจาะข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเกาหลีใต้ถึง 35 ล้านราย ทางการเผยวันนี้ (28)
แฮกเกอร์กลุ่มนี้ฝ่าระบบรักษาความปลอดภัยของ Nate (www.nate.com) และ ไซเวิลด์ (www.cyworld.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ดูแลโดยคณะกรรมการการสื่อสารเกาหลีใต้ เอสเค คอมมิวนิเคชันส์
Nate คือ เสิร์จเอ็นจินยอดนิยมของเกาหลีใต้ ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 25 ล้านคน ส่วน ไซเวิลด์ เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้ถึง 33 ล้านคนในปัจจุบัน
จากจำนวนผู้ใช้เว็บไซต์ทั้งสอง จึงคาดคะเนได้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ราว 35 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ, web IDs, หมายเลขโทรศัพท์, อีเมลแอดเดรส และที่อยู่ซึ่งลงทะเบียนไว้ น่าจะรั่วไหลไปถึงมือแฮกเกอร์กลุ่มนี้แล้ว แถลงการณ์จาก เอสเค คอมมิวนิเคชันส์ เผย
คิม ฮวาง-ซู เจ้าหน้าที่ เอสเค คอมมิวนิเคชันส์ ระบุว่า ขณะนี้ได้แจ้งให้ตำรวจเข้ามาสืบสวนการเจาะข้อมูลครั้งนี้แล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าผู้กระทำผิดเป็นใคร
“เรายังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแฮกเกอร์กลุ่มนี้ แต่นี่อาจเป็นการเจาะข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้” เขากล่าว
เหตุโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ครั้งร้ายแรงล่าสุดของโลกเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2008 เมื่อบริษัท อินเตอร์เน็ต อ็อกชั่น ในเครือ อีเบย์ ถูกแฮก ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้กว่า 10 ล้านคนรั่วไหลออกไป
“เราเร่งป้องกันระบบทันทีที่ตรวจพบรหัสอันตราย ซึ่งถูกส่งมาจาก ไอพี แอดเดรส ของจีนเมื่อวันอังคาร (26) ที่ผ่านมา” คู คี-ฮยาง โฆษกหญิงของ เอสเค คอมมิวนิเคชันส์ เผย
รัฐบาลกรุงโซล เคยแสดงความกังวลเรื่องการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์โดยแฮกเกอร์ในจีนและเกาหลีเหนือ เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วถึงที่สุดในโลก โดยบ้านเรือนกว่าร้อยละ 90 สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้
แฮกเกอร์กลุ่มนี้ฝ่าระบบรักษาความปลอดภัยของ Nate (www.nate.com) และ ไซเวิลด์ (www.cyworld.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ดูแลโดยคณะกรรมการการสื่อสารเกาหลีใต้ เอสเค คอมมิวนิเคชันส์
Nate คือ เสิร์จเอ็นจินยอดนิยมของเกาหลีใต้ ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 25 ล้านคน ส่วน ไซเวิลด์ เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้ถึง 33 ล้านคนในปัจจุบัน
จากจำนวนผู้ใช้เว็บไซต์ทั้งสอง จึงคาดคะเนได้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ราว 35 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ, web IDs, หมายเลขโทรศัพท์, อีเมลแอดเดรส และที่อยู่ซึ่งลงทะเบียนไว้ น่าจะรั่วไหลไปถึงมือแฮกเกอร์กลุ่มนี้แล้ว แถลงการณ์จาก เอสเค คอมมิวนิเคชันส์ เผย
คิม ฮวาง-ซู เจ้าหน้าที่ เอสเค คอมมิวนิเคชันส์ ระบุว่า ขณะนี้ได้แจ้งให้ตำรวจเข้ามาสืบสวนการเจาะข้อมูลครั้งนี้แล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าผู้กระทำผิดเป็นใคร
“เรายังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแฮกเกอร์กลุ่มนี้ แต่นี่อาจเป็นการเจาะข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้” เขากล่าว
เหตุโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ครั้งร้ายแรงล่าสุดของโลกเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2008 เมื่อบริษัท อินเตอร์เน็ต อ็อกชั่น ในเครือ อีเบย์ ถูกแฮก ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้กว่า 10 ล้านคนรั่วไหลออกไป
“เราเร่งป้องกันระบบทันทีที่ตรวจพบรหัสอันตราย ซึ่งถูกส่งมาจาก ไอพี แอดเดรส ของจีนเมื่อวันอังคาร (26) ที่ผ่านมา” คู คี-ฮยาง โฆษกหญิงของ เอสเค คอมมิวนิเคชันส์ เผย
รัฐบาลกรุงโซล เคยแสดงความกังวลเรื่องการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์โดยแฮกเกอร์ในจีนและเกาหลีเหนือ เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วถึงที่สุดในโลก โดยบ้านเรือนกว่าร้อยละ 90 สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้